ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพ--24 มิ.ย.--รอยเตอร์
บริษัทเคาน์เตอร์พอยท์ รีเสิร์ชรายงานในวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงนี้ โดยที่บริษัท BYD ของจีนและบริษัทวินฟาสต์ของเวียดนามครองตำแหน่งผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคนี้ และสิ่งนี้ก็ส่งผลลบต่อตลาดรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ที่มีบริษัทญี่ปุ่นกับบริษัทเกาหลีใต้ครองตลาดอยู่ในตอนนี้ ทั้งนี้ ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พุ่งขึ้นกว่า 2 เท่าในไตรมาสเดือนม.ค.-มี.ค.ปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน แต่ยอดขายรถยนต์ ICE ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดิ่งลง 7% ในเวลาเดียวกัน
นายอภิค มุคเคอร์จี นักวิเคราะห์ของเคาน์เตอร์พอยท์กล่าวว่า "บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นผู้นำด้านยอดขายรถยนต์แบบดั้งเดิม ดำเนินการอย่างล่าช้าในการหันมาผลิต EV ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ตามแบบฐาน (OEM) ของจีนจึงก้าวเข้ามาทำสิ่งนี้แทน" และเขากล่าวเสริมว่า "บริษัทจีนที่นำโดย BYD ครองส่วนแบ่งกว่า 70% ในยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในตอนนี้" หลังจากที่บริษัทจีนเคยครองส่วนแบ่งได้ถึง 75% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในไตรมาส 1/2023
ประเทศไทยเป็นผู้นำในตลาดนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ไทยถือเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคนี้ และบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของจีนมีภาระผูกพันในการลงทุนกว่า 1.44 พันล้านดอลลาร์ในการจัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแห่งใหม่ในไทย โดยไทยครองส่วนแบ่งได้ถึง 55% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในไตรมาสแรก และยอดขายในไทยก็พุ่งขึ้น 44% จากเมื่อหนึ่งปีก่อน ทั้งนี้ ไทยถือเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของภูมิภาคนี้ด้วย โดยทั้งบริษัทโตโยต้า มอเตอร์และบริษัทฮอนด้า มอเตอร์ของญี่ปุ่นต่างก็มีฐานการผลิตใหญ่ในไทย
เคาน์เตอร์พอยท์ รีเสิร์ชระบุว่า "เวียดนามมีการเติบโตที่น่าประทับใจมาก โดยยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ในเวียดนามพุ่งขึ้นกว่า 400% และครองส่วนแบ่งได้สูงเกือบถึง 17% ของยอดขายทั้งหมดในภูมิภาคนี้" ทั้งนี้ ถ้าหากแยกตามบริษัทแล้ว บริษัท BYD ของจีนก็ครองอันดับหนึ่ง โดยครองส่วนแบ่งได้ถึง 47% ของตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนวินฟาสต์ครองอันดับสอง โดย BYD ได้รับแรงหนุนจากการที่ BYD เป็นหุ้นส่วนทางการจัดจำหน่ายกับบริษัทขนาดใหญ่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งส่งผลให้ BYD ประสบความสำเร็จในภูมิภาคนี้ตั้งแต่ในช่วงแรก อย่างไรก็ดี ภูมิภาคนี้ยังคงถือว่าเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ
บริษัทเทสลาซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของสหรัฐมียอดขายพุ่งขึ้น 37% ในไตรมาสแรกในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ แต่ครองส่วนแบ่งได้เพียง 4% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในไตรมาสแรกในภูมิภาคนี้ โดยลดลงจากเดิม 2% ทั้งนี้ ประเทศไทย, อินโดนีเซีย และประเทศอื่น ๆ บางประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ออกมาตรการจูงใจเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในรถยนต์ไฟฟ้าและเพื่อดึงดูดการลงทุนในช่วงนี้ และบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของจีนก็ตอบรับต่อมาตรการจูงใจดังกล่าว ในขณะที่บริษัทจีนเผชิญกับการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรงในจีน โดยนายมุคเคอร์จีกล่าวเสริมว่า "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กลายเป็นภูมิภาคสำคัญสำหรับการขยายตัวของบริษัทกลุ่ม OEM ของจีน"--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
สิงคโปร์/ซิดนีย์--19 ก.ย.--รอยเตอร์
บริษัทหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังพิจารณาเรื่องการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นในสหรัฐ เพื่อทำประโยชน์จากการที่นักลงทุนต้องการลงทุนเป็นเงินจำนวนมากในประเทศตลาดเกิดใหม่ในช่วงนี้ แต่นักลงทุนไม่สามารถลงทุนในหุ้นบริษัทจีนได้มากนัก เนื่องจากบริษัทจีนชะลอการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในสหรัฐในระยะนี้ ทั้งนี้ บริษัทที่กำลังพิจารณาเรื่องการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชนครั้งแรก (IPO) ในตลาดหุ้นนิวยอร์คในช่วงนี้รวมถึงบริษัทซันเดย์ ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยและเทคโนโลยีในไทย, บริษัทฟันดิง โซไซตีส์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระดมทุนทางระบบดิจิทัลสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ และบริษัทกัชคลาวด์ อินเตอร์เนชันแนล ซึ่งเป็นบริษัทในธุรกิจบันเทิงที่มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ นอกจากนี้ บริษัทอื่น ๆ ที่วางแผนจะจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐก็รวมถึงวีเอ็นจี คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตของเวียดนาม และโฮเต็ล101 โกลบัลในเครือบริษัทดับเบิลดรากอน คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของฟิลิปปินส์
บริษัทจีนชะลอการทำ IPO ในสหรัฐในระยะนี้ โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างจีนกับสหรัฐที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น, การที่รัฐบาลจีนเพ่งเล็งบริษัทจีนที่ต้องการจะจดทะเบียนในต่างประเทศ และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในจีน โดยนายลีฟ ชไนเดอร์ ที่ปรึกษาทางกฎหมายของบริษัทดีเอฟดีแอล เวียดนามกล่าวว่า "บริษัทจีนที่เป็นคู่แข่งของบริษัทในกลุ่มประเทศอาเซียนค่อย ๆ ลดความสำคัญลงในช่วงที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากข้อจำกัดภายในประเทศจีน และเป็นผลจากปัญหาทางเศรษฐกิจภายในจีน โดยปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้บริษัทอาเซียนบางแห่งมีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น" โดยอาเซียนหมายถึงสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีสมาชิก 10 ประเทศ ซึ่งรวมถึงไทย ทั้งนี้ คาร์ซัม กรุ๊ป ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์มค้ารถยนต์ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนได้ประกาศเช่นกันว่า คาร์ซัมกำลังพิจารณาเรื่องการเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่าง ๆ อยู่ในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงตลาดหุ้นในสหรัฐ
บริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดมทุนไปแล้วราว 101 ล้านดอลลาร์ผ่านทางการทำ IPO ในสหรัฐนับตั้งแต่ต้นปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าระดับ 919 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว แต่ผู้บริหารธนาคารคาดว่า ยอดการทำ IPO นี้จะทวีความเร็วขึ้นในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ในขณะที่บริษัทหลายแห่งต้องการหาแหล่งเงินทุนใหม่ หลังจากพึ่งพากองทุนเอกชนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ บริษัทจีนระดมทุนไปแล้ว 463.7 ล้านดอลลาร์ผ่านทางการจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐนับตั้งแต่ต้นปีนี้ ซึ่งสูงกว่าระดับในปี 2022 เล็กน้อย แต่ยังคงถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับยอดการระดมทุน 1.296 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2021 และ 1.248 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2020
นักวิเคราะห์ระบุว่า นักลงทุนที่ต้องการลงทุนในประเทศตลาดเกิดใหม่อาจจะสนใจลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงนี้ เพราะว่าเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการเติบโตสูง และจำนวนประชากรในภูมิภาคนี้เพิ่มสูงขึ้น โดยเศรษฐกิจอินโดนีเซียเพิ่งเติบโต 5.17% ในไตรมาสเดือนเม.ย.-มิ.ย. หลังจากเติบโต 5.04% ในไตรมาสแรก โดยได้รับแรงหนุนจากรายจ่ายที่แข็งแกร่งทั้งในภาครัฐบาลและภาคครัวเรือน ทั้งนี้ ผู้บริหารธนาคารระบุว่า บริษัทบางแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องการจะจดทะเบียนในตลาดสหรัฐต้องการระดมทุนราว 0.3-1.0 พันล้านดอลลาร์ โดยบริษัทเหล่านี้มีมูลค่าอยู่ในระดับ 1.5-8.0 พันล้านดอลลาร์
เทย์ วี หลิง หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาด้านเหตุการณ์ที่สร้างความพลิกผันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของบริษัทดีลอยท์ระบุว่า บริษัทที่มีแนวโน้มสูงสุดที่จะต้องการทำ IPO ทั้งในประเทศและต่างประเทศ คือบริษัทในภาคโลจิสติกส์, เทคโนโลยี, เหมืองแร่, รถยนต์ไฟฟ้า และพลังงานทดแทนได้ และเธอกล่าวเสริมว่า "นักลงทุนต่างชาติกำลังเล็งเห็นถึงคุณค่าในการกระจายพอร์ตลงทุนเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
25 ส.ค.--รอยเตอร์
ผลการคำนวณโดยรอยเตอร์แสดงให้เห็นว่า ผลกำไรของบริษัททั่วโลกมีแนวโน้มร่วงลงในไตรมาส 3 เมื่อเทียบรายไตรมาส ซึ่งจะถือเป็นการร่วงลงครั้งแรกในรอบ 18 เดือน หลังจากผลกำไรเพิ่งพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสเดือนเม.ย.-มิ.ย. ในขณะที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตาสร้างความเสียหายต่อห่วงโซ่อุปทาน และส่งผลให้ต้นทุนแรงงานพุ่งสูงขึ้นในช่วงนี้ ทั้งนี้ ผลกำไรสุทธิของบริษัท 2,542 แห่งทั่วโลก ซึ่งเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนในตลาดแห่งละอย่างน้อย 1 พันล้านดอลลาร์ พุ่งขึ้นสู่สถิติสูงสุดที่ 7.34 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสเดือนเม.ย.-มิ.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นทางการคลังขนาดใหญ่, การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งช่วยกระตุ้นอุปสงค์ของผู้บริโภคในไตรมาส 2 และการที่บริษัทหลายแห่งปรับขึ้นราคาสินค้าเพื่อชดเชยต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี มีการคาดการณ์กันว่า ผลกำไรของบริษัททั่วโลกกลุ่มนี้อาจดิ่งลง 8% สู่ 6.782 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสเดือนก.ค.-ก.ย. โดยผลกำไรของบริษัทสหรัฐอาจรูดลง 7.2% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบรายไตรมาส หลังจากพุ่งขึ้น 12.4% ในไตรมาส 2 ส่วนผลกำไรของบริษัทเอเชียอาจดิ่งลง 9.6% ในไตรมาส 3 และผลกำไรของบริษัทยุโรปอาจรูดลง 10.3% ในไตรมาส 3 ทั้งนี้ ผลผลิตภาคโรงงานและยอดค้าปลีกในจีนเพิ่งชะลอตัวลงอย่างรุนแรงในเดือนก.ค. โดยได้รับแรงกดดันจากการระบาดของโรคโควิด-19 และจากปัญหาอุทกภัยในจีน ทางด้านกิจกรรมทางธุรกิจในสหรัฐชะลอการเติบโตลงในเดือนส.ค.เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน
ภาวะขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาก่อให้เกิดวิกฤติใหม่ในช่วงนี้ ในขณะที่หลายประเทศในเอเชียที่เป็นฐานการผลิตสำคัญในห่วงโซ่อุปทานโลกกำลังเผชิญกับการระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรนา ทั้งนี้ นายไบรอัน จาค็อบสัน นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทเวลส์ ฟาร์โก แอสเซท แมเนจเมนท์กล่าวว่า "ปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทาน, ปัญหาด้านแรงงาน และการพุ่งขึ้นของราคาปัจจัยในการผลิตต่างก็มีแนวโน้มที่จะส่งผลลบต่อผลกำไรในไตรมาส 3" และเขากล่าวเสริมว่า "ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าอยู่ในระดับสูงในปัจจุบัน และการที่ผู้บริโภคไม่ได้รับเช็คกระตุ้นเศรษฐกิจอีกต่อไปอาจจะส่งผลให้องค์ประกอบต่าง ๆ ในปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป"
บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ระบุในสัปดาห์ที่แล้วว่า โตโยต้าจะปรับลดปริมาณการผลิตทั่วโลกลง 40% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบกับแผนเดิมที่วางไว้ ทางด้านบริษัทแอปเปิล อิงค์คาดการณ์ในเดือนที่แล้วว่า รายได้ของแอปเปิลจะชะลอการเติบโตลงในไตรมาสเดือนก.ค.-ก.ย. โดยรายได้อาจเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก แต่จะอยู่ต่ำกว่าอัตราการเติบโตที่ 36.4% ในไตรมาสเดือนเม.ย.-มิ.ย. ทั้งนี้ ในส่วนของบริษัทสหรัฐนั้น นายเจมส์ โซลโลเวย์ หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบริษัท SEI กล่าวว่า การแข็งค่าของดอลลาร์อาจจะสร้างความเสียหายต่อบริษัทผู้ส่งออกของสหรัฐ และผลกำไรในภาคธนาคารอาจจะได้รับแรงกดดัน ถ้าหากอัตราดอกเบี้ยร่วงลงต่อไป
หากแยกตามกลุ่มธุรกิจแล้ว ผลกำไรของบริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ก็มีแนวโน้มดิ่งลง 22.2% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบรายไตรมาส ส่วนผลกำไรของกลุ่มการเงินอาจรูดลง 18.8% และผลกำไรของกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยอาจดิ่งลง 16.2% ทั้งนี้ อัตราผลกำไรของบริษัททั่วโลกอาจอยู่ที่ 10.66% ในไตรมาส 3 โดยร่วงลงจาก 11.43% ในไตรมาส 2--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน