ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
11 ม.ค.--รอยเตอร์
ประเทศที่จะจัดการเลือกตั้งในปีนี้ครอบคลุมจำนวนประชากรรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก และครองสัดส่วนสูงกว่า 60% ของผลผลิตทางเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้นนักลงทุนจึงจับตาดูผลกระทบที่ตลาดการเงินอาจได้รับจากการเลือกตั้งในหลายประเทศในปีนี้ โดยบริษัทมอร์นิงสตาร์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินระบุว่า ตลาดการเงินเผชิญกับ "แรงระเบิดจากการเลือกตั้ง" และระบุเสริมว่า "ประสบการณ์ในอดีตสอนให้รู้ว่า การเปลี่ยนรัฐบาลครั้งใหญ่อาจจะส่งผลให้มีแรงเทขายเข้ามาในตลาด" ทั้งนี้ การเลือกตั้งในที่แรกที่นักลงทุนจับตามองคือการเลือกตั้งในไต้หวันในวันที่ 13 ม.ค. ซึ่งเป็นการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีกันระหว่างพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของไต้หวันในปัจจุบัน กับพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ในขณะที่รัฐบาลจีนกล่าวหาพรรค DPP ว่ามีนโยบายแบ่งแยกดินแดน ดังนั้นถ้าหากพรรค DPP ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน รัฐบาลจีนก็อาจจะพยายามหาทางควบคุมไต้หวันมากยิ่งขึ้น ทางด้านเจ้าหน้าที่สหรัฐระบุว่า จีนไม่มีแนวโน้มที่จะรุกรานไต้หวันในปี 2024 แต่ถ้าหากจีนเข้ารุกรานไต้หวันอย่างเต็มที่ เหตุการณ์ดังกล่าวก็จะก่อให้เกิดหายนะต่อตลาดการเงินทั่วโลก โดยอาจจะส่งผลให้มีการระงับการผลิตชิปขั้นสูง และอาจจะส่งผลให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจทั่วโลกลดลง 1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี
หลายประเทศในยุโรปจะจัดการเลือกตั้งในปีนี้ ซึ่งรวมถึงโปรตุเกสที่จะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 10 มี.ค., เบลเยียมในวันที่ 9 มิ.ย., รัฐสภายุโรปในวันที่ 6-9 มิ.ย., โครเอเชียในฤดูใบไม้ร่วงหรือฤดูหนาวปีนี้, โรมาเนียในเดือนพ.ย. และออสเตรียที่อาจจะจัดการเลือกตั้งในปีนี้ ในขณะที่นักลงทุนกังวลกันว่า พรรคการเมืองฝ่ายขวาจัดที่มีนโยบายต่อต้านอียูอาจจะชนะการเลือกตั้งหรือครองที่นั่งได้มากยิ่งขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะในออสเตรียและโปรตุเกส ถึงแม้ว่าพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายยังคงมีแนวโน้มว่าจะชนะการเลือกตั้งในโปรตุเกส ทั้งนี้ ถ้าหากพรรคการเมืองฝ่ายขวาจัดครองที่นั่งได้มากยิ่งขึ้นในยุโรป สถานการณ์ดังกล่าวก็จะสร้างความเสียหายต่อตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรอิตาลี ในขณะที่ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีกับเยอรมนีมักจะปรับตัวผกผันกับค่าเงินยูโร นอกจากนี้ ถ้าหากฝ่ายขวาจัดครองที่นั่งได้มากยิ่งขึ้นในรัฐสภาอียู สิ่งนี้ก็จะสร้างความเสียหายต่อนโยบายสนับสนุนยูเครนและนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศด้วย
จุดที่ 3 ที่นักลงทุนจับตามองคือการเลือกตั้งในรัสเซียในวันที่ 17 มี.ค. ในขณะที่นักลงทุนมั่นใจว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินจะชนะการเลือกตั้งและได้ครองตำแหน่งต่ออีก 6 ปี โดยผลสำรวจความเห็นประชาชนระบุว่า ปธน.ปูตินได้รับคะแนนนิยมสูงกว่า 80% ในรัสเซีย ทางด้านนักลงทุนจับตามองว่า รัฐบาลสหรัฐ, ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ ในชาติตะวันตกจะออกมาตรการอายัดสินทรัพย์รัสเซีย ซึ่งรวมถึงเงินสดและพันธบัตรรัฐบาลที่ธนาคารกลางรัสเซียถือครองไว้ในต่างประเทศหรือไม่ ในขณะที่รัฐบาลชาติตะวันตกกำลังพิจารณาเรื่องนี้อยู่ในตอนนี้ ทั้งนี้ จุดที่ 4 ที่นักลงทุนจับตามองคืออินเดีย ซึ่งจะจัดการเลือกตั้งในเดือนเม.ย.-พ.ค. โดยมีแนวโน้มว่านายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมที จากพรรคภารตียชนตา (BJP) ซึ่งเป็นพรรคชาตินิยมฮินดู อาจจะชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 ติดต่อกัน ทางด้านนักลงทุนจับตามองอินเดียในช่วงนี้ เพราะว่าอินเดียเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ และอินเดียได้ออกมาตรการจำกัดการส่งออกข้าว, ข้าวสาลี และน้ำตาลในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เป็นอย่างมาก
จุดที่ 5 ที่นักลงทุนจับตามองคือเม็กซิโก ซึ่งจะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 มิ.ย. โดยมีแนวโน้มว่า คลอเดีย ไชน์บอม อดีตนายกเทศมนตรีกรุงเม็กซิโก ซิตี้ จากพรรคเนชันแนล รีเจเนอเรชัน มูฟเมนท์ (โมเรนา) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล จะชนะการเลือกตั้ง ทางด้านนักลงทุนจับตามองว่า ถ้าหากรัฐบาลใหม่ของเม็กซิโกดำเนินมาตรการใช้จ่ายเงินจำนวนมาก ปัจจัยดังกล่าวก็จะส่งผลให้ค่าเงินเปโซของเม็กซิโกดิ่งลง และจะสร้างความเสียหายต่อพันธบัตรรัฐบาลเม็กซิโกด้วย ทั้งนี้ จุดที่ 6 ที่นักลงทุนจับตามองคือแอฟริกาใต้ ซึ่งจะจัดการเลือกตั้งในเดือนพ.ค.-ส.ค. โดยมีความเป็นไปได้ที่พรรคแอฟริกัน เนชันนัล คองเกรส (ANC) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลในปัจจุบัน อาจจะสูญเสียเสียงข้างมากในรัฐสภาเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่นายเนลสัน แมนเดลานำพาพรรคนี้ขึ้นสู่ชัยชนะในปี 1994 เป็นต้นมา ซึ่งถ้าหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นจริง ANC ก็อาจจะต้องร่วมมือกับพรรคพันธมิตรประชาธิปไตยและพรรคเสรีภาพเศรษฐกิจมาร์กซิสต์ในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และการร่วมมือกับพรรคฝ่ายซ้ายแบบนี้อาจจะส่งผลให้งบประมาณรายจ่ายสำหรับนโยบายทางสังคมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อฐานะการคลังของรัฐและต่อค่าเงินแรนด์ของแอฟริกาใต้
จุดที่ 7 ที่นักลงทุนจับตามองคือการเลือกตั้งในสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย. ในขณะที่มีการคาดการณ์กันว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์อาจจะได้รับการเสนอชื่อให้เป็นตัวแทนจากพรรครีพับลิกันในการลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และสถานการณ์ดังกล่าวอาจจะส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่า อาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่เคยเกิดเหตุการณ์รุนแรงในรัฐสภาสหรัฐหลังการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีก่อน นอกจากนี้ การคาดการณ์เกี่ยวกับผลการเลือกตั้งก็อาจจะส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐแกว่งตัวผันผวนด้วย ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่า ถ้าหากพรรคเดโมแครตหรือพรรครีพับลิกันชูนโยบายกีดกันทางการค้า ปัจจัยดังกล่าวก็จะส่งผลให้ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีนทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และจะสร้างความเสียหายต่อตลาดหุ้น และนักวิเคราะห์คาดว่าถ้าหากสหรัฐปรับขึ้นภาษีศุลกากร ปัจจัยดังกล่าวก็จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้น, ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น และสร้างความเสียหายต่อค่าเงินหยวน, ยูโร และเปโซของเม็กซิโก นอกจากนี้ ถ้าหากนายทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง เขาก็อาจจะออกนโยบายสนับสนุนการขุดเจาะบ่อน้ำมันในสหรัฐ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันด้วย
จุดที่ 8 ที่นักลงทุนจับตามองคืออังกฤษ ซึ่งอาจจะจัดการเลือกตั้งก่อนสิ้นปีนี้ โดยมีการคาดการณ์กันว่า นายเคียร์ สตาร์เมอร์ ผู้นำพรรคแรงงานซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน อาจจะชนะพรรคอนุรักษ์นิยมได้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ทั้งนี้ ถ้าหากพรรคแรงงานชนะการเลือกตั้ง นโยบายของพรรคแรงงานก็อาจจะสร้างความเสียหายต่อบริษัทในกลุ่มผู้ก่อสร้างบ้านและกลุ่มพลังงาน นอกจากนี้ พรรคแรงงานก็ต้องการจะกระชับความสัมพันธ์กับอียูด้วย และนโยบายดังกล่าวอาจจะส่งผลบวกต่อค่าเงินปอนด์--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ขณะที่ใกล้จะถึงช่วงสุดท้ายของปี ตลาดก็มีคลายกังวลที่วงจรการคุมเข้มนโยบายการเงินทั่วโลกที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษกำลังจะสิ้นสุดลงในที่สุด แต่ภาวะตึงตัวจากการขึ้นดอกเบี้ยเพิ่งเริ่มส่งผ่านออกมา และเนื่องจากธนาคารกลางต่างๆส่งสัญญาณว่า อัตราดอกเบี้ยอาจจะสูงขึ้นนานขึ้น แนวคิดที่บางอย่าง "จะพังทลายลง" นั้นจึงยังคงชัดเจน และแรงกดดันที่ต้องจับตาดูนั้นมีดังนี้
ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นกำลังเกิดขึ้นรุนแรงกว่ากับภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งยังคงได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ขณะที่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของเยอรมนีเผชิญกับภาวะล้มละลายหลายแห่ง ตลาดสำนักงานของลอนดอนก็อยู่ในภาวะถดถอย เนื่องจากอัตราพื้นที่ว่างพุ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี และธนาคารในสหรัฐแถลงผลขาดทุนจากอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งปีแรก และเตือนว่าอาจจะขาดทุนอีก ส่วนสวีเดนก็เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักสุดในยุโรป เนื่องจากหนี้อสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะสั้น ขณะที่บริษัทเอสบีบี ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ กำลังพยายามอย่างหนักเพื่อฟื้นฟูการเงินที่ขาดทุนอย่างหนักและเงินสดลดน้อยลง อีกทั้งวิกฤตินี้ยังเกิดขึ้นกับบริษัทฮีมสตาเดน บอสตั๊ด ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดของสวีเดนที่กำลังประสบกับภาวะตึงตัวในการจัดหาเงินทุนหลายพันล้านดอลลาร์
อสังหาริมทรัพย์เป็นศูนย์กลางของวิกฤติของจีนด้วย และเป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่เศรษฐกิจจีนติดอันดับเรื่องที่นักลงทุนกังวล โดยไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนี้สูงสุดในโลกกว่า 3.00 แสนล้านดอลลาร์ เป็นศูนย์กลางของวิกฤติสภาพคล่องในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่วนบริษัทคันทรี การ์เด้น ผู้พัฒนาในภาคเอกชนรายใหญ่สุดของจีน ก็กำลังต่อสู้เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ และเนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์มีสัดส่วนราว 1 ใน 4 ของเศรษฐกิจ จึงมีความวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบสำหรับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของจีนและผลกระทบที่เป็นลูกโซ่
การผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ภาคเอกชนเริ่มมีจำนวนมากขึ้น แม้แต่ในช่วงเดือนที่มักจะเงียบเหงา โดยข้อมูลจากเอสแอนด์พีพบว่า จำนวนของการผิดนัดชำระหนี้ใหม่ทั่วโลกแตะ 16 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นยอดรวมสูงสุดในเดือนส.ค.นับตั้งแต่ปี 2009 และเป็นสัญญาณล่าสุดที่แสดงว่า ภาวะตึงตัวในภาคเอกชนกำลังก่อตัวขึ้น และเอสแอนด์พียังคาดว่า การผิดนัดชำระหุ้นกู้ของบริษัทยุโรปที่ได้รับการจัดอันดับขยะจะแตะ 3.75% ภายในเดือนมิ.ย.ปีหน้า จาก 3.4% ในเดือนส.ค.
ภาวะตึงตัวในภาคธนาคารสร้างความวิตกน้อยลงให้แก่นักลงทุนนับตั้งแต่วิกฤติในเดือนมี.ค.ได้สร้างความเสียหายหนัก โดยธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐสามารถผ่านบททดสอบภาวะวิกฤติประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเดือนมิ.ย.ได้ ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้ขอให้ธนาคารต่างๆจัดสรรข้อมูลสภาพคล่องรายสัปดาห์เพื่อให้อีซีบีสามารถทำการตรวจสอบได้บ่อยครั้งขึ้นเพื่อดูความสามารถของธนาคารในการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นขณะที่อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น อย่างไรก็ดี ยังคงมีคำถามสำคัญเกี่ยวกับอนาคต โดยเฉพาะจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ยังคงดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายพิเศษ แต่จุดยืนที่เข้มงวดขึ้นอาจจะเกิดขึ้นในไม่ช้า และมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจากยุคที่เงินสดญี่ปุ่นอัดฉีดเข้าสู่ทุกอย่างนับตั้งแต่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐไปจนถึงสกุลเงินตลาดเกิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยแคปิตอล อีโคโนมิคส์คาดว่า บีโอเจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนม.ค.ปีหน้า และตั้งข้อสังเกตว่า นักลงทุนญี่ปุ่นถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอยู่ราว 1 ล้านล้านดอลลาร์ และยังถือครองพันธบัตรรัฐบาลของยุโรป และออสเตรเลียเป็นจำนวนมากด้วย ซึ่งแรงเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของญี่ปุ่นก็อาจจะทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้นอีก และนั่นอาจกระทบหุ้นที่มีแนวโน้มว่าจะปรับตัวแย่กว่าเมื่อนักลงทุนคาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าจากพันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำ--จบ--
Eikon source text
ลอนดอน--4 ก.ค.--รอยเตอร์
นักลงทุนจับตาดูว่า ภาคเศรษฐกิจใดบ้างที่จะได้รับความเสียหายจากการที่ธนาคารกลางหลายแห่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวที่สุดในรอบหลายสิบปีในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะหลังจากที่ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ 5.00% ในวันที่ 22 มิ.ย. และธนาคารกลางนอร์เวย์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ 3.75% ในวันเดียวกัน โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวบ่งชี้ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายแห่งยังไม่สิ้นสุดลง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ระบุว่า หนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่อาจได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยคือภาคที่อยู่อาศัยในยุโรป ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในอังกฤษพุ่งขึ้นจาก 0.25% เมื่อสองปีก่อน สู่ 5% ในปัจจุบัน และมีการประเมินกันว่า เจ้าของบ้าน 2.4 ล้านรายในอังกฤษจะต้องรับมือกับอัตราดอกเบี้ยจำนองที่ทะยานขึ้นสูงมากก่อนสิ้นปี 2024 ทางด้านสวีเดนก็อาจจะประสบปัญหาในด้านนี้ด้วยเช่นกัน หลังจากธนาคารกลางสวีเดนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 3.75% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยจำนองบ้านทะยานขึ้นตามไปด้วย
ภาคเศรษฐกิจที่ 2 ที่อาจได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากคือภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ หลังจากธุรกิจภาคนี้เคยฉวยโอกาสกู้เงินจำนวนมากในยุคที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ เพื่อนำเงินดังกล่าวไปกว้านซื้ออสังหาริมทรัพย์ แต่ธุรกิจกลุ่มนี้จะต้องรับมือกับอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งขึ้นสูงมากในปัจจุบันเมื่อธุรกิจกลุ่มนี้กู้เงินใหม่เพื่อนำมาชำระหนี้เก่า (รีไฟแนนซ์) นอกจากนี้ ภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ในสวีเดนก็อาจจะได้รับแรงกดดันมากเป็นพิเศษทั้งจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น, จากหนี้สินที่ระดับสูง และจากความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในช่วงนี้ด้วย ทั้งนี้ ธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์เผชิญแรงกดดันจากกระแสการลดขนาดสำนักงานลงในช่วงนี้ด้วยเช่นกัน โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของกระแสนี้คือการที่ธนาคาร HSBC ย้ายสำนักงานในกรุงลอนดอนไปยังสำนักงานใหม่ที่มีขนาดเล็กกว่าเดิม
ภาคเศรษฐกิจที่ 3 ที่อาจได้รับความเสียหายจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยคือภาคธนาคาร ในขณะที่ธนาคารถือครองสินทรัพย์สองประเภทในงบดุล ซึ่งได้แก่สินทรัพย์ที่ไว้ใช้เป็นสภาพคล่อง และสินทรัพย์ที่มีหน้าที่คล้ายเงินออมที่จะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้สินทรัพย์หลายรายการมีมูลค่าดิ่งลง 10-15% เมื่อเทียบกับราคาที่ซื้อมา และถ้าหากธนาคารจำเป็นต้องขายสินทรัพย์ดังกล่าวออกไป ธนาคารก็จะขาดทุน ทั้งนี้ สินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารถือครองไว้ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด และนักลงทุนก็มองว่ามาตรฐานการปล่อยกู้สำหรับภาคครัวเรือนถือเป็นประเด็นที่น่ากังวลด้วย โดยนายฟลอเรียน เอลโป จากบริษัทลอมบาร์ด โอเดียร์ อินเวสท์เมนท์ แมเนเจอร์สคาดว่า ผู้บริโภคจะยุติการชำระหนี้ในไตรมาส 3 และ 4 ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อภาคธนาคาร
นักวิเคราะห์คาดว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้อัตราการผิดนัดชำระหนี้ในภาคเอกชนพุ่งสูงขึ้นด้วย โดยบริษัทเอสแอนด์พีคาดว่า อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทยุโรปที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าเกรดน่าลงทุน จะพุ่งขึ้นสู่ 3.6% ในเดือนมี.ค. 2024 จาก 2.8% ในเดือนมี.ค.ปีนี้ ส่วนอัตราการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทสหรัฐที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าเกรดน่าลงทุน จะพุ่งขึ้นสู่ 4.25% ในเดือนมี.ค. 2024 จาก 2.5% ในเดือนมี.ค.ปีนี้
นักวิเคราะห์ระบุว่า อีกปัจจัยที่อาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลกได้ก็คือสถานการณ์ในรัสเซีย หลังจากกลุ่มทหารรับจ้างแวกเนอร์พยายามจะก่อกบฏในรัสเซียในช่วงปลายเดือนมิ.ย. และยกเลิกปฏิบัติการดังกล่าวไปอย่างรวดเร็ว โดยมีการคาดการณ์กันว่า ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งรวมถึงน้ำมันดิบและธัญพืชจะได้รับผลกระทบ ถ้าหากเกิดความเปลี่ยนแปลงภายในรัสเซีย และถ้าหากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อและส่งผลให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยง ประเทศหลายประเทศและบริษัทหลายแห่งก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
13 มิ.ย.--รอยเตอร์
ถึงแม้นักลงทุนในตลาดโลกพึงพอใจที่วิกฤติภาคธนาคารในเดือนมี.ค.ไม่ได้ส่งผลให้เกิดภาวะสินเชื่อหดตัวอย่างฉับพลัน และพึงพอใจที่สหรัฐสามารถคลี่คลายวิกฤติเพดานหนี้ได้ทันก่อนเส้นตาย เศรษฐกิจโลกก็ยังคงเผชิญกับสัญญาณเตือนต่าง ๆ ในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงการที่เศรษฐกิจยูโรโซนได้เข้าสู่ภาวะถดถอยไปแล้ว และตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่น่าผิดหวัง ทางด้านนักวิเคราะห์ได้ระบุถึงสัญญาณบางประการที่บ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยดังต่อไปนี้
สัญญาณแรกคือการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้าในทางลบมากยิ่งขึ้น ถึงแม้มีการปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปีนี้ โดยธนาคารโลกได้ปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกประจำปี 2023 เนื่องจากเศรษฐกิจจีน, สหรัฐ และประเทศสำคัญอื่น ๆ รักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้ดีเกินคาด โดยธนาคารโลกคาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้น 2.1% ในปีนี้ โดยปรับขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 1.7% ที่เคยคาดไว้ในเดือนม.ค. อย่างไรก็ดี ธนาคารโลกคาดว่า เศรษฐกิจโลกอาจจะเติบโตเพียง 2.4% ในปี 2024 โดยปรับลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 2.7% โดยธนาคารโลกให้เหตุผลว่า การปรับลดนี้เป็นเพราะการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางส่งผลกระทบอย่างล่าช้า และสินเชื่อที่ตึงตัวมากยิ่งขึ้นจะส่งผลลบต่อการลงทุนทางธุรกิจและการลงทุนในที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ดัชนีตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าประหลาดใจทั่วโลกที่จัดทำโดยซิตี้กรุ๊ปอยู่ที่ระดับราว -5 ในช่วงนี้ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่ามีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจทั่วโลกที่แย่เกินคาดออกมาในช่วงนี้ในอัตราที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2022 เป็นต้นมา
สัญญาณที่ 2 คือภาวะตึงตัวด้านสินเชื่อ โดยสัญญาณดังกล่าวรวมถึงผลสำรวจที่ระบุว่า สัดส่วนสุทธิของธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนที่รายงานว่า ภาคเอกชนลดความต้องการกู้เงินลงในไตรมาสแรก อยู่ที่ระดับ 38% ซึ่งถือเป็นสัดส่วนสุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินโลกในปี 2008 เป็นต้นมา และผลสำรวจยังระบุอีกด้วยว่า สัดส่วนสุทธิของธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนที่คุมเข้มมาตรฐานการปล่อยกู้ในไตรมาสแรก อยู่ที่ระดับ 27% ซึ่งเท่ากับในไตรมาส 4/2022 และถือเป็นสัดส่วนสุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติหนี้ยูโรโซนในปี 2011 เป็นต้นมา ทางด้านปริมาณการปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจในยูโรโซนปรับขึ้นเพียง 4.6% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายปี โดยชะลอตัวลงจาก +5.2% ในเดือนมี.ค. ทั้งนี้ ธนาคารดอยช์ แบงก์ตั้งข้อสังเกตว่า โดยปกติแล้วธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มักจะผ่อนคลายนโยบายการเงินลง เมื่อผลสำรวจความเห็นเจ้าหน้าที่สินเชื่อระดับสูง (SLOOS) ในสหรัฐแสดงให้เห็นว่า ดัชนีความเต็มใจในการปล่อยกู้อยู่ใกล้ระดับ 0 อย่างไรก็ดี ดัชนีดังกล่าวอยู่ที่ระดับติดลบเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
สัญญาณที่ 3 คือการปลดพนักงานออกเป็นจำนวนมาก โดยสัญญาณดังกล่าวรวมถึงรายงานของบริษัทแชลเลนเจอร์, เกรย์ แอนด์ คริสต์มาสที่ระบุว่า ยอดการประกาศปรับลดตำแหน่งงานในบริษัทสหรัฐพุ่งขึ้น 20% สู่ 80,089 ตำแหน่งในเดือนพ.ค., ประกาศของบริษัทบีที กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการสื่อสารไร้สายและสื่อสารความเร็วสูงรายใหญ่ที่สุดในอังกฤษที่ระบุว่า บีทีจะปรับลดตำแหน่งงานลง 55,000 ตำแหน่งก่อนสิ้นปี 2030 หรือกว่า 40% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดของบีที และประกาศของบริษัทโวดาโฟน ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของอังกฤษที่ระบุว่า โวดาโฟนวางแผนจะปรับลดตำแหน่งงานทั่วโลกลง 11,000 ตำแหน่งในช่วง 3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทสหรัฐหลายแห่งระบุถึงการปลดพนักงานออกในการรายงานผลกำไรไตรมาสแรกด้วย
สัญญาณที่ 4 คือการคาดการณ์ที่ว่า ยอดผิดนัดชำระหนี้จะพุ่งสูงขึ้น โดยเป็นผลจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการคุมเข้มเงื่อนไขการปล่อยกู้ โดยธนาคารดอยช์ แบงก์คาดว่าจะเกิดกระแสการผิดนัดชำระหนี้ในเร็ว ๆ นี้ และกระแสดังกล่าวจะแตะจุดสูงสุดในไตรมาส 4/2024 โดยอัตราการผิดนัดชำระหนี้ในสหรัฐจะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรที่ 11.3% ซึ่งใกล้กับสถิติสูงสุด ทั้งนี้ สัญญาณที่ 5 คือการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยและความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยในช่วงนี้เทรดเดอร์คาดว่า เฟดจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ แต่อัตราดอกเบี้ยสหรัฐจะร่วงลงสู่ระดับราว 3.9% ภายในเดือนก.ย. 2024 จากระดับ 5.00-5.25% ในปัจจุบัน ทางด้านเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะพลิกกลับหรือลาดลง (inverted) เป็นอย่างมากในช่วงนี้ หรือภาวะที่ต้นทุนการกู้ยืมระยะสั้นอยู่สูงกว่าต้นทุนการกู้ยืมระยะยาว และภาวะ inverted นี้มักจะเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่าเศรษฐกิจกำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
28 มี.ค.--รอยเตอร์
หุ้นกลุ่มธนาคารทั่วโลกได้รับแรงหนุนในวันจันทร์ หลังจากบรรษัทประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC) ประกาศว่า ธนาคารเฟิร์สท์ ซิติเซนส์ แบงก์แชร์ส อิงค์ จะเข้าซื้อเงินฝากและสินเชื่อทั้งหมดของ SVB จาก FDIC โดยการทำข้อตกลงนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ FDIC ได้เข้าเทคโอเวอร์ SVB ในวันที่ 10 มี.ค. ในขณะที่ผู้ฝากเงินแห่ถอนเงินฝากออกจาก SVB โดยวิกฤติภาคธนาคารในช่วงนั้นส่งผลให้มีการสั่งปิดกิจการธนาคารซิกเนเจอร์ในวันที่ 12 มี.ค.ด้วย และส่งผลให้ธนาคารระดับภูมิภาคแห่งอื่น ๆ ในสหรัฐมีมูลค่าในตลาดดิ่งลงอย่างรุนแรงในช่วงนั้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ FDIC ประเมินว่า การล้มของ SVB จะส่งผลให้กองทุนของ FDIC ที่ใช้ในการช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์มีขนาดลดลงราว 2.0 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่กองทุนนี้ไม่ได้ใช้เงินของประชาชนผู้เสียภาษีในสหรัฐ แต่จะนำเงินที่ได้จากการเก็บภาษีจากภาคธนาคารในสหรัฐมาเติมในกองทุนนี้
ธนาคารเฟิร์สท์ ซิติเซนส์จะไม่จ่ายเงินสดในการทำข้อตกลงนี้ แต่จะมอบสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นของเฟิร์สท์ ซิติเซนส์แก่ FDIC โดยสิทธิดังกล่าวอาจจะมีมูลค่าไม่เกิน 500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าต่ำกว่ามูลค่าของ SVB ในช่วงก่อนการถูกสั่งปิดกิจการเป็นอย่างมาก เพราะว่า SVB เคยมีสินทรัพย์ราว 2.09 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นปีที่แล้ว และเคยถือเป็นธนาคารขนาดใหญ่อันดับที่ 16 ของสหรัฐในช่วงนั้น ทางด้าน FDIC จะสามารถใช้สิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากราคาหุ้นของเฟิร์สท์ ซิติเซนส์ที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ระหว่างวันที่ 27 มี.ค.-14 เม.ย. โดยปริมาณเงินสดที่ FDIC จะได้รับจะขึ้นอยู่กับว่ามูลค่าหุ้นของเฟิร์สท์ ซิติเซนส์อยู่ที่ระดับใด ทางด้านราคาหุ้นเฟิร์สท์ ซิติเซนส์ แบงก์แชร์ส อิงค์พุ่งขึ้น 53.7% ในวันจันทร์
เฟิร์สท์ ซิติเซนส์จะเข้ามาครอบครองสินทรัพย์ของ SVB เป็นมูลค่า 1.10 แสนล้านดอลลาร์ และจะเข้ามาครอบครองเงินฝาก 5.6 หมื่นล้านดอลลาร์ และสินเชื่อ 7.2 หมื่นล้านดอลลาร์ของ SVB ด้วย ส่วน FDIC จะยังคงถือครองหลักทรัพย์และสินทรัพย์อื่น ๆ ของ SVB เป็นมูลค่าราว 9.0 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อจำหน่ายออก
นายแฟรงค์ โฮลดิง ซีอีโอของเฟิร์สท์ ซิติเซนส์กล่าวต่อนักลงทุนในวันจันทร์ว่า "เราเชื่อว่าการทำธุรกรรมในครั้งนี้จะส่งผลดีเป็นอย่างมากต่อผู้ฝากเงิน" โดยธนาคารเฟิร์สท์ ซิติเซนส์นั้นถือเป็นธนาคารระดับภูมิภาคในสหรัฐที่มีชื่อเสียงด้านการเข้าซื้อธนาคารคู่แข่งที่ประสบปัญหา และเฟิร์สท์ ซิติเซนส์ก็เคยทำข้อตกลงซื้อกิจการโดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐแบบนี้ไปแล้ว 21 ครั้ง ซึ่งรวมถึงการทำข้อตกลงแบบนี้ 14 ครั้งนับตั้งแต่นายโฮลดิงได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการในปี 2009 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ข้อตกลงนี้จะช่วยให้เฟิร์สท์ ซิติเซนส์สามารถขยายกิจการในรัฐแคลิฟอร์เนียได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และจะช่วยให้เฟิร์สท์ ซิติเซนส์สามารถดำเนินธุรกิจบริหารความมั่งคั่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐด้วย โดยปัจจุบันนี้เฟิร์สท์ ซิติเซนส์มีสินทรัพย์ราว 1.09 แสนล้านดอลลาร์ และมีเงินฝากราว 8.94 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่เมื่อมีการรวมกิจการกับ SVB ในอนาคต เฟิร์สท์ ซิติเซนส์ก็จะมีสินทรัพย์ราว 2.19 แสนล้านดอลลาร์ และมีเงินฝากราว 1.45 แสนล้านดอลลาร์
เฟิร์สท์ ซิติเซนส์จะได้รับวงเงินสินเชื่อจาก FDIC เพื่อใช้ในกรณีที่ต้องการสภาพคล่องฉุกเฉิน และทางธนาคารจะทำข้อตกลงกับ FDIC เรื่องการแบ่งปันยอดขาดทุนจากสินเชื่อเชิงพาณิชย์ด้วย--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ธนาคารเครดิตสวิสเปิดเผยว่า จะกู้เงิน 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์จากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อนำมาพยุงสภาพคล่อง และความเชื่อมั่นของนักลงทุน หลังจากที่การดิ่งลงของหุ้นได้เพิ่มความวิตกเกี่ยวกับวิกฤติการเงินโลก ซึ่งการประกาศของธนาคารกลางช่วยสกัดแรงเทขายหุ้นในตลาดการเงินในการซื้อขายที่ตลาดเอเชียในวันนี้ได้ หลังจากที่ดิ่งลงอย่างหนักในตลาดยุโรปและสหรัฐเมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนรู้สึกวิตกกับแนวโน้มที่จะมีการแห่ถอนเงินออกจากธนาคารทั่วโลก
เครดิตสวิสระบุในแถลงการณ์ว่า จะใช้ทางเลือกในการกู้เงินจากธนาคารกลางไม่เกิน 5.0 หมื่นล้านฟรังก์สวิส (5.4 หมื่นล้านดอลลาร์) หลังจากที่ทางการสวิสออกมารับประกันว่า เครดิตสวิสมีการดำรงเงินทุนและสภาพคล่องตามที่กำหนดไว้กับธนาคารที่มีความสำคัญต่อระบบ และอาจจะเข้าถึงสภาพคล่องของธนาคารกลาง ถ้าจำเป็น
เครดิตสวิสนับเป็นธนาคารชั้นนำระดับโลกแห่งแรกที่จะได้รับความช่วยเหลือฉุกเฉินนับตั้งแต่วิกฤติการเงินในปี 2008 และปัญหาของเครดิตสวิสก็ทำให้เกิดความไม่แน่ใจอย่างมากว่า ธนาคารกลางต่างๆจะสามารถต่อสู้กับเงินเฟ้อต่อไปด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบเชิงรุกได้หรือไม่
ปัญหาของธนาคารที่ก่อตั้งมา 167 ปีแล้วแห่งนี้ทำให้นักลงทุนและผู้ควบคุมกฎระเบียบเปลี่ยนความสนใจจากสหรัฐมาที่ยุโรป ซึ่งเครดิตสวิสทำให้มีแรงเทขายหุ้นกลุ่มธนาคาร หลังจากนักลงทุนรายใหญ่สุดของธนาคารเปิดเผยว่าไม่สามารถให้ความช่วยเหลือทางการเงินได้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ
นักลงทุนกำลังจับตาดูการดำเนินการของธนาคารกลางและผู้ควบคุมกฎในประเทศอื่นเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบบธนาคารด้วย รวมทั้งความเสี่ยงทางธุรกิจที่อาจจะมีกับเครดิตสวิส ขณะที่การปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ยากขึ้นที่ธุรกิจบางส่วนจะชำระคืน หรือจ่ายหนี้ ซึ่งเพิ่มโอกาสที่จะเกิดผลขาดทุนสำหรับธนาคารที่มีความวิตกเกี่ยวกับภาวะถดถอย--จบ--
Eikon source text
ภาวะตลาดกระทิงที่ดำเนินมาร่วม 40 ปีของตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐสิ้นสุดลงแล้ว เมื่อตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดิ่งลงมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ในช่วงต้นปีนี้ และนักลงทุนพันธบัตรบางรายรู้สึกวิตกอีกครั้งว่า การพุ่งขึ้นร่วมหลายทศวรรษของพันธบัตรรัฐบาลกำลังจะสิ้นสุดลง ซึ่งทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีร่วงลงจากระดับสูงสุดที่ 15.3% ในปี 1981 มาที่ 0.54% ในเดือนมี.ค.2020
ตลาดพันธบัตรฟื้นตัวขึ้นจากแรงเทขายในอดีต ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำ และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่มีมุมมองเชิงผ่อนคลายนโยบาย แต่มุมมองเชิงลบดังกล่าวกลับมาอีกครั้งในขณะนี้ เมื่อเฟดส่งสัญญาณว่า พร้อมที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอย่างมาก และเร่งการลดขนาดงบดุลลงอย่างรวดเร็วเพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี
พันธบัตรอยู่ในสินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ติดอันดับสถานะขายมากที่สุดของกลุ่มผู้จัดการกองทุนโลกในผลสำรวจล่าสุดของแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ โดยนักลงทุนได้ถอนการลงทุนออกจากกองทุนพันธบัตรสุทธิในรอบ 10 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสถิติติดต่อกันนานที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2013 ขณะที่กองทุน iShares 20+ Year Treasury Bond ETF ซึ่งเป็นกองทุน ETF ที่เน้นพันธบัตรที่มีการซื้อขายหนาแน่นที่สุด ร่วงลง 18% แล้วในปีนี้
ภาวะชะลอตัวเป็นเวลานานของพันธบัตรอาจจะมีผลกระทบในวงกว้างนับตั้งแต่กระทบต้นทุนการกู้ของภาคเอกชนไปจนถึงกระทบพอร์ทการลงทุนของนักลงทุน ขณะที่ข้อมูลจากสมาคมธุรกิจหลักทรัพย์และตลาดการเงินพบว่า สัดส่วนการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของนักลงทุนรายย่อยและกองทุนรวมอยู่ที่ 4.39 ล้านล้านดอลลาร์ ณ สิ้นปี 2021
สำหรับหุ้นนั้น ผลกระทบจากผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้นขึ้นอยู่กับว่า เกิดขึ้นพร้อมกับราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่ ซึ่งอาจจะสร้างปัญหาให้แก่หุ้นในสภาวะที่เงินเฟ้อพุ่งสูงมากในปัจจุบัน ขณะที่หุ้นให้ผลตอบแทน 6.4% โดยเฉลี่ยในช่วงเวลาที่ผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้น 13 ครั้งระหว่างปี 1962 ถึงปี 2016 เมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ยของระยะยาวที่ 7.1% ในช่วงเวลาดังกล่าว แต่เมื่อผลตอบแทนเพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้อสูง ผลตอบแทนต่อปีโดยเฉลี่ยลดลงสู่ระดับ -0.4%--จบ--
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน