ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
นิวยอร์ค--26 พ.ค.--รอยเตอร์
ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพฤหัสบดี หลังจากบริษัทเอ็นวิเดีย ซึ่งถือเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก คาดการณ์รายได้รายไตรมาสที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในย่านวอลล์สตรีทราว 50% และระบุว่าเอ็นวิเดียกำลังปรับเพิ่มการผลิตชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อตอบรับต่ออุปสงค์ที่พุ่งขึ้นสูงมาก โดยหุ้นเอ็นวิเดียทะยานขึ้น 24% ในวันพฤหัสบดีสู่สถิติระดับปิดสูงสุด และปัจจัยนี้ช่วยหนุนหุ้นบริษัทอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ AI ให้พุ่งขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ นักลงทุนก็ได้ซื้อขายหุ้นเอ็นวิเดียเป็นมูลค่าเกือบ 6.0 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนได้ราว 20% ของมูลค่าการซื้อขายหุ้นทั้งหมดในดัชนี S&P 500 ในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ ในบรรดาบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ AI นั้น หุ้นไมโครซอฟท์พุ่งขึ้น 3.9%, หุ้นแอลฟาเบททะยานขึ้น 2.1%, หุ้นแอดวานซ์ ไมโคร ดีไวเซส (AMD) พุ่งขึ้นราว 11%, หุ้นไมครอน เทคโนโลยีทะยานขึ้น 4.6% และหุ้นบรอดคอมพุ่งขึ้น 7.25% ทางด้านดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์พุ่งขึ้น 6.8% สู่ระดับปิดสูงสุดในรอบกว่า 1 ปี ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายวันครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.11% สู่ 32,764.65, ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.88% สู่ 4,151.28 โดยดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นมาแล้วราว 8% จากช่วงต้นปี 2023 ทางด้านดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.71% สู่ 12,698.09 ในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ได้รับแรงกดดันจากหุ้นอินเทล คอร์ปที่ดิ่งลง 5.5% ในขณะที่นักลงทุนมองว่าอินเทลตามหลังบริษัทอื่น ๆ ในการแข่งขันด้าน AI
นักลงทุนจับตาดูความคืบหน้าในการเจรจาต่อรองเรื่องการปรับขึ้นเพดานหนี้ของรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่มีข่าวว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐกับนายเควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐจากพรรครีพับลิกันใกล้ที่จะบรรลุข้อตกลงกันในการปรับลดงบรายจ่ายและในการปรับขึ้นเพดานหนี้จากระดับ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์ โดยแหล่งข่าวกล่าวว่า ตัวเลขงบรายจ่ายที่ไม่จำเป็นที่ทั้งสองฝ่ายต้องการในตอนนี้อยู่ในระดับที่แตกต่างจากกันเพียงแค่ราว 7.0 หมื่นล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ บริษัทฟิทช์ได้ประกาศให้เครดิตพินิจเชิงลบแก่อันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐที่ "AAA" ในวันพุธ และบริษัทดีบีอาร์เอส มอร์นิงสตาร์ได้ประกาศในวันพฤหัสบดีว่าจะพิจารณาทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐโดยอาจจะปรับลดอันดับลง ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 2 ปีพุ่งขึ้นแตะ 4.539% ในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องเพดานหนี้
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐปรับขึ้น 4,000 ราย สู่ 229,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 พ.ค. ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 245,000 รายเป็นอย่างมาก ส่วนกระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้เปิดเผยผลการประเมินครั้งที่ 2 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐประจำไตรมาสแรกในวันพฤหัสบดี โดยระบุว่าจีดีพีสหรัฐเติบโต 1.3% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) โดยปรับขึ้นจากตัวเลขประเมินครั้งแรกที่ 1.1% สำหรับไตรมาสแรก
หุ้นราล์ฟ ลอเรน ซึ่งเป็นบริษัทผู้ค้าปลีกสินค้าหรูหราพุ่งขึ้น 5.3% หลังจากทางบริษัทเปิดเผยผลกำไรที่สูงเกินคาด ทั้งนี้ หุ้นเบสท์ บาย ซึ่งเป็นผู้ค้าปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทะยานขึ้น 3.1% หลังจากเบสท์ บายเปิดเผยผลกำไรรายไตรมาสที่แข็งแกร่ง--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--28 พ.ย.--รอยเตอร์
ดัชนี Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันศุกร์ โดยได้รับแรงกดดันจากหุ้นบริษัทแอปเปิล อิงค์ที่ดิ่งลง 2.0% ในขณะที่นักลงทุนจับตาดูข่าวเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 ในจีน และนักลงทุนรอดูยอดค้าปลีกของสหรัฐในวัน Black Friday ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 25 พ.ย.ในปีนี้ โดยบริษัทค้าปลีกหลายแห่งของสหรัฐมักจะเริ่มการปรับลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ในวัน Black Friday ทั้งนี้ หุ้นแอปเปิลดิ่งลงในวันศุกร์ โดยได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่า โรงงานของบริษัทฟ็อกซ์คอนน์ในจีนจะปรับลดการจัดส่งโทรศัพท์ไอโฟน เนื่องจากการผลิตที่โรงงานดังกล่าวได้รับผลกระทบจากการประท้วงของคนงานท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 โดยคนงานหลายพันคนได้ลาออกจากโรงงานไปแล้ว
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 0.45% สู่ 34,347.03, ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.03% สู่ 4,026.12; และดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.52% สู่ 11,226.36 ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหุ้นสำคัญทั้ง 3 ดัชนีต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวก โดยเฉพาะดัชนีดาวโจนส์ที่ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 1.78% จากสัปดาห์ที่แล้ว ทางด้านดัชนี S&P 500 ทะยานขึ้นมาแล้วกว่า 15% จากจุดต่ำสุดของช่วงต้นเดือนต.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากฤดูการรายงานผลประกอบการที่สดใส และจากความคาดหวังที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลอความเร็วในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นักลงทุนรอดูยอดค้าปลีกในวัน Black Friday ในขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงและเศรษฐกิจสหรัฐชะลอการเติบโต อย่างไรก็ดี มีประชาชนจำนวนไม่มากนักออกมารอซื้อสินค้าในวันศุกร์ท่ามกลางสภาพอากาศที่ไม่ดี ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้ววัน Black Friday มักจะเป็นวันที่มีการจับจ่ายซื้อสินค้ามากที่สุดในแต่ละปี โดยหุ้นกลุ่มค้าปลีกของสหรัฐปรับตัวอย่างไร้ทิศทางในวันศุกร์ ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัททาร์เก็ต, เมซีส์ และเบสท์ บาย ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มค้าปลีกของสหรัฐถือเป็นมาตรวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อในช่วงนี้ โดยดัชนีหุ้นกลุ่มค้าปลีกของสหรัฐรูดลงมาแล้วกว่า 30% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ดิ่งลงราว 15% จากช่วงต้นปีนี้ ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยของสหรัฐขยับขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพ.ย. นักลงทุนจะรอดูยอดค้าปลีกของสหรัฐ, จะจับตาดูการระบาดของโรคโควิด-19 ในจีน และจะจับตาดูสัญญาณบ่งชี้ถึงแนวโน้มในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า มีโอกาส 71.1% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ 4.25-4.50% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 13-14 ธ.ค. และนักวิเคราะห์คาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจจะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในเดือนมิ.ย. 2023
หุ้นแอคทิวิชัน บลิซซาร์ด ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่วิดีโอเกมดิ่งลง 4.07% ในวันศุกร์ หลังจากมีข่าวว่า คณะกรรมการการค้าของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FTC) มีแนวโน้มที่จะยื่นดำเนินคดีต่อต้านการผูกขาด เพื่อขัดขวางบริษัทไมโครซอฟท์จากการเข้าเทคโอเวอร์แอคทิวิชันในข้อตกลงขนาด 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--23 พ.ย.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นในวันอังคาร ในขณะที่หุ้นบริษัทเบสท์ บายซึ่งทำธุรกิจค้าปลีกพุ่งขึ้น 12.78% และถือเป็นหุ้นที่ทะยานขึ้นมากที่สุดในดัชนี S&P 500 หลังจากเบสท์ บายคาดการณ์ว่า ยอดขายตลอดทั้งปีอาจปรับลดลงในระดับที่ไม่มากเท่ากับที่เคยประกาศไว้ และเบสท์ บายแสดงความมั่นใจว่า การปรับเพิ่มมาตรการลดราคาสินค้าและโปรโมชั่นต่าง ๆ จะช่วยดึงดูดลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยการคาดการณ์ยอดขายของบริษัทเบสท์ บายช่วยลดความกังวลของนักลงทุนในเรื่องที่ว่า อัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงจะสร้างความเสียหายต่อฤดูการช้อปปิ้งช่วงปลายปีของสหรัฐ และการพุ่งขึ้นของหุ้นเบสท์ บายก็มีส่วนช่วยหนุนให้ดัชนีหุ้นกลุ่มค้าปลีกของสหรัฐทะยานขึ้น 1.21% ในวันอังคารด้วย ทั้งนี้ ตลาดหุ้นได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานด้วยเช่นกัน โดยดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานพุ่งขึ้น 3.18% ในวันอังคาร หลังจากร่วงลงมานาน 2 วันติดต่อกัน ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบดีดขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า ซาอุดิอาระเบียประกาศว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) จะยังคงดำเนินมาตรการปรับลดการผลิตน้ำมันต่อไป
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 1.18% สู่ 34,098.1, ดัชนี S&P 500 ปิดทะยานขึ้น 1.36% สู่ 4,003.58 ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. และดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.36% สู่ 11,174.41 ทั้งนี้ การร่วงลงของดอลลาร์สหรัฐและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมีส่วนช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนต้องการซื้อสินทรัพย์เสี่ยงในวันอังคารด้วย โดยดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 107.09 ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยร่วงลงจาก 107.77 ในช่วงท้ายวันจันทร์ ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงสู่ 3.758% ในช่วงท้ายวันอังคาร จาก 3.827% ในช่วงท้ายวันจันทร์
หุ้นดอลลาร์ ทรีซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกสินค้าราคาถูกดิ่งลง 7.79% และถือเป็นหุ้นที่รูดลงมากที่สุดในดัชนี S&P 500 หลังจากดอลลาร์ ทรีปรับลดคาดการณ์ผลกำไรตลอดทั้งปีลงเป็นครั้งที่สอง ทั้งนี้ นายฌอน ครูซ จากบริษัททีดี อเมริเทรดกล่าวว่า "ผู้บริโภคที่มีรายได้สูงไม่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง ส่วนผู้บริโภคที่มีรายได้ต่ำจะได้รับผลกระทบมากกว่า และด้วยเหตุนี้บริษัทที่ขายสินค้าราคาถูกอย่างเช่นดอลลาร์ ทรีจึงไม่มีความสามารถมากนักที่จะผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไปให้แก่ผู้บริโภค ดังนั้นบริษัทกลุ่มนี้จึงได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก"
นักลงทุนพยายามคาดการณ์แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงนี้ โดยนางลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์กล่าวย้ำในวันอังคารว่า การทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงยังคงถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเฟด หลังจากนางเมสเตอร์เพิ่งกล่าวในวันจันทร์ว่า เธอสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขนาดที่เล็กลงในเดือนธ.ค. ทางด้านนางเอสเธอร์ จอร์จ ประธานเฟดสาขาแคนซัส ซิตี้กล่าวว่า เฟดอาจจะมีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับที่สูงขึ้น และคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวเป็นเวลานานยิ่งขึ้น เพื่อจะได้ปรับลดอุปสงค์ของผู้บริโภค และทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูรายงานการประชุมเฟดประจำวันที่ 1-2 พ.ย. ซึ่งจะได้รับการเปิดเผยออกมาในวันพุธนี้ โดยนักลงทุนจะพิจารณารายงานการประชุมดังกล่าวเพื่อมองหาแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย
หุ้นวอลกรีนส์ บูทส์ อัลไลอันซ์ ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายยา และเป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ พุ่งขึ้น 2.96% หลังจากบริษัทโคเวน แอนด์ โคปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นตัวนี้ ทั้งนี้ หุ้นแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดทะยานขึ้น 14.66% หลังจากสกาย นิวส์รายงานว่า ตระกูลเกลเซอร์ซึ่งเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลแห่งนี้ กำลังพิจารณาทางเลือกทางการเงินต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการขายสโมสร--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--17 พ.ย.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันพุธ ในขณะที่หุ้นทาร์เก็ตซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ดิ่งลง 13.1% หลังจากทาร์เก็ตคาดการณ์ว่ายอดขายจะร่วงลงในไตรมาสสี่ โดยการคาดการณ์ของทาร์เก็ตส่งผลให้นักลงทุนกังวลกับธุรกิจของภาคค้าปลีกในช่วงเทศกาลวันหยุดปลายปี นอกจากนี้ หุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ก็ดิ่งลงในวันพุธด้วย หลังจากบริษัทไมครอน เทคโนโลยีประกาศปรับลดอุปทาน ทั้งนี้ ข่าวของทาร์เก็ตส่งผลให้หุ้นกลุ่มค้าปลีกของสหรัฐดิ่งลงในวงกว้าง โดยหุ้นบริษัทเมซีส์ดิ่งลง 8.1%, หุ้นเบสท์ บายรูดลง 8.6% และหุ้นฟูต ล็อกเกอร์ดิ่งลง 7% ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยของสหรัฐรูดลง 1.5%
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับลง 0.12% สู่ 33,553.83, ดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลง 0.83% สู่ 3,958.79 และดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 1.54% สู่ 11,183.66 ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ร่วงลงเพียงในวงจำกัดในวันพุธ เนื่องจากดัชนีได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มปลอดภัย ซึ่งรวมถึงหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคที่พุ่งขึ้น 0.9% และหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นที่บวกขึ้น 0.5%
หุ้นไมครอน เทคโนโลยีดิ่งลง 6.7% หลังจากไมครอนประกาศว่าจะปรับลดอุปทานชิปหน่วยความจำ และจะปรับลดแผนการลงทุนด้านทุนลงไปอีก ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ของสหรัฐดิ่งลง 1.4% และดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐรูดลง 4.3%
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพุธว่า ยอดค้าปลีกสหรัฐพุ่งขึ้น 1.3% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากทรงตัวในเดือนก.ย. และเทียบกับโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า ยอดค้าปลีกอาจปรับขึ้นเพียง 1.0% ในเดือนต.ค. ส่วนยอดค้าปลีกแบบเทียบรายปีพุ่งขึ้น 8.3% ในเดือนต.ค. โดยยอดค้าปลีกได้รับแรงหนุนจากการที่ผู้บริโภคปรับเพิ่มการซื้อรถยนต์ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคสหรัฐอาจปรับขึ้นในช่วงต้นไตรมาสสี่ ทั้งนี้ หุ้นโลว์สซึ่งเป็นบริษัทร้านขายอุปกรณ์ตกแต่งบ้านพุ่งขึ้น 3% ในวันพุธ หลังจากโลว์สปรับขึ้นคาดการณ์ผลกำไรตลอดทั้งปี
นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในผู้ว่าการเฟดกล่าวว่า เฟดจะยังคงต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกนานในปีหน้า อย่างไรก็ดี เขาสามารถยอมรับได้มากยิ่งขึ้นต่อแนวคิดที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.50% ในเดือนธ.ค. หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาดูข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศในช่วงนี้ด้วย ในขณะที่โปแลนด์และองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศในวันพุธว่า เหตุระเบิดในโปแลนด์ในวันอังคาร ซึ่งส่งผลให้มีชาวโปแลนด์เสียชีวิต 2 คน อาจจะเกิดจากขีปนาวุธที่ออกนอกทิศทางที่ยิงโดยระบบป้องกันทางอากาศของยูเครน และไม่ได้เกิดจากการโจมตีอย่างจงใจจากรัสเซีย โดยข่าวดังกล่าวช่วยลดความกังวลของนักลงทุนในเรื่องที่ว่า สงครามยูเครนอาจจะลุกลามออกสู่ประเทศเพื่อนบ้าน--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--31 ส.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดดิ่งลงในวันอังคารเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่สหรัฐรายงานว่ายอดการเปิดรับสมัครงานพุ่งขึ้นในเดือนก.ค. และรายงานตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีเหตุผลเพิ่มเติมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวต่อไปเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจตำแหน่งงานว่างและการเข้า-ออกงาน (JOLTS) ประจำเดือนก.ค.ที่แสดงให้เห็นว่า ยอดการเปิดรับสมัครงานในสหรัฐพุ่งขึ้น 199,000 ตำแหน่ง สู่ 11.239 ล้านตำแหน่งในวันสุดท้ายของเดือนก.ค. และทางกระทรวงได้ปรับทบทวนตัวเลขยอดการเปิดรับสมัครงานของเดือนมิ.ย.ขึ้นสู่ 11.040 ล้านตำแหน่งด้วย จากเดิมที่เคยรายงานว่าอยู่ที่ 10.698 ล้านตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ทางด้านสำนักงาน Conference Board รายงานในวันอังคารว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ 103.2 ในเดือนส.ค. จาก 95.3 ในเดือนก.ค. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 97.7 สำหรับเดือนส.ค. โดยก่อนหน้านี้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเคยร่วงลงมาแล้ว 3 เดือนติดต่อกัน และการดีดขึ้นในเดือนส.ค.บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ดีสำหรับปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคสหรัฐ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 0.96% สู่ 31,790.87, ดัชนี S&P 500 ปิดดิ่งลง 1.10% สู่ 3,986.16 และดัชนี Nasdaq ปิดรูดลง 1.12% สู่ 11,883.14 ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ดิ่งลงมาแล้วกว่า 5% นับตั้งแต่นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดยืนยันในวันศุกร์ว่า เฟดตั้งใจที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปถึงแม้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง โดยดัชนี S&P 500 ได้ร่วงผ่านค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วันที่ 4,009.69 ลงมาในวันอังคารด้วย ส่วนดัชนี Nasdaq ได้ร่วงผ่านค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วันที่ 11,992.55 ลงมาในวันอังคารด้วยเช่นกัน
เทรดเดอร์ในตลาดสัญญาล่วงหน้า Fed funds คาดการณ์ว่า มีโอกาส 74.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ 3.00-3.25% ในการประชุมเดือนก.ย. โดยปรับขึ้นจากโอกาสราว 66.5% ที่เคยคาดไว้ก่อนการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในวันอังคาร โดยก่อนหน้านี้เฟดเคยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.75% มาแล้ว 2 ครั้ง ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนส.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์นี้ เพราะว่าถ้าหากอุปสงค์ในแรงงานสหรัฐชะลอตัวลง เฟดก็อาจจะมีความจำเป็นน้อยลงในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่
นายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์คกล่าวในวันอังคารว่า เฟดมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับราว 3.5% และเฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปี 2023 ในขณะที่เฟดพยายามควบคุมภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี นายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดสาขาแอตแลนตาระบุในเรียงความที่ได้รับการเผยแพร่ในวันอังคารว่า เฟดจะสามารถชะลอความเร็วในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.75% ในช่วงที่ผ่านมา ถ้าหากรายงานตัวเลขเศรษฐกิจใหม่แสดงให้เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง "อย่างเห็นได้ชัด" ทั้งนี้ นายโธมัส บาร์กิน ประธานเฟดสาขาริชมอนด์กล่าวว่า การที่เฟดให้สัญญาว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ไม่จำเป็นว่าจะต้องส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรง
หุ้นทั้ง 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนลบในวันอังคาร โดยดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลง 3.36% และถือเป็นกลุ่มที่รูดลงมากที่สุด ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบสหรัฐปิดดิ่งลง 5.5% ในวันอังคาร โดยราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลลบต่ออุปสงค์น้ำมัน ทางด้านหุ้นเติบโตและหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่มักได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยรูดลงในวันอังคารด้วยเช่นกัน โดยหุ้นไมโครซอฟท์ปรับลง 0.85% และหุ้นแอปเปิลรูดลง 1.53% ทั้งนี้ ดัชนีความผันผวน CBOE หรือดัชนี VIX ที่ใช้วัดระดับความกังวลในตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 27.69 ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับข่าวที่ว่า กองทัพไต้หวันยิงเตือนใส่โดรนของจีนที่มาบินเหนือเกาะแห่งหนึ่งที่อยู่ภายใต้การควบคุมของไต้หวัน--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--4 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นมาปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทแอปเปิลและหุ้นกลุ่มการแพทย์ ถึงแม้นักลงทุนกังวลกับการพุ่งขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตาท่ามกลางฤดูการรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ หุ้นแอปเปิลพุ่งขึ้น 1.26% ในวันอังคาร หลังจากดิ่งลงในสัปดาห์ที่แล้ว แต่หุ้นบริษัทขนาดใหญ่แห่งอื่น ๆ ในกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง โดยหุ้นเน็ตฟลิกซ์ร่วงลง 0.84% ส่วนหุ้นเฟซบุ๊กปรับลง 0.20% ในขณะที่หุ้นเทสลาทรงตัวในวันอังคาร และปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ดัชนี Nasdaq ปรับขึ้นได้ไม่มากนัก ทางด้านหุ้นทรานสเลท ไบโอ ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของสหรัฐพุ่งขึ้น 29.23% หลังจากบริษัทซาโนฟีของฝรั่งเศสตกลงที่จะเข้าซื้อทรานสเลท ไบโอในข้อตกลงขนาด 3.2 พันล้านดอลลาร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.8% สู่ 35,116.4, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.82% สู่ 4,423.15 และดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.55% สู่ 14,761.30 ทั้งนี้ หุ้น 10 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนบวก ซึ่งรวมถึงหุ้นกลุ่มพลังงานที่ดีดขึ้น หลังจากหุ้นกลุ่มพลังงานได้รับแรงกดดันในช่วงแรกจากการดิ่งลงของราคาน้ำมันดิบ
บริษัทสหรัฐบางแห่งรายงานผลประกอบการรายไตรมาสที่ดีเกินคาดในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทดิสคัฟเวอรีและบริษัทดูปองท์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัสดุอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี หุ้นดิสคัฟเวอรีดิ่งลง 4.19% ในวันอังคาร ส่วนหุ้นดูปองท์ร่วงลง 0.35% เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรท่ามกลางมูลค่าหุ้นที่ระดับสูง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจพุ่งขึ้นราว 90% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบรายปี โดยปรับขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมในช่วงต้นเดือนก.ค.ที่ 65.4%
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลกได้รับแรงกดดันในช่วงนี้จากความกังวลเรื่องการคุมเข้มทางกฎระเบียบในจีน โดยหุ้นกลุ่มเกมคอมพิวเตอร์ในสหรัฐและยุโรปดิ่งลง หลังจากหุ้นเทนเซนต์ ซึ่งเป็นบริษัทวิดีโอเกมและสื่อสังคมของจีนเผชิญกับแรงเทขายอย่างหนักหน่วง ในขณะที่นักลงทุนกังวลว่าทางการจีนอาจจะหันมาเพ่งเล็งบริษัทกลุ่มนี้ ทั้งนี้ หุ้นบริษัทเทค-ทู อินเทอร์แอคทีฟ ซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นผู้สร้างเกม "Grand Theft Auto" ดิ่งลง 7.71% ในตลาดสหรัฐ หลังจากทางบริษัทคาดการณ์ยอดขายที่น่าผิดหวัง
สหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานปรับขึ้น 1.5% ในเดือนมิ.ย. หลังจากพุ่งขึ้น 2.3% ในเดือนพ.ค. แต่ตัวเลขของเดือนมิ.ย.อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +1% ทั้งนี้ นักลงทุนจะรอดูตัวเลขภาคบริการของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธนี้ และรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ค.ที่จะออกมาในวันศุกร์--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน