ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ขณะที่ใกล้จะถึงช่วงสุดท้ายของปี ตลาดก็มีคลายกังวลที่วงจรการคุมเข้มนโยบายการเงินทั่วโลกที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษกำลังจะสิ้นสุดลงในที่สุด แต่ภาวะตึงตัวจากการขึ้นดอกเบี้ยเพิ่งเริ่มส่งผ่านออกมา และเนื่องจากธนาคารกลางต่างๆส่งสัญญาณว่า อัตราดอกเบี้ยอาจจะสูงขึ้นนานขึ้น แนวคิดที่บางอย่าง "จะพังทลายลง" นั้นจึงยังคงชัดเจน และแรงกดดันที่ต้องจับตาดูนั้นมีดังนี้
ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นกำลังเกิดขึ้นรุนแรงกว่ากับภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งยังคงได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ขณะที่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของเยอรมนีเผชิญกับภาวะล้มละลายหลายแห่ง ตลาดสำนักงานของลอนดอนก็อยู่ในภาวะถดถอย เนื่องจากอัตราพื้นที่ว่างพุ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี และธนาคารในสหรัฐแถลงผลขาดทุนจากอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งปีแรก และเตือนว่าอาจจะขาดทุนอีก ส่วนสวีเดนก็เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักสุดในยุโรป เนื่องจากหนี้อสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะสั้น ขณะที่บริษัทเอสบีบี ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ กำลังพยายามอย่างหนักเพื่อฟื้นฟูการเงินที่ขาดทุนอย่างหนักและเงินสดลดน้อยลง อีกทั้งวิกฤตินี้ยังเกิดขึ้นกับบริษัทฮีมสตาเดน บอสตั๊ด ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดของสวีเดนที่กำลังประสบกับภาวะตึงตัวในการจัดหาเงินทุนหลายพันล้านดอลลาร์
อสังหาริมทรัพย์เป็นศูนย์กลางของวิกฤติของจีนด้วย และเป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่เศรษฐกิจจีนติดอันดับเรื่องที่นักลงทุนกังวล โดยไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนี้สูงสุดในโลกกว่า 3.00 แสนล้านดอลลาร์ เป็นศูนย์กลางของวิกฤติสภาพคล่องในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่วนบริษัทคันทรี การ์เด้น ผู้พัฒนาในภาคเอกชนรายใหญ่สุดของจีน ก็กำลังต่อสู้เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ และเนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์มีสัดส่วนราว 1 ใน 4 ของเศรษฐกิจ จึงมีความวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบสำหรับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของจีนและผลกระทบที่เป็นลูกโซ่
การผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ภาคเอกชนเริ่มมีจำนวนมากขึ้น แม้แต่ในช่วงเดือนที่มักจะเงียบเหงา โดยข้อมูลจากเอสแอนด์พีพบว่า จำนวนของการผิดนัดชำระหนี้ใหม่ทั่วโลกแตะ 16 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นยอดรวมสูงสุดในเดือนส.ค.นับตั้งแต่ปี 2009 และเป็นสัญญาณล่าสุดที่แสดงว่า ภาวะตึงตัวในภาคเอกชนกำลังก่อตัวขึ้น และเอสแอนด์พียังคาดว่า การผิดนัดชำระหุ้นกู้ของบริษัทยุโรปที่ได้รับการจัดอันดับขยะจะแตะ 3.75% ภายในเดือนมิ.ย.ปีหน้า จาก 3.4% ในเดือนส.ค.
ภาวะตึงตัวในภาคธนาคารสร้างความวิตกน้อยลงให้แก่นักลงทุนนับตั้งแต่วิกฤติในเดือนมี.ค.ได้สร้างความเสียหายหนัก โดยธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐสามารถผ่านบททดสอบภาวะวิกฤติประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเดือนมิ.ย.ได้ ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้ขอให้ธนาคารต่างๆจัดสรรข้อมูลสภาพคล่องรายสัปดาห์เพื่อให้อีซีบีสามารถทำการตรวจสอบได้บ่อยครั้งขึ้นเพื่อดูความสามารถของธนาคารในการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นขณะที่อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น อย่างไรก็ดี ยังคงมีคำถามสำคัญเกี่ยวกับอนาคต โดยเฉพาะจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ยังคงดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายพิเศษ แต่จุดยืนที่เข้มงวดขึ้นอาจจะเกิดขึ้นในไม่ช้า และมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจากยุคที่เงินสดญี่ปุ่นอัดฉีดเข้าสู่ทุกอย่างนับตั้งแต่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐไปจนถึงสกุลเงินตลาดเกิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยแคปิตอล อีโคโนมิคส์คาดว่า บีโอเจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนม.ค.ปีหน้า และตั้งข้อสังเกตว่า นักลงทุนญี่ปุ่นถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอยู่ราว 1 ล้านล้านดอลลาร์ และยังถือครองพันธบัตรรัฐบาลของยุโรป และออสเตรเลียเป็นจำนวนมากด้วย ซึ่งแรงเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของญี่ปุ่นก็อาจจะทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้นอีก และนั่นอาจกระทบหุ้นที่มีแนวโน้มว่าจะปรับตัวแย่กว่าเมื่อนักลงทุนคาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าจากพันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำ--จบ--
Eikon source text
นิวยอร์ค--28 ก.ย.--รอยเตอร์
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แสดงจุดยืนแบบสายเหยี่ยวในช่วงนี้ โดยเฟดคาดการณ์ในรายงานที่ออกมาในวันที่ 20 ก.ย.ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดจะแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรในปีนี้ที่ระดับ 5.50-5.75% และอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 5.1% ในช่วงสิ้นปี 2024 ซึ่งใกล้เคียงกับกรอบเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันที่ 5.25-5.50% และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า เฟดมีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน โดยการแสดงจุดยืนแบบสายเหยี่ยวนี้มีส่วนช่วยหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีให้พุ่งขึ้นแตะ 4.642% ในวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2007 หรือจุดสูงสุดในรอบเกือบ 16 ปี แต่การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลลบต่อตลาดหุ้นสหรัฐ และส่งผลให้นักลงทุนบางรายคาดการณ์กันว่า ตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะได้รับแรงกดดันต่อไปอีกในอนาคต ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้นักลงทุนในตลาดหุ้นเคยมองว่า การพุ่งขึ้นของบอนด์ยิลด์สหรัฐเป็นเพียงแค่ผลพลอยได้จากเศรษฐกิจสหรัฐที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งเกินคาด แต่ในตอนนี้นักลงทุนเริ่มกังวลว่า บอนด์ยิลด์ที่พุ่งขึ้นสูงเกินไปอาจจะสร้างความเสียหายต่อตลาดหุ้นได้ในที่สุด
ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงมาแล้วกว่า 7% จากจุดสูงสุดของเดือนก.ค. โดยได้รับแรงกดดันจากการรูดลงอย่างรุนแรงของหุ้นบริษัทหลายแห่งที่เคยพุ่งขึ้นในช่วงต้นปีนี้ ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทแอปเปิล, อะเมซอนดอทคอม และเอ็นวิเดีย ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 16 ปี โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงของเจ้าหน้าที่เฟด ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่งผลให้พันธบัตรมีความน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น และส่งผลให้นักลงทุนหันมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย แทนที่จะเสี่ยงลงทุนในหุ้น นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของบอนด์ยิลด์ก็ส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนและภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นด้วย โดยนายเจค เชอร์ไมเยอร์ ผู้จัดการพอร์ตลงทุนของบริษัทฮาร์เบอร์ แคปิตัล แอดไวเซอร์สกล่าวว่า นักลงทุน "กำลังหามูลค่าที่เหมาะสมสำหรับหุ้นในยุคที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 5%" และเขากล่าวเสริมว่า "นักลงทุนกำลังตั้งคำถามว่า เพราะเหตุใดเราถึงต้องรับความเสี่ยงจากหุ้นด้วย ในเมื่อเราสามารถได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่านั้นด้วยการทำเพียงแค่ถือครองตั๋วเงินคลังสหรัฐ"
สถิติข้อมูลจากในอดีตบ่งชี้ว่า อัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงมักจะส่งผลลบต่อตลาดหุ้น โดยบริษัทเอคิวอาร์ แคปิตัล แมเนจเมนท์ระบุในรายงานวิจัยว่า ข้อมูลนับตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมาแสดงให้เห็นว่า การลงทุนในหุ้นสหรัฐให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินสดเฉลี่ยเพียง 5.4% ในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยอยู่สูงกว่าค่ากลาง ซึ่งเหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่การลงทุนในหุ้นสหรัฐให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินสดราว 11.5% ในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ต่ำกว่าค่ากลาง ทั้งนี้ นายแดน วิลลาลอน ผู้บริหารในบริษัทเอคิวอาร์คาดว่า อัตราดอกเบี้ยในช่วง 5-10 ปีข้างหน้าจะอยู่สูงกว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้น และเขากล่าวเสริมว่า "หุ้นมีราคาแพงมากในปัจจุบัน"
รายงานวิจัยของเอคิวอาร์แสดงให้เห็นว่า กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ลงทุนตามกระแสมีแนวโน้มที่จะมีผลประกอบการดีเมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง เพราะว่ากองทุนเหล่านี้ถือครองเงินสดจำนวนมาก และเงินสดเหล่านี้จะได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
นายคีธ เลอร์เนอร์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัททรูอิสต์ แอดไวซอรี เซอร์วิสเซสระบุว่า ค่าพรีเมียมความเสี่ยงของหุ้น (ERP) ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบความน่าดึงดูดของหุ้นเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลที่ปลอดความเสี่ยง หดตัวลงในช่วงเวลาส่วนใหญ่ในปี 2023 และอยู่ที่จุดต่ำสุดในรอบราว 14 ปีในช่วงนี้ โดยระดับ ERP ในปัจจุบันนี้บ่งชี้ว่า การลงทุนในดัชนี S&P 500 ในช่วง 12 เดือนข้างหน้าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีเพียงราว 1.3% เท่านั้น--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--27 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 10 เดือนในวันอังคาร ในขณะที่ดอลลาร์/เยนแข็งค่าขึ้นเข้าใกล้ 150 เยน และนักลงทุนจับตามองว่าทางการญี่ปุ่นจะเข้ามาแทรกแซงตลาดที่ระดับ 150 เยนหรือไม่เพื่อจะได้หนุนเยนให้แข็งค่าขึ้น ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นจาก 4.542% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.558% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากทะยานขึ้นแตะ 4.566% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 16 ปี โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา โดยการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) มีส่วนช่วยหนุนดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้นด้วย ทั้งนี้ นายนีล แคชคารี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขามินนิอาโปลิสกล่าวในวันอังคารว่า มีแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่มีโอกาส 40% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย "อย่างสำคัญ" เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 106.21 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 105.95 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 106.26 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 2022 หรือจุดสูงสุดในรอบเกือบ 10 เดือน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 149.05 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 148.88 เยน หลังจากทะยานขึ้นแตะ 149.19 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 11 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0570 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0590 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0560 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. หรือจุดต่ำสุดรอบ 6 เดือน
ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงในวันอังคาร ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 4.566% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2007 หรือจุดสูงสุดในรอบราว 16 ปี และนักลงทุนยังคงปรับตัวรับการคาดการณ์ที่ว่า อัตราดอกเบี้ยสหรัฐอาจจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐ นอกจากนี้ นักลงทุนก็กังวลกับความเป็นไปได้ที่หน่วยงานบางแห่งของรัฐบาลสหรัฐอาจจะเริ่มปิดทำการชั่วคราวตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์นี้ด้วย ในขณะที่บริษัทมูดี้ส์ระบุว่า การปิดทำการชั่วคราว (ชัตดาวน์) ของรัฐบาลสหรัฐจะทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐ ทั้งนี้ หุ้นทั้ง 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันอังคารในแดนลบ โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคดิ่งลง 3.05% และดัชนีหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์รูดลง 1.8% เนื่องจากหุ้นทั้งสองกลุ่มนี้มักจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดิ่งลง 1.8% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดดิ่งลง 1.14% สู่ 33,618.88 ซึ่งถือเป็นระดับปิดต่ำสุดในรอบกว่า 3 เดือน และการดิ่งลงในวันอังคารถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.
ดัชนี S&P 500 ปิดรูดลง 1.47% สู่ 4,273.53 ซึ่งถือเป็นระดับปิดต่ำสุดในรอบกว่า 3 เดือน
ดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 1.57% สู่ 13,063.61 ซึ่งถือเป็นระดับปิดต่ำสุดในรอบกว่า 3 เดือน
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า อุปทานน้ำมันจะตึงตัว และปัจจัยบวกดังกล่าวก็ช่วยบดบังแรงกดดันที่ราคาน้ำมันได้รับจากความกังวลที่ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนจะส่งผลลบต่ออุปสงค์น้ำมัน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากความกังวลของนักลงทุนที่มีต่ออุปทานน้ำมันที่ตึงตัวในเมืองคุชชิง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมันตามสัญญาในตลาด NYMEX ด้วย โดยรัฐบาลสหรัฐรายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิงดิ่งลงสู่ระดับต่ำกว่า 23 ล้านบาร์เรลในวันที่ 15 ก.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2022 และออกห่างจากจุดสูงสุดรอบ 2 ปีที่ระดับสูงกว่า 43 ล้านบาร์เรลที่เคยทำไว้ในเดือนมิ.ย. โดยการดิ่งลงของสต็อกน้ำมันนี้เป็นผลจากการกลั่นน้ำมันในปริมาณมากและเป็นผลจากการส่งออกน้ำมันในปริมาณมาก และปัจจัยนี้ทำให้นักลงทุนกังวลกับคุณภาพของน้ำมันที่เหลืออยู่ในคลัง และกังวลว่าปริมาณน้ำมันในคลังอาจจะดิ่งลงสู่ระดับต่ำเกินไป ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 ก.ย. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้นราว 1.6 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐลดลงราว 70,000 บาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐดิ่งลงราว 1.7 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ย.ปรับขึ้น 71 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 90.39 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากดิ่งลงแตะ 88.19 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 67 เซนต์ หรือ 0.7% มาปิดตลาดที่ 93.96 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากดิ่งลงแตะ 91.80 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 15.17 ดอลลาร์ สู่ 1,900.49 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งนี้ นายออสตัน กูลส์บี ประธานเฟดสาขาชิคาโกกล่าวในวันจันทร์ว่า การที่อัตราเงินเฟ้อเคลื่อนตัวอยู่สูงกว่าระดับเป้าหมายที่ 2% เป็นเวลานาน ถือเป็นความเสี่ยงที่ใหญ่กว่าการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดจนส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ทางด้านกองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งถือเป็นกองทุน ETF ทองที่ใหญ่ที่สุดในโลกระบุว่า ปริมาณการถือครองทองของกองทุนแห่งนี้ดิ่งลงในวันจันทร์จนแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2020 Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--25 ก.ย.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า ตลาดหุ้นสหรัฐเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แสดงจุดยืนแบบสายเหยี่ยว, การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และความเสี่ยงที่หน่วยงานราชการสหรัฐอาจจะปิดทำการ ถ้าหากสภาคองเกรสของสหรัฐไม่สามารถผ่านร่างกฎหมายงบประมาณได้ทันก่อนเส้นตายในวันที่ 30 ก.ย. ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงมาแล้วกว่า 6% จากจุดสูงสุดของช่วงปลายเดือนก.ค. และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐรูดลง 2.9% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. หลังจากเฟดประกาศผลการประชุมกำหนดนโยบายประจำวันที่ 19-20 ก.ย. โดยเฟดคาดว่าเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยระดับสูงต่อไปเป็นเวลานานกว่าที่เคยคาดการณ์กันไว้ อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P 500 ยังคงพุ่งขึ้นมาแล้ว 12.8% จากช่วงต้นปีนี้ ทางด้านแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบัล รีเสิร์ชรายงานว่า นักลงทุนเทขายหุ้นทั่วโลกเป็นมูลค่าสุทธิ 1.69 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 ก.ย. ซึ่งถือเป็นยอดเงินลงทุนไหลออกรายสัปดาห์ที่สูงที่สุดในปีนี้
นายชาร์ลี ริปเลย์ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทอัลไลอันซ์ อินเวสท์เมนท์ แมเนจเมนท์กล่าวว่า "เศรษฐกิจสหรัฐรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้ดีในฤดูร้อนปีนี้ แต่เรากำลังจะเข้าสู่ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเผชิญความเสี่ยงเป็นอย่างมาก ทางด้านนักลงทุนมองเห็นเหตุผลที่จะปรับลดความเสี่ยงทางการลงทุน" และปัจจัยดังกล่าวก็ส่งผลลบต่อความต้องการซื้อหุ้นด้วย ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีเพิ่งพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 16 ปีที่ 4.508% ในวันศุกร์ และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ก็ส่งผลให้การลงทุนในพันธบัตรมีความน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น และส่งผลให้หุ้นมีความน่าดึงดูดน้อยลง
นักลงทุนจับตาดูภัยคุกคามที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในสหรัฐด้วย โดยภัยคุกคามแรกเกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูง โดยเฉพาะถ้าหากเฟดทำตามสัญญาที่ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งนี้ นายไบรอัน จาค็อบเสน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทแอนเน็กซ์ เวลธ์ แมเนจเมนท์กล่าวว่า "เฟดมีความเชื่อมั่นมากเกินไปในการคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป" และเขากล่าวเสริมว่า "เฟดที่มีความเชื่อมั่นถือเป็นเฟดที่อันตราย เพราะเฟดจะมองข้ามสัญญาณบ่งชี้ถึงความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในช่วงแรก"
ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ สำหรับเศรษฐกิจสหรัฐรวมถึงราคาน้ำมันที่ระดับสูง, การที่ชาวสหรัฐจำนวนมากจะต้องเริ่มชำระหนี้การศึกษาในเดือนต.ค. และความเป็นไปได้ที่หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอาจจะปิดทำการ ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐเผชิญกับปัจจัยลบด้านฤดูกาลด้วย โดยแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบัล รีเสิร์ชระบุว่า ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวอ่อนแอกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 10 วันแรกของเดือนก.ย.ปีนี้ และข้อมูลสถิติจากในอดีตบ่งชี้ว่า ในปีใดก็ตามที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ดัชนี S&P 500 ก็จะดิ่งลงเฉลี่ย 1.66% ในช่วงเวลา 10 วันที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย. ซึ่งส่งผลให้ช่วง 10 วันนี้ถือเป็นช่วง 10 วันที่ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงเฉลี่ยมากที่สุดในแต่ละปี อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ของแบงก์ ออฟ อเมริกาตั้งข้อสังเกตว่า การร่วงลงของตลาดหุ้นอาจจะเปิดโอกาสสำหรับการเข้าช้อนซื้อหุ้น
ถ้าหากหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐปิดทำการเป็นเวลายาวนาน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรก็อาจจะพุ่งสูงขึ้นไปอีก ซึ่งจะยิ่งส่งผลลบต่อตลาดหุ้น อย่างไรก็ดี มีรายงานระบุว่ามีนักลงทุนจำนวนมากที่รอดูท่าทีอยู่นอกตลาดในช่วงนี้ เพื่อรอจังหวะในการเข้าช้อนซื้อเมื่อตลาดหุ้นดิ่งลง โดยนายคีธ เลอร์เนอร์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัททรูอิสต์กล่าวว่า ถ้าหากดัชนี S&P 500 ดิ่งลงราว 3% จากระดับปัจจุบัน สู่ระดับ 4,200 ในอนาคต ระดับดังกล่าวก็อาจจะกระตุ้นให้นักลงทุนส่งคำสั่งซื้อเข้ามาในตลาด และระดับดังกล่าวจะส่งผลให้ค่าพีอีเรโชของหุ้นสหรัฐอยู่ที่ 17.5 เท่าของผลกำไร ซึ่งจะสอดคล้องกับค่าเฉลี่ย 10 ปี--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในสถานะที่ดีกว่าเศรษฐกิจของประเทศสำคัญอื่น ๆ ทั้งนี้ บริษัทเอสแอนด์พี โกลบอลรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) โดยรวมของสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ ขยับลงจาก 50.2 ในเดือนส.ค. สู่ 50.1 ในเดือนก.ย. ในขณะที่ดัชนีที่ระดับสูงกว่า 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัว โดยรายงานนี้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในสถานะที่ดีกว่าเศรษฐกิจยุโรป หลังจากมีรายงานระบุว่า ดัชนี PMI โดยรวมของฝรั่งเศสร่วงลงจาก 46.0 ในเดือนส.ค. สู่ 43.5 ในเดือนก.ย. นอกจากนี้ ผลสำรวจก็พบว่า เศรษฐกิจยูโรโซนอาจหดตัวลงในไตรมาส 3 ในขณะที่ดัชนี PMI คอมโพสิตขั้นต้นของยูโรโซนเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 47.1 ในเดือนก.ย. จากระดับต่ำสุดในรอบ 33 เดือนที่ 46.7 ในเดือนส.ค. แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.55 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 105.39 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 105.78 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. หรือจุดสูงสุดรอบ 6 เดือน โดยดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับขึ้นราว 0.3% จากสัปดาห์ที่แล้ว และถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 10 ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 148.37 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 147.58 เยน หลังจากทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบกว่า 10 เดือนที่ 148.45 เยนในวันพฤหัสบดี
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0652 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยขยับลงจาก 1.0658 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0613 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. หรือจุดต่ำสุดรอบ 6 เดือน
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงในวันศุกร์ หลังจากแกว่งตัวผันผวนในระหว่างวัน ในขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 4.508% ในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี ก่อนจะปรับลงสู่ 4.440% ในช่วงท้ายวันศุกร์ ทางด้านมิเชลล์ โบว์แมน หนึ่งในผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในวันศุกร์ว่า เฟดจำเป็นจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อภายในเวลาที่เหมาะสม โดยถ้อยแถลงแบบสายเหยี่ยวในครั้งนี้ตั้งอยู่บนการคาดการณ์ที่ว่า ราคาพลังงานอาจจะปรับสูงขึ้น และการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้ออาจจะดำเนินต่อไปอีกนานหลายปี ทั้งนี้ มีเพียงหุ้น 2 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐที่ปิดตลาดวันศุกร์ในแดนบวก ซึ่งได้แก่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีกับหุ้นกลุ่มพลังงาน ส่วนหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยถือเป็นกลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุดในวันศุกร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.31% สู่ 33,963.84
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.23% สู่ 4,320.06 หลังจากดัชนีเพิ่งร่วงผ่านค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 100 วันซึ่งถือเป็นแนวรับสำคัญในวันพฤหัสบดี และถือเป็นการร่วงผ่านแนวรับดังกล่าวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมี.ค. โดยการที่ดัชนีไม่สามารถพุ่งขึ้นเหนือระดับดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ดัชนียังคงได้รับแรงกดดันในทางลบ นอกจากนี้ ดัชนี S&P 500 ก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ด้วย
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.09% สู่ 13,211.81 โดยดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากรายงานของบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์ที่ระบุว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐดิ่งลง 8 แท่น สู่ 507 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 ก.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2022 ทางด้านบริษัทไอไออาร์ เอ็นเนอร์จีระบุว่า มีการคาดการณ์กันว่าโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐจะปิดกำลังการกลั่นน้ำมันราว 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ล่าสุด โดยเพิ่มขึ้นจาก 800,000 บาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ในขณะที่โรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐมักจะปิดซ่อมบำรุงในฤดูใบไม้ร่วง หลังจากใช้กำลังการกลั่นจำนวนมากในช่วงฤดูร้อนเพื่อตอบรับต่ออุปสงค์น้ำมันที่ระดับสูง ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ทรงตัวในวันศุกร์ แต่ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบ โดยได้รับแรงกดดันจากคำสั่งเทขายทำกำไร ในขณะที่ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ซึ่งจะส่งผลลบต่ออุปสงค์น้ำมัน แต่ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมัน หลังจากรัสเซียประกาศห้ามส่งออกเชื้อเพลิง Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ย.ปรับขึ้น 40 เซนต์ หรือ 0.5% มาปิดตลาดที่ 90.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันศุกร์ แต่ราคาน้ำมันดิบสหรัฐปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการขยับลง 0.03% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นครั้งแรกในรอบ 4 สัปดาห์
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนขยับลง 3 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 93.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับลง 0.3% จากสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกมานานติดต่อกัน 3 สัปดาห์ โดยราคาน้ำมันดิบเคยพุ่งขึ้นกว่า 10% ในช่วง 3 สัปดาห์ดังกล่าว โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมันตึงตัว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 5.42 ดอลลาร์ สู่ 1,924.99 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากปิดตลาดในแดนลบมานานติดต่อกัน 3 วัน ในขณะที่ดัชนีดอลลาร์ลดช่วงบวกลงในวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 เดือนในระหว่างวัน ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีก็พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 16 ปีที่ 4.508% ในวันศุกร์ ก่อนจะร่วงลงมาปิดตลาดที่ 4.44% ในวันศุกร์ โดยปรับลงจาก 4.48% ในวันพฤหัสบดี โดยการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่งผลบวกต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ-- ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นในวันพุธ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุม แต่เฟดแสดงจุดยืนแบบสายเหยี่ยวมากยิ่งขึ้น และเฟดยังคงคาดการณ์เหมือนในเดือนมิ.ย.ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดจะแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรในปีนี้ที่ระดับ 5.50-5.75% ซึ่งเท่ากับว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในช่วงต่อไปในปีนี้ นอกจากนี้ เฟดยังคาดการณ์ในรายงานสรุปการคาดการณ์เศรษฐกิจ (SEP) รายไตรมาสฉบับล่าสุดอีกด้วยว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 0.50% ในปี 2024 แทนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 1% ในปี 2024 เหมือนอย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนมิ.ย. ทั้งนี้ นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดกล่าวว่า ถึงแม้บางสิ่งอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของเฟด ก็มีโอกาสสูงที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวของเฟดจะไม่ส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะตกต่ำ ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 2 ปีพุ่งขึ้นแตะ 5.178% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 17 ปี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.44 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 105.12 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยระดับ 105.44 นี้ถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. หรือจุดสูงสุดรอบ 6 เดือน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 148.33 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 147.86 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 148.36 เนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 10 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0659 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0677 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร
ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงในวันพุธ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามความคาดหมาย และเฟดปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นจากเดิม ในขณะที่นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดกล่าวเตือนว่า จะยังคงต้องใช้เวลาอีกนานก่อนที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐจะชะลอตัวลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ทั้งนี้ รายงานสรุปการคาดการณ์เศรษฐกิจ (SEP) รายไตรมาสฉบับใหม่ของเฟดคาดว่า อัตราดอกเบี้ยจะแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรที่ 5.50-5.75% ในปีนี้ ก่อนจะปรับลดลงสู่ 5.1% ในช่วงสิ้นปี 2024 และ 3.9% ในช่วงสิ้นปี 2025 โดยการที่เฟดคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานานส่งผลลบต่อหุ้นกลุ่มที่มักจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย ซึ่งรวมถึงหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสาร และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยหุ้น 2 กลุ่มนี้ถือเป็นหุ้น 2 กลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุดในวันพุธในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐ นอกจากนี้ หุ้นบริษัทขนาดยักษ์ที่มักได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยก็รูดลงในวันพุธด้วยเช่นกัน ซึ่งรวมถึงหุ้นไมโครซอฟท์ที่ดิ่งลง 2.4%, หุ้นแอปเปิลที่รูดลง 2.0% และหุ้นเอ็นวิเดียที่ดิ่งลง 2.9% และการดิ่งลงของหุ้นเหล่านี้ก็ส่งผลลบต่อดัชนี Nasdaq เป็นอย่างมาก Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.22% สู่ 34,440.88
ดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลง 0.94% สู่ 4,402.2
ดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 1.53% สู่ 13,469.13
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันพุธ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุม แต่เฟดแสดงจุดยืนแบบสายเหยี่ยวมากยิ่งขึ้น และเฟดยังคงคาดการณ์เหมือนในเดือนมิ.ย.ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดจะแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรในปีนี้ที่ระดับ 5.50-5.75% ซึ่งเท่ากับว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในช่วงต่อไปในปีนี้ ทั้งนี้ ตลาดน้ำมันไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ที่ระบุในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.1 ล้านบาร์เรล สู่ 418.5 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. ซึ่งใกล้เคียงกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ในโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่าอาจรูดลง 2.2 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐปรับลดลง 0.8 ล้านบาร์เรล สู่ 219.5 ล้านบาร์เรล ทางด้านสต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil ดิ่งลง 2.9 ล้านบาร์เรล สู่ 119.7 ล้านบาร์เรล ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันในสหรัฐดิ่งลง 1.8% สู่ 91.9%
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ดิ่งลง 92 เซนต์ หรือ 1.0% มาปิดตลาดที่ 90.28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่สัญญาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ครบกำหนดส่งมอบในช่วงปิดตลาดวันพุธ ทางด้านราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ย.ร่วงลง 82 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 89.66 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนร่วงลง 81 เซนต์ หรือ 0.9% มาปิดตลาดที่ 93.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. หรือระดับปิดต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ อย่างไรก็ดี สัญญาณทางเทคนิคยังคงบ่งชี้ว่า มีคำสั่งซื้อน้ำมันดิบเบรนท์เข้ามามากเกินไปเป็นวันที่ 14 ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2012
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 1.26 ดอลลาร์ สู่ 1,929.68 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุม แต่เฟดแสดงจุดยืนแบบสายเหยี่ยวมากยิ่งขึ้น และเฟดยังคงคาดการณ์เหมือนในเดือนมิ.ย.ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดจะแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรในปีนี้ที่ระดับ 5.50-5.75% ซึ่งเท่ากับว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในช่วงต่อไปในปีนี้ ทั้งนี้ ซูกิ คูเพอร์ นักวิเคราะห์ของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดกล่าวว่า "เราคาดว่าราคาทองมีความเสี่ยงด้านสูงเพียงในวงจำกัดในระยะใกล้ และราคาทองอาจจะไม่สามารถรักษาแรงหนุนส่งในทางบวกไว้ได้นาน จนกว่าตลาดจะมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นว่า อัตราดอกเบี้ยสหรัฐและอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกจะมีแนวโน้มปรับลดลง และจนกว่าดอลลาร์จะอ่อนค่าลง" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอ่อนค่าลงในวันศุกร์ หลังจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐร่วงลงจาก 69.5 ในเดือนส.ค. สู่ 67.7 ในเดือนก.ย. และอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 69.1 อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคสหรัฐปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อลงจากเดิม โดยผู้บริโภคคาดว่า อัตราเงินเฟ้อในอีก 1 ปีข้างหน้าอาจอยู่ที่ 3.1% ซึ่งถือเป็นตัวเลขคาดการณ์ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2021 โดยปรับลดลงจากเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 3.5% และผู้บริโภคคาดว่า อัตราเงินเฟ้อในอีก 5 ปีข้างหน้าอาจอยู่ที่ 2.7% ซึ่งถือเป็นตัวเลขคาดการณ์ต่ำสุดในรอบ 1 ปี โดยปรับลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 3.0% ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ราคานำเข้าปรับขึ้น 0.5% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายเดือน โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาเชื้อเพลิง แต่ราคานำเข้าพื้นฐานที่ไม่รวมราคาเชื้อเพลิงและอาหารปรับลดลง 0.2% ในเดือนส.ค. หลังจากปรับลดลง 0.2% ในเดือนก.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ทางด้านธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ครายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีกิจกรรมภาคโรงงานในรัฐนิวยอร์คพุ่งขึ้นสู่ 1.9 ในเดือนก.ย. จาก -19.0 ในเดือนส.ค. โดยดัชนีที่ระดับสูงกว่าศูนย์บ่งชี้ว่ากิจกรรมภาคโรงงานขยายตัว Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.34 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 105.41 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 9 ติดต่อกัน ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2014
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.82 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 147.47 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 10 เดือนในระหว่างวันที่ 147.96 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0655 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยปรับขึ้นจาก 1.0641 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 เดือนที่ 1.0629 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี โดยยูโรปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 9 ติดต่อกัน
ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันศุกร์ ในขณะที่หุ้นกลุ่มผู้ผลิตชิปรูดลง หลังจากรอยเตอร์รายงานข่าวว่า บริษัท TSMC ของไต้หวัน ซึ่งถือเป็นบริษัทผู้รับเหมาผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในโลก ได้ขอให้บริษัทซัพพลายเออร์รายใหญ่ของ TSMC เลื่อนเวลาในการจัดส่งอุปกรณ์ผลิตชิปชั้นดี และข่าวนี้ก็ส่งผลให้นักลงทุนกังวลกับความอ่อนแอของอุปสงค์ผู้บริโภค โดยหุ้นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ชิป ซึ่งได้แก่บริษัทแอพพลายด์ แมทีเรียลส์, แลม รีเสิร์ช และเคแอลเอ คอร์ป ต่างก็ดิ่งลงกว่า 4% ทางด้านดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์รูดลง 3.01% ในวันศุกร์ ในขณะที่หุ้นบริษัทผู้ผลิตชิปหลายแห่งดิ่งลง ซึ่งรวมถึงหุ้นเอ็นวิเดียที่ดิ่งลง 3.7%, หุ้นแอดวานซ์ ไมโคร ดีไวเซส (AMD) ที่รูดลง 4.8%, หุ้นบรอดคอมที่ดิ่งลง 2.3% และหุ้นไมครอน เทคโนโลยีที่รูดลง 2.7% ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นจาก 4.290% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี สู่ 4.322% ในช่วงท้ายวันศุกร์ ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 19-20 ก.ย. และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ก็ส่งผลลบต่อหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มเติบโต โดยหุ้นอะเมซอนดิ่งลง 3%, หุ้นไมโครซอฟท์รูดลง 2.5% และหุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ดิ่งลง 3.7% ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) รูดลง 1.95% และดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยดิ่งลง 1.88% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 0.83% สู่ 34,618.24 ในวันศุกร์ แต่ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการบวกขึ้น 0.12% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนี S&P 500 ปิดดิ่งลง 1.22% สู่ 4,450.32 ในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับลง 0.16% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนี Nasdaq ปิดรูดลง 1.56% สู่ 13,708.34 ในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับลง 0.39% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากภาวะอุปทานน้ำมันตึงตัว หลังจากซาอุดิอาระเบียและรัสเซียต่ออายุมาตรการปรับลดอุปทานน้ำมันในอัตรา 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไปจนถึงสิ้นปีนี้ และนักลงทุนคาดการณ์ในทางบวกต่ออุปสงค์น้ำมันในจีน ในขณะที่มีรายงานระบุว่า โรงกลั่นน้ำมันในจีนกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้นเกือบ 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน เพื่อจะได้ทำกำไรจากอุปสงค์ผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ระดับสูงในตลาดโลก ทั้งนี้ บริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์รายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐปรับขึ้น 2 แท่น สู่ 515 แท่นในสัปดาห์นี้ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. แต่จำนวนแท่นขุดเจาะดังกล่าวดิ่งลงมาแล้ว 84 แท่นเมื่อเทียบกับสัปดาห์เดียวกันในปีก่อน Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ปรับขึ้น 61 เซนต์ หรือ 0.7% มาปิดตลาดที่ 90.77 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 91.23 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 10 เดือน โดยราคาน้ำมันดิบสหรัฐปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการทะยานขึ้นราว 4% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 23 เซนต์ หรือ 0.3% มาปิดตลาดที่ 93.93 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 94.63 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 10 เดือน โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการทะยานขึ้นราว 4% จากสัปดาห์ที่แล้ว และปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 13.26 ดอลลาร์ สู่ 1,923.58 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ในวันศุกร์ และจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะหยุดพักจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ราคาทองยังได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยด้วย หลังจากสหภาพแรงงาน "ยูไนเต็ด ออโต เวิร์คเกอร์ส"(UAW) สำหรับคนงานโรงงานรถยนต์ในสหรัฐไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องสัญญาจ้างงานใหม่กับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ 3 แห่งในนครดีทรอยต์ของสหรัฐ ซึ่งได้แก่บริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ส (GM), บริษัทฟอร์ด และบริษัทสเตลแลนทิส และความล้มเหลวในเรื่องนี้ก็ส่งผลให้ทางสหภาพเริ่มผละงานประท้วงในวันศุกร์ในโรงงาน 3 แห่งใน 3 รัฐในสหรัฐ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน