ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กลุ่มผู้เข้าร่วมการประชุมปิโตรเลียมเอเชียแปซิฟิค (APPEC) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของจีนไปสู่การใช้เชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนลดลง และเศรษฐกิจที่ซบเซาจะถ่วงความต้องการใช้น้ำมันในจีน
นายดาอัน สตูเวน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยน้ำมันของโกลด์แมน แซคส์กล่าวว่า ความต้องการน้ำมันต่อปีของจีนชะลอตัวลงจากราว 500,000-600,000 บาร์เรลต่อวันในระยะ 5 ปีก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 สู่ระดับ 200,000 บาร์เรลต่อวันในขณะนี้ และสาเหตุหลักก็คือการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และการใช้รถบรรทุกที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) แทนน้ำมันดีเซล "จีนให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนถ่ายพลังงานด้วยการผลักดันด้านอุปทาน ซึ่งกำลังจะทำให้พลังงานทางเลือกมีราคาถูกกว่า"
ในไตรมาส 2 ความต้องการใช้น้ำมันของจีนชะลอตัวอย่างมาก โดยถูกกดดันจากกำลังการผลิตของโรงกลั่นที่ลดลง และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
นายหง-ปิง เฉิน รองประธานบริษัทในสิงคโปร์ในเครือหรงเซิง ปิโตรเคมิกัลของจีนกล่าวว่า ขณะที่การบริโภคน้ำมันของจีนถูกกดดันจากความต้องการดีเซลที่ย่ำแย่ แต่การขยายตัวของอุปสงค์ในอนาคต 75-80% จะถูกขับเคลื่อนจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ "ในฉากทัศน์ที่เป็นกลาง เราคาดว่าความต้องการใช้น้ำมันเบนซินของจีนจะเพิ่มขึ้น 2.5-3% ในปีหน้า โดยมีการเจาะตลาดของรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น"
แต่เทรดเดร์บางคนยังคงมองว่าภาวะตกต่ำของอุปสงค์น้ำมันโดยรวมของจีนเป็นเรื่องตามวัฏจักร โดยนายซาอัด ราฮิม หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากทราฟิกูรา กล่าวว่า "เราคิดว่าอุปสงค์ที่ชะลอตัวในจีนเป็นเรื่องทางวัฏจักรมากกว่าโครงสร้าง แต่ก็ยังคงอยู่ในภาวะตกต่ำตามวัฏจักรในขณะนี้ เราจึงต้องเห็นภาวะตกต่ำนี้ฟื้นตัวและกลับมา"--จบ--
Eikon source text
31 ก.ค.--รอยเตอร์
บริษัทหลายแห่งทั่วโลกรายงานว่า ผลกำไรเพิ่มขึ้นในไตรมาสล่าสุด แต่ทางบริษัทปรับลดแนวโน้มผลกำไรและยอดขายตลอดทั้งปีลง ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงและจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจจีน ทั้งนี้ บริษัทราว 40% ในสหรัฐและยุโรปได้รายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุดออกมาแล้ว และผลกำไรของบริษัทเหล่านี้ก็อยู่ในระดับที่ตรงตามความคาดหมาย อย่างไรก็ดี เนื่องจากตลาดหุ้นทั่วโลกพุ่งขึ้นไปมากแล้วในช่วงที่ผ่านมา ผลกำไรที่ตรงตามความคาดหมายจึงอาจจะสร้างความผิดหวังต่อนักลงทุนได้ โดยบริษัทชื่อดังที่สร้างความผิดหวังต่อนักลงทุนในช่วงนี้รวมถึงบริษัทแมคโดนัลด์, นิสสันซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์, เทสลาซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า, เนสท์เล่ และดิอาจิโอ ซึ่งเป็นบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคยักษ์ใหญ่
นักลงทุนจับตาดูผลประกอบการของบริษัทขนาดยักษ์หลายแห่งในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทไมโครซอฟท์ที่เปิดเผยผลประกอบการออกมาในช่วงเย็นวันอังคาร, บริษัทเมตา ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊กที่จะเปิดเผยผลประกอบการออกมาในวันพุธ, บริษัทแอปเปิลกับบริษัทอะเมซอนที่จะเปิดเผยผลประกอบการออกมาในวันพฤหัสบดี, บริษัทซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ของเกาหลีใต้, บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ของญี่ปุ่น, บริษัทเอ็กซอน โมบิลในกลุ่มน้ำมันของสหรัฐ, บริษัทเชลล์ในกลุ่มน้ำมัน, บริษัทลอรีอัลของฝรั่งเศส และบริษัทอาดิดาสของเยอรมนี ทั้งนี้ บริษัทหลายแห่งทั่วโลกระบุว่า ผลกำไรของบริษัทเผชิญกับปัญหาสำคัญ 2 ประการ โดยปัญหาแรกคืออัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูง ซึ่งส่งผลลบต่อปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค และปัญหาที่สองคือความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในจีน โดยจีนถือเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
แมคโดนัลด์เพิ่งรายงานว่า ยอดขายทั่วโลกลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 13 ไตรมาส โดยเป็นผลจากความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในจีน ส่วนบริษัทยูนิลีเวอร์, วีซ่า และแอสตัน มาร์ตินก็ตั้งข้อสังเกตถึงความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในจีนด้วยเช่นกัน ทางด้านนักวิเคราะห์ระบุเตือนว่า อุปสงค์ในจีนไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวขึ้นในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากผู้บริโภคจีนได้รับแรงกดดันจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในภาวะตกต่ำมาเป็นเวลานาน และจากความไม่มั่นคงทางการทำงาน ทั้งนี้ ผลกำไรต่อหุ้นของบริษัทสหรัฐพุ่งขึ้นเกือบ 12% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน ซึ่งถือเป็นอัตราการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดรอบ 10 ไตรมาส ส่วนผลกำไรของบริษัทยุโรปปรับขึ้น 4% ในไตรมาสล่าสุด ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงเกินคาด และถือเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2022
บริษัทสหรัฐปรับลดคาดการณ์ผลกำไรไตรมาสสามลงในช่วงนี้ โดยบริษัทสหรัฐคาดว่า ผลกำไรไตรมาสสามอาจปรับขึ้นเพียง 7.3% เมื่อเทียบรายปี โดยปรับลดลงจาก +8.6% ที่เคยคาดไว้ในช่วงต้นเดือนก.ค. ทั้งนี้ ทั้งบริษัทเนสท์เล่และยูนิลีเวอร์ต่างก็รายงานยอดขายครึ่งปีแรกที่เติบโตน้อยเกินคาด ในขณะที่บริษัทโดยรวมในเยอรมนีและฝรั่งเศสคาดการณ์ในทางลบมากยิ่งขึ้น และทำให้นักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจยูโรโซนอาจจะฟื้นตัวอย่างเฉื่อยชา โดยสำนักงานสถิติฝรั่งเศสรายงานในสัปดาห์ที่แล้วว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวมของฝรั่งเศสดิ่งลงจาก 99 ในเดือนมิ.ย. สู่ 94 ในเดือนก.ค. ส่วนสถาบัน Ifo รายงานในสัปดาห์ที่แล้วว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีดิ่งลงจาก 88.6 ในเดือนมิ.ย. สู่ 87.0 ในเดือนก.ค.
บริษัทรถยนต์หลายแห่งกำลังเผชิญปัญหาในสหรัฐ ซึ่งเป็นปัญหาจากสต็อกสินค้าคงคลังที่ระดับสูง และปัญหาด้านโลจิสติกส์ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อผลกำไรของบริษัทฟอร์ด มอเตอร์, สเตลแลนทิส และนิสสัน ทางด้านเทสลาเพิ่งรายงานผลประกอบการที่น่าผิดหวังในไตรมาสล่าสุด และนักลงทุนหลายรายก็มองว่า บริษัทเทสลามีมูลค่าสูงเกินไป ในขณะที่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าชะลอตัวลง--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการตรวจสอบภาวะวิกฤติประจำปีพบว่า ธนาคารสหรัฐที่ใหญ่ที่สุดมีเงินทุนเพียงพอที่จะต้านทานภาวะปั่นป่วนทางเศรษฐกิจและตลาดที่ร้ายแรง แต่ธนาคารได้รับผลขาดทุนตามสมมติฐานมากขึ้นในปีนี้เนื่องจากพอร์ทการลงทุนที่มีความเสี่ยงมากขึ้น
รายงานพบว่า ธนาคารขนาดใหญ่ 31 แห่งจะต้านทานอัตราว่างงานที่พุ่งสูง, ภาวะผันผวนรุนแรงของตลาด และการดิ่งลงของตลาดสินเชื่อจำนองเพื่อที่อยู่อาศัย และเพื่อการพาณิชย์ และยังคงมีเงินทุนเพียงพอที่จะปล่อยสินเชื่อต่อไปได้ นอกจากนี้ เฟดยังพบว่า ระดับของเงินทุนที่มีคุณภาพสูงของธนาคารเหล่านี้จะลดลงสู่ระดับ 9.9% มาที่ระดับต่ำสุด ซึ่งยังคงสูงเกินเกณฑ์ขั้นต่ำอยู่กว่าสองเท่า
แต่ธนาคารได้รับผลขาดทุนมากขึ้นในปีนี้ และเฟดระบุว่า ผลขาดทุนที่สูงขึ้นดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงพอร์ทการลงทุนของธนาคารต่างๆ โดยธนาคารที่ถูกทดสอบจะมีผลขาดทุนรวมกัน 6.85 แสนล้านดอลลาร์ภายใต้ฉากทัศน์ร้ายแรงตามสมมติฐาน และโดยเฉลี่ย ธนาคารมีสัดส่วนเงินทุนลดลง 2.8% ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดตั้งแต่ปี 2018
เฟดระบุว่า บัตรเครดิตเป็นสาเหตุที่เฉพาะเจาะจงของผลขาดทุนสำหรับธนาคาร โดยมีสัดส่วนมากกว่า 25% ของผลขาดทุนตามสมมติฐาน และเฟดตั้งข้อสังเกตว่า บัญชีบัตรเครดิตของธนาคารขนาดใหญ่พุ่งขึ้นกว่า 1.00 แสนล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว และอัตราการค้างชำระหนี้พุ่งกว่า 40%--จบ--
Eikon source text
กรุงเทพฯ--18 ต.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยนในวันอังคาร แต่ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโร หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกินคาดในเดือนก.ย. โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ยอดค้าปลีกปรับขึ้น 0.7% ในเดือนก.ย. หลังจากปรับขึ้น 0.8% ในเดือนส.ค. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.3% สำหรับเดือนก.ย. ในขณะที่ภาคครัวเรือนปรับเพิ่มการซื้อยานยนต์และใช้จ่ายเงินมากยิ่งขึ้นในร้านอาหารและบาร์ โดยยอดขายในบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์พุ่งขึ้น 1.0% ในเดือนก.ย. หลังจากปรับขึ้น 0.4% ในเดือนส.ค. ส่วนยอดขายที่ร้านอาหารและบาร์ปรับขึ้น 0.9% ในเดือนก.ย. ทั้งนี้ นักลงทุนรอฟังถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลายรายในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดในวันพฤหัสบดีที่ 19 ต.ค. ก่อนที่เจ้าหน้าที่เฟดจะเข้าสู่ช่วงของการงดแสดงความเห็นต่อสาธารณชนตั้งแต่วันที่ 21 ต.ค. และเฟดจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย. โดยนายโธมัส บาร์คิน ประธานเฟดสาขาริชมอนด์กล่าวในวันอังคารว่า ต้นทุนการกู้ยืมที่อยู่ในระดับสูงเป็นเวลานานกำลังสร้างแรงกดดันในทางลบต่ออุปสงค์ แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าปัจจัยนี้จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อการกำหนดนโยบายของเฟดในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 106.22 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยขยับลงจาก 106.26 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ และเทียบกับระดับ 107.34 ที่เคยทำไว้ในวันที่ 3 ต.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 149.80 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 149.50 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0575 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยปรับขึ้นจาก 1.0558 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ และเทียบกับระดับ 1.0448 ดอลลาร์ที่เคยทำไว้ในวันที่ 3 ต.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2022
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร ส่วนดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดเกือบทรงตัว และดัชนี Nasdaq ปรับลงในวันอังคาร โดยตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่พุ่งสูงขึ้น หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีทะยานขึ้นจาก 4.71% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.847% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ยอดค้าปลีกปรับขึ้น 0.7% ในเดือนก.ย. หลังจากปรับขึ้น 0.8% ในเดือนส.ค. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.3% สำหรับเดือนก.ย. นอกจากนี้ ตลาดหุ้นก็ได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มผู้ผลิตชิปด้วย หลังจากรัฐบาลสหรัฐประกาศว่า ทางรัฐบาลวางแผนจะระงับการส่งออกชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) ขั้นสูงไปยังจีน โดยข่าวนี้ส่งผลให้ดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐร่วงลง 0.8% และส่งผลให้หุ้นบริษัทเอ็นวิเดีย ซึ่งถือเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกดิ่งลง 4.7% ถึงแม้เอ็นวิเดียคาดว่ามาตรการจำกัดการส่งออกนี้จะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อผลประกอบการของเอ็นวิเดียในระยะอันใกล้นี้ ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงหนุนเข้ามาบ้างจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งที่บริษัทสหรัฐหลายแห่งรายงานออกมา ซึ่งรวมถึงธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกาที่มีราคาหุ้นพุ่งขึ้น 2.3% หลังจากเปิดเผยผลประกอบการ ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินของสหรัฐปรับขึ้น 0.6% ในวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น 0.04% สู่ 33,997.65
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.01% สู่ 4,373.2
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.25% สู่ 13,533.75
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ทรงตัวในวันอังคาร แต่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับขึ้น ในขณะที่นักลงทุนรอดูว่าความพยายามทางการทูตของสหรัฐและการที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐจะเดินทางเยือนอิสราเอลในวันพุธจะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้สงครามในภูมิภาคตะวันออกกลางลุกลามออกไปได้หรือไม่ โดยราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันในช่วงแรก หลังจากนายโธมัส บาร์คิน ประธานเฟดสาขาริชมอนด์กล่าวในวันอังคารว่า ต้นทุนการกู้ยืมที่อยู่ในระดับสูงเป็นเวลานานกำลังสร้างแรงกดดันในทางลบต่ออุปสงค์ แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าปัจจัยนี้จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อการกำหนดนโยบายของเฟดในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนเข้ามาในวันอังคารด้วยเช่นกัน หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกินคาด ทั้งนี้ นายอามิน นัสเซอร์ ซีอีโอของบริษัทซาอุดิ อารามโค ซึ่งถือเป็นบริษัทน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก กล่าวว่า ทางบริษัทสามารถปรับเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ถ้าหากมีความจำเป็น โดยทางบริษัทมีกำลังการผลิตส่วนเกิน 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน และเขากล่าวว่าอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มว่าอาจจะปรับขึ้นสู่ 103 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ทางด้านการปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ต.ค. หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลงราว 4.4 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐรูดลงราว 1.6 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐลดลงราว 610,000 บาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ย.ทรงตัวที่ 86.66 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 25 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 89.90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 3.63 ดอลลาร์ สู่ 1,923.07 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร และพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 4% จากช่วงต้นเดือนต.ค. ในขณะที่เทรดเดอร์จับตาดูความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส และเทรดเดอร์รอฟังถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลายรายในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดในวันพฤหัสบดีที่ 19 ต.ค. ก่อนที่เจ้าหน้าที่เฟดจะเข้าสู่ช่วงของการงดแสดงความเห็นต่อสาธารณชนตั้งแต่วันที่ 21 ต.ค. และเฟดจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย. ทั้งนี้ ธนาคารคอมเมอร์ซแบงก์ยังคงคาดการณ์ตามเดิมว่า ราคาทองจะอยู่ที่ 1,900 ดอลลาร์ในช่วงสิ้นปีนี้ และ 2,100 ดอลลาร์ในช่วงสิ้นปี 2024 โดยคอมเมอร์ซแบงก์ระบุว่า ถ้าหากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางไม่ได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ราคาทองก็มีแนวโน้มว่าอาจปรับขึ้นเพียงในวงจำกัด ในขณะที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเวลาที่ช้าเกินคาด ทางด้านนายเอเวอเรทท์ มิลแมน หัวหน้านักวิเคราะห์ตลาดของบริษัทเกนส์วิลล์ คอยน์กล่าวว่า ถ้าหากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางยังคงดำเนินต่อไป ราคาทองก็จะยังคงเคลื่อนตัวอยู่เหนือ 1,900 ดอลลาร์ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ลอนดอน--4 ต.ค.--รอยเตอร์
ความขัดแย้งระหว่างจีนกับชาติตะวันตกทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงการดำเนินมาตรการด้านภาษีศุลกากรโต้ตอบกัน, การแข่งขันกันในทางเทคโนโลยี และข้อกล่าวหาเรื่องการสอดแนม ในขณะที่รัฐบาลจีนกับรัฐบาลสหรัฐต่างก็ตั้งใจที่จะลดการพึ่งพาอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อห่วงโซ่อุปทาน และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมากด้วย ทางด้านนักวิเคราะห์ได้ระบุถึงผลกระทบที่ตลาดโลกอาจจะได้รับความขัดแย้งระหว่างจีนกับชาติตะวันตกดังต่อไปนี้
ผลกระทบแรกคือผลกระทบด้านเงินเฟ้อ ในขณะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐตั้งใจที่จะโยกย้ายฐานการผลิตสินค้าที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์กลับเข้ามาในสหรัฐ ซึ่งรวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าและเซมิคอนดักเตอร์ ทางด้านบริษัทไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟคเจอริง โค (TSMC) ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในโลก กำลังจะโยกย้ายการผลิตบางส่วนไปยังประเทศเยอรมนี เพื่อจะได้ตอบรับต่อความต้องการของบริษัทข้ามชาติหลายแห่งที่ต้องการจะกระจายห่วงโซ่อุปทานออ กจากจีน อย่างไรก็ดี ผลการวิจัยของธนาคารโกลด์แมน แซคส์พบว่า การโยกย้ายฐานการผลิตออกจากจีนอาจจะส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อได้ ในขณะที่นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทนอร์ทเธิร์น ทรัสต์ระบุว่า กระแสโลกาภิวัฒน์ในช่วงที่ผ่านมาเคยช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพสูงและมีต้นทุนต่ำ ดังนั้นการโยกย้ายฐานการผลิตกลับประเทศจะส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น
ผลกระทบที่ 2 คือการที่ประเทศที่เป็นมิตรกับสหรัฐจะได้รับประโยชน์จากนโยบาย friendshoring ของรัฐบาลสหรัฐ หรือนโยบายที่จะให้ประเทศเหล่านี้เข้ามาแทนที่จีนในห่วงโซ่อุปทาน โดยผลการวิจัยของวิทยาลัยธุรกิจฮาร์วาร์ดระบุว่า เวียดนามและเม็กซิโกเป็นสองประเทศหลักที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายโยกย้ายห่วงโซ่อุปทานของสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ก็พยายามดึงดูดการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐ ในขณะที่มองโกเลียพยายามชักจูงให้สหรัฐเข้ามาลงทุนในการทำเหมืองแร่หายาก ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ในโทรศัพท์สมาร์ตโฟนและอุปกรณ์ไฮเทคอื่น ๆ ทั้งนี้ สัดส่วนของจีนในยอดนำเข้าของสหรัฐได้ปรับลดลงเป็นอย่างมากในช่วงระหว่างปี 2017-2022 ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ครองสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในยอดนำเข้าของสหรัฐในช่วงเวลาเดียวกัน โดยประเทศกลุ่มนี้รวมถึงเวียดนาม, อินเดีย, แคนาดา, เกาหลีใต้, ไทย, เม็กซิโก, ไอร์แลนด์ และมาเลเซีย
ผลกระทบที่ 3 คือเงินลงทุนที่อาจจะหลั่งไหลเข้าสู่อินเดีย ในขณะที่มีการประเมินกันว่า อินเดียถือเป็นประเทศที่มีความสามารถมากที่สุดในการแข่งขันกับจีนในด้านการผลิตขนาดใหญ่โดยใช้ต้นทุนต่ำ โดยอินเดียมีประชากรจำนวนมาก, มีประชากรอายุน้อยจำนวนมาก และมีการเติบโตของชนชั้นกลางด้วย และปัจจัยเหล่านี้จะช่วยดึงดูดบริษัทข้ามชาติด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ บริษัทเจพีมอร์แกนก็วางแผนที่จะบรรจุอินเดียเข้าไว้ในดัชนีพันธบัตรรัฐบาลสำคัญในปีหน้าด้วย และปัจจัยดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้มีเงินลงทุนหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดพันธบัตรอินเดีย ทั้งนี้ ตลาดหุ้นอินเดียพุ่งขึ้นมาแล้ว 8% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ธนาคารกลางอินเดียคาดว่า เศรษฐกิจอินเดียอาจจะขยายตัว 6.5% ในปีงบประมาณปัจจุบัน แต่เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มเติบโตเพียงราว 5% ในปีนี้ ทางด้านธนาคารบาร์เคลย์สคาดว่า ถ้าหากเศรษฐกิจอินเดียเติบโตราว 8% ต่อปีในช่วง 5 ปีข้างหน้า อินเดียก็อาจจะกลายเป็นประเทศที่ส่งแรงบวกมากที่สุดต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
ผลกระทบที่ 4 คือผลกระทบที่จะมีต่อธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะธุรกิจชิปและสินค้าหรูหรา ในขณะที่สหภาพยุโรป (อียู) กำลังสอบสวนว่า อียูควรจะจัดเก็บภาษีศุลกากรเพื่อลงโทษรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้าจากจีนหรือไม่ เนื่องจากอียูมองว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้าจากจีนได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลมากเกินไป ทางด้านหุ้นบริษัทแอปเปิลของสหรัฐเพิ่งดิ่งลงกว่า 6% ในเวลาเพียง 2 วันในช่วงต้นเดือนก.ย. หลังจากมีข่าวว่ารัฐบาลจีนห้ามลูกจ้างของรัฐบาลใช้โทรศัพท์ไอโฟน ทั้งนี้ ธุรกิจสินค้าหรูหราได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งด้วยเช่นกัน เนื่องจากจีนครองส่วนแบ่งใหญ่ในตลาดสินค้าหรูหราทั่วโลก โดยหุ้นกลุ่มสินค้าหรูหราของยุโรปดิ่งลง 16% ในไตรมาส 3 โดยได้รับแรงกดดันจากความขัดแย้งระหว่างจีนกับชาติตะวันตก และจากภาวะเศรษฐกิจจีนที่ซบเซา
ผลกระทบที่ 5 คือความเป็นไปได้ที่จะมีการเทขายหุ้นจีน ในขณะที่ตลาดหุ้นจีนได้รับแรงกดดันอยู่แล้วจากความอ่อนแอทางเศรษฐกิจและจากวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ และอาจจะได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศด้วย--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--3 ต.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินพุ่งขึ้นในวันจันทร์ หลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกมานาน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยดัชนีดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า รัฐบาลสหรัฐสามารถหลีกเลี่ยงจากการชัตดาวน์ (การปิดทำการชั่วคราวของหน่วยงานรัฐบาล) ได้สำเร็จ และดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งด้วย เพราะตัวเลขดังกล่าวช่วยสนับสุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งนี้ สถาบันจัดการอุปทาน (ISM) ของสหรัฐรายงานในวันจันทร์ว่า ภาคการผลิตของสหรัฐใกล้จะฟื้นตัวขึ้นในเดือนก.ย. ในขณะที่การผลิตปรับเพิ่มขึ้นและการจ้างงานดีดขึ้น โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐพุ่งขึ้นจาก 47.6 ในเดือนส.ค. สู่ 49.0 ในเดือนก.ย. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022 แต่ดัชนียังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตยังคงหดตัวลงในเดือนก.ย. ส่วนดัชนีการจ้างงานในภาคการผลิตปรับขึ้นจาก 48.5 ในเดือนส.ค. สู่ 51.2 ในเดือนก.ย. ทางด้านดัชนีการผลิตในภาคโรงงานปรับขึ้นจาก 50.0 ในเดือนส.ค. สู่ 52.5 ในเดือนก.ย. แต่ดัชนีราคาจ่ายในภาคการผลิตดิ่งลงจาก 48.4 ในเดือนส.ค. สู่ 43.8 ในเดือนก.ย. Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 107.01 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยพุ่งขึ้นจาก 106.17 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากทะยานขึ้นแตะ 107.03 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในรอบ 10 เดือน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 149.85 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 149.35 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 149.90 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในรอบราว 11 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0476 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยร่วงลงจาก 1.0570 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0475 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 9 เดือน
ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดเกือบทรงตัวในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนพยายามประเมินความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคของสหรัฐ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย ดิ่งลง 4.7% ในวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2020 และดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานรูดลงอย่างรุนแรงในวันจันทร์ด้วยเช่นกัน โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของราคาน้ำมัน อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.3% และดัชนี Nasdaq ของสหรัฐก็ปรับขึ้นด้วยเช่นกัน ในขณะที่หุ้นบริษัทเอ็นวิเดียทะยานขึ้น 2.9% หลังจากธนาคารโกลด์แมน แซคส์เพิ่มหุ้นเอ็นวิเดียในรายชื่อหุ้น conviction list สำหรับหุ้นกลุ่ม top picks ของโกลด์แมน แซคส์ ทั้งนี้ มิเชลล์ โบว์แมน หนึ่งในผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เธอยังคงเต็มใจที่จะสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในอนาคต ถ้าหากตัวเลขเศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงอย่างเชื่องช้าเกินไป หรืออัตราเงินเฟ้อยุติการชะลอตัวลง Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.22% สู่ 33,433.35
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 0.01% สู่ 4,288.39
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.67% สู่ 13,307.77
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันจันทร์ โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงการที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทะยานขึ้นแตะ 107.03 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในรอบ 10 เดือน, การที่นักลงทุนเทขายทำกำไรสัญญาน้ำมันออกมา หลังจากราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นมาแล้วเกือบ 30% จนแตะจุดสูงสุดรอบ 10 เดือนในไตรมาส 3, แรงกดดันที่อุปสงค์น้ำมันได้รับจากอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูง และความกังวลเรื่องการเพิ่มขึ้นของอุปทานน้ำมันดิบ ทั้งนี้ คณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) รายงานในวันศุกร์ว่า นักเก็งกำไรในสหรัฐปรับเพิ่มการถือครองสถานะซื้อสุทธิในสัญญาล่วงหน้าและออปชั่นน้ำมันดิบในช่วงสัปดาห์ล่าสุด จนสถานะซื้อสุทธิดังกล่าวขึ้นไปแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2022 ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่นักเก็งกำไรอาจจะเทขายทำกำไรสัญญาน้ำมันออกมาในช่วงนี้ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ย.ดิ่งลง 1.97 ดอลลาร์ หรือ 2.2% มาปิดตลาดที่ 88.82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 1.49 ดอลลาร์ หรือ 1.6% มาปิดตลาดที่ 90.71 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนพ.ย.ครบกำหนดส่งมอบที่ระดับ 95.31 ดอลลาร์ในวันศุกร์ ซึ่งเท่ากับว่าราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนใกล้ดิ่งลงราว 5% ในวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค. โดยราคาสัญญาเดือนธ.ค.ได้ดิ่งลงแตะ 90.35 ดอลลาร์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันจันทร์ด้วย ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 3 สัปดาห์สำหรับราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนใกล้
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐดิ่งลง 20.91 ดอลลาร์ หรือ 1.13% สู่ 1,827.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นการร่วงลงเป็นวันที่ 6 ติดต่อกัน หลังจากราคาทองดิ่งลงแตะ 1,825.90 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนมี.ค. หรือจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 7 เดือน โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และจากการคาดการณ์ที่ว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐจะอยู่ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งนี้ นายจิม วิคคอฟ นักวิเคราะห์ของบริษัทคิทโค เมทัลส์กล่าวว่า ราคาทองอาจจะดิ่งลงสู่ระดับต่ำกว่า 1,800 ดอลลาร์ในอนาคตอันใกล้นี้ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
13 มิ.ย.--รอยเตอร์
ถึงแม้นักลงทุนในตลาดโลกพึงพอใจที่วิกฤติภาคธนาคารในเดือนมี.ค.ไม่ได้ส่งผลให้เกิดภาวะสินเชื่อหดตัวอย่างฉับพลัน และพึงพอใจที่สหรัฐสามารถคลี่คลายวิกฤติเพดานหนี้ได้ทันก่อนเส้นตาย เศรษฐกิจโลกก็ยังคงเผชิญกับสัญญาณเตือนต่าง ๆ ในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงการที่เศรษฐกิจยูโรโซนได้เข้าสู่ภาวะถดถอยไปแล้ว และตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่น่าผิดหวัง ทางด้านนักวิเคราะห์ได้ระบุถึงสัญญาณบางประการที่บ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยดังต่อไปนี้
สัญญาณแรกคือการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้าในทางลบมากยิ่งขึ้น ถึงแม้มีการปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปีนี้ โดยธนาคารโลกได้ปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกประจำปี 2023 เนื่องจากเศรษฐกิจจีน, สหรัฐ และประเทศสำคัญอื่น ๆ รักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้ดีเกินคาด โดยธนาคารโลกคาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้น 2.1% ในปีนี้ โดยปรับขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 1.7% ที่เคยคาดไว้ในเดือนม.ค. อย่างไรก็ดี ธนาคารโลกคาดว่า เศรษฐกิจโลกอาจจะเติบโตเพียง 2.4% ในปี 2024 โดยปรับลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 2.7% โดยธนาคารโลกให้เหตุผลว่า การปรับลดนี้เป็นเพราะการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางส่งผลกระทบอย่างล่าช้า และสินเชื่อที่ตึงตัวมากยิ่งขึ้นจะส่งผลลบต่อการลงทุนทางธุรกิจและการลงทุนในที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ดัชนีตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าประหลาดใจทั่วโลกที่จัดทำโดยซิตี้กรุ๊ปอยู่ที่ระดับราว -5 ในช่วงนี้ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่ามีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจทั่วโลกที่แย่เกินคาดออกมาในช่วงนี้ในอัตราที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2022 เป็นต้นมา
สัญญาณที่ 2 คือภาวะตึงตัวด้านสินเชื่อ โดยสัญญาณดังกล่าวรวมถึงผลสำรวจที่ระบุว่า สัดส่วนสุทธิของธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนที่รายงานว่า ภาคเอกชนลดความต้องการกู้เงินลงในไตรมาสแรก อยู่ที่ระดับ 38% ซึ่งถือเป็นสัดส่วนสุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินโลกในปี 2008 เป็นต้นมา และผลสำรวจยังระบุอีกด้วยว่า สัดส่วนสุทธิของธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนที่คุมเข้มมาตรฐานการปล่อยกู้ในไตรมาสแรก อยู่ที่ระดับ 27% ซึ่งเท่ากับในไตรมาส 4/2022 และถือเป็นสัดส่วนสุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติหนี้ยูโรโซนในปี 2011 เป็นต้นมา ทางด้านปริมาณการปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจในยูโรโซนปรับขึ้นเพียง 4.6% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายปี โดยชะลอตัวลงจาก +5.2% ในเดือนมี.ค. ทั้งนี้ ธนาคารดอยช์ แบงก์ตั้งข้อสังเกตว่า โดยปกติแล้วธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มักจะผ่อนคลายนโยบายการเงินลง เมื่อผลสำรวจความเห็นเจ้าหน้าที่สินเชื่อระดับสูง (SLOOS) ในสหรัฐแสดงให้เห็นว่า ดัชนีความเต็มใจในการปล่อยกู้อยู่ใกล้ระดับ 0 อย่างไรก็ดี ดัชนีดังกล่าวอยู่ที่ระดับติดลบเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
สัญญาณที่ 3 คือการปลดพนักงานออกเป็นจำนวนมาก โดยสัญญาณดังกล่าวรวมถึงรายงานของบริษัทแชลเลนเจอร์, เกรย์ แอนด์ คริสต์มาสที่ระบุว่า ยอดการประกาศปรับลดตำแหน่งงานในบริษัทสหรัฐพุ่งขึ้น 20% สู่ 80,089 ตำแหน่งในเดือนพ.ค., ประกาศของบริษัทบีที กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการสื่อสารไร้สายและสื่อสารความเร็วสูงรายใหญ่ที่สุดในอังกฤษที่ระบุว่า บีทีจะปรับลดตำแหน่งงานลง 55,000 ตำแหน่งก่อนสิ้นปี 2030 หรือกว่า 40% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดของบีที และประกาศของบริษัทโวดาโฟน ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของอังกฤษที่ระบุว่า โวดาโฟนวางแผนจะปรับลดตำแหน่งงานทั่วโลกลง 11,000 ตำแหน่งในช่วง 3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทสหรัฐหลายแห่งระบุถึงการปลดพนักงานออกในการรายงานผลกำไรไตรมาสแรกด้วย
สัญญาณที่ 4 คือการคาดการณ์ที่ว่า ยอดผิดนัดชำระหนี้จะพุ่งสูงขึ้น โดยเป็นผลจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการคุมเข้มเงื่อนไขการปล่อยกู้ โดยธนาคารดอยช์ แบงก์คาดว่าจะเกิดกระแสการผิดนัดชำระหนี้ในเร็ว ๆ นี้ และกระแสดังกล่าวจะแตะจุดสูงสุดในไตรมาส 4/2024 โดยอัตราการผิดนัดชำระหนี้ในสหรัฐจะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรที่ 11.3% ซึ่งใกล้กับสถิติสูงสุด ทั้งนี้ สัญญาณที่ 5 คือการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยและความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยในช่วงนี้เทรดเดอร์คาดว่า เฟดจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ แต่อัตราดอกเบี้ยสหรัฐจะร่วงลงสู่ระดับราว 3.9% ภายในเดือนก.ย. 2024 จากระดับ 5.00-5.25% ในปัจจุบัน ทางด้านเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะพลิกกลับหรือลาดลง (inverted) เป็นอย่างมากในช่วงนี้ หรือภาวะที่ต้นทุนการกู้ยืมระยะสั้นอยู่สูงกว่าต้นทุนการกู้ยืมระยะยาว และภาวะ inverted นี้มักจะเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่าเศรษฐกิจกำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน