ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--7 ก.พ.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอ่อนค่าลงในวันอังคาร หลังจากที่เพิ่งพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 3 เดือนในวันจันทร์ โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนในวันจันทร์จากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และจากการที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณแบบสายเหยี่ยว ทั้งนี้ ลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์กล่าวในวันอังคารว่า ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวต่อไปตามแบบที่เธอคาดไว้ สิ่งนี้ก็จะเปิดโอกาสให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่เธอยังไม่พร้อมที่จะระบุว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อใด ในขณะที่ยังคงมีความไม่แน่นอนในเรื่องของภาวะเงินเฟ้อ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.14 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจาก 104.46 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 104.60 ในวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. 2023
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.94 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 148.67 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 148.89 เยนในวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. 2023 หรือจุดสูงสุดรอบ 2 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0754 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0741 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0721 ดอลลาร์ในวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. 2023
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนพิจารณาตัวเลขผลประกอบการของบริษัทขนาดใหญ่ของสหรัฐที่อยู่ในภาวะไร้ทิศทางชัดเจน และนักลงทุนปรับตัวรับถ้อยแถลงของผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อใช้ในการประเมินว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อใด โดยนายนีล แคชคารี ประธานเฟดสาขามินนิอาโปลิสกล่าวว่า เฟดยังคงทำงานไม่เสร็จในส่วนของภาวะเงินเฟ้อ แต่เขาตั้งข้อสังเกตว่า อัตราเงินเฟ้อได้ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา และอัตราเงินเฟ้อระยะ 3 เดือนและระยะ 6 เดือนอยู่ที่ 2% ซึ่งตรงกับระดับเป้าหมายของเฟด ทั้งนี้ ดัชนี Nasdaq ขยับขึ้นน้อยมากในวันอังคาร เนื่องจากดัชนีได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงอย่างรุนแรงของหุ้นกลุ่มชิป โดยดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐปิดดิ่งลง 1% ในวันอังคาร โดยได้รับแรงกดดันจากหุ้นบริษัทแรมบัส อิงค์ที่รูดลง 19.2% หลังจากแรมบัสเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาส อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นกลุ่มการขนส่งของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.1% โดยได้รับแรงหนุนจากการทะยานขึ้นของหุ้นกลุ่มสายการบิน เนื่องจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าอุปสงค์ในการเดินทางทางอากาศอยู่ในระดับแข็งแกร่ง โดยหุ้นบริษัทฟรอนเทียร์ กรุ๊ป โฮลดิงส์ ซึ่งทำธุรกิจสายการบิน พุ่งขึ้น 20.8% ในวันอังคาร หลังจากทางบริษัทเปิดเผยรายงานทางการเงินที่ดีเกินคาด ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มวัสดุของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.7% ในวันอังคาร และถือเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในบรรดาดัชนีหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ของสหรัฐ โดยดัชนีหุ้นกลุ่มวัสดุได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทดูปองท์ เดอ เนมัวร์ส ซึ่งเป็นบริษัทเคมีภัณฑ์ที่พุ่งขึ้น 7.4% หลังจากดูปองท์เปิดเผยผลกำไรไตรมาสสี่ที่ดีเกินคาด, ประกาศแผนซื้อคืนหุ้นขนาด 1 พันล้านดอลลาร์ และประกาศปรับเพิ่มเงินปันผล Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.37% สู่ 38,521.36
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.23 % สู่ 4,954.23
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับขึ้น 0.07 % สู่ 15,609.00
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันอังคาร หลังจากกระทรวงพลังงานสหรัฐเปิดเผยรายงานแนวโน้มพลังงานระยะสั้น และรายงานดังกล่าวระบุว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐอาจเพิ่มขึ้นเพียง 170,000 บาร์เรลต่อวันในปีนี้ โดยปรับลดลงจากตัวเลขคาดการณ์ครั้งก่อนที่ +290,000 บาร์เรลต่อวัน โดยรายงานดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นสูงมากในช่วงแรก อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันลดช่วงบวกลงมาบ้างในเวลาต่อมา ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์กันว่า มีความเป็นไปได้ที่อิสราเอลกับกลุ่มฮามาสอาจจะหยุดยิงกันเป็นเวลานานในสงครามกาซา โดยนายแอนโทนี บลิงเคน รมว.ต่างประเทศสหรัฐกล่าวว่า ขณะนี้กำลังมีการพิจารณาคำตอบของกลุ่มฮามาสที่มีต่อข้อเสนอหยุดยิง ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 ก.พ. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐปรับขึ้น 670,000 บาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 3.65 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐดิ่งลง 3.7 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.ปรับขึ้น 53 เซนต์ หรือ 0.73% มาปิดตลาดที่ 73.51 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 60 เซนต์ หรือ 0.77% มาปิดตลาดที่ 78.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 10.79 ดอลลาร์ สู่ 2,035.46 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และจากการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่เทรดเดอร์รอฟังถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลายคนในสัปดาห์นี้ เพื่อใช้ในการประเมินแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงจาก 4.164% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.092% ในช่วงท้ายวันอังคาร และปัจจัยดังกล่าวส่งผลบวกต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--5 ก.พ.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 7 สัปดาห์ในวันศุกร์ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 353,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ 180,000 ตำแหน่งเป็นอย่างมาก ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงของคนงานสหรัฐทะยานขึ้น 0.6% ในเดือนม.ค. หลังจากปรับขึ้น 0.4% ในเดือนธ.ค. โดยรายงานตัวเลขนี้ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า มีโอกาสน้อยลงที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดการณ์กันในวันศุกร์ว่า มีโอกาสเพียง 21% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 38% ที่เคยคาดไว้ในวันพฤหัสบดี และเทรดเดอร์ยังคาดการณ์กันในวันศุกร์อีกด้วยว่า มีโอกาส 75% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 94% ที่เคยคาดไว้ในวันพฤหัสบดี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.97 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยพุ่งขึ้นจาก 103.05 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากทะยานขึ้นแตะ 104.04 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 148.37 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยทะยานขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 146.42 เยน และเทียบกับจุดสูงสุดของเดือนม.ค.ที่ 148.80 เยนที่เคยทำไว้ในวันที่ 19 ม.ค. โดยจุดสูงสุดของเดือนม.ค.ถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 28 พ.ย.เป็นต้นมา
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0784 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยร่วงลงจาก 1.0872 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี และเทียบกับจุดต่ำสุดของวันพฤหัสบดีที่ 1.0780 ดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.เป็นต้นมา
ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันศุกร์ ในขณะที่ผลกำไรที่แข็งแกร่งของบริษัทสหรัฐและรายงานตัวเลขการจ้างงานเดือนม.ค.ของสหรัฐที่พุ่งสูงเกินคาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจสหรัฐ ถึงแม้ว่าตัวเลขการจ้างงานส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ก็ตาม โดยหุ้นบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก พุ่งขึ้น 20.3% สู่สถิติสูงสุดใหม่ในวันศุกร์ หลังจากเมตาประกาศจ่ายเงินปันผลเป็นครั้งแรกในวันพฤหัสบดี และทางบริษัทรายงานตัวเลขรายได้และผลกำไรที่ดีเกินคาด โดยได้รับแรงหนุนจากยอดขายโฆษณาที่แข็งแกร่งในช่วงฤดูช้อปปิ้งปลายปี ทางด้านหุ้นบริษัทอะเมซอนดอทคอมทะยานขึ้น 7.9% ในวันศุกร์ หลังจากอะเมซอนเปิดเผยรายได้ไตรมาสสี่ที่สูงเกินคาดในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงหนุนจากบริการด้านปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง (generative AI) ในธุรกิจคลาวด์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอะเมซอน ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 6 กลุ่มปิดตลาดวันศุกร์ในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารพุ่งขึ้น 4.69% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยทะยานขึ้น 2.49% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากเป็นอันดับสอง ทางด้านดัชนี KBW สำหรับหุ้นธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐขยับขึ้น 0.2% ในวันศุกร์ หลังจากที่เคยดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันพุธและวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่น่าผิดหวังของธนาคารนิวยอร์ค คอมมูนิที แบงคอร์ (NYCB) อย่างไรก็ดี หุ้น NYCB ดีดขึ้น 5.0% ในวันศุกร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.35% สู่ 38,654.42
ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 1.07% สู่ 4,958.61 ซึ่งถือเป็นการทำสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่
ดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 1.74% สู่ 15,628.95 ในวันศุกร์ โดยดัชนีสำคัญทั้งสามดัชนีของตลาดหุ้นสหรัฐต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันศุกร์ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่พุ่งสูงเกินคาดในเดือนม.ค. และตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ โดยแนวโน้มที่เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปอาจจะส่งผลลบต่ออุปสงค์น้ำมันดิบ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้รับแรงกดดันจากปัจจัยอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งรวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอในจีน หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนอาจจะเติบโตเพียง 4.6% ในปี 2024 และเติบโตเพียง 3.5% ในปี 2028 ทางด้านนักลงทุนจับตาดูสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางในช่วงนี้ ในขณะที่หัวหน้าสปายของสหรัฐและอิสราเอลร่างข้อเสนอหยุดยิงระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส และได้ส่งข้อเสนอดังกล่าวไปให้แก่อียิปต์และกาตาร์ แต่กลุ่มฮามาสยังไม่ได้ตอบรับต่อข้อตกลงนี้ในวันศุกร์ ทั้งนี้ บริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์รายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐทรงตัวที่ 499 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 ก.พ. ส่วนคณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) รายงานในวันศุกร์ว่า ผู้จัดการกองทุนปรับเพิ่มการถือครองสถานะซื้อสุทธิในสัญญาล่วงหน้าและออปชั่นน้ำมันดิบสหรัฐในตลาดนิวยอร์คและลอนดอนขึ้น 18,082 สัญญา สู่ 117,226 สัญญาในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ม.ค. Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.รูดลง 1.54 ดอลลาร์ หรือ 2% มาปิดตลาดที่ 72.28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.37 ดอลลาร์ หรือ 1.7% มาปิดตลาดที่ 77.33 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงราว 7% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 16.30 ดอลลาร์ สู่ 2,038.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ และจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่พุ่งสูงเกินคาดในเดือนม.ค. และตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนไม่แน่ใจว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้จริงหรือไม่ ทั้งนี้ ราคาทองปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 1.00% จากสัปดาห์ที่แล้ว และราคาทองยังคงเคลื่อนตัวอยู่เหนือระดับสำคัญที่ 2,000 ดอลลาร์ได้นับตั้งแต่ต้นปีนี้ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--1 ก.พ.--รอยเตอร์
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร แต่ร่วงลงเมื่อเทียบกับเยนในวันพุธ หลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.ไม่ใช่สถานการณ์พื้นฐาน (หรือสถานการณ์ที่มีแนวโน้มสูงสุด) ที่เฟดคาดว่าจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ เฟดก็คาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในแบบที่เป็นกลาง และไม่ได้ส่งสัญญาณแบบสายพิราบมากเท่ากับที่นักลงทุนหลายรายได้คาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ เฟดประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 30-31 ม.ค. และเฟดได้ตัดทิ้งถ้อยคำที่บ่งชี้ว่า เฟดมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตออกจากแถลงการณ์ อย่างไรก็ดี เฟดไม่ได้ส่งสัญญาณบ่งชี้แต่อย่างใดว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ทางด้านนายพาวเวลล์กล่าวในงานแถลงข่าวว่า เฟดจำเป็นจะต้องได้เห็นตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าพึงพอใจมากกว่านี้ ก่อนที่เฟดจะมั่นใจได้ว่าถึงเวลาแล้วที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยเขากล่าวเสริมว่า "เรามีความมั่นใจก็จริง แต่เราต้องการจะมีความมั่นใจมากกว่านี้" ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงนั้นเป็นตัวเลขที่ส่ง "สัญญาณที่ถูกต้อง" Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.61 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 103.39 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการพุ่งขึ้น 2.21% จากเดือนก.พ. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 146.88 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 147.60 เยน โดยดอลลาร์/เยนปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการพุ่งขึ้น 4.13% จากเดือนธ.ค. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2023
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0816 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0840 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0795 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. โดยยูโรปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการดิ่งลง 1.99% จากเดือนธ.ค. ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2023
ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงในวันพุธ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 30-31 ม.ค. ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเศรษฐกิจสหรัฐรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี โดยคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (FOMC) ระบุในแถลงการณ์ว่า FOMC "ไม่คาดว่าการปรับลดกรอบเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยลงจะเป็นสิ่งที่เหมาะสม จนกว่า FOMC จะมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า อัตราเงินเฟ้อจะปรับเข้าใกล้ระดับ 2% ได้อย่างยั่งยืน" และแถลงการณ์ดังกล่าวก็สร้างความผิดหวังให้แก่นักลงทุนบางรายที่เคยตั้งความหวังว่า เฟดอาจจะส่งสัญญาณว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว ทางด้านนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐกล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.ไม่ใช่สถานการณ์พื้นฐาน (หรือสถานการณ์ที่มีแนวโน้มสูงสุด) ที่เฟดคาดว่าจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐก็ได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีด้วย หลังจากบริษัทแอลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล รายงานในวันอังคารว่า ยอดขายโฆษณาอยู่ในระดับที่น่าผิดหวัง และแอลฟาเบทคาดว่าจะปรับเพิ่มรายจ่ายฝ่ายทุนเพื่อจะได้เพิ่มความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของแอลฟาเบท โดยหุ้นกูเกิลดิ่งลง 7.5% ในวันพุธ ทั้งนี้ หุ้นทั้ง 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันพุธในแดนลบ โดยหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารและหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถือเป็นหุ้น 2 กลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุด โดยในตอนนี้มีบริษัท 176 แห่งในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสสี่ออกมาแล้ว และบริษัท 80% ในกลุ่มนี้เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ทางด้านนักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจปรับขึ้น 6.1% ในไตรมาส 4/2023 เมื่อเทียบรายปี โดยตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าวปรับขึ้นจากระดับ +4.7% ที่เคยคาดไว้ในช่วงสิ้นไตรมาสสี่ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 0.82% สู่ 38,150.30 ในวันพุธ แต่สามารถปิดตลาดเดือนม.ค.ในแดนบวก
ดัชนี S&P 500 ปิดดิ่งลง 1.61% สู่ 4,845.65 ในวันพุธ ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายวันครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. 2023 เป็นต้นมา แต่ดัชนีสามารถปิดตลาดเดือนม.ค.ในแดนบวก
ดัชนี Nasdaq ปิดรูดลง 2.23% สู่ 15,164.01 ในวันพุธ แต่ดัชนีสามารถปิดตลาดเดือนม.ค.ในแดนบวก
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันพุธ โดยได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอในจีน ในขณะที่จีนถือเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับภาคการผลิตของจีน อยู่ที่ระดับ 49.2 ในเดือนม.ค. เพิ่มขึ้นจาก 49.0 ในเดือนธ.ค. แต่ยังคงต่ำกว่าระดับ 50 ที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัว และรายงานนี้แสดงให้เห็นว่า ภาคการผลิตของจีนหดตัวลงในเดือนม.ค.เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่พุ่งสูงขึ้นด้วย ในขณะที่บริษัทผู้ผลิตน้ำมันดิบปรับเพิ่มการผลิตหลังจากเผชิญกับภาวะอากาศหนาวจัดในเดือนม.ค. โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล สู่ 421.9 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ม.ค. ซึ่งสวนทางกับโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจลดลง 217,000 บาร์เรล โดย EIA รายงานอีกด้วยว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐพุ่งขึ้น 700,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ 13 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ล่าสุด ในขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในรัฐนอร์ธ ดาโกตาพุ่งขึ้นสู่ระดับใกล้ปกติในสัปดาห์นี้ หลังจากที่รัฐนอร์ธ ดาโกตาเคยปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันลงราว 50% ในช่วงก่อนหน้านี้เพราะภาวะอากาศหนาวจัด ทางด้านอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันในสหรัฐดิ่งลง 2.6% สู่ 82.9% ในสัปดาห์ล่าสุดเพราะสภาพอากาศ นอกจากนี้ EIA ยังรายงานอีกด้วยว่า สต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil ดิ่งลง 2.5 ล้านบาร์เรล สู่ 130.7 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ล่าสุด ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล สู่ 254.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2021 เป็นต้นมา Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.ดิ่งลง 1.97 ดอลลาร์ หรือ 2.5% มาปิดตลาดที่ 75.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 1.16 ดอลลาร์ หรือราว 1.4% มาปิดตลาดที่ 81.71 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันพุธ ในขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนมี.ค.ครบกำหนดส่งมอบในช่วงปิดตลาดวันพุธ ส่วนราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนเม.ย.ดิ่งลง 1.89 ดอลลาร์ หรือราว 2.3% มาปิดตลาดที่ 80.55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 1.07 ดอลลาร์ สู่ 2,037.19 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 2,055.89 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยราคาทองลดช่วงบวกลงจนเกือบหมดในเวลาต่อมา หลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในวันพุธว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.ไม่ใช่สถานการณ์พื้นฐาน (หรือสถานการณ์ที่มีแนวโน้มสูงสุด) ที่เฟดคาดว่าจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ ราคาทองปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการดิ่งลง 1.23% จากเดือนธ.ค. แต่ยังคงทรงตัวเหนือระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 2,000 ดอลลาร์ได้ในเดือนม.ค. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--25 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในวันพุธ หลังจากแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่นักลงทุนปรับสถานะการลงทุน และนักลงทุนรอดูตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐประจำไตรมาส 4/2023 ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี และรอดูดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มักใช้ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค.ด้วย เพื่อมองหาสัญญาณบ่งชี้ว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด โดยนักลงทุนคาดการณ์กันว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมสิ้นเดือนม.ค. ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดการณ์ในวันพุธว่า มีโอกาสราว 40% ที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 47% ที่เคยคาดไว้ในช่วงเย็นวันอังคาร และปรับลดลงจากโอกาส 80% ที่เคยคาดไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน นอกจากนี้ เทรดเดอร์ยังคาดการณ์กันในวันพุธอีกด้วยว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 5 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปี 2024 Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.29 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 103.50 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากเพิ่งพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 103.82 ในวันอังคาร โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้วราว 1.7% จากช่วงต้นปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐ และจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดที่ส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.50 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 148.36 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0883 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0851 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.0820 ดอลลาร์ในวันอังคาร
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงในวันพุธ แต่ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq บวกขึ้นในวันพุธ ในขณะที่หุ้นเน็ตฟลิกซ์พุ่งขึ้น 10.7% สู่จุดสูงสุดรอบ 2 ปี หลังจากเน็ตฟลิกซ์เปิดเผยว่ายอดสมาชิกพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และรายงานดังกล่าวทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นว่า เน็ตฟลิกซ์ได้รับชัยชนะในการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจสตรีมมิง หลังจากเน็ตฟลิกซ์ออกมาตรการปราบปรามการแบ่งปันรหัสผ่าน และเน็ตฟลิกซ์มีเนื้อหาที่สามารถดึงดูดผู้ชม โดยการพุ่งขึ้นของหุ้นเน็ตฟลิกซ์มีส่วนช่วยหนุนดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารของสหรัฐให้ทะยานขึ้น 1.2% และดัชนีหุ้นกลุ่มนี้ก็พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 ปีในวันพุธด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐก็ได้รับแรงหนุนจากรายงานของบริษัท ASML ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ผลิตชิปของเนเธอร์แลนด์ที่บ่งชี้ว่า อุปสงค์ชิปทั่วโลกฟื้นตัวขึ้นด้วย โดยรายงานของ ASML มีส่วนช่วยหนุนดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐให้พุ่งขึ้น 1.54% ในวันพุธ และดัชนีหุ้นกลุ่มนี้สามารถแตะสถิติสูงสุดใหม่ได้ในระหว่างวัน ทั้งนี้ หุ้นบริษัทขนาดยักษ์ของสหรัฐพุ่งขึ้นในวันพุธ โดยหุ้นไมโครซอฟท์ปิดบวกขึ้น 0.92% สู่ 402.56 ดอลลาร์ หลังจากทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 405.63 ดอลลาร์ได้ในระหว่างวัน ซึ่งส่งผลให้มูลค่าในตลาดของไมโครซอฟท์พุ่งขึ้นมาอยู่เหนือ 3 ล้านล้านดอลลาร์ได้เป็นครั้งแรก ทางด้านหุ้นแอลฟาเบทพุ่งขึ้น 1.13% ในวันพุธ, หุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ทะยานขึ้น 1.43% ในวันพุธ และหุ้นเอ็นวิเดียพุ่งขึ้น 2.49% ในวันพุธ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.26% สู่ 37,806.39
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 0.08% สู่ 4,868.55 ในวันพุธ ซึ่งถือเป็นการทำสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ได้เป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน แต่จำนวนหุ้นลบในดัชนีนี้อยู่สูงกว่าจำนวนหุ้นบวกในสัดส่วน 2.5 ต่อ 1 ในวันพุธ
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.36% สู่ 15,481.92 หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2022 ในระหว่างวัน โดยขณะนี้ดัชนีอยู่ห่างจากสถิติระดับปิดสูงสุดที่เคยทำไว้ในเดือนพ.ย. 2021 ในระดับไม่ถึง 4%
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันพุธโดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสหรัฐที่ดิ่งลงอย่างรุนแรงเกินคาด, การร่วงลงของปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐ, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน, ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งรวมถึงในทะเลแดง, อิสราเอล และอิรัก และราคาน้ำมันก็ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ในวันพุธด้วย เพราะการอ่อนค่าของดอลลาร์ส่งผลให้น้ำมันมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 9.2 ล้านบาร์เรล สู่ 420.7 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ม.ค. ถึงแม้โพลล์รอยเตอร์คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจลดลงเพียง 2.1 ล้านบาร์เรล ทางด้านปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐดิ่งลงจากสถิติสูงสุดที่ 13.3 ล้านบาร์เรลที่เคยทำไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน สู่ 12.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 5 เดือน ในขณะที่บ่อน้ำมันในสหรัฐประสบปัญหาทางการผลิตเพราะภาวะอากาศหนาวจัด Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 72 เซนต์ หรือ 1.0% มาปิดตลาดที่ 75.09 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 49 เซนต์ หรือ 0.6% มาปิดตลาดที่ 80.04 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 16.10 ดอลลาร์ สู่ 2,012.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากตัวเลขกิจกรรมทางธุรกิจที่แข็งแกร่งในสหรัฐ ถึงแม้ว่าราคาทองได้รับแรงหนุนเข้ามาบ้างจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ก็ตาม ทั้งนี้ บริษัทเอสแอนด์พี โกลบอล รายงานในวันพุธว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับผลผลิตโดยรวมของสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ พุ่งขึ้นจาก 50.9 ในเดือนธ.ค. สู่ 52.3 ในเดือนม.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2023 โดยดัชนีที่ระดับสูงกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าภาคเอกชนของสหรัฐขยายตัว นอกจากนี้ เอสแอนด์พี โกลบอลยังรายงานอีกด้วยว่า ดัชนีราคาผลผลิตของสหรัฐดิ่งลงจาก 54.8 ในเดือนธ.ค. สู่ 51.7 ในเดือนม.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2020 หรือจุดต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปีครึ่ง Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--13 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นมาปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ในวันพฤหัสบดีเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่หุ้นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่พุ่งขึ้น และนักลงทุนปรับตัวรับตัวเลขสวัสดิการว่างงานที่แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ดัชนี S&P และ Nasdaq ได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทแอปเปิล, ไมโครซอฟท์, อะเมซอนดอทคอม, แอลฟาเบท และเฟซบุ๊ก ในขณะที่หุ้น 5 ตัวนี้ครองสัดส่วนราว 25% ของทุนจดทะเบียนในตลาดของดัชนี S&P 500 ทางด้านหุ้นบริษัทเทสลา, เอ็นวิเดีย และโมเดอร์นาทะยานขึ้นในวันพฤหัสบดีด้วยเช่นกัน ถึงแม้จำนวนหุ้นลบอยู่สูงกว่าจำนวนหุ้นบวกในวันพฤหัสบดี
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น 0.04% สู่ 35,499.85, ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.30% สู่ 4,460.83 หลังจากพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ในระหว่างวันที่ 4,461.77 และดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 0.35% สู่ 14,816.26
นายทิม กริสคีย์ หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทอินเวอร์เนส เคาน์เซลกล่าวว่า เทรดเดอร์ได้เข้าซื้อหุ้นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในวันพฤหัสบดี หลังจากหุ้นกลุ่มนี้ไม่ได้พุ่งขึ้นพร้อมกับตลาดหุ้นโดยรวมในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา และเขากล่าวเสริมว่า "หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ร่วงลงในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา และปรับตัวอ่อนแอกว่าตลาดหุ้นโดยรวมเป็นอย่างมากในช่วงนั้น ดังนั้นจึงมีคำสั่งช้อนซื้อเก็งกำไรเข้ามาในตลาดเพื่อเข้าซื้อหุ้นกลุ่มนี้"
หุ้นแอปเปิลพุ่งขึ้น 2.1% ในวันพฤหัสบดี และถือเป็นหุ้นที่ส่งแรงบวกต่อดัชนี S&P มากที่สุด ทางด้านหุ้นไมโครซอฟท์พุ่งขึ้น 1.0% และหุ้นเทสลาทะยานขึ้น 2.0% ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มการแพทย์และกลุ่มเทคโนโลยีถือเป็นหุ้น 2 กลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันพฤหัสบดี ในขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวอ่อนแอที่สุด ทางด้านดัชนีหุ้นเติบโตปรับขึ้น 0.5% ในขณะที่ดัชนีหุ้นคุณค่าขยับขึ้นเพียง 0.06%
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกดิ่งลง 12,000 ราย สู่ 375,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 ส.ค. ซึ่งเท่ากับตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ โดยรายงานนี้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงฟื้นตัวต่อไป นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐยังรายงานอีกด้วยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) พุ่งขึ้น 7.8% ในเดือนก.ค.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำตัวเลขนี้เมื่อกว่า 10 ปีก่อน ส่วนดัชนี PPI สำหรับอุปสงค์ขั้นสุดท้ายแบบเทียบรายเดือนปรับขึ้น 1.0% ในเดือนก.ค. หลังจากปรับขึ้น 1.0% ในเดือนมิ.ย. ทั้งนี้ นายไมค์ โลเวนการ์ด จากบริษัท E*TRADE Financial กล่าวว่า ดัชนี PPI สะท้อนปัญหาในห่วงโซ่อุปทาน และปัจจัยนี้จะไม่ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน โดยเขากล่าวเสริมว่า "นักลงทุนหลายคนคาดว่าเฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในเดือนก.ย. แต่การปรับลดดังกล่าวจะไม่ส่งผลให้ภาวะแวดล้อมในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป และภาวะแวดล้อมนี้ก็จะเอื้ออำนวยให้ตลาดหุ้นปรับขึ้นต่อไป"--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--4 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นมาปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทแอปเปิลและหุ้นกลุ่มการแพทย์ ถึงแม้นักลงทุนกังวลกับการพุ่งขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตาท่ามกลางฤดูการรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ หุ้นแอปเปิลพุ่งขึ้น 1.26% ในวันอังคาร หลังจากดิ่งลงในสัปดาห์ที่แล้ว แต่หุ้นบริษัทขนาดใหญ่แห่งอื่น ๆ ในกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง โดยหุ้นเน็ตฟลิกซ์ร่วงลง 0.84% ส่วนหุ้นเฟซบุ๊กปรับลง 0.20% ในขณะที่หุ้นเทสลาทรงตัวในวันอังคาร และปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ดัชนี Nasdaq ปรับขึ้นได้ไม่มากนัก ทางด้านหุ้นทรานสเลท ไบโอ ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของสหรัฐพุ่งขึ้น 29.23% หลังจากบริษัทซาโนฟีของฝรั่งเศสตกลงที่จะเข้าซื้อทรานสเลท ไบโอในข้อตกลงขนาด 3.2 พันล้านดอลลาร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.8% สู่ 35,116.4, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.82% สู่ 4,423.15 และดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.55% สู่ 14,761.30 ทั้งนี้ หุ้น 10 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนบวก ซึ่งรวมถึงหุ้นกลุ่มพลังงานที่ดีดขึ้น หลังจากหุ้นกลุ่มพลังงานได้รับแรงกดดันในช่วงแรกจากการดิ่งลงของราคาน้ำมันดิบ
บริษัทสหรัฐบางแห่งรายงานผลประกอบการรายไตรมาสที่ดีเกินคาดในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทดิสคัฟเวอรีและบริษัทดูปองท์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัสดุอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี หุ้นดิสคัฟเวอรีดิ่งลง 4.19% ในวันอังคาร ส่วนหุ้นดูปองท์ร่วงลง 0.35% เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรท่ามกลางมูลค่าหุ้นที่ระดับสูง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจพุ่งขึ้นราว 90% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบรายปี โดยปรับขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมในช่วงต้นเดือนก.ค.ที่ 65.4%
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลกได้รับแรงกดดันในช่วงนี้จากความกังวลเรื่องการคุมเข้มทางกฎระเบียบในจีน โดยหุ้นกลุ่มเกมคอมพิวเตอร์ในสหรัฐและยุโรปดิ่งลง หลังจากหุ้นเทนเซนต์ ซึ่งเป็นบริษัทวิดีโอเกมและสื่อสังคมของจีนเผชิญกับแรงเทขายอย่างหนักหน่วง ในขณะที่นักลงทุนกังวลว่าทางการจีนอาจจะหันมาเพ่งเล็งบริษัทกลุ่มนี้ ทั้งนี้ หุ้นบริษัทเทค-ทู อินเทอร์แอคทีฟ ซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นผู้สร้างเกม "Grand Theft Auto" ดิ่งลง 7.71% ในตลาดสหรัฐ หลังจากทางบริษัทคาดการณ์ยอดขายที่น่าผิดหวัง
สหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานปรับขึ้น 1.5% ในเดือนมิ.ย. หลังจากพุ่งขึ้น 2.3% ในเดือนพ.ค. แต่ตัวเลขของเดือนมิ.ย.อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +1% ทั้งนี้ นักลงทุนจะรอดูตัวเลขภาคบริการของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธนี้ และรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ค.ที่จะออกมาในวันศุกร์--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน