ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--30 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 30-31 ม.ค. แต่เฟดจะคัดค้านการคาดการณ์ในตลาดที่ว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ทางด้านเทรดเดอร์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาสเพียง 48% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 89% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อน หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในระยะนี้แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ยูโรได้รับแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปที่อยู่ในภาวะอ่อนแอกว่าสหรัฐ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.46 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 103.47 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 103.82 ในระหว่างวัน ซึ่งเท่ากับจุดสูงสุดของสัปดาห์ที่แล้ว และถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.49 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 148.16 เยน อย่างไรก็ดี ดอลลาร์/เยนมีแนวโน้มที่จะปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการพุ่งขึ้นราว 4.5% จากเดือนธ.ค. ในขณะที่เทรดเดอร์ปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ)
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0833 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0852 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.07955 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค., รอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัว และรอดูผลประกอบการของบริษัทสำคัญหลายแห่งของสหรัฐที่จะได้รับการประกาศออกมาในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทแอลฟาเบท, ไมโครซอฟท์ และเจเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันอังคาร, บริษัทควอลคอมม์ ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพุธ, บริษัทโบอิ้ง, แอปเปิล, อะเมซอนดอทคอม และเมตา แพลตฟอร์มส์ ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพฤหัสบดี และบริษัทเอ็กซอน โมบิล กับเชฟรอน ซึ่งถือเป็นสองบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันศุกร์ ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจที่นักลงทุนจับตาดูในสัปดาห์นี้รวมถึง ผลสำรวจตำแหน่งงานว่างและการเข้า-ออกงาน (JOLTS), ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐที่จัดทำโดยบริษัท ADP, ต้นทุนการจ้างงานประจำไตรมาสสี่, ประสิทธิภาพการผลิต, ยอดการประกาศปลดพนักงานออก, ตัวเลขราคาบ้านสหรัฐที่จัดทำโดยบริษัทเคส-ชิลเลอร์, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่จัดทำโดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ค่าใช้จ่ายภาคก่อสร้าง, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนม.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 2 ก.พ. ทั้งนี้ หุ้น 10 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันจันทร์ในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยพุ่งขึ้น 1.37% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันจันทร์ ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ทะยานขึ้น 0.97% และถือเป็นกลุ่มที่ปรับขึ้นมากเป็นอันดับสอง ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานถือเป็นหุ้นกลุ่มเดียวที่ปิดตลาดวันจันทร์ในแดนลบ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.59% สู่ 38,333.45
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.76% สู่ 4,927.93 ซึ่งถือเป็นสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ โดยดัชนีพุ่งขึ้นมาแล้ว 3.3% จากช่วงต้นเดือนนี้ และปัจจัยดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้บริษัทแบล็คร็อคปรับขึ้นมุมมองที่มีต่อหุ้นสหรัฐโดยรวมสู่ "overweight" จาก "neutral"
ดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.12% สู่ 15,628.04
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันจันทร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องอุปสงค์น้ำมันในจีนท่ามกลางวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หลังจากมีข่าวว่าศาลฮ่องกงออกคำสั่งให้บริษัทไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของจีนขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นในช่วงแรกโดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง หลังจากมีการใช้ขีปนาวุธโจมตีเรือขนส่งเชื้อเพลิงลำหนึ่งในทะเลแดง และมีการใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดน ซึ่งส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และส่งผลให้มีทหารได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 34 นาย อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิ่งลงในเวลาต่อมา ในขณะที่นักลงทุนมองว่าอุปทานน้ำมันยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.รูดลง 1.23 ดอลลาร์ หรือ 1.6% มาปิดตลาดที่ 76.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.15 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 82.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 84.80 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย. หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 13.41
ดอลลาร์ สู่ 2,031.75 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค.ด้วย ทั้งนี้ มีการใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดน ซึ่งส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และส่งผลให้มีทหารได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 34 นาย ทางด้านประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐระบุในวันอาทิตย์ว่า กลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์โจมตีในครั้งนี้ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นการโจมตีครั้งแรกที่ส่งผลให้ทหารสหรัฐเสียชีวิต นับตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในเดือนต.ค. 2023 เป็นต้นมา Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--29 ม.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินขยับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนธ.ค. แต่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มร่วงลงในอนาคต และปัจจัยดังกล่าวบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงภายในช่วงกลางปีนี้ ทั้งนี้ สำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดนิยมใช้ ปรับขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากขยับขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ย. ส่วนดัชนี PCE ทั่วไปแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.6% ในเดือนธ.ค. หลังจากปรับขึ้น 2.6% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเท่ากับว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่าระดับ 3% มาเป็นเวลานาน 3 เดือนติดต่อกัน ทางด้านดัชนี PCE พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานปรับขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากขยับขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ย. ในขณะที่ดัชนี PCE พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.9% ในเดือนธ.ค. ซึ่งถือเป็นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2021 หลังจากปรับขึ้น 3.2% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.47 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยขยับลงจาก 103.50 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 148.16 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 147.65 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0852 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยขยับขึ้นจาก 1.0846 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.0811 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยยูโรปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการอ่อนค่าลง 0.41% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันศุกร์ แต่ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ปรับลงในวันศุกร์ ในขณะที่หุ้นบริษัทอินเทลดิ่งลง 11.91% หลังจากอินเทลคาดการณ์รายได้ที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ในตลาดเป็นอย่างมาก ในขณะที่อินเทลพยายามไล่ตามบริษัทอื่น ๆ ในการแข่งขันกันในธุรกิจปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทลต้องรับมือกับตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ที่อ่อนแอ ทางด้านหุ้นเคแอลเอ คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ผลิตชิปดิ่งลง 6.6% หลังจากเคแอลเอคาดการณ์รายได้ไตรมาสสามที่น่าผิดหวัง นอกจากนี้ ดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐก็รูดลง 2.9% ในวันศุกร์ และปิดตลาดในแดนลบเป็นวันที่สองติดต่อกัน หลังจากดัชนีเพิ่งพุ่งขึ้นมาปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ในวันพุธที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในบรรดาบริษัทในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลประกอบการออกมาแล้วนั้น บริษัท 78.2% เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 67% โดยหุ้นบริษัทอเมริกัน เอ็กซ์เพรสพุ่งขึ้น 7.1% ในวันศุกร์ และทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ หลังจากบริษัทบัตรเครดิตแห่งนี้คาดการณ์ผลกำไรประจำปีที่สูงเกินคาด อย่างไรก็ดี หุ้นบริษัทวีซ่าดิ่งลง 1.7% หลังจากวีซ่าคาดการณ์รายได้ไตรมาสปัจจุบันที่ระดับต่ำ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.16% สู่ 38,109.43 ในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับขึ้น 0.65% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.07% สู่ 4,890.97 ในวันศุกร์ หลังจากดัชนีเพิ่งปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่มาได้นาน 5 วันติดต่อกัน อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 1.06% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.36% สู่ 15,455.36 ในวันศุกร์ แต่ดัชนี Nasdaq ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการทะยานขึ้น 0.94% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน โดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงรายงานที่ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโต 3.3% ในไตรมาสสี่เมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) หลังจากเติบโต 4.9% ในไตรมาสสาม โดยอัตราการเติบโตนี้อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2% สำหรับไตรมาสสี่, ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่ชะลอตัวลง, สัญญาณบ่งชี้ว่าจีนดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ, การที่ยูเครนใช้โดรนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันในภาคใต้ของรัสเซีย, ตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐที่ดิ่งลง 9.2 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ล่าสุด และความขัดแย้งในภูมิภาคคะวันออกกลาง ในขณะที่โฆษกของกลุ่มฮูตีประกาศว่า ทางกลุ่มได้โจมตีเรือขนส่งน้ำมันลำหนึ่งในอ่าวเอเดน และข่าวนี้ทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจจะเกิดการขาดตอนของอุปทานน้ำมัน ทั้งนี้ บริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์รายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐเพิ่มขึ้น 2 แท่น สู่ 499 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ม.ค. ส่วนคณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) รายงานในวันศุกร์ว่า ผู้จัดการกองทุนปรับเพิ่มปริมาณการถือครองสถานะซื้อสุทธิในสัญญาล่วงหน้าและออปชั่นน้ำมันดิบสหรัฐขึ้น 56,134 สัญญา สู่ 99,144 สัญญาในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันอังคารที่ 23 ม.ค. Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.ปรับขึ้น 65 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 78.01 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 1.12 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 83.55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. โดยทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นกว่า 6% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ต.ค. หรือนับตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 1.41 ดอลลาร์ สู่ 2,018.34 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับลง 0.54% จากสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค. เพื่อใช้ในการประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ ทั้งนี้ ค่าพรีเมียมทองในจีนปรับขึ้นในสัปดาห์นี้ ในขณะที่จีนดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม และมาตรการดังกล่าวช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุนในช่วงก่อนถึงเทศกาลตรุษจีน Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--26 ม.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นในวันพฤหัสบดี หลังจากสำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโต 3.3% ในไตรมาสสี่เมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) หลังจากเติบโต 4.9% ในไตรมาสสาม โดยอัตราการเติบโตนี้อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2% สำหรับไตรมาสสี่ ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐได้รับแรงหนุนจากปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค, จากยอดส่งออก, จากรายจ่ายของรัฐบาล และจากการลงทุนทางธุรกิจในไตรมาสสี่ โดยรายงานตัวเลขนี้บ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ เทรดเดอร์ในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดการณ์ในวันพฤหัสบดีว่า มีโอกาสราว 51% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยโอกาสดังกล่าวปรับลดลงจากระดับ 80% ที่เคยคาดไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน นอกจากนี้ เทรดเดอร์ยังคาดการณ์อีกด้วยว่า มีโอกาส 94% ที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงภายในต้นเดือนพ.ค. Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.50 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจาก 103.29 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้วราว 2% จากช่วงต้นปีนี้
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.65 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 147.50 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0846 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0883 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากปรับลงแตะ 1.0820 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งเท่ากับจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ทำไว้ในวันอังคารที่ผ่านมา
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันพฤหัสบดี หลังจากสำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโต 3.3% ในไตรมาสสี่เมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) หลังจากเติบโต 4.9% ในไตรมาสสาม โดยอัตราการเติบโตนี้อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2% สำหรับไตรมาสสี่ โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดนี้ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน อย่างไรก็ดี หุ้นเทสลาซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าดิ่งลง 12% และลงไปแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2023 หลังจากนายอีลอน มัสก์ ซีอีโอของเทสลาประกาศเตือนว่า ยอดขายของเทสลาจะชะลอการเติบโตลงในปีนี้ ถึงแม้เทสลาปรับลดราคารถยนต์ลงจนสร้างความเสียหายต่ออัตราผลกำไรของบริษัท โดยการดิ่งลงของหุ้นเทสลาในวันนี้ส่งผลให้มูลค่าของบริษัทเทสลาในตลาดหุ้นดิ่งลง 7.0 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ระดับราว 5.80 แสนล้านดอลลาร์ และส่งผลให้เทสลามีมูลค่าต่ำกว่าบริษัทอีไล ลิลลี ซึ่งมีมูลค่า 5.9 แสนล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ การดิ่งลงของหุ้นเทสลาก็ส่งผลให้หุ้นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแห่งอื่น ๆ รูดลงตามไปด้วย ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทริเวียน ออโตโมทีฟที่ดิ่งลง 2.2% และหุ้นบริษัทลูซิด กรุ๊ปที่รูดลง 6.7% ทั้งนี้ ในบรรดาบริษัทในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลประกอบการออกมาแล้วนั้น บริษัท 82% เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 67% โดยบริษัทที่เปิดเผยผลประกอบการออกมาในช่วงนี้รวมถึงบริษัท IBM ที่มีราคาหุ้นพุ่งขึ้น 9.5% ในวันพฤหัสบดี หลังจาก IBM คาดการณ์ว่ารายได้ตลอดทั้งปีจะเติบโตสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในตลาด, บริษัทคอมแคสท์ ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านสื่อที่มีราคาหุ้นทะยานขึ้น 3.4% หลังจากคอมแคสท์เปิดเผยรายได้รายไตรมาสที่สูงเกินคาด และสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ที่มีราคาหุ้นพุ่งขึ้น 10.3% หลังจากทางสายการบินคาดการณ์แนวโน้มผลกำไรที่สดใส Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 0.64% สู่ 38,049.13
ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.53% สู่ 4,894.16 ซึ่งถือเป็นการทำสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ได้เป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 0.18% สู่ 15,510.50
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพฤหัสบดี หลังจากสหรัฐรายงานว่าเศรษฐกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่งเกินคาดในไตรมาสสี่ และราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในทะเลแดงด้วย โดยบริษัทเมอส์กของเดนมาร์กประกาศว่า เหตุระเบิดส่งผลให้เรือสองลำที่ดำเนินการโดยบริษัทในเครือของเมอส์กที่กำลังขนส่งยุทธภัณฑ์ของสหรัฐต้องเปลี่ยนทิศทางการเดินเรือ ในขณะที่เรือสองลำนี้กำลังแล่นผ่านช่องแคบบาบุลมันดับนอกชายฝั่งเยเมน ทางด้านผู้นำของกลุ่มฮูตีในเยเมนประกาศในวันพฤหัสบดีว่า ทางกลุ่มจะยังคงโจมตีเรือที่มีความเกี่ยวข้องกับอิสราเอลต่อไป จนกว่าจะมีการส่งความช่วยเหลือไปถึงชาวปาเลสไตน์ในเขตฉนวนกาซา ทั้งนี้ นักลงทุนกังวลกับอุปทานน้ำมันในช่วงนี้ด้วย หลังจากมีข่าวว่ายูเครนใช้โดรนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันแแห่งหนึ่งในภาคใต้ของรัสเซีย Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.ทะยานขึ้น 2.27 ดอลลาร์ หรือ 3.02% มาปิดตลาดที่ 77.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 77.51 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 2.39 ดอลลาร์ หรือ 2.99% มาปิดตลาดที่ 82.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 82.57 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 7.16 ดอลลาร์ สู่ 2,019.75 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับลงจาก 4.178% ในช่วงท้ายวันพุธ สู่ 4.132% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี และการปรับลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ก็ส่งผลบวกต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย ทั้งนี้ บอนด์ยิลด์ได้รับแรงกดดันในวันพฤหัสบดี หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจีดีพีไตรมาสสี่ และรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อในเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงสู่ 1.9% ในไตรมาสสี่ จาก 2.9% ในไตรมาสสาม Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ลอนดอน/นิวยอร์ค/ฮ่องกง--25 ม.ค.--รอยเตอร์
กลุ่มฮูตีในเยเมน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน ได้โจมตีเรือขนส่งสินค้าในทะเลแดงในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้เรือจำนวนมากไม่สามารถแล่นผ่านคลองสุเอซที่เชื่อมระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย และปัจจัยนี้สร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ซึ่งรวมถึงส่งผลลบต่ออุปทานน้ำมัน, ธัญพืช และสินค้าอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากด้วย ทั้งนี้ กองทุนเฮจด์ฟันด์ 5 แห่งได้แบ่งปันแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการลงทุนท่ามกลางสถานการณ์นี้ โดยกองทุนแรกคือกองทุนเคย์เลอร์ แคปิตัลที่มีขนาด 54 ล้านดอลลาร์ โดยนายเบรนท์ เบลอท ผู้ก่อตั้งกองทุนนี้เปิดเผยว่า เขาชื่นชอบการลงทุนในออปชั่น ซึ่งครอบคลุมการขายพุทออปชั่นสเปรดสำหรับสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบที่ส่งมอบในเดือนธ.ค. 2024 ซึ่งเป็นสัญญาสำหรับใช้ในการทำประกันความเสี่ยงถ้าหากราคาน้ำมันดิ่งลงสู่ระดับ 50-60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และการเข้าซื้อคอลล์ออปชั่นเป็นจำนวนสูงราว 5 เท่าของจำนวนพุทออปชั่นสเปรดที่ขายไป ซึ่งเป็นคอลล์ออปชั่นที่จะให้ผลกำไร ถ้าหากราคาสัญญาน้ำมันดิบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้นแตะ 120 ดอลลาร์ในปี 2024 นอกจากนี้ เขายังตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่า ถ้าหากนักลงทุนรายใดขายพุทสเปรดแบบนี้เป็นจำนวน 100 สัญญา และเข้าซื้อคอลล์ออปชั่นเป็นจำนวน 500 สัญญาก่อนเกิดสงครามยูเครนในช่วงต้นปี 2022 นักลงทุนรายนั้นก็จะทำกำไรได้สูงกว่า 4 ล้านดอลลาร์เมื่อเกิดสงครามยูเครน
กองทุนเฮดจ์ฟันด์แห่งที่ 2 คือกองทุนสเวลแลนด์ แคปิตัลที่มีขนาดราว 400 ล้านดอลลาร์ โดยนาเดีย มาร์ติน วิกเก็น ผู้บริหารของกองทุนนี้คาดว่า อุปสงค์ในบริษัทขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จะพุ่งสูงขึ้นในระยะยาว ในขณะที่ปัญหาการขาดตอนในทะเลแดงส่งผลให้ระยะเวลาในการขนส่ง LNG เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และความต้องการใช้เรือขนส่ง LNG ก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย โดย LNG คือสิ่งที่นำมาใช้ในการผลิตเป็นก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้ในการทำความร้อนและในการทำอาหาร ทั้งนี้ เธอกล่าวเสริมว่า อุปสงค์ดังกล่าวจะได้รับแรงหนุนจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงการขนส่งสินค้าและการผลิตที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐ, อุปสงค์ที่ฟื้นตัวขึ้นในจีน, ภาวะเศรษฐกิจเฟื่องฟูในอินเดีย และการที่ก๊าซธรรมชาติเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานทดแทนได้ นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์กันอีกด้วยว่า ยอดนำเข้า LNG ในจีนจะพุ่งขึ้นสู่ 88 ล้านตันในปี 2025 จาก 27 ล้านตันในปี 2016 และยอดนำเข้า LNG ในเกาหลีใต้จะทะยานขึ้นสู่ 46 ล้านตันในปี 2025 จาก 34 ล้านตันในปี 2016
กองทุนเฮดจ์ฟันด์แห่งที่ 3 คือกองทุนออสไปซ์ แคปิตัลที่มีขนาด 1 พันล้านดอลลาร์ โดยนายทิม พิคเคอริง ผู้ก่อตั้งกองทุนนี้ระบุว่า ทางกองทุนหันมาพึ่งพากลยุทธ์การลงทุนแบบระยะสั้นมากยิ่งขึ้น เนื่องจากตลาดขาดทิศทางที่ชัดเจนในระยะยาว และสิ่งนี้ส่งผลให้ทางกองทุนถือครองสถานะขายในสินค้าโภคภัณฑ์กลุ่มธัญพืชในวงกว้าง ในขณะที่ทางกองทุนถือครองทั้งสถานะซื้อและสถานะขายในสินค้ากลุ่มพลังงาน, โลหะ และสินค้าโภคภัณฑ์ ทางด้านราคาสัญญาข้าวโพดส่งมอบเดือนมี.ค.ดิ่งลงมาแล้ว 12% นับตั้งแต่เกิดสงครามในอิสราเอลในเดือนต.ค. 2023 ส่วนราคาสัญญาข้าวสาลีส่งมอบเดือนมี.ค.รูดลงมาแล้ว 23% ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ ปัญหาการขาดตอนในทะเลแดงส่งผลให้เรือขนส่งธัญพืชหลายลำต้องแล่นอ้อมทวีปแอฟริกา แทนที่จะแล่นผ่านทะเลแดง ซึ่งส่งผลให้ระยะเวลาในการขนส่งสินค้ายาวนานขึ้น และส่งผลลบต่ออุปทาน โดยนายพิคเคอริงกล่าวเสริมว่า "เราคาดว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยรวมจะปรับขึ้นในช่วงต่อไปในปี 2024"
กองทุนเฮดจ์ฟันด์แห่งที่ 4 คือกองทุนของเรน ทรี พาร์ทเนอร์ส โดยนายเกิงเว่ย หลิน ซีอีโอของกองทุนแห่งนี้คาดว่า ปัญหาภาวะปั่นป่วนวุ่นวายในทะเลแดงจะดำเนินไปเพียงแค่ในระยะสั้นเท่านั้น และปัญหานี้ยังไม่ได้ส่งผลกระทบมากนักต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก อย่างไรก็ดี ต้นทุนการขนส่งได้พุ่งขึ้นมาแล้วในระยะสั้น และด้วยเหตุนี้เขาจึงชื่นชอบการลงทุนในบริษัทขนส่งสินค้าขนาดยักษ์ของจีน ในขณะที่จีนถือเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก และจีนถือเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่ที่สุดในโลกด้วย ทั้งนี้ ดัชนีค่าระวางตู้คอนเทนเนอร์เซี่ยงไฮ้ ซึ่งใช้วัดอัตราค่าระวางการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ออกจากท่าเรือในจีน พุ่งขึ้นมาแล้ว 120% นับตั้งแต่เดือนธ.ค.เป็นต้นมา แต่ดัชนีตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ของจีนดิ่งลงมาแล้วเกือบ 7% จากช่วงต้นเดือนนี้
กองทุนเฮดจ์ฟันด์แห่งที่ 5 คือริเวอร์พาร์ค ฟันด์ ซึ่งมีขนาด 2 พันล้านดอลลาร์ โดยนายคอนราด แวน ทีนโฮเวน ผู้จัดการพอร์ตลงทุนของริเวอร์พาร์คคาดว่า กลุ่มฮูตีจะโจมตีเรือเป็นเวลาไม่นานเกินกว่า 12-18 เดือน และด้วยเหตุนี้เขาจึงมองว่า มีโอกาสในการเข้าช้อนซื้อหุ้นบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคที่เคยมีราคาดิ่งลงในปีนี้โดยเป็นผลจากความกังวลเรื่องห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งรวมถึงบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ทั้งนี้ หุ้นบริษัทไนกี้ซึ่งเป็นผู้ค้าปลีกชุดกีฬาดิ่งลงมาแล้ว 7.5% ในปีนี้ ส่วนหุ้นลูลูเลมอนซึ่งเป็นผู้ค้าปลีกชุดกีฬาเช่นกัน รูดลงมาแล้ว 6% จากช่วงต้นปีนี้ แต่นายแวน ทีนโฮเวนเชื่อว่า ทั้งสองบริษัทนี้มีสต็อกสินค้าคงคลังส่วนเกินที่สามารถนำมาใช้ในการรับมือกับปัญหาด้านโลจิสติกส์ในระยะสั้น--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--25 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในวันพุธ หลังจากแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่นักลงทุนปรับสถานะการลงทุน และนักลงทุนรอดูตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐประจำไตรมาส 4/2023 ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี และรอดูดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มักใช้ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค.ด้วย เพื่อมองหาสัญญาณบ่งชี้ว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด โดยนักลงทุนคาดการณ์กันว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมสิ้นเดือนม.ค. ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดการณ์ในวันพุธว่า มีโอกาสราว 40% ที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 47% ที่เคยคาดไว้ในช่วงเย็นวันอังคาร และปรับลดลงจากโอกาส 80% ที่เคยคาดไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน นอกจากนี้ เทรดเดอร์ยังคาดการณ์กันในวันพุธอีกด้วยว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 5 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปี 2024 Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.29 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 103.50 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากเพิ่งพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 103.82 ในวันอังคาร โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้วราว 1.7% จากช่วงต้นปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐ และจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดที่ส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.50 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 148.36 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0883 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0851 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.0820 ดอลลาร์ในวันอังคาร
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงในวันพุธ แต่ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq บวกขึ้นในวันพุธ ในขณะที่หุ้นเน็ตฟลิกซ์พุ่งขึ้น 10.7% สู่จุดสูงสุดรอบ 2 ปี หลังจากเน็ตฟลิกซ์เปิดเผยว่ายอดสมาชิกพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และรายงานดังกล่าวทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นว่า เน็ตฟลิกซ์ได้รับชัยชนะในการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจสตรีมมิง หลังจากเน็ตฟลิกซ์ออกมาตรการปราบปรามการแบ่งปันรหัสผ่าน และเน็ตฟลิกซ์มีเนื้อหาที่สามารถดึงดูดผู้ชม โดยการพุ่งขึ้นของหุ้นเน็ตฟลิกซ์มีส่วนช่วยหนุนดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารของสหรัฐให้ทะยานขึ้น 1.2% และดัชนีหุ้นกลุ่มนี้ก็พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 ปีในวันพุธด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐก็ได้รับแรงหนุนจากรายงานของบริษัท ASML ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ผลิตชิปของเนเธอร์แลนด์ที่บ่งชี้ว่า อุปสงค์ชิปทั่วโลกฟื้นตัวขึ้นด้วย โดยรายงานของ ASML มีส่วนช่วยหนุนดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐให้พุ่งขึ้น 1.54% ในวันพุธ และดัชนีหุ้นกลุ่มนี้สามารถแตะสถิติสูงสุดใหม่ได้ในระหว่างวัน ทั้งนี้ หุ้นบริษัทขนาดยักษ์ของสหรัฐพุ่งขึ้นในวันพุธ โดยหุ้นไมโครซอฟท์ปิดบวกขึ้น 0.92% สู่ 402.56 ดอลลาร์ หลังจากทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 405.63 ดอลลาร์ได้ในระหว่างวัน ซึ่งส่งผลให้มูลค่าในตลาดของไมโครซอฟท์พุ่งขึ้นมาอยู่เหนือ 3 ล้านล้านดอลลาร์ได้เป็นครั้งแรก ทางด้านหุ้นแอลฟาเบทพุ่งขึ้น 1.13% ในวันพุธ, หุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ทะยานขึ้น 1.43% ในวันพุธ และหุ้นเอ็นวิเดียพุ่งขึ้น 2.49% ในวันพุธ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.26% สู่ 37,806.39
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 0.08% สู่ 4,868.55 ในวันพุธ ซึ่งถือเป็นการทำสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ได้เป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน แต่จำนวนหุ้นลบในดัชนีนี้อยู่สูงกว่าจำนวนหุ้นบวกในสัดส่วน 2.5 ต่อ 1 ในวันพุธ
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.36% สู่ 15,481.92 หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2022 ในระหว่างวัน โดยขณะนี้ดัชนีอยู่ห่างจากสถิติระดับปิดสูงสุดที่เคยทำไว้ในเดือนพ.ย. 2021 ในระดับไม่ถึง 4%
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันพุธโดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสหรัฐที่ดิ่งลงอย่างรุนแรงเกินคาด, การร่วงลงของปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐ, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน, ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งรวมถึงในทะเลแดง, อิสราเอล และอิรัก และราคาน้ำมันก็ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ในวันพุธด้วย เพราะการอ่อนค่าของดอลลาร์ส่งผลให้น้ำมันมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 9.2 ล้านบาร์เรล สู่ 420.7 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ม.ค. ถึงแม้โพลล์รอยเตอร์คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจลดลงเพียง 2.1 ล้านบาร์เรล ทางด้านปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐดิ่งลงจากสถิติสูงสุดที่ 13.3 ล้านบาร์เรลที่เคยทำไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน สู่ 12.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 5 เดือน ในขณะที่บ่อน้ำมันในสหรัฐประสบปัญหาทางการผลิตเพราะภาวะอากาศหนาวจัด Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 72 เซนต์ หรือ 1.0% มาปิดตลาดที่ 75.09 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 49 เซนต์ หรือ 0.6% มาปิดตลาดที่ 80.04 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 16.10 ดอลลาร์ สู่ 2,012.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากตัวเลขกิจกรรมทางธุรกิจที่แข็งแกร่งในสหรัฐ ถึงแม้ว่าราคาทองได้รับแรงหนุนเข้ามาบ้างจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ก็ตาม ทั้งนี้ บริษัทเอสแอนด์พี โกลบอล รายงานในวันพุธว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับผลผลิตโดยรวมของสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ พุ่งขึ้นจาก 50.9 ในเดือนธ.ค. สู่ 52.3 ในเดือนม.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2023 โดยดัชนีที่ระดับสูงกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าภาคเอกชนของสหรัฐขยายตัว นอกจากนี้ เอสแอนด์พี โกลบอลยังรายงานอีกด้วยว่า ดัชนีราคาผลผลิตของสหรัฐดิ่งลงจาก 54.8 ในเดือนธ.ค. สู่ 51.7 ในเดือนม.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2020 หรือจุดต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปีครึ่ง Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 1 เดือนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพุธว่า ยอดค้าปลีกของสหรัฐปรับขึ้น 0.6% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ย. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.4% สำหรับเดือนธ.ค. โดยรายงานตัวเลขนี้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีความแข็งแกร่ง และสิ่งนี้ส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในวันพุธว่า มีโอกาส 53.2% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25% ในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 65.1% ที่เคยคาดไว้ในวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.34 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยขยับขึ้นจาก 103.31 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 103.69 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. หรือจุดสูงสุดรอบหนึ่งเดือน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 148.15 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยพุ่งขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 147.18 เยน หลังจากทะยานขึ้นแตะ 148.52 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 28 พ.ย.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0881 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยปรับขึ้นจาก 1.0874 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0843 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันพุธ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีกเดือนธ.ค.ที่แข็งแกร่ง และรายงานตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. โดยรายงานตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 4.129% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.ด้วย และปัจจัยนี้ก็ส่งผลลบต่อหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ของสหรัฐ โดยหุ้นบริษัทอะเมซอน, เอ็นวิเดีย และแอลฟาเบทร่วงลง 0.5%-1% ในวันพุธ ในขณะที่หุ้นบริษัทเทสลาซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าดิ่งลง 2% หลังจากเทสลาปรับลดราคารถยนต์ "โมเดล วาย" ในเยอรมนี ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐ ซึ่งเป็นหุ้นกลุ่มที่มักจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยดิ่งลง 1.9% ในวันพุธ ในขณะที่ดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐปรับลง 0.7% และปิดตลาดที่ระดับปิดต่ำสุดในรอบกว่า 1 เดือน ทางด้านดัชนีความผันผวนตลาด CBOE หรือดัชนี VIX ที่ใช้วัดระดับความกังวลในตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือนที่ 15.40 ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.25% สู่ 37,266.67
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.56% สู่ 4,739.21 และออกห่างจากสถิติระดับปิดสูงสุดที่ 4,796.56 ซึ่งเคยทำไว้ในวันที่ 3 ม.ค. 2022
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.59% สู่ 14,855.62
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นแต่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ร่วงลงในวันพุธ ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบสหรัฐได้รับแรงหนุนจากภาวะอากาศหนาวจัดซึ่งถือเป็นอุปสรรคขัดขวางการผลิตน้ำมันในสหรัฐ โดยรัฐนอร์ธ ดาโกตาของสหรัฐรายงานว่า อุณหภูมิที่ต่ำกว่าศูนย์องศาฟาเรนไฮต์ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันในรัฐนี้ดิ่งลง 650,000-700,000 บาร์เรลต่อวัน หรือดิ่งลงกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตตามปกติ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันในวันพุธจากตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังในจีน โดยจีนรายงานในวันพุธว่า เศรษฐกิจจีนขยายตัว 5.2% เมื่อเทียบรายปีในไตรมาส 4 ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 5.3% และตัวเลขดังกล่าวก็ทำให้นักลงทุนกังวลกับอุปสงค์พลังงาน ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันพุธ การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 ม.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐเพิ่มขึ้น 480,000 บาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.พ.ปรับขึ้น 16 เซนต์ สู่ 72.56 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนร่วงลง 41 เซนต์ สู่ 77.88 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐดิ่งลง 21.87 ดอลลาร์ หรือ 1.08% สู่ 2,005.72 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากรูดลงแตะ 2,001.72 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. หรือจุดต่ำสุดรอบ 1 เดือน โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ เพราะตัวเลขดังกล่าวหนุนให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินพุ่งขึ้นแตะ 103.69 ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. หรือจุดสูงสุดรอบหนึ่งเดือน และหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 4.129% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.ด้วย ทั้งนี้ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลลบต่อราคาทอง เพราะการแข็งค่าของดอลลาร์ส่งผลให้ทองมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ และทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
แบงก์ ออฟ อเมริกาเปิดเผยผลสำรวจผู้จัดการกองทุนในเดือนม.ค.พบว่า นักลงทุนจำนวนสูงเป็นประวัติการณ์ 91% จากทั่วโลกคาดว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นจะลดลงในช่วง 12 เดือน ขณะที่พวกเขาเตรียมตัวรับการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง
เมื่อไหร่ และเร็วแค่ไหนที่ธนาคารกลางต่างๆจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยนั้นเป็นคำถามที่สำคัญที่สุดสำหรับตลาดในขณะนี้ และผู้ตอบแบบสำรวจ 2 ใน 3 ระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ขับเคลื่อนผลตอบแทนพันธบัตรในปีนี้ และ 52% ระบุว่า เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ขับเคลื่อนราคาหุ้น
ตลาดคาดว่ามีโอกาสราว 70% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. ขณะที่มองว่าเป็นไปได้มากที่สุดที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะเริ่มลดดอกเบี้ยในเดือนเม.ย.
จำนวนเปอร์เซนต์ของผู้ตอบแบบสำรวจที่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาวจะลดลงนั้น ลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 55% จากระดับสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 62% ในเดือนธ.ค. ซึ่งแบงก์ ออฟ อเมริกา ระบุว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้พันธบัตรพุ่งขึ้นมากในเดือนพ.ย.และธ.ค.
นักลงทุนได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในพันธบัตรลงอย่างมาก โดยขณะนี้มีสัดส่วน overweight สุทธิที่ 3% ลดลง 17% จากผลสำรวจในเดือนที่แล้ว ขณะที่สัดส่วนการถือครองเงินสดของนักลงทุนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 4.8% จาก 4.5% เนื่องจากมุมมองเชิงบวกในตลาดพันธบัตรลดลง
นักลงทุนมากขึ้นคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงในช่วง 12 เดือนข้างหน้ามากกว่าที่จะแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนพ.ค.2022 และนักลงทุนคิดว่า การซื้อขายที่มีนักลงทุนหนาแน่นที่สุดคือการซื้อหุ้นในกลุ่ม magnificent seven ซึ่งหมายถึงหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของสหรัฐ อาทิ แอปเปิล, เอ็นวิเดีย และอะแมนซอน--จบ--
Eikon source text
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน