ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
นิวยอร์ค--28 ต.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า การพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงที่ผ่านมากำลังชะลอตัวลง ในขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยสำคัญหลายประการในระยะนี้ โดยปัจจัยเหล่านี้รวมถึงการที่บริษัทขนาดยักษ์ 5 แห่งของสหรัฐจะรายงานผลประกอบการออกมาในสัปดาห์นี้, ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนต.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 1 พ.ย., การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย. และการประชุมกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 6-7 พ.ย. ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้วราว 22% จากช่วงต้นปีนี้ และเพิ่งทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ทางด้านค่าพีอีเรโชของดัชนี S&P 500 อยู่ที่ 21.8 เท่าของตัวเลขคาดการณ์ผลกำไรช่วง 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งใกล้เคียงกับจุดสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี โดยมูลค่าหุ้นที่ระดับสูงมากแบบนี้อาจจะส่งผลให้ตลาดหุ้นมีความอ่อนไหวมากเป็นพิเศษถ้าหากเผชิญกับตัวเลขเศรษฐกิจหรือผลประกอบการที่อ่อนแอเกินคาดในระยะนี้
บริษัทขนาดยักษ์ในสหรัฐที่จะรายงานผลประกอบการในสัปดาห์นี้รวมถึงบริษัทแอลฟาเบทที่จะเปิดเผยผลประกอบการออกมาในวันที่ 29 ต.ค., บริษัทไมโครซอฟท์กับบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันที่ 30 ต.ค. และบริษัทแอปเปิลกับบริษัทอะเมซอนที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันที่ 31 ต.ค. โดยบริษัท 5 แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท Magnificent Seven หรือกลุ่มบริษัทขนาดยักษ์ 7 แห่งของสหรัฐ และบริษัท 5 แห่งนี้ก็ครองน้ำหนักรวมกันราว 23% ของดัชนี S&P 500 ดังนั้นความเคลื่อนไหวของหุ้นกลุ่มนี้จึงอาจจะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐ ทั้งนี้ หุ้นกลุ่ม Magnificent Seven มีค่าพีอีเรโชโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 35 เท่าของคาดการณ์ผลกำไรล่วงหน้า และนักลงทุนจะจับตาดูว่า การที่บริษัทเหล่านี้ปรับเพิ่มการลงทุนด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มส่งผลบวกออกมาให้เห็นบ้างแล้วหรือไม่ โดยแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบัล รีเสิร์ชระบุว่า บริษัทขนาดยักษ์ที่ให้บริการด้าน AI ซึ่งได้แก่ไมโครซอฟท์, อะเมซอน, แอลฟาเบท และเมตา แพลตฟอร์มส์ มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มการลงทุนด้านทุนขึ้น 40% ในปีนี้ ในขณะที่บริษัทที่เหลือในดัชนี S&P 500 มีแนวโน้มปรับลดการลงทุนด้านทุนลง 1% ในปี 2024
บริษัทเทสลาได้เปิดเผยผลประกอบการในวันพุธที่ 23 ต.ค. และถือเป็นบริษัทแรกในกลุ่ม Magnificent Seven ที่เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสล่าสุดออกมา โดยนายอีลอน มัสก์ ซีอีโอของเทสลาคาดว่า ยอดขายยานพาหนะของเทสลาอาจจะพุ่งขึ้น 20%-30% ในปีหน้า และเทสลาก็รายงานตัวเลขอัตราผลกำไรไตรมาสสามที่สูงเกินคาดด้วย โดยผลประกอบการดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้หุ้นเทสลาทะยานขึ้น 22% ในวันพฤหัสบดี และพุ่งขึ้น 3.36% ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ มีบริษัทกว่า 150 แห่งในดัชนี S&P 500 ที่จะเปิดเผยผลประกอบการออกมาในสัปดาห์นี้
นักลงทุนจะจับตาดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 1 พ.ย. โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐอาจเพิ่มขึ้นเพียง 140,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. หลังจากการจ้างงานเพิ่งทะยานขึ้น 254,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. โดยตัวเลขการจ้างงานเดือนต.ค.อาจบิดเบือนไปจากความเป็นจริง โดยเป็นผลจากพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 2 ลูกที่พัดถล่มภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ นาเนทท์ อาบูนอฟ เจค็อบสัน นักยุทธศาสตร์การลงทุนของกองทุนฮาร์ทฟอร์ดระบุว่า สิ่งสำคัญที่ต้องจับตามองในรายงานการจ้างงานนี้คือตัวเลขค่าแรง และเธอกล่าวเสริมว่า "ถ้าหากค่าแรงปรับสูงขึ้นในเดือนต.ค. นั่นก็จะถือเป็นเรื่องที่น่ากังวล" นอกจากนี้ เธอยังระบุอีกด้วยว่า "ตลาดพันธบัตรสหรัฐได้รับผลกระทบไปแล้วจากการคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจอาจจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งเกินคาด, อัตราเงินเฟ้ออาจจะเร่งตัวขึ้นอีกครั้ง และเฟดอาจจะไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้มากเท่ากับที่เคยคาดการณ์กันไว้"
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับขึ้นจาก 4.202% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี สู่ 4.232% ในช่วงท้ายวันศุกร์ และทะยานขึ้นสู่ 4.292% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันนี้ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค. หรือจุดสูงสุดรอบ 3 เดือน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ได้รับแรงหนุนในช่วงนี้จากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะชะลอความเร็วในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และจากการคาดการณ์ที่ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์อาจจะชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
28 ต.ค.--รอยเตอร์
สกุลเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียและริงกิตของมาเลเซียดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบหลายสัปดาห์ในวันนี้ ในขณะที่ดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์อาจจะชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย. และดอลลาร์ก็ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐด้วย เพราะตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องแนวโน้มในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 93.9% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.50-4.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. และมีโอกาส 6.1% ที่เฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.75-5.00% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. โดยนักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันราว 0.42% ในช่วงต่อไปในปีนี้ และอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.86% ในปี 2025 โดยการคาดการณ์ในปัจจุบันนี้มีความแตกต่างเป็นอย่างมากจากเมื่อ 1 เดือนที่แล้ว เพราะเมื่อหนึ่งเดือนที่แล้วนักลงทุนเคยคาดว่า มีโอกาส 57.4% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมเดือนพ.ย.
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้น 0.20% สู่ 104.52 ในช่วงเช้าวันนี้ โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้ว 3.6% จากช่วงต้นเดือนนี้ และอาจจะปิดตลาดเดือนต.ค.ด้วยการพุ่งขึ้นรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2022 หรือครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง โดยดัชนีดอลลาร์ได้รับแรงหนุนในช่วงที่ผ่านมาจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ทั้งนี้ นายไมเคิล ว่าน นักวิเคราะห์สกุลเงินของบริษัท MUFG ระบุว่า "ดอลลาร์สหรัฐและสินทรัพย์สหรัฐยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และยังคงถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่กระทบตลาดปริวรรตเงินตราในตอนนี้" และเขากล่าวเสริมว่า "อย่างไรก็ดี ถ้าหากจีนประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ หรือถ้าหากนักลงทุนมุ่งความสนใจไปยังภาวะเฟื่องฟูในชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือการพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ ปัจจัยดังกล่าวก็จะส่งผลกระทบต่อระดับความน่าดึงดูดของสินทรัพย์เอเชีย"
รูเปียห์ร่วงลง 0.6% สู่ 15,735 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันนี้ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนส.ค. และรูเปียห์มีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนนี้ด้วยการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2020 เป็นต้นมา หรือครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 4 ปี ทั้งนี้ ริงกิตดิ่งลง 0.5% สู่ 4.3610 ริงกิตต่อดอลลาร์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันนี้ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนก.ย. และริงกิตมีแนวโน้มที่จะปิดตลาดเดือนนี้ด้วยการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2016 ทางด้านราคาสัญญาล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียร่วงลงในวันนี้เป็นวันที่สองติดต่อกัน ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์รูดลง 4.09% สู่ 72.94 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันนี้ หลังจากดิ่งลงแตะ 71.99 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.
ริงกิตได้รับแรงกดดันในช่วงนี้จากตัวเลขยอดส่งออกของมาเลเซียที่ดิ่งลงอย่างพลิกความคาดหมาย โดยยอดส่งออกของมาเลเซียร่วงลง 0.3% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นการร่วงลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือน และสวนทางกับตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า ยอดส่งออกอาจพุ่งขึ้น 7.6% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายปี โดยยอดส่งออกของมาเลเซียได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของยอดส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม, เครื่องใช้ไฟฟ้า, สินค้าอิเล็กทรอนิกส์, เหล็ก และเหล็กกล้า ทางด้านยอดเกินดุลการค้าของมาเลเซียอยู่ที่ 1.319 หมื่นล้านริงกิต (3.06 พันล้านดอลลาร์) ในเดือนก.ย. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 9.5 พันล้านริงกิต ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ของธนาคารบาร์เคลย์สคาดว่า ริงกิตจะยังคงได้รับผลกระทบต่อไปจากความเสี่ยงด้านการเลือกตั้งในสหรัฐ และนักวิเคราะห์คาดว่า ธนาคารกลางมาเลเซียมีแนวโน้มที่จะระงับการเติมเงินเข้าไว้ในกันชนสกุลเงินตราต่างประเทศ เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในช่วงนี้
เปโซของฟิลิปปินส์แข็งค่าขึ้น 0.3%, วอนของเกาหลีใต้แข็งค่าขึ้น 0.3% แต่ดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าลง 0.2% ในวันนี้ ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของฮ่องกงกับไต้หวัน, ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซีย, ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของจีน, ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธ, ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี โดยดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นิยมใช้ และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนต.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 1 พ.ย.
อัตราแลกเปลี่ยนเทียบดอลลาร์สหรัฐ ณ เวลา 12.27 น. ตามเวลาไทย
COUNTRY | FX RIC | FX DAILY % | FX YTD % |
Japan | JPY= | -0.88 | -8.19 |
China | CNY=CFXS | -0.17 | -0.50 |
India | INR=IN | +0.00 | -1.03 |
Indonesia | IDR= | -0.60 | -2.13 |
Malaysia | MYR= | -0.46 | +5.35 |
Philippines | PHP= | +0.33 | -5.09 |
S.Korea | KRW=KFTC | +0.32 | -6.99 |
Singapore | SGD= | -0.24 | -0.38 |
Taiwan | TWD=TP | -0.03 | -4.19 |
Thailand | THB=TH | +0.06 | +1.17 |
--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--28 ต.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นในวันศุกร์ และปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาในช่วงนี้ช่วยกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว และนักลงทุนก็รอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนต.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันที่ 1 พ.ย. โดยนักลงทุนมองว่ารายงานการจ้างงานดังกล่าวอาจจะได้รับผลกระทบจากการผละงานประท้วงในบริษัทโบอิ้ง และจากพายุเฮอริเคน 2 ลูกที่พัดเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าทุนยกเว้นอาวุธและเครื่องบิน หรือยอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นมาตรวัดแผนการลงทุนทางธุรกิจ พุ่งขึ้น 0.5% ในเดือนก.ย. หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนส.ค. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.1% สำหรับเดือนก.ย. ทางด้านมหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นจาก 70.1 ในเดือนก.ย. สู่ 70.5 ในเดือนต.ค. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 69.0 ในขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อช่วงหนึ่งปีข้างหน้าอยู่ที่ 2.7% ซึ่งเท่ากับระดับที่เคยคาดไว้ในเดือนก.ย. Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.32 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 104.05 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับขึ้น 0.82% จากสัปดาห์ที่แล้ว และถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 152.30 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 151.82 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0793 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0827 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี
ดัชนี Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันศุกร์ในแดนบวก โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูผลประกอบการรายไตรมาสของบริษัทขนาดยักษ์บางแห่งในสัปดาห์หน้า ซึ่งรวมถึงบริษัทแอลฟาเบทที่จะเปิดเผยผลประกอบการออกมาในวันที่ 29 ต.ค., บริษัทไมโครซอฟท์กับบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันที่ 30 ต.ค. และบริษัทแอปเปิลกับบริษัทอะเมซอนที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันที่ 31 ต.ค. โดยบริษัท 5 แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท Magnificent Seven หรือกลุ่มบริษัทขนาดยักษ์ 7 แห่งของสหรัฐ ทางด้านหุ้นเทสลาพุ่งขึ้น 3.36% ในวันศุกร์ หลังจากทะยานขึ้น 22% ในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขคาดการณ์ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าของเทสลา นอกจากนี้ หุ้นบริษัทขนาดยักษ์แห่งอื่น ๆ ก็ปรับขึ้นด้วยเช่นกัน โดยหุ้นอะเมซอนปิดบวกขึ้น 0.78% ในวันศุกร์, หุ้นแอปเปิลปิดปรับขึ้น 0.36% ในวันศุกร์, หุ้นไมโครซอฟท์ปิดบวกขึ้น 0.81% ในวันศุกร์ และหุ้นเอ็นวิเดียปิดปรับขึ้น 0.80% ในวันศุกร์ โดยเอ็นวิเดียสามารถทะยานขึ้นมาครองตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกแทนที่บริษัทแอปเปิลได้เป็นเวลาสั้น ๆ ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันศุกร์ด้วย ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลงในวันศุกร์ตามหุ้นกลุ่มธนาคาร ซึ่งรวมถึงหุ้นธนาคารโกลด์แมน แซคส์ที่ดิ่งลง 2.27% ส่วนหุ้นบริษัทแมคโดนัลด์รูดลง 2.97% โดยได้รับแรงกดดันจากการระบาดของเชื้ออีโคไลที่มีความเกี่ยวข้องกับแฮมเบอร์เกอร์ของแมคโดนัลด์ ทางด้านดัชนีหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันศุกร์ในแดนลบเป็นส่วนใหญ่ โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคถือเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่รูดลงมากที่สุดในวันศุกร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 0.61% สู่ 42,114.40 ในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 2.68% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.03% สู่ 5,808.12 ในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการร่วงลง 0.96% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.56% สู่ 18,518.61 ในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับขึ้น 0.16% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ ในขณะที่นักลงทุนจับตาดูความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง และรอดูผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย. ทางด้านกระทรวงสาธารณสุขของเลบานอนรายงานว่า การโจมตีของอิสราเอลในภาคใต้ของเลบานอนในวันศุกร์ส่งผลให้มีผู้สื่อข่าวเสียชีวิต 3 คน ส่วนสำนักงานผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประกาศเตือนว่า การที่อิสราเอลดำเนินการโจมตีทางอากาศตรงจุดข้ามพรมแดนที่ติดกับซีเรียถือเป็นอุปสรรคขัดขวางผู้ลี้ภัยที่พยายามหนีภัยสงคราม ทั้งนี้ ธนาคารโกลด์แมน แซคส์คาดการณ์ในวันพฤหัสบดีว่า ราคาน้ำมันดิบเบรนท์อาจจะอยู่ที่ระดับ 70-85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปี 2025 ซึ่งเท่ากับตัวเลขคาดการณ์เดิม และโกลด์แมน แซคส์คาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนอาจจะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับผลกระทบจากอุปทานน้ำมันในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทางด้านธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกาคาดว่า ราคาน้ำมันดิบเบรนท์อาจจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปี 2025 Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนธ.ค.ทะยานขึ้น 1.59 ดอลลาร์ หรือ 2.27% มาปิดตลาดที่ 71.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 3.7% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 1.67 ดอลลาร์ หรือ 2.25% มาปิดตลาดที่ 76.05 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 4% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 11.99 ดอลลาร์ สู่ 2,747.69 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดที่ 2,758.37 ดอลลาร์ในวันพุธที่ 23 ต.ค. โดยราคาทองฟื้นตัวขึ้นในวันศุกร์หลังจากเผชิญกับแรงเทขายทำกำไรในช่วงที่ผ่านมา และราคาทองได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง และจากความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย.ด้วย ทั้งนี้ ราคาทองพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 32% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเรื่องความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง และราคาทองได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมในปีนี้จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย.ด้วย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--17 ก.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์/เยนดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปีในระหว่างช่วงการซื้อขายวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า มีโอกาสมากยิ่งขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 17-18 ก.ย. โดยการคาดการณ์ดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลและหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์ในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 67% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. โดยโอกาสดังกล่าวพุ่งขึ้นจากระดับราว 15% ที่เคยคาดไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว และนักลงทุนก็คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 33% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 100.70 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 101.10 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 140.60 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยปรับลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 140.82 เยน หลังจากดิ่งลงแตะ 139.58 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2023
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.1132 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.1076 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันจันทร์ แต่ดัชนี Nasdaq ปรับลงในวันจันทร์ โดยได้รับแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ในขณะที่ดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐดิ่งลง 0.95% ในวันจันทร์ และถือเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่ร่วงลงมากที่สุด ทางด้านหุ้นบริษัทแอปเปิลดิ่งลง 2.78% และถือเป็นหุ้นที่ถ่วงดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ลงมากที่สุดในวันจันทร์ หลังจากนักวิเคราะห์ของบล.ทีเอฟ อินเตอร์เนชันแนลระบุว่า อุปสงค์สำหรับโทรศัพท์ไอโฟน 16 ของแอปเปิลอยู่ต่ำเกินคาด และความกังวลเรื่องอุปสงค์นี้ก็กดดันหุ้นกลุ่มผู้ผลิตชิปของสหรัฐให้ดิ่งลงด้วย โดยดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐรูดลง 1.41% ในวันจันทร์ ในขณะที่หุ้นบริษัทเอ็นวิเดียดิ่งลง 1.95%, หุ้นบรอดคอมรูดลง 2.19% และหุ้นไมครอน เทคดิ่งลง 4.43% อย่างไรก็ดี ในบรรดาดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ 11 กลุ่มในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น มีดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่เพียงแค่ 2 กลุ่มที่ปิดตลาดวันจันทร์ในแดนลบ ซึ่งได้แก่ดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันจันทร์ คือดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินที่พุ่งขึ้น 1.22% และดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานที่ทะยานขึ้น 1.2% ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 67% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. ทางด้านหุ้นบริษัทอินเทล คอร์ปพุ่งขึ้น 6.36% ในวันจันทร์ หลังจากมีข่าวว่าอินเทลมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะได้รับเงินจากรัฐบาลกลางสหรัฐราว 3.5 พันล้านดอลลาร์เพื่อผลิตเซมิคอนดักเตอร์ให้กับกระทรวงกลาโหมสหรัฐ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.55% สู่ 41,622.08 ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดใหม่
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.13% สู่ 5,633.09 ซึ่งอยู่ห่างจากสถิติระดับปิดสูงสุดที่เคยทำไว้ในเดือนก.ค.ในระดับไม่ถึง 1%
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.52% สู่ 17,592.13
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากพายุเฮอริเคนฟรานซีนที่ยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องต่อการผลิตน้ำมันของสหรัฐในอ่าวเม็กซิโก โดยสำนักงานความปลอดภัยและการบังคับใช้ทางสิ่งแวดล้อม (BSEE) ของสหรัฐรายงานในวันจันทร์ว่า ยังคงมีการปิดการผลิตน้ำมันดิบกว่า 12% และมีการปิดการผลิตก๊าซธรรมชาติราว 16% ของสหรัฐในอ่าวเม็กซิโก โดยเป็นผลจากพายุเฮอริเคนฟรานซีน และปัจจัยบวกนี้ก็ช่วยบดบังแรงกดดันที่ราคาน้ำมันได้รับจากความกังวลเรื่องอุปสงค์น้ำมันในจีน นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 17-18 ก.ย.ด้วย ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีนในช่วงสุดสัปดาห์ ที่ผ่านมา ในขณะที่จีนถือเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยจีนรายงานว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนเติบโตเพียง 4.5% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. หรือต่ำที่สุดในรอบ 5 เดือน โดยชะลอตัวลงจาก +5.1% ในเดือนก.ค. ในขณะที่ยอดค้าปลีกของจีนปรับขึ้นเพียง 2.1% ในดือนส.ค. โดยชะลอตัวลงจาก +2.7% ในเดือนก.ค. ทางด้านปริมาณการกลั่นน้ำมันในจีนดิ่งลง 6.2% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยดิ่งลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ในขณะที่มีการนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นเพียง 59.07 ล้านตันในเดือนส.ค. หรือ 13.91 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยดิ่งลงจาก 15.23 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนส.ค.ปีที่แล้ว Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ทะยานขึ้น 1.44 ดอลลาร์ หรือ 2.1% มาปิดตลาดที่ 70.09 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นราว 1% ในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเดือนส.ค.ที่ 75.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 1.14 ดอลลาร์ หรือ 1.59% มาปิดตลาดที่ 72.75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นราว 1% ในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเดือนส.ค.ที่ 78.88 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 6.08 ดอลลาร์ สู่ 2,582.58 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ในระหว่างวันที่ 2,589.59 ดอลลาร์ โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ และจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
3 ก.ย.--รอยเตอร์
มูลค่าในตลาดของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของสหรัฐดิ่งลงในเดือนส.ค. ในขณะที่มีความกังวลเรื่องต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ โดยนักลงทุนมองว่าหุ้นกลุ่มนี้อาจจะได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ ถ้าหากตลาดหุ้นปรับฐานลงในอนาคต ทั้งนี้ มูลค่าในตลาดของบริษัทแอลฟาเบทของสหรัฐดิ่งลง 4.7% ในเดือนส.ค. โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงการชะลอตัวลงของยอดขายโฆษณาในยูทูบ, การที่ผู้พิพากษาในสหรัฐตัดสินว่า กูเกิลละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด และการแข่งขันกับบริษัทโอเพนเอไอ ในขณะที่โอเพนเอไอกำลังพัฒนาตัวจำลองต้นแบบสำหรับโปรแกรมค้นหาข้อมูลออนไลน์ที่ใช้ AI โดยมูลค่าของแอลฟาเบทดิ่งลง 9.978 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค. สู่ 2.0209 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนส.ค.
แอลฟาเบทถือเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก โดยรองจากแอปเปิลที่มีมูลค่า 3.4818 ล้านล้านดอลลาร์, ไมโครซอฟท์ที่มีขนาด 3.1006 ล้านล้านดอลลาร์ และเอ็นวิเดียที่มีขนาด 2.9282 ล้านล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ บริษัทขนาดยักษ์อีกแห่งที่มีมูลค่าดิ่งลงอย่างรุนแรงในเดือนส.ค. คืออะเมซอนดอทคอมที่มีมูลค่าในตลาดดิ่งลง 4.5% โดยได้รับผลกระทบจากยอดขายออนไลน์ที่ชะลอตัวลง โดยมูลค่าของอะเมซอนรูดลง 8.9 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค. สู่ 1.8735 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนส.ค.
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของเทสลาดิ่งลง 7.7% ในเดือนส.ค. หลังจากเทสลาเปิดเผยผลกำไรที่อ่อนแอลงในไตรมาสสอง และหลังจากมีข่าวว่าแคนาดาวางแผนจะเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 100% จากรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในจีน โดยเทสลาซึ่งถือเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ได้เริ่มต้นส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในนครเซี่ยงไฮ้ไปสู่แคนาดาในปีที่แล้ว โดยมูลค่าของเทสลาดิ่งลง 5.728 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ 6.828 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงปลายเดือนส.ค. ทั้งนี้ มูลค่าในตลาดของเอ็นวิเดียดิ่งลง 7.7% ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนส.ค. สู่ 2.92 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนส.ค. หลังจากเอ็นวิเดียคาดว่า อัตราผลกำไรขั้นต้นจะอยู่ที่ 75% ในไตรมาสสาม ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 75.5% และเอ็นวิเดียรายงานว่า รายได้พุ่งขึ้น 122% ในไตรมาสสองเมื่อเทียบรายปี หลังจากรายได้เคยพุ่งขึ้นกว่า 200% เมื่อเทียบรายปีมาติดต่อกัน 3 ไตรมาส โดยเอ็นวิเดียครองส่วนแบ่งสูงกว่า 80% ในตลาดชิป AI
มูลค่าของบริษัทบางแห่งพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนส.ค. โดยมูลค่าในตลาดของบริษัทอีไล ลิลลีในกลุ่มผู้ผลิตยาพุ่งขึ้นเกือบ 20% ในเดือนส.ค. หรือพุ่งขึ้นราว 1.4805 แสนล้านดอลลาร์ สู่ 9.124 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนส.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากยอดขายที่แข็งแกร่ง และจากการเปิดตัวยาลดน้ำหนักที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 ในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกิน ทั้งนี้ มูลค่าในตลาดของบริษัทเบิร์คเชียร์ แฮทธาเวย์ของนายวอร์เรน บัฟเฟตต์พุ่งขึ้นมาปิดตลาดเหนือระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์ได้เป็นครั้งแรกในช่วงสิ้นเดือนส.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อบริษัทนี้ ในขณะที่นักลงทุนหลายรายมองว่าบริษัทนี้เหมือนเป็นตัวแทนของเศรษฐกิจสหรัฐ โดยมูลค่าของเบิร์คเชียร์พุ่งขึ้น 8.062 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ 1.0264 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนส.ค.
มูลค่าในตลาดของบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์พุ่งขึ้นเกือบ 10% ในเดือนส.ค. หลังจากเมตารายงานว่า รายได้ไตรมาสสองอยู่สูงเกินคาด และเมตาคาดการณ์ว่า รายได้จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสเดือนก.ค.-ก.ย. โดยสิ่งนี้บ่งชี้ว่า รายได้จากโฆษณาดิจิทัลที่แข็งแกร่งในแพลตฟอร์มของเมตาจะสามารถชดเชยต้นทุนจากการลงทุนใน AI ทั้งนี้ มูลค่าของเมตาพุ่งขึ้น 1.1759 แสนล้านดอลลาร์ สู่ 1.3188 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนส.ค.--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
รูเปียห์ และเปโซอ่อนค่ามากที่สุดในบรรดาสกุลเงินตลาดเกิดใหม่ในเอเชียในวันนี้ ขณะที่สถานการณ์ตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางลดความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ซึ่งทำให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ ดอลลาร์
ความวิตกว่าข้อพิพาทจะรุนแรงขึ้นหลังจากการโจมตีด้วยขีปนาวุธของอิสราเอลและกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้สกัดกั้นความเชื่อมั่นที่สดใสของนักลงทุน หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าพร้อมจะลดอัตราดอกเบี้ย
เปโซอ่อนค่าลงถึง 0.5% และปรับตัวลงระหว่างวันมากที่สุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ ขณะที่ริงกิตอ่อนค่าถึง 0.8% ส่วนบาท, ริงกิต และดอลลาร์ไต้หวันอ่อนค่า 0.1-0.3%
นักวิเคราะห์ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อค่าเงินบาท โดยเมย์แบงก์เชื่อว่า มีโอกาสน้อยลงที่บาทจะอ่อนค่าลงอีก ขณะที่บาร์เคลย์สระบุว่า การท่องเที่ยวที่ขยายตัวมากขึ้นจะหนุนค่าเงินบาทอีก "เรามีมุมมองเชิงบวกต่อค่าเงินบาท และมองเห็นโอกาสที่บาทจะแข็งค่าอีกในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้าเนื่องจากค่าความเสี่ยงทางการเมือง/ารคลังลดลง, ฤดูกาลการท่องเที่ยว, ราคาทองที่ปรับตัวขึ้น"
อัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลา 11.14 น.ตามเวลาไทย
COUNTRY | FX RIC | FX DAILY % | FX YTD % |
Japan | JPY= | -0.11 | -2.50 |
China | CNY=CFXS | -0.02 | -0.35 |
India | INR=IN | -0.04 | -0.87 |
Indonesia | IDR= | -0.36 | -0.55 |
Malaysia | MYR= | -0.14 | +5.49 |
Philippines | PHP= | -0.41 | -1.50 |
S.Korea | KRW=KFTC | -0.02 | -3.17 |
Singapore | SGD= | +0.05 | +1.21 |
Taiwan | TWD=TP | -0.31 | -3.70 |
Thailand | THB=TH | -0.12 | +0.47 |
Eikon source text
21 ส.ค.--รอยเตอร์
รอยเตอร์ได้สำรวจความเห็นนักยุทธศาสตร์การลงทุนหุ้น, นักวิเคราะห์, โบรกเกอร์ และผู้จัดการพอร์ตลงทุนเป็นจำนวนรวมกัน 41 รายในวันที่ 8-20 ส.ค. และได้เปิดเผยผลสำรวจออกมาเมื่อวานนี้ โดยผลสำรวจคาดว่า ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะปิดตลาดสิ้นปี 2024 ที่ 5,600 ซึ่งใกล้เคียงกับระดับปิดวันอังคารที่ 5,597.12 และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า การพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งของตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงที่ผ่านมาเพราะกระแสความนิยมในปัญญาประดิษฐ์ (AI) อาจจะชะลอตัวลงในช่วงต่อจากนี้ นอกจากนี้ ผลสำรวจยังคาดการณ์อีกด้วยว่า ดัชนี S&P 500 จะอยู่ที่ 5,900 ในช่วงสิ้นปีหน้า ซึ่งเท่ากับว่าดัชนีอาจจะพุ่งขึ้น 5.36% ในปีหน้า
ดัชนี S&P 500 เพิ่งทำสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ในวันที่ 16 ก.ค. และหลังจากนั้นดัชนีก็ปรับลงราว 1% จากสถิติระดับปิดดังกล่าว แต่ดัชนีก็ยังคงพุ่งขึ้นมาแล้วราว 17% จากช่วงต้นปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากการทะยานขึ้นอย่างแข็งแกร่งของหุ้นบริษัทบางแห่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AI ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทเอ็นวิเดียและบริษัทไมโครซอฟท์ โดยหุ้นเอ็นวิเดียซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปทะยานขึ้นมาแล้ว 158% จากช่วงต้นปีนี้ และนักวิเคราะห์คาดว่า เอ็นวิเดียอาจจะรายงานในสัปดาห์หน้าว่า รายได้สุทธิไตรมาสล่าสุดพุ่งขึ้นกว่า 2 เท่า
อย่างไรก็ดี นักลงทุนกังวลกับการที่บริษัทแอลฟาเบท, ไมโครซอฟท์ และเมตา แพลตฟอร์มส์ใช้เงินจำนวนมากในการลงทุนเพื่อวางโครงสร้างพื้นฐาน AI โดยนายแดเนียล มอร์แกน ผู้จัดการพอร์ตลงทุนของบริษัทไซโนวุส ทรัสต์ระบุว่า "กระแสความนิยมใน AI กำลังชะลอตัวลง และตลาดหุ้นเริ่มปรับตัวรับความเป็นไปได้ที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะชะลอตัวลง" และเขากล่าวเตือนว่ามูลค่าหุ้นอยู่ในระดับที่สูงมาก ดังนั้นปัจจัยลบเพียงเล็กน้อยก็อาจจะส่งผลให้ราคาหุ้นดิ่งลงได้ ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 มีค่าพีอีเรโชอยู่ที่ 21 เท่าของคาดการณ์ผลกำไรในตอนนี้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะ 10 ปีที่ระดับ 18 เท่าของคาดการณ์ผลกำไร
นักลงทุนจับตาดูปัจจัยหลายประการที่สร้างความไม่แน่นอนในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย. ในขณะที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ และกมลา แฮร์ริส ซึ่งเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนในระดับที่สูสีกัน, ภาวะปั่นป่วนวุ่นวายในภูมิภาคตะวันออกกลาง และประเด็นที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากเพียงใด โดยปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้การคาดการณ์แนวโน้มตลาดหุ้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดการณ์ในวันนี้ว่า มีโอกาส 34.5% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 17-18 ก.ย. และคาดว่ามีโอกาส 65.5% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 5.00-5.25% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 17-18 ก.ย. โดยเทรดเดอร์คาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันราว 0.99% ในปีนี้
ผู้ตอบโพลล์กว่าครึ่งหนึ่งคาดว่า ตลาดหุ้นมีแนวโน้มที่จะปรับฐานลงอย่างน้อย 10% ก่อนสิ้นเดือนก.ย. และผู้ตอบโพลล์กว่าครึ่งหนึ่งคาดว่า ผลกำไรภาคเอกชนจะอยู่สูงเกินคาดจนถึงสิ้นปี 2024 ทั้งนี้ ถึงแม้กระแสความนิยมใน AI ช่วยหนุนตลาดหุ้นสหรัฐให้พุ่งขึ้นในช่วงต้นปีนี้ หุ้นหลายกลุ่มในสหรัฐก็ปรับขึ้นอย่างอ่อนแอ โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย, ดัชนีหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และดัชนีหุ้นกลุ่มวัสดุปรับขึ้นราว 5% จากช่วงต้นปีนี้--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน