ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
นิวยอร์ค--22 ก.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ระบุว่า บริษัทสหรัฐได้สะสมเงินสดไว้เป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา และนักลงทุนคาดว่าเงินดังกล่าวอาจจะช่วยหนุนตลาดหุ้นสหรัฐได้ในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ในขณะที่ผู้บริหารบริษัทหลายแห่งประกาศแผนการปรับเพิ่มปริมาณการซื้อคืนหุ้น, แผนปรับเพิ่มเงินปันผล หรือแผนปรับเพิ่มการลงทุนในธุรกิจของตนเอง ทั้งนี้ นายคีธ เลอร์เนอร์ หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบริษัททรูอิสท์ แอดไวซอรี เซอร์วิสเซสระบุว่า บริษัทในดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐมีเงินสดอยู่ในงบดุลบัญชีราว 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงนี้ ซึ่งถือว่าสูงเป็นประวัติการณ์ และพุ่งขึ้นจากระดับ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติโรคระบาดในปี 2020
นายไมเคิล เพอร์เวส ซีอีโอของบริษัททอลแบคเคน แคปิตัล แอดไวเซอร์สกล่าวว่า การที่ภาคเอกชนมีดุลเงินสดอยู่ในระดับสูงจะถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยพยุงตลาดหุ้น และเขากล่าวเสริมว่า “ปัจจัยนี้จะช่วยหนุนตลาดหุ้นต่อไปในปี 2022 และ 2023 ถึงแม้มีการคาดการณ์กันว่าตลาดหุ้นอาจจะพุ่งขึ้นมากเกินไปแล้ว และมูลค่าหุ้นอยู่สูงเกินไป" ทั้งนี้ การที่บริษัทมีเงินสดเก็บไว้เป็นจำนวนมากจะช่วยให้บริษัทมีความยืดหยุ่นในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่จะส่งผลดีต่อราคาหุ้น ซึ่งรวมถึงการซื้อคืนหุ้น และการปรับเพิ่มเงินปันผล โดยมาตรการหลังนี้จะช่วยดึงดูดนักลงทุนที่ต้องการรายได้สูง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดิ่งลงในช่วงนี้
ตะกร้าหุ้นที่จัดทำโดยบริษัทโกลด์แมน แซคส์ที่รวบรวมหุ้นบริษัทที่คืนเงินสดจำนวนมากให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยผ่านทางการซื้อคืนหุ้นหรือการจ่ายเงินปันผล พุ่งขึ้นในปี 2021 ในอัตราที่สูงกว่าดัชนี S&P 500 ราว 5% ส่วนตะกร้าหุ้นของบริษัทที่มีการลงทุนด้านทุนอยู่ในระดับสูง หรือมีรายจ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาอยู่ในระดับสูง พุ่งขึ้นในปี 2021 ในอัตราที่สูงกว่าดัชนี S&P 500 ราว 2% โดยสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนชื่นชอบบริษัทที่ใช้ประโยชน์จากเงินสดในปีนี้ นอกจากนี้ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของโกลด์แมน แซคส์ยังคาดการณ์อีกด้วยว่า ปริมาณการซื้อคืนหุ้นอาจพุ่งขึ้น 35% ในปีนี้ ทั้งนี้ การคาดการณ์ที่ว่าบริษัทอาจใช้จ่ายเงินจำนวนมากจะช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าช้อนซื้อหุ้น เมื่อราคาหุ้นร่วงลงในอนาคต และปัจจัยนี้จะช่วยชะลอการดิ่งลงของตลาดหุ้นในอนาคต
นายไรอัน ดีทริค หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบริษัทแอลพีแอล ไฟแนนเชียลระบุว่า สถิตินับตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมาแสดงให้เห็นว่า ดัชนี S&P 500 มักจะย่อตัวลงครั้งละอย่างน้อย 5% เป็นจำนวนเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี แต่ดัชนียังไม่ได้ย่อตัวลงแบบนี้เลยแม้แต่ครั้งเดียวในปีนี้ ดังนั้นนักลงทุนบางรายจึงคาดว่าอาจจะเกิดการย่อตัวขึ้นได้ในอนาคต ทั้งนี้ บริษัทสหรัฐได้ประกาศว่าจะซื้อคืนหุ้นเป็นมูลค่า 3.50 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาส 2 ซึ่งถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 2/2018 หลังจากประกาศซื้อคืนหุ้น 2.75 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรก ทางด้านปริมาณการจ่ายเงินปันผลของบริษัทในดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้น 3.6% สู่ 1.234 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน แต่ยังคงอยู่ห่างจากสถิติสูงสุดที่เคยทำไว้ในไตรมาสแรกของปี 2020
นักลงทุนจะจับตาดูแผนการใช้จ่ายของบริษัทต่าง ๆ เมื่อบริษัทสหรัฐเปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 2 ในช่วงนี้ โดยเฉพาะบริษัทแอปเปิล, อะเมซอน และไมโครซอฟท์ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในสัปดาห์หน้า ทางด้านบริษัทพรูเดนเชียล ไฟแนนเชียล กับบริษัทออโตเนชันเพิ่งประกาศขยายโครงการซื้อคืนหุ้นในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ ธนาคารเจพี มอร์แกนระบุในสัปดาห์นี้ว่า ในบรรดาบริษัทกลุ่มต่าง ๆ ในสหรัฐนั้น กลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มการเงินถือเป็น 2 กลุ่มที่ประกาศซื้อคืนหุ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นปีนี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทแอปเปิลที่เพิ่งปรับเพิ่มอำนาจในการซื้อคืนหุ้นขึ้นอีก 9.0 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย.--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ดัชนี Nasdaq ปิดลดลงในวันพฤหัสบดี เนื่องจากหุ้นแอปเปิล, อะเมซอนและหุ้นอื่นๆในกลุ่มบิ๊กเทคร่วงลง ขณะที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกที่ลดลงทำให้นักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 53.79 จุด หรือ 0.15% ที่ 34,987.02, ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 14.27 จุด หรือ 0.32% สู่ระดับ 4,360.03 และดัชนี Nasdaq ปิดลดลง 101.81 จุด หรือ 0.70% สู่ 14,543.13
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในดัชนี S&P 500 ปิดลดลง หลังจากพุ่งขึ้น 4 วันติดต่อกัน ซึ่งความต้องการหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มเติบโตของนักลงทุนในช่วงต้นสัปดาห์นี้ทำให้ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq พุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานในดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลงตามราคาน้ำมันดิบจากการคาดการณ์ว่า จะมีปริมาณการผลิตมากขึ้นหลังจากมีข้อตกลงประนีประนอมระหว่างผู้ผลิตชั้นนำในกลุ่มโอเปก
ข้อมูลที่ระบุว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 16 สัปดาห์ในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่การขาดแคลนแรงงาน และภาวะคอขวดในระบบห่วงโซ่อุปทานสร้างความยุ่งยากให้แก่ภาคธุรกิจในการเพิ่มการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการ
นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เขาคาดว่า การขาดแคลนและภาวะเงินเฟ้อสูงจะบรรเทาลง แต่นักลงทุนหลายคนก็ยังคงกังวลว่า ภาวะเงินเฟ้อที่นานมากขึ้นอาจจะนำไปสู่การคุมเข้มนโยบายการเงินที่เร็วกว่าคาด--จบ--
(รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปลและเรียบเรียง)
นิวยอร์ค--12 ก.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า นักลงทุนกำลังรอดูฤดูการรายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ของบริษัทสหรัฐที่จะเริ่มต้นในสัปดาห์นี้ และนักลงทุนจับตาดูการคาดการณ์เกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังด้วย ในขณะที่นักลงทุนบางรายกังวลว่า เศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวลงในช่วงต่อไป ทั้งนี้ ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเพิ่งพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลที่ว่า เศรษฐกิจอาจจะชะลอการเติบโตลงในช่วงครึ่งปีหลัง โดยความกังวลดังกล่าวกดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีให้ดิ่งลงแตะ 1.250% ในวันพฤหัสบดีที่ 7 ก.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. และนักลงทุนก็เทขายหุ้นกลุ่มการเงิน, หุ้นกลุ่มพลังงาน และหุ้นคุณค่าออกมาในสัปดาห์ที่แล้วด้วย
นักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐอาจพุ่งขึ้น 65.8% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบรายปี ซึ่งจะถือเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2009 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ฤดูการรายงานผลประกอบการจะเริ่มต้นในวันอังคารนี้ เมื่อธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐเริ่มรายงานผลประกอบการออกมา ซึ่งรวมถึงธนาคารโกลด์แมน แซคส์ และธนาคารเจพีมอร์แกน นอกจากนี้ ธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา, สายการบินเดลตา แอร์ไลน์, บริษัทยูไนเต็ดเฮลธ์ กรุ๊ป ที่ทำธุรกิจประกันสุขภาพ และบริษัทแคนซัส ซิตี เซาเธิร์นที่ทำธุรกิจทางรถไฟก็จะรายงานผลประกอบการออกมาในสัปดาห์นี้ด้วย ทางด้านนักลงทุนคาดว่า ธนาคารขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ของสหรัฐอาจรายงานว่า ผลกำไรรายไตรมาสดีดขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ถึงแม้รายได้ด้านการค้าหลักทรัพย์ร่วงลง และรายรับชะลอตัวลง โดยได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำและอุปสงค์ที่อ่อนแอ
นักลงทุนจับตาดูว่า ผลประกอบการภาคเอกชนจะช่วยหนุนดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐให้พุ่งขึ้นต่อไปได้หรือไม่ ในขณะที่ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นมาแล้วราว 16% จากช่วงต้นปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่มีต่อผลกำไรภาคเอกชน โดยนายคีธ เลอร์เนอร์ หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบริษัททรูอิสท์ แอดไวซอรี เซอร์วิสเซสกล่าวว่า "ในฤดูการรายงานผลประกอบการครั้งนี้นั้น เราคาดว่าแนวโน้มผลกำไรของหุ้นคุณค่าจะยังคงเหมือนเดิม และสิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนมุมมองที่ว่า ขณะนี้ยังคงเป็นเวลาที่เร็วเกินไปที่จะยุติการลงทุนในหุ้นคุณค่า" ทั้งนี้ นายเลอร์เนอร์และนักลงทุนอีกหลายรายยังคงคาดการณ์ในทางบวกต่อหุ้นกลุ่มวัฏจักรเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงหุ้นกลุ่มพลังงาน, กลุ่มการเงิน และกลุ่มอุตสาหกรรม โดยหุ้นเหล่านี้ถือเป็นหุ้นคุณค่า หลังจากหุ้นเหล่านี้ปรับตัวอ่อนแอกว่าหุ้นกลุ่มอื่น ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ดัชนีหุ้นคุณค่าของสหรัฐร่วงลงในสัปดาห์ที่แล้ว ส่วนดัชนีหุ้นเติบโตพุ่งขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับแรงหนุนจากการทะยานขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ในขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีได้รับแรงหนุนจากการดิ่งลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปี ทั้งนี้ นายแกรี แบรดชอว์ ผู้จัดการพอร์ตลงทุนของบริษัทฮอดเจส แคปิตัล แมเนจเมนท์กล่าวว่า ฤดูการรายงานผลประกอบการครั้งนี้น่าจะช่วยยืนยันถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ และเขาชื่นชอบหุ้นกลุ่มพลังงาน, กลุ่มวัสดุ, กลุ่มร้านอาหาร และหุ้นบางตัวในกลุ่มค้าปลีก
นักวิเคราะห์คาดว่า ในบรรดาหุ้นกลุ่มต่าง ๆ ในสหรัฐนั้น หุ้นกลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะมีผลกำไรไตรมาส 2 พุ่งขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบรายปีได้แก่หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม, กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย, กลุ่มพลังงาน และกลุ่มวัสดุ โดยหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมอาจมีผลกำไรพุ่งขึ้นกว่า 500% ทั้งนี้ นายนิโคลัส โคลัส ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทดาตาแทรค รีเสิร์ชระบุว่า ตัวเลขคาดการณ์ผลกำไรไตรมาส 2 มีแนวโน้มว่ายังคงอยู่ในระดับที่ต่ำเกินไป และเขาคาดว่าเมื่อบริษัทสหรัฐเปิดเผยผลกำไรไตรมาส 2 ออกมา นักวิเคราะห์ก็จะปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์ผลกำไรสำหรับปี 2021 และ 2022 ให้สูงขึ้นไปอีก และสิ่งนี้จะช่วยให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นว่า ผลกำไรภาคเอกชนจะช่วยหนุนตลาดหุ้นต่อไปจนถึงปีหน้า--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--5 ก.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า การคาดการณ์ที่ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอาจจะอยู่ในระดับต่ำในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ส่งผลให้นักลงทุนบางรายพิจารณาเรื่องการลงทุนในหุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ทั้งนี้ กองทุน ProShares S&P Dividend Aristocrats ETF ที่ลงทุนในบริษัทที่ปรับเพิ่มเงินปันผลทุกปีในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ปรับขึ้นมาแล้ว 14.3% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้ว 15.8% จากช่วงต้นปีนี้ อย่างไรก็ดี นักลงทุนบางรายเชื่อว่า หุ้นกลุ่มดังกล่าวอาจจะกลายเป็นการลงทุนที่ดีสำหรับช่วงหลายเดือนข้างหน้า หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หันมาส่งสัญญาณแบบสายเหยี่ยวในช่วงกลางเดือนมิ.ย. และมีสัญญาณบ่งชี้ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอาจจะแตะจุดสูงสุดแล้ว โดยปัจจัยเหล่านี้ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (บอนด์ยิลด์) อาจจะอยู่ในระดับต่ำต่อไป
ดัชนีหุ้นกลุ่ม S&P Dividend Aristocrats ให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 2.15% ส่วนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีให้อัตราผลตอบแทน 1.48% นอกจากนี้ กองทุน S&P 500 Dividend Aristocrats ETF ก็ยังคงร่วงลงมาแล้วราว 4% จากจุดสูงสุดของเดือนพ.ค. ทั้งนี้ ธนาคารโกลด์แมน แซคส์คาดว่า บริษัทในดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐจะจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้น 6% ในปีนี้และปีหน้า ถึงแม้ว่ามูลค่าหุ้นในปัจจุบันบ่งชี้ว่าเงินปันผลอาจเพิ่มขึ้นเพียง 0.8% เท่านั้น นอกจากนี้ โกลด์แมน แซคส์ยังประเมินอีกด้วยว่า ในบรรดาบริษัทสหรัฐ 57 แห่งที่ปรับลดหรือระงับการจ่ายเงินปันผลในปี 2020 นั้น บริษัท 22 แห่งได้กลับมาจ่ายเงินปันผลหรือปรับเพิ่มเงินปันผลแล้ว และยังมีบริษัทอีก 19 แห่งที่มีแนวโน้มว่าจะปรับเพิ่มเงินปันผลก่อนสิ้นปีนี้
นายมาร์ค แฮเฟล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทยูบีเอส โกลบัล เวลธ์ แมเนจเมนท์กล่าวว่า บริษัทการเงินมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้นำในการปรับเพิ่มเงินปันผล หลังจากเฟดผ่อนคลายข้อจำกัดในการจ่ายเงินปันผลและการซื้อคืนหุ้น ทั้งนี้ ธนาคารโกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป, มอร์แกน สแตนเลย์, เจพีมอร์แกน เชส และแบงก์ ออฟ อเมริการะบุในวันที่ 28 มิ.ย.ว่า ทางธนาคารจะปรับเพิ่มเงินปันผล หลังจากทางธนาคารผ่านการทดสอบภาวะวิกฤติของเฟด ทางด้านนักวิเคราะห์ประเมินว่า บริษัทการเงินของสหรัฐจะจ่ายเงินปันผลและซื้อคืนหุ้นเป็นมูลค่ารวมกันกว่า 1.30 แสนล้านดอลลาร์
นายบ็อบ ไลนิงเจอร์ ผู้จัดการพอร์ตลงทุนของกองทุนกาเบลลีกล่าวว่า เขาเริ่มตั้งเป้าหมายการลงทุนไปยังบริษัทอย่างเช่นโมลสัน คัวร์ส เบฟเวอเรจ ซึ่งเป็นบริษัทที่ระงับการจ่ายเงินปันผลในปีที่แล้ว แต่แถลงในเดือนเม.ย.ปีนี้ว่าทางบริษัทจะกลับมาจ่ายเงินปันผลก่อนสิ้นปี 2021 โดยหุ้นโมลสัน คัวร์สพุ่งขึ้นมาแล้วเกือบ 19% จากช่วงต้นปีนี้ ทั้งนี้ นางแคที นิกสัน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทนอร์ทเธิร์น ทรัสต์กล่าวว่า หุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลมีราคาอยู่ต่ำกว่า 18 เท่าของตัวเลขคาดการณ์ผลกำไร ซึ่งส่งผลให้หุ้นกลุ่มนี้มีมูลค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และปัจจัยนี้จะช่วยให้หุ้นกลุ่มนี้มีความน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น โดยนางนิกสันกล่าวเสริมว่า "เราคาดว่าเงินปันผลจะพุ่งขึ้นในอัตราที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถสร้างกระแสเงินสดของตนเองได้"
นักลงทุนจะรอดูรายงานการประชุมกำหนดนโยบายของเฟดประจำวันที่ 15-16 มิ.ย. ซึ่งจะได้รับการเปิดเผยออกมาในวันพุธที่ 7 ก.ค.นี้ โดยนักลงทุนจะจับตาดูความเห็นของเฟดที่มีต่อภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้ นักลงทุนก็จะรอดูดัชนีกิจกรรมภาคบริการของสหรัฐที่สถาบันจัดการอุปทาน (ISM) จะรายงานออกมาในวันอังคารนี้ด้วย หลังจากดัชนีดังกล่าวเพิ่งพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดในเดือนพ.ค. ทั้งนี้ นายเบิร์นส์ แมคคินนีย์ จากบริษัทเอ็นเอฟเจ อินเวสท์เมนท์ กรุ๊ปกล่าวว่า หุ้นกลุ่มที่จ่ายเงินปันผลดูเหมือนจะอยู่ในสถานะที่ดีมากในช่วงนี้ เพราะหุ้นกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะจ่ายเงินปันผลสูงขึ้น ถ้าหากเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวต่อไป--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--30 มิ.ย.--รอยเตอร์
ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นมาปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทแอปเปิล อิงค์ และหุ้นตัวอื่น ๆ ในกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากสำนักงาน Conference Board ของสหรัฐรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นธนาคารมอร์แกน สแตนเลย์ หลังจากมอร์แกน สแตนเลย์ประกาศปรับขึ้นเงินปันผล และดัชนี S&P 500 ก็สามารถทำสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ในวันอังคารได้เป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P 500 และดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยในวันอังคาร เนื่องจากนักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น 0.03% สู่ 34,292.29, ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 0.03% สู่ 4,291.8 และดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 0.19% สู่ 14,528.34 ทั้งนี้ หุ้น 3 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนบวกในวันอังคาร โดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีบวกขึ้น 0.7% และถือเป็นกลุ่มที่ปรับขึ้นมากที่สุด ส่วนหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยปรับขึ้น 0.23% ในวันอังคาร
นักลงทุนรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์นี้ เพราะตัวเลขดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อจุดยืนของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ต้องการให้ตลาดแรงงานฟื้นตัวขึ้นอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ สำนักงาน Conference Board รายงานในวันอังคารว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นจาก 120.0 ในเดือนพ.ค. สู่ 127.3 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2020 โดยตัวเลขดังกล่าวช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจเติบโตอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสสอง
หุ้นธนาคารมอร์แกน สแตนเลย์พุ่งขึ้น 3.4% หลังจากมอร์แกน สแตนเลย์ปรับขึ้นเงินปันผลเป็นสองเท่า สู่ 70 เซนต์ต่อหุ้นในไตรมาส 3 ทางด้านธนาคารเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, แบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป และโกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ปต่างก็ปรับขึ้นเงินปันผลเช่นกัน ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหุ้นสำคัญทั้ง 3 ดัชนีของสหรัฐมีแนวโน้มว่าจะปิดตลาดไตรมาส 2 ในแดนบวกเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกัน โดยได้รับแรงหนุนจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษ, การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ และผลประกอบการภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ ดัชนี S&P 500 ก็พุ่งขึ้นมาแล้วเกือบ 14% ในช่วงครึ่งปีแรก และนักลงทุนก็มุ่งความสนใจไปยังฤดูการรายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ที่จะเริ่มต้นขึ้นในเดือนก.ค. เพื่อใช้ในการประเมินแนวโน้มของตลาดหุ้นสำหรับช่วงต่อไป
หุ้นบริษัทโมเดอร์นา อิงค์พุ่งขึ้น 5.2% สู่สถิติสูงสุดในวันอังคาร หลังจากผลการศึกษาในห้องแล็บบ่งชี้ว่า วัคซีนโรคโควิด-19 ของโมเดอร์นาอาจจะใช้ป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตาได้ดี--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--28 มิ.ย.--รอยเตอร์
ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นมาปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทไนกี้และหุ้นธนาคารบางแห่ง ในขณะที่สหรัฐเปิดเผยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่อ่อนแอเกินคาด และตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะยังไม่ปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลงในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ หุ้นไนกี้ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรองเท้าผ้าใบพุ่งขึ้น 15.5% สู่สถิติระดับปิดสูงสุดในวันศุกร์ หลังจากไนกี้คาดการณ์ว่ายอดขายในปีงบดุลบัญชี 2022 อาจปรับขึ้นเป็นตัวเลขสองหลัก สู่ระดับสูงกว่า 5.0 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 4.846 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยการพุ่งขึ้นของหุ้นไนกี้มีส่วนช่วยให้ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ทะยานขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันศุกร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.69% สู่ 34,433.84, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.33% สู่ 4,280.69 หลังจากพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 4,286.12 ในระหว่างวัน แต่ดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.06% สู่ 14,360.39 ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับระดับปิดสัปดาห์ที่แล้ว ดัชนีดาวโจนส์ก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้พุ่งขึ้น 3.4%, ดัชนี S&P 500 ปิดตลาดสัปดาห์นี้ทะยานขึ้น 2.7% ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนก.พ. และดัชนี Nasdaq ปิดตลาดสัปดาห์นี้พุ่งขึ้น 2.4% ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.
หุ้นธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกาพุ่งขึ้น 1.9% ส่วนหุ้นธนาคารเวลส์ ฟาร์โกทะยานขึ้น 2.7% หลังจากเฟดประกาศว่า ธนาคารขนาดใหญ่ผ่านการทดสอบภาวะวิกฤติแล้ว และธนาคารเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อจำกัดด้านการซื้อคืนหุ้นและข้อจำกัดด้านการจ่ายเงินปันผลอีกต่อไป โดยข่าวนี้มีส่วนช่วยหนุนดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินของสหรัฐให้พุ่งขึ้น 1.3% ในวันศุกร์ และส่งผลให้หุ้นกลุ่มการเงินถือเป็นกลุ่มที่ทะยานขึ้นมากที่สุดในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐ ทั้งนี้ นายเดนนิส ดิค เทรดเดอร์ของบริษัทไบรท์ เทรดดิงกล่าวว่า "นักลงทุนเทขายทำกำไรหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีออกมาในวันศุกร์ และโยกย้ายเงินลงทุนเข้าสู่หุ้นกลุ่มธนาคาร หลังจากมีการเปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤติ" และเขาคาดว่า ธนาคารในสหรัฐจะประกาศปรับเพิ่มเงินปันผลในเร็ว ๆ นี้
ตลาดหุ้นยังคงได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐสนับสนุนข้อตกลงระหว่างวุฒิสมาชิกพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกันในเรื่องงบลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยข่าวนี้ช่วยหนุนหุ้นกลุ่มวัสดุและหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม และส่งผลให้ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ในขณะที่ดัชนี Nasdaq ร่วงลง โดยนายเจค ดอลลาร์ไฮด์ ซีอีโอของบริษัทลองโบว์ แอสเซท แมเนจเมนท์กล่าวว่า "บริษัทในดัชนี Nasdaq ไม่ใช่บริษัทที่จัดหาปูนซีเมนต์ในการสร้างถนน และไม่ใช่บริษัทที่จัดหาเหล็กกล้าในการสร้างสะพาน บริษัทที่ทำธุรกิจเหล่านี้อยู่ในดัชนี S&P 500"
สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน ปรับขึ้น 0.5% ในเดือนพ.ค. ซึ่งอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ 0.6% ส่วนดัชนี PCE พื้นฐานแบบเทียบรายปีพุ่งขึ้น 3.4% ในเดือนพ.ค. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 1992 และสูงกว่าระดับเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% ทั้งนี้ หุ้นบริษัทเวอร์จิน กาแลกติก ซึ่งเป็นบริษัทของนายริชาร์ด แบรนสันที่ทำธุรกิจด้านยานอวกาศพุ่งขึ้น 38.87% ในวันศุกร์ และถือเป็นหุ้นที่มีการซื้อขายมากเป็นอันดับสองในตลาดหุ้นสหรัฐ หลังจากสำนักงานควบคุมความปลอดภัยทางการบินของสหรัฐอนุมัติให้เวอร์จิน กาแลกติกสามารถส่งคนขึ้นสู่อวกาศ--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน