ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการตรวจสอบภาวะวิกฤติประจำปีพบว่า ธนาคารสหรัฐที่ใหญ่ที่สุดมีเงินทุนเพียงพอที่จะต้านทานภาวะปั่นป่วนทางเศรษฐกิจและตลาดที่ร้ายแรง แต่ธนาคารได้รับผลขาดทุนตามสมมติฐานมากขึ้นในปีนี้เนื่องจากพอร์ทการลงทุนที่มีความเสี่ยงมากขึ้น
รายงานพบว่า ธนาคารขนาดใหญ่ 31 แห่งจะต้านทานอัตราว่างงานที่พุ่งสูง, ภาวะผันผวนรุนแรงของตลาด และการดิ่งลงของตลาดสินเชื่อจำนองเพื่อที่อยู่อาศัย และเพื่อการพาณิชย์ และยังคงมีเงินทุนเพียงพอที่จะปล่อยสินเชื่อต่อไปได้ นอกจากนี้ เฟดยังพบว่า ระดับของเงินทุนที่มีคุณภาพสูงของธนาคารเหล่านี้จะลดลงสู่ระดับ 9.9% มาที่ระดับต่ำสุด ซึ่งยังคงสูงเกินเกณฑ์ขั้นต่ำอยู่กว่าสองเท่า
แต่ธนาคารได้รับผลขาดทุนมากขึ้นในปีนี้ และเฟดระบุว่า ผลขาดทุนที่สูงขึ้นดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงพอร์ทการลงทุนของธนาคารต่างๆ โดยธนาคารที่ถูกทดสอบจะมีผลขาดทุนรวมกัน 6.85 แสนล้านดอลลาร์ภายใต้ฉากทัศน์ร้ายแรงตามสมมติฐาน และโดยเฉลี่ย ธนาคารมีสัดส่วนเงินทุนลดลง 2.8% ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดตั้งแต่ปี 2018
เฟดระบุว่า บัตรเครดิตเป็นสาเหตุที่เฉพาะเจาะจงของผลขาดทุนสำหรับธนาคาร โดยมีสัดส่วนมากกว่า 25% ของผลขาดทุนตามสมมติฐาน และเฟดตั้งข้อสังเกตว่า บัญชีบัตรเครดิตของธนาคารขนาดใหญ่พุ่งขึ้นกว่า 1.00 แสนล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว และอัตราการค้างชำระหนี้พุ่งกว่า 40%--จบ--
Eikon source text
นิวยอร์ค--24 มิ.ย.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า หุ้นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในสหรัฐพุ่งขึ้นสูงมากในปีนี้ และก็อาจจะถึงเวลาที่หุ้นกลุ่มนี้จะชะลอตัวลงแล้ว และปัจจัยนี้ก็อาจจะส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มอื่น ๆ ในสหรัฐที่เคยปรับตัวอย่างอ่อนแอในช่วงต้นปีนี้ ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้ว 14.6% จากช่วงต้นปีนี้ แต่การพุ่งขึ้นส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในหุ้นกลุ่มใหญ่เพียง 2 กลุ่มจากทั้งหมด 11 กลุ่ม ซึ่งได้แก่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ที่พุ่งขึ้น 28.2% จากช่วงต้นปีนี้ และหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารที่ทะยานขึ้น 24.3% จากช่วงต้นปีนี้ ส่วนหุ้นกลุ่มอื่น ๆ ปรับขึ้นในอัตราที่น้อยกว่านี้มาก ซึ่งรวมถึงหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคที่พุ่งขึ้น 9.5% จากช่วงต้นปีนี้, หุ้นกลุ่มการเงินที่ทะยานขึ้น 9.4%, หุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นที่บวกขึ้น 8.7%, หุ้นกลุ่มพลังงานที่ปรับขึ้น 7.5%, หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกขึ้น 7.3%, หุ้นกลุ่มการแพทย์ที่ปรับขึ้น 7.3%, หุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่บวกขึ้น 4.2% และหุ้นกลุ่มวัสดุที่ปรับขึ้น 3.9% ทางด้านหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ดิ่งลงมาแล้ว 5.0% จากช่วงต้นปีนี้
นักลงทุนหลายรายคาดว่า หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐมีแนวโน้มที่แข็งแกร่งในระยะยาว โดยได้รับแรงหนุนจากผลกำไรของบริษัทกลุ่มนี้ และจากกระแสความนิยมในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยปัจจัยดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้หุ้นบริษัทเอ็นวิเดียพุ่งขึ้นมาแล้ว 155% จากช่วงต้นปีนี้ อย่างไรก็ดี ราคาหุ้นที่พุ่งสูงก็ส่งผลให้นักลงทุนกังวลกันว่า หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอาจทะยานขึ้นอย่างร้อนแรงจนเกินไปในช่วงที่ผ่านมา และนักลงทุนก็มองว่า หุ้นบริษัทขนาดเล็ก และหุ้นคุณค่า ซึ่งรวมถึงหุ้นกลุ่มการเงินและหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม อาจจะเหมาะต่อการเข้าช้อนซื้อในช่วงนี้ ทั้งนี้ นายไมเคิล เพอร์เวส ซีอีโอของบริษัททอลล์แบคเคน แคปิตัล แอดไวเซอร์สกล่าวว่า "หุ้นเอ็นวิเดียพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วมากในช่วงที่ผ่านมา และการพุ่งขึ้นแบบนี้ก็ส่งผลให้คุณไม่ต้องการที่จะเทขายหุ้นดังกล่าวออกมาเป็นคนสุดท้าย" และเขากล่าวเสริมว่า "นักลงทุนต้องการจะลงทุนในการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้น ดังนั้นถ้าหากนักลงทุนขายหุ้นเอ็นวิเดียออกมา ก็มีแนวโน้มสูงที่เงินลงทุนจะไหลเข้าสู่หุ้นคุณค่าและหุ้นกลุ่มวัฏจักรเศรษฐกิจ"
ถ้าหากนักลงทุนโยกย้ายเงินลงทุนออกจากหุ้นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ การทำเช่นนี้ก็จะช่วยลดความกังวลเรื่องการกระจุกตัวในตลาดหุ้นในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยบริษัทเอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินไดเซสรายงานว่า การลงทุนในดัชนี S&P 500 ให้ผลตอบแทนสูงกว่า 14% นับตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ แต่ราว 60% ของผลตอบแทนดังกล่าวมาจากบริษัทเพียงแค่ 5 แห่งเท่านั้น ซึ่งได้แก่บริษัทเอ็นวิเดีย, ไมโครซอฟท์, เมตา แพลตฟอร์มส์, แอลฟาเบท และอะเมซอนดอทคอม ทั้งนี้ เริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ถึงการชะลอตัวในภาคเทคโนโลยีปรากฏออกมาแล้วในช่วงนี้ โดยหุ้นเอ็นวิเดียดิ่งลงมาแล้วราว 10% จากจุดสูงสุดของวันพฤหัสบดีที่ 20 มิ.ย. และส่งผลให้บริษัทเอ็นวิเดียก้าวลงจากตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
นายเพอร์เวสตั้งข้อสังเกตว่า มีสัญญาณบางประการที่บ่งชี้ว่า หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีพุ่งขึ้นมากเกินไปแล้ว โดยสัญญาณดังกล่าวรวมถึงดัชนี RSI สำหรับหุ้นบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 6 แห่งในตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้วัดความเร็วและขนาดความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นกลุ่มนี้ โดยดัชนีดังกล่าวได้พุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ ทั้งนี้ นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อยก็คาดการณ์ในทางบวกต่อตลาดหุ้นเป็นอย่างมากด้วย และนักลงทุนบางรายมองว่าสิ่งนี้ถือเป็นเครื่องบ่งชี้แบบสวนกระแส เพราะสิ่งนี้หมายความว่า เป็นเรื่องยากที่จะเกิดเหตุการณ์ที่สร้างความประหลาดใจในทางบวกต่อนักลงทุนได้
ผลสำรวจความเชื่อมั่นของสมาคมนักลงทุนรายย่อยสหรัฐ (AAII) อยู่ที่ระดับ 44% ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 มิ.ย. ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวราว 8% ทางด้านแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบัล รีเสิร์ชระบุในผลสำรวจล่าสุดว่า ระดับความเชื่อมั่นของผู้จัดการกองทุนพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปลายปี 2021 ในขณะที่นักลงทุนปรับลดการถือครองเงินสด และปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น ทั้งนี้ ถึงแม้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีย่อตัวลงในอนาคต ก็ไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่านักลงทุนจะหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและหุ้นเติบโตเป็นเวลานาน เพราะว่าดัชนี Nasdaq 100 พุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 400% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ดัชนี Russell 1000 สำหรับหุ้นกลุ่มคุณค่าของสหรัฐปรับขึ้นเพียงราว 70% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มคุณค่าก็บวกขึ้น 5.6% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ดัชนีหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐปรับลง 0.5% จากช่วงต้นปีนี้--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--17 เม.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 5 เดือนเมื่อเทียบกับยูโรในวันอังคาร หลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เฟดอาจจะมีความจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงลดลงได้ยาก และเขาตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติมในปีนี้ในการเข้าใกล้เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% นอกจากนี้ เขายังกล่าวอีกด้วยว่า "ตัวเลขเศรษฐกิจในระยะนี้ไม่ได้ทำให้เรามีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น แต่ตัวเลขเศรษฐกิจในระยะนี้กลับบ่งชี้ว่า มีแนวโน้มที่จะใช้เวลานานเกินคาดในการที่เราจะมีความเชื่อมั่นเช่นนั้น" โดยการกล่าวแถลงของเขาในวันอังคารมีแนวโน้มว่าอาจจะเป็นการแสดงความเห็นต่อสาธารณชนครั้งสุดท้ายของเขา ก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. ทั้งนี้ ดอลลาร์/เยนพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 ในขณะที่เทรดเดอร์จับตาดูว่า ทางการญี่ปุ่นจะเข้ามาแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเพื่อหนุนค่าเงินเยนหรือไม่ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 106.33 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 106.18 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 106.51 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2023 หรือจุดสูงสุดรอบ 5 เดือนครึ่ง
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 154.71 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 154.27 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 154.79 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 34 ปี หรือจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0617 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยขยับลงจาก 1.0622 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากร่วงลงแตะ 1.0599 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. 2023
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐขยับขึ้น แต่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ปรับลงในวันอังคาร ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นจาก 4.628% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.657% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากทะยานขึ้นแตะ 4.696% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 5 เดือน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ได้รับแรงหนุนจากตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐที่แข็งแกร่งเกินคาดที่ได้รับการรายงานออกมาในวันจันทร์ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นก็ได้รับผลกระทบจากถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันอังคารด้วย หลังจากนายพาวเวลล์กล่าวว่า เฟดอาจจะมีความจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงลดลงได้ยาก ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการที่ดีเกินคาดของบริษัทยูไนเต็ดเฮลธ์ กรุ๊ป ซึ่งส่งผลให้หุ้นยูไนเต็ดเฮลธ์พุ่งขึ้น 5.22% ในวันอังคาร และตลาดหุ้นสหรัฐก็ได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P 500 ได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค นอกจากนี้ หุ้นบริษัทเทสลาก็ดิ่งลง 2.7% ในวันอังคาร หลังจากรูดลงกว่า 5% ในวันจันทร์โดยได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่า เทสลาวางแผนจะปลดพนักงานออกกว่า 10% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.17% สู่ 37,798.97
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.21% สู่ 5,051.41
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.12% สู่ 15,865.25 ในวันอังคาร โดยทั้งดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ต่างก็ดิ่งลงมาแล้วเกือบ 4% จากสถิติสูงสุดที่ทำไว้ในเดือนมี.ค.
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ขยับลงเล็กน้อยในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับปัญหาทางเศรษฐกิจ หลังจากหลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เฟดอาจจะมีความจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงลดลงได้ยาก และเขาตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติมในปีนี้ในการเข้าใกล้เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% โดยปัจจัยลบนี้บดบังแรงหนุนที่ราคาน้ำมันได้รับจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ทางด้านนักลงทุนจับตาดูว่า อิสราเอลจะดำเนินมาตรการอย่างไรในการตอบโต้อิหร่าน หลังจากอิหร่านใช้โดรนและขีปนาวุธโจมตีอิสราเอลในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่การโจมตีดังกล่าวสร้างความเสียหายต่ออิสราเอลในระดับที่น้อยเกินคาด ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 เม.ย. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 4.089 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.509 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐลดลง 427,000 บาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ค.ขยับลง 5 เซนต์ หรือ 0.1% มาปิดตลาดที่ 85.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนขยับลง 8 เซนต์ หรือ 0.1% มาปิดตลาดที่ 90.02 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 92.18 ดอลลาร์ในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2023
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับขึ้น 0.32 ดอลลาร์ สู่ 2,382.83 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 2,431.29 ดอลลาร์ในวันศุกร์ที่ 12 เม.ย. โดยราคาทองได้รับแรงหนุนในวันอังคารในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเรื่องความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง และปัจจัยบวกดังกล่าวช่วยชดเชยแรงกดดันที่ราคาทองได้รับจากการที่นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในปีนี้ ทั้งนี้ ธนาคารดอยช์ แบงก์คาดว่า ราคาทองอาจจะอยู่ที่ 2,400 ดอลลาร์ในช่วงสิ้นปีนี้ และอาจจะอยู่ที่ 2,600 ดอลลาร์ในเดือนธ.ค. 2025 โดยดอยช์ แบงก์ระบุเสริมว่า "เราคาดว่าราคาทองมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับแข็งแกร่งต่อไป เพราะว่าคำสั่งเทขายทำกำไรของนักลงทุนจะได้รับการชดเชยด้วยเงินลงทุนจากนักลงทุนกลุ่มที่ยังไม่ได้เข้าร่วมในการพุ่งขึ้นของราคาทองในช่วงที่ผ่านมา" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com ; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--10 เม.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทรงตัวในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนใช้ความระมัดระวังในการลงทุน ก่อนที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อออกมาในวันพุธ โดยนักลงทุนคาดการณ์กันว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปของสหรัฐอาจปรับขึ้น 0.3% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.4% ในเดือนก.พ. แต่ดัชนี CPI ทั่วไปแบบเทียบรายปีอาจปรับขึ้น 3.4% ในเดือนมี.ค. โดยเร่งตัวขึ้นจาก 3.2% ในเดือนก.พ. ทางด้านดัชนี CPI พื้นฐานอาจปรับขึ้น 0.3% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ทั้งนี้ นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดการณ์ในวันอังคารว่า มีโอกาส 58% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. โดยปรับเพิ่มขึ้นจากโอกาส 52% ที่เคยคาดไว้ในช่วงเย็นวันจันทร์ และนักลงทุนคาดการณ์กันว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันราว 0.74% ในปี 2024 หรือเท่ากับว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปีนี้ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.09 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 104.11 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 151.77 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร ซึ่งใกล้เคียงกับระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 151.79 เยน และเทียบกับจุดสูงสุดรอบ 34 ปีที่ 151.97 เยนที่เคยทำไว้ในวันที่ 27 มี.ค.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0855 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0858 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐขยับลง แต่ดัชนี Nasdaq และ S&P 500 ปิดบวกขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร โดยดัชนี Nasdaq ได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มชิปของสหรัฐ ในขณะที่ดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐปิดบวกขึ้น 0.94% อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงกดดันจากความอ่อนแอของหุ้นกลุ่มการเงิน ก่อนที่ฤดูการรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของบริษัทสหรัฐจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 12 เม.ย. เมื่อธนาคารเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, ซิตี้กรุ๊ป และเวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โคเปิดเผยผลประกอบการออกมา โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ในช่วงนี้ว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจปรับขึ้น 5.0% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบรายปี โดยปรับลดลงจากระดับ +7.2% ที่เคยคาดการณ์กันไว้ในช่วงต้นไตรมาสแรก นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธด้วย ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 9 กลุ่มปิดตลาดวันอังคารในแดนบวก โดยหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ส่วนหุ้นกลุ่มการเงินถือเป็นกลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุด ทางด้านหุ้นกลุ่มสกุลเงินคริปโตรูดลงในวันอังคารด้วยเช่นกัน โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของบิทคอยน์ โดยหุ้นบริษัทคอยน์เบส โกลบัลที่เป็นผู้ประกอบการตลาดดิ่งลง 5.5% และหุ้นบริษัทไมโครสเตรเทจีรูดลง 4.8% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับลง 0.02% สู่ 38,883.67
ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.14% สู่ 5,209.91
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 0.32% สู่ 16,306.64
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ร่วงลงในวันอังคาร ในขณะที่การเจรจาเรื่องการหยุดยิงในเขตกาซายังคงดำเนินต่อไป แต่ราคาน้ำมันร่วงลงไม่มากนัก ในขณะที่ผู้ไกล่เกลี่ยของอียิปต์และกาตาร์เผชิญกับอุปสรรคในการหาทางยุติสงคราม และกลุ่มฮามาสระบุว่า ข้อเสนอของอิสราเอลไม่สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของกลุ่มฮามาส อย่างไรก็ดี กลุ่มฮามาสจะศึกษาข้อเสนอต่อไป และจะยื่นส่งคำตอบให้กับผู้ไกล่เกลี่ย ทางด้านผู้บัญชาการกองทัพเรือของกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติของอิหร่านระบุว่า อิหร่านอาจจะปิดช่องแคบฮอร์มุซถ้าหากมีความจำเป็น ในขณะที่ปริมาณการขนส่งน้ำมันผ่านช่องแคบฮอร์มุซในแต่ละวันครองสัดส่วนราว 20% ของปริมาณการใช้น้ำมันทั่วโลก นอกจากนี้ ตุรกีก็ประกาศว่า ตุรกีจะจำกัดการส่งออกสินค้าหลายอย่างให้แก่อิสราเอล ซึ่งรวมถึงน้ำมันอากาศยาน จนกว่าจะมีการหยุดยิง ส่วนอิสราเอลประกาศว่าจะตอบโต้ตุรกีด้วยมาตรการของตนเอง ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 เม.ย. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 3.034 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐปรับลง 609,000 บาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐปรับขึ้น 120,000 บาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ค.ดิ่งลง 1.20 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 85.23 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 96 เซนต์ หรือ 1.1% มาปิดตลาดที่ 89.42 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 13.69 ดอลลาร์ สู่ 2,352.58 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ในระหว่างวันที่ 2,365.09 ดอลลาร์ โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง และจากความเสี่ยงจากความข้ดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ในขณะที่นักลงทุนรอดูรายงานการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 19-20 มี.ค. และรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธ ทั้งนี้ นายฟิลลิป สเตรเบิล หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบริษัทบลู ไลน์ ฟิวเจอร์สกล่าวว่า "จะยังคงมีคำสั่งซื้อตามปัจจัยทางเทคนิคเข้ามาในตลาดทองต่อไป นอกจากว่าสหรัฐจะรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงเกินคาดเป็นอย่างมาก แต่ถ้าหากสหรัฐรายงานว่า อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง ปัจจัยดังกล่าวก็อาจจะช่วยหนุนราคาทองให้พุ่งขึ้นสู่ 2,400 ดอลลาร์" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com ; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--9 เม.ย.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า มูลค่าหุ้นสหรัฐเคลื่อนตัวอยู่ใกล้ระดับที่สูงที่สุดในรอบราว 2 ปีในช่วงนี้ และมูลค่าหุ้นดังกล่าวอาจจะเผชิญกับบททดสอบในเร็ว ๆ นี้จากฤดูการรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของบริษัทสหรัฐที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 12 เม.ย. เมื่อธนาคารเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, ซิตี้กรุ๊ป และเวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โคเปิดเผยผลประกอบการออกมา และสายการบินเดลต้า แอร์ไลน์กับบริษัทแบล็คร็อคก็จะเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสออกมาในเร็ว ๆ นี้ด้วย ทั้งนี้ ค่าพีอีเรโชของหุ้นในดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐอยู่ที่ 20.7 เท่าของตัวเลขคาดการณ์ผลกำไรสำหรับช่วง 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งใกล้เคียงกับจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 ปีที่ 21.2 เท่าที่เคยทำไว้ในช่วงปลายเดือนมี.ค. ในขณะที่ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 9% จากช่วงต้นปีนี้ แต่อาจจะเป็นเรื่องที่ยากมากยิ่งขึ้นที่ตลาดหุ้นสหรัฐจะยังคงทะยานขึ้นในอัตราที่แข็งแกร่งแบบนี้ได้อีกในช่วงหลังจากนี้
ถ้าหากบริษัทสหรัฐเปิดเผยผลกำไรที่ปรับขึ้นน้อยเกินคาด นักลงทุนก็อาจจะเทขายหุ้นออกมา โดยเฉพาะในช่วงที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งขึ้นในช่วงนี้ ซึ่งส่งผลให้พันธบัตรมีความน่าดึงดูดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับหุ้น ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 2 ปีพุ่งขึ้นจาก 4.732% ในช่วงท้ายวันศุกร์ สู่ 4.789% ในช่วงท้ายวันจันทร์ และปรับขึ้นต่อไปสู่ 4.801% ในช่วงเช้าวันนี้ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 28 พ.ย. 2023 ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นจาก 4.378% ในช่วงท้ายวันศุกร์ สู่ 4.424% ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากทะยานขึ้นแตะ 4.464% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. หรือจุดสูงสุดรอบ 4 เดือน และอยู่ที่ 4.396% ในวันนี้
นักลงทุนจะจับตาดูความเห็นของบริษัทต่าง ๆ ที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อ เพื่อใช้ในการประเมินว่า ภาวะเศรษฐกิจแบบพอเหมาะพอดีในช่วงนี้จะยังคงดำเนินต่อไปได้หรือไม่ โดยภาวะดังกล่าวคือภาวะที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงรักษาระดับความแข็งแกร่งเอาไว้ได้ แต่อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคยังคงชะลอตัวลงต่อไป ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจปรับขึ้น 5% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบรายปี โดยปรับลดลงจากระดับ +7.2% ที่เคยคาดการณ์กันไว้ในช่วงต้นไตรมาสแรก และชะลอตัวลงจากอัตราการเติบโตที่ 10.1% ในไตรมาส 4/2023 โดยอัตรา +5% นี้จะถือว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 2/2023 เป็นต้นมา ในขณะที่อัตราผลกำไรได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูง, การพุ่งขึ้นของต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์ และการที่ภาคเอกชนมีอำนาจน้อยลงในการกำหนดราคา ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง
นักลงทุนจะจับตาดูผลประกอบการของบริษัทขนาดยักษ์ของสหรัฐในช่วงนี้ด้วย หลังจากราคาหุ้นของบริษัทกลุ่ม "Magnificent 7" หรือบริษัทขนาดยักษ์ 7 แห่งที่ประกอบด้วย บริษัทแอปเปิล, ไมโครซอฟท์, แอลฟาเบท, อะเมซอนดอทคอม, เอ็นวิเดีย, เมตา แพลตฟอร์มส์ และเทสลา ปรับตัวในทิศทางที่แตกต่างกันในช่วงนี้ โดยหุ้นเอ็นวิเดียซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปมีราคาพุ่งขึ้นมาแล้ว 78% จากช่วงต้นปีนี้ แต่หุ้นเทสลามีราคาอยู่ที่ 172.98 ดอลลาร์ในช่วงนี้ โดยดิ่งลงมาแล้วราว 30% จาก 248.48 ดอลลาร์ในช่วงปลายปีที่แล้ว ในขณะที่เทสลายกเลิกแผนการผลิตรถยนต์ราคาถูก
นักลงทุนจะจับตาดูว่า ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐในช่วงนี้จะส่งผลบวกต่อรายได้และผลกำไรของบริษัทที่มักปรับตัวตามภาวะเศรษฐกิจหรือไม่ ซึ่งบริษัทในกลุ่มนี้รวมถึงบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มพลังงาน โดยหุ้นกลุ่มนี้ปรับตัวได้ดีเป็นส่วนใหญ่ในปีนี้ ในขณะที่การพุ่งขึ้นในตลาดหุ้นสหรัฐกระจายออกไปในวงกว้าง แทนที่จะกระจุกตัวอยู่แต่ในหุ้นเติบโตและหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com ; โทร 08-7689-6043;
ปักกิ่ง/ฮ่องกง--20 ก.พ.--รอยเตอร์
นักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวนมากได้เดินทางมาเที่ยวทั่วทวีปเอเชียในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ และส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนและยอดใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวจีนในไทย, สิงคโปร์ และมาเลเซียในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้พุ่งขึ้นมาอยู่สูงกว่าช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2019 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดวิกฤติโรคระบาด ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีนไม่ต้องใช้วีซ่าในการเดินทางมาเที่ยวไทย, มาเลเซีย และสิงคโปร์ ทั้งนี้ ยอดนักท่องเที่ยวชาวจีนที่พุ่งขึ้นนี้จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มนี้ เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศกลุ่มนี้พึ่งพานักท่องเที่ยวชาวจีน โดยธนาคาร HSBC ระบุว่า "ถึงแม้จีนเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจมหภาค เราก็คาดว่าพลเมืองจีนจะยังคงเต็มใจใช้จ่ายเงินในการเดินทางท่องเที่ยว และเราคิดว่ารายจ่ายด้านการเดินทางของชาวจีนจะยังคงเติบโตเร็วกว่าปริมาณการบริโภคภายในประเทศจีน"
เว็บไซต์ Trip.com รายงานว่า ยอดการจองการเดินทางมายังไทย, สิงคโปร์ และมาเลเซียพุ่งขึ้นกว่า 30% ในวันที่ 10-17 ก.พ.ปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2019 และจำนวนชาวจีนที่เดินทางไปฮ่องกง, มาเก๊า, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ก็พุ่งขึ้นด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เทศกาลตรุษจีนปีนี้ครอบคลุมวันหยุด 8 วัน แต่เทศกาลตรุษจีนปี 2019 ครอบคลุมวันหยุดเพียง 7 วัน ทั้งนี้ เว็บไซต์ LY.com รายงานว่า ยอดการจองโรงแรมในกรุงเทพในวันที่ 10-13 ก.พ.ปีนี้พุ่งขึ้นเป็น 3 เท่าของช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว ส่วนยอดการจองห้องโรงแรมในสิงคโปร์ทะยานขึ้นเป็น 9 เท่า ทางด้านบริษัทอาลีเพย์ รายงานว่า ยอดการใช้จ่ายในไทย, สิงคโปร์ และมาเลเซียโดยผ่านทางระบบชำระเงินเคลื่อนที่ของอาลีเพย์พุ่งขึ้น 7.5% ในวันที่ 9-12 ก.พ.ปีนี้เมื่อเทียบกับระดับในปี 2019 และทะยานขึ้นเกือบเป็น 7 เท่าจากช่วงเดียวกันในปี 2023 อย่างไรก็ดี อาลีเพย์รายงานว่า ปริมาณการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยรวมอยู่ที่ระดับเพียง 82% ของช่วงเทศกาลตรุษจีนเมื่อ 4 ปีก่อน
ภูมิภาคตะวันออกกลางกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากชาวจีนในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ โดย Trip.com รายงานว่า ยอดการเดินทางไปซาอุดิอาระเบียพุ่งขึ้นกว่า 9 เท่าจากระดับในปี 2019 และยอดการเดินทางไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ทะยานขึ้น 60%
จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาเก๊าพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงกว่า 1 ล้านคนในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ และอัตราการเข้าพักในโรงแรมโดยเฉลี่ยทะยานขึ้นแตะ 95% ในมาเก๊า ทั้งนี้ ธนาคารเจพี มอร์แกนคาดว่า รายได้ขั้นต้นจากการพนันรายวันในมาเก๊าในช่วงตรุษจีนอาจจะพุ่งขึ้นแตะ 124 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะถือเป็นการแตะระดับดังกล่าวได้เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี และอยู่สูงกว่ารายได้รายวันที่ 112 ล้านดอลลาร์ที่เคยทำไว้ในช่วงวันหยุดยาวช่วงวันชาติจีนในเดือนต.ค. 2023
นายจอห์น ลี ผู้บริหารเขตปกครองพิเศษฮ่องกงกล่าวในวันนี้ว่า มีนักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวนกว่า 1.2 ล้านคนเดินทางเยือนฮ่องกงในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ และอัตราการเข้าพักโรงแรมพุ่งขึ้นแตะ 90% ในช่วงแรกของเทศกาล โดยมีจำนวนกรุ๊ปทัวร์จากจีนเดินทางมาเยือนฮ่องกงเป็นจำนวนราว 1,980 กลุ่มในช่วงตรุษจีนปีนี้ด้วย ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมของเกาหลีใต้รายงานว่า มีนักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวนกว่า 114,000 คนเดินทางเยือนเกาหลีใต้ในช่วงตรุษจีน โดยพุ่งขึ้น 4% จากปี 2019 แต่บริษัทตัวแทนท่องเที่ยวบางแห่งตั้งข้อสังเกตว่า นักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวนมากยิ่งขึ้นเลือกที่จะเดินทางด้วยตนเอง แทนที่จะเดินทางแบบกรุ๊ปทัวร์ และส่งผลให้จำนวนกรุ๊ปทัวร์ที่เดินทางไปช้อปปิ้งตามห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ปรับลดลง--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--31 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโรแต่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยนในวันอังคาร ในขณะที่ดอลลาร์ขาดทิศทางที่ชัดเจนก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเปิดเผยผลการประชุมกำหนดนโยบายออกมาในวันพุธนี้ โดยนักลงทุนคาดการณ์กันว่า เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในวันพุธนี้ และนักลงทุนจะมุ่งความสนใจไปยังประเด็นที่ว่า นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดจะส่งสัญญาณบ่งชี้ใด ๆ หรือไม่ว่า มีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐในช่วงนี้ส่งผลให้เทรดเดอร์คาดการณ์กันว่า มีโอกาสเพียง 42% ที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาสราว 89% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อน Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.39 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจาก 103.46 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.60 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 147.49 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0840 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยปรับขึ้นจาก 1.0833 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันอังคาร แต่ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลงเล็กน้อย และดัชนี Nasdaq ร่วงลงในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะได้รับการประกาศออกมาในวันพุธนี้ และรอดูผลประกอบการของบริษัทสำคัญหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงบริษัทแอลฟาเบทกับไมโครซอฟท์ที่เปิดเผยผลประกอบการออกมาหลังจากตลาดปิดทำการในวันอังคาร และบริษัทโบอิ้งที่จะเปิดเผยผลประกอบการออกมาในช่วงเช้าวันพุธ โดยหุ้นโบอิ้งดิ่งลง 2.3% ในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนจับตาดูผลกระทบที่โบอิ้งอาจได้รับจากอุบัติเหตุทางการบินที่เกิดขึ้นในวันที่ 5 ม.ค. โดยในตอนนี้มีบริษัท 144 แห่งในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสสี่ออกมาแล้ว และบริษัท 78% ในกลุ่มนี้เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ทางด้านนักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรไตรมาสสี่ของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจปรับขึ้น 5.5% เมื่อเทียบรายปี โดยตัวเลขคาดการณ์ใหม่นี้ปรับขึ้นจาก +4.7% ที่เคยคาดไว้ในช่วงต้นเดือนม.ค. ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 6 กลุ่มใหญ่ปิดตลาดวันอังคารในแดนบวก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มการเงินที่พุ่งขึ้น 1.2% และหุ้นกลุ่มพลังงานที่ทะยานขึ้น 1.01% ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.1% โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นซิตี้กรุ๊ปที่ทะยานขึ้น 5.51% และหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกาที่พุ่งขึ้น 3.31% หลังจากมอร์แกน สแตนเลย์ปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นซิตี้กรุ๊ปสู่ "overweight" จาก "underweight" และปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกาสู่ "overweight" จาก "equal-weight" อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มที่มักได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจปรับตัวอย่างอ่อนแอในวันอังคาร ซึ่งรวมถึงดัชนีหุ้นกลุ่มการขนส่ง, ดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ที่ดิ่งลง 1.56% และดัชนีหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐที่ร่วงลง 0.76% ในวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.35% สู่ 38,467.31
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.06% สู่ 4,924.97 หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ได้ในระหว่างวัน
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.76% สู่ 15,509.90
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐระบุในวันอังคารว่า เขาได้ตัดสินใจแล้วว่าจะให้สหรัฐตอบโต้อย่างไรต่อการที่กลุ่มนักรบที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในจอร์แดนจนส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และเขาพิจารณาเรื่องวิธีการลงโทษนักรบกลุ่มนี้โดยที่จะไม่ส่งผลให้สงครามขยายวงกว้างออกไป นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบก็ได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกด้วย โดยไอเอ็มเอฟคาดว่า เศรษฐกิจโลกอาจเติบโต 3.1% ในปี 2024 โดยปรับขึ้น 0.2% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมในเดือนต.ค. และคาดว่าเศรษฐกิจโลกอาจเติบโต 3.2% ในปี 2025 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มว่าอาจจะอยู่ที่ 5.8% ในปี 2024 และอาจจะอยู่ที่ 4.4% ในปี 2025 ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ม.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.5 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.1 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 1.04 ดอลลาร์ หรือ 1.35% มาปิดตลาดที่ 77.82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 47 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 82.87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่สัญญาเดือนมี.ค.จะครบกำหนดส่งมอบในวันพุธนี้ ส่วนราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนเม.ย.ปรับขึ้น 67 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 82.50 ดอลลาร์ในวันอังคาร
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 4.37 ดอลลาร์ สู่ 2,036.12 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 2,048.12 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. หรือจุดสูงสุดรอบสองสัปดาห์ โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ และจากการปรับลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะได้รับการประกาศออกมาในวันพุธนี้ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับลงจาก 4.091% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.057% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะ 4.034% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ โดยการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่งผลบวกต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน