ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
นิวยอร์ค--27 มิ.ย.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากเกิดเหตุการณ์กลุ่มทหารรับจ้างแวกเนอร์ที่ติดอาวุธหนักและนำโดยนายเยฟเกนี พรีโกซิน พยายามจะก่อกบฏในรัสเซียในช่วงสุดสัปดาห์ ก่อนจะยกเลิกปฏิบัติการดังกล่าวภายใต้ข้อตกลง โดยเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนตั้งคำถามต่ออนาคตของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย และนักลงทุนต้องการจะรอดูผลลัพธ์จากเหตุการณ์ดังกล่าวในช่วงนี้ ทางด้านปธน.ปูตินได้กล่าวในวันจันทร์ว่า เขาขอบคุณผู้บัญชาการทหารรับจ้างและกลุ่มทหารรับจ้างที่ล้มเลิกการก่อกบฏเพื่อจะได้หลีกเลี่ยงการนองเลือด ในขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐระบุว่า สถานการณ์ในรัสเซียยังคงไม่หยุดนิ่ง ทั้งนี้ นายพรีโกซินกล่าวในวันจันทร์ว่า เขาไม่เคยตั้งใจที่จะโค่นล้มรัฐบาลรัสเซีย แต่เขาไม่ได้เปิดเผยสถานที่อยู่ของเขาในปัจจุบัน และไม่ได้เปิดเผยข้อตกลงในการยกเลิกการก่อกบฏ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับลง 0.04% สู่ 33,714.71, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.45% สู่ 4,328.82 และดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 1.16% สู่ 13,335.78 ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานพุ่งขึ้น 2.2% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันจันทร์ ในขณะที่ราคาน้ำมันปรับขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลที่ว่า ภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมืองในรัสเซียอาจจะส่งผลให้เกิดการขาดตอนของอุปทานน้ำมัน ทางด้านหุ้นเติบโตดิ่งลงในวันจันทร์ โดยหุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊กดิ่งลง 3.6%, หุ้นแอลฟาเบทรูดลง 3.3% หลังจากธนาคารยูบีเอสปรับลดอันดับความน่าลงทุนของหุ้นแอลฟาเบทลงสู่ "neutral" และหุ้นเทสลาดิ่งลง 6.1% หลังจากโกลด์แมน แซคส์ปรับลดอันดับความน่าลงทุนของหุ้นเทสลาลงสู่ "neutral"
ตลาดหุ้นได้รับผลกระทบจากการเทขายทำกำไรหุ้นเติบโตในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของไตรมาสสอง หลังจากหุ้นเติบโตพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงต้นปีนี้ โดยนายคริส แซคคาเรลลี หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทอินดิเพนเดนท์ แอดไวเซอร์ อัลไลอันซ์กล่าวว่า นักลงทุนหันมาสำรวจหุ้นที่เคยปรับตัวอ่อนแอในช่วงต้นปีนี้ ซึ่งรวมถึงหุ้นคุณค่าและหุ้นบริษัทขนาดเล็ก ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวในสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกน และดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นิยมใช้ และนักลงทุนรอฟังถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดในสัปดาห์นี้ด้วย หลังจากเขาส่งสัญญาณในสัปดาห์ที่แล้วว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป และถ้อยแถลงของเขามีส่วนกดดันตลาดหุ้นสหรัฐให้ร่วงลงในสัปดาห์ที่แล้ว
เทรดเดอร์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 26.1% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. และมีโอกาส 73.9% ที่เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. โดยเทรดเดอร์คาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกในช่วงหลังจากนั้น ถึงแม้ผู้กำหนดนโยบายส่วนใหญ่ของเฟดคาดว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับอย่างน้อย 5.50-5.75% ก่อนสิ้นปีนี้
หุ้นไฟเซอร์ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยาดิ่งลง 3.7% หลังจากไฟเซอร์ประกาศยุติการพัฒนายารักษาโรคเบาหวานและโรคอ้วนตัวหนึ่ง ทั้งนี้ หุ้นลูซิด กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทะยานขึ้น 1.5% หลังจากลูซิดทำข้อตกลงกับบริษัทแอสตัน มาร์ตินของอังกฤษ ซึ่งจะส่งผลให้ลูซิดได้ถือหุ้น 3.7% ในแอสตัน มาร์ติน--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--14 มี.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงในวันจันทร์ตามหุ้นกลุ่มธนาคาร ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับการปิดกิจการธนาคารซิลิคอน แวลลีย์ (SVB) ในวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจาก SVB ประสบความล้มเหลวในการเพิ่มทุน โดยนักลงทุนกังวลว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาอาจจะส่งผลกระทบต่อธนาคารแห่งอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี บรรยากาศการซื้อขายมีความผันผวน และดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้นในวันจันทร์ เนื่องจากหุ้นบางกลุ่มได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังที่ว่า เฟดอาจจะชะลอความเร็วในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 2 ปีก็ดิ่งลงจาก 4.588% ในช่วงท้ายวันศุกร์ สู่ 4.030% ในช่วงท้ายวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายวันครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ตลาดหุ้นสหรัฐทรุดตัวครั้งใหญ่ในวัน Black Monday ในปี 1987
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.28% สู่ 31,819.14, ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.15% สู่ 3,855.76 และดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.45% สู่ 11,188.84 ทางด้านดัชนีความผันผวน CBOE หรือดัชนี VIX ที่ใช้วัดระดับความกังวลของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้น 1.72 จุด สู่ 26.52 หลังจากทะยานขึ้นแตะ 30.81 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนต.ค. ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค ซึ่งถือเป็นหุ้นกลุ่มปลอดภัยพุ่งขึ้น 1.54% ในขณะที่หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับขึ้นเช่นกัน โดยหุ้นสองกลุ่มหลังนี้มักจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย
ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐกล่าวว่า มาตรการของรัฐบาลสหรัฐในการรับประกันว่า ผู้ฝากเงินจะสามารถเข้าถึงเงินฝากของตนเองใน SVB และในธนาคารซิกเนเจอร์ น่าจะช่วยให้ชาวสหรัฐมีความเชื่อมั่นว่า ระบบธนาคารสหรัฐมีความปลอดภัย และเขาให้สัญญาว่าจะทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อรับมือกับภัยคุกคามต่อระบบธนาคาร อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐดิ่งลง 7% ในวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย. 2020 ในขณะที่หุ้นธนาคารเฟิร์สท์ รีพับลิกรูดลง 61.83%, หุ้นธนาคารเวสเทิร์น อัลไลอันซ์ แบงคอร์ปดิ่งลง 47.06% และหุ้นธนาคารแพคเวสท์ แบงคอร์ปรูดลง 21.05% นอกจากนี้ หุ้นชาร์ลส์ ชวอบ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินก็ดิ่งลง 11.56% หลังจากทางบริษัทรายงานว่า จำนวนเงินที่ลูกค้ากู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์โดยเฉลี่ยดิ่งลง 28% และสินทรัพย์ของลูกค้าโดยรวมลดลง 4% ในเดือนก.พ. ทั้งนี้ หุ้นธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐดิ่งลงด้วยเช่นกัน ซึ่งรวมถึงหุ้นเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, ซิตี้กรุ๊ป และเวลส์ ฟาร์โก
นักลงทุนรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนก.พ.ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันอังคารนี้ และรอดูดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพุธ ทั้งนี้ นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 31.4% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.50-4.75% ในการประชุมวันที่ 21-22 มี.ค. และมีโอกาส 68.6% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 21-22 มี.ค.
หุ้นไฟเซอร์ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยาพุ่งขึ้น 1.19% หลังจากไฟเซอร์ประกาศว่า ไฟเซอร์จะเข้าซื้อบริษัทซีเกนในวงเงินเกือบ 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--28 ก.พ.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นเล็กน้อยในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนเข้าช้อนซื้อเก็งกำไรหุ้นสหรัฐ หลังจากตลาดหุ้นดิ่งลงอย่างรุนแรงในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ตลาดหุ้นยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ดัชนีสำคัญทั้ง 3 ดัชนีของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นกว่า 1% ในเวลาไม่นานหลังจากเปิดตลาดในวันจันทร์ ในขณะที่ตลาดหุ้นได้รับแรงหนุนจากการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดช่วงติดลบกลับขึ้นมาได้บ้างในเวลาต่อมา และส่งผลให้ตลาดหุ้นลดช่วงบวกลง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีอยู่ที่ 3.922% ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยปรับลงจาก 3.949% ในช่วงท้ายวันศุกร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.22% สู่ 32,889.09, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.31% สู่ 3,982.24 และดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.63% สู่ 11,466.98 ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์เพิ่งปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วด้วยการรูดลง 2.99% จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. หรือครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 5 เดือน ทางด้านดัชนี S&P ปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วด้วยการรูดลง 2.66% จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้น และดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 3.33% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.ทั้งสำหรับดัชนี S&P และ Nasdaq โดยตลาดหุ้นได้รับแรงกดดันในสัปดาห์ที่แล้วจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดที่บ่งชี้ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารบาร์เคลย์สและธนาคารแนทเวสต์ของอังกฤษคาดว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 21-22 มี.ค. ส่วนธนาคารมอร์แกน สแตนเลย์คาดว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมี.ค. 2024 โดยปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เคยคาดว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนธ.ค. 2023 นอกจากนี้ มอร์แกน สแตนเลย์ยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างเชื่องช้า โดยปรับลดลงเพียง 0.25% ต่อไตรมาส และอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 4.25% ในช่วงสิ้นปี 2024 ทั้งนี้ เทรดเดอร์ในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดการณ์ในตอนนี้ว่า อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอาจจะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรที่ระดับราว 5.408% ในเดือนก.ย.
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันจันทร์ว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่รวมอาวุธและเครื่องบิน หรือยอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐานของสหรัฐ พุ่งขึ้น 0.8% ในเดือนม.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.1% หลังจากร่วงลง 0.3% ในเดือนธ.ค. ทางด้านยอดขนส่งสินค้าทุนพื้นฐานดีดขึ้น 1.1% ในเดือนม.ค. หลังจากร่วงลง 0.6% ในเดือนธ.ค. และสิ่งนี้บ่งชี้ว่ารายจ่ายด้านอุปกรณ์ในภาคธุรกิจปรับสูงขึ้น
การร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) มีส่วนช่วยหนุนดัชนีหุ้นเติบโตของสหรัฐให้ดีดขึ้น 0.63% ในวันจันทร์ ในขณะที่หุ้นบริษัทเทสลาซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพุ่งขึ้น 5.46% หลังจากเทสลารายงานว่า โรงงานของเทสลาในเมืองแบรนเดนเบิร์กของเยอรมนีผลิตรถยนต์ได้ 4,000 คันต่อสัปดาห์ ซึ่งถือว่าเร็วกกว่ากำหนดถึง 3 สัปดาห์--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--9 ม.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันศุกร์ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐปรับเพิ่มขึ้นสูงเกินคาด แต่ค่าแรงชะลอการปรับขึ้น และมีรายงานระบุว่าภาคบริการของสหรัฐหดตัวลง โดยรายงานตัวเลขเหล่านี้ช่วยลดความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า การจ้างงานในสหรัฐเพิ่มขึ้น 223,000 ตำแหน่งในเดือนธ.ค. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ 200,000 ตำแหน่ง แต่ค่าแรงเพิ่มขึ้นเพียง 0.3% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนพ.ย. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 0.4% สำหรับเดือนธ.ค. ส่วนค่าแรงแบบเทียบรายปีปรับขึ้นเพียง 4.6% ในเดือนธ.ค. ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2021 หลังจากเพิ่มขึ้น 4.8% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี ทางด้านอัตราการว่างงานร่วงลงสู่ 3.5% ในเดือนธ.ค. จาก 3.6% ในเดือนพ.ย. ในขณะที่อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานสหรัฐปรับขึ้นสู่ 62.3% ในดือนธ.ค. จาก 62.2 ในเดือนพ.ย.
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 2.13% สู่ 33,630.61, ดัชนี S&P 500 ปิดทะยานขึ้น 2.28% สู่ 3,895.08 และดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 2.56% สู่ 10,569.29 โดยดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการทะยานขึ้น 1.46% จากสัปดาห์ที่แล้ว, ดัชนี S&P ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 1.45% จากสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบมานาน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน และดัชนี Nasdaq ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการบวกขึ้น 0.98% จากสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบมานาน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน ทั้งนี้ หุ้นทั้ง 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนบวกในวันศุกร์ โดยหุ้นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดคือหุ้นกลุ่มวัสดุที่ทะยานขึ้น 3.44% ส่วนหุ้นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากเป็นอันดับสองคือหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ทะยานขึ้น 2.99% ทางด้านหุ้นกลุ่มที่ปรับขึ้นน้อยที่สุดคือหุ้นกลุ่มการแพทย์ที่ปรับขึ้นเพียง 0.89% และหุ้นกลุ่มพลังงานที่ปรับขึ้น 1.68%
สถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐ (ISM) รายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของสหรัฐดิ่งลงจาก 56.5 ในเดือนพ.ย. สู่ 49.6 ในเดือนธ.ค. ซึ่งถือเป็นการรูดผ่านระดับ 50 ลงมาเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2020 และดัชนีที่ระดับต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่าภาคบริการหดตัวลง โดยดัชนีนี้แสดงให้เห็นว่าภาคบริการซึ่งครองสัดส่วนสูงกว่า 2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐหดตัวลงในเดือนธ.ค.เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปีครึ่ง นอกจากนี้ ISM ยังรายงานอีกด้วยว่า ดัชนีราคาจ่ายในภาคบริการปรับลงจาก 70.0 ในเดือนพ.ย. สู่ 67.6 ในเดือนธ.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2021 และถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง ทั้งนี้ นางเมแกน ฮอร์นแมน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทเวอร์เดนซ์ แคปิตัล แมเนจเมนท์กล่าวว่า รายงานตัวเลขการจ้างงานและตัวเลขภาคบริการที่ออกมาในวันศุกร์ "ทำให้นักลงทุนคาดว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวของเฟดใกล้จะถึงจุดสิ้นสุดแล้ว และปัจจัยนี้ก็หนุนตลาดหุ้นให้พุ่งขึ้น" ทางด้านนายจอห์น ออกุสติน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของธนาคารฮันทิงทัน เนชันแนล แบงก์ระบุว่า นักลงทุนปรับลดความกังวลที่ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนถึงระดับที่ส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และเขากล่าวเสริมว่า "รายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในวันศุกร์อาจจะช่วยลดแรงกดดันสำหรับเฟดในการทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเฟดอาจจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงมามากพอแล้ว และเฟดอาจจะต้องรอเพียงแค่การยืนยันเรื่องนี้จากรายงานตัวเลขเงินเฟ้อ" โดยรัฐบาลสหรัฐจะรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนธ.ค.ออกมาในวันพฤหัสบดีที่ 12 ม.ค. และถ้าหากอัตราเงินเฟ้อในเดือนธ.ค.ยังคงชะลอตัวลงต่อไป เฟดก็จะสามารถตัดสินใจได้ว่า เฟดจะชะลอความเร็วในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่
นายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดสาขาแอตแลนตากล่าวในวันศุกร์ว่า รายงานการจ้างงานครั้งล่าสุดของสหรัฐถือเป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลังชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และถ้าหากเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวลงแบบนี้ต่อไป เฟดก็จะสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในการประชุมกำหนดนโยบายครั้งถัดไปในวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูฤดูการรายงานผลประกอบการไตรมาส 4 ที่จะเริ่มต้นขึ้นในวันศุกร์ที่ 13 ม.ค.เมื่อธนาคารเจพีมอร์แกนและธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกาเปิดเผยผลประกอบการออกมา
ดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นพุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นคอสต์โค โฮลเซล คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกที่พุ่งขึ้น 7% หลังจากทางบริษัทรายงานว่ายอดขายในเดือนธ.ค.พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ หุ้นไฟเซอร์ทะยานขึ้น 2.5% หลังจากมีรายงานข่าวระบุว่า ไฟเซอร์เจรจากับจีนในเรื่องการออกใบอนุญาตให้บริษัทผู้ผลิตยาในจีนสามารถผลิตและจัดจำหน่ายยาชื่อสามัญของยา Paxlovid ของไฟเซอร์เพื่อใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ในจีน--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--13 ธ.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นในวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนบางส่วนจากการทะยานขึ้นของหุ้นบริษัทไมโครซอฟท์และหุ้นบริษัทไฟเซอร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันอังคารนี้ และรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะออกมาในวันพุธนี้ ทั้งนี้ หุ้นไมโครซอฟท์พุ่งขึ้น 2.89% หลังจากไมโครซอฟท์ทำข้อตกลงซื้อหุ้น 4% ในบริษัทลอนดอน สต็อก เอ็กซ์เชนจ์ กรุ๊ป (LSEG) หรือบริษัทตลาดหุ้นลอนดอน โดยการพุ่งขึ้นของหุ้นไมโครซอฟท์ส่งผลบวกต่อดัชนีตลาดหุ้นสำคัญทั้ง 3 ดัชนีของสหรัฐ ทางด้านหุ้นไฟเซอร์บวกขึ้น 0.85% หลังจากไฟเซอร์คาดการณ์รายได้จากวัคซีน โดยไฟเซอร์คาดว่า รายได้ในแต่ละปีจากวัคซีน mRNA อาจจะพุ่งขึ้นแตะ 1.0-1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 และคาดว่ารายได้ทั้งหมดของไฟเซอร์อาจจะอยู่สูงกว่า 1.00 แสนล้านดอลลาร์ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่า 2 เท่าของช่วงก่อนเกิดวิกฤติโรคระบาด โดยรายได้ในปีนี้ได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในวัคซีนโรคโควิด-19 และยา Paxlovid
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 1.58% สู่ 34,005.04, ดัชนี S&P 500 ปิดทะยานขึ้น 1.43% สู่ 3,990.56 และดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.26% สู่ 11,143.74 โดยดัชนีทั้ง 3 ต่างก็ทะยานขึ้นในวันจันทร์ในอัตราที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.เป็นต้นมา และหุ้นทั้ง 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐต่างก็ปิดตลาดในแดนบวกทั้งหมดในวันจันทร์ ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ดิ่งลงมาแล้วราว 16% จากช่วงต้นปีนี้ และอาจจะปิดตลาดปีนี้ในแดนลบเป็นปีแรกนับตั้งแต่ปี 2018 โดยดัชนีอาจจะปิดตลาดสิ้นปีนี้ด้วยการดิ่งลงรายปีครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 ด้วย โดยดัชนี S&P 500 ได้รับแรงกดดันในปีนี้จากความกังวลที่ว่า เฟดอาจจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย
นักลงทุนคาดว่ารัฐบาลสหรัฐอาจจะรายงานในวันอังคารว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปของสหรัฐอาจปรับขึ้น 7.3% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี หลังจากพุ่งขึ้น 7.7% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายปี ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานของสหรัฐ ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน อาจปรับขึ้น 6.1% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี โดยชะลอตัวลงจาก +6.3% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายปี ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐเพิ่งร่วงลงในวันศุกร์ หลังจากสหรัฐรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่สูงเกินคาด ถึงแม้ดัชนี PPI มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนี PPI ปรับขึ้น 7.4% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2021 หลังจากดัชนี PPI ปรับขึ้น 8.1% ในเดือนต.ค. แต่ดัชนีอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +7.2% สำหรับเดือนพ.ย.
ถ้าหากสหรัฐรายงานดัชนี CPI ที่ต่ำเกินคาดในวันอังคารนี้ ตัวเลขดังกล่าวก็จะช่วยสนับสนุนความเชื่อที่ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวของเฟดในปีนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐแล้ว ทั้งนี้ นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดว่า มีโอกาส 91% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ 4.25-4.50% ในวันพุธนี้ และมีโอกาส 9% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ 4.50-4.75% ในวันพุธนี้ หลังจากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.75% ติดต่อกันมาแล้ว 4 ครั้ง และนักลงทุนยังคาดการณ์กันอีกด้วยว่า อัตราดอกเบี้ยของเฟดอาจจะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรที่ระดับ 4.984% ในเดือนพ.ค.ปี 2023
หุ้นริเวียน ออโตโมทีฟดิ่งลง 6.16% หลังจากริเวียนระงับการหารือกับบริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์ แวนส์เป็นการชั่วคราว ซึ่งเป็นการหารือเรื่องการเป็นหุ้นส่วนในการผลิตรถแวนไฟฟ้าในยุโรป ทั้งนี้ หุ้นฮอไรซัน เธราพิวทิกส์ ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพพุ่งขึ้น 15.49% หลังจากบริษัทแอมเจนเสนอซื้อฮอไรซัน--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--9 ก.พ.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทอะเมซอนดอทคอมที่พุ่งขึ้น 2.2%, หุ้นไมโครซอฟท์ที่ทะยานขึ้น 1.20% และหุ้นแอปเปิลที่พุ่งขึ้น 1.85% นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐยังได้รับแรงหนุนจากการทะยานขึ้นของหุ้นกลุ่มธนาคารด้วย ในขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ทะยานขึ้นสูงมาก ก่อนที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ออกมาในวันพฤหัสบดีนี้ โดยนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า ดัชนี CPI อาจพุ่งขึ้น 7.3% ในเดือนม.ค.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งจะถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1982 เป็นต้นมา หรือจุดสูงสุดในรอบเกือบ 40 ปี ทั้งนี้ หุ้นธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป, เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และเวลส์ ฟาร์โกต่างก็พุ่งขึ้นกว่า 1% ในวันอังคาร ในขณะที่ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารทะยานขึ้น 1.9% หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 1.97% ในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2019 โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 15-16 มี.ค.
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 1.06% สู่ 35,462.78, ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.84% สู่ 4,521.54 และดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.28% สู่ 14,194.46 อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P 500 ยังคงดิ่งลงมาแล้วราว 5% จากช่วงต้นปีนี้ ส่วนดัชนี Nasdaq รูดลงมาแล้วราว 9% จากช่วงต้นปีนี้ ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลง 2.1% ในขณะที่นักลงทุนกังวลว่าการเจรจาทางอ้อมระหว่างสหรัฐกับอิหร่านอาจจะส่งผลให้มีการฟื้นฟูข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ และอาจจะเปิดโอกาสให้อิหร่านสามารถส่งออกน้ำมันได้มากยิ่งขึ้น
ตลาดหุ้นได้รับแรงหนุนเพิ่มเติม หลังจากประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงของฝรั่งเศสได้ประชุมกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียในเรื่องวิกฤติยูเครน และปธน.มาครงแสดงความเห็นในทางบวกหลังการประชุม
บริษัทสหรัฐรายงานผลประกอบการที่ไร้ทิศทางชัดเจนในวันอังคาร โดยหุ้นไฟเซอร์ดิ่งลง 2.84% หลังจากไฟเซอร์คาดการณ์ยอดขายตลอดทั้งปีสำหรับวัคซีนโรคโควิด-19 และยาต้านไวรัสในระดับที่ต่ำเกินคาด อย่างไรก็ดี หุ้นแอมเจนซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพพุ่งขึ้น 7.82% หลังจากแอมเจนประกาศแผนซื้อคืนหุ้นขนาด 6 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าผลกำไรจะพุ่งขึ้นกว่า 2 เท่าภายในปี 2030
หุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊กดิ่งลง 2.1% ในวันอังคาร และรูดลงเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน หลังจากนายปีเตอร์ ธีล ตัดสินใจลาออกจากคณะกรรมการบริษัท ทางด้านหุ้นเพโลตอน อินเทอร์แอคทีฟ ซึ่งเป็นผู้ผลิตจักรยานออกกำลังกายพุ่งขึ้น 25% หลังจากเพโลตอนประกาศว่า เพโลตอนจะเปลี่ยนตัวซีอีโอ, จะปรับลดการจ้างงาน และจะพยายามกระตุ้นยอดขายที่ตกต่ำลง--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--20 ธ.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดดิ่งลงในวันศุกร์ โดยได้รับแรงกดดันจากการรูดลงของหุ้นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอไมครอน และนักลงทุนปรับตัวรับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการเร่งความเร็วในการปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากเฟดส่งสัญญาณในวันพุธว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% เป็นจำนวน 3 ครั้งในปี 2022 เพื่อสกัดกั้นการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ หุ้นเอ็นวิเดียดิ่งลง 2.1% ในวันศุกร์ ส่วนหุ้นแอลฟาเบทซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิลรูดลง 1.9% และส่งผลลบอย่างมากต่อดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ทางด้านดัชนีหุ้นเติบโตร่วงลง 0.7% และดัชนีหุ้นคุณค่าดิ่งลง 1.4% ในวันศุกร์ อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้หุ้นเติบโตอย่างเช่นเอ็นวิเดียและไมโครซอฟท์เคยพุ่งขึ้นมาแล้วอย่างแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นโดยรวมในปี 2021 โดยดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐทะยานขึ้นมาแล้วราว 35% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ปรับขึ้นราว 23% ในช่วงเวลาเดียวกัน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดดิ่งลง 1.48% สู่ 35,365.44, ดัชนี S&P 500 ปิดรูดลง 1.03% สู่ 4,620.64 และดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.07% สู่ 15,169.68 นอกจากนี้ ถ้าหากเทียบกับระดับปิดสัปดาห์ที่แล้ว ดัชนีดาวโจนส์ก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ดิ่งลง 1.7%, ดัชนี S&P 500 ปิดตลาดสัปดาห์นี้รูดลง 1.9% และดัชนี Nasdaq ปิดตลาดสัปดาห์นี้ดิ่งลง 2.9% ทั้งนี้ หุ้นทั้ง 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนลบในวันศุกร์ โดยดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินดิ่งลง 2.3% และถือเป็นกลุ่มที่รูดลงมากที่สุด ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลง 2.2% อย่างไรก็ดี ดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐพุ่งขึ้น 1% ในวันศุกร์ หลังจากดิ่งลงมาแล้วกว่า 10% จากสถิติสูงสุดที่เคยทำไว้ในช่วงต้นเดือนพ.ย.
บริษัทไฟเซอร์ระบุในวันศุกร์ว่า การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 อาจจะดำเนินต่อไปตลอดทั้งปีหน้า ในขณะที่ผลการศึกษาจากอังกฤษแสดงให้เห็นว่า โอกาสในการติดเชื้อซ้ำของสายพันธุ์โอไมครอนอยู่ในระดับที่สูงกว่า 5 เท่าของสายพันธุ์เดลตา และไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าสายพันธุ์โอไมครอนส่งผลให้มีอาการป่วยน้อยกว่า โดยมีการเปิดเผยผลการศึกษานี้ออกมาในขณะที่หลายประเทศในยุโรปกำลังพิจารณาเรื่องการออกมาตรการจำกัดการเดินทางและมาตรการควบคุมโรคเพิ่มเติม
เทรดเดอร์ระบุว่า สาเหตุที่ตลาดหุ้นแกว่งตัวผันผวนในวันศุกร์อาจเกิดจากการเทขายหุ้นเพื่อผลทางภาษีในช่วงสิ้นปี และเกิดจาก triple witching หรือการที่ออปชั่นหุ้น, สัญญาล่วงหน้าดัชนีหุ้น และออปชั่นดัชนีครบกำหนดอายุในวันเดียวกัน
หุ้นออราเคิลซึ่งเป็นผู้ผลิตซอฟท์แวร์สำหรับกิจการดิ่งลง 6.4% หลังจากหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลรายงานว่า ออราเคิลอยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อเข้าซื้อเซอร์เนอร์ ซึ่งเป็นบริษัทเวชระเบียนทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ในข้อตกลงที่อาจจะมีมูลค่าราว 3.0 หมื่นล้านดอลลาร์ ทางด้านหุ้นเซอร์เนอร์พุ่งขึ้น 12.9%--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน