ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ลอนดอน--24 ส.ค.--รอยเตอร์
บริษัทเจนัส เฮนเดอร์สันเปิดเผยรายงานการจ่ายเงินปันผลทั่วโลกฉบับล่าสุดในวันนี้ โดยรายงานระบุว่า ยอดการจ่ายเงินปันผลทั่วโลกพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ 5.448 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสสอง โดยพุ่งขึ้น 11.3% เมื่อเทียบรายปี โดยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ระดับสูงมีส่วนช่วยหนุนยอดการจ่ายเงินปันผลในประเทศตลาดเกิดใหม่ให้พุ่งขึ้น 22.5% สู่สถิติสูงสุดใหม่ และยอดการจ่ายเงินปันผลในประเทศตลาดเกิดใหม่ปรับขึ้นมาอยู่สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ยอดการจ่ายเงินปันผลทั่วโลกได้รับแรงหนุนสำคัญจากบริษัทพลังงานด้วย ในขณะที่การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันและก๊าซส่งผลให้บริษัทพลังงานมีผลกำไรสูงเป็นประวัติการณ์ โดยบริษัทน้ำมันและก๊าซ ซึ่งรวมถึงบริษัทขนาดยักษ์ของรัฐบาลในภูมิภาคละตินอเมริกา ครองสัดส่วนสูงกว่า 40% ของอัตราการเติบโตของเงินปันผลทั่วโลกในไตรมาสเดือนเม.ย.-มิ.ย.
ภาคธนาคารครองสัดส่วนสูงมากในอัตราการเติบโตของเงินปันผลด้วยเช่นกัน เนื่องจากมาตรการห้ามธนาคารจ่ายเงินปันผลในช่วงวิกฤติโรคระบาดได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ทางด้านบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ก็จ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ ยอดการจ่ายเงินปันผลในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ภาคเอกชนสามารถรักษาประสิทธิภาพการทำกำไรไว้ได้เป็นอย่างดีในปีนี้ ถึงแม้ภาคครัวเรือนเผชิญกับวิกฤติค่าครองชีพ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น และมีความกังวลกันว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะถดถอย
เจนัส เฮนเดอร์สันคาดการณ์ว่า ยอดการจ่ายเงินปันผลทั่วโลกตลอดทั้งปีนี้อาจจะพุ่งขึ้น 5.8% สู่สถิติสูงสุดที่ 1.56 ล้านล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ นายเบน ลอฟท์เฮาส์ หัวหน้าฝ่ายเงินปันผลหุ้นโลกของเจนัส เฮนเดอร์สันกล่าวว่า "ภาคเอกชนส่วนใหญ่กลับมาจ่ายเงินปันผลได้อย่างรวดเร็วเกินคาด เพราะว่าผลกำไรปรับตัวดีขึ้น" และข่าวนี้ถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้ถือหุ้น ซึ่งรวมถึงกองทุนเงินบำนาญ หลังจากตลาดหุ้นดิ่งลงในปีนี้ อย่างไรก็ดี การจ่ายเงินปันผลอาจจะไม่มีแนวโน้มที่สดใสมากนักในอนาคต เพราะว่าเศรษฐกิจหลายประเทศชะลอตัวลง และอัตราผลกำไรในภาคเอกชนปรับลดลง
ยอดการจ่ายเงินปันผลได้รับแรงหนุนสำคัญจากบริษัทผู้ผลิตน้ำมัน โดยเฉพาะบริษัทเปโตรบาสของบราซิล และบริษัทเอโคปิโตรลของโคลอมเบีย โดยเปโตรบาสจ่ายเงินปันผล 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ในไตรมาส 2 ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในโลก ทั้งนี้ ยอดการจ่ายเงินปันผลในอังกฤษพุ่งขึ้น 29.3% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบรายปี โดยได้รับแรงหนุนจากภาคธนาคารและบริษัทผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์
มีความกังวลกันว่า นักลงทุนอาจจะพึ่งพาเงินปันผลจากบริษัทในภาคพลังงานในช่วงที่เศรษฐกิจประเทศสำคัญมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างรุนแรง โดยนายแดน เคมพ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนโลกในบริษัทมอร์นิงสตาร์กล่าวว่า กองทุนเงินปันผลอาจจะ "หันมาพึ่งพาอุตสาหกรรมที่ปรับตัวตามวัฏจักรเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก" นอกจากนี้ ยอดการจ่ายเงินปันผลที่สูงมากก็อาจจะส่งผลให้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีกำไรพิเศษจากบริษัทน้ำมันและก๊าซด้วย อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์กล่าวว่า การปรับเพิ่มการจ่ายเงินปันผลในช่วงนี้ส่งผลบวกต่อกองทุนเงินบำนาญหลายแห่ง เพราะกองทุนกลุ่มนี้ถือหุ้นในกลุ่มพลังงาน--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ผลการศึกษาบริษัทชั้นนำ 900 แห่งพบว่า หนี้สุทธิของภาคเอกชนทั่วโลกลดลง 1.9% สู่ระดับ 8.15 ล้านล้านดอลลาร์ในรอบปีที่ผ่านมา ขณะที่ต้นทุนการกู้ที่สูงขึ้นลดความต้องการสินเชื่อใหม่ และกระแสเงินสดที่แข็งแกร่งจากภาวะทางการเงินที่ผ่อนคลายมาหลายปีช่วยให้บริษัทต่างๆชำระคืนหนี้ที่มีอยู่ได้
ดัชนีหนี้ภาคเอกชนที่จัดทำโดยเจนัส เฮนเดอร์สันพบว่า คาดว่าภาวะหนี้จะลดลง 2.70 แสนล้านดอลลาร์ในปีหน้า ขณะที่บริษัทใช้แนวทางแบบอนุรักษ์นิยมมากขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยดัชนีดังกล่าวอิงตามงบดุลรายปีของบริษัท ณ วันที่ 1 มิ.ย.
นายเซธ เมเยอร์ ผู้จัดการฝ่ายพอร์ทการลงทุนตราสารหนี้จากเจนัส เฮนเดอร์สันกล่าวว่า "การขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจชะลอลง หรือพลิกกลับ แต่บริษัทต่างๆก็เริ่มต้นจากสถานะที่มีความสามารถในการทำกำไรสูง"
ขณะที่แนวโน้มทั่วโลกคือการปรับลดการกู้ หนี้สุทธิของบริษัทในสหรัฐจึงเพิ่มขึ้น 0.5% ในรอบปีที่ผ่านมา "ความต้องการใช้หนี้เป็นส่วนที่ใหญ่ขึ้นในส่วนผสมสินเชื่อจึงหมายความว่า มีบริษัทเพียง 1 แห่งจาก 6 แห่งของสหรัฐที่มีเงินสดสุทธิในงบดุล เมื่อเทียบกับบริษัทเกือบ 1 ใน 3 ทั่วโลก"
เขากล่าวว่า "บริษัทจะรับมือกับภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ และใช้กระแสเงินสดเพื่อลดการกู้ลงอีก"
และผู้กู้บางรายในตลาดหุ้นกู้ภาคเอกชนเลือกที่จะไถ่ถอนหุ้นกู้ แทนที่จะขายหุ้นกู้ใหม่ในต้นทุนที่สูงขึ้น จึงทำให้มูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้จดทะเบียนลดลง 1.15 แสนล้านดอลลาร์ตั้งแต่เดือนพ.ค.2021 ขณะที่การลดลงของหุ้นกู้ทั่วโลก ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2014/2015 ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากภาคพลังงาน เนื่องจากราคาแพงทำให้บริษัทน้ำมันและก๊าซลดการกู้ลง 1.55 แสนล้านดอลลาร์เมื่อคิดจากอัตราแลกเปลี่ยนคงที่--จบ--
ภาวะตลาดกระทิงที่ดำเนินมาร่วม 40 ปีของตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐสิ้นสุดลงแล้ว เมื่อตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดิ่งลงมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ในช่วงต้นปีนี้ และนักลงทุนพันธบัตรบางรายรู้สึกวิตกอีกครั้งว่า การพุ่งขึ้นร่วมหลายทศวรรษของพันธบัตรรัฐบาลกำลังจะสิ้นสุดลง ซึ่งทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีร่วงลงจากระดับสูงสุดที่ 15.3% ในปี 1981 มาที่ 0.54% ในเดือนมี.ค.2020
ตลาดพันธบัตรฟื้นตัวขึ้นจากแรงเทขายในอดีต ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำ และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่มีมุมมองเชิงผ่อนคลายนโยบาย แต่มุมมองเชิงลบดังกล่าวกลับมาอีกครั้งในขณะนี้ เมื่อเฟดส่งสัญญาณว่า พร้อมที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอย่างมาก และเร่งการลดขนาดงบดุลลงอย่างรวดเร็วเพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี
พันธบัตรอยู่ในสินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ติดอันดับสถานะขายมากที่สุดของกลุ่มผู้จัดการกองทุนโลกในผลสำรวจล่าสุดของแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ โดยนักลงทุนได้ถอนการลงทุนออกจากกองทุนพันธบัตรสุทธิในรอบ 10 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสถิติติดต่อกันนานที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2013 ขณะที่กองทุน iShares 20+ Year Treasury Bond ETF ซึ่งเป็นกองทุน ETF ที่เน้นพันธบัตรที่มีการซื้อขายหนาแน่นที่สุด ร่วงลง 18% แล้วในปีนี้
ภาวะชะลอตัวเป็นเวลานานของพันธบัตรอาจจะมีผลกระทบในวงกว้างนับตั้งแต่กระทบต้นทุนการกู้ของภาคเอกชนไปจนถึงกระทบพอร์ทการลงทุนของนักลงทุน ขณะที่ข้อมูลจากสมาคมธุรกิจหลักทรัพย์และตลาดการเงินพบว่า สัดส่วนการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของนักลงทุนรายย่อยและกองทุนรวมอยู่ที่ 4.39 ล้านล้านดอลลาร์ ณ สิ้นปี 2021
สำหรับหุ้นนั้น ผลกระทบจากผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้นขึ้นอยู่กับว่า เกิดขึ้นพร้อมกับราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่ ซึ่งอาจจะสร้างปัญหาให้แก่หุ้นในสภาวะที่เงินเฟ้อพุ่งสูงมากในปัจจุบัน ขณะที่หุ้นให้ผลตอบแทน 6.4% โดยเฉลี่ยในช่วงเวลาที่ผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้น 13 ครั้งระหว่างปี 1962 ถึงปี 2016 เมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ยของระยะยาวที่ 7.1% ในช่วงเวลาดังกล่าว แต่เมื่อผลตอบแทนเพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้อสูง ผลตอบแทนต่อปีโดยเฉลี่ยลดลงสู่ระดับ -0.4%--จบ--
เจนัส เฮนเดอร์สัน บริษัทจัดการสินทรัพย์ เปิดเผยว่า คาดว่าหนี้รัฐบาลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 9.5% ในปีนี้ สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 71.6 ล้านล้านดอลลาร์อันเป็นผลจากสหรัฐ, ญี่ปุ่นและจีน โดยรัฐบาลทั่วโลกได้เพิ่มการกู้เงินนับตั้งแต่เชื้อโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดเมื่อ 2 ปีก่อน ขณะที่พวกเขาพยายามปกป้องเศรษฐกิจจากผลกระทบ
นั่นทำให้หนี้รัฐบาลทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดที่ 65.4 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2021 เทียบกับ 52.2 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนม.ค.ปี 2020 ส่วนหนี้ของจีนพุ่งขึ้นเร็วที่สุด และมากที่สุดในแง่เงินสด โดยเพิ่มขึ้น 20% หรือ 6.50 แสนล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว
ในบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว เยอรมนีมีหนี้เพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซนต์ โดยหนี้ของเยอรมนีพุ่งขึ้น 15% ซึ่งมากกว่าอัตราของทั่วโลกถึงเกือบสองเท่า ขณะที่หนี้รัฐบาลทั่วโลกพุ่งขึ้นสามเท่าในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่ปัจจัยที่ช่วยบรรเทาไว้คือต้นทุนการชำระหนี้ต่ำ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของหนี้รัฐบาลทั้งหมดของโลกลดลงสู่ระดับ 1.6% ในปีที่แล้ว ต้นทุนการชำระหนี้จึงลดลงสู่ระดับ 1.01 ล้านล้านดอลลาร์
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่งบ่งชี้ว่า สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีทั่วโลกเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 80.7% ในปี 2021 จาก 87.5% ในปี 2020 แต่ในขณะนี้ ต้นทุนหนี้อาจพุ่งขึ้นมาก โดยบริษัทคาดว่า ภาระดอกเบี้ยทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 15% จากอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ สู่ระดับ 1.16 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2022
เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้น และนักลงทุนคาดว่า ธนาคารกลางชั้นนำจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจึงพุ่งสูงอย่างมาก อาทิเช่น ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของสหรัฐพุ่งเกือบ 1.00% ในปีนี้ สู่ระดับ 2.45% ขณะที่ตลาดพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกให้ผลตอบแทน -1.9% ในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 35 ปีที่ผลตอบแทนติดลบ--จบ--
เจนัส เฮนเดอร์สันเปิดเผยว่า คาดว่าเงินปันผลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.39 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้าเพื่อสะท้อนว่า การจ่ายเงินปันผลของภาคเอกชนมีการฟื้นตัวแข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้ โดยตัวเลขคาดการณ์ล่าสุดเพิ่มขึ้น 2.2% จากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้า แต่ก็ยังคงต่ำกว่าระดับสูงสุดก่อนเกิดโรคระบาดอยู่ 3%
การจ่ายปันผลร่วงลงในปีที่แล้วเนื่องจากวิกฤติโควิด-19 ขณะที่มีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ และแรงกดดันของภาครัฐเพื่อจำกัดการจ่ายปันผล แต่ข้อมูลจาก Global Dividend Index พบว่า การจ่ายปันผลกำลังฟื้นตัวแข็งแกร่ง โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้น 26.3% ในไตรมาสสอง
เงินปันผลจากภาคเอกชนที่จะเริ่มจ่ายนั้นมีมูลค่ารวม 3.33 หมื่นล้านดอลลาร์ และคิดเป็นสัดส่วน 3 ใน 4 ของอัตราการเพิ่มขึ้นในไตรมาสสอง
นางเจน ชูเมค ผู้จัดการจากเจนัส เฮนเดอร์สันกล่าวว่า "การจ่ายปันผลทั่วโลกอาจจะฟื้นตัวสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดภายใน 12 เดือนข้างหน้า และการฟื้นตัวในขณะนี้จะไม่ถูกขัดขวางจากระบบธนาคารที่อ่อนแอเหมือนกับที่เคยเป็นหลังวิกฤติการเงินโลกเมื่อ 10 ปีก่อน เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายจะยังคงดำเนินมาตรการหนุนทางการคลังและการเงินให้แก่ภาคเศรษฐกิจต่อไป"--จบ--
รายงานการศึกษาจากเจนัส เฮนเดอร์สัน บริษัทบริหารสินทรัพย์พบว่า หนี้สุทธิของภาคเอกชนทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นมากถึง 6.00 แสนล้านดอลลาร์ในปีนี้ ขณะที่ภาคเอกชนเริ่มที่จะใช้เงินสดบางส่วนที่สะสมไว้ในช่วงที่มีการแพร่ระบาด
ภาคเอกชนได้กู้เงินมากเป็นประวัติการณ์ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว แต่ก็ใช้วิธีใช้จ่ายเงินกู้ดังกล่าวอย่างระมัดระวัง ซึ่งทำให้มีเงินสดเหลืออยู่ราว 5.2 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้น หนี้ทั้งหมดจึงเพิ่มขึ้น 10.2% สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 13.5 ล้านล้านดอลลาร์สำหรับปีงบการเงิน 2020 ขณะที่หนี้สุทธิ หรือหนี้ทั้งหมดลบเงินสด เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยสู่ระดับ 8.3 ล้านล้านดอลลาร์
ขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว บริษัทคาดว่าการใช้จ่ายด้านทุนจะขยายตัว, จะมีการจ่ายเงินปันผล และการซื้อคืนหุ้นตลอดช่วงครึ่งปีหลังนี้ และต่อไป
นั่นจะทำให้หนี้ภาคเอกชนสุทธิทั่วโลกเพิ่มขึ้น 5.00-6.00 แสนล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปีนี้ สู่ระดับ 8.8-8.9 ล้านล้านดอลลาร์
บริษัทระบุว่า คุณภาพสินเชื่อที่ดีขึ้นเนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และนโยบายการเงินเชิงสนับสนุน แม้มีแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นก็ตาม ได้สร้างโอกาสในการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูง หรือจังค์บอนด์ปรับตัวโดดเด่นในปีนี้ เนื่องจากมีความอ่อนไหวต่อการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานน้อยกว่า--จบ--
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน