ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
นายไมเคิล บาร์ รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ฝ่ายกำกับดูแลได้จัดทำแผนปรับเปลี่ยนขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มการดำรงเงินกองทุนของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ หลังจากเกิดการล้มละลายของธนาคารเมื่อไม่นานมานี้
เขากล่าวว่า เขาวางแผนที่จะดำเนินแผนริเริ่มด้านการกำกับดูแลหลายแผน ซึ่งจะกำหนดให้ธนาคารขนาดใหญ่ต้องมีสินทรัพย์ในการถือครองมากกว่า 1.00 แสนล้านดอลลาร์อยู่ในทุนสำรอง โดยระบุว่า การล้มละลายของธนาคารได้ตอกย้ำความจำเป็นที่ผู้ควบคุมกฎต้องหนุนการฟื้นตัวไวในระบบ
แต่เขาไม่ได้วางแผนที่จะปฏิรูปกรอบด้านทุนของธนาคารสหรัฐ แต่จะสร้างกรอบขึ้นในหลายๆทางด้วยกัน ซึ่งรวมถึงการดำเนินตามข้อตกลงเงินทุนธนาคารบาเซลที่ใช้กันทั่วโลก และการขยายการทดสอบสถานะของธนาคารโดยใช้การทดสอบภาวะวิกฤติประจำปี เขาไม่ได้ให้ลำดับเวลาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการเปลี่ยนแปลง แต่ก็คาดว่าจะเริ่มต้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
เขาระบุว่า วิกฤติที่เกิดขึ้นพิสูจน์ให้เห็นว่า ธนาคารขนาดเล็กสามารถมีบทบาทต่อระบบได้ ซึ่งหมายความว่า ธนาคารเหล่านี้ควรจะได้รับการกำกับดูแลที่เข้มงวดขึ้น และเขาจะหาทางบังคับใช้กฎด้านเงินทุนที่เข้มงวดขึ้นกับธนาคารที่มีสินทรัพย์มากกว่า 1.00 แสนล้านดอลลาร์ โดยจะขยายจำนวนบริษัทที่ต้องปฏิบัติตาม
แต่เขาย้ำว่า ข้อกำหนดใหม่ใดๆจะต้องผ่านการเขียนกฎอย่างเป็นทางการ และกระบวนการทำประชาพิจารณ์ก่อน และจะมีระยะเวลาการเปลี่ยนถ่ายที่ยาวนานเพื่อให้ธนาคารต่างๆสามารถเพิ่มทุนที่จำเป็นได้--จบ--
Eikon source text
วอชิงตัน--29 มิ.ย.--รอยเตอร์
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้เปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤติประจำปีนี้ในวันพุธ ซึ่งเป็นการทดสอบธนาคาร 23 แห่งในสหรัฐที่แต่ละแห่งมีสินทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 1.00 แสนล้านดอลลาร์ โดยผลการทดสอบพบว่า ธนาคารขนาดใหญ่เหล่านี้สามารถผ่านการทดสอบ ถึงแม้ว่าภาคธนาคารสหรัฐเพิ่งเผชิญกับภาวะปั่นป่วนวุ่นวายในช่วงต้นปี และเผชิญกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนในอนาคต ทั้งนี้ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ธนาคารกลุ่มนี้มีเงินกองทุนมากพอที่จะสามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง และสิ่งนี้เปิดโอกาสให้ธนาคารเหล่านี้สามารถจ่ายเงินปันผลและซื้อคืนหุ้นได้ในอนาคต โดยธนาคารเหล่านี้จะสามารถประกาศแผนซื้อคืนหุ้นและง่ายเงินปันผลได้หลังจากตลาดหุ้นปิดทำการในวันศุกร์ที่ 30 มิ.ย. ทางด้านธนาคารที่ผ่านการทดสอบในครั้งนี้รวมถึงเจพีมอร์แกน เชส, แบงก์ ออฟ อเมริกา, ซิตี้กรุ๊ป, เวลส์ ฟาร์โก, มอร์แกน สแตนเลย์ และโกลด์แมน แซคส์
สถานการณ์ที่เฟดใช้ในการทดสอบคือสถานการณ์ที่เศรษฐกิจสหรัฐหดตัวลงเกือบ 8.75% โดยมีสาเหตุบางส่วนมาจากมูลค่าสินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ที่รูดลง 40% และอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นสู่ 10% โดยการทดสอบนี้ประเมินว่า ธนาคารแต่ละแห่งจะยังคงมีสัดส่วนการดำรงเงินกองทุนอยู่สูงกว่าอัตราขั้นต่ำที่ 4.5% หรือไม่ และผลการทดสอบก็พบว่า สัดส่วนการดำรงเงินกองทุนโดยเฉลี่ยของธนาคารทั้ง 23 แห่งอยู่ที่ 10.1% หรือสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำกว่า 2 เท่า โดยสัดส่วนดังกล่าวปรับขึ้นจาก 9.7% ในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นปีที่เฟดทดสอบธนาคาร 34 แห่งโดยใช้สถานการณ์ที่ง่ายกว่านี้ และผลการทดสอบในปีนี้ยังระบุอีกด้วยว่า ธนาคาร 23 แห่งนี้จะมียอดสูญเสียรวมกัน 5.41 แสนล้านดอลลาร์ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว
ถึงแม้ผลการทดสอบอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง นักวิเคราะห์บางรายก็เตือนว่า ผลการทดสอบนี้ให้ภาพในทางบวกมากเกินไป หลังจากรัฐบาลสหรัฐเพิ่งถูกบีบให้เข้าแทรกแซงสถานการณ์เพื่อปกป้องผู้ฝากเงินในธนาคารเมื่อไม่กี่เดือนก่อน นอกจากนี้ เฟดก็สำรวจงบดุลของธนาคารเหล่านี้ตามที่ระบุไว้ในช่วงสิ้นปี 2022 ซึ่งนั่นหมายความว่าผลการทดสอบในครั้งนี้ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากวิกฤติภาคธนาคารในช่วงต้นปีนี้
ธนาคารที่ให้ผลการทดสอบดีมากในครั้งนี้รวมถึงชาร์ลส์ ชว็อบ คอร์ป และกิจการในสหรัฐของดอยช์ แบงก์ ส่วนธนาคารที่ให้ผลการทดสอบรั้งท้ายรวมถึงซิติเซนส์ ไฟแนนเชียล คอร์ป และยู.เอส. แบงคอร์ป ซึ่งเป็นธนาคารระดับภูมิภาค ทั้งนี้ นายไมเคิล บาร์ รองประธานเฟดฝ่ายการกำกับดูแลกล่าวว่า ผลการทดสอบในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าระบบธนาคารสหรัฐ "มีความแข็งแกร่งและยืดหยุ่น" แต่เขากล่าวย้ำว่าการทดสอบนี้เป็นเพียงมาตรวัดอันหนึ่งที่ใช้วัดความแข็งแกร่งของภาคธนาคาร หลังจากเกิดเหตุการณ์ธนาคารซิลิคอน แวลลีย์ (SVB) และธนาคารอีก 2 แห่งในสหรัฐถูกสั่งปิดกิจการในช่วงต้นปีนี้
ในกลุ่มของธนาคาร 8 แห่งในสหรัฐ "ที่ถือว่ามีความสำคัญต่อระบบโลก" นั้น สัดส่วนการดำรงเงินกองทุนโดยเฉลี่ยของธนาคารกลุ่มนี้อยู่ที่ 10.9% โดยปรับขึ้นเล็กน้อยจากปีที่แล้ว โดยธนาคารสเตท สตรีทมีสัดส่วนการดำรงเงินกองทุนอยู่ที่ 13.8% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารสำคัญ 8 แห่งนี้ ทั้งนี้ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า พอร์ตลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ของธนาคารเหล่านี้อยู่ในระดับที่ดีเกินคาด โดยพอร์ตลงทุนดังกล่าวจะมียอดหนี้สูญ 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ภายใต้สถานการณ์วิกฤติ หรือ 8.8% ของยอดสินเชื่อโดยเฉลี่ย โดยปรับลดลงจากสัดส่วน 9.8% ในปีที่แล้ว ทางด้านโกลด์แมน แซคส์ถือเป็นธนาคารที่มีสัดส่วนหนี้สูญในอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์มากที่สุด โดยมีสัดส่วนหนี้สูญจากอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ 16% ของยอดสินเชื่อโดยเฉลี่ยภายใต้การทดสอบ ในขณะที่มอร์แกน สแตนเลย์ครองอันดับ 2 ที่ 13.7% และซิติเซนส์ ไฟแนนเชียล กรุ๊ปครองอันดับ 3 ที่ 12.4%--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐได้อัดฉีดเงินฝาก 3.0 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่ธนาคารเฟิร์สต์ รีพับลิค แบงก์เมื่อวานนี้ เพื่อเข้าพยุงกิจการธนาคารแห่งนี้ที่เผชิญกับวิกฤติที่ขยายวงกว้างขึ้นหลังการล้มละลายของธนาคารขนาดกลาง 2 แห่งของสหรัฐในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ราคาหุ้นเฟิร์สต์ รีพับลิค แบงก์ดิ่งลง 70% ในรอบ 9 วันทำการที่ผ่านมา
ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดหลายแห่งของสหรัฐ อาทิ เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, ซิตี้กรุ๊ป อิงค์, แบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป, เวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โค, โกลด์แมน แซคส์ และมอร์แกน สแตนเลย์มีส่วนร่วมในการเข้ากอบกู้ครั้งนี้ และหุ้นเฟิร์สต์ รีพับลิค แบงก์ก็ปิดพุ่งขึ้น 10% รับข่าวดังกล่าว แต่ก็ร่วงลง 18% ในการซื้อขายหลังตลาดปิดทำการ หลังจากที่ธนาคารประกาศว่าจะระงับการจ่ายปันผล
ข้อตกลงช่วยเหลือครั้งนี้เกิดขึ้นจากการดำเนินการของนายหน้าผู้มีอำนาจ อาทิ เจเน็ท เยลเลน รมว.คลังสหรัฐ, นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และนายเจมี ไดมอน ซีอีโอเจพีมอร์แกน เชส ซึ่งได้หารือถึงมาตรการช่วยเหลือเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
เยนเลนระบุว่า ระบบธนาคารของสหรัฐยังคงแข็งแกร่งเนื่องจากการดำเนินการที่ "เด็ดขาดและแข็งขัน" หลังการล้มละลายของซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์--จบ--
Eikon source text
ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐสามารถผ่านบททดสอบประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นการแสดงถึงความเชื่อมั่นต่อภาคธนาคารท่ามกลางสัญญาณที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจถดถอยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ผลทดสอบภาวะวิกฤติ (stress test) ประจำปีของเฟดพบว่า ธนาคารมีเงินทุนมากพอที่จะผ่านพ้นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงได้ และทำให้พวกเขาสามารถซื้อคืนหุ้น และจ่ายปันผลได้
ธนาคาร 34 แห่งที่มีสินทรัพย์มากกว่า 1.00 แสนล้านดอลลาร์ภายใต้การกำกับดูแลของเฟด จะขาดทุนรวมกัน 6.12 แสนล้านดอลลาร์ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง แต่พวกเขาจะยังคงมีเงินทุนภายใต้เกณฑ์ที่กำหนดไว้อยู่เกือบ 2 เท่า
ธนาคารเหล่านี้ อาทิ เจพีมอร์แกน เชส, แบงก์ ออฟ อเมริกา, เวลส์ ฟาร์โก, ซิติกรุ๊ป, มอร์แกน สแตนเลย์ และโกลด์แมน แซคส์จึงสามารถใช้เงินทุนส่วนเกินเพื่อจ่ายปันผล และซื้อคืนหุ้นให้ผู้ถือหุ้นได้
แม้สถานการณ์จำลองในปี 2022 ถูกกำหนดขึ้นก่อนการบุกโจมตียูเครนของรัสเซีย และแนวโน้มเงินเฟ้อที่พุ่งสูงในขณะนี้ แต่ผลการทดสอบก็น่าจะทำให้นักลงทุนและผู้กำหนดนโยบายรู้สึกคลายกังวลว่า ธนาคารของสหรัฐมีการเตรียมตัวดีพร้อมรับสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เตือนว่าอาจจะเกิดภาวะถดถอยในปีนี้ หรือปีหน้า--จบ--
24 ม.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า การคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ช่วยหนุนหุ้นกลุ่มธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐในช่วงนี้ ในขณะที่การดิ่งลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในสหรัฐกระตุ้นให้นักลงทุนพยายามแสวงหาสินทรัพย์อื่น ๆ ที่จะได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) และได้รับแรงหนุนจากการคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด ทั้งนี้ กองทุน ETF ที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารระดับภูมิภาคในสหรัฐของ SPDR พุ่งขึ้นมาแล้ว 2% จากช่วงต้นปีนี้ ซึ่งสวนทางกับดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐที่ดิ่งลงมาแล้ว 6.6% จากช่วงต้นปีนี้ นอกจากนี้ หุ้นธนาคารบางแห่งของสหรัฐก็ทะยานขึ้นอย่างแข็งแกร่งด้วย โดยหุ้นซิติเซนส์ ไฟแนนเชียล กรุ๊ปพุ่งขึ้นมาแล้ว 8.4% จากช่วงต้นปีนี้ ส่วนหุ้นคีย์คอร์ปทะยานขึ้นมาแล้วเกือบ 9%
ธนาคารระดับภูมิภาคมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ดังนั้นหุ้นกลุ่มนี้จึงได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวในปีนี้เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ โดยเฟดกำลังจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 25-26 ม.ค. และนักลงทุนคาดว่าเฟดอาจจะเริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. ทั้งนี้ การคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะคุมเข้มนโยบายการเงินมีส่วนช่วยหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีให้พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 ปีที่ 1.902% ในวันที่ 19 ม.ค. โดยทะยานขึ้นมาแล้ว 0.567% จากระดับ 1.335% ที่ทำไว้ในวันที่ 12 ธ.ค.
นักลงทุนบางรายคาดว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐและการที่รัฐบาลสหรัฐปรับลดมาตรการกระตุ้นทางการคลัง จะเป็นสองปัจจัยที่ช่วยหนุนให้ยอดสินเชื่อขยายตัวด้วย และปัจจัยนี้อาจช่วยหนุนให้ธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐมีผลกำไรเติบโตขึ้น 70.1% ในปี 2021 ซึ่งจะส่งผลให้หุ้นกลุ่มธนาคารระดับภูมิภาคถือเป็นกลุ่มที่มีผลกำไรเติบโตสูงเป็นอันดับ 7 ในบรรดาหุ้นกลุ่มย่อย 126 กลุ่มในดัชนี S&P 500 ทั้งนี้ นายมุสตาฟา มูนาห์ ผู้ช่วยผู้จัดการพอร์ตลงทุนของบริษัทเจมส์ อินเวสท์เมนท์กล่าวว่า "ถ้าหากคุณต้องการจะลงทุนตามการคาดการณ์ที่ว่า เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะลาดชันมากยิ่งขึ้น วิธีการที่ดีที่สุดก็คือลงทุนในธนาคารระดับภูมิภาค" โดยเขาได้เพิ่มการลงทุนในบริษัทเอสวีบี ไฟแนนเชียล กรุ๊ปในช่วงที่ผ่านมา
ถึงแม้นักลงทุนคาดว่า ธนาคารระดับภูมิภาคส่วนใหญ่จะได้รับประโยชน์จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย สถานการณ์ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปถ้าหากเฟดคุมเข้มนโยบายการเงินอย่างรวดเร็วมากเกินไป โดยนายมูนาห์กล่าวว่า ถ้าหากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเกินไป ปัจจัยดังกล่าวก็จะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ และจะสร้างความเสียหายต่อผลกำไรในภาคธนาคารด้วย แต่เขาคาดว่ามีความเป็นไปได้ไม่มากนักที่จะเกิดสถานการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ เทรดเดอร์ในตลาดสัญญาล่วงหน้า Fed funds คาดว่า มีโอกาส 100% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนมี.ค. และเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวมกันทั้งหมด 4 ครั้งในปี 2022 ทางด้านนายแกรี เทนเนอร์ นักวิเคราะห์ของบริษัทดี.เอ. เดวิดสัน แอนด์ โคคาดว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวมกันทั้งหมด 4 ครั้งในปี 2022-2023 โดยเพิ่มขึ้นอีก 2 ครั้งจากที่เคยคาดการณ์ไว้เดิม
นักลงทุนรอดูผลประกอบการรายไตรมาสของบริษัทไซออน แบงคอร์ปที่จะออกมาในวันจันทร์, ผลประกอบการของเฟิร์สท์ แบงคอร์ปที่จะออกมาในวันอังคาร และผลประกอบการของยูไนเต็ด แบงก์แชร์ส อิงค์ กับเมอร์แชนท์ แบงคอร์ปที่จะออกมาในวันพุธ ทั้งนี้ นายเทนเนอร์กล่าวว่า "การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะส่งผลบวกต่อตัวเลขคาดการณ์และอัตราผลกำไรของธนาคารระดับภูมิภาค" มากกว่าที่จะส่งผลบวกต่อธนาคารแบบครบวงจร ซึ่งมีรายได้บางส่วนมาจากแผนวาณิชธนกิจ โดยดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารโดยรวมของสหรัฐปรับขึ้นมาแล้ว 0.4% จากช่วงต้นปีนี้--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--16 ต.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า นักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐจะจับตาดูผลประกอบการรายไตรมาสของธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพราะถ้าหากผลประกอบการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สินเชื่อเติบโตในอัตราที่รวดเร็วยิ่งขึ้น สิ่งนี้ก็อาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ภาวะคอขวดในห่วงโซ่อุปทานลดระดับลงแล้ว หลังจากภาวะคอขวดดังกล่าวเป็นอุปสรรคขัดขวางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ สำนักงานธุรกิจขนาดเล็กของสหรัฐระบุว่า ธนาคารขนาดเล็กครองสัดส่วน 63% ของสินเชื่อขนาด 5.20 แสนล้านดอลลาร์ในโครงการให้สินเชื่อเพื่อคุ้มครองธุรกิจ (Paycheck Protection Program) ของรัฐบาลกลางสหรัฐ ซึ่งเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับมือกับวิกฤติโรคระบาด โดยโครงการดังกล่าวเปิดโอกาสให้ธุรกิจขนาดเล็กกู้ยืมเงินได้ โดยที่สินเชื่อดังกล่าวอาจจะได้รับการยกหนี้ หรืออาจจะจ่ายดอกเบี้ย 1%
นายเดฟ เอลลิสัน ผู้จัดการพอร์ตลงทุนของกองทุนเฮนเนสซีกล่าวว่า ถ้าหากความต้องการกู้เงินใหม่ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม สิ่งนี้ก็อาจจะบ่งชี้ว่าธุรกิจขนาดเล็กกำลังปรับเพิ่มสต็อกสินค้าคงคลัง และกำลังขยายกิจการในช่วงนี้ และเขากล่าวเสริมว่า "ดูเหมือนว่าธุรกิจเกือบทุกประเภทได้รับประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ยกเว้นภาคธนาคารพาณิชย์ เพราะว่าสินเชื่อเติบโตขึ้นน้อยมาก" ในโครงการ Paycheck Protection Program และเขายังระบุอีกด้วยว่า "วิกฤติโรคระบาดสร้างความเสียหายต่อธุรกิจขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ และธุรกิจกลุ่มนี้คือลูกค้าของธนาคารระดับภูมิภาค" ทั้งนี้ บรรษัทประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC) ระบุว่า หากนับจากตัวเลขในวันที่ 30 มิ.ย. ธนาคารขนาดเล็กก็ครองสัดส่วน 15% ของสินเชื่อทั้งหมดในภาคธนาคารสหรัฐ แต่ครองสัดส่วน 31% ในสินเชื่อในโครงการ Paycheck Protection Program
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ดิ่งลง 12% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายปี แต่อัตราการดิ่งลงนี้ชะลอตัวลงจากอัตรา -16.3% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบรายปี อย่างไรก็ดี นายคริส โคทอฟสกี นักวิเคราะห์ของบริษัทออพเพนไฮเมอร์ระบุว่า การพุ่งขึ้นของสต็อกสินค้าคงคลังในภาคค้าปลีกและในบริษัทซัพพลายเออร์รถยนต์น่าจะช่วยหนุนการเติบโตของสินเชื่อต่อไปในช่วงหนึ่งปีข้างหน้า และเขากล่าวเสริมว่า "ความเคลื่อนไหวสำคัญครั้งถัดไปน่าจะเป็นการพุ่งขึ้น ไม่ใช่การดิ่งลง เพราะว่าสินเชื่อไม่น่าจะดิ่งลงได้มากไปกว่าในช่วงที่ผ่านมา"
นายสตีเวน โคเมอรี นักวิเคราะห์ของกองทุนกาเบลลีกล่าวว่า ถ้าหากสินเชื่อใหม่ในธนาคารระดับภูมิภาคพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง นั่นก็จะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ปัญหาในห่วงโซ่อุปทานลดระดับลงแล้ว และเขากล่าวเสริมว่า "ถ้าหากลูกค้าไม่สามารถนำสินค้ามาวางขายในตลาดเพราะปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทาน ลูกค้าก็จะไม่กู้เงินเพื่อปรับเพิ่มสต็อกสินค้าคงคลัง" และเขากล่าวเสริมว่า "ถ้าหากมีสัญญาณบ่งชี้ว่า ปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานยังไม่ได้รับการคลี่คลาย สิ่งนี้ก็จะส่งผลกระทบต่อตัวเลขคาดการณ์ผลกำไรจนถึงปี 2023"
ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐรายงานตัวเลขสินเชื่อรายไตรมาสที่ไร้ทิศทางชัดเจนในสัปดาห์ที่แล้ว โดยเจพี มอร์แกนรายงานว่า สินเชื่อเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน แต่ธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกากับเวลส์ ฟาร์โกรายงานว่าสินเชื่อปรับลดลง ทั้งนี้ ในบรรดาธนาคารระดับภูมิภาคที่จะเปิดเผยผลประกอบการในสัปดาห์นี้นั้น ธนาคารเฟิร์สท์ คอมมูนิตี แบงก์แชร์ส อิงค์, เฟิร์สท์ มิดเวสต์ แบงคอร์ป อิงค์ และไซออนส์ แบงคอร์ป จะรายงานผลประกอบการในวันนี้ ส่วนธนาคารฟิฟธ์ เธิร์ด แบงคอร์ป และยูไนเต็ด คอมมูนิตี แบงก์ส อิงค์จะรายงานผลประกอบการในวันอังคาร--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน