ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--10 พ.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในวันพฤหัสบดี หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐพุ่งขึ้น 22,000 ราย สู่ 231,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 พ.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนส.ค. 2023 หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 8 เดือน และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 215,000 ราย โดยรายงานนี้ถือเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ตลาดแรงงานสหรัฐอ่อนแอลง หลังจากสหรัฐเพิ่งรายงานในสัปดาห์ที่แล้วว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐเพิ่มขึ้น 175,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน และยอดการเปิดรับสมัครงานในสหรัฐดิ่งลง 325,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. โดยดิ่งลงจาก 8.813 ล้านตำแหน่งในเดือนก.พ. สู่ 8.488 ล้านตำแหน่งในวันสุดท้ายของเดือนมี.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2021 หรือจุดต่ำสุดรอบ 3 ปี ทั้งนี้ นักลงทุนมองว่าความอ่อนแอของตลาดแรงงานถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ผู้บริโภคจะชะลอการจับจ่ายใช้สอย และปัจจัยนี้จะช่วยทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง โดยในตอนนี้นักลงทุนกำลังรอดูตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญอีก 3 ตัวของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์หน้า ซึ่งได้แก่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI), ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และยอดค้าปลีก Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.22 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจาก 105.51 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 155.46 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี ซึ่งใกล้เคียงกับระดับปิดตลาดวันพุธที่ 155.48 เยน โดยก่อนหน้านี้ดอลลาร์เคยพุ่งขึ้นแตะ 160.245 เยนในวันที่ 29 เม.ย. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 หรือจุดสูงสุดรอบ 34 ปี ก่อนจะดิ่งลงแตะ 151.86 เยนในวันที่ 3 พ.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. โดยการดิ่งลงอย่างรุนแรงของดอลลาร์/เยนในสัปดาห์ที่แล้วอาจเกิดจากการแทรกแซงตลาด
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0781 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0745 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันพฤหัสบดี หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐพุ่งขึ้น 22,000 ราย สู่ 231,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 พ.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนส.ค. 2023 หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 8 เดือน และรายงานตัวเลขนี้ช่วยกระตุ้นการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นอกจากนี้ ตลาดหุ้นก็ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการดิ่งลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐด้วย ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงจาก 4.492% ในช่วงท้ายวันพุธ สู่ 4.449% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี และออกห่างจากระดับราว 4.7% เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน หลังจากกระทรวงการคลังสหรัฐและเฟดประกาศแผนการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยการดิ่งลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลดีต่อหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทแอปเปิล, อะเมซอนดอทคอม และเมตา แพลตฟอร์มส์ที่ปรับขึ้น 0.6-1% ทั้งนี้ หุ้น 10 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันพฤหัสบดีในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์พุ่งขึ้น 2.3% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ในขณะที่หุ้นบริษัทเอควินิกซ์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ประกอบการศูนย์ข้อมูลทะยานขึ้น 11.5% หลังจากเอควินิกซ์เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสแรก อย่างไรก็ดี หุ้นบริษัทเอ็นวิเดียดิ่งลง 1.8% และหุ้นอาร์ม โฮลดิงส์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ออกแบบชิปรูดลง 2.3% หลังจากอาร์มคาดการณ์รายได้ตลอดทั้งปีในระดับที่ต่ำเกินคาด Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 0.85% สู่ 39,387.76 ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดในแดนบวกเป็นวันที่ 7 ติดต่อกัน และระดับปิดวันพฤหัสบดีถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. อย่างไรก็ดี ดัชนีดาวโจนส์ยังคงดิ่งลงมาแล้ว 1.1% จากช่วงต้นไตรมาสสอง
ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.51% สู่ 5,214.08 ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดเหนือระดับ 5,200 ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย. อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงร่วงลง 0.8% จากช่วงต้นไตรมาสสอง
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 0.27% สู่ 16,346.27 อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงปรับลง 0.2% จากช่วงต้นไตรมาสสอง
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจในจีนและสหรัฐที่บ่งชี้ว่า อุปสงค์น้ำมันในสองประเทศนี้อาจพุ่งสูงขึ้น โดยสำนักงานศุลกากรกลางของจีนรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบในจีนอยู่ที่ 44.72 ล้านตันในเดือนเม.ย. หรือราว 10.88 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยปริมาณดังกล่าวพุ่งขึ้น 5.45% จากระดับ 10.4 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนเม.ย. 2023 ในขณะที่โรงกลั่นน้ำมันนำเข้าน้ำมันดิบมากขึ้นเพื่อเตรียมรับมือกับการใช้รถใช้ถนนจำนวนมากในช่วงวันหยุดยาวเนื่องในวันแรงงานของจีน และศุลกากรจีนยังรายงานอีกด้วยว่า ยอดส่งออกจากจีนพุ่งขึ้น 1.5% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายปี หลังจากยอดส่งออกดิ่งลง 7.5% ในเดือนมี.ค. โดยการพุ่งขึ้นของยอดส่งออกในครั้งนี้บ่งชี้ว่า อุปสงค์จากต่างประเทศอาจเพิ่มสูงขึ้น ทางด้านยอดนำเข้าของจีนทะยานขึ้น 8.4% ในเดือนเม.ย. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ +4.8% ในขณะที่ยอดเกินดุลการค้าของจีนพุ่งขึ้นสู่ 7.235 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย. จาก 5.855 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมี.ค. ทั้งนี้ ราคาน้ำมันปรับขึ้นได้ไม่มากนัก หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า อุปสงค์ในน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลของสหรัฐอยู่ในระดับต่ำ โดยค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของอุปสงค์น้ำมันเบนซินอยู่ที่ 8.63 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 พ.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดสำหรับช่วงเดียวกันนี้ของปีนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ส่วนค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของอุปสงค์น้ำมัน distillate ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil อยู่ที่ 3.60 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดสำหรับช่วงเดียวกันนี้ของปีนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมาเช่นกัน Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมิ.ย.ปรับขึ้น 27 เซนต์ หรือ 0.3% มาปิดตลาดที่ 79.26 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย.
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 30 เซนต์ หรือ 0.4% มาปิดตลาดที่ 83.88 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย.
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้น 37.23 ดอลลาร์ หรือ 1.61% สู่ 2,345.88 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐพุ่งขึ้น 22,000 ราย สู่ 231,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 พ.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนส.ค. 2023 หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 8 เดือน และรายงานนี้ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดว่า มีโอกาสราว 67% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--8 พ.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในวันอังคาร หลังจากนายนีล แคชคารี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขามินนิอาโปลิสกล่าวในงานประชุมของสถาบันมิลเคนว่า การที่อัตราเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยได้รับแรงหนุนบางส่วนจากความแข็งแกร่งของตลาดที่อยู่อาศัย บ่งชี้ว่าเฟดจะมีความจำเป็นต้องตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมต่อไปเป็นเวลานาน หรืออาจจะตลอดทั้งปีนี้ อย่างไรก็ดี เขากล่าวเสริมว่า ยังคงมีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลงอีกครั้ง Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.42 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 105.15 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 154.69 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยพุ่งขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 153.88 เยน และปิดตลาดในแดนบวกเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากดอลลาร์/เยนเพิ่งดิ่งลง 3% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนธ.ค. 2022
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0752 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0768 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันอังคาร แต่ดัชนี Nasdaq ขยับลง ในขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานที่อ่อนแอเกินคาดในวันศุกร์ที่แล้ว โดยในตอนนี้เทรดเดอร์คาดว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันราว 0.46% ในปี 2024 โดยอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. และอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่สองในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค. นอกจากนี้ นักลงทุนบางรายก็คาดว่า ตลาดหุ้นสหรัฐจะทรงตัวอยู่ใกล้ระดับเดิม จนกว่าสหรัฐจะรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ออกมาในวันที่ 14 พ.ค. และรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ออกมาในวันที่ 15 พ.ค. ทั้งนี้ หุ้นบริษัทวอลท์ ดิสนีย์ดิ่งลง 9.5% ในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022 ในขณะที่ธุรกิจภาพยนตร์และโทรทัศน์ของดิสนีย์อยู่ในภาวะอ่อนแอ และปัจจัยลบนี้บดบังผลกำไรจากแผนกสตรีมมิงความบันเทิง ทางด้านหุ้นเอ็นวิเดียดิ่งลง 1.7% หลังจากหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล รายงานว่า บริษัทแอปเปิลกำลังพัฒนาชิปของตนเองเพื่อใช้ซอฟท์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในศูนย์ข้อมูล อย่างไรก็ดี หุ้นแอปเปิลบวกขึ้น 0.4%, หุ้นแอลฟาเบทพุ่งขึ้น 1.9% และหุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ปรับขึ้น 0.6% ในวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น 0.08% สู่ 38,884.26 ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดในแดนบวกเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน และถือว่าเป็นการปิดตลาดในแดนบวกที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2023 เป็นต้นมา
ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.13% สู่ 5,187.70 ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดในแดนบวกเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน และถือว่าเป็นการปิดตลาดในแดนบวกที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.เป็นต้นมา
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.10% สู่ 16,332.56 หลังจากเพิ่งปิดตลาดในแดนบวกมานาน 3 วันติดต่อกัน
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับลงเล็กน้อยในวันอังคาร เนื่องจากนักลงทุนลดความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมัน ในขณะที่รายงานวิเคราะห์ของบริษัทสโตนเอ็กซ์ระบุว่า ตัวเลขสต็อกน้ำมันในคลังทั่วโลกแสดงให้เห็นว่า อุปทานน้ำมันดิบและปิโตรเลียมในประเทศพัฒนาแล้วอยู่สูงเกินคาดราว 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน และนักวิเคราะห์ของสโตนเอ็กซ์ยังระบุอีกด้วยว่า ปริมาณสต็อกน้ำมันในคลังทั่วโลกยังคงปรับสูงขึ้น และปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าเดิมในช่วงนี้ด้วย ทางด้านสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันอังคารว่า EIA ได้ปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันและเชื้อเพลิงเหลวทั่วโลกสำหรับปีนี้ และปรับลดตัวเลขคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันลง ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 พ.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐเพิ่มขึ้น 509,000 บาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 1.46 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillates ในคลังสหรัฐทะยานขึ้น 1.713 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมิ.ย.ปรับลง 10 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 78.38 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 17 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 83.16 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 9.78 ดอลลาร์ สู่ 2,313.79 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากเพิ่งพุ่งขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนยังคงมุ่งความสนใจไปยังแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนยังคงเข้าซื้อทองในเดือนเม.ย.เป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกัน โดยปรับเพิ่มปริมาณทองสำรองขึ้น 60,000 ออนซ์ในเดือนเม.ย. ถึงแม้ราคาทองอยู่ในระดับสูง Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--7 พ.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินหลายสกุลในวันจันทร์เป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน ในขณะที่ตัวเลขการจ้างงานในสหรัฐและถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด อย่างไรก็ดี ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยนในวันจันทร์ หลังจากที่เพิ่งดิ่งลงในสัปดาห์ที่แล้วโดยอาจได้รับแรงกดดันจากการที่ทางการญี่ปุ่นเข้ามาแทรกแซงตลาดเพื่อหนุนค่าเงินเยน 2 ครั้ง ทั้งนี้ ดอลลาร์ได้รับแรงกดดัน หลังจากสำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) ในกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ที่ 3 พ.ค.ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐเพิ่มขึ้น 175,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน หรือต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2023 เป็นต้นมา โดยรายงานตัวเลขดังกล่าวช่วยลดความกังวลที่ว่า เฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.15 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 105.09 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 153.88 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยพุ่งขึ้นจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 152.98 เยน หลังจากดอลลาร์/เยนเพิ่งดิ่งลง 3.5% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนธ.ค. 2022 และออกห่างจากระดับ 160.245 เยนที่ทำไว้ในวันจันทร์ที่ 29 เม.ย. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 หรือจุดสูงสุดรอบ 34 ปี
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0768 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0758 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์
ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นในวันจันทร์ และปิดตลาดในแดนบวกเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ โดยความเชื่อมั่นดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐที่ชะลอตัวลงอย่างรุนแรงเกินคาดในเดือนเม.ย. ในขณะที่นายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์คกล่าวในวันจันทร์ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในที่สุด แต่เขาไม่ได้ระบุถึงกรอบเวลาที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง และเขากล่าวเสริมว่า นโยบายการเงินอยู่ในภาวะที่ดีมากในปัจจุบัน ทางด้านนายโธมัส บาร์คิน ประธานเฟดสาขาริชมอนด์กล่าวในวันจันทร์ว่า อัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันอยู่ในระดับที่เข้มงวดมากพอที่จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง และทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับคืนสู่ระดับเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% และเขากล่าวเสริมว่า ความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานทำให้เจ้าหน้าที่เฟดมีเวลารอต่อไป ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มพลังงานพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากราคาสัญญาล่วงหน้าก๊าซธรรมชาติของสหรัฐที่ทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบ 14 สัปดาห์ ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.21% ในวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทอาร์ม โฮลดิงส์ที่ทะยานขึ้น 5.2% ก่อนที่อาร์มจะเปิดเผยผลประกอบการในช่วงต่อไปในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ ห้นบริษัทผู้ผลิตชิปแห่งอื่น ๆ ก็พุ่งขึ้นในวงกว้าง โดยหุ้นไมครอน เทคโนโลยีพุ่งขึ้น 4.7% หลังจากบริษัท Baird ปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นไมครอน ทางด้านหุ้นบริษัทแอดวานซ์ ไมโคร ดีไวเซส (AMD) ทะยานขึ้น 3.4% และหุ้นบริษัทซูเปอร์ ไมโคร คอมพิวเตอร์พุ่งขึ้น 6.1% ในวันจันทร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.46% สู่ 38,852.27
ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 1.03% สู่ 5,180.74
ดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 1.19% สู่ 16,349.25
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่อิสราเอลกับกลุ่มฮามาสยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องการหยุดยิงได้ โดยเจ้าหน้าที่อิสราเอลกล่าวว่า ข้อเสนอจากอียิปต์ที่กลุ่มฮามาสยอมรับนั้น เป็นข้อเสนอที่มีแง่มุมบางประการที่อิสราเอลไม่สามารถยอมรับได้ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการที่ซาอุดิอาระเบียปรับขึ้นราคาขายน้ำมันดิบอย่างเป็นทางการในเดือนมิ.ย.สำหรับลูกค้าในทวีปเอเชีย, ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป และในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วย และสิ่งนี้บ่งชี้ถึงการคาดการณ์ที่ว่า อุปสงค์น้ำมันจะอยู่ในระดับสูงในฤดูร้อนปีนี้ ทั้งนี้ นายแอนดรูว์ ลิพาว ประธานบริษัทลิพาว ออยล์ แอสโซซิเอทส์กล่าวว่า เขาคาดว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) จะประกาศในการประชุมเดือนมิ.ย.เรื่องแผนการดำเนินมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันต่อไปในไตรมาสสาม Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมิ.ย.ปรับขึ้น 37 เซนต์ หรือ 0.5% มาปิดตลาดที่ $78.48 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่งปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วด้วยการดิ่งลง 6.8% จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 3 เดือน
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 37 เซนต์ หรือ 0.5% มาปิดตลาดที่ 83.33 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากแกว่งตัวในช่วง 82.77-83.83 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์เพิ่งปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วด้วยการดิ่งลงกว่า 7% จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 3 เดือน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้น 22.01 ดอลลาร์ สู่ 2,323.57 อลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ในขณะที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินหลายสกุล หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่อ่อนแอเกินคาดในวันศุกร์ และตัวเลขดังกล่าวช่วยกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงต่อไปในปีนี้ โดยก่อนหน้านี้ราคาทองเพิ่งดิ่งลงราว 1.5% ในสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ ราคาาทองก็ได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในภูมิภาคตะวันออกกลางด้วย ทั้งนี้ ธนาคารโกลด์แมน แซคส์ระบุว่า "เรายังคงคาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ โดยจะปรับลดในเดือนก.ค.และในเดือนพ.ย." Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--3 พ.ค.--รอยเตอร์
เยนพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี หลังจากทะยานขึ้นอย่างฉับพลันในช่วงเย็นวันพุธ ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดอยู่ในภาวะสงบเงียบหลังจากตลาดหุ้นสหรัฐปิดทำการ และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศผลการประชุมกำหนดนโยบายประจำวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค.ออกมาแล้ว โดยเทรดเดอร์กับนักวิเคราะห์ระบุว่า การพุ่งขึ้นอย่างฉับพลันของเยนในวันพุธเกิดจากการแทรกแซงตลาด ในขณะที่เยนก็เพิ่งทะยานขึ้นอย่างฉับพลันในวันจันทร์ในช่วงที่ปริมาณการซื้อขายอยู่ในระดับเบาบางเช่นกัน ทั้งนี้ นายแบรด เบคเทล หัวหน้าฝ่ายตลาดปริวรรตเงินตราโลกของบริษัทเจฟฟรีส์กล่าวว่า กำหนดเวลาในการแทรกแซงตลาดครั้งนี้เป็นการ "เล็งผลเชิงปฏิบัติ" เพราะว่าช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ "สภาพคล่องอยู่ในระดับเบาบาง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะสร้างผลกระทบในช่วงเวลานั้น และก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าทางการญี่ปุ่นต้องการจะสร้างผลกระทบให้มากที่สุดและดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้" ทางด้านธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) รายงานข้อมูลตัวเลขที่บ่งชี้ว่า ญี่ปุ่นอาจใช้เงิน 3.66 ล้านล้านเยน (2.359 หมื่นล้านดอลลาร์) ในวันพุธ และอาจใช้เงิน 5.5 ล้านล้านเยน (3.506 หมื่นล้านดอลลาร์) ในวันจันทร์เพื่อช่วยพยุงค่าเงินเยน หลังจากเยนดิ่งลงแตะ 160.245 เยนต่อดอลลาร์ในช่วงแรกของวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1990 หรือจุดต่ำสุดรอบ 34 ปี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.30 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยร่วงลง จาก 105.71 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 153.63 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยดิ่งลงจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 154.47 เยน หลังจากรูดลงแตะ 153.04 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0725 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0709 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ
ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงหนุนจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ส่งสัญญาณชี้นำทิศทางอัตราดอกเบี้ยในแบบสายพิราบมากเกินคาดในวันพุธ หลังจากเฟดจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. และประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิม โดยนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดรับประกันในวันพุธว่า การปรับนโยบายครั้งถัดไปของเฟดจะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ดี เขาตั้งข้อสังเกตว่า ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งในระยะนี้บ่งชี้ว่า อาจจะต้องใช้เวลาอีกนานก่อนที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทางด้านนายพอล โนลเท จากบริษัทเมอร์ฟีย์ แอนด์ ซิลเวสท์กล่าวว่า "เฟดไม่เต็มใจที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม และเมื่อใดก็ตามที่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอ่อนแอ หรือบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง เฟดก็พร้อมที่จะฉวยโอกาสนั้นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง" ทั้งนี้ หุ้น 9 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันพฤหัสบดีในแดนบวก โดยหุ้นกลุ่มวัสดุเป็นกลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุด ส่วนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ในขณะที่หุ้นบริษัทควอลคอมม์ที่ทำธุรกิจชิปทะยานขึ้น 9.74% หลังจากควอลคอมม์รายงานยอดขายและผลกำไรรายไตรมาสที่สูงเกินคาด ทางด้านหุ้นคาร์วานาที่ทำธุรกิจรถยนต์มือสองทะยานขึ้น 33.8% หลังจากคาร์วานารายงานผลกำไรที่ดีเกินคาด อย่างไรก็ดี หุ้นเอ็ตซีซึ่งทำธุรกิจตลาดออนไลน์ดิ่งลง 15.0% หลังจากเอ็ตซีรายงานผลกำไรไตรมาสแรกที่ต่ำเกินคาด ส่วนหุ้นเพโลตอน ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ฟิตเนสรูดลง 2.5% หลังจากซีอีโอของบริษัทลงจากตำแหน่ง และเพโลตอนประกาศปรับลดจำนวนพนักงานทั่วโลกลง 15% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.85% สู่ 38,225.66
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.91% สู่ 5,064.20
ดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.51% สู่ 15,840.96
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ขยับลงมาปิดตลาดที่ระดับปิดต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ในวันพฤหัสบดี แต่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับขึ้น ในขณะที่ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงอุปสงค์ที่อ่อนแอในตลาดโลก, สต็อกน้ำมันในคลังที่พุ่งสูงขึ้น และการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ทางด้านเทรดเดอร์จับตาดูว่าการดิ่งลงของราคาน้ำมันจะส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐซื้อน้ำมันมาเติมในคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) หรือไม่ โดยนายฮิโรยุกิ คิคุคาวะ ประธานของบริษัทเอ็นเอส เทรดดิงกล่าวว่า "ตลาดน้ำมันได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ถ้าหากราคาน้ำมันดิบสหรัฐดิ่งลงสู่ระดับต่ำกว่า 79 ดอลลาร์ รัฐบาลสหรัฐก็จะปรับเพิ่มสต็อกน้ำมันในคลังสำรองทางยุทธศาสตร์" ทั้งนี้ ราคาสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำมากของสหรัฐดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2023 เป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่อุปสงค์น้ำมันดีเซลตกต่ำลงทั่วโลก และสิ่งนี้ส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่า อุปสงค์น้ำมันดิบอาจจะชะลอตัวลงในประเทศสำคัญด้วย โดยบริษัทอินไซท์ โกลบัลรายงานว่า สต็อกน้ำมัน gasoil ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซล พุ่งขึ้นกว่า 3% ในศูนย์กลางการกลั่นน้ำมันและคลังน้ำมันอัมสเตอร์ดัม-รอตเตอร์ดัม-แอนท์เวิร์ปของยุโรป ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 พ.ค. Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมิ.ย.ขยับลง 5 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 78.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. และปิดตลาดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน ซึ่งอยู่ที่ระดับ 80.12 ดอลลาร์ โดยค่าเฉลี่ยดังกล่าวถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการเข้าสู่ภาวะตลาดหมี
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 23 เซนต์ หรือ 0.3% มาปิดตลาดที่ 83.67 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากดิ่งลงแตะ 83.05 ดอลลาร์ในช่วงแรก ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดของราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนใกล้นับตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.เป็นต้นมา โดยเบรนท์ปิดตลาดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน ซึ่งอยู่ที่ระดับ 84.51 ดอลลาร์
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 14.61 ดอลลาร์ สู่ 2,303.29 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี ในขณะที่นักลงทุนคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน และนักลงทุนรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนเม.ย.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์นี้ เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--2 พ.ค.--รอยเตอร์
เยนพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในช่วงเย็นวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนตั้งข้อสงสัยว่า ทางการญี่ปุ่นอาจจะเข้ามาแทรกแซงตลาดเพื่อช่วยหนุนค่าเงินเยน โดยดอลลาร์/เยนได้ดิ่งลงแตะ 153.16 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. จากระดับราว 157.55 เยนในช่วงก่อนหน้านั้น และเหตุการณ์นี้ก็เกิดขึ้นหลังจากตลาดหุ้นสหรัฐปิดทำการ และหลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เสร็จสิ้นจากการจัดงานแถลงข่าว ดังนั้นนักลงทุนบางรายจึงคาดว่าเหตุการณ์นี้อาจเกิดจากการแทรกแซงตลาด โดยเฉพาะหลังจากที่ดอลลาร์/เยนเคยดิ่งลงแตะ 154 เยนในวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 160.245 เยนในช่วงแรกของวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 หรือจุดสูงสุดรอบ 34 ปี ทั้งนี้ ข้อมูลจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) แสดงให้เห็นว่า บีโอเจอาจใช้เงินราว 5.5 ล้านล้านเยน (3.506 หมื่นล้านดอลลาร์) ในการเข้าช่วยหนุนค่าเงินเยนในวันจันทร์ โดยเป็นการดำเนินการในฐานะตัวแทนของกระทรวงการคลังญี่ปุ่น Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.71 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยร่วงลงจาก 106.31 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 106.49 ในช่วงแรก ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 เม.ย. โดยถ้าหากดัชนีดอลลาร์สามารถทะยานขึ้นเหนือ 106.51 ดัชนีดอลลาร์ก็จะสามารถพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. 2023
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 154.97 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยดิ่งลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 157.80 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 158.01 เยนในช่วงแรกของวันพุธ
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0709 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0665 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร
ดัชนีดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันพุธ แต่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ปิดปรับลงในวันพุธ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค.ตามความคาดหมาย และส่งสัญญาณบ่งชี้ว่า ความเคลื่อนไหวครั้งถัดไปของเฟดน่าจะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่ยังไม่มีการรับประกันว่าจะมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่เฟดก็ได้ย้ำถึงความกังวลที่ว่า ในช่วงต้นปีนี้พวกเขาแทบไม่มีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มพลังงานถือเป็นกลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุดในวันพุธ ในขณะที่หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ทางด้านดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐรูดลง 3.5% ในวันพุธ ในขณะที่หุ้นบริษัทแอดวานซ์ ไมโคร ดีไวเซส (AMD) ดิ่งลง 9.0% หลังจาก AMD คาดการณ์ยอดขายชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในระดับที่น่าผิดหวัง และหุ้นบริษัทซูเปอร์ ไมโคร คอมพิวเตอร์รูดลง 14.0% หลังจากทางบริษัทเปิดเผยรายได้รายไตรมาสที่ต่ำเกินคาด อย่างไรก็ดี หุ้นบริษัทอเมซอนดอทคอมพุ่งขึ้น 2.2% ในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการรายไตรมาสที่ดีเกินคาด ในขณะที่กระแสความสนใจใน AI ช่วยหนุนธุรกิจการประมวลผลระบบคลาวด์ของอะเมซอน Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.23% สู่ 37,903.29
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.34% สู่ 5,018.39
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.33% สู่ 15,605.48.
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันพุธ โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงการที่นักลงทุนปรับลดความหวังที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคตอันใกล้นี้ และจากการคาดการณ์ที่ว่า อาจจะมีการบรรลุข้อตกลงเรื่องการหยุดยิงระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส หลังจากสหรัฐกับอียิปต์พยายามผลักดันให้มีการบรรลุข้อตกลงกัน อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลประกาศว่าจะยังคงเดินหน้าแผนการโจมตีเมืองราฟาห์ในภาคใต้ของกาซาต่อไป นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงกดดันจากตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐที่พุ่งขึ้นอย่างพลิกความคาดหมายด้วย ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 7.3 ล้านบาร์เรล สู่ 460.9 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 เม.ย. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2023 และสวนทางกับโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจดิ่งลง 1.1 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐเพิ่มขึ้น 300,000 บาร์เรล สู่ 227.1 ล้านบาร์เรล ทางด้านสต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil ร่วงลง 700,000 บาร์เรล สู่ 115.9 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมิ.ย.ดิ่งลง 2.93 ดอลลาร์ หรือ 3.6% มาปิดตลาดที่ 79.00 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 2.89 ดอลลาร์ หรือ 3.4% มาปิดตลาดที่ 83.44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันพุธ แต่ราคาสัญญาเดือนก.ค.ดิ่งลงราว 5.0% จากระดับปิดของราคาสัญญาเดือนมิ.ย.ในช่วงปิดตลาดวันอังคาร ซึ่งถือเป็นวันสุดท้ายที่สัญญาเดือนมิ.ย.ถือเป็นสัญญาเดือนใกล้ ดังนั้นจึงเท่ากับว่าราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนใกล้ดิ่งลงในวันพุธในอัตราที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2023 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดวันพุธที่ระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. และส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์เข้าสู่ภาวะที่มีคำสั่งขายเข้ามามากเกินไปในตลาด (oversold) เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2023
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้น 32.33 ดอลลาร์ หรือ 1.41% สู่ 2,317.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ ในขณะที่ราคาทองได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และจากการดิ่งลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังจากเฟดประกาศผลการประชุมกำหนดอัตราดอกเบี้ย และนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดจัดงานแถลงข่าว ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงจาก 4.684% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 4.591% ในช่วงท้ายวันพุธ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--30 เม.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์/เยนพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 34 ปีในช่วงแรกของวันจันทร์ ก่อนจะดิ่งลงราว 5 เยนในเวลาต่อมา ในขณะที่เทรดเดอร์ระบุว่าการดิ่งลงดังกล่าวเกิดจากการที่ทางการญี่ปุ่นได้เข้ามาแทรกแซงตลาดด้วยการซื้อเยนเป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือน นอกจากนี้ ปริมาณการซื้อขายในตลาดเอเชียก็อยู่ในระดับเบาบางกว่าปกติด้วย เนื่องจากวันจันทร์นี้เป็นวันหยุดราชการของญี่ปุ่นในสัปดาห์โกลเดน วีค ทั้งนี้ นายมาซาโตะ คันดะ รมช.คลังญี่ปุ่นฝ่ายกิจการระหว่างประเทศกล่าวในวันจันทร์ว่า ความเคลื่อนไหวในตลาดปริวรรตเงินตราในปัจจุบันนี้ "เกิดจากการเก็งกำไร, ดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก และอย่างผิดปกติ" และญี่ปุ่นไม่สามารถมองข้ามความเคลื่อนไหวเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ดี เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ทางการญี่ปุ่นได้เข้ามาแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราในวันจันทร์เพื่อช่วยหนุนค่าเงินเยนหรือไม่ นายคันดะก็ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นต่อประเด็นนี้ ทางด้านหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลรายงานว่า แหล่งข่าวกล่าวว่าทางการญี่ปุ่นได้เข้ามาแทรกแซงตลาด Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.69 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยร่วงลงจาก 106.08 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 156.33 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยดิ่งลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 158.33 เยน โดยดอลลาร์ได้พุ่งขึ้นแตะ 160.245 เยนในช่วงแรก ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 หรือจุดสูงสุดรอบ 34 ปี ก่อนจะดิ่งลงแตะ 154.4 เยนในเวลาต่อมา
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0719 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0692 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทเทสลาและหุ้นบริษัทแอปเปิล โดยหุ้นเทสลาพุ่งขึ้น 15.3% หลังจากมีความคืบหน้าในเรื่องที่เทสลาขออนุมัติทางกฎระเบียบสำหรับการเปิดใช้ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูงในจีน ในขณะที่จีนถือเป็นตลาดขนาดใหญ่อันดับสองของเทสลา โดยรองจากสหรัฐ ทางด้านหุ้นแอปเปิลทะยานขึ้น 2.5% หลังจากมีข่าวว่าแอปเปิลได้เปิดการเจรจากับบริษัท OpenAI อีกครั้งเพื่อใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) แบบรู้สร้างของ OpenAI โดยบริษัทเบิร์นสไตน์ได้ปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นแอปเปิลสู่ "outperform" นอกจากนี้ หุ้นบริษัทเอ็นวิเดียก็ปิดขยับขึ้น 0.03% แต่หุ้นบริษัทขนาดยักษ์แห่งอื่น ๆ ร่วงลง โดยหุ้นแอลฟาเบทดิ่งลง 3.37%, หุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์รูดลง 2.41% และหุ้นไมโครซอฟท์ดิ่งลง 1.00% ทั้งนี้ หุ้น 9 กลุ่มจาก 11 กล่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนบวก โดยหุ้นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากในวันจันทร์รวมถึงหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย, กลุ่มสาธารณูปโภค, กลุ่มอสังหาริมทรัพย์, กลุ่มวัสดุ และกลุ่มอุตสาหกรรม แต่หุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารกับหุ้นกลุ่มการเงินดิ่งลง ทางด้านนักลงทุนรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. เพื่อดูว่าเฟดจะส่งสัญญาณแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอย่างไรบ้าง Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.38% สู่ 38,386.09
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.32% สู่ 5,116.17
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.35% สู่ 15,983.08
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันจันทร์ ในขณะที่มีการเจรจาเรื่องการหยุดยิงระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสที่กรุงไคโร และปัจจัยดังกล่าวช่วยลดความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยผู้นำของกลุ่มฮามาสได้เดินทางมาถึงกรุงไคโรเพื่อเจรจารอบใหม่กับผู้ไกล่เกลี่ยจากอียิปต์และกาตาร์ ทางด้านนายซาเมห์ ชูครี รมว.ต่างประเทศของอียิปต์กล่าวว่า รัฐบาลอียิปต์ตั้งความหวังต่อข้อเสนอในการหยุดยิงและการปล่อยตัวประกันในเขตฉนวนกาซา แต่อียิปต์ยังคงรอคอยคำตอบจากอิสราเอลและกลุ่มฮามาสที่มีต่อข้อเสนอนี้ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ด้วย หลังจากสำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจ (BEA) ในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นิยมใช้ ปรับขึ้น 2.7% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2.6% หลังจากปรับขึ้น 2.5% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายปี Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมิ.ย.รูดลง 1.22 ดอลลาร์ หรือ 1.5% มาปิดตลาดที่ 82.63 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.10 ดอลลาร์ หรือ 1.2% มาปิดตลาดที่ 88.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่ราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.รูดลง 1.01 ดอลลาร์ มาปิดตลาดที่ 87.20 ดอลลาร์
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับลง 3.28 ดอลลาร์ สู่ 2,334.44 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. และรอดูตัวเลขการจ้างงานประจำเดือนเม.ย.ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 3 พ.ค. โดยก่อนหน้านี้ราคาทองเพิ่งดิ่งลง 2.2% ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับแรงกดดันจากการที่ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางลดระดับลง และจากการที่นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด อย่างไรก็ดี ราคาทองได้รับแรงหนุนเข้ามาบ้างในวันจันทร์จากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ เพราะการอ่อนค่าของดอลลาร์ช่วยให้ทองมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--29 เม.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 34 ปีเมื่อเทียบกับเยนในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนบางส่วนจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่ไม่ได้ชะลอตัวลง และรายงานตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวก็ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มที่จะเลื่อนเวลาในปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไป ทั้งนี้ สำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจ (BEA) ในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดนิยมใช้ ปรับขึ้น 0.3% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งตรงกับตัวเลขคาดการณ์ในตลาด หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ. ส่วนดัชนี PCE แบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.7% ในเดือนมี.ค. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2.6% หลังจากปรับขึ้น 2.5% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายปี ทางด้านดัชนี PCE พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานปรับขึ้น 0.3% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ. ส่วนดัชนี PCE พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.8% ในเดือนมี.ค. หลังจากปรับขึ้น 2.8% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายปี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.96 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 105.60 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 158.33 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยพุ่งขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 155.65 เยน หลังจากทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 158.43 เยน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปี 1990 เป็นต้นมา หรือจุดสูงสุดรอบ 34 ปี และเทียบกับจุดต่ำสุดของวันที่ 154.97 เยน โดยดอลลาร์/เยนปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 2.39% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนม.ค.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0692 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยร่วงลงจาก 1.0729 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี แต่ยูโรปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับขึ้น 0.36% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มเติบโต หลังจากบริษัทแอลฟาเบทและบริษัทไมโครซอฟท์เปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสที่แข็งแกร่ง และหลังจากรัฐบาลสหรัฐเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อในระดับปานกลาง โดยหุ้นแอลฟาเบทพุ่งขึ้น 10.22% ในวันศุกร์ และทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดได้ในระหว่างวัน หลังจากแอลฟาเบทประกาศจ่ายเงินปันผลครั้งแรก, ประกาศโครงการซื้อคืนหุ้นขนาด 7.0 หมื่นล้านดอลลาร์ และประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกที่ดีเกินคาด โดยการพุ่งขึ้นของหุ้นแอลฟาเบทในวันศุกร์ส่งผลให้มูลค่าในตลาดของแอลฟาเบททะยานขึ้นเหนือระดับ 2 ล้านล้านดอลลาร์ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2021 เป็นต้นมา ทางด้านหุ้นไมโครซอฟท์พุ่งขึ้น 1.8% ในวันศุกร์ หลังจากไมโครซอฟท์ประกาศผลกำไรและรายได้รายไตรมาสที่ดีเกินคาด โดยได้รับแรงหนุนจากการที่ไมโครซอฟท์นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในบริการคลาวด์ของไมโครซอฟท์ นอกจากนี้ หุ้นบริษัทขนาดยักษ์แห่งอื่น ๆ ก็ทะยานขึ้นด้วยเช่นกัน โดยหุ้นอะเมซอทดอทคอมพุ่งขึ้น 3.4%, หุ้นเอ็นวิเดียทะยานขึ้น 5.8% และหุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์บวกขึ้น 0.4% อย่างไรก็ดี หุ้นบริษัทแอปเปิลปรับลง 0.3% และหุ้นบริษัทเทสลาดิ่งลง 1.1% ในวันศุกร์ ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 6 กลุ่มใหญ่ปิดตลาดวันศุกร์ในแดนบวก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสาร, กลุ่มเทคโนโลยี, กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย และกลุ่มวัสดุ ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงจาก 4.706% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี สู่ 4.669% ในช่วงท้ายวันศุกร์ หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า อัตราเงินเฟ้อปรับขึ้นปานกลางในเดือนมี.ค. Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.40% สู่ 38,239.66
ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 1.02% สู่ 5,099.96 โดยดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. 2023 และดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกหลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบมานานติดต่อกัน 3 สัปดาห์
ดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 2.03% สู่ 15,927.90 โดยดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. 2023 และดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกหลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบมานานติดต่อกัน 4 สัปดาห์
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง ในขณะที่อิสราเอลเร่งดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อเมืองราฟาห์ในเขตกาซาในวันพฤหัสบดี และนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลกล่าวว่า คำตัดสินใด ๆ ของศาลอาญาระหว่างประเทศที่มีต่อกรณีที่กลุ่มฮามาสโจมตีอิสราเอลในวันที่ 7 ต.ค. 2023 และต่อการที่กองทัพอิสราเอลโจมตีเขตกาซา จะไม่ส่งผลกระทบต่อปฏิบัติการของอิสราเอล แต่จะ "เป็นการสร้างแบบอย่างที่เป็นอันตราย" นอกจากนี้ กองทัพอิสราเอลก็แถลงในวันศุกร์ว่า กองทัพอากาศได้โจมตีเขตเวสท์เบคาในเลบานอนและได้สังหารนักรบรายหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ราคาน้ำมันปรับขึ้นได้ไม่มากนักในวันศุกร์ เนื่องจากราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐ เพราะตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวทำให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมิ.ย.ปรับขึ้น 28 เซนต์ หรือ 34% มาปิดตลาดที่ 83.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 49 เซนต์ หรือ 0.55% มาปิดตลาดที่ 89.50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 5.94 ดอลลาร์ สู่ 2,337.72 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ตรงตามความคาดหมาย อย่างไรก็ดี ราคาทองปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 2.21% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2023 โดยได้รับแรงกดดันจากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับอิหร่านที่ไม่ได้ทวีความรุนแรงขึ้นตามความคาดหมายในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงจาก 4.706% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี สู่ 4.669% ในช่วงท้ายวันศุกร์ และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ก็มีส่วนช่วยหนุนราคาทองในวันศุกร์ด้วย ทางด้านนายไท หว่อง เทรดเดอร์โลหะอิสระกล่าวว่า "แนวโน้มของราคาทองขึ้นอยู่กับกระแสความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย และคำสั่งซื้อจากภูมิภาคตะวันออกไกล" และเขาคาดว่าราคาทองจะสร้างฐานที่ระดับ 2,300-2,400 ดอลลาร์ในระยะสั้น Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน