ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--31 ส.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์เมื่อเทียบกับยูโรและตะกร้าสกุลเงินในวันพุธ หลังจากบริษัท ADP รายงานในวันพุธว่า การจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐปรับขึ้นน้อยเกินคาดในเดือนส.ค. โดยการจ้างงานภาคเอกชนปรับขึ้นเพียง 177,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 195,000 ตำแหน่ง หลังจากการจ้างงานภาคเอกชนพุ่งขึ้น 371,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. โดยรายงานตัวเลขนี้ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยุติวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของยุโรปและตัวเลขดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนส.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 1 ก.ย. โดยนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรอาจเพิ่มขึ้น 170,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 187,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.12 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 103.55 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 102.92 ในระหว่างวัน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 146.24 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 145.87 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 147.375 เยนในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย. 2022 หรือจุดสูงสุดในรอบเกือบ 10 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0924 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยปรับขึ้นจาก 1.0877 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากแข็งค่าขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 1.0945 ดอลลาร์ในระหว่างวัน
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันพุธ ในขณะที่รายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอในสหรัฐช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 19-20 ก.ย. ทั้งนี้ บริษัท ADP รายงานในวันพุธว่า การจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐปรับขึ้นน้อยเกินคาดในเดือนส.ค. โดยการจ้างงานภาคเอกชนปรับขึ้นเพียง 177,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 195,000 ตำแหน่ง ทางด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้เปิดเผยผลการประเมินครั้งที่ 2 สำหรับตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 2 ออกมาในวันพุธ โดยระบุว่าจีดีพีเติบโตเพียง 2.1% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) โดยปรับลดลงจากการประเมินครั้งแรกที่ +2.4% และอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +2.4% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น 0.11% สู่ 34,890.24
ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.38% สู่ 4,514.87
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 0.54% สู่ 14,019.31 ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันพุธ ในขณะที่สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 10.6 ล้านบาร์เรล สู่ 422.9 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 ส.ค. โดยระดับ 422.9 ล้านบาร์เรลนี้ถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค. 2022 ในขณะที่โพลล์รอยเตอร์คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังอาจปรับลดลงเพียง 3.3 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้ EIA ยังรายงานอีกด้วยว่า สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐลดลง 0.2 ล้านบาร์เรล สู่ 217.4 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil พุ่งขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล สู่ 117.9 ล้านบาร์เรล, อัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันดิ่งลง 1.2% สู่ 93.3% และอุปสงค์น้ำมันเบนซินอยู่ที่ราว 9.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่มีการคาดการณ์กันว่าอุปสงค์น้ำมันเบนซินอาจจะดิ่งลงอย่างรุนแรงในช่วงหลังจากนี้ เนื่องจากฤดูร้อนในสหรัฐใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว ทั้งนี้ ราคาน้ำมันปรับขึ้นได้ไม่มากนักในวันพุธ เนื่องจากราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในจีน ในขณะที่มีรายงานระบุว่า โรงกลั่นน้ำมันในจีนจะปรับเพิ่มยอดการส่งออกน้ำมันดีเซลขึ้นสู่ระดับสูงกว่า 1 ล้านตันในเดือนก.ย. โดยได้รับแรงกระตุ้นจากอัตราผลกำไรที่ระดับสูงในการส่งออกน้ำมัน และจากการคาดการณ์ที่ว่ารัฐบาลจีนจะปรับเพิ่มโควต้าการส่งออก Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ปรับขึ้น 47 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 81.63 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 37 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 85.86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันพุธ โดยสัญญาเบรนท์เดือนต.ค.จะครบกำหนดส่งมอบในวันพฤหัสบดี ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ปรับขึ้น 33 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 85.21 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันพุธ
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 5.12 ดอลลาร์ สู่ 1,942.24 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1,948.79 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. หรือจุดสูงสุดในรอบเกือบ 1 เดือน โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอในสหรัฐ เพราะตัวเลขดังกล่าวช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 19-20 ก.ย. ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับลงจาก 4.122% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 4.118% ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากดิ่งลงแตะ 4.087% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. โดยการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลบวกต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--28 ส.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า ตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะแกว่งตัวผันผวนในเดือนก.ย.ขณะเผชิญบททดสอบจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ, การจัดประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 19-20 ก.ย. และความกังวลที่ว่าหน่วยงานราชการสหรัฐอาจจะปิดทำการ หรือ "ชัตดาวน์" นอกจากนี้ สถิติข้อมูลจากในอดีตก็บ่งชี้ว่า เดือนก.ย.ถือเป็นเดือนที่ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงโดยเฉลี่ยมากที่สุดในแต่ละปีด้วย โดยดัชนี S&P 500 ร่วงลงเฉลี่ย 0.7% ในเดือนก.ย.ของแต่ละปีนับตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 แกว่งตัวผันผวนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยดัชนีพุ่งขึ้นมาแล้วเกือบ 15% จากช่วงต้นปีนี้ แต่ดัชนีดิ่งลงมาแล้วกว่า 4% จากจุดสูงสุดของวันที่ 31 ก.ค. ในขณะที่ตลาดหุ้นได้รับแรงกดดันจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจจีน และจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ เพราะว่าการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลให้หุ้นมีความน่าดึงดูดน้อยลง
กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนส.ค.ในวันศุกร์ที่ 1 ก.ย. โดยนายแจ็ค จานาซีวิคซ์ ผู้จัดการพอร์ตลงทุนของบริษัทแนติซิส อินเวสท์เมนท์ แมเนเจอร์ส โซลูชันส์กล่าวว่า ถ้าหากสหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานเดือนส.ค.ที่แข็งแกร่งเกินคาด ตัวเลขดังกล่าวก็จะกระตุ้นความกังวลเรื่องภาวะเงินเฟ้อ แต่ถ้าหากสหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานที่อ่อนแอเกินคาดเป็นอย่างมาก ตัวเลขดังกล่าวก็จะกระตุ้นความกังวลที่ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงที่ผ่านมาอาจจะเริ่มสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ ทั้งนี้ นักลงทุนจะรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐที่จะออกมาในวันที่ 13 ก.ย.ด้วย และจะรอดูผลการประชุมเฟดในวันที่ 20 ก.ย.ด้วยเช่นกัน ในขณะที่นักลงทุนคาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 20 ก.ย. แต่เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งก่อนสิ้นปีนี้
นายแซนดี วิลเลร์ ผู้จัดการพอร์ตลงทุนของบริษัทวิลเลร์ แอนด์ โคกล่าวว่า ช่วงนี้ดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาสำหรับการเข้าซื้อหุ้นปลอดภัย "ถ้าหากคุณคาดว่าตลาดหุ้นอาจจะแกว่งตัวผันผวนมากกว่าปกติในเดือนก.ย." โดยเขาได้เข้าซื้อหุ้นกลุ่มการแพทย์ ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทไฟเซอร์และบริษัทแอบบอทท์ แลบอราทอรีส์ในช่วงนี้ ทั้งนี้ นักลงทุนจะจับตาดูสถานการณ์เกี่ยวกับสินเชื่อเพื่อการศึกษาขนาด 8.2 หมื่นล้านดอลลาร์ที่ลูกหนี้จะเริ่มต้นชำระคืนให้แก่รัฐบาลสหรัฐในเดือนต.ค.ด้วย โดยการชำระหนี้ดังกล่าวอาจจะส่งผลลบต่อปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในช่วงปลายปีนี้
นักลงทุนจับตาดูความขัดแย้งเรื่องการปรับลดงบประมาณรายจ่ายระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครีพับลิกันสายกลางกับสายที่มีแนวคิดแข็งกร้าวด้วย เพราะความขัดแย้งดังกล่าวอาจจะส่งผลให้มีการชัตดาวน์หน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐเป็นรอบที่ 4 ภายในระยะเวลา 10 ปี ถ้าหากสมาชิกสภาคองเกรสไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ก่อนวันที่ 30 ก.ย. ซึ่งเป็นวันที่งบประมาณในส่วนนี้จะหมดลงพร้อมกับการสิ้นสุดของปีงบประมาณปัจจุบัน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ของธนาคารโกลด์แมน แซคส์ประเมินในสัปดาห์ที่แล้วว่า การชัตดาวน์หน่วยงานรัฐบาลในแต่ละสัปดาห์ส่งผลลบโดยตรงราว 0.15% ต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐ
นักลงทุนบางรายคาดว่า ตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะปรับขึ้นต่อไป โดยได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจสหรัฐที่รักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี และจากกระแสความนิยมในปัญญาประดิษฐ์ (AI) หลังจากบริษัทเอ็นวิเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายงานผลกำไรที่แข็งแกร่งในวันพุธที่ 23 ส.ค. และเอ็นวิเดียประกาศแผนซื้อคืนหุ้นขนาด 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นในวันอังคาร และเข้าใกล้จุดสูงสุดรอบ 2 เดือนที่ทำไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่เทรดเดอร์รอดูการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะจัดขึ้นที่แจ็คสัน โฮลในรัฐไวโอมิงในวันที่ 26-24 ส.ค. โดยมีการคาดการณ์กันว่าสกุลเงินต่าง ๆ จะเคลื่อนไหวเพียงในวงจำกัด ก่อนที่นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดจะกล่าวแถลงในงานประชุมที่แจ็คสัน โฮลในวันศุกร์นี้ ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์เพิ่งพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 เดือนในสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจจีน และจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.59 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 103.32 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 103.68 ในวันศุกร์ที่ 18 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 145.88 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 146.17 เยน หลังจากเพิ่งพุ่งขึ้นแตะ 146.565 เยนในวันที่ 17 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. 2022 หรือจุดสูงสุดรอบ 9 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0844 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยปรับลงจาก 1.0891 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ดัชนีดาวโจนส์และ S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนยังคงกังวลว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน และดัชนีได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มธนาคารด้วย อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ปิดตลาดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร ทั้งนี้ เอสแอนด์พี โกลบอลปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ และแก้ไขแนวโน้มของธนาคารสหรัฐหลายแห่ง ตามหลังการดำเนินการแบบเดียวกันของมูดี้ส์ พร้อมเตือนว่า ความเสี่ยงในการจัดหาเงินทุน และความสามารถในการทำกำไรที่ลดลงอาจจะทดสอบความแข็งแกร่งด้านความน่าเชื่อถือของภาคธนาคาร โดยข่าวนี้มีส่วนกดดันให้ดัชนี KBW สำหรับหุ้นธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐดิ่งลง 2.7%, ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐรูดลง 2.4% และดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินของสหรัฐร่วงลง 0.9% ในวันอังคาร โดยหุ้นกลุ่มการเงินถือเป็นกลุ่มที่ถ่วงดัชนี S&P 500 ลงมากที่สุดในวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.51% สู่ 34,288.83
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.28% สู่ 4,387.55
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับขึ้น 0.06% สู่ 13,505.87
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับลงในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนยังคงมุ่งความสนใจไปยังการคาดการณ์ที่ว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจในจีนจะส่งผลลบต่ออุปสงค์น้ำมันในจีน ซึ่งถือเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังไม่ได้ตัดโอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปด้วย ทั้งนี้ สำนักข่าวของรัฐบาลอิรักรายงานว่า รัฐมนตรีน้ำมันของอิรักและตุรกีได้หารือกันเรื่องความสำคัญของการกลับมาจัดส่งน้ำมันอีกครั้ง หลังจากการซ่อมแซมท่อส่งน้ำมันเสร็จสิ้นลงแล้ว โดยข่าวนี้บ่งชี้ว่า อิรักอาจจะกลับมาส่งออกน้ำมัน 450,000 บาร์เรลต่อวันผ่านทางท่อส่งจากภาคเหนือของอิรักไปยังตุรกีได้อีกครั้ง หลังจากตุรกีระงับการส่งออกน้ำมันดังกล่าวนับตั้งแต่เดือนมี.ค. Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ย.ปรับลง 37 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 80.35 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่สัญญาเดือนก.ย.ครบกำหนดส่งมอบในช่วงปิดตลาดวันอังคาร ส่วนราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ปรับลง 48 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 79.64 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 43 เซนต์ หรือ 0.5% มาปิดตลาดที่ 84.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 3.53 ดอลลาร์ สู่ 1,897.47 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร แต่ยังคงเคลื่อนตัวอยู่ใกล้จุดต่ำสุดรอบ 5 เดือนที่ระดับ 1,883.70 ดอลลาร์ที่ทำไว้ในวันศุกร์ที่ 18 ส.ค. โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์และจากการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะจัดขึ้นที่แจ็คสัน โฮลในรัฐไวโอมิงในวันที่ 26-24 ส.ค. เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับลงจาก 4.342% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.328% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 4.366% ในช่วงเช้าวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2007 หรือจุดสูงสุดในรอบเกือบ 16 ปี โดยการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลลบต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทรงตัวในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบ 15 เดือน โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับภาวะเศรษฐกิจจีน และนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไป Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.45 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยขยับขึ้นจาก 103.40 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 เดือนที่ 103.68 ในระหว่างวัน และดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการแข็งค่าขึ้นราว 0.5% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 145.37 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 145.83 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 9 เดือนที่ 146.56 เยนในวันพฤหัสบดี
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0873 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0871 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.0856 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี
ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดขยับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยดัชนี S&P 500 ได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มเติบโต แต่ได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มปลอดภัยและหุ้นกลุ่มพลังงาน ในขณะที่นักลงทุนรอฟังถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมที่แจ็คสัน โฮลในวันศุกร์ที่ 25 ส.ค. และรอดูผลประกอบการของบริษัทเอ็นวิเดีย ซึ่งเป็นบริษัทผู้ออกแบบชิปที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธที่ 23 ส.ค. ทางด้านดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดตลาดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นวอลมาร์ทซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกขนาดยักษ์ที่พุ่งขึ้น 1.44% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.07% สู่ 34,500.66
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.01% สู่ 4,369.71 ในวันศุกร์ และดิ่งลงมาแล้ว 4.6% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.2% สู่ 13,290.78 และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 2.6% จากสัปดาห์ที่แล้ว โดยดัชนี Nasdaq รูดลงมาแล้ว 7.2% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนธ.ค. 2022
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากสัญญาณบ่งชี้ว่า การผลิตน้ำมันในสหรัฐชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี ทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่มีต่อแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกท่ามกลางวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุน หลังจากบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์สรายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซที่ใช้งานในสหรัฐดิ่งลง 12 แท่น สู 642 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2022 และถือเป็นการปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน โดยการดิ่งลงของปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐอาจจะส่งผลให้อุปทานน้ำมันตึงตัวมากยิ่งขึ้นในช่วงต่อไปในปีนี้ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ย.พุ่งขึ้น 86 เซนต์ หรือ 1.1% มาปิดตลาดที่ 81.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 68 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 84.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่เบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงราว 2% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 0.70 ดอลลาร์ สู่ 1,888.19 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 1.31% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งกระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ต่อไปจนถึงปี 2024 และนักลงทุนรอดูสัญญาณบ่งชี้ถึงทิศทางนโยบายการเงินจากการประชุมธนาคารกลางที่แจ็คสัน โฮลในวันที่ 24-26 ส.ค. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--25 ก.ค.--รอยเตอร์
นักลงทุนบางรายหันไปซื้อหุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลสูงในสหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว หลังจากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วรวมกัน 5.00% นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 เป็นต้นมา ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวที่สุดในรอบหลายสิบปี และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 2 ปีให้พุ่งขึ้นแตะ 5.120% ในวันที่ 6 ก.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2007 หรือจุดสูงสุดในรอบ 16 ปี โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีอยู่ที่ 4.856% ในปัจจุบัน ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ในช่วงที่ผ่านมาเคยส่งผลลบต่อหุ้นบริษัทหลายแห่งที่จ่ายเงินปันผลสูง ในขณะที่นักลงทุนมักจะซื้อหุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลสูงในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ต่ำกว่าระดับปัจจุบันเป็นอย่างมาก
นักลงทุนหลายรายคาดว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. แต่เฟดอาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกในช่วงหลังจากนั้น และการคาดการณ์ดังกล่าวก็ส่งผลให้หุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลสูงมีความน่าดึงดูดอีกครั้ง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอาจจะร่วงลงในอนาคต ทั้งนี้ นายเจอร์เรียน ทิมเมอร์ จากบริษัทฟิเดลิที อินเวสท์เมนท์กล่าวว่า "อัตราผลตอบแทนที่ 5% ที่คุณได้จากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดูเหมือนจะเป็นเพียงเหตุการณ์ชั่วคราว และการร่วงลงของบอนด์ยิลด์ก็จะช่วยลดแรงกดดันที่มีต่อหุ้นบริษัทที่แข่งขันกับบอนด์ยิลด์" โดยในตอนนี้นายทิมเมอร์มุ่งความสนใจไปยังหุ้นกลุ่มการเงินและหุ้นกลุ่มพลังงาน เนื่องจากเขาคาดว่าหุ้นสองกลุ่มนี้จะได้รับประโยชน์จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย
กระแสความสนใจที่เริ่มเพิ่มสูงขึ้นในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงปรากฏให้เห็นในยอดเงินลงทุนที่ไหลเข้าสู่กองทุน ProShares S&P 500 Dividend Aristocrats ETF ซึ่งเป็นกองทุนขนาด 1.17 หมื่นล้านดอลลาร์ที่ลงทุนในบริษัทที่ปรับเพิ่มเงินปันผลทุกปีในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา โดยกองทุนแห่งนี้มียอดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิ 33 ล้านดอลลาร์ในช่วง 2 สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ก.ค. ซึ่งถือเป็นยอดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. โดยกองทุนแห่งนี้พุ่งขึ้นมาแล้วราว 7.5% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐทะยานขึ้นมาแล้วเกือบ 19% จากช่วงต้นปีนี้
ผลสำรวจของแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบัล รีเสิร์ชระบุว่า ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกราว 44% คาดการณ์ในตอนนี้ว่า หุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงจะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าหุ้นที่จ่ายเงินปันผลต่ำ โดยสัดส่วน 44% นี้ปรับขึ้น 9% จากเดือนก่อน
ข้อมูลจากบริษัทเอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินดิเซสระบุว่า บริษัทสหรัฐปรับเพิ่มการจ่ายเงินปันผลเฉลี่ย 9.1% นับตั้งแต่ต้นปี 2023 หลังจากปรับเพิ่มเงินปันผลเฉลี่ย 11.8% ในช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว โดยมีบริษัทสหรัฐ 14 แห่งที่ได้ระงับการจ่ายเงินปันผลหรือปรับลดเงินปันผลลงนับตั้งแต่ต้นปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจากบริษัทเพียง 4 แห่งที่ทำแบบเดียวกันในปีก่อน ทั้งนี้ นายโฮเวิร์ด ซิลเวอร์แบลท นักวิเคราะห์ดัชนีของบริษัทเอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินดิเซสระบุว่า นักลงทุนต้องการซื้อหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงในช่วงนี้ เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าบอนด์ยิลด์อาจจะร่วงลง แต่ตลาดหุ้นอาจจะยังคงปรับขึ้นต่อไป--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
รายงานวิจัยโดยแอตแลนติก เคาน์ซิล ซึ่งเป็นสถาบันคลังสมองในสหรัฐ พบว่า ประเทศทั้งหมด 130 ประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 98% ของเศรษฐกิจโลกกำลังทำการศึกษาสกุลเงินดิจิทัลของตนเอง โดยเกือบครึ่งอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาที่มีความก้าวหน้า, ในขั้นตอนนำร่อง หรือเปิดตัวแล้ว และความก้าวหน้าที่มีนัยสำคัญในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า ประเทศในกลุ่มจี-20 ทั้งหมด ยกเว้นอาร์เจนตินา กำลังอยู่ในขั้นตอนที่ก้าวหน้า
11 ประเทศ ซึ่งรวมถึงหลายประเทศในแถบทะเลแคริบเบียน และไนจีเรีย ได้ออกสกุลเงินดิจิทัลธนาคารกลาง (CBDC) แล้ว ขณะที่โครงการทดลองนำร่องในจีนก็เข้าถึงประชากร 260 ล้านคน และครอบคลุมสถานการณ์การใช้ 200 สถานการณ์นับตั้งแต่อี-คอมเมิร์ซไปจนถึงการจ่ายเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่วนประเทศเกิดใหม่ขนาดใหญ่อีก 2 ประเทศ ซึ่งได้แก่อินเดียและบราซิล มีแผนที่จะออกสกุลเงินดิจิทัลในปีหน้า และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะเริ่มโครงการนำร่องเงินยูโรดิจิทัลก่อนการเปิดตัวที่อาจจะเกิดขึ้นในปี 2028 และอีกกว่า 20 ประเทศจะดำเนินขั้นตอนที่สำคัญสู่โครงการนำร่องในปีนี้
แต่โครงการดอลลาร์ดิจิทัลของสหรัฐมีความคืบหน้าสำหรับรูปแบบธนาคารกับธนาคารเท่านั้น ส่วนการดำเนินงานในรูปแบบการใช้รายย่อยโดยประชาชนในวงกว้างนั้น "หยุดชะงัก" ขณะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนสั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลประเมินความเสี่ยง และประโยชน์ของการออกดอลลาร์ดิจิทัลในเดือนมี.ค.ปีที่แล้ว
การผลักดันให้มี CBDC ของทั่วโลกเกิดขึ้นในขณะที่การใช้เงินสดลดลง และทางการหาทางป้องกันอันตรายต่ออำนาจในการพิมพ์ธนบัตรจากบิทคอยน์ และบริษัทกลุ่ม "บิ๊กเทค" ขณะที่มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียและเวเนซุเอลาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็เป็นปัจจัยขับเคลื่อนอีกตัวด้วย ซึ่งรวมถึงยุโรปที่ต้องการรับประกันว่า จะมีทางเลือกนอกเหนือไปจากเครือข่ายการชำระเงินของวีซ่า, มาสเตอร์การ์ด และสวิฟท์
สวีเดนยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่ก้าวหน้าที่สุดขงอยุโรปในโครงการนำร่อง CBDC ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษก็กำลังเดินหน้าโครงการการออกเงินปอนด์ดิจิทัล ซึ่งอาจจะใช้ได้ภายในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษนี้ ส่วนออสเตรเลีย, ไทย, เกาหลีใต้ และรัสเซียก็ล้วนตั้งใจที่จะดำเนินโครงการนำร่องต่อไปในปีนี้--จบ--
Eikon source text
27 ธ.ค.--รอยเตอร์
บริษัทมาสเตอร์การ์ดระบุในรายงานที่ออกมาในวันจันทร์ว่า ยอดค้าปลีกในสหรัฐเพิ่มขึ้น 7.6% ในช่วงระหว่างวันที่ 1 พ.ย.จนถึงวันที่ 24 ธ.ค. ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลาส่วนใหญ่ในช่วงเทศกาลวันหยุดของสหรัฐ ในขณะที่มาตรการลดราคาสินค้าช่วยดึงดูดผู้บริโภคให้มาจับจ่ายซื้อสินค้าราคาถูก ทั้งนี้ อัตราการเติบโตดังกล่าวอยู่สูงกว่าระดับ 7.1% ที่มาสเตอร์การ์ดเคยคาดการณ์ไว้ในเดือนก.ย. โดยในตอนนั้นมาสเตอร์การ์ดคาดว่าผู้บริโภคจะหันมาซื้อสินค้าลดราคาตั้งแต่ในเดือนต.ค.
อย่างไรก็ดี อัตราการเติบโตของยอดค้าปลีกในเทศกาลวันหยุดปีนี้อยู่ต่ำกว่าระดับ +8.5% ในปีที่แล้ว ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ใกล้จุดสูงสุดในรอบหลายสิบปี, การพุ่งขึ้นของอัตราดอกเบี้ย และความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยส่งผลให้ผู้บริโภคใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวัง
บริษัทค้าปลีกหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงบริษัทอะเมซอนดอทคอมและบริษัทวอลมาร์ท ได้ปรับลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ในปีนี้เพื่อระบายสต็อกสินค้าที่ล้นคลัง และเพื่อทำให้ปริมาณสต็อกสินค้าคงคลังกลับคืนสู่ระดับปกติ โดยการทำเช่นนี้ส่งผลให้ยอดซื้อสินค้าหลายประเภท ซึ่งรวมถึงของเล่นและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับสูงในช่วง 5 วันสำคัญที่เริ่มตั้งแต่วันขอบคุณพระเจ้าไปจนถึงวันไซเบอร์ มันเดย์ โดยช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับวันที่ 24-28 พ.ย.ในปีนี้ อย่างไรก็ดี ยอดขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดิ่งลง 5.3% ในช่วงวันที่ 1 พ.ย.-24 ธ.ค.
ยอดขายเสื้อผ้าพุ่งขึ้น 4.4% ในช่วงเทศกาลวันหยุดที่กินเวลานานเกือบ 2 เดือน ส่วนยอดขายในร้านอาหารทะยานขึ้น 15.1% และส่งผลบวกต่อยอดค้าปลีกโดยรวม ทั้งนี้ ยอดขายสินค้าออนไลน์พุ่งขึ้น 10.6% ในช่วงเทศกาลวันหยุดปีนี้ หลังจากทะยานขึ้น 11% ในช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว
รายงานสเปนดิงพัลซ์ของบริษัทมาสเตอร์การ์ดนี้ครอบคลุมยอดค้าปลีกทั้งในร้านและทางออนไลน์ โดยครอบคลุมทุกรูปแบบการชำระเงิน แต่ไม่รวมยอดขายรถยนต์--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน