ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--2 พ.ค.--รอยเตอร์
เยนพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในช่วงเย็นวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนตั้งข้อสงสัยว่า ทางการญี่ปุ่นอาจจะเข้ามาแทรกแซงตลาดเพื่อช่วยหนุนค่าเงินเยน โดยดอลลาร์/เยนได้ดิ่งลงแตะ 153.16 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. จากระดับราว 157.55 เยนในช่วงก่อนหน้านั้น และเหตุการณ์นี้ก็เกิดขึ้นหลังจากตลาดหุ้นสหรัฐปิดทำการ และหลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เสร็จสิ้นจากการจัดงานแถลงข่าว ดังนั้นนักลงทุนบางรายจึงคาดว่าเหตุการณ์นี้อาจเกิดจากการแทรกแซงตลาด โดยเฉพาะหลังจากที่ดอลลาร์/เยนเคยดิ่งลงแตะ 154 เยนในวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 160.245 เยนในช่วงแรกของวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 หรือจุดสูงสุดรอบ 34 ปี ทั้งนี้ ข้อมูลจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) แสดงให้เห็นว่า บีโอเจอาจใช้เงินราว 5.5 ล้านล้านเยน (3.506 หมื่นล้านดอลลาร์) ในการเข้าช่วยหนุนค่าเงินเยนในวันจันทร์ โดยเป็นการดำเนินการในฐานะตัวแทนของกระทรวงการคลังญี่ปุ่น Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.71 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยร่วงลงจาก 106.31 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 106.49 ในช่วงแรก ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 เม.ย. โดยถ้าหากดัชนีดอลลาร์สามารถทะยานขึ้นเหนือ 106.51 ดัชนีดอลลาร์ก็จะสามารถพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. 2023
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 154.97 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยดิ่งลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 157.80 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 158.01 เยนในช่วงแรกของวันพุธ
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0709 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0665 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร
ดัชนีดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันพุธ แต่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ปิดปรับลงในวันพุธ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค.ตามความคาดหมาย และส่งสัญญาณบ่งชี้ว่า ความเคลื่อนไหวครั้งถัดไปของเฟดน่าจะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่ยังไม่มีการรับประกันว่าจะมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่เฟดก็ได้ย้ำถึงความกังวลที่ว่า ในช่วงต้นปีนี้พวกเขาแทบไม่มีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มพลังงานถือเป็นกลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุดในวันพุธ ในขณะที่หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ทางด้านดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐรูดลง 3.5% ในวันพุธ ในขณะที่หุ้นบริษัทแอดวานซ์ ไมโคร ดีไวเซส (AMD) ดิ่งลง 9.0% หลังจาก AMD คาดการณ์ยอดขายชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในระดับที่น่าผิดหวัง และหุ้นบริษัทซูเปอร์ ไมโคร คอมพิวเตอร์รูดลง 14.0% หลังจากทางบริษัทเปิดเผยรายได้รายไตรมาสที่ต่ำเกินคาด อย่างไรก็ดี หุ้นบริษัทอเมซอนดอทคอมพุ่งขึ้น 2.2% ในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการรายไตรมาสที่ดีเกินคาด ในขณะที่กระแสความสนใจใน AI ช่วยหนุนธุรกิจการประมวลผลระบบคลาวด์ของอะเมซอน Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.23% สู่ 37,903.29
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.34% สู่ 5,018.39
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.33% สู่ 15,605.48.
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันพุธ โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงการที่นักลงทุนปรับลดความหวังที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคตอันใกล้นี้ และจากการคาดการณ์ที่ว่า อาจจะมีการบรรลุข้อตกลงเรื่องการหยุดยิงระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส หลังจากสหรัฐกับอียิปต์พยายามผลักดันให้มีการบรรลุข้อตกลงกัน อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลประกาศว่าจะยังคงเดินหน้าแผนการโจมตีเมืองราฟาห์ในภาคใต้ของกาซาต่อไป นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงกดดันจากตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐที่พุ่งขึ้นอย่างพลิกความคาดหมายด้วย ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 7.3 ล้านบาร์เรล สู่ 460.9 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 เม.ย. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2023 และสวนทางกับโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจดิ่งลง 1.1 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐเพิ่มขึ้น 300,000 บาร์เรล สู่ 227.1 ล้านบาร์เรล ทางด้านสต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil ร่วงลง 700,000 บาร์เรล สู่ 115.9 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมิ.ย.ดิ่งลง 2.93 ดอลลาร์ หรือ 3.6% มาปิดตลาดที่ 79.00 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 2.89 ดอลลาร์ หรือ 3.4% มาปิดตลาดที่ 83.44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันพุธ แต่ราคาสัญญาเดือนก.ค.ดิ่งลงราว 5.0% จากระดับปิดของราคาสัญญาเดือนมิ.ย.ในช่วงปิดตลาดวันอังคาร ซึ่งถือเป็นวันสุดท้ายที่สัญญาเดือนมิ.ย.ถือเป็นสัญญาเดือนใกล้ ดังนั้นจึงเท่ากับว่าราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนใกล้ดิ่งลงในวันพุธในอัตราที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2023 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดวันพุธที่ระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. และส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์เข้าสู่ภาวะที่มีคำสั่งขายเข้ามามากเกินไปในตลาด (oversold) เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2023
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้น 32.33 ดอลลาร์ หรือ 1.41% สู่ 2,317.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ ในขณะที่ราคาทองได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และจากการดิ่งลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังจากเฟดประกาศผลการประชุมกำหนดอัตราดอกเบี้ย และนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดจัดงานแถลงข่าว ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงจาก 4.684% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 4.591% ในช่วงท้ายวันพุธ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--30 เม.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์/เยนพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 34 ปีในช่วงแรกของวันจันทร์ ก่อนจะดิ่งลงราว 5 เยนในเวลาต่อมา ในขณะที่เทรดเดอร์ระบุว่าการดิ่งลงดังกล่าวเกิดจากการที่ทางการญี่ปุ่นได้เข้ามาแทรกแซงตลาดด้วยการซื้อเยนเป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือน นอกจากนี้ ปริมาณการซื้อขายในตลาดเอเชียก็อยู่ในระดับเบาบางกว่าปกติด้วย เนื่องจากวันจันทร์นี้เป็นวันหยุดราชการของญี่ปุ่นในสัปดาห์โกลเดน วีค ทั้งนี้ นายมาซาโตะ คันดะ รมช.คลังญี่ปุ่นฝ่ายกิจการระหว่างประเทศกล่าวในวันจันทร์ว่า ความเคลื่อนไหวในตลาดปริวรรตเงินตราในปัจจุบันนี้ "เกิดจากการเก็งกำไร, ดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก และอย่างผิดปกติ" และญี่ปุ่นไม่สามารถมองข้ามความเคลื่อนไหวเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ดี เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ทางการญี่ปุ่นได้เข้ามาแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราในวันจันทร์เพื่อช่วยหนุนค่าเงินเยนหรือไม่ นายคันดะก็ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นต่อประเด็นนี้ ทางด้านหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลรายงานว่า แหล่งข่าวกล่าวว่าทางการญี่ปุ่นได้เข้ามาแทรกแซงตลาด Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.69 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยร่วงลงจาก 106.08 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 156.33 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยดิ่งลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 158.33 เยน โดยดอลลาร์ได้พุ่งขึ้นแตะ 160.245 เยนในช่วงแรก ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 หรือจุดสูงสุดรอบ 34 ปี ก่อนจะดิ่งลงแตะ 154.4 เยนในเวลาต่อมา
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0719 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0692 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทเทสลาและหุ้นบริษัทแอปเปิล โดยหุ้นเทสลาพุ่งขึ้น 15.3% หลังจากมีความคืบหน้าในเรื่องที่เทสลาขออนุมัติทางกฎระเบียบสำหรับการเปิดใช้ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูงในจีน ในขณะที่จีนถือเป็นตลาดขนาดใหญ่อันดับสองของเทสลา โดยรองจากสหรัฐ ทางด้านหุ้นแอปเปิลทะยานขึ้น 2.5% หลังจากมีข่าวว่าแอปเปิลได้เปิดการเจรจากับบริษัท OpenAI อีกครั้งเพื่อใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) แบบรู้สร้างของ OpenAI โดยบริษัทเบิร์นสไตน์ได้ปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นแอปเปิลสู่ "outperform" นอกจากนี้ หุ้นบริษัทเอ็นวิเดียก็ปิดขยับขึ้น 0.03% แต่หุ้นบริษัทขนาดยักษ์แห่งอื่น ๆ ร่วงลง โดยหุ้นแอลฟาเบทดิ่งลง 3.37%, หุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์รูดลง 2.41% และหุ้นไมโครซอฟท์ดิ่งลง 1.00% ทั้งนี้ หุ้น 9 กลุ่มจาก 11 กล่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนบวก โดยหุ้นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากในวันจันทร์รวมถึงหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย, กลุ่มสาธารณูปโภค, กลุ่มอสังหาริมทรัพย์, กลุ่มวัสดุ และกลุ่มอุตสาหกรรม แต่หุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารกับหุ้นกลุ่มการเงินดิ่งลง ทางด้านนักลงทุนรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. เพื่อดูว่าเฟดจะส่งสัญญาณแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอย่างไรบ้าง Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.38% สู่ 38,386.09
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.32% สู่ 5,116.17
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.35% สู่ 15,983.08
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันจันทร์ ในขณะที่มีการเจรจาเรื่องการหยุดยิงระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสที่กรุงไคโร และปัจจัยดังกล่าวช่วยลดความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยผู้นำของกลุ่มฮามาสได้เดินทางมาถึงกรุงไคโรเพื่อเจรจารอบใหม่กับผู้ไกล่เกลี่ยจากอียิปต์และกาตาร์ ทางด้านนายซาเมห์ ชูครี รมว.ต่างประเทศของอียิปต์กล่าวว่า รัฐบาลอียิปต์ตั้งความหวังต่อข้อเสนอในการหยุดยิงและการปล่อยตัวประกันในเขตฉนวนกาซา แต่อียิปต์ยังคงรอคอยคำตอบจากอิสราเอลและกลุ่มฮามาสที่มีต่อข้อเสนอนี้ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ด้วย หลังจากสำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจ (BEA) ในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นิยมใช้ ปรับขึ้น 2.7% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2.6% หลังจากปรับขึ้น 2.5% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายปี Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมิ.ย.รูดลง 1.22 ดอลลาร์ หรือ 1.5% มาปิดตลาดที่ 82.63 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.10 ดอลลาร์ หรือ 1.2% มาปิดตลาดที่ 88.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่ราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.รูดลง 1.01 ดอลลาร์ มาปิดตลาดที่ 87.20 ดอลลาร์
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับลง 3.28 ดอลลาร์ สู่ 2,334.44 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. และรอดูตัวเลขการจ้างงานประจำเดือนเม.ย.ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 3 พ.ค. โดยก่อนหน้านี้ราคาทองเพิ่งดิ่งลง 2.2% ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับแรงกดดันจากการที่ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางลดระดับลง และจากการที่นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด อย่างไรก็ดี ราคาทองได้รับแรงหนุนเข้ามาบ้างในวันจันทร์จากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ เพราะการอ่อนค่าของดอลลาร์ช่วยให้ทองมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--29 เม.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 34 ปีเมื่อเทียบกับเยนในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนบางส่วนจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่ไม่ได้ชะลอตัวลง และรายงานตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวก็ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มที่จะเลื่อนเวลาในปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไป ทั้งนี้ สำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจ (BEA) ในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดนิยมใช้ ปรับขึ้น 0.3% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งตรงกับตัวเลขคาดการณ์ในตลาด หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ. ส่วนดัชนี PCE แบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.7% ในเดือนมี.ค. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2.6% หลังจากปรับขึ้น 2.5% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายปี ทางด้านดัชนี PCE พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานปรับขึ้น 0.3% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ. ส่วนดัชนี PCE พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.8% ในเดือนมี.ค. หลังจากปรับขึ้น 2.8% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายปี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.96 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 105.60 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 158.33 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยพุ่งขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 155.65 เยน หลังจากทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 158.43 เยน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปี 1990 เป็นต้นมา หรือจุดสูงสุดรอบ 34 ปี และเทียบกับจุดต่ำสุดของวันที่ 154.97 เยน โดยดอลลาร์/เยนปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 2.39% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนม.ค.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0692 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยร่วงลงจาก 1.0729 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี แต่ยูโรปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับขึ้น 0.36% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มเติบโต หลังจากบริษัทแอลฟาเบทและบริษัทไมโครซอฟท์เปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสที่แข็งแกร่ง และหลังจากรัฐบาลสหรัฐเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อในระดับปานกลาง โดยหุ้นแอลฟาเบทพุ่งขึ้น 10.22% ในวันศุกร์ และทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดได้ในระหว่างวัน หลังจากแอลฟาเบทประกาศจ่ายเงินปันผลครั้งแรก, ประกาศโครงการซื้อคืนหุ้นขนาด 7.0 หมื่นล้านดอลลาร์ และประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกที่ดีเกินคาด โดยการพุ่งขึ้นของหุ้นแอลฟาเบทในวันศุกร์ส่งผลให้มูลค่าในตลาดของแอลฟาเบททะยานขึ้นเหนือระดับ 2 ล้านล้านดอลลาร์ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2021 เป็นต้นมา ทางด้านหุ้นไมโครซอฟท์พุ่งขึ้น 1.8% ในวันศุกร์ หลังจากไมโครซอฟท์ประกาศผลกำไรและรายได้รายไตรมาสที่ดีเกินคาด โดยได้รับแรงหนุนจากการที่ไมโครซอฟท์นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในบริการคลาวด์ของไมโครซอฟท์ นอกจากนี้ หุ้นบริษัทขนาดยักษ์แห่งอื่น ๆ ก็ทะยานขึ้นด้วยเช่นกัน โดยหุ้นอะเมซอทดอทคอมพุ่งขึ้น 3.4%, หุ้นเอ็นวิเดียทะยานขึ้น 5.8% และหุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์บวกขึ้น 0.4% อย่างไรก็ดี หุ้นบริษัทแอปเปิลปรับลง 0.3% และหุ้นบริษัทเทสลาดิ่งลง 1.1% ในวันศุกร์ ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 6 กลุ่มใหญ่ปิดตลาดวันศุกร์ในแดนบวก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสาร, กลุ่มเทคโนโลยี, กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย และกลุ่มวัสดุ ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงจาก 4.706% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี สู่ 4.669% ในช่วงท้ายวันศุกร์ หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า อัตราเงินเฟ้อปรับขึ้นปานกลางในเดือนมี.ค. Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.40% สู่ 38,239.66
ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 1.02% สู่ 5,099.96 โดยดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. 2023 และดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกหลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบมานานติดต่อกัน 3 สัปดาห์
ดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 2.03% สู่ 15,927.90 โดยดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. 2023 และดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกหลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบมานานติดต่อกัน 4 สัปดาห์
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง ในขณะที่อิสราเอลเร่งดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อเมืองราฟาห์ในเขตกาซาในวันพฤหัสบดี และนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลกล่าวว่า คำตัดสินใด ๆ ของศาลอาญาระหว่างประเทศที่มีต่อกรณีที่กลุ่มฮามาสโจมตีอิสราเอลในวันที่ 7 ต.ค. 2023 และต่อการที่กองทัพอิสราเอลโจมตีเขตกาซา จะไม่ส่งผลกระทบต่อปฏิบัติการของอิสราเอล แต่จะ "เป็นการสร้างแบบอย่างที่เป็นอันตราย" นอกจากนี้ กองทัพอิสราเอลก็แถลงในวันศุกร์ว่า กองทัพอากาศได้โจมตีเขตเวสท์เบคาในเลบานอนและได้สังหารนักรบรายหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ราคาน้ำมันปรับขึ้นได้ไม่มากนักในวันศุกร์ เนื่องจากราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐ เพราะตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวทำให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมิ.ย.ปรับขึ้น 28 เซนต์ หรือ 34% มาปิดตลาดที่ 83.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 49 เซนต์ หรือ 0.55% มาปิดตลาดที่ 89.50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 5.94 ดอลลาร์ สู่ 2,337.72 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ตรงตามความคาดหมาย อย่างไรก็ดี ราคาทองปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 2.21% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2023 โดยได้รับแรงกดดันจากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับอิหร่านที่ไม่ได้ทวีความรุนแรงขึ้นตามความคาดหมายในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงจาก 4.706% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี สู่ 4.669% ในช่วงท้ายวันศุกร์ และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ก็มีส่วนช่วยหนุนราคาทองในวันศุกร์ด้วย ทางด้านนายไท หว่อง เทรดเดอร์โลหะอิสระกล่าวว่า "แนวโน้มของราคาทองขึ้นอยู่กับกระแสความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย และคำสั่งซื้อจากภูมิภาคตะวันออกไกล" และเขาคาดว่าราคาทองจะสร้างฐานที่ระดับ 2,300-2,400 ดอลลาร์ในระยะสั้น Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--26 เม.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินหลายสกุลยกเว้นเยนในวันพฤหัสบดี หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโต 1.6% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +2.4% แต่ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐานปรับขึ้น 3.7% ในไตรมาสแรก ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ +3.4% และปัจจัยนี้อาจจะเป็นอุปสรรคขัดขวางธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ หลังจากรัฐบาลสหรัฐรายงานตัวเลขจีดีพี นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าก็คาดการณ์ว่า มีโอกาส 58% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. โดยปรับลดลงจากโอกาส 70% ที่เคยคาดไว้ในช่วงเย็นวันพุธ และนักลงทุนยังคาดการณ์กันอีกด้วยว่า มีโอกาส 68% ที่เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 6-7 พ.ย. ซึ่งจะถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.60 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจาก 105.80 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 106.00
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 155.65 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 155.34 เยน หลังจากดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดของวันที่ 155.31 เยน และหลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 155.75 เยน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 34 ปี หรือจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0729 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยปรับขึ้นจาก 1.0697 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ
ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงกดดันจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐที่ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโต 1.6% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี และอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +2.4% แต่ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐานปรับขึ้น 3.7% ในไตรมาสแรก ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ +3.4% โดยรายงานนี้ส่งผลให้นักลงทุนในตลาดเงินคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 0.36% ในปีนี้ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐก็ได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากหุ้นบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ที่ดิ่งลง 10.56% ในวันพฤหัสบดีด้วย หลังจากเมตาเปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวัง ทางด้านหุ้นอีก 3 ตัวในกลุ่ม Magnificent Seven ของสหรัฐก็รูดลงในวันพฤหัสบดีด้วยเช่นกัน ซึ่งรวมถึงหุ้นแอลฟาเบทที่ดิ่งลง 1.97%, หุ้นอะเมซอนดอทคอมที่รูดลง 1.65% และหุ้นไมโครซอฟท์ที่ดิ่งลง 2.45% ในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ การดิ่งลงของหุ้นเมตาส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มการสื่อสารของสหรัฐกลายเป็นหุ้นกลุ่มใหญ่ที่รูดลงมากที่สุดในวันพฤหัสบดี ส่วนหุ้นกลุ่มอื่น ๆ ที่รูดลงในวันพฤหัสบดีรวมถึงหุ้นกลุ่มการแพทย์, กลุ่มอสังหาริมทรัพย์, กลุ่มการเงิน, กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น และกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย ทางด้านหุ้นบริษัทอินเตอร์เนชันแนล บิสเนส แมชชีนส์ (IBM) ดิ่งลง 8% หลังจาก IBM ประกาศเรื่องการทำข้อตกลงขนาด 6.4 พันล้านดอลลาร์เพื่อเข้าซื้อบริษัทฮาชิ คอร์ป อย่างไรก็ดี หุ้นนิวมอนท์ ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองแร่ทองที่ใหญ่ที่สุดในโลกพุ่งขึ้น 12% หลังจากนิวมอนท์รายงานผลกำไรไตรมาสแรกที่สูงเกินคาด โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาทองในช่วงที่ผ่านมา Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดดิ่งลง 0.98% สู่ 38,085.80
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.46% สู่ 5,048.42
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.64% สู่ 15,611.76
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมันในภูมิภาคตะวันออกกลาง ในขณะที่อิสราเอลดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อเมืองราฟาห์ในภาคใต้ของเขตกาซา หลังจากอิสราเอลประกาศว่าจะอพยพพลเรือนออกจากเมืองราฟาห์และจะเริ่มการโจมตีอย่างเต็มรูปแบบ ถึงแม้ชาติพันธมิตรเตือนว่าการทำเช่นนี้จะส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากถ้อยแถลงของเจเน็ต เยลเลน รมว.คลังสหรัฐที่ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะที่ดีมาก โดยเยลเลนได้กล่าวต่อรอยเตอร์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งกว่าที่ตัวเลขไตรมาสแรกบ่งชี้ไว้ และเธอกล่าวเสริมว่า อาจจะมีการปรับทบทวนตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำไตรมาสแรกให้สูงขึ้นในเวลาต่อมา หลังจากสหรัฐได้รับข้อมูลเพิ่มเติม และอัตราเงินเฟ้อก็จะชะลอตัวลงสู่ระดับปกติมากกว่านี้ หลังจากปัจจัยที่ผิดปกติบางประการทำให้เศรษฐกิจเติบโตในไตรมาสแรกในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมิ.ย.ปรับขึ้น 76 เซนต์ หรือ 0.9% มาปิดตลาดที่ 83.57 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 99 เซนต์ หรือ 1.1% มาปิดตลาดที่ 89.01 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 15.96 ดอลลาร์ สู่ 2,331.78 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่สูงเกินคาดในไตรมาสแรก ทั้งนี้ ยอดการนำเข้าทองสุทธิจากฮ่องกงสู่จีนพุ่งขึ้น 40% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน โดยพุ่งขึ้นสู่ 55.836 ตันในเดือนมี.ค. จาก 39.826 ตันในเดือนก.พ. โดยจีนถือเป็นประเทศผู้ใช้ทองรายใหญ่ที่สุดในโลก Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--19 เม.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในวันพฤหัสบดี ในขณะที่สหรัฐรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ไร้ทิศทางชัดเจน และตัวเลขดังกล่าวยังคงทำให้นักลงทุนมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และมองว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2020 ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. โดยเลื่อนจากเดิมที่เคยคาดไว้เมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อนว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. นอกจากนี้ นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้ายังคาดการณ์กันอีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 0.38% ในปี 2024 หรือปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงครั้งละ 0.25% เป็นจำนวนไม่ถึง 2 ครั้ง หลังจากที่นักลงทุนเคยคาดไว้เมื่อต้นปีนี้ว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 6 ครั้งในปี 2024 ทั้งนี้ ดอลลาร์ได้รับแรงหนุน หลังจากนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์คกล่าวว่า เฟดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในตอนนี้ เมื่อพิจารณาจากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 106.17 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจาก 105.96 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 106.51 ในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2023 หรือจุดสูงสุดรอบ 5 เดือนครึ่ง โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้ว 4.5% จากช่วงต้นปีนี้
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 154.63 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 154.38 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 154.79 เยนในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 34 ปี หรือจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0643 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0671 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากร่วงลงแตะ 1.0599 ดอลลาร์ในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. 2023 หรือจุดต่ำสุดรอบ 5 เดือนครึ่ง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดขยับขึ้นในวันพฤหัสบดี แต่ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ปรับลง ในขณะที่นักลงทุนพิจารณาผลประกอบการภาคเอกชนของสหรัฐ และนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง และเจ้าหน้าที่เฟดก็ส่งสัญญาณว่าเฟดจะไม่รีบร้อนปรับลดอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน โดยนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์คกล่าวในวันพฤหัสบดีว่า เฟดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในตอนนี้ เมื่อพิจารณาจากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ทางด้านนายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดสาขาแอตแลนตากล่าวว่า เขาพึงพอใจที่จะใช้ความอดทน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงสู่ระดับเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% อย่างเชื่องช้าเกินคาด ทั้งนี้ หุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์พุ่งขึ้น 1.54% สู่ 501.80 ดอลลาร์ และถือเป็นหุ้นที่ส่งแรงบวกมากที่สุดต่อดัชนี S&P 500 หลังจากบริษัทเบิร์นสไตน์ปรับขึ้นราคาเป้าหมายของหุ้นเมตาสู่ 590 ดอลลาร์ จากเดิมที่ 535 ดอลลาร์ อย่างไรก็ดี หุ้นลาสเวกัส แซนด์ซึ่งทำธุรกิจคาสิโนดิ่งลง 8.66% และถือเป็นหุ้นที่ดิ่งลงมากที่สุดในดัชนี S&P 500 ในขณะที่บริษัทโบรกเกอร์หลายแห่งปรับลดราคาเป้าหมายของหุ้นตัวนี้ โดยให้เหตุผลว่ากิจการของลาสเวกัส แซนด์ในมาเก๊าอยู่ในภาวะอ่อนแอ ทางด้านหุ้นบริษัทเอควิแฟกซ์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรูดลง 8.49% หลังจากทางบริษัทคาดการณ์รายได้ไตรมาสสองที่ต่ำเกินคาด Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น 0.06% สู่ 37,775.38
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.22% สู่ 5,011.12 ในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดในแดนลบเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน และถือเป็นการปิดตลาดในแดนลบติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2023 หลังจากดัชนีเพิ่งพุ่งขึ้นมานานติดต่อกัน 5 เดือนนับตั้งแต่เดือนพ.ย.เป็นต้นมา
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.52% สู่ 15,601.50
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ขยับขึ้นเล็กน้อย แต่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลงในวันพฤหัสบดี ในขณะที่นักลงทุนพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ไร้ทิศทางชัดเจนในสหรัฐ, มาตรการของสหรัฐที่ใช้ในการคว่ำบาตรเวเนซูเอลาและอิหร่าน และความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ลดระดับลง ทางด้านราคาสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดีเซลในสหรัฐได้ดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนม.ค. หรือจุดต่ำสุดรอบ 15 สัปดาห์ และส่งผลให้ค่าแครกสเปรดของน้ำมันดีเซล ซึ่งใช้วัดอัตราผลกำไรในการกลั่นน้ำมันดีเซล รูดลงแเตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2023 ทั้งนี้ เวเนซูเอลาได้สูญเสียใบอนุญาตสำคัญของสหรัฐที่อนุญาตให้เวเนซูเอลาส่งออกน้ำมันสู่ตลาดโลก และปัจจัยนี้จะส่งผลลบต่อปริมาณการขายน้ำมันดิบและเชื้อเพลิงของเวเนซูเอลา ทางด้านสหรัฐได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านด้วยเช่นกัน โดยตั้งเป้าหมายไปยังการผลิตอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ของอิหร่าน หลังจากอิหร่านใช้โดรนโจมตีอิสราเอลในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่มาตรการคว่ำบาตรใหม่นี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันของอิหร่าน ในขณะที่อิหร่านถือเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ค.ขยับขึ้น 4 เซนต์ หรือ 0.1% มาปิดตลาดที่ 82.73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันพฤหัสบดี หลังจากเพิ่งปิดตลาดวันพุธที่ระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 18 เซนต์ หรือ 0.2% มาปิดตลาดที่ 87.11 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค. โดยเบรนท์ดิ่งลงมาแล้วราว 3.5% ในช่วง 3 วันทำการที่ผ่านมา
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้น 17.44 ดอลลาร์ สู่ 2,378.25 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง และปัจจัยบวกนี้ช่วยบดบังแรงกดดันที่ราคาทองได้รับจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในสหรัฐ ทั้งนี้ อิสราเอลส่งสัญญาณว่า อิสราเอลจะตอบโต้อิหร่านที่ได้ใช้โดรนและขีปนาวุธโจมตีอิสราเอลในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ถึงแม้ชาติตะวันตกพยายามเรียกร้องให้อิสราเอลใช้ความอดทนอดกลั้น Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com ; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ-18- เม.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในวันพุธ ซึ่งถือเป็นการปรับลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 วันทำการ ในขณะที่นักลงทุนพักการเข้าซื้อดอลลาร์ หลังจากดอลลาร์เคยพุ่งขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้โดยได้รับแรงหนุนจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่บ่งชี้ว่า เฟดจะยังไม่เริ่มต้นวัฏจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้จนกว่าจะได้ดูตัวเลขเศรษฐกิจใหม่ ทางด้านธนาคารกลางสำคัญแห่งอื่น ๆ ยังคงมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคตเหมือนเดิม ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในระยะนี้แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะแข็งแกร่งเกินคาด และปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด ทางด้านเฟดได้เปิดเผยรายงาน Beige Book ออกมาในวันพุธ โดยรายงานระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐขยายตัวเล็กน้อยในช่วงตั้งแต่ปลายเดือนก.พ.จนถึงต้นเดือนเม.ย. และบริษัทสหรัฐคาดการณ์ว่า แรงกดดันเงินเฟ้อจะทรงตัว Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.96 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยร่วงลงจาก 106.33 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 106.51 ในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2023 หรือจุดสูงสุดรอบ 5 เดือนครึ่ง โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้วราว 4.7% จากช่วงต้นปีนี้
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 154.38 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 154.71 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 154.79 เยนในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 34 ปี หรือจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0671 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0617 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากร่วงลงแตะ 1.0599 ดอลลาร์ในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. 2023 หรือจุดต่ำสุดรอบ 5 เดือนครึ่ง
ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงหลังจากแกว่งตัวผันผวนในระหว่างวัน ในขณะที่นักลงทุนพยายามประเมินจุดยืนด้านอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และปรับตัวรับผลประกอบการที่อ่อนแอในช่วงต้นของฤดูการรายงานผลประกอบการ โดยหุ้นบริษัทแทรเวเลอร์ส ซึ่งเป็นบริษัทประกันยักษ์ใหญ่ดิ่งลง 7.41% และถือเป็นหุ้นที่ถ่วงดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลงมากที่สุดในวันพุธ หลังจากแทรเวเลอร์สเปิดเผยผลกำไรไตรมาสแรกที่ต่ำเกินคาด ส่วนหุ้นบริษัทโพรโลจิส ซึ่งเป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) กลุ่มโกดังสินค้ารูดลง 7.19% หลังจากทางบริษัทเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาส ทางด้านหุ้นบริษัทแอบบอทท์ แลบอราทอรีส์ซึ่งทำธุรกิจเวชภัณฑ์ดิ่งลง 3.03% หลังจากแอบบอทท์คาดการณ์แนวโน้มรายปีที่น่าผิดหวัง ทั้งนี้ ตลาดหุ้นได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยในตอนนี้นักลงทุนคาดว่า มีโอกาสเพียง 16.8% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25% ในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. และมีโอกาสเพียง 46% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 30-31 ก.ค. อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นลดช่วงติดลบกลับขึ้นมาได้บ้าง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงจาก 4.657% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 4.585% ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากสหรัฐเปิดประมูลพันธบัตรอายุ 20 ปีและได้รับการตอบรับอย่างแข็งแก่ง Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับลง 0.12% สู่ 37,753.31
ดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลง 0.58% สู่ 5,022.21 ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดในแดนลบเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบกว่า 4 เดือน และมีแนวโน้มว่าดัชนีอาจจะปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกันด้วย
ดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 1.15% สู่ 15,683.37
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันพุธ โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงการพุ่งขึ้นของสต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐ, ตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอในจีน และความคืบหน้าของสหรัฐในการผลักดันร่างกฎหมายให้ความช่วยเหลือแก่อิสราเอลและยูเครน โดยนายไมค์ จอห์นสัน ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐกล่าวว่า จะมีการเปิดเผยเนื้อหาในร่างกฎหมาย 4 ฉบับในวันพุธ ซึ่งได้แก่ร่างกฎหมายเรื่องการให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครน, อิสราเอล และภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และร่างกฎหมายเรื่องมาตรการรับมือกับรัสเซีย, จีน และอิหร่าน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงกดดันจากการที่อิสราเอลยังไม่ได้ตอบโต้อิหร่านด้วย หลังจากอิหร่านใช้โดรนและขีปนาวุธโจมตีอิสราเอลโดยตรงในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันในคลังสหรัฐออกมาในวันพุธ โดยระบุว่าสต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 2.7 ล้านบาร์เรล สู่ 460 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 เม.ย. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่าอาจเพิ่มขึ้นเพียง 1.4 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐดิ่งลง 1.2 ล้านบาร์เรล สู่ 227.4 ล้านบาร์เรล ทางด้านสต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil รูดลง 2.8 ล้านบาร์เรล สู่ 115 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ค.รูดลง 2.67 ดอลลาร์ หรือ 3.1% มาปิดตลาดที่ 82.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค.
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 2.73 ดอลลาร์ หรือ 3% มาปิดตลาดที่ 87.29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐดิ่งลง 22.02 ดอลลาร์ สู่ 2,360.81 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ แต่ยังคงเคลื่อนตัวอยู่ใกล้สถิติสูงสุดที่ 2,431.29 ดอลลาร์ที่เคยทำไว้ในวันศุกร์ที่ 12 เม.ย. ในขณะที่ราคาทองได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และปัจจัยลบดังกล่าวบดบังแรงหนุนที่ราคาทองได้รับจากคำสั่งซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com ; โทร 08-7689-6043;
วอชิงตัน--17 เม.ย.--รอยเตอร์
สำนักงานสำมะโนประชากรในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันจันทร์ว่า ยอดค้าปลีกของสหรัฐพุ่งขึ้น 0.7% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.3% หลังจากยอดค้าปลีกทะยานขึ้น 0.9% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 1 ปี ส่วนยอดค้าปลีกแบบเทียบรายปีทะยานขึ้น 4.0% ในเดือนมี.ค.ปีนี้เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อน โดยยอดค้าปลีกเป็นตัวเลขที่ครอบคลุมภาคสินค้าเป็นส่วนใหญ่ และไม่ได้ปรับตัวตามภาวะเงินเฟ้อ ทางด้านยอดขายในร้านอาหารและบาร์ ซึ่งถือเป็นตัวเลขของภาคบริการเพียงตัวเลขเดียวที่ได้รับการรวบรวมไว้ในรายงานยอดค้าปลีก และถือเป็นมาตรวัดฐานะการเงินของภาคครัวเรือน ปรับขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.5% ในเดือนก.พ. ทั้งนี้ ตัวเลขยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโกลด์แมน แซคส์คาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของสหรัฐ (จีดีพี) อาจเติบโต 3.1% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) โดยปรับขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 2.5% สำหรับไตรมาสแรก หลังจากเศรษฐกิจสหรัฐเติบโต 3.4% ในไตรมาส 4/2023
รายงานตัวเลขยอดค้าปลีกนี้ถือเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในภาวะแข็งแกร่งในช่วงปลายไตรมาสแรก หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งและอัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคที่เร่งตัวขึ้นในเดือนมี.ค. และรายงานยอดค้าปลีกนี้ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มต้นวัฏจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. ทั้งนี้ แคธี บอสท์ยานซิค หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทเนชันไวด์กล่าวว่า "ยิ่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะแข็งแกร่งมากเพียงใด อัตราเงินเฟ้อก็จะปรับลดลงอย่างเชื่องช้ามากเพียงนั้น และจะยิ่งส่งผลให้เฟดเลื่อนเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไปอีก" และเธอกล่าวเสริมว่า "การที่อัตราเงินฟ้อและปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคไม่ได้ชะลอตัวลง อาจจะส่งผลให้เฟดเลื่อนเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไปสู่ปีหน้า"
ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยในสหรัฐก็ยังคงรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้ โดยรายงานการใช้บัตรเครดิตอันล่าสุดที่จัดทำโดยธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกาแสดงให้เห็นว่า การใช้จ่ายของผู้มีรายได้ต่ำยังคงเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าการใช้จ่ายของผู้มีรายได้สูง โดยนักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทแบงก์ ออฟ อเมริกา ซีเคียวริตีส์ระบุว่า "เหตุผลสำคัญก็คือว่า ถึงแม้ผู้บริโภคที่มีรายได้ต่ำได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษจากภาวะเงินเฟ้อ ผู้บริโภคกลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง คนงานที่มีรายได้ต่ำเป็นกลุ่มที่มีค่าแรงพุ่งขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติโรคระบาดเป็นต้นมา" ทั้งนี้ การจ้างงานในสหรัฐพุ่งขึ้น 276,000 ตำแหน่งต่อเดือนในไตรมาสแรก หลังจากปรับขึ้น 212,000 ตำแหน่งต่อเดือนในไตรมาส 4/2023 ส่วนค่าแรงแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 4.1% ในเดือนมี.ค. ซึ่งถือเป็นอัตราการปรับขึ้นที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2021 หรือต่ำที่สุดในรอบกว่า 2 ปีครึ่ง หลังจากปรับขึ้น 4.3% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายปี ทางด้านนักลงทุนมองว่า ค่าแรงที่ปรับขึ้น 3%-3.5% ถือเป็นระดับที่สอดคล้องกับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตั้งไว้ที่ 2%
ยอดค้าปลีกของสหรัฐในเดือนมี.ค.ได้รับแรงหนุนจากยอดขายสินค้าออนไลน์ที่พุ่งขึ้น 2.7% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.2% ในเดือนก.พ. ในขณะที่บริษัทอะเมซอนจัดงานโปรโมชั่นลดราคาสินค้าประจำฤดูใบไม้ผลิในเดือนมี.ค. ส่วนยอดขายที่ปั๊มน้ำมันทะยานขึ้น 2.1% ในเดือนมี.ค. ทางด้านยอดค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ทำสวนปรับขึ้น 0.7% อย่างไรก็ดี ยอดค้าปลีกรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ร่วงลง 0.7% และยอดค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ปรับลง 0.3% โดยอาจได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยจำนองที่พุ่งสูงขึ้น เพราะปัจจัยดังกล่าวส่งผลลบต่อยอดซื้อบ้าน ทั้งนี้ สมาคมบริษัทผู้ก่อสร้างบ้านแห่งชาติของสหรัฐ (NAHB) ได้รายงานในวันจันทร์ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของบริษัทผู้ก่อสร้างบ้านเดี่ยวในสหรัฐทรงตัวที่ 51 ในเดือนเม.ย. ซึ่งตรงกับระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2023 เป็นต้นมา
ยอดค้าปลีกพื้นฐาน หรือยอดค้าปลีกที่ไม่รวมรถยนต์, น้ำมันเบนซิน, วัสดุก่อสร้าง และบริการอาหารพุ่งขึ้น 1.1% ในเดือนมี.ค. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2023 หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ. โดยตัวเลขยอดค้าปลีกพื้นฐานนี้ถือเป็นตัวเลขที่ปรับตัวสอดคล้องเป็นอย่างมากกับตัวเลขปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในรายงานจีดีพีสหรัฐ ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของตัวเลขยอดค้าปลีกพื้นฐานในเดือนมี.ค.มีส่วนช่วยกระตุ้นให้นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์กันว่า ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคสหรัฐอาจพุ่งขึ้น 3.3% ในไตรมาสแรก หลังจากทะยานขึ้น 3.3% ในไตรมาส 4/2023--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com ; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน