ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--20 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอ่อนค่าลงในวันพฤหัสบดี หลังจากแกว่งตัวผันผวนในระหว่างวัน ในขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และปรับตัวรับการที่เฟดหันมาใช้จุดยืนในการผ่อนคลายนโยบายการเงิน ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 17-18 ก.ย. โดยให้เหตุผลว่าเฟดมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นว่า อัตราเงินเฟ้อจะยังคงชะลอตัวลงสู่ระดับเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% เมื่อเทียบรายปี นอกจากนี้ ผู้กำหนดนโยบายของเฟดยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% สู่ 4.25-4.50% ในช่วงปลายปีนี้, จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 1% ในปี 2025 สู่ 3.25-3.50% ในช่วงปลายปี 2025 และจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% ในปี 2026 สู่ 2.75-3.00% ในช่วงปลายปี 2026 ซึ่งจะถือเป็นจุดต่ำสุดของวัฏจักร Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 100.67 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจาก 101.02 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากดิ่งลงแตะ 100.21 ในวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2023 หรือจุดต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 142.62 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 142.27 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.1161 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยปรับขึ้นจาก 1.1118 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ
ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 17-18 ก.ย. และผู้กำหนดนโยบายของเฟดยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% สู่ 4.25-4.50% ในช่วงปลายปีนี้ ทางด้านบริษัทเอเวอร์คอร์ ไอเอสไอระบุว่า สถิติตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมาแสดงให้เห็นว่า ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นเฉลี่ย 14% ในช่วงเวลา 6 เดือนหลังจากเฟดเริ่มต้นวัฏจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐก็ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐที่ดีเกินคาดด้วย หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกดิ่งลง 12,000 ราย สู่ 219,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 ก.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนพ.ค. หรือจุดต่ำสุดในรอบ 4 เดือน และอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 230,000 ราย ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 8 กลุ่มปิดตลาดวันพฤหัสบดีในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่พุ่งขึ้นมากที่สุดคือดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ที่พุ่งขึ้น 3.08% ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยทะยานขึ้น 2.2% ทางด้านดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.1% ในขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยปรับลดต้นทุนในการดำเนินงานและช่วยปรับเพิ่มผลกำไรของบริษัทขนาดเล็ก นอกจากนี้ หุ้นบริษัทขนาดยักษ์หลายแห่งก็พุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดีด้วยเช่นกัน โดยหุ้นบริษัทเทสลาทะยานขึ้น 7.36%, หุ้นแอปเปิลพุ่งขึ้น 3.71%, หุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ทะยานขึ้น 3.93% และหุ้นเอ็นวิเดียพุ่งขึ้น 4% และมีส่วนช่วยหนุนดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐให้ปิดทะยานขึ้น 4.3% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 1.26% สู่ 42,025.19 ซึ่งถือเป็นการทำสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่
ดัชนี S&P 500 ปิดทะยานขึ้น 1.70% สู่ 5,713.64 ซึ่งถือเป็นการทำสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่
ดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 2.51% สู่ 18,013.98
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันพุธ เพราะว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยหนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์พลังงาน และราคาน้ำมันก็ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการดิ่งลงของสต็อกน้ำมันในคลังทั่วโลกด้วย ในขณะที่ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 1.6 ล้านบาร์เรล สู่ 417.5 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ก.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2023 หรือจุดต่ำสุดรอบ 1 ปี ทางด้านนักวิเคราะห์ของบริษัทยูบีเอสระบุว่า การร่วงลงของสต็อกน้ำมันดิบในคลังทั่วโลกน่าจะช่วยหนุนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ให้พุ่งขึ้นมาอยู่เหนือ 80 ดอลลาร์ได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทแมคควารีก็ระบุว่า สต็อกน้ำมันในคลังสหรัฐน่าจะดิ่งลงอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นไปอีกในสัปดาห์หน้า เพราะว่ายอดการส่งอออกน้ำมันของสหรัฐอาจจะดีดขึ้นอย่างแข็งแกร่ง หลังจากการส่งออกหยุดชะงักลงเพราะพายุเฮอริเคนฟรานซีนในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ของซิตี้กรุ๊ประบุว่า ภาวะขาดแคลนน้ำมันราว 400,000 บาร์เรลต่อวันจะช่วยหนุนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ให้เคลื่อนตัวในกรอบ 70-75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาสหน้า Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ทะยานขึ้น 1.04 ดอลลาร์ หรือ 1.5% มาปิดตลาดที่ 71.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 1.23 ดอลลาร์ หรือ 1.7% มาปิดตลาดที่ 74.88 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้น 27.68 ดอลลาร์ หรือ 1.08% สู่ 2,586.48 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 2,599.92 ดอลลาร์ในวันพุธ โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 17-18 ก.ย. นอกจากนี้ ผู้กำหนดนโยบายของเฟดยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% สู่ 4.25-4.50% ในช่วงปลายปีนี้, จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 1% ในปี 2025 สู่ 3.25-3.50% ในช่วงปลายปี 2025 และจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% ในปี 2026 สู่ 2.75-3.00% ในช่วงปลายปี 2026 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ของธนาคารยูบีเอสระบุว่า "เรามองว่าราคาทองน่าจะทะยานขึ้นต่อไป โดยเราตั้งเป้าหมายของราคาทองไว้ที่ 2,700 ดอลลาร์สำหรับช่วงกลางปี 2025 และเราก็คาดว่าปัจจัยเสี่ยงในระยะใกล้จะช่วยหนุนให้อุปสงค์ในกองทุน ETF ทองเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--29 เม.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 34 ปีเมื่อเทียบกับเยนในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนบางส่วนจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่ไม่ได้ชะลอตัวลง และรายงานตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวก็ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มที่จะเลื่อนเวลาในปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไป ทั้งนี้ สำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจ (BEA) ในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดนิยมใช้ ปรับขึ้น 0.3% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งตรงกับตัวเลขคาดการณ์ในตลาด หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ. ส่วนดัชนี PCE แบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.7% ในเดือนมี.ค. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2.6% หลังจากปรับขึ้น 2.5% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายปี ทางด้านดัชนี PCE พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานปรับขึ้น 0.3% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ. ส่วนดัชนี PCE พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.8% ในเดือนมี.ค. หลังจากปรับขึ้น 2.8% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายปี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.96 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 105.60 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 158.33 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยพุ่งขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 155.65 เยน หลังจากทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 158.43 เยน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปี 1990 เป็นต้นมา หรือจุดสูงสุดรอบ 34 ปี และเทียบกับจุดต่ำสุดของวันที่ 154.97 เยน โดยดอลลาร์/เยนปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 2.39% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนม.ค.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0692 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยร่วงลงจาก 1.0729 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี แต่ยูโรปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับขึ้น 0.36% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มเติบโต หลังจากบริษัทแอลฟาเบทและบริษัทไมโครซอฟท์เปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสที่แข็งแกร่ง และหลังจากรัฐบาลสหรัฐเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อในระดับปานกลาง โดยหุ้นแอลฟาเบทพุ่งขึ้น 10.22% ในวันศุกร์ และทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดได้ในระหว่างวัน หลังจากแอลฟาเบทประกาศจ่ายเงินปันผลครั้งแรก, ประกาศโครงการซื้อคืนหุ้นขนาด 7.0 หมื่นล้านดอลลาร์ และประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกที่ดีเกินคาด โดยการพุ่งขึ้นของหุ้นแอลฟาเบทในวันศุกร์ส่งผลให้มูลค่าในตลาดของแอลฟาเบททะยานขึ้นเหนือระดับ 2 ล้านล้านดอลลาร์ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2021 เป็นต้นมา ทางด้านหุ้นไมโครซอฟท์พุ่งขึ้น 1.8% ในวันศุกร์ หลังจากไมโครซอฟท์ประกาศผลกำไรและรายได้รายไตรมาสที่ดีเกินคาด โดยได้รับแรงหนุนจากการที่ไมโครซอฟท์นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในบริการคลาวด์ของไมโครซอฟท์ นอกจากนี้ หุ้นบริษัทขนาดยักษ์แห่งอื่น ๆ ก็ทะยานขึ้นด้วยเช่นกัน โดยหุ้นอะเมซอทดอทคอมพุ่งขึ้น 3.4%, หุ้นเอ็นวิเดียทะยานขึ้น 5.8% และหุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์บวกขึ้น 0.4% อย่างไรก็ดี หุ้นบริษัทแอปเปิลปรับลง 0.3% และหุ้นบริษัทเทสลาดิ่งลง 1.1% ในวันศุกร์ ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 6 กลุ่มใหญ่ปิดตลาดวันศุกร์ในแดนบวก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสาร, กลุ่มเทคโนโลยี, กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย และกลุ่มวัสดุ ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงจาก 4.706% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี สู่ 4.669% ในช่วงท้ายวันศุกร์ หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า อัตราเงินเฟ้อปรับขึ้นปานกลางในเดือนมี.ค. Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.40% สู่ 38,239.66
ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 1.02% สู่ 5,099.96 โดยดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. 2023 และดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกหลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบมานานติดต่อกัน 3 สัปดาห์
ดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 2.03% สู่ 15,927.90 โดยดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. 2023 และดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกหลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบมานานติดต่อกัน 4 สัปดาห์
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง ในขณะที่อิสราเอลเร่งดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อเมืองราฟาห์ในเขตกาซาในวันพฤหัสบดี และนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลกล่าวว่า คำตัดสินใด ๆ ของศาลอาญาระหว่างประเทศที่มีต่อกรณีที่กลุ่มฮามาสโจมตีอิสราเอลในวันที่ 7 ต.ค. 2023 และต่อการที่กองทัพอิสราเอลโจมตีเขตกาซา จะไม่ส่งผลกระทบต่อปฏิบัติการของอิสราเอล แต่จะ "เป็นการสร้างแบบอย่างที่เป็นอันตราย" นอกจากนี้ กองทัพอิสราเอลก็แถลงในวันศุกร์ว่า กองทัพอากาศได้โจมตีเขตเวสท์เบคาในเลบานอนและได้สังหารนักรบรายหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ราคาน้ำมันปรับขึ้นได้ไม่มากนักในวันศุกร์ เนื่องจากราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐ เพราะตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวทำให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมิ.ย.ปรับขึ้น 28 เซนต์ หรือ 34% มาปิดตลาดที่ 83.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 49 เซนต์ หรือ 0.55% มาปิดตลาดที่ 89.50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 5.94 ดอลลาร์ สู่ 2,337.72 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ตรงตามความคาดหมาย อย่างไรก็ดี ราคาทองปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 2.21% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2023 โดยได้รับแรงกดดันจากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับอิหร่านที่ไม่ได้ทวีความรุนแรงขึ้นตามความคาดหมายในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงจาก 4.706% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี สู่ 4.669% ในช่วงท้ายวันศุกร์ และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ก็มีส่วนช่วยหนุนราคาทองในวันศุกร์ด้วย ทางด้านนายไท หว่อง เทรดเดอร์โลหะอิสระกล่าวว่า "แนวโน้มของราคาทองขึ้นอยู่กับกระแสความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย และคำสั่งซื้อจากภูมิภาคตะวันออกไกล" และเขาคาดว่าราคาทองจะสร้างฐานที่ระดับ 2,300-2,400 ดอลลาร์ในระยะสั้น Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--26 เม.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินหลายสกุลยกเว้นเยนในวันพฤหัสบดี หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโต 1.6% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +2.4% แต่ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐานปรับขึ้น 3.7% ในไตรมาสแรก ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ +3.4% และปัจจัยนี้อาจจะเป็นอุปสรรคขัดขวางธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ หลังจากรัฐบาลสหรัฐรายงานตัวเลขจีดีพี นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าก็คาดการณ์ว่า มีโอกาส 58% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. โดยปรับลดลงจากโอกาส 70% ที่เคยคาดไว้ในช่วงเย็นวันพุธ และนักลงทุนยังคาดการณ์กันอีกด้วยว่า มีโอกาส 68% ที่เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 6-7 พ.ย. ซึ่งจะถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.60 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจาก 105.80 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 106.00
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 155.65 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 155.34 เยน หลังจากดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดของวันที่ 155.31 เยน และหลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 155.75 เยน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 34 ปี หรือจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0729 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยปรับขึ้นจาก 1.0697 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ
ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงกดดันจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐที่ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโต 1.6% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี และอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +2.4% แต่ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐานปรับขึ้น 3.7% ในไตรมาสแรก ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ +3.4% โดยรายงานนี้ส่งผลให้นักลงทุนในตลาดเงินคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 0.36% ในปีนี้ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐก็ได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากหุ้นบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ที่ดิ่งลง 10.56% ในวันพฤหัสบดีด้วย หลังจากเมตาเปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวัง ทางด้านหุ้นอีก 3 ตัวในกลุ่ม Magnificent Seven ของสหรัฐก็รูดลงในวันพฤหัสบดีด้วยเช่นกัน ซึ่งรวมถึงหุ้นแอลฟาเบทที่ดิ่งลง 1.97%, หุ้นอะเมซอนดอทคอมที่รูดลง 1.65% และหุ้นไมโครซอฟท์ที่ดิ่งลง 2.45% ในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ การดิ่งลงของหุ้นเมตาส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มการสื่อสารของสหรัฐกลายเป็นหุ้นกลุ่มใหญ่ที่รูดลงมากที่สุดในวันพฤหัสบดี ส่วนหุ้นกลุ่มอื่น ๆ ที่รูดลงในวันพฤหัสบดีรวมถึงหุ้นกลุ่มการแพทย์, กลุ่มอสังหาริมทรัพย์, กลุ่มการเงิน, กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น และกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย ทางด้านหุ้นบริษัทอินเตอร์เนชันแนล บิสเนส แมชชีนส์ (IBM) ดิ่งลง 8% หลังจาก IBM ประกาศเรื่องการทำข้อตกลงขนาด 6.4 พันล้านดอลลาร์เพื่อเข้าซื้อบริษัทฮาชิ คอร์ป อย่างไรก็ดี หุ้นนิวมอนท์ ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองแร่ทองที่ใหญ่ที่สุดในโลกพุ่งขึ้น 12% หลังจากนิวมอนท์รายงานผลกำไรไตรมาสแรกที่สูงเกินคาด โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาทองในช่วงที่ผ่านมา Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดดิ่งลง 0.98% สู่ 38,085.80
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.46% สู่ 5,048.42
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.64% สู่ 15,611.76
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมันในภูมิภาคตะวันออกกลาง ในขณะที่อิสราเอลดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อเมืองราฟาห์ในภาคใต้ของเขตกาซา หลังจากอิสราเอลประกาศว่าจะอพยพพลเรือนออกจากเมืองราฟาห์และจะเริ่มการโจมตีอย่างเต็มรูปแบบ ถึงแม้ชาติพันธมิตรเตือนว่าการทำเช่นนี้จะส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากถ้อยแถลงของเจเน็ต เยลเลน รมว.คลังสหรัฐที่ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะที่ดีมาก โดยเยลเลนได้กล่าวต่อรอยเตอร์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งกว่าที่ตัวเลขไตรมาสแรกบ่งชี้ไว้ และเธอกล่าวเสริมว่า อาจจะมีการปรับทบทวนตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำไตรมาสแรกให้สูงขึ้นในเวลาต่อมา หลังจากสหรัฐได้รับข้อมูลเพิ่มเติม และอัตราเงินเฟ้อก็จะชะลอตัวลงสู่ระดับปกติมากกว่านี้ หลังจากปัจจัยที่ผิดปกติบางประการทำให้เศรษฐกิจเติบโตในไตรมาสแรกในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมิ.ย.ปรับขึ้น 76 เซนต์ หรือ 0.9% มาปิดตลาดที่ 83.57 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 99 เซนต์ หรือ 1.1% มาปิดตลาดที่ 89.01 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 15.96 ดอลลาร์ สู่ 2,331.78 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่สูงเกินคาดในไตรมาสแรก ทั้งนี้ ยอดการนำเข้าทองสุทธิจากฮ่องกงสู่จีนพุ่งขึ้น 40% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน โดยพุ่งขึ้นสู่ 55.836 ตันในเดือนมี.ค. จาก 39.826 ตันในเดือนก.พ. โดยจีนถือเป็นประเทศผู้ใช้ทองรายใหญ่ที่สุดในโลก Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--14 มี.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอ่อนค่าลงในวันพุธ หลังจากที่เพิ่งแข็งค่าขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่อยู่ในระดับสูงเกินคาด ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ เพื่อใช้ในการประเมินว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อใด โดยตัวเลขที่นักลงทุนรอดูรวมถึงยอดค้าปลีก, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) และยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ สกายลาร์ มอนต์โกเมอรี โคนิง ผู้อำนวยการฝ่ายแผนยุทธศาสตร์มหภาคของบริษัททีเอส ลอมบาร์ดระบุในเอกสารวิจัยว่า "ดัชนีดอลลาร์ยังคงปรับตัวตามการคาดการณ์เรื่องการผ่อนคลายนโยบายการเงินของเฟด และในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนก็มีความกังวลมากยิ่งขึ้นว่า เฟดอาจจะเลื่อนกำหนดในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไปสู่ปี 2025 หรือกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการบีบบังคับให้เฟดต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง และสิ่งนี้ก็แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนกลับมากังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจจะเข้าสู่ภาวะ no landing" หรือภาวะที่เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตสูงกว่าระดับศักยภาพและอัตราเงินเฟ้ออยู่สูงกว่าระดับศักยภาพ โดยที่เศรษฐกิจไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย นอกจากนี้ เธอยังกล่าวเสริมว่า เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งเกินคาดในช่วงนี้ "ดอลลาร์จึงมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้น ถึงแม้อาจจะเผชิญกับอุปสรรคบ้างเป็นบางครั้ง" Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 102.75 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 102.92 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร อย่างไรก็ดี ดัชนีดอลลาร์ยังคงพุ่งขึ้นมาแล้วราว 1.5% จากช่วงต้นปีนี้
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.74 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 147.68 เยน หลังจากดอลลาร์/เยนเพิ่งพุ่งขึ้นในวันอังคารในอัตราที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 1 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0946 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0924 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร
ดัชนีดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐขยับขึ้นในวันพุธ แต่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ปรับลงในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนเทขายทำกำไรหุ้นกลุ่มชิป โดยดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐดิ่งลง 2.5% ในวันพุธ แต่ดัชนีฟิลาเดลเฟียยังคงพุ่งขึ้นมาแล้ว 17% จากช่วงต้นปีนี้ ทางด้านหุ้นบริษัทเอ็นวิเดียรูดลง 1.1% ในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนรอดูข่าวเกี่ยวกับงานประชุมผู้พัฒนาเทคโนโลยีหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ (GTC) สำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่จัดโดยเอ็นวิเดียในวันที่ 18-21 มี.ค. และรอดูข่าวเกี่ยวกับ AI ในช่วงนี้ด้วย ส่วนหุ้นบริษัทอินเทลดิ่งลง 4.4% หลังจากสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐยกเลิกแผนการให้เงิน 2.5 พันล้านดอลลาร์แก่อินเทล ทั้งนี้ หุ้นบริษัทแมคโดนัลด์สดิ่งลง 3.9% หลังจากหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของแมคโดนัลด์สระบุว่า ยอดขายต่างประเทศอาจจะปรับลดลงในไตรมาสปัจจุบัน ส่วนหุ้นบริษัทดอลลาร์ ทรีซึ่งทำธุรกิจเครือข่ายร้านขายสินค้าราคาถูกรูดลง 14.2% หลังจากดอลลาร์ ทรีประกาศว่าจะปิดห้างร้านเกือบ 1,000 แห่ง และทางบริษัทมียอดขาดทุนสุทธิในไตรมาสที่แล้ว โดยเป็นผลจากการด้อยค่าความนิยมลงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น 0.1% สู่ 39,043.32
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.19% สู่ 5,165.31
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.54% สู่ 16,177.77
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบและน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐที่ดิ่งลงอย่างรุนแรงเกินคาด และจากข่าวที่ว่ายูเครนใช้โดรนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของรัสเซีย ซึ่งส่งผลให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่โรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทรอสเนฟท์ ในขณะที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียกล่าวว่า การโจมตีดังกล่าวเป็นความพยายามในการสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซียในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ ปธน.ปูตินยังกล่าวอีกด้วยว่า รัสเซียมีความพร้อมทางเทคนิคในการทำสงครามนิวเคลียร์ แต่เขายังไม่เห็นความจำเป็นในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ในยูเครน และเขากล่าวเสริมว่า ถ้าหากสหรัฐส่งทหารเข้าไปในยูเครน สิ่งนี้ก็จะถือเป็นการยกระดับความขัดแย้งขึ้นเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 1.5 ล้านบาร์เรล สู่ 447 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 มี.ค. ซึ่งสวนทางกับโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจปรับขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐรูดลง 5.7 ล้านบาร์เรล สู่ 234.1 ล้านบาร์เรล ซึ่ถือเป็นการรูดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน และเทียบกับโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า สต็อกน้ำมันเบนซินอาจปรับลดลงเพียง 1.9 ล้านบาร์เรล ทางด้านสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil ปรับขึ้น 888,000 บาร์เรล สู่ 117.9 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนเม.ย.ทะยานขึ้น 2.16 ดอลลาร์ หรือ 2.8% มาปิดตลาดที่ 79.72 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 2.11 ดอลลาร์ หรือ 2.6% มาปิดตลาดที่ 84.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย. 2023 หรือระดับปิดสูงสุดในรอบ 4 เดือน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 16.41 ดอลลาร์ สู่ 2,174.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ในขณะที่นักลงทุนยังคงคาดการณ์ตามเดิมว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. นอกจากนี้ ราคาทองก็ได้รับแรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศด้วย ทั้งนี้ นายบ็อบ ฮาเบอร์คอร์น นักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบริษัทอาร์เจโอ ฟิวเจอร์สกล่าวว่า การปรับขึ้นของราคาทองในวันพุธเกิดจากคำสั่งช้อนซื้อเก็งกำไร และเขากล่าวเสริมว่า "นักลงทุนมองว่า ราคาทองจะได้รับแรงหนุนไม่ว่าสถานการณ์จะออกมาเป็นอย่างไรก็ตาม เพราะว่าถ้าหากเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ย ราคาทองก็จะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง แต่ถ้าหากเฟดไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ย นักลงทุนก็จะกังวลกับภาวะเงินเฟ้อ และความกังวลดังกล่าวก็อาจจะหนุนราคาทองให้สูงขึ้น" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
รายงานดัชนีเงินปันผลทั่วโลกจากเจนัส เฮนเดอร์สันพบว่า การจ่ายปันผลบริษัทเอกชนทั่วโลกพุ่งทำสถิติสูงสุดตลอดกาลที่ 1.66 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2023 โดยการจ่ายปันผลสูงเป็นประวัติการณ์ของภาคธนาคารมีสัดส่วนครึ่งหนึ่งของอัตราการเพิ่มขึ้น และบริษัทจดทะเบียนจำนวน 86% ทั่วโลกได้เพิ่มปันผล หรือคงจ่ายปันผลไว้
บริษัทที่จ่ายปันผลมากที่สุดในโลกในปีที่แล้วได้แก่ไมโครซอฟท์ ตามมาด้วยแอปเปิล และเอ็กซอน โมบิล ขณะที่มูลค่ารวมของปันผลของภาคเอกชนพุ่งขึ้นจาก 1.57 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2022 โดยอัตราการขยายตัวพื้นฐาน ซึ่งรวมการเคลื่อนไหวของค่าเงิน, เงินปันผลพิเศษ, การเปลี่ยนแปลงของเวลา และการเปลี่ยนแปลงของดัชนีอยู่ที่ 5% จากปี 2022
อัตราดอกเบี้ยสูงหนนุกำไรขั้นต้นของภาคธนาคารเพิ่มขึ้น และธนาคารได้จ่ายปันผลสูงเป็นประวัติการณ์ 2.20 แสนล้านดอลลาร์ให้แก่ผู้ถือหุ้นในปีที่แล้ว พุ่งขึ้น 15% จากปี 2022 และยังคงดีดตัวขึ้นหลังจากที่ธนาคารระงับการจ่ายปันผลในช่วงโรคระบาด อย่างไรก็ดี กลุ่มเหมืองได้ลดการจ่ายปันผลลง เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ร่วงลงกระทบกำไรจากการทำเหมือง
ในด้านภูมิศาสตร์นั้น ยุโรป (ยกเว้นอังกฤษ) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจ่ายปันผลเพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วน 2 ใน 5 ของการเพิ่มขึ้นทั่วโลก ขณะที่การจ่ายปันผลเพิ่มขึ้น 10.4% สู่ระดับ 3.007 แสนล้านดอลลาร์ และญี่ปุ่นก็มีส่วนสนับสนุนอย่างมากเช่นกัน แต่ก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากเยนที่อ่อนค่า ส่วนสหรัฐมีส่วนสนับสนุนการเพิ่มการจ่ายปันผลทั่วโลกมากที่สุดเนื่องจากขนาด โดยมีอัตราเพิ่มขึ้น 5.1% ซึ่งสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก
เจนัส เฮนเดอร์สันยังคาดว่า การจ่ายปันผลจะเพิ่มขึ้นอีก 5% ทำสถิติสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ที่ 1.72 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้--จบ--
Eikon source text
กรุงเทพฯ--29 ม.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินขยับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนธ.ค. แต่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มร่วงลงในอนาคต และปัจจัยดังกล่าวบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงภายในช่วงกลางปีนี้ ทั้งนี้ สำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดนิยมใช้ ปรับขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากขยับขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ย. ส่วนดัชนี PCE ทั่วไปแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.6% ในเดือนธ.ค. หลังจากปรับขึ้น 2.6% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเท่ากับว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่าระดับ 3% มาเป็นเวลานาน 3 เดือนติดต่อกัน ทางด้านดัชนี PCE พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานปรับขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากขยับขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ย. ในขณะที่ดัชนี PCE พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.9% ในเดือนธ.ค. ซึ่งถือเป็นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2021 หลังจากปรับขึ้น 3.2% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.47 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยขยับลงจาก 103.50 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 148.16 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 147.65 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0852 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยขยับขึ้นจาก 1.0846 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.0811 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยยูโรปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการอ่อนค่าลง 0.41% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันศุกร์ แต่ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ปรับลงในวันศุกร์ ในขณะที่หุ้นบริษัทอินเทลดิ่งลง 11.91% หลังจากอินเทลคาดการณ์รายได้ที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ในตลาดเป็นอย่างมาก ในขณะที่อินเทลพยายามไล่ตามบริษัทอื่น ๆ ในการแข่งขันกันในธุรกิจปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทลต้องรับมือกับตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ที่อ่อนแอ ทางด้านหุ้นเคแอลเอ คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ผลิตชิปดิ่งลง 6.6% หลังจากเคแอลเอคาดการณ์รายได้ไตรมาสสามที่น่าผิดหวัง นอกจากนี้ ดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐก็รูดลง 2.9% ในวันศุกร์ และปิดตลาดในแดนลบเป็นวันที่สองติดต่อกัน หลังจากดัชนีเพิ่งพุ่งขึ้นมาปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ในวันพุธที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในบรรดาบริษัทในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลประกอบการออกมาแล้วนั้น บริษัท 78.2% เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 67% โดยหุ้นบริษัทอเมริกัน เอ็กซ์เพรสพุ่งขึ้น 7.1% ในวันศุกร์ และทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ หลังจากบริษัทบัตรเครดิตแห่งนี้คาดการณ์ผลกำไรประจำปีที่สูงเกินคาด อย่างไรก็ดี หุ้นบริษัทวีซ่าดิ่งลง 1.7% หลังจากวีซ่าคาดการณ์รายได้ไตรมาสปัจจุบันที่ระดับต่ำ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.16% สู่ 38,109.43 ในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับขึ้น 0.65% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.07% สู่ 4,890.97 ในวันศุกร์ หลังจากดัชนีเพิ่งปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่มาได้นาน 5 วันติดต่อกัน อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 1.06% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.36% สู่ 15,455.36 ในวันศุกร์ แต่ดัชนี Nasdaq ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการทะยานขึ้น 0.94% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน โดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงรายงานที่ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโต 3.3% ในไตรมาสสี่เมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) หลังจากเติบโต 4.9% ในไตรมาสสาม โดยอัตราการเติบโตนี้อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2% สำหรับไตรมาสสี่, ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่ชะลอตัวลง, สัญญาณบ่งชี้ว่าจีนดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ, การที่ยูเครนใช้โดรนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันในภาคใต้ของรัสเซีย, ตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐที่ดิ่งลง 9.2 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ล่าสุด และความขัดแย้งในภูมิภาคคะวันออกกลาง ในขณะที่โฆษกของกลุ่มฮูตีประกาศว่า ทางกลุ่มได้โจมตีเรือขนส่งน้ำมันลำหนึ่งในอ่าวเอเดน และข่าวนี้ทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจจะเกิดการขาดตอนของอุปทานน้ำมัน ทั้งนี้ บริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์รายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐเพิ่มขึ้น 2 แท่น สู่ 499 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ม.ค. ส่วนคณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) รายงานในวันศุกร์ว่า ผู้จัดการกองทุนปรับเพิ่มปริมาณการถือครองสถานะซื้อสุทธิในสัญญาล่วงหน้าและออปชั่นน้ำมันดิบสหรัฐขึ้น 56,134 สัญญา สู่ 99,144 สัญญาในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันอังคารที่ 23 ม.ค. Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.ปรับขึ้น 65 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 78.01 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 1.12 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 83.55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. โดยทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นกว่า 6% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ต.ค. หรือนับตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 1.41 ดอลลาร์ สู่ 2,018.34 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับลง 0.54% จากสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค. เพื่อใช้ในการประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ ทั้งนี้ ค่าพรีเมียมทองในจีนปรับขึ้นในสัปดาห์นี้ ในขณะที่จีนดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม และมาตรการดังกล่าวช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุนในช่วงก่อนถึงเทศกาลตรุษจีน Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--27 ธ.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอ่อนค่าลงในวันอังคาร ในขณะที่ยูโรปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบกว่า 4 เดือน และนักลงทุนรอดูสัญญาณบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อใด หลังจากอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐชะลอตัวลงเข้าใกล้ระดับเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% ทั้งนี้ วอลุ่มการซื้อขายในตลาดอยู่ในระดับเบาบางในวันอังคาร เนื่องจากตลาดการเงินในอังกฤษ, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และฮ่องกงยังคงปิดทำการในวันที่ 26 ธ.ค.เนื่องในวัน Boxing Day และเทรดเดอร์ทั่วโลกออกไปพักผ่อนวันหยุดในช่วงนี้จนกว่าจะถึงปีใหม่ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 101.47 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจาก 101.64 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 142.38 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยขยับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 142.34 เยน และเทียบกับจุดสูงสุดรอบ 32 ปีที่ 151.94 เยนที่เคยทำไว้ในวันที่ 24 ต.ค. 2022 โดยดอลลาร์/เยนมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดปีนี้ด้วยการทะยานขึ้น 8.68% จากปีที่แล้ว
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.1042 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.1007 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากปรับขึ้นแตะ 1.1045 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค. โดยยูโรทะยานขึ้นมามากแล้วจากจุดต่ำสุดรอบ 20 ปีที่ 0.9528 ดอลลาร์ที่เคยทำไว้ในวันที่ 26 ก.ย. 2022 และยูโรมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดปีนี้ด้วยการพุ่งขึ้น 3.08% จากปีที่แล้ว
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นต่อไปในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนมี.ค.ปีหน้า โดยในตอนนี้นักลงทุนคาดว่า มีโอกาส 72.7% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. 2024 ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจบ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงเข้าใกล้ระดับเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ทั้ง 11 กลุ่มในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันอังคารในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานพุ่งขึ้นมากที่สุด โดยได้รับแรงหนุนจากการทะยานขึ้นของราคาน้ำมันท่ามกลางความกังวลเรื่องความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มชิปและหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ที่มักได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยก็พุ่งขึ้นในวันอังคารด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ หุ้นบริษัทอินเทล คอร์ปก็ทะยานขึ้น 5.2% หลังจากรัฐบาลอิสราเอลทำข้อตกลงมอบเงิน 3.2 พันล้านดอลลาร์ให้แก่อินเทล เพื่อใช้ในการจัดตั้งโรงงานมูลค่า 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในภาคใต้ของอิสราเอล Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 0.43% สู่ 37,545.33
ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.42% สู่ 4,774.75 ในวันอังคาร หลังจากทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดของวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2022 โดยในตอนนี้ดัชนีกำลังเข้าใกล้สถิติระดับปิดสูงสุดที่เคยทำไว้ในเดือนม.ค. 2022 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 4,796.56 ซึ่งถ้าหากดัชนี S&P 500 สามารถทำสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ได้ในเร็ว ๆ นี้ สิ่งนี้ก็จะเท่ากับเป็นการยืนยันว่าดัชนีอยู่ในภาวะตลาดกระทิงในช่วงที่ผ่านมา นับตั้งแต่ดัชนีดิ่งลงแตะระดับปิดต่ำสุดของเดือนต.ค. 2022
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 0.54% สู่ 15,074.57
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่ามีการโจมตีเรือขนส่งสินค้าในทะเลแดงต่อไป ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคขัดขวางการขนส่งน้ำมัน และราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการที่นักลงทุนตั้งความหวังว่า ธนาคารกลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและอุปสงค์เชื้อเพลิง ทั้งนี้ กลุ่มฮูตีในเยเมน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน ได้อ้างความรับผิดชอบต่อการใช้ขีปนาวุธโจมตีเรือขนส่งสินค้าลำหนึ่งในทะเลแดงในวันอังคาร และยอมรับว่าทางกลุ่มพยายามใช้โดรนโจมตีอิสราเอล ทางด้านนายโยอัฟ กัลลันท์ รมว.กลาโหมอิสราเอลส่งสัญญาณในวันอังคารว่า อิสราเอลได้ดำเนินการตอบโต้ผู้ที่โจมตีอิสราเอลในอิรัก, เยเมน และอิหร่าน ในขณะที่สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสขยายวงกว้างออกไป อย่างไรก็ดี ปริมาณอุปทานน้ำมันยังไม่ได้รับผลกระทบในช่วงนี้ ถึงแม้มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือในช่วงที่ผ่านมา
Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.พ.ทะยานขึ้น 2.01 ดอลลาร์ หรือ 2.7% มาปิดตลาดที่ 75.57 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 76.18 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 2 ดอลลาร์ หรือ 2.5% มาปิดตลาดที่ 81.07 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากทะยานขึ้นแตะ 81.72 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 13.63 ดอลลาร์ สู่ 2,066.61 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร และปรับขึ้นเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และจากการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่เทรดเดอร์คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงต้นปี 2024 ทั้งนี้ รายงานที่ออกมาในวันศุกร์ระบุว่า นักเก็งกำไรทองในตลาด COMEX ได้ปรับเพิ่มการถือครองสถานะซื้อสุทธิในทองขึ้น 20,365 สัญญา สู่ 131,749 สัญญาในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ธ.ค. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน