ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--13 ก.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์/เยนแข็งค่าขึ้นในวันอังคาร หลังจากเพิ่งดิ่งลง 0.83% ในวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายวันครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนก.ค. หรือครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 เดือน โดยดอลลาร์/เยนได้รับแรงกดดันในวันจันทร์จากถ้อยแถลงของนายคาสุโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ที่กระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า บีโอเจอาจจะยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ อย่างไรก็ดี นายฮิโรชิเงะ เซโกะ สมาชิกคนสำคัญในพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของญี่ปุ่น ส่งสัญญาณในวันอังคารว่า เขาสนับสนุนให้บีโอเจใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษต่อไป และถ้อยแถลงของเขาบ่งชี้ว่านายอุเอดะอาจจะเผชิญกับการต่อต้าน ถ้าหากนายอุเอดะจะยกเลิกนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษ ทั้งนี้ นายเซโกะกล่าวว่า "นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายจะสิ้นสุดลงในอนาคต แต่ผู้ว่าการอุเอดะได้กล่าวไว้แล้วว่า การยุตินโยบายดังกล่าวจะเกิดขึ้นหลังจากบีโอเจบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2%" และเขากล่าวเสริมว่า ถึงแม้การปรับขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบส่งผลให้ราคาปรับสูงขึ้น บีโอเจก็ยังไม่ได้บรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 2% ที่ได้รับแรงกระตุ้นจากอุปสงค์อย่างยั่งยืน Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.59 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 104.57 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.08 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 146.58 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0752 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยขยับขึ้นจาก 1.0748 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงในวันอังคาร ในขณะที่หุ้นบริษัทออราเคิล ซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์ดิ่งลง 13.5% และลงไปแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. หลังจากออราเคิลคาดการณ์รายได้ไตรมาสปัจจุบันที่ต่ำกว่าเป้าหมาย และออราเคิลรายงานว่ารายได้ไตรมาสแรกอยู่ที่ 1.245 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 1.247 หมื่นล้านดอลลาร์ ทางด้านหุ้นบริษัทอื่น ๆ ที่ทำธุรกิจคลาวด์ดิ่งลงด้วยเช่นกัน โดยหุ้นอะเมซอนรูดลง 1.3% และหุ้นไมโครซอฟท์ดิ่งลง 1.8% โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์รายได้ที่อ่อนแอของออราเคิล และได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่อยู่ในระดับสูงด้วย โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐประเภทอายุ 2 ปีปรับขึ้นสู่ 5.005% ในช่วงท้ายวันอังคาร จาก 4.995% ในช่วงท้ายวันจันทร์ ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ของสหรัฐดิ่งลง 1.75% ในวันอังคาร ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารของสหรัฐรูดลง 1.06% ในวันอังคาร ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.31% ในวันอังคาร ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบสหรัฐทะยานขึ้น 1.8% และการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันก็ส่งผลให้นักลงทุนกังวลกับภาวะเงินเฟ้อ และกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงจะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงเป็นเวลานานต่อไป โดยในตอนนี้นักลงทุนกำลังรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนส.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพุธ และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับลง 0.05% สู่ 34,645.99
ดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลง 0.57% สู่ 4,461.90
ดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 1.04% สู่ 13,773.62
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า อุปทานน้ำมันจะตึงตัวมากยิ่งขึ้น และได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ในทางบวกของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่มีต่ออุปสงค์พลังงานในประเทศสำคัญด้วย ทั้งนี้ กลุ่มโอเปกได้ออกรายงานรายเดือนในวันอังคาร โดยคาดว่าอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้น 2.44 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2023 และเพิ่มขึ้น 2.25 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2024 ซึ่งเท่ากับตัวเลขคาดการณ์ในเดือนที่แล้ว และแสดงให้เห็นว่าอุปสงค์น้ำมันจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ในขณะที่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของประเทศสำคัญอยู่ในภาวะที่ดีเกินคาด ถึงแม้เศรษฐกิจได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงและอัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูง ทางด้านสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ได้ออกรายงานรายเดือนในวันอังคารด้วยเช่นกัน โดย EIA คาดว่าปริมาณการผลิตน้ำมันในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 99.9 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2022 สู่ 101.2 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2023 และ 102.9 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2024 นอกจากนี้ EIA ยังคาดการณ์อีกด้วยว่า อุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกจะปรับขึ้นจาก 99.2 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2022 สู่ 101.0 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2023 และ 102.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2024 Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.พุ่งขึ้น 1.55 ดอลลาร์ หรือ 1.8% มาปิดตลาดที่ 88.84 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนทะยานขึ้น 1.42 ดอลลาร์ หรือ 1.6% มาปิดตลาดที่ 92.06 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022 หรือระดับปิดสูงสุดในรอบเกือบ 10 เดือน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับลง 8.40 ดอลลาร์ สู่ 1,913.26 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะ 1,906.50 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค. หรือจุดต่ำสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ ในขณะที่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และนักลงทุนรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธ ทั้งนี้ โพลล์รอยเตอร์คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐอาจปรับขึ้น 0.6% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.2% ในเดือนก.ค. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--12 ก.ย.--รอยเตอร์
เยนพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันจันทร์ หลังจากนายคาสุโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ได้ให้สัมภาษณ์ต่อหนังสือพิมพ์โยมิอุริฉบับวันเสาร์ว่า บีโอเจอาจจะยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ เมื่อมีแนวโน้มว่าบีโอเจจะสามารถบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% และเขากล่าวเสริมว่าบีโอเจอาจจะได้รับข้อมูลที่มากพอก่อนช่วงสิ้นปีนี้เพื่อใช้ในการประเมินว่า บีโอเจจะสามารถยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบได้หรือไม่ โดยถ้อยแถลงของเขาช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนตั้งความหวังว่า บีโอเจอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับที่เป็นบวกในอนาคต Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.57 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยร่วงลงจาก 105.05 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 104.41 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. โดยก่อนหน้านี้ดัชนีดอลลาร์เพิ่งปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกมานานติดต่อกัน 8 สัปดาห์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 146.58 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยดิ่งลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 147.81 เยน หลังจากรูดลงราว 1.3% สู่จุดต่ำสุดของวันที่ 145.89 เยน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. โดยการดิ่งลงของดอลลาร์/เยนในวันจันทร์ถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.เป็นต้นมา
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0748 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0699 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์
ดัชนี Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันจันทร์ ในขณะที่หุ้นบริษัทเทสลาซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทะยานขึ้น 10% หลังจากธนาคารมอร์แกน สแตนเลย์ปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นเทสลาสู่ "overweight" จาก "equal-weight" โดยให้เหตุผลว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ "โดโจ" ของเทสลาอาจจะช่วยหนุนมูลค่าในตลาดของเทสลาในระดับเกือบถึง 6.00 แสนล้านดลอลาร์ ทางด้านหุ้นบริษัทขนาดยักษ์แห่งอื่น ๆ พุ่งขึ้นเช่นกัน โดยหุ้นอะเมซอนทะยานขึ้น 3.5%, หุ้นไมโครซอฟท์พุ่งขึ้น 1.1% และหุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ทะยานขึ้น 3.25% หลังจากมีข่าวออกมาในวันอาทิตย์ว่า เมตา แพลตฟอร์มส์กำลังพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนส.ค.ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพุธที่ 13 ก.ย. และนักลงทุนรอดูตัวเลขยอดค้าปลีกและดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันที่ 14 ก.ย.ด้วย ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์คเปิดเผยผลสำรวจในวันจันทร์ระบุว่า ความเห็นของชาวสหรัฐที่มีต่อภาวะเงินเฟ้อแทบไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในเดือนส.ค. ในขณะที่ชาวสหรัฐคาดว่าต้นทุนค่าบ้านและอาหารจะปรับสูงขึ้น และคาดการณ์ฐานะการเงินของตนเองในทางลบมากยิ่งขึ้น Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 0.25% สู่ 34,663.72
ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.67% สู่ 4,487.46
ดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.14% สู่ 13,917.89
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับลงเล็กน้อยในวันจันทร์ ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปิดแทบไม่เปลี่ยนแปลงในวันจันทร์ และยังคงเคลื่อนตัวอยู่ใกล้จุดสูงสุดรอบ 10 เดือนที่ทำไว้ในระหว่างวัน หลังจากซาอุดิอาระเบียและรัสเซียประกาศในสัปดาห์ที่แล้วเรื่องการต่ออายุมาตรการปรับลดอุปทานน้ำมันรวมกันในระดับ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไปจนถึงสิ้นปีนี้ โดยมาตรการปรับลดอุปทานน้ำมันดังกล่าวช่วยบดบังความกังวลเรื่องกิจกรรมทางเศรษฐกิจในจีน ในขณะที่นายวอลลี อาเดเยโม รมช.คลังสหรัฐกล่าวในวันจันทร์ว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจในจีนมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบภายในท้องถิ่นมากกว่าที่จะส่งผลกระทบต่อสหรัฐ ทั้งนี้ อุปทานน้ำมันอาจจะประสบปัญหาขาดตอนได้ในช่วงนี้ โดยเป็นผลจากพายุและเหตุอุทกภัยในภาคตะวันออกของลิเบีย ซึ่งส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิตกว่า 2,000 คน และส่งผลให้มีการปิดท่าเรือส่งออกน้ำมันที่สำคัญ 4 แห่งในลิเบียนับตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งได้แก่ท่าเรือราส ลานุฟ, ซูเอตินา, เบรกา และเอส ไซดรา Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ปรับลง 22 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 87.29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนขยับลง 1 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 90.64 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 91.45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 3.85 ดอลลาร์ สู่ 1,921.66 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนส.ค.ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพุธที่ 13 ก.ย. เพื่อใช้ในการประเมินว่าเฟดจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ อย่างไรก็ดี ราคาทองปรับขึ้นได้ไม่มากนัก เนื่องจากราคาทองได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีที่ปรับขึ้นจาก 4.256% ในช่วงท้ายวันศุกร์ สู่ 4.288% ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลลบต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย ทั้งนี้ นายเอ็ดเวิร์ด โมยา นักวิเคราะห์ตลาดของบริษัท OANDA กล่าวว่า "ราคาทองได้รับแรงหนุนในช่วงต้นสัปดาห์นี้จากการอ่อนค่าของดอลลาร์ แต่ราคาทองมีแนวโน้มที่จะได้รับแรงกดดันในระยะใกล้ เพราะนักลงทุนคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้" และเขาคาดว่าจะยังไม่มีการส่งสัญญาณให้นักลงทุนกลับเข้าซื้อทองเป็นจำนวนมากอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทรงตัวในวันศุกร์ และปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 8 ติดต่อกัน ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2014 โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนในสัปดาห์นี้จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีเกินคาดในสหรัฐ โดยเฉพาะตัวเลขกิจกรรมภาคบริการที่เติบโตเร็วขึ้นในเดือนส.ค. และยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกที่ดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. โดยตัวเลขเหล่านี้ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนในฐานะสกุลเงินปลอดภัยด้วย ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐในเรื่องมาตรการของรัฐบาลจีนที่จำกัดการใช้โทรศัพท์ไอโฟนโดยลูกจ้างของรัฐ ทั้งนี้ นักลงทุนคาดว่า มีโอกาส 93% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 19-20 ก.ย. และมีโอกาส 7% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.50-5.75% ในการประชุมวันที่ 19-20 ก.ย. นอกจากนี้ นักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า มีโอกาสสูงกว่า 40% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย. Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทรงตัวอยู่ที่ 105.05 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 เดือนที่ 105.15 ในวันพฤหัสบดี โดยดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการแข็งค่าขึ้นราว 0.7% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.81 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 147.29 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 147.87 เยนในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022 หรือจุดสูงสุดรอบ 10 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์ทรงตัวอยู่ที่ 1.0699 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ หลังจากร่วงลงแตะ 1.0685 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. หรือจุดต่ำสุดรอบ 3 เดือน โดยยูโรปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการอ่อนค่าลงราว 0.7% จากสัปดาห์ที่แล้ว และปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 8 ติดต่อกัน
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ ในขณะที่หุ้นบริษัทแอปเปิลปิดบวกขึ้น 0.3% สู่ 178.18 ดอลลาร์ในวันศุกร์ หลังจากหุ้นแอปเปิลเพิ่งดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันพุธและวันพฤหัสบดี ซึ่งส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีรูดลงตามไปด้วย โดยหุ้นแอปเปิลได้รับแรงกดดันในช่วงก่อนหน้านี้จากข่าวที่ว่า รัฐบาลจีนสั่งห้ามลูกจ้างของรัฐบาลกลางในการใช้โทรศัพท์ไอโฟนในที่ทำงาน ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปิดบวกขึ้นในวันศุกร์ด้วยเช่นกัน แต่ดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันศุกร์คือดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานที่ทะยานขึ้น 0.97% โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน ในขณะที่ดัชนีหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคซึ่งถือเป็นหุ้นกลุ่มปลอดภัยพุ่งขึ้น 0.96% แต่ดัชนีหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ร่วงลง 0.63% และถือเป็นกลุ่มที่ปรับลงมากที่สุดในวันศุกร์ในบรรดาดัชนีหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ของสหรัฐ ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบ ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย และนักลงทุนรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนส.ค.ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันที่ 13 ก.ย. นอกจากนี้ ตลาดหุ้นก็ได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 2 ปีที่ปรับขึ้นสู่ 4.984% ในวันศุกร์ จาก 4.955% ในวันพฤหัสบดีด้วย ถึงแม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีขยับลงสู่ 4.256% ในวันศุกร์ จาก 4.262% ในวันพฤหัสบดี Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.22% สู่ 34,576.59 ในวันศุกร์ แต่ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการร่วงลง 0.8% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.14% สู่ 4,457.49 ในวันศุกร์ แต่ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 1.3% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับขึ้น 0.09% สู่ 13,761.53 ในวันศุกร์ แต่ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการรูดลง 1.9% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดีเซลในสหรัฐ และจากความกังวลที่ว่าอุปทานน้ำมันอาจจะตึงตัว หลังจากซาอุดิอาระเบียและรัสเซียต่ออายุมาตรการปรับลดอุปทานน้ำมันออกไปในสัปดาห์นี้ ทางด้านนักวิเคราะห์ของธนาคารคอมเมอร์ซแบงก์ระบุว่า ซาอุดิอาระเบียอาจจะเผชิญกับความยากลำบากในการยุติมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันในช่วงสิ้นปีนี้โดยไม่ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิ่งลง นอกจากนี้ เทรดเดอร์ยังตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่า โรงกลั่นน้ำมันในรัสเซียปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาลในเดือนก.ย. และปัจจัยนี้อาจจะส่งผลให้ยอดส่งออกน้ำมันดีเซลลดลง แต่อาจจะส่งผลให้ยอดส่งออกน้ำมันดิบรัสเซียเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ บริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์รายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐปรับขึ้น 1 แท่น สู่ 513 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 ก.ย. ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ปรับขึ้น 64 เซนต์ หรือ 0.7% มาปิดตลาดที่ 87.51 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 73 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 90.65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2022 หรือระดับปิดสูงสุดในรอบ 9 เดือน โดยทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็อยู่ในภาวะที่มีคำสั่งซื้อเข้ามามากเกินไปในทางเทคนิคเป็นวันที่ 6 ติดต่อกัน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 1.38 ดอลลาร์ สู่ 1,917.81 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจในสัปดาห์หน้า เพื่อใช้ประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยนักลงทุนรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนส.ค.ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันที่ 13 ก.ย. และรอดูการประชุมกำหนดนโยบายของเฟดในวันที่ 19-20 ก.ย. ทั้งนี้ นายจอร์จ มิลลิง-สแตนลีย์ หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนทองของบริษัทสเตท สตรีท โกลบัล แอดไวเซอร์สกล่าวว่า ถึงแม้นักลงทุนยังคงลงทุนเป็นเงินจำนวนมากในดอลลาร์และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ นักลงทุนก็เข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยด้วยเช่นกัน และปัจจัยนี้ช่วยหนุนราคาทอง และเขากล่าวเสริมว่า "ถ้าหากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือถ้าหากเศรษฐกิจเติบโตอย่างเชื่องช้าและอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป ภาวะดังกล่าวก็อาจจะช่วยหนุนราคาทองมากกว่าสินทรัพย์ปลอดภัยประเภทอื่น ๆ" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--8 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 เดือนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี ในขณะที่ดอลลาร์พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 10 เดือนเมื่อเทียบกับเยน, จุดสูงสุดรอบ 3 เดือนเมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์ และจุดสูงสุดรอบ 16 ปีเมื่อเทียบกับหยวนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังคงรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 5.25% นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 เป็นต้นมา ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐดิ่งลง 13,000 ราย สู่ 216,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 ก.ย. จาก 229,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ส.ค. โดยระดับ 216,000 รายนี้ถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ก.พ. และถือเป็นการปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน โดยตัวเลขนี้อยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 234,000 รายด้วย Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.05 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจาก 104.86 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 เดือนที่ 105.15 ในระหว่างวัน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.29 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 147.65 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 147.87 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022 หรือจุดสูงสุดรอบ 10 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0699 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยปรับลงจาก 1.0727 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากร่วงลงแตะ 1.0685 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. หรือจุดต่ำสุดรอบ 3 เดือน
ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นบริษัทแอปเปิลและหุ้นกลุ่มชิป เนื่องจากนักลงทุนกังวลกับมาตรการของรัฐบาลจีนที่จำกัดการใช้โทรศัพท์ไอโฟนโดยลูกจ้างของรัฐ โดยรัฐบาลจีนสั่งให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบางแห่งของรัฐบาลกลางจีนยุติการใช้ไอโฟนในที่ทำงาน และปัจจัยนี้ก็ส่งผลให้หุ้นบริษัทแอปเปิลดิ่งลง 2.9% ในวันพฤหัสบดี, ส่งผลให้หุ้นกลุ่มซัพพลายเออร์ของแอปเปิลรูดลงอย่างรุนแรง ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทสกายเวิร์คส์ โซลูชัน, ควอลคอมม์ และคอร์โวที่ต่างก็ดิ่งลงกว่า 7%, ส่งผลให้ดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ดิ่งลง 1.98% และส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐรูดลง 1.6% ในวันพฤหัสบดี นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐยังได้รับแรงกดดันจากตัวเลขยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐที่ดิ่งลงอย่างรุนแรงในสัปดาห์ล่าสุดด้วย เพราะตัวเลขดังกล่าวกระตุ้นให้นักลงทุนกังวลกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยและแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐ ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวกขึ้นในวันพฤหัสบดี เนื่องจากหุ้นแอปเปิลไม่ได้ครองน้ำหนักมากนักในดัชนีนี้ นอกจากนี้ ดัชนีดาวโจนส์ยังได้รับแรงหนุนจากหุ้นแมคโดนัลด์ที่พุ่งขึ้น 1.05% ด้วย หลังจากธนาคารเวลส์ ฟาร์โกปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นแมคโดนัลด์สู่ "เพิ่มน้ำหนักการลงทุน" Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.17% สู่ 34,500.73
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.32% สู่ 4,451.14
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.89% สู่ 13,748.83
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ร่วงลงในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงกดดันจากสัญญาณบางประการที่บ่งชี้ว่าอุปสงค์น้ำมันอาจจะอ่อนแอลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า โดยสัญญาณดังกล่าวรวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอในยูโรโซน หลังจากสำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) รายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนเติบโตขึ้นเพียง 0.1% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบรายไตรมาส โดยปรับลดลงจากระดับ +0.3% ในประมาณการขั้นต้น และราคาน้ำมันก็ได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอในจีนด้วย หลังจากจีนรายงานว่า ยอดส่งออกดิ่งลง 8.8% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี และยอดนำเข้าหดตัวลง 7.3% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ด้วยเช่นกัน เพราะการแข็งค่าของดอลลาร์ส่งผลให้น้ำมันมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพฤหัสบดีว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 6.3 ล้านบาร์เรล สู่ 416.6 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ก.ย. และสต็อกน้ำมันดิบรูดลงมาแล้ว 6.5% นับตั้งแต่ต้นเดือนส.ค. ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.7 ล้านบาร์เรล สู่ 214.7 ล้านบาร์เรล ทางด้านสต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil เพิ่มขึ้น 700,000 บาร์เรล สู่ 118.6 ล้านบาร์เรล ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันในสหรัฐลดลง 0.2% สู่ 93.1% Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 67 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 86.67 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 86.39-87.74 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยราคาน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่งปิดตลาดในแดนบวกมานานติดต่อกัน 9 วันก่อนวันพฤหัสบดี
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 68 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 89.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 89.46-90.89 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์เพิ่งปิดตลาดในแดนบวกมานานติดต่อกัน 7 วันก่อนวันพฤหัสบดี
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 2.91 ดอลลาร์ สู่ 1,919.19 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ร่วงลงจาก 4.290% ในช่วงท้ายวันพุธ สู่ 4.262% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 4.308% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี โดยการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลบวกต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ราคาทองลดช่วงบวกลงจากจุดสูงสุดของวันที่ 1,923.49 ดอลลาร์ หลังจากสหรัฐรายงานว่ายอดผู้ขอรับสวัสดิการครั้งแรกดิ่งลงในสัปดาห์ล่าสุด Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--6 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 6 เดือนในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน และความกังวลดังกล่าวกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ทั้งนี้ ดอลลาร์ได้รับแรงหนุน หลังจากผลสำรวจภาคเอกชนระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนที่จัดทำโดยไคซิน/เอสแอนด์พี ลดลงสู่ระดับ 51.8 ในเดือนส.ค. จาก 54.1 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดตั้งแต่เดือนธ.ค. 2022 และสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมภาคบริการของจีนขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวที่สุดในรอบ 8 เดือนในเดือนส.ค. ขณะที่ภาวะอุปสงค์ซบเซายังคงถ่วงเศรษฐกิจ และมาตรการกระตุ้นไม่สามารถฟื้นฟูการอุปโภคบริโภคอย่างมีความหมายได้ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.75 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 104.15 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 6 เดือนที่ 104.90 ในระหว่างวัน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.71 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยพุ่งขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 146.46 เยน หลังจากทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 10 เดือนที่ 147.80 เยนในระหว่างวัน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0720 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยร่วงลงจาก 1.0794 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 3 เดือนที่ 1.0705 ดอลลาร์ในระหว่างวัน
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงในวันอังคาร ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นจาก 4.173% ในช่วงท้ายวันศุกร์ สู่ 4.268% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในช่วงนี้บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้ โดยการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลให้หุ้นมีความน่าดึงดูดน้อยลง ทางด้านนายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในวันอังคารว่า ตัวเลขเศรษฐกิจรอบล่าสุดเปิดโอกาสให้เฟดพิจารณาว่า เฟดจำเป็นจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหรือไม่ และเขาตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้เขายังมองไม่เห็นปัจจัยใดที่จะบังคับให้เฟดต้องปรับขึ้นต้นทุนการกู้ยืมระยะสั้นอีกครั้ง ทั้งนี้ ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นในวันอังคาร และปัจจัยนี้ช่วยหนุนให้ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานของสหรัฐปิดบวกขึ้น 0.5% หลังจากดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 7 เดือนในระหว่างวัน อย่างไรก็ดี การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันทำให้นักลงทุนกังวลว่าปัจจัยดังกล่าวอาจจะขัดขวางความพยายามของเฟดในการทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงสู่ 2% ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มวัสดุดิ่งลง 1.8% ในวันอังคาร, ดัชนีหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมรูดลง 1.7% และดัชนีหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย ดิ่งลง 1.5% ในวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.56% สู่ 34,641.97
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.42% สู่ 4,496.83
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.08% สู่ 14,020.95
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันอังคาร หลังจากซาอุดิอาระเบียประกาศต่ออายุมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจในอัตรา 1 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไปอีก 3 เดือนจนถึงสิ้นเดือนธ.ค. 2023 ส่วนนายอเล็กซานเดอร์ โนแวค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียระบุในแถลงการณ์ในวันอังคารว่า รัสเซียได้ต่ออายุมาตรการปรับลดปริมาณการส่งออกน้ำมันโดยสมัครใจในอัตรา 300,000 บาร์เรลต่อวันออกไปจนถึงสิ้นปีนี้ โดยทั้งซาอุดิอาระเบียและรัสเซียระบุอีกด้วยว่า ทั้งสองประเทศจะพิจารณาทบทวนมาตรการดังกล่าวในทุก ๆ เดือน เพื่อพิจารณาว่าจะปรับลดอุปทานน้ำมันลงอย่างรุนแรงกว่านี้หรือไม่ หรือว่าจะปรับเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันหรือไม่ โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในตลาด ทั้งนี้ มาตรการของสองประเทศนี้ทำให้นักลงทุนกังวลว่า อาจจะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันในฤดูหนาว โดยนายโจวานนี สเตาโนโว นักวิเคราะห์ของธนาคารยูบีเอสคาดว่า อาจจะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันกว่า 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันในไตรมาส 4/2023 Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.พุ่งขึ้น 1.14 ดอลลาร์ หรือ 1.3% มาปิดตลาดที่ 86.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดรอบ 10 เดือน
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนทะยานขึ้น 1.04 ดอลลาร์ หรือ 1.2% มาปิดตลาดที่ 90.04 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. 2022 โดยทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็พุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 20% นับตั้งแต่สิ้นเดือนมิ.ย.
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 12.38 ดอลลาร์ สู่ 1,925.81 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 1 สัปดาห์ที่ 1,924.84 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) และจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจโลก Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
5 ก.ย.--รอยเตอร์
บริษัทเอ็นวิเดีย คอร์ปซึ่งทำธุรกิจด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดพุ่งขึ้น 5.6% หรือ 6.486 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ 1.2191 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากการที่เอ็นวิเดียคาดการณ์รายได้รายไตรมาสที่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์กันไว้เป็นอย่างมาก ในขณะที่กระแสความนิยมใน AI กระตุ้นอุปสงค์ในชิปของเอ็นวิเดีย นอกจากนี้ การที่เอ็นวิเดียประกาศแผนซื้อคืนหุ้น 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ก็มีส่วนช่วยหนุนราคาหุ้นของเอ็นวิเดียด้วย ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของหุ้นเอ็นวิเดียในเดือนส.ค.สวนทางกับการร่วงลงของหุ้นบริษัทเทคโนโลยีขนาดยักษ์ในวงกว้าง ในขณะที่หุ้นกลุ่มนี้ได้รับแรงกดดันจากการทะยานขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทแอปเปิลของสหรัฐดิ่งลง 1.3414 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 4.4% สู่ 2.9372 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค. ส่วนมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทไมโครซอฟท์ของสหรัฐร่วงลง 6.063 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 2.4% สู่ 2.4352 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค. ทางด้านมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ของสหรัฐดิ่งลง 5.844 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 7.1% สู่ 7.614 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค. ทั้งนี้ แอปเปิลระบุในเดือนส.ค.ว่า ยอดขายของแอปเปิลจะยังคงดิ่งลงต่อไปในไตรมาส 4 ของปีงบดุลบัญชี เนื่องจากอุปสงค์ในโทรศัพท์ไอโฟนชะลอตัวลง
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทเบิร์คเชียร์ แฮทธาเวย์พุ่งขึ้น 1.729 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือกว่า 2% สู่ 7.857 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค. ในขณะที่ราคาหุ้นเบิร์คเชียร์พุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ในระหว่างเดือนส.ค. หลังจากเบิร์คเชียร์รายงานว่า ผลกำไรจากการดำเนินงานรายไตรมาสสามารถทะยานขึ้นเหนือระดับ 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์ได้เป็นครั้งแรก ทั้งนี้ เบิร์คเชียร์รายงานว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นช่วยหนุนผลกำไรจากการลงทุนในตราสารหนี้ในไตรมาส 2 และยอดการเคลมประกันอุบัติเหตุที่ระดับต่ำก็ช่วยหนุนผลการดำเนินงานของบริษัทไกโค ซึ่งเป็นบริษัทประกันรถยนต์ในเครือเบิร์คเชียร์ด้วย
บริษัทเทนเซนต์ โฮลดิงส์ของจีนมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดดิ่งลง 3.827 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 9% สู่ 3.961 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค. ในขณะที่ธุรกิจเกมซึ่งถือเป็นธุรกิจพื้นฐานของเทนเซนต์เติบโตต่ำเกินคาดในไตรมาสเดือนเม.ย.-มิ.ย. ทั้งนี้ ในบรรดาบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงที่สุด 20 อันดับแรกของโลกนั้น บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันของสหรัฐถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่าดิ่งลงเป็นเปอร์เซ็นต์มากที่สุดในเดือนส.ค. โดยมูลค่าของจอห์นสันรูดลง 4.608 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 10% สู่ 3.893 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค. หลังจากผู้พิพากษาของศาลสหรัฐปฏิเสธความพยายามครั้งที่ 2 ของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันในการรอมชอมคดีฟ้องร้องหลายพันคดีที่เกี่ยวข้องกับแร่หินสบู่ (ทัลก์)
แอปเปิลครองตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงที่สุดในโลกในเดือนส.ค. ส่วนอันดับ 2 เป็นของไมโครซอฟท์, อันดับ 3 เป็นของบริษัทซาอุดิ อาราเบียน ออยล์ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 1.6145 แสนล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 2.2515 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค., อันดับ 4 เป็นของแอลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4.808 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 1.7238 ล้านล้านดอลลาร์, อันดับ 5 เป็นของอะเมซอนดอทคอม ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4.468 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ 1.4240 ล้านล้านดอลลาร์, อันดับ 6 เป็นของเอ็นวิเดีย, อันดับ 7 เป็นของเทสลา ซึ่งมีมูลค่าลดลง 2.968 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ 8.191 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 8 เป็นของเบิร์คเชียร์ แฮทธาเวย์, อันดับ 9 เป็นของเมตา แพลตฟอร์มส์ และอันดับ 10 เป็นของอีไล ลิลลี แอนด์ โค ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาที่มีมูลค่าพุ่งขึ้น 9.461 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ 5.261 แสนล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ อันดับ 11 เป็นของวีซ่า, อันดับ 12 เป็นของไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟคเจอริง, อันดับ 13 เป็นของเอ็กซอน โมบิล, อันดับ 14 เป็นของยูไนเต็ดเฮลธ์ กรุ๊ป, อันดับ 15 เป็นของวอลมาร์ท, อันดับ 16 เป็นของแอลวีเอ็มเอช โมเอท์ เฮนเนสซี หลุยส์ วิตตอง, อันดับ 17 เป็นของเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, อันดับ 18 เป็นของ SPDR S&P 500 ETF Trust, อันดับ 19 เป็นของเทนเซนต์ และอันดับ 20 เป็นของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทรงตัวในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบ 15 เดือน โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับภาวะเศรษฐกิจจีน และนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไป Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.45 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยขยับขึ้นจาก 103.40 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 เดือนที่ 103.68 ในระหว่างวัน และดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการแข็งค่าขึ้นราว 0.5% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 145.37 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 145.83 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 9 เดือนที่ 146.56 เยนในวันพฤหัสบดี
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0873 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0871 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.0856 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี
ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดขยับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยดัชนี S&P 500 ได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มเติบโต แต่ได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มปลอดภัยและหุ้นกลุ่มพลังงาน ในขณะที่นักลงทุนรอฟังถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมที่แจ็คสัน โฮลในวันศุกร์ที่ 25 ส.ค. และรอดูผลประกอบการของบริษัทเอ็นวิเดีย ซึ่งเป็นบริษัทผู้ออกแบบชิปที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธที่ 23 ส.ค. ทางด้านดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดตลาดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นวอลมาร์ทซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกขนาดยักษ์ที่พุ่งขึ้น 1.44% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.07% สู่ 34,500.66
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.01% สู่ 4,369.71 ในวันศุกร์ และดิ่งลงมาแล้ว 4.6% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.2% สู่ 13,290.78 และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 2.6% จากสัปดาห์ที่แล้ว โดยดัชนี Nasdaq รูดลงมาแล้ว 7.2% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนธ.ค. 2022
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากสัญญาณบ่งชี้ว่า การผลิตน้ำมันในสหรัฐชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี ทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่มีต่อแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกท่ามกลางวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุน หลังจากบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์สรายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซที่ใช้งานในสหรัฐดิ่งลง 12 แท่น สู 642 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2022 และถือเป็นการปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน โดยการดิ่งลงของปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐอาจจะส่งผลให้อุปทานน้ำมันตึงตัวมากยิ่งขึ้นในช่วงต่อไปในปีนี้ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ย.พุ่งขึ้น 86 เซนต์ หรือ 1.1% มาปิดตลาดที่ 81.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 68 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 84.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่เบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงราว 2% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 0.70 ดอลลาร์ สู่ 1,888.19 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 1.31% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งกระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ต่อไปจนถึงปี 2024 และนักลงทุนรอดูสัญญาณบ่งชี้ถึงทิศทางนโยบายการเงินจากการประชุมธนาคารกลางที่แจ็คสัน โฮลในวันที่ 24-26 ส.ค. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน