ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--10 มิ.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐดีดขึ้นในวันศุกร์ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาด และตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะใช้เวลานานก่อนที่จะเริ่มต้นวัฏจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงต่อไปในปีนี้ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐพุ่งขึ้น 272,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 185,000 ตำแหน่ง แต่ทางกระทรวงได้ปรับทบทวนตัวเลขการจ้างงานของเดือนมี.ค.และเม.ย.ให้ต่ำลงจากเดิม 15,000 ตำแหน่ง ส่วนค่าแรงเฉลี่ยต่อชั่วโมงปรับขึ้น 0.4% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.2% ในเดือนเม.ย. ในขณะที่ค่าแรงแบบเทียบรายปีพุ่งขึ้น 4.1% ในเดือนพ.ค. หลังจากปรับขึ้น 4.0% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายปี ทางด้านอัตราการว่างงานปรับขึ้นจาก 3.9% ในเดือนเม.ย. สู่ 4% ในเดือนพ.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.92 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 104.11 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยการพุ่งขึ้นในวันศุกร์ถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. โดยดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการแข็งค่าขึ้นราว 0.2% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 156.70 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยพุ่งขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 155.60 เยน และเทียบกับจุดสูงสุดรอบ 34 ปีที่ 160.245 เยนที่เคยทำไว้ในวันที่ 29 เม.ย. อย่างไรก็ดี ดอลลาร์/เยนปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการอ่อนค่าลง 0.39% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการร่วงลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนเม.ย.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0800 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยร่วงลงจาก 1.0888 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการอ่อนค่าลง 0.38% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการร่วงลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์วันที่ 8-14 เม.ย.
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ หลังจากแกว่งตัวผันผวนในระหว่างวัน โดยตลาดหุ้นได้รับผลกระทบจากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐที่พุ่งขึ้นสูงเกินคาดในเดือนพ.ค. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง แต่ตัวเลขการจ้างงานดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่ช้าเกินคาด โดยเทรดเดอร์คาดการณ์ในวันศุกร์ว่า มีโอกาสเพียง 56% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. และเทรดเดอร์ก็จะรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานอออกมาในวันที่ 12 มิ.ย. และจะรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของเฟดในวันที่ 11-12 มิ.ย.ด้วย โดยเทรดเดอร์คาดว่า เฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมครั้งนี้ แต่เทรดเดอร์จะจับตาดูว่า เฟดจะเปิดโอกาสสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.หรือไม่ ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค, กลุ่มวัสดุ และกลุ่มบริการการสื่อสาร ถือเป็นหุ้น 3 กลุ่มที่ถ่วงตลาดหุ้นสหรัฐลงมากที่สุดในวันศุกร์ แต่หุ้นกลุ่มการเงินกับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถือเป็นหุ้น 2 กลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ทางด้านหุ้นบริษัทเอ็นวิเดียขยับลง 0.09% ในขณะที่มูลค่าของเอ็นวิเดียปรับลงสู่ระดับต่ำกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์อีกครั้ง Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.22% สู่ 38,798.99 ในวันศุกร์ แต่ดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการบวกขึ้น 0.29% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.11% สู่ 5,346.99 ในวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ได้ในระหว่างวัน โดยดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 1.32% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.23% สู่ 17,133.13 ในวันศุกร์ แต่ดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการทะยานขึ้น 2.38% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ขยับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยได้รับแรงกดดันจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งเกินคาดในเดือนพ.ค. เพราะตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนเข้ามาบ้าง หลังจากเจ้าชายอับดุลอาซิซ บิน ซัลมาน รมว.พลังงานของซาอุดิอาระเบียกล่าวในวันพฤหัสบดีว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) อาจจะระงับการปรับเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน หรืออาจจะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงไปได้อีก ถ้าหากกลุ่มโอเปกพลัสมองว่าตลาดน้ำมันไม่ได้อยู่ในภาวะที่แข็งแกร่งมากพอ ทางด้านนายอเล็กซานเดอร์ โนแวค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียกล่าวว่า กลุ่มโอเปกพลัสอาจจะปรับแก้ข้อตกลงได้ถ้าหากมีความจำเป็น ทั้งนี้ บริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์รายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐดิ่งลง 4 แท่น สู่ 492 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 มิ.ย. โดยระดับ 492 แท่นนี้ถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2022 ส่วนคณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) รายงานในวันศุกร์ว่า นักเก็งกำไรปรับลดการถือครองสถานะซื้อสุทธิในสัญญาล่วงหน้าและออปชั่นน้ำมันดิบสหรัฐลง 53,327 สัญญา สู่ 118,401 สัญญาในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 มิ.ย. ทางด้านสำนักงานศุลกากรจีนรายงานในวันศุกร์ว่า ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบในจีนดิ่งลง 8.7% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยดิ่งลงสู่ 46.97 ล้านตัน หรือ 11.06 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนพ.ค. จาก 12.11 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนพ.ค.ปีก่อน ในขณะที่โรงกลั่นน้ำมันในจีนปรับลดการนำเข้าน้ำมันดิบ เนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นจำนวนมาก, อัตราผลกำไรจากการกลั่นน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ และอุปสงค์ในผลิตภัณฑ์น้ำมันอยู่ในระดับต่ำ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ค.ขยับลง 2 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 75.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 1.9% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 25 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 79.62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการรูดลง 2.5% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐดิ่งลง 82.90 ดอลลาร์ หรือ 3.49% สู่ 2,292.71 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 1.47% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากตัวเลขการจ้างงานในสหรัฐที่พุ่งขึ้นสูงเกินคาดในเดือนพ.ค. เพราะตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในปีนี้ ทางด้านเทรดเดอร์คาดการณ์ในวันศุกร์ว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 0.37% ในปีนี้ หลังจากที่เคยคาดไว้ก่อนหน้านั้นว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.48% ในปีนี้ ทั้งนี้ ราคาทองได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่า จีนซึ่งถือเป็นประเทศผู้ใช้ทองรายใหญ่ที่สุดในโลก ไม่ได้เข้าซื้อทองในเดือนพ.ค.ด้วย หลังจากที่จีนเคยเข้าซื้อทองมานาน 18 เดือนติดต่อกัน Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--31 พ.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐร่วงลงในวันพฤหัสบดี หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ผ่านการทบทวนแล้วในวันพฤหัสบดี โดยระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโตขึ้นเพียง 1.3% ในไตรมาสเดือนม.ค.-มี.ค.เมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) ซึ่งต่ำกว่าระดับ +1.6% ที่เคยรายงานไว้ในขั้นต้น และต่ำกว่าระดับ +3.4% ในไตรมาส 4/2023 โดยการปรับทบทวนตัวเลขจีดีพีลงนี้เป็นผลจากการปรับทบทวนปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคให้ต่ำลงจากเดิม โดยรายงานระบุว่า ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคปรับขึ้นเพียง 2.0% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี โดยปรับลดลง 0.5% จากตัวเลขขั้นต้น ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้สหรัฐก็ได้รายงานตัวเลขเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่อ่อนแอออกมาด้วยเช่นกัน ซึ่งรวมถึงตัวเลขยอดค้าปลีก และการใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงจาก 4.624% ในช่วงท้ายวันพุธ สู่ 4.554% ในวันพฤหัสบดี หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่งพุ่งขึ้นแตะ 4.638% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 พ.ค. และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ในวันพุธก็มีส่วนช่วยหนุนให้ดัชนีดอลลาร์ทะยานขึ้นในวันพุธด้วย Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.77 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยร่วงลงจาก 105.13 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากปรับขึ้นแตะ 105.18 ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. หรือจุดสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 156.81 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 157.60 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 157.76 เยนในวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 4 สัปดาห์ และเข้าใกล้จุดสูงสุดรอบ 34 ปีที่ระดับ 160.245 เยนที่เคยทำไว้ในวันที่ 29 เม.ย.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0832 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0800 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากยูโรเพิ่งร่วงลง 0.5% ในวันพุธ และหลังจากเพิ่งดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 1.0786 ดอลลาร์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี
ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงกดดันจากหุ้นบริษัทเซลส์ฟอร์ซที่ดิ่งลง 19.7% ในวันพฤหัสบดี หลังจากเซลส์ฟอร์ซรายงานในวันพุธว่า ทางบริษัทคาดการณ์รายได้และผลกำไรไตรมาสสองในระดับที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ในตลาด โดยเป็นผลจากการที่ลูกค้าใช้จ่ายเงินในระดับต่ำกับผลิตภัณฑ์ธุรกิจองค์กรและผลิตภัณฑ์คลาวด์ของเซลส์ฟอร์ซ โดยการดิ่งลงของหุ้นเซลส์ฟอร์ซมีส่วนกดดันดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐให้ปิดดิ่งลง 2.5% ในวันพฤหัสบดี ซึ่งส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถือเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่รูดลงมากที่สุดในวันพฤหัสบดี ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่ดิ่งลงมากเป็นอันดับสอง คือดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารที่รูดลง 1.1% อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่อีก 9 กลุ่มที่เหลือปิดตลาดวันพฤหัสบดีในแดนบวก ทั้งนี้ หุ้นเทสลาพุ่งขึ้น 1.5% หลังจากรอยเตอร์รายงานว่า เทสลาเตรียมที่จะจดทะเบียนซอฟท์แวร์ระบบขับขี่อัตโนมัติเต็มรูปแบบ (FSD) ในจีน ส่วนหุ้นบริษัท HP ทะยานขึ้น 17% หลังจาก HP รายงานรายได้ไตรมาสสองที่ดีเกินคาด ทางด้านหุ้นบริษัทเบสท์ บายในกลุ่มค้าปลีกพุ่งขึ้น 13.4% หลังจากเบสท์ บายเปิดเผยผลกำไรรายไตรมาสที่ดีเกินคาด อย่างไรก็ดี หุ้นบริษัทโคห์ลส์ ซึ่งเป็นบริษัทเครือข่ายห้างสรรพสินค้าดิ่งลง 22.9% หลังจากโคห์ลส์ปรับลดคาดการณ์ผลกำไรและยอดขายประจำปี Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.86% สู่ 38,111.48
ดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลง 0.60% สู่ 5,235.48
ดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 1.08% สู่ 16,737.08
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันพฤหัสบดีเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากรัฐบาลสหรัฐรายงานว่า อุปสงค์เชื้อเพลิงในสหรัฐอยู่ในระดับต่ำ และสต็อกน้ำมันเบนซินกับน้ำมัน distillate ในคลังพุ่งสูงขึ้น โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพฤหัสบดีว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 4.2 ล้านบาร์เรล สู่ 454.7 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 พ.ค. ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงอย่างรุนแรงเกินคาด หลังจากโพลล์รอยเตอร์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐอาจปรับลดลงเพียง 1.9 ล้านบาร์เรล โดยการดิ่งลงของสต็อกน้ำมันดิบในครั้งนี้เป็นผลจากการที่โรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐปรับเพิ่มอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันขึ้น 2.6% สู่ 94.3% ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 9 เดือน อย่างไรก็ดี EIA ระบุว่า สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 2 ล้านบาร์เรล สู่ 228.8 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil ทะยานขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรล สู่ 119.3 ล้านบาร์เรล ในขณะที่อุปสงค์น้ำมันเบนซินดิ่งลงราว 2% จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้น สู่ 9.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า อุปสงค์น้ำมันเชื้อเพลิงน่าจะพุ่งสูงขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์วันเมโมเรียล เดย์ ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ 27 พ.ค.ในปีนี้ โดยนายจอห์น คิลดัฟ หุ้นส่วนของบริษัทอะเกน แคปิตัลกล่าวว่า "ผมคาดไว้ก่อนหน้านี้ว่า สต็อกน้ำมันเบนซินน่าจะดิ่งลงในช่วงก่อนสุดสัปดาห์วันหยุดยาว แต่เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันผลิตน้ำมันเบนซินออกมาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะทำให้สต็อกผลิตภัณฑ์น้ำมันในคลังปรับลดลงมาได้" Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ค.รูดลง 1.32 ดอลลาร์ หรือ 1.7% มาปิดตลาดที่ 77.91 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.74 ดอลลาร์ หรือ 2.1% มาปิดตลาดที่ 81.86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 4.23 ดอลลาร์ สู่ 2,343.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และจากการดิ่งลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาสราว 52% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--29 พ.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในวันอังคารหลังจากร่วงลงในช่วงแรก ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นจาก 4.473% ในช่วงท้ายวันศุกร์ สู่ 4.548% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 4 สัปดาห์ หลังจากกระทรวงการคลังสหรัฐเปิดประมูลขายพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 2 ปีและ 5 ปี และพบกับอุปสงค์ที่อ่อนแอ ทั้งนี้ สำนักงาน Conference Board ของสหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นจาก 97.5 ในเดือนเม.ย. สู่ 102.0 ในเดือนพ.ค. หลังจากดิ่งลงมานาน 3 เดือนติดต่อกัน ในขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อระยะ 12 เดือนข้างหน้าของผู้บริโภคสหรัฐปรับขึ้นจาก 5.3% ในเดือนเม.ย. สู่ 5.4% ในเดือนพ.ค. และครัวเรือนหลายแห่งคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้นในช่วงหนึ่งปีข้างหน้า โดยความกังวลที่ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่สูงกว่าระดับเป้าหมายของเฟดที่ 2% ต่อไปเป็นเวลานานถือเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนดอลลาร์สหรัฐ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.66 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 104.56 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดของวันที่ 104.33 ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค. หรือจุดต่ำสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 157.16 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 156.86 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0855 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0858 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันอังคาร โดยได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังจากกระทรวงการคลังสหรัฐเปิดประมูลขายพันธบัตรรัฐบาล และพบกับอุปสงค์ที่อ่อนแอ แต่ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้นเล็กน้อย และดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้นในวันอังคาร และสามารถทะยานขึ้นเหนือระดับ 17,000 ได้เป็นครั้งแรก โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทเอ็นวิเดียที่พุ่งขึ้น 7% โดยการพุ่งขึ้นของหุ้นเอ็นวิเดียมีส่วนช่วยหนุนให้หุ้นตัวอื่น ๆ ในกลุ่มผู้ผลิตชิปทะยานขึ้นด้วย และปัจจัยนี้ส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐปิดพุ่งขึ้น 1.9% ในวันอังคาร ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐถือเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่ทะยานขึ้นมากที่สุดในวันอังคาร ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่ดิ่งลงมากที่สุดในวันอังคารคือดัชนีหุ้นกลุ่มการแพทย์และดัชนีหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งนี้ หุ้นแอปเปิลขยับขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร ในขณะที่มีรายงานระบุว่ายอดขายโทรศัพท์ไอโฟนของแอปเปิลในจีนพุ่งขึ้น 52% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายปี ทางด้านนักลงทุนรอดูผลประกอบการของบริษัทค้าปลีกหลายแห่งในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทดอลลาร์ เจเนอรัล, แอดวานซ์ ออโต พาร์ทส์ และเบสท์ บาย Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 0.55% สู่ 38,852.86
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 0.02% สู่ 5,306.04
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.59% สู่ 17,019.88
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) จะประกาศต่ออายุมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจในอัตรา 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไปอีกอย่างน้อย 3 เดือนในการประชุมออนไลน์ในวันอาทิตย์ที่ 2 มิ.ย. นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการเริ่มต้นของช่วงฤดูร้อนของสหรัฐ ซึ่งเป็นฤดูที่มีการใช้ยวดยานพาหนะสูง และได้รับแรงหนุนจากการที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันอังคารด้วย ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขการเดินทางทางอากาศด้วย ในขณะที่บริษัท OAG รายงานว่า จำนวนที่นั่งในเที่่ยวบินภายในประเทศในสหรัฐพุ่งขึ้น 5% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน และทะยานขึ้นเกือบ 6% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงกว่า 90 ล้านที่นั่งเล็กน้อย Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ค.ทะยานขึ้น 2.11 ดอลลาร์ หรือ 2.7% มาปิดตลาดที่ 79.83 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 1.12 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 84.22 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 10.21 ดอลลาร์ สู่ 2,360.95 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากการที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์นี้ เพื่อใช้ในการประเมินแนวโน้มในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยในตอนนี้เทรดเดอร์คาดว่า มีโอกาสราว 63% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงก่อนสิ้นเดือนพ.ย. ทั้งนี้ สภาทองคำโลก (WGC) รายงานว่า กองทุน ETF ทองทั่วโลกปรับลดการถือครองทองลงสุทธิ 11.3 ตันในสัปดาห์ที่แล้ว Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
สกุลเงินตลาดเกิดใหม่ในเอเชียส่วนใหญ่แข็งค่าในวันนี้ โดยวอนและดอลลาร์ไต้หวันแข็งค่ามากที่สุด ขณะที่นักลงทุนรอดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลก
นักลงทุนจะจับตาข้อมูลดัชนีการใช้จ่ายการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ซึ่งจะทำให้พวกเขาได้เห็นแนวคิดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อยู่ในจุดที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงหรือไม่ และจนถึงขณะนี้ ธนาคารกลางส่วนใหญ่ของเอเชียได้คงจุดยืนที่ระมัดระวัง โดยรอให้เฟดลดดอกเบี้ยก่อน และคิดว่าดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ที่เฟดจะลดดอกเบี้ยในเร็วๆนี้
เทรดเดอร์กำลังปรับตัวรับโอกาส 50% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ยในเดือนก.ย.นี้ โดยตลาดคาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ย 0.33% ในปีนี้
นายแกรี่ อึ้ง นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากนาติซิสกล่าวว่า "ถ้าสหรัฐอาจจะไม่ดำเนินการในเร็วๆนี้ ยุโรปก็อาจจะดำเนินการก่อน ผมคิดว่า สำหรับธนาคารกลางหลายประเทศโดยเฉพาะในเอเชีย การไหลออกของเงินทุนสามารถเป็นปัญหาได้ ถ้าส่วนต่างผลตอบแทนยังคงกว้างอยู่"
นักวิเคราะห์จากบาร์เคลย์สกล่าวว่า "เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์อาจจะเกิดขึ้นอีกครั้ง การฟื้นตัวของสกุลเงินในตลาดเกิดใหม่ก็อาจจะเป็นแค่ช่วงสั้นๆ ธนาคารกลางในภูมิภาคนี้อาจจะรอดูไปก่อน ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่เปลี่ยนแปลงต่อไป"
อัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลา 10.55 น.ตามเวลาไทย
COUNTRY |
FX RIC |
FX DAILY % |
FX YTD % |
Japan |
JPY= |
+0.19 |
-9.98 |
China |
CNY=CFXS |
-0.02 |
-2.03 |
India |
INR=IN |
-0.02 |
+0.11 |
Indonesia |
IDR= |
-0.40 |
-4.11 |
Malaysia |
MYR= |
+0.15 |
-2.40 |
Philippines |
PHP= |
+0.17 |
-4.63 |
S.Korea |
KRW=KFTC |
+0.30 |
-5.67 |
Singapore |
SGD= |
+0.01 |
-2.24 |
Taiwan |
TWD=TP |
+0.24 |
-4.50 |
Thailand |
THB=TH |
+0.10 |
-6.65 |
Eikon source text
สกุลเงินตลาดเกิดใหม่ในเอเชียส่วนใหญ่อ่อนค่าในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนประเมินจังหวะเวลาที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะผ่อนคลายนโยบาย หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และรายงานประชุมนโยบายของเฟด
ริงกิตอ่อนค่า 0.3% และบาทอ่อนค่า 0.3%
กิจกรรมทางธุรกิจของสหรัฐขยายตัวสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปีในเดือนพ.ค. และผู้ผลิตรายงานว่าราคาผลผลิตพุ่งขึ้นมาก ซึ่งกระทบความเชื่อมั่นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของเอเชีย ขณะที่ตลาดคาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นนานขึ้น
ฟรานเซส เฉิง นักกลยุทธ์อัตราดอกเบี้ยจากโอซีบีซีกล่าวว่า "สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดอลลาร์เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับความเชื่อมั่นในตลาดเอเชีย ตราบใดที่ความเสี่ยงที่เฟดจะปรับเปลี่ยนกลับไปสู่การคุมเข้มนั้นอยู่ในระดับต่ำ ตลาดเอเชียก็น่าจะสามารถพุ่งความสนใจไปที่ปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยเฉพาะตัว ดูเหมือนความเชื่อมั่นโดยรวมจะเป็นเรื่องหนึ่งที่นักลงทุนเชื่อมั่นว่า การคุมเข้มนโยบายที่เข้มงวดที่สุดของเฟดผ่านไปแล้ว"
เธอกล่าวอีกว่า "ธนาคารกลางเอเชียส่วนใหญ่น่าจะสามารถพุ่งความสนใจไปที่ปัจจัยภายในประเทศเป็นหลักได้ เมื่อพวกเขาตัดสินใจโยบายการเงิน ขณะที่ค่าเงินจะมีความสำคัญ ถ้าหากมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อจากการนำเข้า"
อัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลา 10.47 น.ตามเวลาไทย
COUNTRY |
FX RIC |
FX DAILY % |
FX YTD % |
Japan |
JPY= |
-0.10 |
-10.20 |
China |
CNY=CFXS |
-0.04 |
-2.04 |
India |
INR=IN |
+0.08 |
-0.00 |
Indonesia |
IDR= |
- |
-3.72 |
Malaysia |
MYR= |
-0.30 |
-2.67 |
Philippines |
PHP= |
-0.03 |
-4.78 |
S.Korea |
KRW=KFTC |
-0.64 |
-6.07 |
Singapore |
SGD= |
-0.05 |
-2.44 |
Taiwan |
TWD=TP |
-0.03 |
-4.72 |
Thailand |
THB=TH |
-0.30 |
-6.97 |
Eikon source text
23 พ.ค.--รอยเตอร์
หุ้นบริษัทเอ็นวิเดียปิดปรับลง 0.46% สู่ 949.50 ดอลลาร์ในวันพุธ ก่อนที่เอ็นวิเดียจะเปิดเผยผลประกอบการหลังจากตลาดหุ้นปิดทำการในวันพุธ โดยเอ็นวิเดียคาดการณ์รายได้ที่แข็งแกร่งเกินคาด และปัจจัยดังกล่าวช่วยหนุนหุ้นเอ็นวิเดียกับหุ้นบริษัทผู้ผลิตชิปแห่งอื่น ๆ ให้พุ่งขึ้นหลังจากตลาดปิดทำการ ทั้งนี้ หุ้นเอ็นวิเดียพุ่งขึ้น 5.9% สู่ 1,005 ดอลลาร์หลังจากตลาดหุ้นปิดทำการ โดยสามารถทะยานขึ้นเหนือระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 1,000 ดอลลาร์ได้สำเร็จ และมีมูลค่าในตลาดเพิ่มขึ้นราว 1.40 แสนล้านดอลลาร์ ทางด้านนักลงทุนคาดว่า ผลประกอบการของเอ็นวิเดียอาจจะช่วยหนุนตลาดหุ้นสหรัฐให้พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ได้อีก
หุ้นเอ็นวิเดียซึ่งถือเป็นบริษัทสำคัญในธุรกิจปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีราคาทะยานขึ้นมาแล้ว 90% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่เอ็นวิเดียประกาศในวันพุธว่าจะแตกหุ้นในอัตรา 10 ต่อ 1 ซึ่งจะมีผลในวันที่ 7 มิ.ย. และเอ็นวิเดียยังระบุอีกด้วยว่า ทางบริษัทจะปรับเพิ่มเงินปันผลรายไตรมาสขึ้น 150% สู่ 1 เซนต์ต่อหุ้นหลังการแตกหุ้น ทั้งนี้ หลังจากเอ็นวิเดียเปิดเผยผลประกอบการในวันพุธ หุ้นของบริษัทผู้ผลิตชิป AI แห่งอื่น ๆ ก็ทะยานขึ้นด้วยเช่นกัน โดยหุ้นบริษัทแอดวานซ์ ไมโคร ดีไวเซส (AMD) พุ่งขึ้นราว 2% และหุ้นบริษัทบรอดคอมทะยานขึ้นราว 2% หลังจากตลาดหุ้นปิดทำการ
บริษัทแอลฟาเบท, บริษัทไมโครซอฟท์, บริษัทอะเมซอนดอทคอม และบริษัทเทคโนโลยีแห่งอื่น ๆ ได้แข่งขันกันในการครอบครองอุปทานชิปขั้นสูงของเอ็นวิเดียที่มีปริมาณจำกัดในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่บริษัทเหล่านี้ต้องการจะเป็นผู้นำในด้าน AI ทั้งนี้ นายเจนเสน หวง ซีอีโอของเอ็นวิเดียกล่าวในการประชุมกับนักวิเคราะห์ว่า เอ็นวิเดียจะเริ่มจัดส่งชิปแบล็คเวล AI ในไตรมาสปัจจุบัน และจะปรับเพิ่มการผลิตชิปนี้ในไตรมาสถัดไป ทางด้านโคเลทท์ เครส หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของเอ็นวิเดียกล่าวว่า อุปสงค์ในชิปแบล็คเวลอาจจะอยู่สูงกว่าอุปทานต่อไปจนถึงปีหน้า
บริษัทไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟคเจอริง (TSMC) ซึ่งเป็นผู้รับเหมาผลิตชิปให้เอ็นวิเดีย พยายามปรับเพิ่มกำลังความสามารถในการประกอบชิปเข้าด้วยกันในช่วงที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะคอขวดในห่วงโซ่อุปทาน โดย TSMC เพิ่งแถลงในเดือนเม.ย.ว่า TSMC คาดว่าจะมีกำลังความสามารถด้านนี้เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าภายในปีนี้ ทั้งนี้ เอ็นวิเดียคาดว่า เอ็นวิเดียจะมีรายได้ไตรมาสสองราว 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 2.666 หมื่นล้านดอลลาร์ ทางด้านรายได้ไตรมาสแรกของเอ็นวิเดียพุ่งขึ้น 262% เมื่อเทียบรายปี สู่ 2.604 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2.465 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วนรายได้สุทธิของเอ็นวิเดียทะยานขึ้น 628% สู่ 1.488 หมื่นล้านดอลลาร์
รายได้ส่วนใหญ่ของเอ็นวิเดียมาจากแผนกศูนย์ข้อมูล โดยรายได้ในแผนกนี้พุ่งขึ้น 427% สู่ 2.26 หมื่นล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกของปีงบดุลบัญชี ซึ่งสิ้นสุดไตรมาสในวันที่ 28 เม.ย. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2.1320 หมื่นล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ เอ็นวิเดียมีผลกำไรต่อหุ้นในส่วนที่ไม่รวมรายการต่าง ๆ ราว 6.12 ดอลลาร์ต่อหุ้นในไตรมาสแรก ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 5.59 ดอลลาร์ต่อหุ้น ส่วนอัตรากำไรขั้นต้นในไตรมาสแรกอยู่ที่ 78.9% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 77% และสูงกว่าอัตรากำไรขั้นต้นของ AMD ที่ 52% ในไตรมาสแรก นอกจากนี้ เอ็นวิเดียยังคาดการณ์อีกด้วยว่า อัตรากำไรขั้นต้นของไตรมาสสองจะอยู่ที่ 75.5% ส่วนนักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 75.8%--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--15 พ.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในวันอังคาร หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐสำหรับอุปสงค์ขั้นสุดท้ายปรับขึ้น 0.5% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.3% หลังจากดัชนี PPI ปรับลง 0.1% ในเดือนมี.ค. ส่วนดัชนี PPI แบบเทียบรายปีพุ่งขึ้น 2.2% ในเดือนเม.ย. หลังจากปรับขึ้น 1.8% ในเดือนมี.ค. โดยดัชนี PPI ในเดือนเม.ย.ได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งของต้นทุนสินค้าและบริการ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นไตรมาสสอง นอกจากนี้ รายงานยังระบุอีกด้วยว่า ราคาสินค้าปรับขึ้น 0.4% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับลง 0.2% ในเดือนมี.ค. แต่ราคาอาหารดิ่งลง 0.7% ในเดือนเม.ย. ทั้งนี้ เทรดเดอร์ปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. หลังจากสหรัฐเปิดเผยรายงานดัชนี PPI และเทรดเดอร์ก็คาดการณ์ในวันอังคารว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันเพียงราว 0.44% ในปี 2024 Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.05 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจาก 105.19 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 156.42 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 156.20 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0818 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยปรับขึ้นจาก 1.0788 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐสำหรับอุปสงค์ขั้นสุดท้ายปรับขึ้น 0.5% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.3% หลังจากดัชนี PPI ปรับลง 0.1% ในเดือนมี.ค. โดยนายพาวเวลล์กล่าวว่า รายงานดัชนี PPI ในครั้งนี้อยู่ในภาวะไร้ทิศทางชัดเจน แทนที่จะอยู่ในภาวะร้อนแรง เนื่องจากมีการปรับทบทวนตัวเลของเดือนมี.ค.ให้ต่ำลงจากเดิม หลังจากที่เคยรายงานว่าอยู่ที่ +0.2% ในเดือนมี.ค. นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐก็อาจได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการดิ่งลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐด้วย โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงจาก 4.481% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.445% ในช่วงท้ายวันอังคาร ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น ดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นปรับลง 0.2% และถือเป็นกลุ่มที่ปรับลงมากที่สุดในวันอังคาร ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีพุ่งขึ้น 0.9% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันอังคาร ทางด้านหุ้นบริษัทแอลฟาเบทปิดบวกขึ้น 0.7% หลังจากแอลฟาเบทเปิดเผยวิธีการที่ทางบริษัทนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้งานในธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงใน Gemini ซึ่งเป็นโปรแกรมโต้ตอบข้อความ อย่างไรก็ดี หุ้นโฮม ดีโปท์ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกปรับลง 0.1% ในวันอังคาร หลังจากโฮม ดีโปท์รายงานว่า ยอดขายดิ่งลงอย่างรุนแรงเกินคาด Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.32% สู่ 39,558.11 ในวันอังคาร และอยู่ห่างจากสถิติระดับปิดสูงสุดที่เคยทำไว้ในวันที่ 28 มี.ค.ในระดับไม่ถึง 1%
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.48% สู่ 5,246.68 ในวันอังคาร และอยู่ห่างจากสถิติระดับปิดสูงสุดที่เคยทำไว้ในวันที่ 28 มี.ค.เพียง 0.1%
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.75% สู่ 16,511.18 ในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ โดยสามารถทำลายสถิติเดิมที่เคยทำไว้ในวันที่ 11 เม.ย.
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันอังคาร หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐสำหรับอุปสงค์ขั้นสุดท้ายปรับขึ้น 0.5% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.3% หลังจากดัชนี PPI ปรับลง 0.1% ในเดือนมี.ค. โดยรายงานตัวเลขนี้ทำให้นักลงทุนกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไป ทางด้านนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดกล่าวว่า เขาคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐจะยังคงชะลอตัวลงต่อไปในปี 2024 แต่ความเชื่อมั่นของเขาลดลงในตอนนี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่สูงเกินคาดในไตรมาสแรก อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันยังคงได้รับแรงหนุนเข้ามาบ้างในวันอังคารจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง และจากไฟป่าในแคนาดา ซึ่งอาจจะสร้างความเสียหายต่อปริมาณการผลิตทรายน้ำมันในแคนาดา ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 พ.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 3.104 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐดิ่งลง 1.269 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillates ในคลังสหรัฐปรับขึ้น 673,000 บาร์เรล ทางด้านกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ได้เปิดเผยรายงานรายเดือนในวันอังคารด้วยเช่นกัน โดยทางกลุ่มยังคงคาดว่า อุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2024 โดยคาดว่าอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้น 2.25 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2024 และเพิ่มขึ้น 1.85 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2025 Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมิ.ย.รูดลง 1.10 ดอลลาร์ หรือ 1.39% มาปิดตลาดที่ 78.02 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 98 เซนต์ หรือ 1.18% มาปิดตลาดที่ 82.38 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้น 21.92 ดอลลาร์ สู่ 2,357.97 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ และจากการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐสำหรับอุปสงค์ขั้นสุดท้ายปรับขึ้น 0.5% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.3% โดยรายงานนี้บ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้ออาจจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน