ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ลอนดอน--29 ต.ค.--รอยเตอร์
นักลงทุนทั่วโลกกำลังเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐในช่วงนี้ และนักลงทุนคาดว่าตลาดการเงินจะแกว่งตัวผันผวนมากยิ่งขึ้นในช่วงสัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้า ในขณะที่สหรัฐจะจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 5 พ.ย., ญี่ปุ่นเผชิญกับภาวะชะงักงันทางการเมือง, รัฐบาลพรรคแรงงานของอังกฤษจะนำเสนองบประมาณฉบับแรกในวันที่ 30 ต.ค., ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 30-31 ต.ค., ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. และธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) จะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 7 พ.ย. ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.28 ในวันนี้ หลังจากเพิ่งพุ่งขึ้นแตะ 104.57 ในวันพุธที่ 23 ต.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 ก.ค. หรือจุดสูงสุดรอบ 3 เดือน โดยดัชนีดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนต.ค.ด้วยการพุ่งขึ้นรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง ในขณะที่ดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ และจากการคาดการณ์ที่ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์อาจจะชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย.
ตลาดออปชั่นส่งสัญญาณบ่งชี้ว่า นักลงทุนกำลังคาดการณ์กันว่า ระดับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินและราคาพันธบัตรอาจจะพุ่งขึ้นสูงมากในช่วง 1 เดือนข้างหน้า โดยค่าความผันผวนของยูโรในช่วง 1 เดือนข้างหน้าได้พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 18 เดือนที่ 8.425 ในวันนี้ ในขณะที่นักลงทุนกังวลว่า นายทรัมป์อาจจะชนะการเลือกตั้ง และเขาจะประกาศปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้า และนโยบายดังกล่าวก็จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐปรับสูงขึ้น และจะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปด้วย ทั้งนี้ ค่าความผันผวนในตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาด 27 ล้านล้านดอลลาร์ ได้พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปีที่ 130.92 เมื่อวานนี้ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) แกว่งตัวผันผวนในช่วงนี้ตามการคาดการณ์เรื่องแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเฟด โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีเพิ่งปรับขึ้นจาก 4.232% ในช่วงท้ายวันศุกร์ สู่ 4.278% ในช่วงท้ายวันจันทร์ และทะยานขึ้นแตะ 4.308% ในวันนี้ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 ก.ค. หรือจุดสูงสุดในรอบ 3 เดือนครึ่ง
อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นไม่ได้แกว่งตัวผันผวนมากนัก ในขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทสหรัฐ โดยดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วด้วยการปรับลงเพียง 0.96% จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ก่อนที่จะปิดปรับขึ้น 0.27% สู่ 5,823.52 ในวันจันทร์ อย่างไรก็ดี ดัชนี VIX ที่ใช้วัดระดับความกังวลในตลาดหุ้นสหรัฐ เคลื่อนตัวอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของปี 2024 ในช่วงนี้ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าตลาดหุ้นอาจจะแกว่งตัวผันผวนได้ในอนาคต ทั้งนี้ นายอเลส คูทนี จากบริษัทแวงการ์ดกล่าวว่า เขาได้ขายสินทรัพย์บางประเภทออกมาเพื่อถือครองเงินสดแทนในช่วงนี้ และเขากล่าวเสริมว่า "ตลาดจะแกว่งตัวผันผวนมากในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า และตลาดจะเข้าสู่เสถียรภาพก็ต่อเมื่อเข้าสู่ช่วงสัปดาห์หลังการเลือกตั้งในสหรัฐ"
การคาดการณ์ที่ว่านายทรัมป์จะชนะการเลือกตั้งในสหรัฐมีส่วนช่วยหนุนให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 3% จากช่วงต้นเดือนต.ค. และมีส่วนช่วยหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 3 เดือนครึ่ง ทางด้านนายเจมส์ อาเธย์ ผู้จัดการพอร์ตลงทุนตราสารหนี้ของบริษัทมาร์ลโบโรห์กล่าวว่า "เราได้ปรับพอร์ตลงทุนให้เป็นการลงทุนแบบปลอดภัย" และเขาคาดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นต่อไป โดยเขาได้ปรับลดการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และเพิ่มการลงทุนในพันธบัตรเยอรมนีแทน ทั้งนี้ คณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) รายงานในวันศุกร์ที่แล้วว่า นักเก็งกำไรได้เริ่มต้นลงทุนในสัปดาห์ที่แล้วตามการคาดการณ์ที่ว่า ดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น ซึ่งถือเป็นการลงทุนแบบนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปลายเดือนส.ค.เป็นต้นมา นอกจากนี้ รายงานของ CFTC ยังระบุอีกด้วยว่า มีการถือครองสถานะขายสุทธิในยูโร 28,524 สัญญาในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 ต.ค. หลังจากมีการถือครองสถานะซื้อสุทธิในยูโรเป็นจำนวน 17,150 สัญญาในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 ต.ค. โดยการถือครองสถานะขายสุทธิในยูโรนี้ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นเดือนก.ค. และถือเป็นการถือครองสถานะขายสุทธิยูโรที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2022 เป็นต้นมา หรือสูงที่สุดในรอบ 2 ปี
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพิ่งประกาศเตือนในสัปดาห์ที่แล้วว่า ตลาดอาจจะประเมินความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์และการเลือกตั้งในระดับที่ต่ำเกินไป ทางด้านดัชนี CBOE Skew ที่ใช้วัดอุปสงค์ในออปชั่นที่จะจ่ายเงินเมื่อตลาดหุ้นดิ่งลงอย่างรุนแรง เคลื่อนตัวอยู่ใกล้ระดับที่บ่งชี้ถึงความวิตกกังวลในตอนนี้ ทั้งนี้ นายเลียม โอ'ดอนเนล ผู้จัดการฝ่ายตราสารหนี้ของบริษัทอาร์เทมิสระบุว่า เขาได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 5 ปีในช่วงนี้ และเขามองว่าตลาดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยสหรัฐในระดับที่สูงเกินความเป็นจริงสำหรับกรณีที่นายทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง นอกจากนี้ บริษัทอาร์เทมิส, บริษัทอัลไลอันซ์ โกลบัล อินเวสเตอร์, บริษัทพิมโค และบริษัท abrdn ยังระบุอีกด้วยว่า ทางบริษัทมีความสนใจในพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ เพราะบริษัทเหล่านี้มองว่าอัตราผลตอบแทนแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษพุ่งสูงเกินไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษเพิ่งพุ่งขึ้นแตะ 4.291% ในวันนี้ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. หรือจุดสูงสุดรอบ 4 เดือน--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--28 ต.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า การพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงที่ผ่านมากำลังชะลอตัวลง ในขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยสำคัญหลายประการในระยะนี้ โดยปัจจัยเหล่านี้รวมถึงการที่บริษัทขนาดยักษ์ 5 แห่งของสหรัฐจะรายงานผลประกอบการออกมาในสัปดาห์นี้, ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนต.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 1 พ.ย., การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย. และการประชุมกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 6-7 พ.ย. ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้วราว 22% จากช่วงต้นปีนี้ และเพิ่งทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ทางด้านค่าพีอีเรโชของดัชนี S&P 500 อยู่ที่ 21.8 เท่าของตัวเลขคาดการณ์ผลกำไรช่วง 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งใกล้เคียงกับจุดสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี โดยมูลค่าหุ้นที่ระดับสูงมากแบบนี้อาจจะส่งผลให้ตลาดหุ้นมีความอ่อนไหวมากเป็นพิเศษถ้าหากเผชิญกับตัวเลขเศรษฐกิจหรือผลประกอบการที่อ่อนแอเกินคาดในระยะนี้
บริษัทขนาดยักษ์ในสหรัฐที่จะรายงานผลประกอบการในสัปดาห์นี้รวมถึงบริษัทแอลฟาเบทที่จะเปิดเผยผลประกอบการออกมาในวันที่ 29 ต.ค., บริษัทไมโครซอฟท์กับบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันที่ 30 ต.ค. และบริษัทแอปเปิลกับบริษัทอะเมซอนที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันที่ 31 ต.ค. โดยบริษัท 5 แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท Magnificent Seven หรือกลุ่มบริษัทขนาดยักษ์ 7 แห่งของสหรัฐ และบริษัท 5 แห่งนี้ก็ครองน้ำหนักรวมกันราว 23% ของดัชนี S&P 500 ดังนั้นความเคลื่อนไหวของหุ้นกลุ่มนี้จึงอาจจะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐ ทั้งนี้ หุ้นกลุ่ม Magnificent Seven มีค่าพีอีเรโชโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 35 เท่าของคาดการณ์ผลกำไรล่วงหน้า และนักลงทุนจะจับตาดูว่า การที่บริษัทเหล่านี้ปรับเพิ่มการลงทุนด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มส่งผลบวกออกมาให้เห็นบ้างแล้วหรือไม่ โดยแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบัล รีเสิร์ชระบุว่า บริษัทขนาดยักษ์ที่ให้บริการด้าน AI ซึ่งได้แก่ไมโครซอฟท์, อะเมซอน, แอลฟาเบท และเมตา แพลตฟอร์มส์ มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มการลงทุนด้านทุนขึ้น 40% ในปีนี้ ในขณะที่บริษัทที่เหลือในดัชนี S&P 500 มีแนวโน้มปรับลดการลงทุนด้านทุนลง 1% ในปี 2024
บริษัทเทสลาได้เปิดเผยผลประกอบการในวันพุธที่ 23 ต.ค. และถือเป็นบริษัทแรกในกลุ่ม Magnificent Seven ที่เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสล่าสุดออกมา โดยนายอีลอน มัสก์ ซีอีโอของเทสลาคาดว่า ยอดขายยานพาหนะของเทสลาอาจจะพุ่งขึ้น 20%-30% ในปีหน้า และเทสลาก็รายงานตัวเลขอัตราผลกำไรไตรมาสสามที่สูงเกินคาดด้วย โดยผลประกอบการดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้หุ้นเทสลาทะยานขึ้น 22% ในวันพฤหัสบดี และพุ่งขึ้น 3.36% ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ มีบริษัทกว่า 150 แห่งในดัชนี S&P 500 ที่จะเปิดเผยผลประกอบการออกมาในสัปดาห์นี้
นักลงทุนจะจับตาดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 1 พ.ย. โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐอาจเพิ่มขึ้นเพียง 140,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. หลังจากการจ้างงานเพิ่งทะยานขึ้น 254,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. โดยตัวเลขการจ้างงานเดือนต.ค.อาจบิดเบือนไปจากความเป็นจริง โดยเป็นผลจากพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 2 ลูกที่พัดถล่มภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ นาเนทท์ อาบูนอฟ เจค็อบสัน นักยุทธศาสตร์การลงทุนของกองทุนฮาร์ทฟอร์ดระบุว่า สิ่งสำคัญที่ต้องจับตามองในรายงานการจ้างงานนี้คือตัวเลขค่าแรง และเธอกล่าวเสริมว่า "ถ้าหากค่าแรงปรับสูงขึ้นในเดือนต.ค. นั่นก็จะถือเป็นเรื่องที่น่ากังวล" นอกจากนี้ เธอยังระบุอีกด้วยว่า "ตลาดพันธบัตรสหรัฐได้รับผลกระทบไปแล้วจากการคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจอาจจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งเกินคาด, อัตราเงินเฟ้ออาจจะเร่งตัวขึ้นอีกครั้ง และเฟดอาจจะไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้มากเท่ากับที่เคยคาดการณ์กันไว้"
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับขึ้นจาก 4.202% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี สู่ 4.232% ในช่วงท้ายวันศุกร์ และทะยานขึ้นสู่ 4.292% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันนี้ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค. หรือจุดสูงสุดรอบ 3 เดือน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ได้รับแรงหนุนในช่วงนี้จากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะชะลอความเร็วในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และจากการคาดการณ์ที่ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์อาจจะชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
28 ต.ค.--รอยเตอร์
สกุลเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียและริงกิตของมาเลเซียดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบหลายสัปดาห์ในวันนี้ ในขณะที่ดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์อาจจะชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย. และดอลลาร์ก็ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐด้วย เพราะตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องแนวโน้มในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 93.9% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.50-4.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. และมีโอกาส 6.1% ที่เฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.75-5.00% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. โดยนักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันราว 0.42% ในช่วงต่อไปในปีนี้ และอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.86% ในปี 2025 โดยการคาดการณ์ในปัจจุบันนี้มีความแตกต่างเป็นอย่างมากจากเมื่อ 1 เดือนที่แล้ว เพราะเมื่อหนึ่งเดือนที่แล้วนักลงทุนเคยคาดว่า มีโอกาส 57.4% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมเดือนพ.ย.
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้น 0.20% สู่ 104.52 ในช่วงเช้าวันนี้ โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้ว 3.6% จากช่วงต้นเดือนนี้ และอาจจะปิดตลาดเดือนต.ค.ด้วยการพุ่งขึ้นรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2022 หรือครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง โดยดัชนีดอลลาร์ได้รับแรงหนุนในช่วงที่ผ่านมาจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ทั้งนี้ นายไมเคิล ว่าน นักวิเคราะห์สกุลเงินของบริษัท MUFG ระบุว่า "ดอลลาร์สหรัฐและสินทรัพย์สหรัฐยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และยังคงถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่กระทบตลาดปริวรรตเงินตราในตอนนี้" และเขากล่าวเสริมว่า "อย่างไรก็ดี ถ้าหากจีนประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ หรือถ้าหากนักลงทุนมุ่งความสนใจไปยังภาวะเฟื่องฟูในชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือการพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ ปัจจัยดังกล่าวก็จะส่งผลกระทบต่อระดับความน่าดึงดูดของสินทรัพย์เอเชีย"
รูเปียห์ร่วงลง 0.6% สู่ 15,735 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันนี้ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนส.ค. และรูเปียห์มีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนนี้ด้วยการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2020 เป็นต้นมา หรือครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 4 ปี ทั้งนี้ ริงกิตดิ่งลง 0.5% สู่ 4.3610 ริงกิตต่อดอลลาร์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันนี้ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนก.ย. และริงกิตมีแนวโน้มที่จะปิดตลาดเดือนนี้ด้วยการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2016 ทางด้านราคาสัญญาล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียร่วงลงในวันนี้เป็นวันที่สองติดต่อกัน ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์รูดลง 4.09% สู่ 72.94 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันนี้ หลังจากดิ่งลงแตะ 71.99 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.
ริงกิตได้รับแรงกดดันในช่วงนี้จากตัวเลขยอดส่งออกของมาเลเซียที่ดิ่งลงอย่างพลิกความคาดหมาย โดยยอดส่งออกของมาเลเซียร่วงลง 0.3% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นการร่วงลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือน และสวนทางกับตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า ยอดส่งออกอาจพุ่งขึ้น 7.6% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายปี โดยยอดส่งออกของมาเลเซียได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของยอดส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม, เครื่องใช้ไฟฟ้า, สินค้าอิเล็กทรอนิกส์, เหล็ก และเหล็กกล้า ทางด้านยอดเกินดุลการค้าของมาเลเซียอยู่ที่ 1.319 หมื่นล้านริงกิต (3.06 พันล้านดอลลาร์) ในเดือนก.ย. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 9.5 พันล้านริงกิต ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ของธนาคารบาร์เคลย์สคาดว่า ริงกิตจะยังคงได้รับผลกระทบต่อไปจากความเสี่ยงด้านการเลือกตั้งในสหรัฐ และนักวิเคราะห์คาดว่า ธนาคารกลางมาเลเซียมีแนวโน้มที่จะระงับการเติมเงินเข้าไว้ในกันชนสกุลเงินตราต่างประเทศ เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในช่วงนี้
เปโซของฟิลิปปินส์แข็งค่าขึ้น 0.3%, วอนของเกาหลีใต้แข็งค่าขึ้น 0.3% แต่ดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าลง 0.2% ในวันนี้ ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของฮ่องกงกับไต้หวัน, ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซีย, ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของจีน, ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธ, ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี โดยดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นิยมใช้ และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนต.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 1 พ.ย.
อัตราแลกเปลี่ยนเทียบดอลลาร์สหรัฐ ณ เวลา 12.27 น. ตามเวลาไทย
COUNTRY | FX RIC | FX DAILY % | FX YTD % |
Japan | JPY= | -0.88 | -8.19 |
China | CNY=CFXS | -0.17 | -0.50 |
India | INR=IN | +0.00 | -1.03 |
Indonesia | IDR= | -0.60 | -2.13 |
Malaysia | MYR= | -0.46 | +5.35 |
Philippines | PHP= | +0.33 | -5.09 |
S.Korea | KRW=KFTC | +0.32 | -6.99 |
Singapore | SGD= | -0.24 | -0.38 |
Taiwan | TWD=TP | -0.03 | -4.19 |
Thailand | THB=TH | +0.06 | +1.17 |
--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
3 ก.ค.--รอยเตอร์
บริษัทที่ทำธุรกิจปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิตชิป มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดพุ่งขึ้นสูงมากในเดือนมิ.ย. ซึ่งรวมถึงบริษัทเอ็นวิเดียในสหรัฐที่เคยมีมูลค่าพุ่งขึ้นจนสามารถก้าวขึ้นมาครองตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกได้เป็นเวลาสั้น ๆ ในระหว่างเดือนมิ.ย. ทั้งนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ของเอ็นวิเดียเคยพุ่งขึ้นแตะ 3.34 ล้านล้านดอลลาร์ในระหว่างเดือนมิ.ย. ก่อนที่จะลดช่วงบวกลงในเวลาต่อมา โดยเป็นผลจากคำสั่งเทขายทำกำไรและความกังวลเรื่องมูลค่าหุ้นที่ระดับสูง โดยมูลค่าของเอ็นวิเดียลดลงมาอยู่ที่ 3.0391 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงปลายเดือนมิ.ย. ซึ่งส่งผลให้เอ็นวิเดียครองตำแหน่งที่ 3 ในอันดับบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของไมโครซอฟท์พุ่งขึ้น 7.6% ในเดือนมิ.ย. สู่ 3.3219 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งส่งผลให้ไมโครซอฟท์ครองตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ส่วนมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของแอปเปิลทะยานขึ้น 9.6% ในเดือนมิ.ย. สู่ 3.2297 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งส่งผลให้แอปเปิลครองตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้ บริษัทที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 4 ของโลกคือแอลฟาเบาท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล โดยแอลฟาเบทมีมูลค่า 2.2581 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงปลายเดือนมิ.ย.
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทอะเมซอนดอทคอม อิงค์พุ่งขึ้นแตะ 2.0111 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงปลายเดือนมิ.ย. ซึ่งส่งผลให้อะเมซอนกลายเป็นบริษัทสหรัฐแห่งที่ 5 ที่มีมูลค่าพุ่งขึ้นเหนือ 2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยอะเมซอนได้รับแรงหนุนจากกระแสความนิยมใน AI ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ บริษัทที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 6 ของโลกในช่วงปลายเดือนมิ.ย.คือซาอุดิ อาราเบียน ออยล์ ที่มีมูลค่า 1.7998 ล้านล้านดอลลาร์, อันดับ 7 คือเมตา แพลตฟอร์มส์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก ที่มีมูลค่า 1.279 ล้านล้านดอลลาร์, อันดับ 8 คือเบิร์คเชียร์ แฮทธาเวย์ ที่มีมูลค่า 8.779 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 9 คืออีไล ลิลลี แอนด์ โค ที่เป็นผู้ผลิตยา โดยบริษัทนี้มีมูลค่า 8.605 แสนล้านดอลลาร์ และอันดับ 10 คือบริษัทไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟคเจอริง โค (TSMC) ที่มีมูลค่า 7.697 แสนล้านดอลลาร์
อันดับ 11 คือบริษัทบรอดคอม อิงค์ที่มีมูลค่า 7.474 แสนล้านดอลลาร์ โดยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบรอดคอมพุ่งขึ้นราว 20% ในเดือนมิ.ย. หลังจากบรอดคอมปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์รายได้ประจำปีสำหรับชิป AI ราว 10% และประกาศแตกหุ้นเพื่อทำประโยชน์จากการพุ่งขึ้นของราคาหุ้นในปีนี้ ทั้งนี้ อันดับ 12 คือเทสลา ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่มีมูลค่า 6.311 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 13 คือธนาคารเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โคที่มีมูลค่า 5.808 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 14 คือบริษัทวอลมาร์ทในธุรกิจค้าปลีกที่มีมูลค่า 5.446 แสนล้านดอลลาร์ และอันดับ 15 คือบริษัท SPDR S&P 500 ETF Trust ที่มีมูลค่า 5.404 แสนล้านดอลลาร์
อันดับ 16 คือบริษัทวีซ่า อิงค์ที่ทำธุรกิจบัตรเครดิต ซึ่งมีมูลค่า 5.252 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 17 คือบริษัทเอ็กซอน โมบิลที่ทำธุรกิจน้ำมัน ซึ่งมีมูลค่า 5.164 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 18 คือบริษัทโนโว นอร์ดิสก์ของเดนมาร์กที่ทำธุรกิจยา โดยบริษัทนี้มีมูลค่า 4.898 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 19 คือบริษัท iShares Core S&P 500 ETF ที่มีมูลค่า 4.872 แสนล้านดอลลาร์ และอันดับ 20 คือกองทุนแวงการ์ด 500 อินเด็กซ์ ฟันด์ ที่มีมูลค่า 4.717 แสนล้านดอลลาร์--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
เปิดพอร์ต 7 ผู้บริหารของ “7 หุ้นนางฟ้า” ฉายา Magnificent ว่าถือหุ้นของบริษัทตัวเองมากน้อยแค่ไหน? พบ “มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก” ถือหุ้นบริษัทตัวเองมากสุดกว่า 1.66 แสนล้านดอลลาร์
หุ้น 7 นางฟ้า ฉายา Magnificent 7 คือกลุ่มบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ระดับโลกที่มีมูลค่ารวมกันคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 25% ของดัชนี S&P 500 ปัจจุบันบริษัทบางแห่งยังคงอยู่ภายใต้การบริหารของผู้ก่อตั้ง ขณะที่บางแห่งมีผู้บริหารรุ่นใหม่เข้ามาดูแลแทน
วันนี้กรุงเทพธุรกิจชวนเปิดพอร์ตเหล่าซีอีโอทั้ง 7 บริษัทว่ามีการถือครองหุ้นของบริษัทตัวเองมากน้อยแค่ไหน รวมถึงจำนวนการถือหุ้นของคณะกรรมการบริหาร ซึ่งสะท้อนว่าคณะกรรมการบริหารของบริษัทมีความมุ่งมั่นแค่ไหนที่จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ หรือเชื่อมั่นในอนาคตของบริษัทแค่ไหน ซึ่งเป็นข้อมูลตามเอกสารที่เผยแพร่ต่อผู็ถือหุ้นของบริษัทในไตรมาสล่าสุด โดยราคาหุ้นเป็นข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ค.2567
หลังจากที่ข้อมูลจากบลูมเบิร์กชี้ว่า ตั้งแต่ปลายปี 2566 มีผู้บริหารระดับสูงและกรรมการนับสิบคนของบริษัทเหล่านี้ได้เพิ่มปริมาณการขายหุ้น อย่าง “เจฟฟ์ เบโซส” (Jeff Bezos) ซีอีโอคนก่อนของ Amazon.com และ “มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก” (Mark Zuckerberg) ซีอีโอของ Meta บริษัทแม่ของ Facebook ใช้โอกาสนี้ในการ“ขายหุ้น”ของบริษัทตัวเอง ซึ่งถือว่ามากที่สุดในรอบหลายปี โดยสามารถทำกำไรไปแล้วกว่า 160 ล้านดอลลาร์ (เกือบ 6,000 ล้านบาท) ที่น่าสังเกตคือ บางคนไม่ได้ขายหุ้นเลยเป็นเวลานานถึง 9 ปี แต่กลับมาขายอย่างคึกคักในปีนี้
1.Microsoft (MSFT)
“สัตยา นาเดลลา” ซีอีโอไมโครซอฟท์ ถือครองหุ้น MSFT จำนวน 800,667 หุ้น มีมูลค่าประมาณ 345 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1.2 หมื่นล้านบาท และคิดเป็น 10% ของหุ้นทั้งหมด 7.95 พันล้านหุ้น
ไมโครซอฟท์ แต่งตั้งสัตยา นาเดลลา เป็น CEO ในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ทำให้เขาเป็นคนที่สามที่ได้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านซอฟต์แวร์ต่อจาก สตีฟ บอลเมอร์และ บิล เกตส์ ผู้ร่วมก่อตั้ง ซึ่งภายใต้การนำทัพของ สัตยา นาเดลลา นั้นไมโครซอฟท์ได้ขยายธุรกิจคลาวด์ คอมพิวติ้ง และวางตัวเองให้ได้ประโยชน์จากการเติบโตของ AI ปัญญาประดิษฐ์
2. Apple (AAPL)
“ทิม คุก” ซีอีโอของบริษัท แอปเปิ้ล อิงค์ ถือครองหุ้น AAPL จำนวน 3.28 ล้านหุ้น ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 620 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 0.0214% ของหุ้นทั้งหมด 15,337.69 ล้านหุ้น
ทิม คุก เข้ารับตำแหน่งต่อจาก สตีฟ จ็อบส์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ในเดือนสิงหาคม 2554 หลังจากดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายปฏิบัติการมาก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์บางคนตั้งคำถามว่า ทิม คุก จะมีคุณสมบัติพอที่จะบริหาร Apple ต่อจากผู้นำที่มีผู้มีวิสัยทัศน์อย่างสตีฟ จ็อบส์หรือไม่ แต่ทิม คุก ก็สามารถช่วยผลักดันให้บริษัทประสบความสำเร็จไปอีกขั้น
3. Nvidia (NVDA)
“เจนเซน หวง” ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของบริษัทผู้ผลิตชิปยักษ์ใหญ่ อินวิเดีย(Nvidia) ถือครองหุ้น NVDA จำนวน 93.5 ล้านหุ้น มีมูลค่าประมาณ 9 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 3.3 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 1.83% จากทั้งหมด 5,100 ล้านหุ้น
Nvidia ก่อตั้งบริษัทขึ้นในปี 2536 ด้วยการเป็นผู้ผลิตชิปประมวลผลกราฟิก (GPU) ความละเอียดสูงและสามารถนำมาพัฒนาต่อใช้สำหรับวงการ AI ได้ด้วย บริษัทจึงได้รับประโยชน์สูงสุดในช่วงขาขึ้นของปัญญาประดิษฐ์ จนมูลค่าบริษัททะยาน 2.72 ล้านล้านดอลลาร์และกลายเป็น "หุ้นเทคแห่งปี”ไปในที่สุด
4.Alphabet (GOOGL)
“ซุนดาร์ พิชัย” ซีอีโอคนปัจจุบันของบริษัทอัลฟาเบท (Alphabet) ถือหุ้น GOOGL Class A จำนวน 227,560 หุ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 40 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1.4 พันล้านบาท คิดเป็น 3.97% จากทั้งหมด 5.7 พันล้านหุ้น นอกจากนี้ยังถือหุ้น Class C ซึ่งมีมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามรายงานของ Bloomberg
Alphabet บริษัทแม่ของ Google มีโครงสร้างที่ออกแบบมาเพื่อให้ Larry Page และ Sergey Brin ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ยังคงรักษา อำนาจควบคุม ในการตัดสินใจสำคัญของบริษัท แม้ว่าจะไม่ได้ดำรงตำแหน่ง CEO ของ Alphabet แล้วก็ตาม
5. Amazon (AMZN)
“แอนดี้ แจสซี่” CEO ของ อเมซอน(Amazon) ถือหุ้น AMZN จำนวน 2.1 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 385 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1.4 พันล้านบาท คิดเป็น 0.021% ของทั้งหมด 1 หมื่นล้านหุ้น
อย่างไรก็ดี“เจฟฟ์ เบโซส์”ผู้ก่อตั้ง Amazon ยังคงถือหุ้นมากกว่า 10% แม้ว่า Andy Jassy จะเข้ารับตำแหน่ง CEO ต่อจากเบโซส์ในปี 2021 หลังจากที่ Jassy ดำรงตำแหน่งบริหารธุรกิจคลาวด์ คอมพิวติ้งของบริษัทตั้งแต่ปี 2016
6. Meta Platforms (META)
“มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก” ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทเมตา (Meta Platforms) ถือหุ้น META ใน Class A จำนวน 958,000 หุ้น และ Class B จำนวน 344.5 ล้านหุ้น ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินรวม 1.66 แสนล้านดอลลาร์ หรือราว 5.8 ล้านล้านบาท คิดเป็น 15.76% ของทั้งหมด 2.19 พันล้านหุ้น
ซักเคอร์เบิร์ก ผู้กุมบังเหียน Meta ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Facebook และมีอำนาจในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ทั้งหมด รวมทั้งยังคงควบคุมเสียงโหวตส่วนใหญ่ในบริษัทผ่าน หุ้นพิเศษ ประเภทหนึ่ง
7. Tesla (TSLA)
“อีลอน มัสก์” CEO ของเทสลา(Tesla) ถือหุ้น TSLA จำนวน 715.0 ล้านหุ้น มีมูลค่า 1.25 แสนล้านดอลลาร์ หรือมีมูลค่า 4.5 ล้านล้านบาท คิดเป็น 22.41% ของทั้งหมด 3.19 พันล้านหุ้น
แม้ว่าปัจจุบันหุ้นของบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเทสลามีมูลค่าร่วงลงมากกว่า 20% แต่อีลอน มัสก์ ยังมีส่วนร่วมในธุรกิจอื่นๆอีกหลายแห่ง รวมถึง SpaceX และ X ซึ่งเดิมทีรู้จักกันในชื่อ Twitter
กลยุทธ์ลดราคาของ “Tesla” ที่มุ่งหวังกระตุ้นยอดขาย กลับกลายเป็น “ดาบสองคม” ฟาดฟันตัวเอง จนทำให้มูลค่ารถ Tesla ร่วงลงอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบหนักต่อบริษัทรถเช่า-ลิซซิ่ง ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของค่ายรถนี้
“เทสล่า” (Tesla) แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าชื่อดังของสหรัฐ กำลังเผชิญมรสุมครั้งใหม่ เมื่อ “กลยุทธ์ลดราคา” ที่มุ่งหวังกระตุ้นยอดขาย เพื่อสู้ค่ายรถจีน กลับส่งผลร้ายแรงต่อลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่หรือ “กลุ่มธุรกิจฟลีท” (Fleet Buyers) ซึ่งเป็นฐานรายได้สำคัญของบริษัท
ตามข้อมูลบริษัทวิจัยตลาด Dataforce การซื้อรถยนต์ของบริษัท “ลิซซิ่ง” และ “รถเช่า” คิดเป็นสัดส่วนถึง 44% ของยอดขายรถ Tesla ทั้งหมดเมื่อปีที่แล้วในสหราชอาณาจักรและ 15 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
- รถ Tesla (เครดิต: AFP) -
เมื่อ Tesla ประกาศลดราคารถ EV ลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้มูลค่ารถของกลุ่มธุรกิจฟลีทลดลงอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่าง บริษัทลิซซิ่งรถที่มีสัญญาให้เช่ารถ โดยผู้เช่าจ่ายค่าเช่าเป็นงวด ๆ ตามจำนวนและระยะเวลาที่ตกลงกัน เมื่อครบกำหนด ผู้ซื้อสามารถเลือกได้ว่าจะเช่ารถใช้ต่อ ซื้อรถคันนั้นในราคาพิเศษที่เคยตกลงกัน หรือคืนรถเช่ากลับไป
ดังนั้น เมื่อราคารถ Tesla ถูกลง จึงทำให้รายได้ของบริษัทลิซซิ่งและรถเช่าที่ควรจะได้ลดลงตามด้วย อีกทั้งเสี่ยงต่อภาวะขาดทุน เพราะราคารถ Tesla ที่ธุรกิจฟลีทเคยซื้อไว้ สูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
ริชาร์ด คนูเบน ผู้อำนวยการใหญ่ของ Leaseurope องค์กรกลุ่มธุรกิจลิซซิ่งและเช่ารถยนต์ ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มบริษัทประจำชาติใน 31 ประเทศ กล่าวว่า "ไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่า การที่มูลค่าของรถเช่าที่มีอยู่ลดลงอย่างต่อเนื่อง”
ด้วยเหตุนี้ Tesla จึงให้ “ส่วนลดพิเศษ” สำหรับการซื้อรถยนต์รุ่นใหม่แก่กลุ่มธุรกิจฟลีท ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของบริษัท เพื่อลดกระแสความไม่พอใจที่เกิดขึ้น
สำหรับโปรโมชันราคาที่ให้ คือ ลดราคารถ Tesla รุ่น Model 3 และ Model Y สูงสุดถึง 2,000 ยูโร หรือราว 79,000 บาท
อย่างไรก็ตาม คนูเบนกลับมองว่า “แม้ Tesla กำลังบอกกับเหล่าบริษัทฟลีทว่า เราสามารถให้ส่วนลดและชดเชยคุณได้ แต่ด้วยมูลค่า Tesla ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ผมจึงไม่แน่ใจว่า ส่วนลดที่ให้จะเพียงพอหรือไม่”
Tesla ลดราคา ดาบสองคมฟาดมูลค่ารถร่วง
เนื่องด้วยการประกาศลดราคาที่ฮวบฮาบของ Tesla จนทำให้กลุ่มลูกค้าฟลีทมีกำไรลดลงหรือขาดทุน พวกเขาจึงหันมาซื้อรถอีวีจากจีนแทน เพราะมีมูลค่ารถที่ค่อนข้างนิ่งมากกว่า อีกทั้งราคารถก็ไม่ผันผวนเท่า Tesla
Arval ซึ่งเป็นบริษัทลูกด้านลิซซิ่งรถในเครือ BNP Paribas กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจากับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนถึง 3 ราย เพื่อซื้อรถ EV เข้ามาให้บริการ เนื่องจากบริษัทประสบภาวะขาดทุนจากมูลค่ารถ Tesla ที่ลดลง โดยบาร์ท เบ็คเคอร์ส (Bart Beckers) รองซีอีโอของ Arval เคยเตือน Tesla ถึงการลดราคารถครั้งใหญ่ว่า "คุณกำลังยิงเท้าตัวเอง"
ไม่เพียงบริษัท Arval แม้แต่บริษัทรถเช่าในตลาดสหรัฐที่ชื่อ Hertz เผชิญต้นทุนค่าเสื่อมราคารถประจำเดือนพุ่งสูงถึง 592 ดอลลาร์ หรือราว 21,000 บาทต่อคัน จนต้องทำการขายรถ Tesla ออกไป
ขณะที่ Sixt คู่แข่งรถเช่าจากเยอรมนีได้หยุดซื้อรถ Tesla แล้ว โดยเมื่อถูกถามเกี่ยวกับผลกระทบจากการลดราคาของ Tesla บริษัท Sixt กล่าวว่า มูลค่าคงเหลือที่ลดลงของ EV จาก Tesla และแบรนด์อื่นๆ ได้ทำให้กำไรประจำปี 2566 ของบริษัทลดลง 40 ล้านยูโร หรือราว 1,580 ล้านบาท
ยอดขาย Tesla ร่วง ลูกค้าฟลีทหนีห่าง
จากปัญหาที่กล่าวมา ด้วยการที่ลูกค้ากลุ่มฟลีท อย่างรถเช่าและลิซซิ่งครองสัดส่วนยอดขายรถ Tesla ในยุโรปเกือบครึ่งหนึ่ง จึงทำให้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ยอดขายรถให้กับกลุ่มลูกค้าฟลีทในประเทศเหล่านั้น “ลดลง 2.3%” สวนทางกับตลาดฟลีทโดยรวมที่เติบโต 3.5%
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายอดขายจากลูกค้ารายใหญ่จะลดลง แต่สัดส่วนลูกค้าที่เป็นบริษัทลีสซิ่งและรถเช่าของ Tesla กลับเพิ่มขึ้นเป็น 49%
นอกจากนี้ ยอดขายและกำไรของ Tesla กำลังลดลงทั่วโลก หลังจากผ่านช่วงเวลาเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยยอดส่งมอบรถยนต์ทั่วโลกในไตรมาสแรกนี้ ลดลง 8.5% ซึ่งเป็น “ครั้งแรกในรอบ 4 ปี”
ทั้งนี้ เส้นทางรักษาการเติบโตของ Tesla ดูเหมือนท้าทายกว่าแต่ก่อน เมื่อค่ายรถจีนอย่าง BYD กำลังรุกคืบตลาดยุโรปด้วยรถ EV ราคาประหยัด จัดเต็มด้วยเทคโนโลยีทันสมัย และเดินหน้าแย่งชิงลูกค้า Tesla อย่างแข็งขัน
อีกทั้งผู้ผลิตรถสันดาปอย่าง Volkswagen, BMW และแบรนด์ชั้นนำอื่น ๆ ต่างทยอยเปิดตัวรถ EV รุ่นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ ท้าทายความเป็นผู้นำของ Tesla โดยอนาคตของค่ายรถแบรนด์ดังนี้จะรักษาบัลลังก์ผู้นำ EV ไว้ได้หรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป อ้างอิง: reuters, teslarati, bloomberg
ยอดขาย’เทสล่า’ในยุโรปดิ่งต่ำสุดในรอบ 15 เดือน ร่วงกว่า 32% ทำผลงานแย่สุดในกลุ่มรถอีวี หลังยอดจดทะเบียนลดลง 2.3% เหลือต่ำกว่า 14,000 คันในเดือนเม.ย. สวนทาง ‘อีลอน มัสก์’ที่คาดไตรมาสนี้จะ ‘ดีขึ้น’
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า “เทสลา อิงค์” (Tesla)เริ่มต้นไตรมาส 2 อย่างไม่สดใส แม้ว่าก่อนหน้านี้ “อีลอน มัสก์” (Elon Musk) ซีอีโอของบริษัทได้คาดหวังผลงานที่ดีกว่าช่วงสองสามเดือนแรกของปี
ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตรถยนต์แห่งยุโรประบุว่า ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา Tesla มียอดขายรถยนต์เพียง 13,951 คัน ซึ่งลดลง 2.3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และถือเป็นยอดขายที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ในขณะที่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่โดยรวมของทั้งอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นสวนทาง 14%
บริษัทรายงานว่า การส่งมอบรถยนต์จากโรงงานเซี่ยงไฮ้ในเดือนที่ผ่านมาลดลง ซึ่งขัดแย้งกับแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดในจีน
เมื่อวันที่ 23 เมษายน อีลอน มัสก์ แจ้งนักลงทุนว่า บริษัทคาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวจากปัญหาต่างที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตในไตรมาสแรก ซึ่งรวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากเส้นทางการขนส่งสินค้าทางทะเลแดง และเหตุเพลิงไหม้สายไฟที่คาดว่าถูกวางเพลิง ที่อยู่ใกล้กับโรงงานผลิต SUV ของบริษัทในเยอรมนี
“เรามั่นใจว่าไตรมาส 2 จะดีขึ้นมาก” อีลอน มัสก์ กล่าวระหว่างการประชุมทางโทรศัพท์เพื่อรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของ Tesla
ล่าสุดหุ้น Tesla ลดลง 1.8% ก่อนเปิดตลาดในวันพุธ โดยปีนี้ราคาหุ้น Tesla ร่วงลงมาแล้วกว่า 25%
Tesla ทำผลงานแย่สุด
หลายประเทศในยุโรป เช่น เยอรมนีและสวีเดน ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ได้ยกเลิกหรือลดเงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าโดยรวมในยุโรป นอกจากนี้ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่หลายราย อย่างเช่น โฟล์คสวาเกน (Volkswagen) และ (Mercedes-Benz) กำลังปรับกลยุทธ์การผลิต โดยโฟล์คสวาเกนเตรียมเปิดตัวรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดรุ่นใหม่ ขณะที่เบนซ์ ยังคงเดินหน้าผลิตเครื่องยนต์สันดาปภายในต่อไปจนถึงช่วงปี 2030
แม้แบรนด์รถยนต์ส่วนใหญ่ในยุโรประสบปัญหาจากการลดลงของเงินอุดหนุนในเยอรมนี ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป แต่ Tesla กลับมีผลประกอบการที่ย่ำแย่กว่าคู่แข่ง โดยยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าโดยรวมในเยอรมนีทรงตัว แต่ยอดขายของ Tesla กลับลดลงถึง 32%
นอกจากนี้ ยอดขายของ Tesla ในสหราชอาณาจักรยังทรุดตัวลง 25% ในเดือนเมษายน และลดลง 14% ในช่วงสี่เดือนแรกของปี
อ้างอิง bloomberg
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน