ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
นิวยอร์ค--17 เม.ย.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า นักลงทุนกำลังรอดูผลประกอบการไตรมาสแรกของบริษัทในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เพราะว่าผลประกอบการดังกล่าวอาจจะบ่งชี้ได้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีสถานะเป็นเช่นใด หลังจากเศรษฐกิจเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงมาเป็นเวลานาน และได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ผู้บริโภคสหรัฐรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดีในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจำนองและอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต อย่างไรก็ดี การปรับลดพนักงานจำนวนมากในบริษัทกลุ่มเทคโนโลยีในไตรมาสแรกและวิกฤติภาคธนาคาร ในเดือนมี.ค. อาจจะส่งผลลบต่อแนวโน้มการจับจ่ายใช้สอยในด้านต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงในภาคความบันเทิง, ร้านอาหาร, ภาครถยนต์ และภาคโรงแรม
นายแกร์เรทท์ เมลสัน นักยุทธศาสตร์การลงทุนพอร์ตลงทุนของบริษัทแนติซิส อินเวสท์เมนท์ แมเนเจอร์ส โซลูชันส์กล่าวว่า "นักลงทุนไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะทรุดตัวลงอย่างรุนแรง หรือว่าจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ถ้าหากตัวเลขในภาคการบริโภคอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง สิ่งนี้ก็จะช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะสามารถหลีกเลี่ยงจากภาวะเลวร้ายที่สุดได้" โดเขาคาดการณ์ในทางบวกต่อหุ้นกลุ่มก่อสร้างบ้านและหุ้นกลุ่มผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากเขาคาดว่าตลาดบ้านจะฟื้นตัวขึ้น
นักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐอาจดิ่งลง 5.2% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบรายปี หลังจากผลกำไรปรับลดลงไปแล้วในไตรมาส 4/2022 ซึ่งเท่ากับว่าจะเกิดภาวะผลกำไรถดถอย โดยนักวิเคราะห์คาดว่า กลุ่มบริษัทที่อาจจะมีผลกำไรดิ่งลงอย่างรุนแรงในไตรมาสแรกรวมถึงกลุ่มวัสดุที่อาจจะมีผลกำไรดิ่งลง 32.9%, กลุ่มการแพทย์ที่อาจรูดลง 18.9% และกลุ่มเทคโนโลยีที่อาจมีผลกำไรดิ่งลง 14.4% ส่วนกลุ่มบริษัทที่อาจมีผลกำไรพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสแรกรวมถึงกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่อาจจะมีผลกำไรพุ่งขึ้น 36.5%, กลุ่มอุตสาหกรรมที่อาจจะทะยานขึ้น 17.1% และกลุ่มพลังงานที่อาจมีผลกำไรพุ่งขึ้น 13.7% ทางด้านดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นมาแล้วราว 6.5% จากช่วงต้นปีนี้
บริษัทในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่จะรายงานผลประกอบการในสัปดาห์นี้รวมถึงบริษัทเน็ตฟลิกซ์ที่จะรายงานผลประกอบการในวันที่ 18 เม.ย., บริษัทเทสลาที่จะรายงานผลประกอบการในวันที่ 19 เม.ย. และบริษัทออโตเนชัน ส่วนบริษัทอะเมซอนดอทคอมจะรายงานผลประกอบการในวันที่ 27 เม.ย. ทั้งนี้ นายเมลสันกล่าวว่า ความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้บริษัทหลายแห่งในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยปรับลดต้นทุนลงเพื่อหนุนอัตราผลกำไร และปัจจัยนี้อาจจะส่งผลให้บริษัทในกลุ่มนี้รายงานผลกำไรไตรมาสแรกที่สูงเกินคาด
บริษัทในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยได้รับแรงหนุนจากตลาดแรงงานสหรัฐที่ยังคงอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง เพราะตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งช่วยหนุนปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยพุ่งขึ้นมาแล้วราว 14% จากช่วงต้นปีนี้ ซึ่งสูงกว่าอัตราการพุ่งขึ้นของดัชนี S&P 500 เป็นอย่างมาก ในขณะที่หุ้นเทสลาและหุ้นอะเมซอนครองน้ำหนักเกือบ 40% ในดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย ทั้งนี้ หุ้นเทสลาพุ่งขึ้นมาแล้วเกือบ 50% จากช่วงต้นปีนี้ ส่วนหุ้นอะเมซอนทะยานขึ้นมาแล้วเกือบ 22% ทางด้านกองทุน SPDR ETF สำหรบหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยมีเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิ 229.1 ล้านดอลลาร์ในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นยอดเงินไหลเข้าระยะ 6 สัปดาห์ที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2022--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--17 เม.ย.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงในวันศุกร์ ในขณะที่มีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ไร้ทิศทางชัดเจนในสหรัฐ และรายงานตัวเลขเหล่านี้ดูเหมือนจะสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง โดยปัจจัยลบดังกล่าวบดบังแรงหนุนที่ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับในช่วงแรก หลังจากธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐรายงานตัวเลขผลกำไรที่แข็งแกร่งเกินคาด ซึ่งถือเป็นการเปิดฤดูการรายงานผลประกอบการของบริษัทสหรัฐประจำไตรมาสแรก ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมทั้งการผลิตภาคโรงงาน, ภาคเหมืองแร่ และภาคสาธารณูปโภค ปรับขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. หลังจากปรับขึ้น 0.2% ในเดือนก.พ. โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับขึ้น 0.2% ในไตรมาสแรก หลังจากหดตัวลง 2.5% ในไตรมาส 4/2022 ทางด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมปรับขึ้นสู่ 79.8% ในเดือนมี.ค. จาก 79.6% ในเดือนก.พ. และอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของปี 1972-2022 ราว 0.1%
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.42% สู่ 33,886.47, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.21% สู่ 4,137.64 และดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.35% สู่ 12,123.47 ในวันศุกร์ อย่างไรก็ดี ดัชนีดาวโจนส์, S&P 500 และ Nasdaq ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวก โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพฤหัสบดี โดยก่อนหน้านี้ดัชนีดาวโจนส์เพิ่งทะยานขึ้น 1.14% ในวันพฤหัสบดี ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้น 1.33% ในวันพฤหัสบดี และดัชนี Nasdaq ทะยานขึ้น 1.99% ในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ หุ้น 7 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันศุกร์ในแดนลบ โดยหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ดิ่งลงมากที่สุด แต่ดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินพุ่งขึ้น 1.1% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันศุกร์
ธนาคารซิตี้กรุ๊ป, เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และเวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โคต่างก็เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาดในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และจากการที่ชาวสหรัฐลดความกังวลที่มีต่อวิกฤติภาคธนาคาร โดยนายรอส เมย์ฟิลด์ นักวิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัท Baird กล่าวว่า "ธนาคารขนาดใหญ่ไม่ได้รับความเสียหายมากนักจากภาวะปั่นป่วนวุ่นวายในธนาคารระดับภูมิภาค และธนาคารขนาดใหญ่อาจจะเป็นฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จากภาวะปั่นป่วนวุ่นวายดังกล่าวด้วย โดยเราพบว่างบดุลของธนาคารขนาดใหญ่อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเป็นส่วนใหญ่ และสิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า วิกฤติธนาคารระดับภูมิภาคไม่ได้เป็นวิกฤติเชิงระบบ" ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐพุ่งขึ้น 3.5% ในวันศุกร์ ในขณะที่หุ้นธนาคารเจพีมอร์แกน เชสทะยานขึ้น 7.6% ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย. 2020 ส่วนหุ้นซิตี้กรุ๊ปทะยานขึ้น 4.8% แต่หุ้นเวลส์ ฟาร์โกขยับลง 0.1%
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดค้าปลีกสหรัฐร่วงลงอย่างรุนแรงเกินคาดในเดือนมี.ค. เนื่องจากผู้บริโภคปรับลดการซื้อรถยนต์และสินค้ารายการใหญ่ โดยยอดค้าปลีกดิ่งลง 1.0% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับลง 0.2% ในเดือนก.พ. ส่วนมหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐปรับขึ้นจาก 62.0 ในเดือนมี.ค. สู่ 63.5 ในเดือนเม.ย. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 62.0 ทั้งนี้ เทรดเดอร์ในตลาดสัญญาล่วงหน้า Fed funds คาดการณ์ว่า มีโอกาส 81% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 2-3 พ.ค.
นักลงทุนรอดูผลประกอบการบริษัทสหรัฐหลายแห่งที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์หน้า ซึ่งรวมถึงผลประกอบการของธนาคารโกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์, มอร์แกน สแตนเลย์, แบงก์ ออฟ อเมริกา และบริษัทเน็ตฟลิกซ์ ในขณะที่ธนาคารระดับภูมิภาคและบริษัทในภาคอุตสาหกรรมหลายแห่งก็จะรายงานผลประกอบการออกมาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจดิ่งลง 4.8% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบรายปี--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐได้อัดฉีดเงินฝาก 3.0 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่ธนาคารเฟิร์สต์ รีพับลิค แบงก์เมื่อวานนี้ เพื่อเข้าพยุงกิจการธนาคารแห่งนี้ที่เผชิญกับวิกฤติที่ขยายวงกว้างขึ้นหลังการล้มละลายของธนาคารขนาดกลาง 2 แห่งของสหรัฐในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ราคาหุ้นเฟิร์สต์ รีพับลิค แบงก์ดิ่งลง 70% ในรอบ 9 วันทำการที่ผ่านมา
ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดหลายแห่งของสหรัฐ อาทิ เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, ซิตี้กรุ๊ป อิงค์, แบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป, เวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โค, โกลด์แมน แซคส์ และมอร์แกน สแตนเลย์มีส่วนร่วมในการเข้ากอบกู้ครั้งนี้ และหุ้นเฟิร์สต์ รีพับลิค แบงก์ก็ปิดพุ่งขึ้น 10% รับข่าวดังกล่าว แต่ก็ร่วงลง 18% ในการซื้อขายหลังตลาดปิดทำการ หลังจากที่ธนาคารประกาศว่าจะระงับการจ่ายปันผล
ข้อตกลงช่วยเหลือครั้งนี้เกิดขึ้นจากการดำเนินการของนายหน้าผู้มีอำนาจ อาทิ เจเน็ท เยลเลน รมว.คลังสหรัฐ, นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และนายเจมี ไดมอน ซีอีโอเจพีมอร์แกน เชส ซึ่งได้หารือถึงมาตรการช่วยเหลือเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
เยนเลนระบุว่า ระบบธนาคารของสหรัฐยังคงแข็งแกร่งเนื่องจากการดำเนินการที่ "เด็ดขาดและแข็งขัน" หลังการล้มละลายของซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์--จบ--
Eikon source text
ธนาคารเครดิตสวิสเปิดเผยว่า จะกู้เงิน 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์จากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อนำมาพยุงสภาพคล่อง และความเชื่อมั่นของนักลงทุน หลังจากที่การดิ่งลงของหุ้นได้เพิ่มความวิตกเกี่ยวกับวิกฤติการเงินโลก ซึ่งการประกาศของธนาคารกลางช่วยสกัดแรงเทขายหุ้นในตลาดการเงินในการซื้อขายที่ตลาดเอเชียในวันนี้ได้ หลังจากที่ดิ่งลงอย่างหนักในตลาดยุโรปและสหรัฐเมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนรู้สึกวิตกกับแนวโน้มที่จะมีการแห่ถอนเงินออกจากธนาคารทั่วโลก
เครดิตสวิสระบุในแถลงการณ์ว่า จะใช้ทางเลือกในการกู้เงินจากธนาคารกลางไม่เกิน 5.0 หมื่นล้านฟรังก์สวิส (5.4 หมื่นล้านดอลลาร์) หลังจากที่ทางการสวิสออกมารับประกันว่า เครดิตสวิสมีการดำรงเงินทุนและสภาพคล่องตามที่กำหนดไว้กับธนาคารที่มีความสำคัญต่อระบบ และอาจจะเข้าถึงสภาพคล่องของธนาคารกลาง ถ้าจำเป็น
เครดิตสวิสนับเป็นธนาคารชั้นนำระดับโลกแห่งแรกที่จะได้รับความช่วยเหลือฉุกเฉินนับตั้งแต่วิกฤติการเงินในปี 2008 และปัญหาของเครดิตสวิสก็ทำให้เกิดความไม่แน่ใจอย่างมากว่า ธนาคารกลางต่างๆจะสามารถต่อสู้กับเงินเฟ้อต่อไปด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบเชิงรุกได้หรือไม่
ปัญหาของธนาคารที่ก่อตั้งมา 167 ปีแล้วแห่งนี้ทำให้นักลงทุนและผู้ควบคุมกฎระเบียบเปลี่ยนความสนใจจากสหรัฐมาที่ยุโรป ซึ่งเครดิตสวิสทำให้มีแรงเทขายหุ้นกลุ่มธนาคาร หลังจากนักลงทุนรายใหญ่สุดของธนาคารเปิดเผยว่าไม่สามารถให้ความช่วยเหลือทางการเงินได้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ
นักลงทุนกำลังจับตาดูการดำเนินการของธนาคารกลางและผู้ควบคุมกฎในประเทศอื่นเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบบธนาคารด้วย รวมทั้งความเสี่ยงทางธุรกิจที่อาจจะมีกับเครดิตสวิส ขณะที่การปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ยากขึ้นที่ธุรกิจบางส่วนจะชำระคืน หรือจ่ายหนี้ ซึ่งเพิ่มโอกาสที่จะเกิดผลขาดทุนสำหรับธนาคารที่มีความวิตกเกี่ยวกับภาวะถดถอย--จบ--
Eikon source text
ลอนดอน--13 มี.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ระบุว่า ยุคสมัยที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำได้สิ้นสุดลงแล้ว และวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวก็เริ่มส่งผลกระทบต่อตลาดโลกในช่วงนี้ ในขณะที่หน่วยงานควบคุมกฎระเบียบทางการธนาคารของรัฐแคลิฟอร์เนียสั่งปิดธนาคารซิลิคอน แวลลีย์ (SVB) ซึ่งเป็นธนาคารที่เน้นปล่อยกู้แก่ภาคเทคโนโลยีในวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐสร้างความยากลำบากด้านการระดมทุนให้แก่ลูกค้าของ SVB ในภาคเทคโนโลยีและภาคการแพทย์ และส่งผลให้ลูกค้าของ SVB ถอนเงินฝากออกจากธนาคาร และสิ่งนี้ก็สร้างความเสียหายต่อพอร์ตลงทุนในพันธบัตรขนาด 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ของ SVB ด้วย ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ได้ระบุถึง 5 จุดสำคัญในตลาดโลกที่ได้รับความเสียหายจากวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยจุดแรกคือภาคธนาคาร ในขณะที่นักลงทุนตั้งข้อสงสัยว่า ธนาคารแห่งอื่น ๆ จะมีความจำเป็นต้องเทขายพันธบัตรในราคาขาดทุนตาม SVB ด้วยหรือไม่ เพื่อจะได้หาเงินมาใช้รองรับการแห่ถอนเงินฝากออกจากธนาคาร โดยทางการสหรัฐเคยระบุในเดือนก.พ.ว่า ธนาคารสหรัฐมียอดขาดทุนทางบัญชีในด้านหลักทรัพย์สูงกว่า 6.20 แสนล้านดอลลาร์ โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์มองว่า ปัญหาของ SVB ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับธนาคารบางแห่งอย่างเฉพาะเจาะจงเท่านั้น และธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกาตั้งข้อสังเกตว่า ธนาคารพาณิชย์ในยุโรปไม่ได้ปรับเพิ่มปริมาณการถือครองพันธบัตรนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา
จุดที่ 2 คือหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ในขณะที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้นักลงทุนไม่เต็มใจที่จะลงทุนในหุ้นของบริษัทจัดตั้งใหม่ โดยเฉพาะหลังจากที่บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ออกประกาศเตือนเรื่องผลกำไรและประกาศปลดพนักงานออกจำนวนมาก โดยนักวิเคราะห์บางรายคาดการณ์ว่า ถ้าหากอัตราดอกเบี้ยสหรัฐยังคงปรับขึ้นต่อไปในปี 2023 ดัชนี Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐก็อาจจะเผชิญกับแรงเทขายอย่างหนักหน่วง ทั้งนี้ บริษัทที่วางแผนจะปลดพนักงานออกในช่วงนี้รวมถึงอะเมซอนที่วางแผนจะปลดพนักงานออกราว 18,000 คน, แอลฟาเบทที่ระดับราว 12,000 คน, เมตา แพลตฟอร์มส์ที่ระดับราว 11,000 คน, ไมโครซอฟท์ที่ระดับราว 10,000 คน และเซลส์ฟอร์ซที่วางแผนจะปลดพนักงานออกราว 8,000 คน
จุดที่ 3 คืออัตราการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นในภาคเอกชน โดยบริษัทเอสแอนด์พี โกลบอลระบุว่า ยอดการผิดนัดชำระหนี้ในยุโรปในปี 2022 ได้พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดอันดับ 2 นับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา และทางบริษัทคาดการณ์อีกด้วยว่า อัตราการผิดนัดชำระหนี้ในสหรัฐจะพุ่งขึ้นจาก 1.6% ในเดือนก.ย. 2022 สู่ 3.75% ในเดือนก.ย. 2023 โดยมีตัวเลขคาดการณ์สูงสุดอยู่ที่ 6.0% ส่วนอัตราการผิดนัดชำระหนี้ในยุโรปจะพุ่งขึ้นจาก 1.4% ในเดือนก.ย. 2022 สู่ 3.25% ในเดือนก.ย. 2023 โดยมีตัวเลขคาดการณ์สูงสุดอยู่ที่ 5.5% ทั้งนี้ นักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่การกู้ยืมเงินกันนอกตลาดด้วย โดยยอดการกู้ยืมเงินกันนอกตลาดพุ่งขึ้นจาก 2.50 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2010 สู่ระดับราว 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
จุดที่ 4 คือตลาดสกุลเงินคริปโต ในขณะที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเคยส่งผลให้ตลาดสกุลเงินคริปโตประสบภาวะปั่นป่วนวุ่นวายในปี 2022 และส่งผลให้บิทคอยน์ดิ่งลง 64% ในปีนั้น โดยบิทคอยน์ยังคงเคลื่อนตัวอยู่ใกล้จุดต่ำสุดรอบ 2 เดือนในช่วงนี้ ทั้งนี้ หุ้นของบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับสกุลเงินคริปโตดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันที่ 9 มี.ค. หลังจากบริษัทซิลเวอร์เกต แคปิตัล คอร์ป ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับสกุลเงินคริปโต ประกาศว่าทางธนาคารจะปิดกิจการ
จุดที่ 5 คือตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มได้รับความเสียหายตั้งแต่ปีที่แล้ว และมีแนวโน้มว่าราคาบ้านจะร่วงลงต่อไปอีกในปีนี้--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ดัชนีหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันศุกร์ หลังจากข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาดทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับการดำเนินการแบบเชิงรุกของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขณะที่นักลงทุนได้พิจารณารายงานผลประกอบการของบริษัทขนาดใหญ่ที่ออกมาไร้ทิศทาง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลดลง 127.93 จุด หรือ 0.38% ที่ 33,926.01, ดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลง 43.28 จุด หรือ 1.04% สู่ระดับ 4,136.48 และดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 193.86 จุด หรือ 1.59% สู่ 12,006.96 และในสัปดาห์ที่แล้ว ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นรวม 1.6%, ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 0.15% และดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้น 3.3%
การจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐพุ่งขึ้น 517,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. มากกว่าที่คาดไว้ที่ 185,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 53 ปีครึ่งที่ 3.4% และกิจกรรมภาคบริการของสหรัฐดีดตัวขึ้นแข็งแกร่งในเดือนม.ค.
นักลงทุนได้พิจารณาสัญญาณที่มีหวังที่ว่า เศรษฐกิจอาจจะหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยที่วิตกกันได้กับความวิตกว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงต่อไปเพื่อควบคุมเงินเฟ้อเป็นเวลานานเท่าใด
นักลงทุนได้พิจารณารายงานผลประกอบการของภาคเอกชนด้วย โดยหุ้นแอปเปิลพุ่งขึ้น 2.4% หลังจากบริษัทคาดว่า รายได้จะลดลงเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน แต่ยอดขายไอโฟนอาจจะดีขึ้นเนื่องจากการผลิตในจีนฟื้นตัวสู่ระดับปกติแล้ว แต่หุ้นอเมซอนดิ่งลง 8.4% ขณะที่บริษัทแถลงว่า กำไรจากการดำเนินงานอาจลดลงสู่ระดับ 0 ในไตรมาสปัจจุบัน เนื่องจากการลดต้นทุนจากการปลดพนักงานไม่ได้ชดเชยผลกระทบทางการเงินของผู้บริโภค และทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย และหุ้นอัลฟาเบทร่วงลง 2.7% หลังจากแถลงผลกำไรและยอดขายไตรมาส 4 ที่ต่ำกว่าที่ตลาดวอลล์สตรีทคาดการณ์ไว้มาก--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปลและเรียบเรียง)
1 ก.พ.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ระบุว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวของธนาคารกลางทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมาจะสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อตลาดต่าง ๆ โดยตลาดแรกคือตลาดหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเคยได้รับแรงหนุนเป็นอย่างมากในทศวรรษที่แล้วท่ามกลางภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำมากในทศวรรษนั้น ทั้งนี้ นักลงทุนมักจะลงทุนในหุ้นกลุ่มที่จ่ายเงินปันผลสูงในช่วงที่เศรษฐกิจเผชิญกับความไม่แน่นอน ดังนั้นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจึงอาจจะไม่ได้รับความนิยมในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงหุ้นแอปเปิลที่มีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลต่ำกว่า 1% นอกจากนี้ บริษัทหลายแห่งในกลุ่มเทคโนโลยีก็กำลังปรับลดจำนวนพนักงานลงในช่วงนี้ด้วย ซึ่งรวมถึงบริษัทแอลฟาเบทที่วางแผนจะปลดพนักงานออกราว 12,000 ตำแหน่ง ในขณะที่บริษัทไมโครซอฟท์, อะเมซอน และเมตา แพลตฟอร์มส์วางแผนจะปลดพนักงานออกเกือบ 40,000 ตำแหน่ง
ความเสียหายประการที่ 2 คือการผิดนัดชำระหนี้ในภาคเอกชนที่พุ่งสูงขึ้นพร้อมกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยบริษัทเอสแอนด์พี โกลบอลระบุว่า ยุโรปมียอดการผิดนัดชำระหนี้ในปีที่แล้วสูงเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา และเอสแอนด์พี โกลบอลคาดว่า อัตราการผิดนัดชำระหนี้ในสหรัฐอาจจะพุ่งขึ้นจาก 1.6% ในเดือนก.ย. 2022 สู่ 3.75% ในเดือนก.ย. 2023 โดยมีตัวเลขคาดการณ์สูงสุดอยู่ที่ 6.0% ส่วนอัตราการผิดนัดชำระหนี้ในยุโรปอาจจะพุ่งขึ้นจาก 1.4% ในเดือนก.ย. 2022 สู่ 3.25% ในเดือนก.ย. 2023 โดยมีตัวเลขคาดการณ์สูงสุดอยู่ที่ 5.5%
ความเสียหายประการที่ 3 คือความเสียหายที่อาจมีต่อตลาดการปล่อยกู้ภาคเอกชน ซึ่งรวมถึงการปล่อยกู้โดยตรง หลังจากตลาดดังกล่าวมีขนาดพุ่งขึ้นจาก 2.50 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2010 สู่ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำมากในช่วงหลังเกิดวิกฤติการเงินปี 2008 กระตุ้นให้นักลงทุนต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงนั้น ซึ่งรวมถึงลงทุนในการปล่อยสินเชื่อแบบคิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจะส่งผลให้บริษัทหลายแห่งมีภาระหนี้เพิ่มสูงขึ้น และอาจจะส่งผลให้บริษัทเหล่านี้เผชิญความยากลำบากในการระดมเงินสดให้ได้มากพอเพื่อนำมาจ่ายดอกเบี้ย
ความเสียหายประการที่ 4 คือความเสียหายที่ตลาดสกุลเงินคริปโตได้รับจากอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้น โดยบิทคอยน์ดิ่งลงมาแล้ว 64% ในปี 2022 และมูลค่าของตลาดสกุลเงินคริปโตทั่วโลกก็รูดลงราว 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว
ความเสียหายประการที่ 5 คือความเสียหายในตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มตกต่ำลงในปีที่แล้วท่ามกลางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และมีแนวโน้มว่าราคาบ้านในสหรัฐอาจจะดิ่งลง 12% ในปี 2023 ด้วย ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนในผลสำรวจของแบงก์ ออฟ อเมริการะบุว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนถือเป็นปัจจัยที่มีความเป็นไปได้สูงเป็นอันดับสองที่จะก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ ทางด้านบริษัทวีล, กอทชาล แอนด์ แมงเจสรายงานว่า หนี้ด้อยคุณภาพในภาคอสังหาริมทรัพย์ของยุโรปพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2012 นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังกล่าวเตือนอีกด้วยว่า ผลกำไรของภาคธนาคารในยุโรปอาจจะได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากจากการดิ่งลงของราคาบ้าน--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน