ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
นิวยอร์ค--2 พ.ย.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นมาปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ในวันจันทร์ ในขณะที่หุ้นบริษัทเทสลาและดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานพุ่งขึ้น และนักลงทุนรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะออกมาในวันที่ 3 พ.ย. ทั้งนี้ นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา และปัจจัยนี้มีส่วนทำให้ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นมาแล้ว 22.8% จากช่วงต้นปีนี้ โดยนักลงทุนคาดว่าในวันพุธนี้เฟดจะประกาศแผนการในการปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ลงจากระดับ 1.20 แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือน และนักลงทุนจะมุ่งความสนใจไปยังความเห็นของเฟดที่มีต่ออัตราดอกเบี้ย และความเห็นที่มีต่อประเด็นที่ว่าอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นเป็นเวลานานเพียงใด
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.26% สู่ 35,913.84 หลังจากพุ่งขึ้นเหนือระดับ 36,000 ได้เป็นครั้งแรกในระหว่างวัน, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.18% สู่ 4,613.67 ซึ่งถือเป็นสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ในระหว่างวันที่ 4,620.34 และดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.63% สู่ 15,595.92 ซึ่งถือเป็นสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานพุ่งขึ้น 1.6% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันจันทร์ แต่ดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารร่วงลง 0.7% ทางด้านดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.7% ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนส.ค.
หุ้นเทสลาซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพุ่งขึ้น 8.5% โดยหุ้นเทสลาพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่มูลค่าตามราคาตลาดของเทสลาทะยานขึ้นเหนือ 1 ล้านล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ที่แล้ว และการทะยานขึ้นของหุ้นเทสลาในวันจันทร์ก็มีส่วนช่วยหนุนดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยของสหรัฐให้ปรับขึ้นราว 1.5% ทั้งนี้ หุ้นฮาร์เลย์-เดวิดสัน ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์พุ่งขึ้น 9.1% หลังจากสหภาพยุโรป (อียู) ยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรเพื่อเป็นการตอบโต้จากสินค้าสหรัฐ ซึ่งรวมถึงวิสกี้, เรือยนต์ และรถมอเตอร์ไซค์ของฮาร์เลย์
ผลสำรวจที่ออกมาในวันจันทร์ระบุว่า กิจกรรมภาคการผลิตของสหรัฐชะลอการเติบโตลงในเดือนต.ค. โดยอุตสาหกรรมทุกกลุ่มรายงานว่า ระยะเวลารอคอยวัตถุดิบอยู่ในระดับที่นานเป็นประวัติการณ์ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานจะยังคงกดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไปในช่วงต้นไตรมาสสี่ ทั้งนี้ สถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) ของสหรัฐรายงานว่า ดัชนีกิจกรรมภาคโรงงานของสหรัฐร่วงลงสู่ 60.8 ในเดือนต.ค. จาก 61.1 ในเดือนก.ย.
บริษัทกว่าครึ่งหนึ่งในดัชนี S&P 500 รายงานผลประกอบการไตรมาสสามออกมาแล้ว โดยนักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจพุ่งขึ้น 39% ในไตรมาสสามเมื่อเทียบรายปี--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
แฟรงค์เฟิร์ต/ลอนดอน--10 ส.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ระบุว่า ผู้นำบริษัทข้ามชาติหลายแห่งแสดงความกังวลต่อการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในช่วงนี้ แต่ธนาคารกลางหลายแห่งกลับไม่แสดงความกังวลต่อเรื่องนี้ และไม่มีแนวโน้มที่จะดำเนินมาตรการสกัดกั้นการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในเร็ว ๆ นี้ โดยทั้งธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางแห่งอื่น ๆ บางแห่งต่างก็ระบุตรงกันว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มพุ่งขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทั้งนี้ ผลสำรวจของธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริการะบุว่า บริษัทหลายแห่งระบุถึง "ภาวะเงินเฟ้อ" ในการประชุมรายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุด โดยจำนวนการพูดถึง "ภาวะเงินเฟ้อ" ของบริษัทสหรัฐในดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้น 1,000% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน ส่วนจำนวนการพูดถึงภาวะเงินเฟ้อของบริษัทยุโรปในดัชนี Stoxx 600 ทะยานขึ้น 400% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน
นักวิเคราะห์ระบุว่า สาเหตุที่ซีอีโอบริษัทเอกชนกับเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางมีความเห็นแตกต่างจากกันในเรื่องนี้ เป็นเพราะว่าทั้งสองฝ่ายใช้คำว่าภาวะเงินเฟ้อในแบบที่แตกต่างจากกัน โดยซีอีโอมุ่งความสนใจไปที่ต้นทุนการผลิตในภาคธุรกิจของตนเอง ในขณะที่ธนาคารกลางมุ่งความสนใจไปที่เศรษฐกิจในวงกว้าง โดยบริษัทที่แสดงความกังวลต่อการพุ่งขึ้นของต้นทุนการผลิตในช่วงนี้รวมถึงเจเนอรัล อิเล็กทริค (GE) ซึ่งเป็นบริษัทอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่, ฮาร์เลย์-เดวิดสัน ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์, ยูนิลีเวอร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค, เรโนลต์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ของฝรั่งเศส และไบเออร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเวชภัณฑ์ของเยอรมนี ทั้งนี้ ธนาคารกลางหลายแห่งยังคงยืนยันว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มพุ่งขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดเพิ่งกล่าวในเดือนก.ค.ว่า ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ราคาพุ่งขึ้นในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงราคารถยนต์มือสองที่พุ่งขึ้น 45% เมื่อเทียบรายปี และค่าตั๋วเครื่องบินที่ทะยานขึ้น 25% ไม่มีแนวโน้มที่จะดำรงอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน ทางด้านนางคริสติน ลาการ์ด ประธานอีซีบีกล่าวในวันที่ 22 ก.ค.ว่า "อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่มีแนวโน้มว่าจะปรับขึ้นเพียงชั่วคราวเป็นส่วนใหญ่ และอัตราเงินเฟ้อยังคงมีแนวโน้มว่าจะอยู่ในระดับต่ำในระยะกลาง"
การที่ธนาคารกลางมองภาพเศรษฐกิจในวงกว้างอาจจะส่งผลให้ธนาคารกลางไม่ให้ความสำคัญมากนักกับความกังวลของบริษัทเอกชนบางแห่งด้วย ในขณะที่บริษัทเหล่านี้ครองสัดส่วนไม่มากนักในขนาดเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งจะเห็นได้จากบริษัทภาคเทคโนโลยีของสหรัฐที่ครองสัดส่วนเกือบถึง 30% ของมูลค่าทุนจดทะเบียนในตลาดของดัชนีตลาดหุ้น MSCI USA แต่ครองสัดส่วนเพียง 10% ในมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นก็ไม่ใช่เครื่องบ่งชี้ที่ดีถึงภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศด้วย โดยเฉพาะในยุโรป เพราะว่าบริษัทจดทะเบียนในยุโรปมียอดขายกว่าครึ่งหนึ่งมาจากตลาดต่างประเทศ ในขณะที่บริษัทสหรัฐมียอดขาย 30% มาจากต่างประเทศ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางมีแนวโน้มที่จะไม่กังวลมากนักกับการที่บริษัทขนาดใหญ่ระบุถึงภาวะเงินเฟ้อในช่วงนี้ด้วย เพราะเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางมองว่าบริษัทขนาดใหญ่สามารถใช้อิทธิพลของตนเองในการควบคุมต้นทุนในห่วงโซ่การผลิตของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทขนาดเล็กไม่สามารถทำได้
เจ้าหน้าที่เฟดและอีซีบีไม่ต้องการที่จะทำผิดซ้ำสองเหมือนในทศวรรษที่แล้วด้วย เพราะเฟดและอีซีบีเคยคุมเข้มนโยบายในทันทีเมื่อมีสัญญาณเงินเฟ้อช่วงแรกปรากฏออกมา แต่กลับไม่ได้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างเต็มที่ในเวลาต่อมาแต่อย่างใด นอกจากนี้ เฟดและอีซีบียังระบุถึงข้อดีของการปล่อยให้ "เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะร้อนแรง" ในช่วงนี้ด้วย โดยเฟดและอีซีบีอาจจะปล่อยให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูงกว่าระดับเป้าหมายเป็นเวลานานระยะหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้ตลาดแรงงานมีโอกาสฟื้นตัวต่อไป ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางกำลังจับตามองค่าแรงในช่วงนี้ เพราะถ้าหากค่าแรงพุ่งสูงขึ้น ปัจจัยดังกล่าวก็อาจจะบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดี สถานการณ์ด้านค่าแรงในประเทศต่าง ๆ อยู่ในภาวะที่แตกต่างกันไปในช่วงนี้ โดยค่าแรงในยูโรโซนปรับขึ้นเพียง 1.5% ในไตรมาสแรก ส่วนรายได้เงินสดในญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าในช่วงก่อนเกิดวิกฤติโรคระบาด ทางด้านค่าแรงในอังกฤษและออสเตรเลียมีแนวโน้มว่าจะชะลอการเติบโตลงในอนาคต อย่างไรก็ดี ค่าแรงในสหรัฐพุ่งขึ้น 3.2% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบรายปี แต่เฟดยังคงไม่แสดงความกังวลต่อเรื่องนี้ โดยนายพาวเวลล์เพิ่งกล่าวในวันที่ 28 ก.ค.ว่า "ผมคิดว่าเรายังคงอยู่ห่างไกลจากความคืบหน้าเป็นอย่างมากในการเข้าใกล้เป้าหมายภาวะการจ้างงานสูงสุด"
ราคาผู้ผลิตในประเทศพัฒนาแล้วพุ่งขึ้น 5-10% ในช่วงนี้ แต่ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าบริษัทเอกชนมีความเต็มใจหรือมีความสามารถมากน้อยเพียงใดในการผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไปให้แก่ผู้บริโภค โดยบริษัทบางแห่งในสหรัฐอย่างเช่นพร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (P&G) และสตาร์บัคส์ได้ผลักภาระต้นทุนไปแล้วหรือวางแผนที่จะทำแบบนั้น ทางด้านบริษัทญี่ปุ่นราว 2 ใน 3 ในโพลล์รอยเตอร์ก็ได้ผลักภาระต้นทุนไปแล้วหรือวางแผนที่จะทำแบบเดียวกัน อย่างไรก็ดี บริษัทญี่ปุ่นราว 52% คาดว่า ราคาสินค้าและบริการของตนเองจะทรงตัวอยู่ที่ระดับเดิมในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ส่วนในยูโรโซนนั้น บริษัทอุตสาหกรรมส่วนใหญ่คาดว่าจะผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไปให้แก่ลูกค้า แต่บริษัทในภาคบริการคาดว่าจะคงค่าบริการไว้ที่ระดับเดิม--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ผู้บริหารของบริษัทที่ผลิตทุกสิ่งอย่างนับตั้งแต่ชิ้นส่วนเครื่องบินไปจนถึงรถยนต์ และสเต็ก เบอร์ริโตมีความเห็นต่างจากผู้กำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับระยะเวลาในการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐ และมองว่า ราคาที่เพิ่มขึ้นจะกระทบกำไรขั้นต้น และผลกำไรตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้
บริษัทขนาดใหญ่กำลังส่งสัญญาณเตือนมากขึ้นในการแถลงผลประกอบการรายไตรมาสของพวกเขา ขณะที่พวกเขายังคงพยายามอย่างหนักเพื่อรับมือกับปัญหาขัดข้องด้านห่วงโซ่อุปทาน และการขาดแคลนแรงงานที่ทำให้ราคาพุ่งขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจกำลังกลับไปสู่ภาวะปกติหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
แต่ผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์เกือบ 500 คนทั่วโลกในเดือนนี้พบว่า อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่สำคัญทั่วโลกจะเกิดขึ้นชั่วคราว โดยนักเศรษฐศาสตร์กว่า 70% ระบุว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกในขณะนี้เกิดขึ้นชั่วคราว
อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นประเด็นสนใจในทันทีของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่มีความเห็นต่างกันมากขึ้นระหว่างกลุ่มผู้ที่กังวลว่า ราคาอาจจะกลับไปสู่กรอบก่อนเกิดโรคระบาดซึ่งประเทศต่างๆต้องการเวลามากกว่านี้ในการขยายตัว--จบ--
นิวยอร์ค--20 ก.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันจันทร์ ในขณะที่การพุ่งขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตาส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาในวงกว้าง เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าอาจจะมีการประกาศมาตรการล็อกดาวน์รอบใหม่ และกังวลว่าเศรษฐกิจจะชะลอการฟื้นตัว ทั้งนี้ นักลงทุนต้องการหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงนี้ และนักลงทุนได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงแตะ 1.176% ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบกว่า 5 เดือน และปัจจัยนี้มีส่วนทำให้ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐรูดลง 3.3% ในวันจันทร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดดิ่งลง 2.09% สู่ 33,962.04 ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเกือบ 9 เดือน, ดัชนี S&P 500 ปิดรูดลง 1.59% สู่ 4,258.49 และดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 1.06% สู่ 14,274.98 โดยการดิ่งลงของดัชนี S&P และ Nasdaq ในวันจันทร์ถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนพ.ค. ทั้งนี้ หุ้นทั้ง 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันจันทร์ โดยดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานรูดลง 3.6% ซึ่งถือเป็นการรูดลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มสายการบินดิ่งลง 3.8% ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มโรงแรมและร้านอาหารรูดลง 2.7%
นายพอล โนลเท ผู้จัดการพอร์ตลงทุนของบริษัทคิงส์วิว แอสเซท แมเนจเมนท์กล่าวว่า ความกังวลเรื่องเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตาส่งผลให้ตลาดหุ้นดิ่งลง และนักลงทุนก็กังวลอีกด้วยว่า สหรัฐอาจจะไม่สามารถเปิดเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วเท่ากับที่เคยคาดการณ์กันไว้ ทางด้านเจ้าหน้าที่สหรัฐกล่าวในวันศุกร์ว่า เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตาได้กลายเป็นเชื้อที่แพร่ระบาดมากที่สุดทั่วโลกในตอนนี้ ในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในสหรัฐพุ่งสูงขึ้น และผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นประชากรที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ทั้งนี้ ดัชนีความผันผวน CBOE หรือดัชนี VIX ที่ใช้วัดระดับความกังวลในตลาดหุ้นสหรัฐ พุ่งขึ้น 4.1 จุด หรือ 21.95% มาปิดตลาดที่ 22.50 ในวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดในรอบ 2 เดือน
นักลงทุนจับตาดูฤดูการรายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ในช่วงนี้ โดยมีบริษัท 41 แห่งในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลประกอบการออกมาแล้ว และบริษัท 90% ในกลุ่มนี้เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด โดยนักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจพุ่งขึ้น 72% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบรายปี ทั้งนี้ บริษัทที่จะเปิดเผยผลประกอบการในสัปดาห์นี้รวมถึงบริษัทเน็ตฟลิกซ์, ทวิตเตอร์, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน, ยูไนเต็ด แอร์ไลน์, อินเทล, ฮันนีเวล และฮาร์เลย์-เดวิดสัน
บริษัทอินเตอร์เนชันแนล บิสเนส แมชีนส์ คอร์ป (IBM) เปิดเผยรายได้รายไตรมาสที่สูงเกินคาด โดยได้รับแรงหนุนจากความแข็งแกร่งของแผนกประมวลผลบนระบบคลาวด์--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน