ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
นิวยอร์ค--31 ก.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงหนุนในช่วงนี้จากเศรษฐกิจสหรัฐที่รักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี และจากการคาดการณ์ที่ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว ถึงแม้นักลงทุนกังวลกับมูลค่าหุ้นที่ระดับสูง และกังวลกับความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อจะดีดขึ้น ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้วเกือบ 19% จากช่วงต้นปีนี้ และบวกขึ้นมาแล้วราว 1% ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยตลาดหุ้นทะยานขึ้นเกือบ 10% นับตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.ด้วย โดยดัชนีได้รับแรงหนุนในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาจากการที่รัฐบาลสหรัฐสามารถแก้ไขปัญหาเพดานหนี้ได้, จากการชะลอตัวลงของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนตลาดหุ้นสหรัฐคือการที่นักลงทุนมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลังจะเข้าสู่ภาวะพอเหมาะพอดี (Goldilocks) ซึ่งเป็นภาวะที่ดัชนี CPI ชะลอตัวลงแต่เศรษฐกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยมุมมองดังกล่าวของนักลงทุนได้รับแรงหนุนในสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในวันพุธที่ 26 ก.ค.ว่า เจ้าหน้าที่เฟดไม่ได้คาดการณ์อีกต่อไปว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ และเขากล่าวเสริมว่า เฟดมีโอกาสที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับคืนสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ได้ โดยที่การจ้างงานไม่ได้ลดลงมากนัก
เฟดเพิ่งตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 16 ปีในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. โดยเฟดให้เหตุผลว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง และแถลงการณ์ของเฟดเปิดโอกาสสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีก ทางด้านนักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดการณ์ในวันศุกร์ว่า มีโอกาสเกือบ 73% ที่เฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงไปกว่านี้อีกจนถึงช่วงสิ้นปีนี้ โดยโอกาสดังกล่าวปรับขึ้นจากระดับเพียง 24% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อน
เศรษฐกิจสหรัฐจะเผชิญกับบททดสอบในสัปดาห์นี้เมื่อกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ค.ในวันศุกร์ที่ 4 ส.ค. โดยนักวิเคราะห์ระบุว่า ถ้าหากสหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานที่สูงเกินไป นักลงทุนก็อาจจะกังวลว่าเฟดจะมีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับที่สูงเกินคาด ทั้งนี้ นายบ็อบ คาลแมน ผู้จัดการพอร์ตลงทุนของบริษัทมิรามาร์ แคปิตัลกล่าวว่า มีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้นที่เฟดอาจจะมีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับสูงกว่า 5.50% ในปัจจุบัน และคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงอย่างนั้นเป็นเวลานานเกินคาด โดยการที่เฟดทำเช่นนั้นอาจจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและราคาสินทรัพย์เสี่ยง นอกจากนี้ เขายังกล่าวเสริมว่า "มีความเป็นไปได้ 50% ที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะพอเหมาะพอดี และมีความเป็นไปได้ 50% ที่เศรษฐกิจอาจจะตกต่ำลงอย่างรุนแรง"
นักวิเคราะห์หลายรายพยายามประเมินว่าการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐจะดำเนินไปอย่างยั่งยืนเพียงใด หลังจากดัชนี Nasdaq 100 ที่ครอบคลุมหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจำนวนมากพุ่งขึ้นมาแล้วเกือบ 44% จากช่วงต้นปีนี้ และดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ของสหรัฐทะยานขึ้นมาแล้วเกือบ 46% จากช่วงต้นปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนบางส่วนจากกระแสความนิยมในปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทั้งนี้ บริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์คาดการณ์แนวโน้มในทางบวกในช่วงนี้ และบริษัทแอลฟาเบทก็รายงานในสัปดาห์ที่แล้วว่า ผลกำไรไตรมาสสองอยู่สูงกว่าระดับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในบริการคลาวด์และจากยอดโฆษณาที่ฟื้นตัว โดยปัจจัยเหล่านี้ช่วยส่งเสริมมุมมองที่ว่า การที่มูลค่าหุ้นบริษัทขนาดยักษ์อยู่ในระดับสูงถือเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--25 ก.ค.--รอยเตอร์
นักลงทุนบางรายหันไปซื้อหุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลสูงในสหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว หลังจากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วรวมกัน 5.00% นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 เป็นต้นมา ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวที่สุดในรอบหลายสิบปี และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 2 ปีให้พุ่งขึ้นแตะ 5.120% ในวันที่ 6 ก.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2007 หรือจุดสูงสุดในรอบ 16 ปี โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีอยู่ที่ 4.856% ในปัจจุบัน ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ในช่วงที่ผ่านมาเคยส่งผลลบต่อหุ้นบริษัทหลายแห่งที่จ่ายเงินปันผลสูง ในขณะที่นักลงทุนมักจะซื้อหุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลสูงในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ต่ำกว่าระดับปัจจุบันเป็นอย่างมาก
นักลงทุนหลายรายคาดว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. แต่เฟดอาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกในช่วงหลังจากนั้น และการคาดการณ์ดังกล่าวก็ส่งผลให้หุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลสูงมีความน่าดึงดูดอีกครั้ง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอาจจะร่วงลงในอนาคต ทั้งนี้ นายเจอร์เรียน ทิมเมอร์ จากบริษัทฟิเดลิที อินเวสท์เมนท์กล่าวว่า "อัตราผลตอบแทนที่ 5% ที่คุณได้จากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดูเหมือนจะเป็นเพียงเหตุการณ์ชั่วคราว และการร่วงลงของบอนด์ยิลด์ก็จะช่วยลดแรงกดดันที่มีต่อหุ้นบริษัทที่แข่งขันกับบอนด์ยิลด์" โดยในตอนนี้นายทิมเมอร์มุ่งความสนใจไปยังหุ้นกลุ่มการเงินและหุ้นกลุ่มพลังงาน เนื่องจากเขาคาดว่าหุ้นสองกลุ่มนี้จะได้รับประโยชน์จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย
กระแสความสนใจที่เริ่มเพิ่มสูงขึ้นในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงปรากฏให้เห็นในยอดเงินลงทุนที่ไหลเข้าสู่กองทุน ProShares S&P 500 Dividend Aristocrats ETF ซึ่งเป็นกองทุนขนาด 1.17 หมื่นล้านดอลลาร์ที่ลงทุนในบริษัทที่ปรับเพิ่มเงินปันผลทุกปีในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา โดยกองทุนแห่งนี้มียอดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิ 33 ล้านดอลลาร์ในช่วง 2 สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ก.ค. ซึ่งถือเป็นยอดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. โดยกองทุนแห่งนี้พุ่งขึ้นมาแล้วราว 7.5% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐทะยานขึ้นมาแล้วเกือบ 19% จากช่วงต้นปีนี้
ผลสำรวจของแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบัล รีเสิร์ชระบุว่า ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกราว 44% คาดการณ์ในตอนนี้ว่า หุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงจะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าหุ้นที่จ่ายเงินปันผลต่ำ โดยสัดส่วน 44% นี้ปรับขึ้น 9% จากเดือนก่อน
ข้อมูลจากบริษัทเอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินดิเซสระบุว่า บริษัทสหรัฐปรับเพิ่มการจ่ายเงินปันผลเฉลี่ย 9.1% นับตั้งแต่ต้นปี 2023 หลังจากปรับเพิ่มเงินปันผลเฉลี่ย 11.8% ในช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว โดยมีบริษัทสหรัฐ 14 แห่งที่ได้ระงับการจ่ายเงินปันผลหรือปรับลดเงินปันผลลงนับตั้งแต่ต้นปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจากบริษัทเพียง 4 แห่งที่ทำแบบเดียวกันในปีก่อน ทั้งนี้ นายโฮเวิร์ด ซิลเวอร์แบลท นักวิเคราะห์ดัชนีของบริษัทเอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินดิเซสระบุว่า นักลงทุนต้องการซื้อหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงในช่วงนี้ เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าบอนด์ยิลด์อาจจะร่วงลง แต่ตลาดหุ้นอาจจะยังคงปรับขึ้นต่อไป--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของจีนอาจกระทบบริษัทที่ลงทุนในจีน อาทิ แอปเปิล, ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ และผู้ค้าปลีกสินค้าหรู ขณะที่บริษัทเหล่านี้จะรายงานผลประกอบการในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า โดยตลาดวอลล์สตรีทกำลังเตรียมตัวรับผลกำไรไตรมาส 2 ที่ร่วงลงอย่างมากของบริษัทสหรัฐ ซึ่งคาดว่ากำไรขั้นต้นจะได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อ และการใช้จ่ายที่ลดลงของสหรัฐ ส่วนบริษัทของสหรัฐและยุโรปที่มีการลงทุนในจีนก็อาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาของจีน เนื่องจากการฟื้นตัวหลังโควิดชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว
รายงานผลประกอบการเบื้องต้นบ่งชี้ว่า ผลกระทบต่อเนื่องเกิดขึ้นจริงแล้ว โดยเอบีบี บริษัทด้านวิศวกรรมของสวิตเซอร์แลนด์รายงานว่า ยอดสั่งซื้อในจีนร่วงลง 9% ในไตรมาส 2 ขณะที่ริชมอนต์ เจ้าของแบรนด์คาร์เทียร์แถลงว่า ยอดขายในเอเชียต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ส่วนเทลสลาเปิดเผยยอดขายรถยนต์ที่ผลิตในจีนสูงเป็นประวัติการณ์ 247,217 คันในไตรมาส 2 แต่ก็มีกำไรขั้นต้นลดลงเนื่องจากบริษัททำสงครามราคากับคู่แข่ง
การแถลงผลประกอบการจากเอ็นเอ็กซ์พี เซมิคอนดัคเตอร์ส เอ็นวีในวันที่ 24 ก.ค. และเท็กซัส อินสทรูเมนต์ในวันที่ 25 ก.ค.จะเป็นตัววัดความต้องการชิป โดยจีนมีสัดส่วนรายได้ 36% ของเอ็นเอ็กซ์พีในปีที่แล้ว และ 50% ของรายได้ของเท็กซัส อินสทรูเมนต์ ซึ่งนายโจนาธาน โกลับ หัวหน้านักกลยุทธ์หุ้นสหรัฐจากเครดิต สวิสกล่าวว่า ภาวะชะลอตัวในจีนที่ขัดขวางเศรษฐกิจสหรัฐอาจจำกัดการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้น
ยอดขายของแอปเปิลในจีนร่วงลง 2.9% ในไตรมาสเดือนมี.ค. ซึ่งแย่กว่ารายได้โดยรวมที่ลดลง 2.5% ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า รายได้ของแอปเปิลจะลดลง 1.7% สู่ระดับ 8.16 หมื่นล้านดอลลาร์ในไตรมาสเดือนมิ.ย. ซึ่งจะต่ำสุดในรอบ 2 ปี
บริษัทสหรัฐที่ประกอบธุรกิจในจีนกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐและจีนด้วย โดยเฉพาะในธุรกิจเซมิคอนดัคเตอร์ และผู้ผลิตชิปกำลังเผชิญกับกฎใหม่ของสหรัฐที่บังคับใช้ในเดือนต.ค.เพื่อทำให้อุตสาหกรรมชิปของจีนหยุดชะงัก--จบ--
Eikon source text
ลอนดอน--4 ก.ค.--รอยเตอร์
นักลงทุนจับตาดูว่า ภาคเศรษฐกิจใดบ้างที่จะได้รับความเสียหายจากการที่ธนาคารกลางหลายแห่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวที่สุดในรอบหลายสิบปีในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะหลังจากที่ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ 5.00% ในวันที่ 22 มิ.ย. และธนาคารกลางนอร์เวย์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ 3.75% ในวันเดียวกัน โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวบ่งชี้ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายแห่งยังไม่สิ้นสุดลง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ระบุว่า หนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่อาจได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยคือภาคที่อยู่อาศัยในยุโรป ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในอังกฤษพุ่งขึ้นจาก 0.25% เมื่อสองปีก่อน สู่ 5% ในปัจจุบัน และมีการประเมินกันว่า เจ้าของบ้าน 2.4 ล้านรายในอังกฤษจะต้องรับมือกับอัตราดอกเบี้ยจำนองที่ทะยานขึ้นสูงมากก่อนสิ้นปี 2024 ทางด้านสวีเดนก็อาจจะประสบปัญหาในด้านนี้ด้วยเช่นกัน หลังจากธนาคารกลางสวีเดนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 3.75% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยจำนองบ้านทะยานขึ้นตามไปด้วย
ภาคเศรษฐกิจที่ 2 ที่อาจได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากคือภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ หลังจากธุรกิจภาคนี้เคยฉวยโอกาสกู้เงินจำนวนมากในยุคที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ เพื่อนำเงินดังกล่าวไปกว้านซื้ออสังหาริมทรัพย์ แต่ธุรกิจกลุ่มนี้จะต้องรับมือกับอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งขึ้นสูงมากในปัจจุบันเมื่อธุรกิจกลุ่มนี้กู้เงินใหม่เพื่อนำมาชำระหนี้เก่า (รีไฟแนนซ์) นอกจากนี้ ภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ในสวีเดนก็อาจจะได้รับแรงกดดันมากเป็นพิเศษทั้งจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น, จากหนี้สินที่ระดับสูง และจากความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในช่วงนี้ด้วย ทั้งนี้ ธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์เผชิญแรงกดดันจากกระแสการลดขนาดสำนักงานลงในช่วงนี้ด้วยเช่นกัน โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของกระแสนี้คือการที่ธนาคาร HSBC ย้ายสำนักงานในกรุงลอนดอนไปยังสำนักงานใหม่ที่มีขนาดเล็กกว่าเดิม
ภาคเศรษฐกิจที่ 3 ที่อาจได้รับความเสียหายจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยคือภาคธนาคาร ในขณะที่ธนาคารถือครองสินทรัพย์สองประเภทในงบดุล ซึ่งได้แก่สินทรัพย์ที่ไว้ใช้เป็นสภาพคล่อง และสินทรัพย์ที่มีหน้าที่คล้ายเงินออมที่จะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้สินทรัพย์หลายรายการมีมูลค่าดิ่งลง 10-15% เมื่อเทียบกับราคาที่ซื้อมา และถ้าหากธนาคารจำเป็นต้องขายสินทรัพย์ดังกล่าวออกไป ธนาคารก็จะขาดทุน ทั้งนี้ สินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารถือครองไว้ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด และนักลงทุนก็มองว่ามาตรฐานการปล่อยกู้สำหรับภาคครัวเรือนถือเป็นประเด็นที่น่ากังวลด้วย โดยนายฟลอเรียน เอลโป จากบริษัทลอมบาร์ด โอเดียร์ อินเวสท์เมนท์ แมเนเจอร์สคาดว่า ผู้บริโภคจะยุติการชำระหนี้ในไตรมาส 3 และ 4 ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อภาคธนาคาร
นักวิเคราะห์คาดว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้อัตราการผิดนัดชำระหนี้ในภาคเอกชนพุ่งสูงขึ้นด้วย โดยบริษัทเอสแอนด์พีคาดว่า อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทยุโรปที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าเกรดน่าลงทุน จะพุ่งขึ้นสู่ 3.6% ในเดือนมี.ค. 2024 จาก 2.8% ในเดือนมี.ค.ปีนี้ ส่วนอัตราการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทสหรัฐที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าเกรดน่าลงทุน จะพุ่งขึ้นสู่ 4.25% ในเดือนมี.ค. 2024 จาก 2.5% ในเดือนมี.ค.ปีนี้
นักวิเคราะห์ระบุว่า อีกปัจจัยที่อาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลกได้ก็คือสถานการณ์ในรัสเซีย หลังจากกลุ่มทหารรับจ้างแวกเนอร์พยายามจะก่อกบฏในรัสเซียในช่วงปลายเดือนมิ.ย. และยกเลิกปฏิบัติการดังกล่าวไปอย่างรวดเร็ว โดยมีการคาดการณ์กันว่า ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งรวมถึงน้ำมันดิบและธัญพืชจะได้รับผลกระทบ ถ้าหากเกิดความเปลี่ยนแปลงภายในรัสเซีย และถ้าหากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อและส่งผลให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยง ประเทศหลายประเทศและบริษัทหลายแห่งก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--10 มิ.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐได้พุ่งขึ้นมาแล้ว 20% จากจุดต่ำสุดของเดือนต.ค. 2022 ซึ่งเท่ากับว่าตลาดหุ้นสหรัฐได้เข้าสู่ภาวะกระทิง ถึงแม้ว่าตลาดหุ้นเคยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยหลายประการในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย, วิกฤติภาคธนาคาร และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ทั้งนี้ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวในเดือนมี.ค. 2022 ดัชนี S&P 500 ก็ดิ่งลง 25% จากสถิติสูงสุด โดยได้ลงไปแตะระดับปิดต่ำสุดของวัฏจักรที่ 3,577.03 ในวันที่ 12 ต.ค. 2022 อย่างไรก็ดี ดัชนีได้พุ่งขึ้นมาปิดตลาดที่ระดับ 4,293.93 ในวันพฤหัสบดีที่ 8 มิ.ย. ซึ่งเท่ากับว่าดัชนีได้พุ่งขึ้นมาแล้ว 20% จากระดับปิดต่ำสุดของวัฏจักร โดยดัชนีได้รับแรงหนุนในช่วงที่ผ่านมาจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และจากการคาดการณ์ที่ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว
นักวิเคราะห์ได้ระบุถึงลักษณะต่าง ๆ ที่น่าสนใจในการพุ่งขึ้นรอบล่าสุดของดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐ โดยสิ่งแรกก็คือว่า ดัชนี S&P 500 ใช้เวลานานถึง 164 วันในการพุ่งขึ้น 20% จากจุดต่ำสุดของภาวะหมีในครั้งนี้ ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบ 50 ปี ในขณะที่การพุ่งขึ้น 20% แบบเดียวกันนี้เคยใช้เวลาเพียงแค่ 12 วันในปี 2020, 10 วันในปี 2009, 31 วันในปี 2002, 64 วันในปี 1987, 22 วันในปี 1982 และ 23 วันในปี 1974 ทั้งนี้ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีดีดขึ้นอย่างเชื่องช้าในรอบนี้คือการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบหลายสิบปี และปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้หุ้นมีความน่าดึงดูดน้อยลงเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล นอกจากนี้ ตลาดหุ้นก็ได้รับแรงกดดันจากความขัดแย้งเรื่องเพดานหนี้ของรัฐบาลสหรัฐด้วย
ลักษณะสำคัญอย่างที่ 2 คือการกระจุกตัวในการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐรอบนี้ โดยดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 10% จากช่วงต้นปีนี้ แต่การพุ่งขึ้นดังกล่าวได้รับแรงหนุนเกือบทั้งหมดมาจากการทะยานขึ้นของหุ้นเพียง 7 ตัวเท่านั้น ซึ่งได้แก่หุ้นบริษัทอัลฟาเบท, แอปเปิล, ไมโครซอฟท์, อะเมซอน, เมตา แพลตฟอร์มส์, เอ็นวิเดีย และเทสลา โดยหุ้น 7 ตัวนี้ได้รับแรงหนุนจากการที่นักลงทุนมองว่าบริษัทเหล่านี้มีความปลอดภัยสูง และได้รับแรงหนุนจากกระแสความนิยมในปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วย อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัดหุ้น 7 ตัวนี้ออกไป ดัชนี S&P 500 ก็จะปรับขึ้นไม่ถึง 2% จากช่วงต้นปีนี้ ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงหลังเริ่มกระจายออกไปในวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยในช่วงนี้มีบริษัทราว 54% ในดัชนี S&P 500 ที่มีราคาหุ้นอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน
ลักษณะสำคัญอย่างที่ 3 คือการที่ดัชนีความผันผวนในตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงในช่วงที่ผ่านมา และค่าความผันผวนในตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและตลาดปริวรรตเงินตราก็ร่วงลงมาด้วยเช่นกัน โดยสถานการณ์ดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการคาดการณ์ของนักลงทุนที่ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว ทั้งนี้ ลักษณะสำคัญอย่างที่ 4 คือตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่รักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้อย่างดีเกินคาดในช่วงนี้ ถึงแม้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้วรวมกัน 5.00% นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 โดยดัชนีซิตี้กรุ๊ปสำหรับตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าประหลาดใจของสหรัฐพุ่งขึ้นจาก -78.7 ในเดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว สู่ 20.8 ในช่วงนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐโดยรวมอยู่ในระดับที่ดีเกินคาด โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานและปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค
นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่า การที่ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้น 20% จากจุดต่ำสุดของภาวะหมีมักจะตามมาด้วยการทะยานขึ้นต่อไป โดยสถิติจากในอดีตระบุว่า ในภาวะหมี 6 ครั้งล่าสุดนั้น มีอยู่ 4 ครั้งที่ดัชนี S&P พุ่งขึ้นต่อไปอีก 20% หรือมากกว่านั้นในเวลา 6 เดือนต่อมาหลังจากดัชนีทะยานขึ้นมาแล้ว 20% จากจุดต่ำสุด ทั้งนี้ ในภาวะหมี 6 ครั้งล่าสุดนั้น หลังจากดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้ว 20% จากจุดต่ำสุดของภาวะหมี ดัชนีก็ทะยานขึ้นต่อไปอีก 20.2% ในอีก 6 เดือนต่อมาในปี 1974, พุ่งขึ้นไปอีก 25.7% ในอีก 6 เดือนต่อมาในปี 1982, ปรับลดลง 1.4% ในอีก 6 เดือนต่อมาในปี 1988, ปรับลดลง 3.2% ในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2002, พุ่งขึ้นไปอีก 41% ในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2009 และทะยานขึ้นไปอีก 32.2% ในอีก 6 เดือนต่อมาในปี 2020--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--9 มิ.ย.--รอยเตอร์
ปัจจัยลบบางประการที่เคยกดดันตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาได้จางหายไปแล้วในตอนนี้ และสิ่งนี้ก็ส่งผลให้บริษัทบางแห่งในย่านวอลล์สตรีทปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงนี้ และระบุว่านักลงทุนที่รอดูท่าทีอยู่นอกตลาดควรจะกลับเข้ามาลงทุนในตลาด ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวานนี้ที่ 4,293.93 โดยพุ่งขึ้นมาแล้วราว 20% จากระดับปิดต่ำสุดของเดือนต.ค. 2022 ซึ่งเท่ากับว่าตลาดหุ้นสหรัฐได้เข้าสู่ภาวะกระทิง โดยตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงหนุนในช่วงที่ผ่านมาจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่ง, การบรรลุข้อตกลงเรื่องเพดานหนี้ของรัฐบาลสหรัฐ และการคาดการณ์ที่ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว
ในการที่ตลาดหุ้นสหรัฐจะพุ่งขึ้นต่อไปได้นั้น นักลงทุนที่เคยปรับลดการลงทุนในหุ้นลงเป็นอย่างมากในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาอาจจะต้องกลับเข้ามาลงทุนในตลาด ในขณะที่นักลงทุนถือครองเงินสดไว้เป็นจำนวนมากในช่วงนี้ ทั้งนี้ สินทรัพย์ในกองทุนตลาดเงินสหรัฐเพิ่งพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 5.8 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค. ในขณะที่ผลสำรวจของแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบัล รีเสิร์ชระบุว่า ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกยังคงถือครองเงินสดไว้ในระดับสูง
นายชัค คาร์ลสัน ซีอีโอของบริษัทฮอไรซัน อินเวสท์เมนท์ เซอร์วิสเซสระบุว่า "การที่ตลาดหุ้นพุ่งขึ้นในช่วงที่ผ่านมาอาจจะส่งผลให้ตลาดหุ้นทะยานขึ้นต่อไปได้อีกในอนาคต เพราะนักลงทุนจะไม่ต้องการให้ตัวเองตกกระแส" ทั้งนี้ นักลงทุนหลายรายเคยคาดการณ์ในช่วงหลายเดือนก่อนหน้านี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ดังนั้นการที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเกินคาดในช่วงนี้จึงส่งผลให้นักลงทุนหันมาคาดการณ์แนวโน้มในทางบวกมากยิ่งขึ้น
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ที่ 2 มิ.ย.ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐพุ่งขึ้น 339,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 190,000 ตำแหน่ง โดยรายงานตัวเลขนี้ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะประสบความสำเร็จในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ โดยไม่สร้างความเสียหายมากนักต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ นายไบรอัน เบลสกี หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทบีเอ็มโอ แคปิตัลระบุว่า "อัตราเงินเฟ้อได้ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงที่ผ่านมา แต่ตลาดแรงงานสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะแข็งแกร่งเหมือนเดิม" โดยบริษัทบีเอ็มโอได้ปรับขึ้นเป้าหมายของดัชนี S&P 500 สำหรับช่วงสิ้นปีนี้สู่ 4,550 จากเดิมที่ตั้งไว้ที่ 4,300 ในขณะที่ดัชนีพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 11% จากช่วงต้นปีนี้
บริษัทเอเวอร์คอร์ ไอเอสไอคาดว่า ดัชนี S&P 500 จะอยู่ที่ 4,450 สำหรับช่วงสิ้นปีนี้ โดยพุ่งขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 4,150 ส่วนบริษัทสไตเฟลคาดว่าดัชนีจะปรับขึ้นแตะ 4,400 ในไตรมาส 3 ทางด้านแบงก์ ออฟ อเมริกาคาดการณ์ในช่วงปลายเดือนพ.ค.ว่า ดัชนีมีเป้าหมายอยู่ที่ 4,300 สำหรับช่วงสิ้นปีนี้ โดยปรับขึ้นจากเป้าหมายเดิมที่ 4,000 ทั้งนี้ นายคีธ เลอร์เนอร์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัททรูอิสต์ แอดไวซอรี เซอร์วิสเซสคาดการณ์ในวันจันทร์ว่า ดัชนี S&P 500 จะเคลื่อนตัวในกรอบ 3,800-4,500 ในปีนี้ โดยปรับขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 3,400-4,300 โดยเขาให้เหตุผลว่าเป็นเพราะผลกำไรภาคเอกชนมีแนวโน้มดีขึ้น และเป็นเพราะปัจจัยอื่น ๆ ด้วย--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
2 มิ.ย.--รอยเตอร์
บริษัทเอ็นวิเดีย คอร์ปมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดพุ่งขึ้น 2.48 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค. ซึ่งส่งผลให้เอ็นวิเดียกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดพุ่งขึ้นมากที่สุดในเดือนพ.ค.ในบรรดาบริษัท 20 แห่งที่มีมูลค่าในตลาดมากที่สุดในโลก โดยการพุ่งขึ้นส่วนใหญ่ของหุ้นเอ็นวิเดียเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนพ.ค. ทั้งนี้ บริษัทเอ็นวิเดีย ซึ่งถือเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก คาดการณ์รายได้รายไตรมาสที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในย่านวอลล์สตรีทราว 50% และระบุว่าเอ็นวิเดียกำลังปรับเพิ่มการผลิตชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อตอบรับต่ออุปสงค์ที่พุ่งขึ้นสูงมาก โดยหุ้นเอ็นวิเดียทะยานขึ้น 24% ในวันพฤหัสบดีที่ 25 พ.ค.หลังจากเอ็นวิเดียประกาศเรื่องนี้ออกมา ส่วนมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของเอ็นวิเดียอยู่ที่ 9.345 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนพ.ค. ซึ่งส่งผลให้เอ็นวิเดียถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่าในตลาดมากเป็นอันดับ 6 ของโลก หลังจากมูลค่าของเอ็นวิเดียทะยานขึ้นสู่ระดับสูงกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์เป็นเวลาสั้น ๆ ในช่วงปลายเดือนพ.ค.
หุ้นเอ็นวิเดียพุ่งขึ้นมาแล้ว 159% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่บริษัทไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟคเจอริง ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายสำคัญให้กับเอ็นวิเดีย มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดพุ่งขึ้น 5.0 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ 4.735 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค. ซึ่งส่งผลให้ไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์เป็นบริษัทที่มีมูลค่าในตลาดมากเป็นอันดับ 10 ของโลก
บริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดดิ่งลงมากที่สุดในเดือนพ.ค. ได้แก่บริษัทซาอุดิ อาระเบียน ออยล์ที่มีมูลค่ารูดลง 9.65 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ 2.0328 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค. และบริษัทเอ็กซอน โมบิล คอร์ปของสหรัฐที่มีมูลค่าดิ่งลง 6.53 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ 4.131 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค. โดยทั้งสองบริษัทนี้ได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของราคาน้ำมันในเดือนพ.ค. โดยซาอุดิ อาระเบียน ออยล์ครองอันดับ 3 ในรายชื่อบริษัทที่มีมูลค่าในตลาดมากที่สุดในโลก ส่วนเอ็กซอน โมบิลครองอันดับ 14
ในบรรดาบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมากที่สุดในโลกนั้น แอปเปิลครองอันดับ 1 ด้วยมูลค่าในตลาดที่ 2.7879 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนพ.ค. หลังจากมีมูลค่าพุ่งขึ้น 1.191 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค., ไมโครซอฟท์ครองอันดับ 2 ด้วยมูลค่าในตลาดที่ 2.4417 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนพ.ค. หลังจากมีมูลค่าทะยานขึ้น 1.571 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค., แอลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล ครองอันดับ 4 ด้วยมูลค่าในตลาดที่ 1.5630 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนพ.ค. หลังจากมีมูลค่าพุ่งขึ้น 1.949 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค. และอะเมซอนดอทคอมครองอันดับ 5 ด้วยมูลค่าในตลาดที่ 1.2372 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนพ.ค. หลังจากมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 1.552 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค.
บริษัทเบิร์คเชียร์ แฮทธาเวย์ครองอันดับ 7 ด้วยมูลค่าในตลาดที่ 7.020 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนพ.ค. หลังจากมีมูลค่าดิ่งลง 1.84 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค., บริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก ครองอันดับ 8 ด้วยมูลค่าในตลาดที่ 6.784 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนพ.ค. หลังจากมีมูลค่าทะยานขึ้น 6.25 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค. และบริษัทเทสลาซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าครองอันดับ 9 ด้วยมูลค่าในตลาดที่ 6.464 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนพ.ค. หลังจากมีมูลค่าทะยานขึ้น 1.256 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค.--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน