ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
รายงานจากมอร์แกน สแตนเลย์ที่อ้างอิงข้อมูลจากอีพีเอฟอาร์พบว่า ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกเทขายหุ้นจีนอย่างหนักในเดือนต.ค. แม้ทางการดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อพยุงเศรษฐกิจจีนก็ตาม โดยหุ้นจีนและฮ่องกงได้รับคำสั่งขายสุทธิรวมกัน 3.1 พันล้านดอลลาร์จากกองทุนแบบเชิงรุก ซึ่งเป็นการขายสุทธิมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันแล้ว
นักวิเคราะห์นำโดยนายกิลเบิร์ต หว่องระบุว่า "แรงขายดังกล่าวส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการปรับสมดุลใหม่ออกจากจีนของกองทุนในภูมิภาค นำโดยกองทุนที่อยู่ในยุโรป"
กองทุนในยุโรปเทขายหุ้นที่ถือครองไว้ตั้งแต่ปลายปี 2020 ออกมาราวครึ่งหนึ่งแล้ว และยังมีคำสั่งขายจากกองทุนในสหรัฐออกมามากขึ้นในเดือนต.ค.ด้วย
นักลงทุนยังคงระมัดระวังต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีน โดยเฉพาะหลังจากที่ภาคการผลิตหดตัวลงอย่างไม่คาดคิดในเดือนต.ค. โดยดัชนี MSCI หุ้นจีนดิ่งลง 4.3% ในเดือนต.ค. ส่วนดัชนี CSI 300 ตลาดหุ้นจีนร่วงลง 3.2%--จบ--
Eikon source text
กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในสถานะที่ดีกว่าเศรษฐกิจของประเทศสำคัญอื่น ๆ ทั้งนี้ บริษัทเอสแอนด์พี โกลบอลรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) โดยรวมของสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ ขยับลงจาก 50.2 ในเดือนส.ค. สู่ 50.1 ในเดือนก.ย. ในขณะที่ดัชนีที่ระดับสูงกว่า 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัว โดยรายงานนี้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในสถานะที่ดีกว่าเศรษฐกิจยุโรป หลังจากมีรายงานระบุว่า ดัชนี PMI โดยรวมของฝรั่งเศสร่วงลงจาก 46.0 ในเดือนส.ค. สู่ 43.5 ในเดือนก.ย. นอกจากนี้ ผลสำรวจก็พบว่า เศรษฐกิจยูโรโซนอาจหดตัวลงในไตรมาส 3 ในขณะที่ดัชนี PMI คอมโพสิตขั้นต้นของยูโรโซนเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 47.1 ในเดือนก.ย. จากระดับต่ำสุดในรอบ 33 เดือนที่ 46.7 ในเดือนส.ค. แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.55 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 105.39 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 105.78 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. หรือจุดสูงสุดรอบ 6 เดือน โดยดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับขึ้นราว 0.3% จากสัปดาห์ที่แล้ว และถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 10 ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 148.37 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 147.58 เยน หลังจากทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบกว่า 10 เดือนที่ 148.45 เยนในวันพฤหัสบดี
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0652 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยขยับลงจาก 1.0658 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0613 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. หรือจุดต่ำสุดรอบ 6 เดือน
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงในวันศุกร์ หลังจากแกว่งตัวผันผวนในระหว่างวัน ในขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 4.508% ในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี ก่อนจะปรับลงสู่ 4.440% ในช่วงท้ายวันศุกร์ ทางด้านมิเชลล์ โบว์แมน หนึ่งในผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในวันศุกร์ว่า เฟดจำเป็นจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อภายในเวลาที่เหมาะสม โดยถ้อยแถลงแบบสายเหยี่ยวในครั้งนี้ตั้งอยู่บนการคาดการณ์ที่ว่า ราคาพลังงานอาจจะปรับสูงขึ้น และการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้ออาจจะดำเนินต่อไปอีกนานหลายปี ทั้งนี้ มีเพียงหุ้น 2 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐที่ปิดตลาดวันศุกร์ในแดนบวก ซึ่งได้แก่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีกับหุ้นกลุ่มพลังงาน ส่วนหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยถือเป็นกลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุดในวันศุกร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.31% สู่ 33,963.84
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.23% สู่ 4,320.06 หลังจากดัชนีเพิ่งร่วงผ่านค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 100 วันซึ่งถือเป็นแนวรับสำคัญในวันพฤหัสบดี และถือเป็นการร่วงผ่านแนวรับดังกล่าวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมี.ค. โดยการที่ดัชนีไม่สามารถพุ่งขึ้นเหนือระดับดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ดัชนียังคงได้รับแรงกดดันในทางลบ นอกจากนี้ ดัชนี S&P 500 ก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ด้วย
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.09% สู่ 13,211.81 โดยดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากรายงานของบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์ที่ระบุว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐดิ่งลง 8 แท่น สู่ 507 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 ก.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2022 ทางด้านบริษัทไอไออาร์ เอ็นเนอร์จีระบุว่า มีการคาดการณ์กันว่าโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐจะปิดกำลังการกลั่นน้ำมันราว 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ล่าสุด โดยเพิ่มขึ้นจาก 800,000 บาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ในขณะที่โรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐมักจะปิดซ่อมบำรุงในฤดูใบไม้ร่วง หลังจากใช้กำลังการกลั่นจำนวนมากในช่วงฤดูร้อนเพื่อตอบรับต่ออุปสงค์น้ำมันที่ระดับสูง ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ทรงตัวในวันศุกร์ แต่ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบ โดยได้รับแรงกดดันจากคำสั่งเทขายทำกำไร ในขณะที่ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ซึ่งจะส่งผลลบต่ออุปสงค์น้ำมัน แต่ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมัน หลังจากรัสเซียประกาศห้ามส่งออกเชื้อเพลิง Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ย.ปรับขึ้น 40 เซนต์ หรือ 0.5% มาปิดตลาดที่ 90.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันศุกร์ แต่ราคาน้ำมันดิบสหรัฐปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการขยับลง 0.03% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นครั้งแรกในรอบ 4 สัปดาห์
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนขยับลง 3 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 93.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับลง 0.3% จากสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกมานานติดต่อกัน 3 สัปดาห์ โดยราคาน้ำมันดิบเคยพุ่งขึ้นกว่า 10% ในช่วง 3 สัปดาห์ดังกล่าว โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมันตึงตัว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 5.42 ดอลลาร์ สู่ 1,924.99 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากปิดตลาดในแดนลบมานานติดต่อกัน 3 วัน ในขณะที่ดัชนีดอลลาร์ลดช่วงบวกลงในวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 เดือนในระหว่างวัน ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีก็พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 16 ปีที่ 4.508% ในวันศุกร์ ก่อนจะร่วงลงมาปิดตลาดที่ 4.44% ในวันศุกร์ โดยปรับลงจาก 4.48% ในวันพฤหัสบดี โดยการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่งผลบวกต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--8 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 เดือนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี ในขณะที่ดอลลาร์พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 10 เดือนเมื่อเทียบกับเยน, จุดสูงสุดรอบ 3 เดือนเมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์ และจุดสูงสุดรอบ 16 ปีเมื่อเทียบกับหยวนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังคงรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 5.25% นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 เป็นต้นมา ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐดิ่งลง 13,000 ราย สู่ 216,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 ก.ย. จาก 229,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ส.ค. โดยระดับ 216,000 รายนี้ถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ก.พ. และถือเป็นการปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน โดยตัวเลขนี้อยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 234,000 รายด้วย Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.05 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจาก 104.86 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 เดือนที่ 105.15 ในระหว่างวัน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.29 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 147.65 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 147.87 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022 หรือจุดสูงสุดรอบ 10 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0699 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยปรับลงจาก 1.0727 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากร่วงลงแตะ 1.0685 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. หรือจุดต่ำสุดรอบ 3 เดือน
ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นบริษัทแอปเปิลและหุ้นกลุ่มชิป เนื่องจากนักลงทุนกังวลกับมาตรการของรัฐบาลจีนที่จำกัดการใช้โทรศัพท์ไอโฟนโดยลูกจ้างของรัฐ โดยรัฐบาลจีนสั่งให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบางแห่งของรัฐบาลกลางจีนยุติการใช้ไอโฟนในที่ทำงาน และปัจจัยนี้ก็ส่งผลให้หุ้นบริษัทแอปเปิลดิ่งลง 2.9% ในวันพฤหัสบดี, ส่งผลให้หุ้นกลุ่มซัพพลายเออร์ของแอปเปิลรูดลงอย่างรุนแรง ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทสกายเวิร์คส์ โซลูชัน, ควอลคอมม์ และคอร์โวที่ต่างก็ดิ่งลงกว่า 7%, ส่งผลให้ดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ดิ่งลง 1.98% และส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐรูดลง 1.6% ในวันพฤหัสบดี นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐยังได้รับแรงกดดันจากตัวเลขยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐที่ดิ่งลงอย่างรุนแรงในสัปดาห์ล่าสุดด้วย เพราะตัวเลขดังกล่าวกระตุ้นให้นักลงทุนกังวลกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยและแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐ ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวกขึ้นในวันพฤหัสบดี เนื่องจากหุ้นแอปเปิลไม่ได้ครองน้ำหนักมากนักในดัชนีนี้ นอกจากนี้ ดัชนีดาวโจนส์ยังได้รับแรงหนุนจากหุ้นแมคโดนัลด์ที่พุ่งขึ้น 1.05% ด้วย หลังจากธนาคารเวลส์ ฟาร์โกปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นแมคโดนัลด์สู่ "เพิ่มน้ำหนักการลงทุน" Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.17% สู่ 34,500.73
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.32% สู่ 4,451.14
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.89% สู่ 13,748.83
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ร่วงลงในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงกดดันจากสัญญาณบางประการที่บ่งชี้ว่าอุปสงค์น้ำมันอาจจะอ่อนแอลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า โดยสัญญาณดังกล่าวรวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอในยูโรโซน หลังจากสำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) รายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนเติบโตขึ้นเพียง 0.1% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบรายไตรมาส โดยปรับลดลงจากระดับ +0.3% ในประมาณการขั้นต้น และราคาน้ำมันก็ได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอในจีนด้วย หลังจากจีนรายงานว่า ยอดส่งออกดิ่งลง 8.8% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี และยอดนำเข้าหดตัวลง 7.3% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ด้วยเช่นกัน เพราะการแข็งค่าของดอลลาร์ส่งผลให้น้ำมันมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพฤหัสบดีว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 6.3 ล้านบาร์เรล สู่ 416.6 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ก.ย. และสต็อกน้ำมันดิบรูดลงมาแล้ว 6.5% นับตั้งแต่ต้นเดือนส.ค. ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.7 ล้านบาร์เรล สู่ 214.7 ล้านบาร์เรล ทางด้านสต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil เพิ่มขึ้น 700,000 บาร์เรล สู่ 118.6 ล้านบาร์เรล ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันในสหรัฐลดลง 0.2% สู่ 93.1% Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 67 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 86.67 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 86.39-87.74 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยราคาน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่งปิดตลาดในแดนบวกมานานติดต่อกัน 9 วันก่อนวันพฤหัสบดี
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 68 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 89.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 89.46-90.89 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์เพิ่งปิดตลาดในแดนบวกมานานติดต่อกัน 7 วันก่อนวันพฤหัสบดี
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 2.91 ดอลลาร์ สู่ 1,919.19 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ร่วงลงจาก 4.290% ในช่วงท้ายวันพุธ สู่ 4.262% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 4.308% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี โดยการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลบวกต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ราคาทองลดช่วงบวกลงจากจุดสูงสุดของวันที่ 1,923.49 ดอลลาร์ หลังจากสหรัฐรายงานว่ายอดผู้ขอรับสวัสดิการครั้งแรกดิ่งลงในสัปดาห์ล่าสุด Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทรงตัวในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบ 15 เดือน โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับภาวะเศรษฐกิจจีน และนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไป Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.45 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยขยับขึ้นจาก 103.40 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 เดือนที่ 103.68 ในระหว่างวัน และดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการแข็งค่าขึ้นราว 0.5% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 145.37 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 145.83 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 9 เดือนที่ 146.56 เยนในวันพฤหัสบดี
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0873 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0871 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.0856 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี
ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดขยับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยดัชนี S&P 500 ได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มเติบโต แต่ได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มปลอดภัยและหุ้นกลุ่มพลังงาน ในขณะที่นักลงทุนรอฟังถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมที่แจ็คสัน โฮลในวันศุกร์ที่ 25 ส.ค. และรอดูผลประกอบการของบริษัทเอ็นวิเดีย ซึ่งเป็นบริษัทผู้ออกแบบชิปที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธที่ 23 ส.ค. ทางด้านดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดตลาดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นวอลมาร์ทซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกขนาดยักษ์ที่พุ่งขึ้น 1.44% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.07% สู่ 34,500.66
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.01% สู่ 4,369.71 ในวันศุกร์ และดิ่งลงมาแล้ว 4.6% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.2% สู่ 13,290.78 และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 2.6% จากสัปดาห์ที่แล้ว โดยดัชนี Nasdaq รูดลงมาแล้ว 7.2% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนธ.ค. 2022
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากสัญญาณบ่งชี้ว่า การผลิตน้ำมันในสหรัฐชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี ทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่มีต่อแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกท่ามกลางวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุน หลังจากบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์สรายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซที่ใช้งานในสหรัฐดิ่งลง 12 แท่น สู 642 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2022 และถือเป็นการปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน โดยการดิ่งลงของปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐอาจจะส่งผลให้อุปทานน้ำมันตึงตัวมากยิ่งขึ้นในช่วงต่อไปในปีนี้ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ย.พุ่งขึ้น 86 เซนต์ หรือ 1.1% มาปิดตลาดที่ 81.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 68 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 84.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่เบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงราว 2% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 0.70 ดอลลาร์ สู่ 1,888.19 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 1.31% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งกระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ต่อไปจนถึงปี 2024 และนักลงทุนรอดูสัญญาณบ่งชี้ถึงทิศทางนโยบายการเงินจากการประชุมธนาคารกลางที่แจ็คสัน โฮลในวันที่ 24-26 ส.ค. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--10 ก.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันศุกร์ หลังจากแกว่งตัวผันผวนในระหว่างวัน ในขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับรายงานการจ้างงานประจำเดือนมิ.ย.ของสหรัฐ และนักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจใหม่และผลประกอบการภาคเอกชนที่จะได้รับการรายงานออกมาในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐปรับขึ้น 209,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2020 หรือต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง และอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 225,000 ตำแหน่ง โดยทางกระทรวงได้ปรับทบทวนตัวเลขตำแหน่งงานใหม่ในเดือนเม.ย.และพ.ค.ลงจากเดิม 110,000 ตำแหน่งด้วย นอกจากนี้ ทางกระทรวงยังระบุอีกด้วยว่า จำนวนผู้ที่ทำงานพาร์ทไทม์เพราะเหตุผลทางเศรษฐกิจพุ่งขึ้น 452,000 ราย สู่ 4.2 ล้านราย และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานอ่อนแอลง อย่างไรก็ดี รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงของคนงานสหรัฐปรับขึ้น 0.4% ในเดือนมิ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.4% ในเดือนพ.ค. และค่าแรงแบบเทียบรายปีพุ่งขึ้น 4.4% ในเดือนมิ.ย. และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะตึงตัว
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 0.55% สู่ 33,734.88, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.29% สู่ 4,398.95 และดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.13% สู่ 13,660.72 ในวันศุกร์ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับระดับปิดสัปดาห์ที่แล้ว ดัชนีดาวโจนส์ก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ดิ่งลง 2%, ดัชนี S&P 500 รูดลงราว 1.2% ในสัปดาห์นี้ และดัชนี Nasdaq ปรับลงราว 0.9% ในสัปดาห์นี้
หุ้นกลุ่มปลอดภัยดิ่งลงในวันศุกร์ โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นรูดลง 1.3% อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานพุ่งขึ้น 2.1% และดัชนีหุ้นกลุ่มวัสดุบวกขึ้น 0.9% ทางด้านดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.2% ในวันศุกร์ ทั้งนี้ นักลงทุนยังคงคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ค. เนื่องจากการจ้างงานในสหรัฐยังคงเติบโตเร็วกว่าอัตราที่เคยทำไว้ในช่วง 10 ปีก่อนเกิดวิกฤติโรคระบาด โดยนักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดว่า มีโอกาส 11.2% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. และมีโอกาส 88.8% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค.
นายออสตัน กูลส์บี ประธานเฟดสาขาชิคาโกกล่าวว่า เขาไม่ได้ไม่เห็นด้วยกับผู้กำหนดนโยบายคนอื่น ๆ ของเฟดในประเด็นที่ว่า เฟดจำเป็นจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่อยู่สูงเกินไป
หุ้นลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค ซึ่งเป็นผู้ผลิตชุดยีนส์ดิ่งลง 7.7% หลังจากลีวายปรับลดตัวเลขคาดการณ์ผลกำไรประจำปี ทั้งนี้ หุ้นริเวียน ออโตโมทีฟ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพุ่งขึ้น 14.2% หลังจากริเวียนรายงานยอดจัดส่งรถยนต์รายไตรมาสที่ดีเกินคาด--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--16 มิ.ย.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพฤหัสบดี ในขณะที่สหรัฐรายงานตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวในวันพฤหัสบดี และตัวเลขดังกล่าวช่วยกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดค้าปลีกในสหรัฐปรับขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ค. หลังจากปรับขึ้น 0.4% ในเดือนเม.ย. และสวนทางกับโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า ยอดค้าปลีกอาจปรับลดลง 0.1% ในเดือนพ.ค. ส่วนกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกทรงตัวที่ 262,0000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 มิ.ย. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 249,000 ราย นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังรายงานอีกด้วยว่า ราคานำเข้าในสหรัฐดิ่งลง 5.9% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2020 หรือครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 3 ปี หลังจากรูดลง 4.9% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายปี โดยราคานำเข้าดิ่งลงมาแล้ว 4 เดือนติดต่อกัน และรายงานตัวเลขนี้ช่วยลดความกังวลเรื่องภาวะเงินเฟ้อ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดทะยานขึ้น 1.26% สู่ 34,408.06, ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 1.22% สู่ 4,425.84 ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดในรอบ 14 เดือน และดัชนีพุ่งขึ้นมาแล้ว 15% จากช่วงต้นปี 2023 ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 1.15% สู่ 13,782.82 ในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดในรอบ 14 เดือน และดัชนี Nasdaq ทะยานขึ้นมาแล้วราว 32% จากช่วงต้นปี 2023 โดยดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้นมาแล้วเกือบ 4% จากช่วงต้นสัปดาห์นี้ด้วย ในขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงหนุนในปีนี้จากสัญญาณบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ, จากผลประกอบการภาคเอกชนที่ดีเกินคาด และจากการคาดการณ์ที่ว่า อัตราดอกเบี้ยสหรัฐใกล้จะแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรแล้ว ทั้งนี้ หุ้นทั้ง 11 กลุ่มในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนบวกในวันพฤหัสบดี โดยดัชนีหุ้นกลุ่มการแพทย์พุ่งขึ้น 1.55% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารทะยานขึ้น 1.54% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากเป็นอันดับสอง
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาในช่วงนี้บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง และช่วยลดความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต โดยปัจจัยดังกล่าวมีส่วนกดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐให้ร่วงลงด้วย โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับลงจาก 3.798% ในช่วงท้ายวันพุธ สู่ 3.728% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ก็ส่งผลบวกต่อหุ้นเติบโต ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ หุ้นแอปเปิลพุ่งขึ้น 1.1% ในวันพฤหัสบดี ส่วนหุ้นไมโครซอฟท์ทะยานขึ้น 3.2% สู่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ โดยทำลายสถิติระดับปิดสูงสุดเดิมที่เคยทำไว้ในเดือนพ.ย. 2021
เทรดเดอร์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาสราว 33.2% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. และมีโอกาสราว 66.8% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. นอกจากนี้ เทรดเดอร์ยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงก่อนสิ้นเดือนธ.ค.ปีนี้
หุ้นโครเกอร์ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกดิ่งลง 2.7% หลังจากโครเกอร์เปิดเผยรายได้ไตรมาสแรกที่ต่ำเกินคาด ทั้งนี้ หุ้นบริษัทจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี ซึ่งรวมถึงหุ้นอาลีบาบา กรุ๊ปที่ทะยานขึ้น 3.2% และหุ้นเจดีดอทคอมที่พุ่งขึ้น 3.4% หลังจากธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นโยบายระยะกลางเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือนในวันพฤหัสบดี โดยธนาคารกลางจีนลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลางอายุ 1 ปี (MLF) วงเงิน 2.37 แสนล้านหยวน(3.309 หมื่นล้านดอลลาร์) ให้แก่สถาบันการเงินบางแห่งลง 0.10% สู่ระดับ 2.65% ซึ่งสอดคล้องกับที่คาดไว้--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
หุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี ขณะที่หุ้นที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีพุ่งขึ้นต่อเนื่อง แต่หุ้นกลุ่มธนาคารภูมิภาคร่วงลง เนื่องจากฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้เสนอมาตรการที่เข้มงวดขึ้นเพื่อช่วยลดความเสี่ยง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 141.43 จุด หรือ 0.43% ที่ 32,859.03, ดัชนี S&P 500 ปิดบวก 23.02 จุด หรือ 0.57% สู่ระดับ 4,050.83 และดัชนี Nasdaq ปิดบวก 87.24 จุด หรือ 0.73% สู่ 12,013.47
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้น 1.1% และหนุนดัชนี S&P 500 มากที่สุด ขณะที่ดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดัคเตอร์ฟิลาเดลเฟียพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี แต่หุ้นกลุ่มธนาคารภูมิภาคร่วงลง ขณะที่ฝ่ายบริหารเรียกร้องให้มีกฎที่เข้มงวดขึ้นที่จะทำให้ธนาคารขนาดกลางแข็งแกร่งขึ้นโดยไม่ต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภาคองเกรส
นักลงทุนกำลังรอดูข้อมูลดัชนีการใช้จ่ายการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนก.พ.ในวันศุกร์ หลังจากข้อมูลเดือนม.ค.พบว่า การใช้จ่ายผู้บริโภคเร่งตัวขึ้นอย่างมาก ขณะที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) 3 รายได้เปิดโอกาสสำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพื่อทำให้เงินเฟ้อลดลง โดยเจ้าหน้าที่ 2 คนระบุว่า ปัญหาในภาคธนาคารอาจจะเป็นอุปสรรคที่เพียงพอที่จะขัดขวางเศรษฐกิจ
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มมากเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งบ่งชี้ถึงตลาดแรงงานที่ชะลอตัว ขณะที่ข้อมูลจีดีพีไตรมาส 4 ขยายตัว 2.6% ลดลงเล็กน้อยจาก 2.7% ที่คาดการณ์เบื้องต้น โดยข้อมูลทั้งสองตัวสนับสนุนเหตุผลสำหรับนโยบายที่ผ่อนคลายลงของเฟด--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปลและเรียบเรียง)
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน