ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
แบงก์ ออฟ อเมริกา (BofA) ปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนหลังจากที่เกิดปัญหาที่รุนแรงขึ้นในบริษัทเอเวอร์แกรนด์ ยักษ์ใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์, การแพร่ระบาดรอบใหม่ของโควิด-19 และการจัดการด้านกฎระเบียบในวงกว้าง
BofA ปรับลดคาดการณ์จีดีพีแท้จริงของจีนลงสู่ระดับ 8.0% ในปีนี้ จาก 8.3% รวมทั้งได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพีของปีหน้าลงมากที่สุดสู่ระดับ 5.3% จาก 6.2% และได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพีในปีหน้าลงสู่ระดับ 5.3% จาก 6.0%
การปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจเกิดขึ้นขณะที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจมากขึ้นสำหรับเศรษฐกิจมูลค่า 14.5 ล้านล้านดอลลาร์ของจีน และสะท้อนความกังวลมากขึ้นที่ว่า ปัญหาของเอเวอร์แกรนด์อาจมีผลกระทบกว้างขวาง
เอเวอร์แกรน์มีหนี้สินรวม 3.05 แสนล้านดอลลาร์ โดยมีกำหนดชำระหุ้นกู้ 2 งวดในสัปดาห์นี้ ซึ่งอาจจะไม่สามารถทำได้ ขณะที่ภาระหนี้ทั้งหมดของบริษัทมีสัดส่วนไม่ถึง 2% ของจีดีพี ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่า จีนเตรียมพร้อมเป็นอย่างดีที่จะป้องกันผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างขึ้น
BofA ระบุว่า สถานการณ์จำลองสำหรับปัญหาของเอเวอร์แกรนด์ก็คือ แทบจะไม่มีผลกระทบต่อเนื่องต่อภาคอสังหาริมทรัพย์โดยรวม และตลาดการเงิน ถ้าหากรัฐบาลช่วยปรับโครงสร้างหนี้ให้เป็นระเบียบ--จบ--
นิวยอร์ค--16 ก.ย.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันพุธ ในขณะที่การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบช่วยหนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน และรายงานตัวเลขเศรษฐกิจในสหรัฐบ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อได้แตะจุดสูงสดไปแล้ว และเศรษฐกิจสหรัฐยังคงฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยตัวเลขเศรษฐกิจเหล่านี้ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มที่นำตลาดพุ่งขึ้นในวันพุธคือหุ้นกลุ่มวัฏจักรเศรษฐกิจ, หุ้นกลุ่มการขนส่ง และหุ้นบริษัทขนาดเล็ก โดยดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดเล็กปิดพุ่งขึ้น 1.11% ทางด้านหุ้นคุณค่านำตลาดปรับขึ้นในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นความต้องการซื้อสินทรัพย์เสี่ยงก็พุ่งขึ้นในช่วงบ่าย และส่งผลให้หุ้นเติบโตปรับขึ้นด้วยเช่นกัน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.68% สู่ 34,814.39, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.85% สู่ 4,480.7 และดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.82% สู่ 15,161.53 ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคถือเป็นกลุ่มเดียวที่ไม่ได้ปิดตลาดในแดนบวก ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด โดยหุ้นกลุ่มนี้ได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบสหรัฐที่ทะยานขึ้น 3.1% หลังจากสต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลงอย่างรุนแรงในสัปดาห์ล่าสุด
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงนี้บ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐชะลอตัวลง และเศรษฐกิจกำลังจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ ถึงแม้ว่าผลผลิตภาคโรงงานได้รับแรงกดดันจากพายุเฮอริเคนไอดาและปัญหาขีดจำกัดด้านอุปาน ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ราคานำเข้าร่วงลง 0.3% ในเดือนส.ค. หลังจากปรับขึ้น 0.4% ในเดือนก.ค. โดยการร่วงลงในครั้งนี้ถือเป็นการร่วงลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2020 และถือเป็นสัญญาณล่าสุดที่บ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐได้แตะจุดสูงสุดไปแล้ว โดยรายงานตัวเลขนี้สอดคล้องกับจุดยืนของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ว่า อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐพุ่งขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น
เฟดสาขานิวยอร์ครายงานในวันพุธว่า ดัชนีเอ็มไพร์ สเตทสำหรับภาวะธุรกิจปัจจุบันในรัฐนิวยอร์คพุ่งขึ้นจาก 18.3 ในเดือนส.ค. สู่ 34.3 ในเดือนก.ย. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 18.0 ส่วนเฟดรายงานว่า ผลผลิตภาคโรงงานของสหรัฐขยับขึ้นเพียง 0.2% ในเดือนส.ค. หลังจากพุ่งขึ้น 1.6% ในเดือนก.ค. ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (FOMC) ในวันที่ 21-22 ก.ย. เพื่อดูว่าเฟดมีแนวโน้มอย่างไรในการปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ และในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
หุ้นบริษัทจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐดิ่งลงต่อไป หลังจากจีนรายงานว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นเพียง 2.5% ในเดือนส.ค.จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 7.0% โดยรายงานตัวเลขนี้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนอาจจะชะลอตัวลง นอกจากนี้ หุ้นบริษัทจีนยังได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่า รัฐบาลจีนปรับเปลี่ยนกฎระเบียบสำหรับอุตสาหกรรมคาสิโนในมาเก๊าด้วย ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มคาสิโนในสหรัฐดิ่งลง โดยหุ้นบริษัทลาสเวกัส แซนด์ส คอร์ป, วินน์ รีสอร์ทส์ และเอ็มจีเอ็ม รีสอร์ทส์ อินเตอร์เนชั่นแนลรูดลง 1.7-6.3%--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
เจนัส เฮนเดอร์สันเปิดเผยว่า คาดว่าเงินปันผลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.39 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้าเพื่อสะท้อนว่า การจ่ายเงินปันผลของภาคเอกชนมีการฟื้นตัวแข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้ โดยตัวเลขคาดการณ์ล่าสุดเพิ่มขึ้น 2.2% จากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้า แต่ก็ยังคงต่ำกว่าระดับสูงสุดก่อนเกิดโรคระบาดอยู่ 3%
การจ่ายปันผลร่วงลงในปีที่แล้วเนื่องจากวิกฤติโควิด-19 ขณะที่มีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ และแรงกดดันของภาครัฐเพื่อจำกัดการจ่ายปันผล แต่ข้อมูลจาก Global Dividend Index พบว่า การจ่ายปันผลกำลังฟื้นตัวแข็งแกร่ง โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้น 26.3% ในไตรมาสสอง
เงินปันผลจากภาคเอกชนที่จะเริ่มจ่ายนั้นมีมูลค่ารวม 3.33 หมื่นล้านดอลลาร์ และคิดเป็นสัดส่วน 3 ใน 4 ของอัตราการเพิ่มขึ้นในไตรมาสสอง
นางเจน ชูเมค ผู้จัดการจากเจนัส เฮนเดอร์สันกล่าวว่า "การจ่ายปันผลทั่วโลกอาจจะฟื้นตัวสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดภายใน 12 เดือนข้างหน้า และการฟื้นตัวในขณะนี้จะไม่ถูกขัดขวางจากระบบธนาคารที่อ่อนแอเหมือนกับที่เคยเป็นหลังวิกฤติการเงินโลกเมื่อ 10 ปีก่อน เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายจะยังคงดำเนินมาตรการหนุนทางการคลังและการเงินให้แก่ภาคเศรษฐกิจต่อไป"--จบ--
นิวยอร์ค--9 ส.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐที่พุ่งสูงเกินคาดในเดือนก.ค.ได้ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอาจจะทะยานขึ้นในช่วงต่อไปในปีนี้ และปัจจัยดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐ หลังจากดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นสู่สถิติสูงสุดใหม่ในช่วงนี้ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐพุ่งขึ้น 943,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 870,000 ตำแหน่ง โดยตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปี (ซึ่งปรับตัวสวนทางกับราคาพันธบัตร) ทะยานขึ้นแตะ 1.3053% ในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 23 ก.ค.
นักลงทุนบางรายคาดว่า ตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งจะช่วยกระตุ้นให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ลงในเวลาที่รวดเร็วเกินคาด และปัจจัยดังกล่าวอาจจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) พุ่งสูงขึ้น และกดดันหุ้นเติบโตให้ร่วงลง อย่างไรก็ดี นักลงทุนยังไม่แน่ใจมากนักในเรื่องนี้ เพราะเศรษฐกิจสหรัฐกำลังเผชิญแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตา และเฟดยืนยันว่า อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐพุ่งขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทั้งนี้ นักลงทุนคาดว่า ถ้าหากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานประจำเดือนส.ค.ที่แข็งแกร่งมากออกมาในช่วงต้นเดือนก.ย. ปัจจัยดังกล่าวก็อาจจะช่วยสนับสนุนให้เฟดประกาศโครงร่างแผนการปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้รายเดือนลงจากระดับ 1.20 แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือนในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 21-22 ก.ย.
ถ้าหากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ปัจจัยดังกล่าวก็อาจจะส่งผลลบต่อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและหุ้นเติบโต เพราะว่าการพุ่งขึ้นของอัตราดอกเบี้ยส่งผลลบต่อมูลค่ากระแสเงินสดในระยะยาว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนหุ้นเติบโต ทั้งนี้ หุ้นเติบโตพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งนับตั้งแต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเริ่มร่วงลงในเดือนมี.ค.เป็นต้นมา โดยดัชนี Russell 1000 สำหรับหุ้นเติบโตพุ่งขึ้นมาแล้ว 18% นับตั้งแต่ปลายเดือนมี.ค. ในขณะที่ดัชนีหุ้นคุณค่าปรับขึ้นเพียง 6% ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของหุ้นเติบโตและหุ้นเทคโนโลยีก็มีส่วนสำคัญในการช่วยหนุนดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐให้พุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ในช่วงนี้ด้วย เนื่องจากบริษัทกลุ่มนี้ครองน้ำหนักมากในตลาด โดยบริษัทสำคัญ 5 แห่งในกลุ่มเทคโนโลยีหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ซึ่งได้แก่บริษัทแอปเปิล, ไมโครซอฟท์, อะเมซอน, แอลฟาเบท และเฟซบุ๊ก ครองน้ำหนักรวมกันสูงกว่า 22% ของดัชนี S&P 500
การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอาจจะส่งผลบวกต่อหุ้นคุณค่า ซึ่งครอบคลุมหุ้นกลุ่มธนาคาร, กลุ่มพลังงาน และกลุ่มอื่น ๆ ที่ปรับตัวตามวัฏจักรเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในสหรัฐอาจจะส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อผู้ส่งออกของสหรัฐ รวมทั้งส่งผลลบต่องบดุลของบริษัทข้ามชาติของสหรัฐด้วย เพราะบริษัทเหล่านี้จำเป็นต้องแปลงผลกำไรในรูปสกุลเงินต่างชาติกลับมาเป็นดอลลาร์
ธนาคารโกลด์แมน แซคส์, แบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบัล รีเสิร์ช และบริษัทแบล็คร็อคคาดการณ์ว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอาจจะพุ่งขึ้นสู่ระดับใกล้ 2% ก่อนสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ดี ธนาคาร HSBC คาดว่า บอนด์ยิลด์อาจจะร่วงลงจากระดับปัจจุบัน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ของบริษัทแคปิตัล อิโคโนมิคส์ระบุในวันศุกร์ว่า "เราคาดว่าการฟื้นตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา จะยังคงดำเนินต่อไป" และระบุเสริมว่า "เราคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วง 2-3 ไตรมาสข้างหน้า และอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นเป็นเวลานานกว่าที่คนส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้"--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--2 ส.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า การดีดขึ้นของผลกำไรภาคเอกชนและการดิ่งลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ในช่วงนี้ช่วยจำกัดมูลค่าหุ้นในตลาดหุ้นสหรัฐไม่ให้อยู่ในระดับที่แพงเกินไป และปัจจัยนี้ช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นสหรัฐต่อไป ถึงแม้ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐเคลื่อนตัวอยู่ใกล้สถิติสูงสุด และถึงแม้ตลาดหุ้นได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ และจากการคาดการณ์ที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอการเติบโตลง ทั้งนี้ ถึงแม้ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 17% จากช่วงต้นปีนี้ มูลค่าหุ้นสหรัฐกลับขยับลงนับตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ โดยค่าพีอีเรโชของหุ้นในดัชนี S&P 500 อยู่ที่ 21.4 เท่าของตัวเลขคาดการณ์ผลกำไรสำหรับช่วง 12 เดือนข้างหน้า โดยร่วงลงจาก 22.7 เท่าในเดือนม.ค. แต่ยังคงอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 15.4 เท่า
นายปีเตอร์ ทูซ ประธานบริษัทเชส อินเวสท์เมนท์ เคาน์เซลกล่าวว่า "ผมคิดว่าตลาดหุ้นยังคงเป็นสถานที่ที่น่าลงทุน เพราะถึงแม้ว่ามูลค่าหุ้นอยู่ในระดับสูง ปัจจัยพื้นฐานของตลาดหุ้นก็ยังคงอยู่ในภาวะที่ดี นอกจากนี้ บริษัทส่วนใหญ่ก็มีผลประกอบการรายไตรมาสที่ดีมาก และมีแนวโน้มที่ดีมากด้วย" ทั้งนี้ นักลงทุนมุ่งความสนใจไปยังมูลค่าหุ้นในช่วงนี้ ในขณะที่นักลงทุนพยายามประเมินปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อทิศทางตลาดในช่วงหลายเดือนข้างหน้า โดยปัจจัยเหล่านี้รวมถึงเศรษฐกิจสหรัฐที่มีแนวโน้มชะลอการเติบโตลง, การพุ่งขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา และแผนการของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
นักลงทุนจะจับตาดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ค.ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 6 ส.ค. และรอดูผลประกอบการที่บริษัทสหรัฐจะรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะผลประกอบการของบริษัทอีไล ลิลลี ซึ่งทำธุรกิจเวชภัณฑ์, ซีวีเอส เฮลธ์ ซึ่งทำธุรกิจประกันสุขภาพ และเจเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจพุ่งขึ้น 87.2% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบรายปี โดยปรับขึ้นจากระดับ 65.4% ที่เคยคาดการณ์ไว้ในช่วงต้นเดือนก.ค. และการที่บริษัทสหรัฐรายงานผลกำไรที่สูงเกินคาดอย่างต่อเนื่องจะช่วยจำกัดมูลค่าหุ้นไม่ให้พุ่งสูงเกินไป ทั้งนี้ ธนาคารเครดิต สวิสคาดการณ์ว่า ดัชนี S&P 500 อาจจะปิดตลาดสิ้นปีนี้ที่ 4,600 โดยพุ่งขึ้นราว 4% จากระดับปิดวันพฤหัสบดีที่แล้วที่ 4,419.15 ส่วนธนาคารโกลด์แมน แซคส์ระบุว่า ทางธนาคารคาดว่าดัชนี S&P 500 อาจจะปิดตลาดสิ้นปีนี้ที่ 4,300 โดยตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีอยู่ที่ 1.9% แต่ถ้าหากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอยู่ที่ 1.6% ระดับที่เหมาะสมของดัชนี S&P ก็จะพุ่งขึ้นสู่ 4,700 ในช่วงสิ้นปีนี้
นักลงทุนมองว่าหุ้นมีความน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงราว 0.55% จากระดับ 1.776% ในวันที่ 30 มี.ค. สู่ระดับ 1.226% ในช่วงท้ายวันศุกร์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ สถาบันการลงทุนเวลส์ ฟาร์โกระบุว่า ค่าพรีเมียมความเสี่ยงของหุ้น ซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนจากผลกำไรของหุ้นกับอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตร อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มในอดีตที่บ่งชี้ว่า ดัชนี S&P 500 จะพุ่งขึ้น 15.2% ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า
นักลงทุนบางรายกังวลกับมูลค่าหุ้นที่อยู่ในระดับสูงในช่วงนี้ ในขณะที่ค่า CAPE ซึ่งเป็นค่าพีอีเรโชที่ปรับตามวัฏจักรเศรษฐกิจ ส่งสัญญาณเตือนออกมา โดยค่า CAPE ได้พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบกว่า 20 ปีในช่วงนี้ ทั้งนี้ นายแจ็ค เอบลิน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทเครสเซนท์ แคปิตัล แมเนจเมนท์กล่าวว่า การพุ่งขึ้นของค่า CAPE ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ทางบริษัทตัดสินใจปรับลดการลงทุนในหุ้นโดยรวมลงในช่วงต้นปีนี้สำหรับพอร์ตลงทุนที่มีระยะเวลาการลงทุนอย่างน้อย 7 ปี และเขากล่าวเสริมว่า "มูลค่าหุ้นอยู่ในระดับที่สูงมาก ดังนั้นตลาดหุ้นจึงไม่ใช่สถานที่ที่น่าลงทุนมากนักในระยะยาว"--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--22 ก.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ระบุว่า บริษัทสหรัฐได้สะสมเงินสดไว้เป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา และนักลงทุนคาดว่าเงินดังกล่าวอาจจะช่วยหนุนตลาดหุ้นสหรัฐได้ในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ในขณะที่ผู้บริหารบริษัทหลายแห่งประกาศแผนการปรับเพิ่มปริมาณการซื้อคืนหุ้น, แผนปรับเพิ่มเงินปันผล หรือแผนปรับเพิ่มการลงทุนในธุรกิจของตนเอง ทั้งนี้ นายคีธ เลอร์เนอร์ หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบริษัททรูอิสท์ แอดไวซอรี เซอร์วิสเซสระบุว่า บริษัทในดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐมีเงินสดอยู่ในงบดุลบัญชีราว 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงนี้ ซึ่งถือว่าสูงเป็นประวัติการณ์ และพุ่งขึ้นจากระดับ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติโรคระบาดในปี 2020
นายไมเคิล เพอร์เวส ซีอีโอของบริษัททอลแบคเคน แคปิตัล แอดไวเซอร์สกล่าวว่า การที่ภาคเอกชนมีดุลเงินสดอยู่ในระดับสูงจะถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยพยุงตลาดหุ้น และเขากล่าวเสริมว่า “ปัจจัยนี้จะช่วยหนุนตลาดหุ้นต่อไปในปี 2022 และ 2023 ถึงแม้มีการคาดการณ์กันว่าตลาดหุ้นอาจจะพุ่งขึ้นมากเกินไปแล้ว และมูลค่าหุ้นอยู่สูงเกินไป" ทั้งนี้ การที่บริษัทมีเงินสดเก็บไว้เป็นจำนวนมากจะช่วยให้บริษัทมีความยืดหยุ่นในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่จะส่งผลดีต่อราคาหุ้น ซึ่งรวมถึงการซื้อคืนหุ้น และการปรับเพิ่มเงินปันผล โดยมาตรการหลังนี้จะช่วยดึงดูดนักลงทุนที่ต้องการรายได้สูง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดิ่งลงในช่วงนี้
ตะกร้าหุ้นที่จัดทำโดยบริษัทโกลด์แมน แซคส์ที่รวบรวมหุ้นบริษัทที่คืนเงินสดจำนวนมากให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยผ่านทางการซื้อคืนหุ้นหรือการจ่ายเงินปันผล พุ่งขึ้นในปี 2021 ในอัตราที่สูงกว่าดัชนี S&P 500 ราว 5% ส่วนตะกร้าหุ้นของบริษัทที่มีการลงทุนด้านทุนอยู่ในระดับสูง หรือมีรายจ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาอยู่ในระดับสูง พุ่งขึ้นในปี 2021 ในอัตราที่สูงกว่าดัชนี S&P 500 ราว 2% โดยสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนชื่นชอบบริษัทที่ใช้ประโยชน์จากเงินสดในปีนี้ นอกจากนี้ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของโกลด์แมน แซคส์ยังคาดการณ์อีกด้วยว่า ปริมาณการซื้อคืนหุ้นอาจพุ่งขึ้น 35% ในปีนี้ ทั้งนี้ การคาดการณ์ที่ว่าบริษัทอาจใช้จ่ายเงินจำนวนมากจะช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าช้อนซื้อหุ้น เมื่อราคาหุ้นร่วงลงในอนาคต และปัจจัยนี้จะช่วยชะลอการดิ่งลงของตลาดหุ้นในอนาคต
นายไรอัน ดีทริค หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบริษัทแอลพีแอล ไฟแนนเชียลระบุว่า สถิตินับตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมาแสดงให้เห็นว่า ดัชนี S&P 500 มักจะย่อตัวลงครั้งละอย่างน้อย 5% เป็นจำนวนเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี แต่ดัชนียังไม่ได้ย่อตัวลงแบบนี้เลยแม้แต่ครั้งเดียวในปีนี้ ดังนั้นนักลงทุนบางรายจึงคาดว่าอาจจะเกิดการย่อตัวขึ้นได้ในอนาคต ทั้งนี้ บริษัทสหรัฐได้ประกาศว่าจะซื้อคืนหุ้นเป็นมูลค่า 3.50 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาส 2 ซึ่งถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 2/2018 หลังจากประกาศซื้อคืนหุ้น 2.75 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรก ทางด้านปริมาณการจ่ายเงินปันผลของบริษัทในดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้น 3.6% สู่ 1.234 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน แต่ยังคงอยู่ห่างจากสถิติสูงสุดที่เคยทำไว้ในไตรมาสแรกของปี 2020
นักลงทุนจะจับตาดูแผนการใช้จ่ายของบริษัทต่าง ๆ เมื่อบริษัทสหรัฐเปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 2 ในช่วงนี้ โดยเฉพาะบริษัทแอปเปิล, อะเมซอน และไมโครซอฟท์ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในสัปดาห์หน้า ทางด้านบริษัทพรูเดนเชียล ไฟแนนเชียล กับบริษัทออโตเนชันเพิ่งประกาศขยายโครงการซื้อคืนหุ้นในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ ธนาคารเจพี มอร์แกนระบุในสัปดาห์นี้ว่า ในบรรดาบริษัทกลุ่มต่าง ๆ ในสหรัฐนั้น กลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มการเงินถือเป็น 2 กลุ่มที่ประกาศซื้อคืนหุ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นปีนี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทแอปเปิลที่เพิ่งปรับเพิ่มอำนาจในการซื้อคืนหุ้นขึ้นอีก 9.0 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย.--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ดัชนี Nasdaq ปิดลดลงในวันพฤหัสบดี เนื่องจากหุ้นแอปเปิล, อะเมซอนและหุ้นอื่นๆในกลุ่มบิ๊กเทคร่วงลง ขณะที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกที่ลดลงทำให้นักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 53.79 จุด หรือ 0.15% ที่ 34,987.02, ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 14.27 จุด หรือ 0.32% สู่ระดับ 4,360.03 และดัชนี Nasdaq ปิดลดลง 101.81 จุด หรือ 0.70% สู่ 14,543.13
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในดัชนี S&P 500 ปิดลดลง หลังจากพุ่งขึ้น 4 วันติดต่อกัน ซึ่งความต้องการหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มเติบโตของนักลงทุนในช่วงต้นสัปดาห์นี้ทำให้ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq พุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานในดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลงตามราคาน้ำมันดิบจากการคาดการณ์ว่า จะมีปริมาณการผลิตมากขึ้นหลังจากมีข้อตกลงประนีประนอมระหว่างผู้ผลิตชั้นนำในกลุ่มโอเปก
ข้อมูลที่ระบุว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 16 สัปดาห์ในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่การขาดแคลนแรงงาน และภาวะคอขวดในระบบห่วงโซ่อุปทานสร้างความยุ่งยากให้แก่ภาคธุรกิจในการเพิ่มการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการ
นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เขาคาดว่า การขาดแคลนและภาวะเงินเฟ้อสูงจะบรรเทาลง แต่นักลงทุนหลายคนก็ยังคงกังวลว่า ภาวะเงินเฟ้อที่นานมากขึ้นอาจจะนำไปสู่การคุมเข้มนโยบายการเงินที่เร็วกว่าคาด--จบ--
(รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปลและเรียบเรียง)
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน