ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
13 มิ.ย.--รอยเตอร์
ถึงแม้นักลงทุนในตลาดโลกพึงพอใจที่วิกฤติภาคธนาคารในเดือนมี.ค.ไม่ได้ส่งผลให้เกิดภาวะสินเชื่อหดตัวอย่างฉับพลัน และพึงพอใจที่สหรัฐสามารถคลี่คลายวิกฤติเพดานหนี้ได้ทันก่อนเส้นตาย เศรษฐกิจโลกก็ยังคงเผชิญกับสัญญาณเตือนต่าง ๆ ในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงการที่เศรษฐกิจยูโรโซนได้เข้าสู่ภาวะถดถอยไปแล้ว และตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่น่าผิดหวัง ทางด้านนักวิเคราะห์ได้ระบุถึงสัญญาณบางประการที่บ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยดังต่อไปนี้
สัญญาณแรกคือการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้าในทางลบมากยิ่งขึ้น ถึงแม้มีการปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปีนี้ โดยธนาคารโลกได้ปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกประจำปี 2023 เนื่องจากเศรษฐกิจจีน, สหรัฐ และประเทศสำคัญอื่น ๆ รักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้ดีเกินคาด โดยธนาคารโลกคาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้น 2.1% ในปีนี้ โดยปรับขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 1.7% ที่เคยคาดไว้ในเดือนม.ค. อย่างไรก็ดี ธนาคารโลกคาดว่า เศรษฐกิจโลกอาจจะเติบโตเพียง 2.4% ในปี 2024 โดยปรับลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 2.7% โดยธนาคารโลกให้เหตุผลว่า การปรับลดนี้เป็นเพราะการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางส่งผลกระทบอย่างล่าช้า และสินเชื่อที่ตึงตัวมากยิ่งขึ้นจะส่งผลลบต่อการลงทุนทางธุรกิจและการลงทุนในที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ดัชนีตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าประหลาดใจทั่วโลกที่จัดทำโดยซิตี้กรุ๊ปอยู่ที่ระดับราว -5 ในช่วงนี้ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่ามีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจทั่วโลกที่แย่เกินคาดออกมาในช่วงนี้ในอัตราที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2022 เป็นต้นมา
สัญญาณที่ 2 คือภาวะตึงตัวด้านสินเชื่อ โดยสัญญาณดังกล่าวรวมถึงผลสำรวจที่ระบุว่า สัดส่วนสุทธิของธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนที่รายงานว่า ภาคเอกชนลดความต้องการกู้เงินลงในไตรมาสแรก อยู่ที่ระดับ 38% ซึ่งถือเป็นสัดส่วนสุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินโลกในปี 2008 เป็นต้นมา และผลสำรวจยังระบุอีกด้วยว่า สัดส่วนสุทธิของธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนที่คุมเข้มมาตรฐานการปล่อยกู้ในไตรมาสแรก อยู่ที่ระดับ 27% ซึ่งเท่ากับในไตรมาส 4/2022 และถือเป็นสัดส่วนสุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติหนี้ยูโรโซนในปี 2011 เป็นต้นมา ทางด้านปริมาณการปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจในยูโรโซนปรับขึ้นเพียง 4.6% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายปี โดยชะลอตัวลงจาก +5.2% ในเดือนมี.ค. ทั้งนี้ ธนาคารดอยช์ แบงก์ตั้งข้อสังเกตว่า โดยปกติแล้วธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มักจะผ่อนคลายนโยบายการเงินลง เมื่อผลสำรวจความเห็นเจ้าหน้าที่สินเชื่อระดับสูง (SLOOS) ในสหรัฐแสดงให้เห็นว่า ดัชนีความเต็มใจในการปล่อยกู้อยู่ใกล้ระดับ 0 อย่างไรก็ดี ดัชนีดังกล่าวอยู่ที่ระดับติดลบเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
สัญญาณที่ 3 คือการปลดพนักงานออกเป็นจำนวนมาก โดยสัญญาณดังกล่าวรวมถึงรายงานของบริษัทแชลเลนเจอร์, เกรย์ แอนด์ คริสต์มาสที่ระบุว่า ยอดการประกาศปรับลดตำแหน่งงานในบริษัทสหรัฐพุ่งขึ้น 20% สู่ 80,089 ตำแหน่งในเดือนพ.ค., ประกาศของบริษัทบีที กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการสื่อสารไร้สายและสื่อสารความเร็วสูงรายใหญ่ที่สุดในอังกฤษที่ระบุว่า บีทีจะปรับลดตำแหน่งงานลง 55,000 ตำแหน่งก่อนสิ้นปี 2030 หรือกว่า 40% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดของบีที และประกาศของบริษัทโวดาโฟน ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของอังกฤษที่ระบุว่า โวดาโฟนวางแผนจะปรับลดตำแหน่งงานทั่วโลกลง 11,000 ตำแหน่งในช่วง 3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทสหรัฐหลายแห่งระบุถึงการปลดพนักงานออกในการรายงานผลกำไรไตรมาสแรกด้วย
สัญญาณที่ 4 คือการคาดการณ์ที่ว่า ยอดผิดนัดชำระหนี้จะพุ่งสูงขึ้น โดยเป็นผลจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการคุมเข้มเงื่อนไขการปล่อยกู้ โดยธนาคารดอยช์ แบงก์คาดว่าจะเกิดกระแสการผิดนัดชำระหนี้ในเร็ว ๆ นี้ และกระแสดังกล่าวจะแตะจุดสูงสุดในไตรมาส 4/2024 โดยอัตราการผิดนัดชำระหนี้ในสหรัฐจะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรที่ 11.3% ซึ่งใกล้กับสถิติสูงสุด ทั้งนี้ สัญญาณที่ 5 คือการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยและความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยในช่วงนี้เทรดเดอร์คาดว่า เฟดจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ แต่อัตราดอกเบี้ยสหรัฐจะร่วงลงสู่ระดับราว 3.9% ภายในเดือนก.ย. 2024 จากระดับ 5.00-5.25% ในปัจจุบัน ทางด้านเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะพลิกกลับหรือลาดลง (inverted) เป็นอย่างมากในช่วงนี้ หรือภาวะที่ต้นทุนการกู้ยืมระยะสั้นอยู่สูงกว่าต้นทุนการกู้ยืมระยะยาว และภาวะ inverted นี้มักจะเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่าเศรษฐกิจกำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--17 เม.ย.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงในวันศุกร์ ในขณะที่มีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ไร้ทิศทางชัดเจนในสหรัฐ และรายงานตัวเลขเหล่านี้ดูเหมือนจะสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง โดยปัจจัยลบดังกล่าวบดบังแรงหนุนที่ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับในช่วงแรก หลังจากธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐรายงานตัวเลขผลกำไรที่แข็งแกร่งเกินคาด ซึ่งถือเป็นการเปิดฤดูการรายงานผลประกอบการของบริษัทสหรัฐประจำไตรมาสแรก ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมทั้งการผลิตภาคโรงงาน, ภาคเหมืองแร่ และภาคสาธารณูปโภค ปรับขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. หลังจากปรับขึ้น 0.2% ในเดือนก.พ. โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับขึ้น 0.2% ในไตรมาสแรก หลังจากหดตัวลง 2.5% ในไตรมาส 4/2022 ทางด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมปรับขึ้นสู่ 79.8% ในเดือนมี.ค. จาก 79.6% ในเดือนก.พ. และอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของปี 1972-2022 ราว 0.1%
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.42% สู่ 33,886.47, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.21% สู่ 4,137.64 และดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.35% สู่ 12,123.47 ในวันศุกร์ อย่างไรก็ดี ดัชนีดาวโจนส์, S&P 500 และ Nasdaq ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวก โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพฤหัสบดี โดยก่อนหน้านี้ดัชนีดาวโจนส์เพิ่งทะยานขึ้น 1.14% ในวันพฤหัสบดี ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้น 1.33% ในวันพฤหัสบดี และดัชนี Nasdaq ทะยานขึ้น 1.99% ในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ หุ้น 7 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันศุกร์ในแดนลบ โดยหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ดิ่งลงมากที่สุด แต่ดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินพุ่งขึ้น 1.1% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันศุกร์
ธนาคารซิตี้กรุ๊ป, เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และเวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โคต่างก็เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาดในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และจากการที่ชาวสหรัฐลดความกังวลที่มีต่อวิกฤติภาคธนาคาร โดยนายรอส เมย์ฟิลด์ นักวิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัท Baird กล่าวว่า "ธนาคารขนาดใหญ่ไม่ได้รับความเสียหายมากนักจากภาวะปั่นป่วนวุ่นวายในธนาคารระดับภูมิภาค และธนาคารขนาดใหญ่อาจจะเป็นฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จากภาวะปั่นป่วนวุ่นวายดังกล่าวด้วย โดยเราพบว่างบดุลของธนาคารขนาดใหญ่อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเป็นส่วนใหญ่ และสิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า วิกฤติธนาคารระดับภูมิภาคไม่ได้เป็นวิกฤติเชิงระบบ" ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐพุ่งขึ้น 3.5% ในวันศุกร์ ในขณะที่หุ้นธนาคารเจพีมอร์แกน เชสทะยานขึ้น 7.6% ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย. 2020 ส่วนหุ้นซิตี้กรุ๊ปทะยานขึ้น 4.8% แต่หุ้นเวลส์ ฟาร์โกขยับลง 0.1%
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดค้าปลีกสหรัฐร่วงลงอย่างรุนแรงเกินคาดในเดือนมี.ค. เนื่องจากผู้บริโภคปรับลดการซื้อรถยนต์และสินค้ารายการใหญ่ โดยยอดค้าปลีกดิ่งลง 1.0% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับลง 0.2% ในเดือนก.พ. ส่วนมหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐปรับขึ้นจาก 62.0 ในเดือนมี.ค. สู่ 63.5 ในเดือนเม.ย. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 62.0 ทั้งนี้ เทรดเดอร์ในตลาดสัญญาล่วงหน้า Fed funds คาดการณ์ว่า มีโอกาส 81% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 2-3 พ.ค.
นักลงทุนรอดูผลประกอบการบริษัทสหรัฐหลายแห่งที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์หน้า ซึ่งรวมถึงผลประกอบการของธนาคารโกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์, มอร์แกน สแตนเลย์, แบงก์ ออฟ อเมริกา และบริษัทเน็ตฟลิกซ์ ในขณะที่ธนาคารระดับภูมิภาคและบริษัทในภาคอุตสาหกรรมหลายแห่งก็จะรายงานผลประกอบการออกมาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจดิ่งลง 4.8% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบรายปี--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
28 มี.ค.--รอยเตอร์
หุ้นกลุ่มธนาคารทั่วโลกได้รับแรงหนุนในวันจันทร์ หลังจากบรรษัทประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC) ประกาศว่า ธนาคารเฟิร์สท์ ซิติเซนส์ แบงก์แชร์ส อิงค์ จะเข้าซื้อเงินฝากและสินเชื่อทั้งหมดของ SVB จาก FDIC โดยการทำข้อตกลงนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ FDIC ได้เข้าเทคโอเวอร์ SVB ในวันที่ 10 มี.ค. ในขณะที่ผู้ฝากเงินแห่ถอนเงินฝากออกจาก SVB โดยวิกฤติภาคธนาคารในช่วงนั้นส่งผลให้มีการสั่งปิดกิจการธนาคารซิกเนเจอร์ในวันที่ 12 มี.ค.ด้วย และส่งผลให้ธนาคารระดับภูมิภาคแห่งอื่น ๆ ในสหรัฐมีมูลค่าในตลาดดิ่งลงอย่างรุนแรงในช่วงนั้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ FDIC ประเมินว่า การล้มของ SVB จะส่งผลให้กองทุนของ FDIC ที่ใช้ในการช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์มีขนาดลดลงราว 2.0 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่กองทุนนี้ไม่ได้ใช้เงินของประชาชนผู้เสียภาษีในสหรัฐ แต่จะนำเงินที่ได้จากการเก็บภาษีจากภาคธนาคารในสหรัฐมาเติมในกองทุนนี้
ธนาคารเฟิร์สท์ ซิติเซนส์จะไม่จ่ายเงินสดในการทำข้อตกลงนี้ แต่จะมอบสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นของเฟิร์สท์ ซิติเซนส์แก่ FDIC โดยสิทธิดังกล่าวอาจจะมีมูลค่าไม่เกิน 500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าต่ำกว่ามูลค่าของ SVB ในช่วงก่อนการถูกสั่งปิดกิจการเป็นอย่างมาก เพราะว่า SVB เคยมีสินทรัพย์ราว 2.09 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นปีที่แล้ว และเคยถือเป็นธนาคารขนาดใหญ่อันดับที่ 16 ของสหรัฐในช่วงนั้น ทางด้าน FDIC จะสามารถใช้สิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากราคาหุ้นของเฟิร์สท์ ซิติเซนส์ที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ระหว่างวันที่ 27 มี.ค.-14 เม.ย. โดยปริมาณเงินสดที่ FDIC จะได้รับจะขึ้นอยู่กับว่ามูลค่าหุ้นของเฟิร์สท์ ซิติเซนส์อยู่ที่ระดับใด ทางด้านราคาหุ้นเฟิร์สท์ ซิติเซนส์ แบงก์แชร์ส อิงค์พุ่งขึ้น 53.7% ในวันจันทร์
เฟิร์สท์ ซิติเซนส์จะเข้ามาครอบครองสินทรัพย์ของ SVB เป็นมูลค่า 1.10 แสนล้านดอลลาร์ และจะเข้ามาครอบครองเงินฝาก 5.6 หมื่นล้านดอลลาร์ และสินเชื่อ 7.2 หมื่นล้านดอลลาร์ของ SVB ด้วย ส่วน FDIC จะยังคงถือครองหลักทรัพย์และสินทรัพย์อื่น ๆ ของ SVB เป็นมูลค่าราว 9.0 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อจำหน่ายออก
นายแฟรงค์ โฮลดิง ซีอีโอของเฟิร์สท์ ซิติเซนส์กล่าวต่อนักลงทุนในวันจันทร์ว่า "เราเชื่อว่าการทำธุรกรรมในครั้งนี้จะส่งผลดีเป็นอย่างมากต่อผู้ฝากเงิน" โดยธนาคารเฟิร์สท์ ซิติเซนส์นั้นถือเป็นธนาคารระดับภูมิภาคในสหรัฐที่มีชื่อเสียงด้านการเข้าซื้อธนาคารคู่แข่งที่ประสบปัญหา และเฟิร์สท์ ซิติเซนส์ก็เคยทำข้อตกลงซื้อกิจการโดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐแบบนี้ไปแล้ว 21 ครั้ง ซึ่งรวมถึงการทำข้อตกลงแบบนี้ 14 ครั้งนับตั้งแต่นายโฮลดิงได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการในปี 2009 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ข้อตกลงนี้จะช่วยให้เฟิร์สท์ ซิติเซนส์สามารถขยายกิจการในรัฐแคลิฟอร์เนียได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และจะช่วยให้เฟิร์สท์ ซิติเซนส์สามารถดำเนินธุรกิจบริหารความมั่งคั่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐด้วย โดยปัจจุบันนี้เฟิร์สท์ ซิติเซนส์มีสินทรัพย์ราว 1.09 แสนล้านดอลลาร์ และมีเงินฝากราว 8.94 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่เมื่อมีการรวมกิจการกับ SVB ในอนาคต เฟิร์สท์ ซิติเซนส์ก็จะมีสินทรัพย์ราว 2.19 แสนล้านดอลลาร์ และมีเงินฝากราว 1.45 แสนล้านดอลลาร์
เฟิร์สท์ ซิติเซนส์จะได้รับวงเงินสินเชื่อจาก FDIC เพื่อใช้ในกรณีที่ต้องการสภาพคล่องฉุกเฉิน และทางธนาคารจะทำข้อตกลงกับ FDIC เรื่องการแบ่งปันยอดขาดทุนจากสินเชื่อเชิงพาณิชย์ด้วย--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ธนาคารเครดิตสวิสเปิดเผยว่า จะกู้เงิน 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์จากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อนำมาพยุงสภาพคล่อง และความเชื่อมั่นของนักลงทุน หลังจากที่การดิ่งลงของหุ้นได้เพิ่มความวิตกเกี่ยวกับวิกฤติการเงินโลก ซึ่งการประกาศของธนาคารกลางช่วยสกัดแรงเทขายหุ้นในตลาดการเงินในการซื้อขายที่ตลาดเอเชียในวันนี้ได้ หลังจากที่ดิ่งลงอย่างหนักในตลาดยุโรปและสหรัฐเมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนรู้สึกวิตกกับแนวโน้มที่จะมีการแห่ถอนเงินออกจากธนาคารทั่วโลก
เครดิตสวิสระบุในแถลงการณ์ว่า จะใช้ทางเลือกในการกู้เงินจากธนาคารกลางไม่เกิน 5.0 หมื่นล้านฟรังก์สวิส (5.4 หมื่นล้านดอลลาร์) หลังจากที่ทางการสวิสออกมารับประกันว่า เครดิตสวิสมีการดำรงเงินทุนและสภาพคล่องตามที่กำหนดไว้กับธนาคารที่มีความสำคัญต่อระบบ และอาจจะเข้าถึงสภาพคล่องของธนาคารกลาง ถ้าจำเป็น
เครดิตสวิสนับเป็นธนาคารชั้นนำระดับโลกแห่งแรกที่จะได้รับความช่วยเหลือฉุกเฉินนับตั้งแต่วิกฤติการเงินในปี 2008 และปัญหาของเครดิตสวิสก็ทำให้เกิดความไม่แน่ใจอย่างมากว่า ธนาคารกลางต่างๆจะสามารถต่อสู้กับเงินเฟ้อต่อไปด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบเชิงรุกได้หรือไม่
ปัญหาของธนาคารที่ก่อตั้งมา 167 ปีแล้วแห่งนี้ทำให้นักลงทุนและผู้ควบคุมกฎระเบียบเปลี่ยนความสนใจจากสหรัฐมาที่ยุโรป ซึ่งเครดิตสวิสทำให้มีแรงเทขายหุ้นกลุ่มธนาคาร หลังจากนักลงทุนรายใหญ่สุดของธนาคารเปิดเผยว่าไม่สามารถให้ความช่วยเหลือทางการเงินได้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ
นักลงทุนกำลังจับตาดูการดำเนินการของธนาคารกลางและผู้ควบคุมกฎในประเทศอื่นเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบบธนาคารด้วย รวมทั้งความเสี่ยงทางธุรกิจที่อาจจะมีกับเครดิตสวิส ขณะที่การปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ยากขึ้นที่ธุรกิจบางส่วนจะชำระคืน หรือจ่ายหนี้ ซึ่งเพิ่มโอกาสที่จะเกิดผลขาดทุนสำหรับธนาคารที่มีความวิตกเกี่ยวกับภาวะถดถอย--จบ--
Eikon source text
กองทุนตราสารหนี้โลกได้รับคำสั่งขายเป็นสัปดาห์ที่ 9 ติดต่อกันในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ต.ค. ขณะที่ข้อมูลเงินเฟ้อที่สูงเกินคาดได้เพิ่มความวิตกที่ว่า ธนาคารกลางชั้นนำทั่วโลกจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบเชิงรุกต่อไป
ข้อมูลจาก Refinitiv Lipper พบว่า นักลงทุนขายสุทธิกองทุนตราสารหนี้โลก 1.188 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจากที่ขาย 1.287 หมื่นล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ก่อน
นักลงทุนขายกองทุนตราสารหนี้ยุโรป 7.29 พันล้านดอลลาร์ และของสหรัฐ 4.16 พันล้านดอลลาร์ แต่ซื้อกองทุนตราสารหนี้เอเชีย 210 ล้านดอลลาร์
สินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ กองทุนพันธบัตรรัฐบาล และกองทุนตลาดเงินได้รับคำสั่งซื้อ 5.33 พันล้านดอลลาร์ และ 2.671 หมื่นล้านดอลลาร์ตามลำดับ
แรงขายกองทุนหุ้นลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 9 สัปดาห์ที่ 213 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากบริษัทสหรัฐหลายแห่ง อาทิ โกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป, เน็ทฟลิกซ์ และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันได้รายงานผลประกอบการที่ดีเกินคาด ส่วนกองทุนตราสารหนี้และหุ้นตลาดเกิดใหม่ได้รับคำสั่งขาย 2.25 พันล้านดอลลาร์ และ 2.36 พันล้านดอลลาร์ตามลำดับ--จบ--
ภาวะตลาดกระทิงที่ดำเนินมาร่วม 40 ปีของตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐสิ้นสุดลงแล้ว เมื่อตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดิ่งลงมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ในช่วงต้นปีนี้ และนักลงทุนพันธบัตรบางรายรู้สึกวิตกอีกครั้งว่า การพุ่งขึ้นร่วมหลายทศวรรษของพันธบัตรรัฐบาลกำลังจะสิ้นสุดลง ซึ่งทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีร่วงลงจากระดับสูงสุดที่ 15.3% ในปี 1981 มาที่ 0.54% ในเดือนมี.ค.2020
ตลาดพันธบัตรฟื้นตัวขึ้นจากแรงเทขายในอดีต ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำ และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่มีมุมมองเชิงผ่อนคลายนโยบาย แต่มุมมองเชิงลบดังกล่าวกลับมาอีกครั้งในขณะนี้ เมื่อเฟดส่งสัญญาณว่า พร้อมที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอย่างมาก และเร่งการลดขนาดงบดุลลงอย่างรวดเร็วเพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี
พันธบัตรอยู่ในสินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ติดอันดับสถานะขายมากที่สุดของกลุ่มผู้จัดการกองทุนโลกในผลสำรวจล่าสุดของแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ โดยนักลงทุนได้ถอนการลงทุนออกจากกองทุนพันธบัตรสุทธิในรอบ 10 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสถิติติดต่อกันนานที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2013 ขณะที่กองทุน iShares 20+ Year Treasury Bond ETF ซึ่งเป็นกองทุน ETF ที่เน้นพันธบัตรที่มีการซื้อขายหนาแน่นที่สุด ร่วงลง 18% แล้วในปีนี้
ภาวะชะลอตัวเป็นเวลานานของพันธบัตรอาจจะมีผลกระทบในวงกว้างนับตั้งแต่กระทบต้นทุนการกู้ของภาคเอกชนไปจนถึงกระทบพอร์ทการลงทุนของนักลงทุน ขณะที่ข้อมูลจากสมาคมธุรกิจหลักทรัพย์และตลาดการเงินพบว่า สัดส่วนการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของนักลงทุนรายย่อยและกองทุนรวมอยู่ที่ 4.39 ล้านล้านดอลลาร์ ณ สิ้นปี 2021
สำหรับหุ้นนั้น ผลกระทบจากผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้นขึ้นอยู่กับว่า เกิดขึ้นพร้อมกับราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่ ซึ่งอาจจะสร้างปัญหาให้แก่หุ้นในสภาวะที่เงินเฟ้อพุ่งสูงมากในปัจจุบัน ขณะที่หุ้นให้ผลตอบแทน 6.4% โดยเฉลี่ยในช่วงเวลาที่ผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้น 13 ครั้งระหว่างปี 1962 ถึงปี 2016 เมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ยของระยะยาวที่ 7.1% ในช่วงเวลาดังกล่าว แต่เมื่อผลตอบแทนเพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้อสูง ผลตอบแทนต่อปีโดยเฉลี่ยลดลงสู่ระดับ -0.4%--จบ--
นิวยอร์ค--18 ก.พ.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันพฤหัสบดี ในขณะที่ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับรัสเซียในเรื่องยูเครนทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และปัจจัยดังกล่าวกระตุ้นให้นักลงทุนหันไปซื้อหุ้นกลุ่มปลอดภัยและสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างเช่นพันธบัตรและทองคำ ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐกล่าวในวันพฤหัสบดีว่า ขณะนี้มีสัญญาณบ่งชี้เป็นอย่างมากว่า รัสเซียกำลังวางแผนจะรุกรานยูเครนในอีกไม่กี่วันข้างหน้า และรัสเซียกำลังเตรียมข้ออ้างเพื่อใช้เป็นเหตุผลในการรุกราน หลังจากกองทัพยูเครนยิงต่อสู้กับกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนที่สนับสนุนรัสเซียในภาคตะวันออกของยูเครน ทางด้านรัสเซียกล่าวหาปธน.ไบเดนว่ากระตุ้นความขัดแย้ง และรัสเซียออกจดหมายที่ระบุว่า รัฐบาลสหรัฐเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องด้านความมั่นคงของรัสเซีย
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดดิ่งลง 1.78% สู่ 34,312.03 ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 2021, ดัชนี S&P 500 ปิดรูดลง 2.12% สู่ 4,380.26 ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ และดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 2.88% สู่ 13,716.72 ซึ่งถือเป็นการรูดลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ. ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารดิ่งลงอย่างรุนแรง ในขณะที่หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคและหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นถือเป็นหุ้นเพียงสองกลุ่มที่ปิดตลาดในแดนบวก เนื่องจากหุ้นสองกลุ่มนี้ถือเป็นหุ้นกลุ่มปลอดภัย โดยหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นได้รับแรงหนุนจากหุ้นวอลมาร์ทที่พุ่งขึ้น 4.01% หลังจากวอลมาร์ทเปิดเผยยอดขายไตรมาสสี่ที่สูงเป็นประวัติการณ์
หุ้นกลุ่มการเงินร่วงลงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงสู่ 1.968% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี จาก 2.040% ในช่วงท้ายวันพุธ ทั้งนี้ หุ้นธนาคารขนาดใหญ่ ซึ่งรวมถึงเจพีมอร์แกน เชส, มอร์แกน สแตนเลย์ และแบงก์ ออฟ อเมริการ่วงลง ส่วนหุ้นธนาคารโกลด์แมน แซคส์และเวลส์ ฟาร์โกปรับลงด้วยเช่นกัน ถึงแม้ธนาคารทั้งสองคาดการณ์แนวโน้มในทางบวก
หุ้นเอ็นวิเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปดิ่งลง 7.51% หลังจากเอ็นวิเดียรายงานว่าอัตรากำไรขั้นต้นทรงตัว และนักลงทุนกังวลกับผลกระทบที่เอ็นวิเดียอาจได้รับจากตลาดสกุลเงินคริปโต โดยการดิ่งลงของหุ้นเอ็นวิเดียมีส่วนกดดันให้ดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐปิดตลาดดิ่งลง 3.74% ในวันพฤหัสบดีด้วย ทั้งนี้ หุ้นทริปแอดไซเซอร์ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการเว็บไซต์สำหรับการหาโรงแรมดิ่งลง 2.50% หลังจากทริปแอดไวเซอร์รายงานว่า ทางบริษัทมียอดขาดทุนในไตรมาสสี่
หุ้นแฮสโบรซึ่งเป็นผู้ผลิตของเล่นพุ่งขึ้น 2.09% หลังจากบริษัทแอลทา ฟ็อกซ์ แคปิตัล แมเนจเมนท์ ซึ่งเป็นนักลงทุนนักเคลื่อนไหวเสนอชื่อกรรมการ 5 คนให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริหารของแฮสโบร ทั้งนี้ หุ้นดอร์แดชซึ่งเป็นบริษัทจัดส่งอาหารทะยานขึ้น 10.69% หลังจากดอร์แดชรายงานรายได้รายไตรมาสที่แข็งแกร่ง และอุปสงค์ในการจัดส่งอาหารยังไม่มีแนวโน้มว่าจะชะลอตัวลง--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน