ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
บริษัทที่ได้รับการจัดอันดับสูงหลากหลายบริษัทเตรียมที่จะระดมทุน 1.45 หมื่นล้านดอลลาร์จากการขายหุ้นกู้ใหม่เพื่อฉวยโอกาสจากความต้องการสูงของนักลงทุนสำหรับหุ้นกู้ภาคเอกชนที่มีคุณภาพ โดยดำเนินการก่อนความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้นในตลาดโดยรวม
ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว และตลาดโดยรวมผันผวน หลังจากกระทรวงการคลังสหรัฐคาดการณ์ว่าจะมีการออกพันธบัตรมากกว่าคาดในไตรมาส 3 และบริษัทฟิทช์ เรทติงส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ
แต่นั่นแทบไม่ได้มีผลกระทบต่อความต้องการหุ้นกู้สกุลดอลลาร์ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ที่มีอันดับน่าลงทุน เนื่องจากนักลงทุนสนใจผลตอบแทนโดยรวมที่ยังคงสูงกว่าผลตอบแทนของทั่วโลก ซึ่งความต้องการดังกล่าวช่วยทำให้ค่าสเปรดหุ้นกู้ภาคเอกชนตึงตัว หรือค่าพรีเมียมที่บริษัทออกหุ้นกู้จ่ายมากกว่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
คาดว่าจะมีการขายหุ้นกู้ที่มีอันดับน่าลงทุนใหม่มูลค่าราว 3.0 หมื่นล้านดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ก่อนการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อในวันพฤหัสบดีและศุกร์นี้ ซึ่งรวมถึงข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ค. ซึ่งอาจจะทำให้ตลาดผันผวนมากขึ้น
ถ้าปริมาณการออกหุ้นกู้สอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ ยอดรวมทั้งหมดของเดือนส.ค.ก็อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ภายในปลายสัปดาห์นี้ แต่ก็จะยังคงต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่คาดว่าจะมีปริมาณหุ้นกู้รวม 9.0-9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค.--จบ--
Eikon source text
นิวยอร์ค--27 ก.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้น แต่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ขยับลงเล็กน้อยในวันพุธ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 16 ปี และถือเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 11 ในการประชุม 12 ครั้งที่ผ่านมา โดยเฟดให้เหตุผลว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง และแถลงการณ์ของเฟดเปิดโอกาสสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีก ทางด้านนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดกล่าวในงานแถลงข่าวว่า เฟดจะตัดสินใจในการประชุมแต่ละครั้งไป และเฟดจะจับตาดูตัวเลขเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด แต่เขาตั้งข้อสังเกตว่า แทบไม่มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ ทั้งนี้ ธนาคารโกลด์แมน แซคส์ระบุว่า แถลงการณ์ของเฟดไม่ได้บ่งชี้ว่า เฟดจะชะลอความเร็วในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคต แต่โกลด์แมน แซคส์คาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 19-20 ก.ย.
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.23% สู่ 35,520.12 ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดในแดนบวกเป็นวันที่ 13 ติดต่อกัน และระยะ 13 วันนี้ถือว่ายาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 1987 ทางด้านดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.02% สู่ 4,566.75 ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.12% สู่ 14,127.28 ในวันพุธ ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ได้รับแรงหนุนในวันพุธจากหุ้นโบอิ้งซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินที่พุ่งขึ้น 8.72% หลังจากโบอิ้งรายงานยอดขาดทุนรายไตรมาสที่น้อยเกินคาด และระบุว่ากระแสเงินสดพุ่งสูง
นายเบรนท์ ชูทเทอ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทนอร์ธเวสเทิร์น มิวชวล เวลธ์ แมเนจเมนท์กล่าวว่า นายพาวเวลล์ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่า เฟดจะรอดูตัวเลขเศรษฐกิจก่อนจะตัดสินใจครั้งใหม่ และนายชูทเทอกล่าวเสริมว่า "ผมคิดว่าเฟดจะไม่ยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จนกว่าค่าแรงจะชะลอการปรับขึ้น"
หุ้นบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวอย่างไร้ทิศทางชัดเจนในวันพุธ โดยหุ้นไมโครซอฟท์ดิ่งลง 3.72% หลังจากไมโครซอฟท์เปิดเผยแผนการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อตอบรับต่ออุปสงค์ในบริการใหม่ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และไมโครซอฟท์รายงานรายได้และผลกำไรรายไตรมาสที่สูงเกินคาดด้วย ทางด้านหุ้นแอลฟาเบทซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิลพุ่งขึ้น 5.78% หลังจากแอลฟาเบทรายงานว่า ผลกำไรไตรมาสสองอยู่สูงกว่าระดับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในบริการคลาวด์และจากยอดโฆษณาที่ฟื้นตัว ทั้งนี้ ดัชนี NYSE FANG+ ซึ่งครอบคลุมบริษัทขนาดยักษ์หลายแห่งในกลุ่มเติบโตร่วงลง 0.72% ในวันพุธ แต่ดัชนีพุ่งขึ้นมาแล้ว 75% จากช่วงต้นปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากกระแสความนิยมใน AI และจากความคาดหวังที่ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว
บริษัท 152 แห่งในดัชนี S&P 500 เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสล่าสุดออกมาแล้ว และบริษัท 77.6% ในกลุ่มนี้เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ทั้งนี้ หุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊กพุ่งขึ้น 1.39% หลังจากธุรกิจคลาวด์ของบริษัทอาลีบาบาประกาศว่า ทางบริษัทจะสนับสนุน Llama ซึ่งเป็นโมเดล AI แบบโอเพนซอร์ซของเมตา ทางด้านหุ้นธนาคารเวลส์ ฟาร์โกพุ่งขึ้น 2.11% ในวันพุธ หลังจากคณะผู้บริหารของเวลส์ ฟาร์โกอนุมัติโครงการซื้อคืนหุ้นขนาด 3.0 หมื่นล้านดอลลาร์--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--20 ก.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับขึ้นในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับฤดูการรายงานผลประกอบการไตรมาสสอง โดยดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.70% ในวันพุธ ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดในแดนบวกเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน และถือเป็นการปิดตลาดในแดนบวกเป็นวันที่ 8 ในช่วง 9 วันทำการที่ผ่านมา ทั้งนี้ หุ้นธนาคารโกลด์แมน แซคส์บวกขึ้น 0.97% ในวันพุธ หลังจากโกลด์แมน แซคส์รายงานว่า ผลกำไรปรับลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 3 ปี แต่นายเดวิด โซโลมอน ซีอีโอของโกลด์แมน แซคส์แสดงความเห็นในทางบวกต่อสัญญาณการฟื้นตัวของแผนกวาณิชธนกิจ ซึ่งเป็นความเห็นที่สอดคล้องกับความเห็นของธนาคารขนาดใหญ่แห่งอื่น ๆ ในวันอังคารที่ผ่านมา
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.31% สู่ 35,061.21 ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดในแดนบวกเป็นวันที่ 8 ติดต่อกัน และระยะ 8 วันนี้ถือว่ายาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2019 หรือนานที่สุดในรอบเกือบ 4 ปี ทางด้านดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.24% สู่ 4,565.72 และดัชนี Nasdaq ปิดขยับขึ้น 0.03% สู่ 14,358.02 ทั้งนี้ ดัชนี Nasdaq ขยับขึ้นได้น้อยมาก เพราะว่าดัชนีได้รับแรงกดดันจากหุ้นไมโครซอฟท์ที่ดิ่งลง 1.23% หลังจากมีข่าวว่าบริษัทแอปเปิลกำลังพัฒนาบริการด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทางด้านหุ้นเอ็นวิเดียร่วงลง 0.88% และหุ้นแอลฟาเบทดิ่งลง 1.40% ส่วนหุ้นแอปเปิลบวกขึ้น 0.71%
ดัชนี KBW สำหรับหุ้นธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.90% มาปิดตลาดที่ 99.04 ในวันพุธ ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค. ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของวิกฤติภาคธนาคาร และถือเป็นการปิดตลาดในแดนบวกเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่หุ้นธนาคารซิติเซนส์ ไฟแนนเชียลทะยานขึ้น 6.39% และหุ้นเอ็มแอนด์ที แบงก์พุ่งขึ้น 2.48% หลังจากธนาคารทั้งสองแห่งนี้เปิดเผยผลกำไรไตรมาสสองที่ดีเกินคาด นอกจากนี้ หุ้นยูเอส แบงคอร์ปซึ่งเป็นธนาคารที่มีสำนักงานใหญ่ในเมืองมินนิอาโปลิสก็พุ่งขึ้น 6.46% หลังจากยูเอส แบงคอร์ปรายงานว่า รายได้ดอกเบี้ยสุทธิพุ่งขึ้น 28% ในไตรมาสล่าสุด
นักลงทุนคาดการณ์ในช่วงนี้ว่า ผลกำไรของบริษัทสหรัฐอาจดิ่งลง 8.2% ในไตรมาสสอง หลังจากที่เคยคาดการณ์ในช่วงต้นเดือนก.ค.ว่า ผลกำไรอาจปรับลดลงเพียง 5.7% ในไตรมาสสอง ทั้งนี้ หลังจากตลาดหุ้นปิดทำการในวันพุธ เทสลาซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าก็รายงานว่า อัตราผลกำไรขั้นต้นปรับลดลงในไตรมาสสองเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก โดยอัตราผลกำไรขั้นต้นปรับลดลงสู่ 18.2% ในไตรมาสสอง ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบ 16 ไตรมาส
หลังจากตลาดหุ้นปิดทำการในวันพุธ บริษัทเน็ตฟลิกซ์ได้รายงานผลกำไรที่ดีเกินคาด โดยผลกำไรต่อหุ้นปรับลดของเน็ตฟลิกซ์อยู่ที่ 3.29 ดอลลาร์ต่อหุ้นในไตรมาสสอง ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 2.86 ดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เน็ตฟลิกซ์รายงานว่า รายได้ปรับขึ้น 2.7% เมื่อเทียบรายปี สู่ 8.2 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสสอง ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 8.3 พันล้านดลอลาร์ และเน็ตฟลิกซ์คาดว่า รายได้ในไตรมาสสามจะอยู่ที่ระดับ 8.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 8.7 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ หุ้นเอทีแอนด์ทีซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมปิดพุ่งขึ้น 8.48% หลังจากเอทีแอนด์ทีประกาศว่า ทางบริษัทไม่ได้วางแผนที่จะถอนสายเคเบิลตะกั่วออกจากทะเลสาบทาโฮในทันที โดยทางบริษัทจะรอผลการวิเคราะห์เพิ่มเติมก่อน ทางด้านหุ้นเวริซอนในกลุ่มโทรคมนาคมทะยานขึ้น 5.27%--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นายแจน ฮัตซิอุซ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์กล่าวว่า ธนาคารลดความเป็นไปได้ที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐจะเริ่มขึ้นในช่วง 12 เดือนข้างหน้าลงสู่ระดับ 20% จาก 25% ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า
เขาระบุในรายงานวิจัยว่า "เหตุผลหลักที่เราลดความเป็นไปได้ลงมาก็คือข้อมูลล่าสุดตอกย้ำความเชื่อมั่นของเราที่ว่า การทำให้เงินเฟ้อลดลงสู่ระดับที่ยอมรับได้นั้นจะไม่ต้องการภาวะถดถอย" ขณะเดียวกัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวไว แม้ต้นทุนการกู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มมาตรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นปี 2022 ก็ตาม
"เราคาดว่าจะมีการชะลอตัวลงอีกในช่วง 2 ไตรมาสข้างหน้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะรายได้ส่วนบุคคลสุทธิแท้จริงที่ชะลอตัวลงตามลำดับ และผลกระทบจากการให้สินเชื่อภาคธนาคารที่ลดลง" แต่เขาก็คาดว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวต่อไป แต่ในอัตราที่ต่ำกว่าแนวโน้ม
ในส่วนของการพลิกกลับด้านของเส้นโค้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในขณะนี้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะถดถอยที่ใกล้จะเกิดขึ้น เขากล่าวว่า นั่นสะท้อน และยืนยันการคาดการณ์เศรษฐกิจ "ที่เป็นการคาดการณ์ในแง่ลบมากเกินไป"
เส้นโค้งอัตราผลตอบแทนที่พลิกกลับด้านบ่งชี้ถึงการคาดการณ์ว่า เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี มีแนวทางที่เป็นไปได้ที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยเพราะอัตราเงินเฟ้อลดลง และมีความเป็นไปได้สูงที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมนโยบายในสัปดาห์หน้า ซึ่งเขาคาดว่า จะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายของวงจรการคุมเข้มนโยบายการเงินในขณะนี้--จบ--
Eikon source text
นิวยอร์ค--12 ก.ค.--รอยเตอร์
ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐจะเริ่มต้นรายงานผลกำไรไตรมาสสองในเร็ว ๆ นี้ โดยธนาคารเจพีมอร์แกน เชส, ซิตี้กรุ๊ป และเวลส์ ฟาร์โกมีกำหนดจะรายงานผลกำไรไตรมาส 2 ในวันที่ 14 ก.ค., แบงก์ ออฟ อเมริกาและมอร์แกน สแตนเลย์มีกำหนดจะประกาศผลประกอบการในวันที่ 18 ก.ค. ส่วนโกลด์แมน แซคส์จะประกาศผลประกอบการในวันที่ 19 ก.ค. ทางด้านนักลงทุนคาดว่าธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐจะรายงานตัวเลขผลกำไรไตรมาสสองที่สูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากดอกเบี้ยรับที่สูงขึ้น และปัจจัยบวกดังกล่าวจะช่วยชดเชยยอดการทำข้อตกลงทางธุรกิจที่ปรับลดลง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า ในส่วนของธนาคารที่ให้บริการแบบครบวงจรนั้น ธนาคารเจพีมอร์แกนและธนาคารเวลส์ ฟาร์โก ซึ่งให้บริการแก่ทั้งภาคเอกชนและผู้บริโภครายย่อย มีแนวโน้มที่จะมีผลกำไรต่อหุ้น (EPS) พุ่งขึ้นกว่า 40% ส่วนแบงก์ ออฟ อเมริกามีแนวโน้มที่จะมี EPS ทะยานขึ้นกว่า 7% แต่ซิตี้กรุ๊ปมีแนวโน้มที่จะมี EPS ดิ่งลง 43%
ในส่วนของวาณิชธนกิจขนาดใหญ่นั้น นักวิเคราะห์คาดว่า โกลด์แมน แซคส์มีแนวโน้มที่จะมี EPS ดิ่งลงเกือบ 59% ส่วนมอร์แกน สแตนเลย์มีแนวโน้มที่จะมี EPS รูดลง 9% อย่างไรก็ดี รายได้จากแผนกบริหารความมั่งคั่งมีแนวโน้มที่จะช่วยชดเชยความอ่อนแอของรายได้จากการทำข้อตกลงทางธุรกิจ ทั้งนี้ นายเดวิด คอนราด นักวิเคราะห์ของบริษัทคีฟ, บรูย์เอทท์ แอนด์ วูดส์กล่าวว่า ธนาคารที่ให้บริการแบบครบวงจรได้รับแรงหนุนจากผู้บริโภคสหรัฐที่ยังคงใช้จ่ายเงินจำนวนมาก และยังคงมีฐานะการเงินที่ดี โดยปัจจัยบวกดังกล่าวช่วยชดเชยความอ่อนแอในแผนกวาณิชธนกิจ ในขณะที่รายได้ด้านวาณิชธนกิจได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
นายสตีเฟน บิกการ์ นักวิเคราะห์ของบริษัทอาร์กัส รีเสิร์ชกล่าวว่า "โกลด์แมน แซคส์จะมีผลประกอบการย่ำแย่อีกครั้งในส่วนของวาณิชธนกิจในไตรมาสสอง ในขณะที่ธุรกิจการซื้อขายหลักทรัพย์อยู่ในภาวะเฉื่อยชา เนื่องจากความผันผวนปรับลดลง" โดยโกลด์แมน แซคส์อาจจะปรับลดมูลค่าทางบัญชีสำหรับธุรกิจด้านผู้บริโภคลงด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลจากบริษัทดีลโลจิกระบุว่า กิจกรรมด้านวาณิชธนกิจทั่วโลกดิ่งลงสู่ 1.57 หมื่นล้านดอลลาร์ในไตรมาสสอง ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2012
ผู้บริหารภาคธนาคารปรับลดการคาดการณ์สำหรับไตรมาสสองลง หลังจากกิจกรรมการควบรวมกิจการและการออกจำหน่ายหุ้นกู้ดิ่งลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ผู้บริหารบางรายระบุว่ากิจกรรมการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชนครั้งแรก (IPO) เริ่มฟื้นตัวขึ้น และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าตลาดตราสารทุนอาจจะฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น ธนาคารก็มักจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้าที่มากู้เงิน อย่างไรก็ดี ความต้องการกู้เงินชะลอตัวลงในช่วงนี้ และธนาคารก็จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นให้แก่ผู้บริโภคที่นำเงินมาฝากไว้กับธนาคาร
นักวิเคราะห์ของ KBW ระบุว่า ปริมาณเงินฝากในธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐดิ่งลง 1.41 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสสอง หลังจากที่เคยมีเงินฝากจำนวนมากไหลเข้าสู่ธนาคารขนาดใหญ่ในไตรมาสแรก เนื่องจากลูกค้าต้องการฝากเงินในสถานที่ปลอดภัยในช่วงนั้น หลังจากธนาคารระดับภูมิภาคบางแห่งในสหรัฐถูกสั่งปิดกิจการ ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐดิ่งลงมาแล้ว 9.3% จากช่วงต้นปีนี้ ซึ่งสวนทางกับดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐที่พุ่งขึ้น 14.6% จากช่วงต้นปีนี้--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ลอนดอน--23 มิ.ย.--รอยเตอร์
ปอนด์พุ่งขึ้นแตะ 1.2845 ดอลลาร์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี ซึ่งใกล้กับจุดสูงสุดรอบ 14 เดือนที่ 1.2849 ดอลลาร์ที่ทำไว้ในวันที่ 16 มิ.ย. หลังจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) โหวตด้วยคะแนนเสียง 7-2 เพื่อให้บีโออีปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ 5% ในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 และถือเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 13 ติดต่อกัน โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในครั้งนี้ถือเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.ด้วย อย่างไรก็ดี ปอนด์ร่วงลง 0.42% สู่ 1.2695 ดอลลาร์สหรัฐในวันนี้ท่ามกลางความกังวลที่ว่า เศรษฐกิจอังกฤษอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย และปอนด์มีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงราว 1% จากสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากปอนด์เพิ่งปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกมาได้นาน 3 สัปดาห์ติดต่อกัน ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งแกร่งเกินคาดของบีโออีในวันพฤหัสบดีส่งผลให้นักลงทุนกังวลกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอังกฤษ และความกังวลดังกล่าวก็ส่งผลให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงปอนด์ และกลับเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ หลังจากราคาพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษดิ่งลงในช่วงที่ผ่านมา
บีโออีปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ หลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) รายงานในวันพุธว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในราคาผู้บริโภคของอังกฤษอยู่ที่ 8.7% ในเดือนพ.ค. ซึ่งเท่ากับระดับในเดือนเม.ย. แต่อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 8.4% สำหรับเดือนพ.ค. ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาอาหาร, พลังงาน, เหล้า และบุหรี่ พุ่งขึ้นจาก 6.8% ในเดือนเม.ย. สู่ 7.1% ในเดือนพ.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1992 ทางด้านนักลงทุนปรับเพิ่มการคาดการณ์ที่ว่า อัตราดอกเบี้ยอังกฤษอาจจะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรที่ระดับใกล้ 6% ในช่วงต้นปี 2024 ทั้งนี้ การคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอังกฤษเคยช่วยหนุนปอนด์ให้แข็งค่าขึ้นในเดือนนี้ โดยปอนด์/ยูโรปรับขึ้น 0.3% สู่ 1.1668 ยูโรในวันนี้ หลังจากเพิ่งพุ่งขึ้นแตะ 1.1736 ยูโรในวันที่ 19 มิ.ย. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 10 เดือน
ธนาคารโกลด์แมน แซคส์, ยูบีเอส, แบงก์ ออฟ อเมริกา และบาร์เคลย์สคาดการณ์ว่า การแข็งค่าของปอนด์ในช่วงนี้อาจจะยังคงดำเนินต่อไป โดยนายไมเคิล คาฮิลล์ นักยุทธศาสตร์การลงทุนสกุลเงินจี-10 ในโกลด์แมน แซคส์ระบุว่า "แนวโน้มด้านการบริโภคในอังกฤษอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งกว่าเดิมเป็นอย่างมาก" โดยเป็นผลจากการดิ่งลงของราคาก๊าซธรรมชาติในระยะนี้ นอกจากนี้ ดัชนีปอนด์ที่มีการถ่วงน้ำหนักทางการค้าของโกลด์แมน แซคส์ยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า ปอนด์กำลังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2016 หากเทียบกับสกุลเงินของประเทศคู่ค้าสำคัญ อย่างไรก็ดี นักลงทุนบางรายกังวลว่า ปอนด์อาจจะได้รับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยด้วยเช่นกัน โดยนายเอียน ทิว จากธนาคารบาร์เคลย์สระบุว่า "ถ้าหากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอังกฤษเริ่มส่งผลลบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ปอนด์ก็อาจจะอ่อนค่าลง"
นายฮูว เดวีส์ ผู้จัดการตราสารหนี้ในบริษัทจูปิเตอร์ แอสเซท แมเนจเมนท์ ไม่ได้เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจอังกฤษจะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยเขากล่าวว่า การที่เศรษฐกิจอังกฤษยังคงเติบโตอยู่ในปัจจุบัน ถือเป็นเหตุผลสนับสนุนให้นักลงทุน "ถือครองสถานะขายเล็กน้อยในพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ แต่ถือครองสถานะซื้อในปอนด์"
การคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในอังกฤษส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษประเภทอายุ 2 ปีพุ่งขึ้นแตะ 5.124% เมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 15 ปี และอยู่ที่ 5.059% ในวันนี้ ซึ่งสูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษประเภทอายุ 10 ปี ซึ่งอยู่ที่ 4.355% ในวันนี้ โดยการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอยู่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวนี้ถือเป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ และสะท้อนให้เห็นถึงการคาดการณ์ในตลาดที่ว่า บีโออีอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคตเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวลง ทั้งนี้ นักลงทุนทั่วโลกมองว่าการลงทุนในอังกฤษมีความเสี่ยงสูงในช่วงนี้ โดยเป็นผลจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงภาวะปั่นป่วนวุ่นวายในตลาดการเงินอังกฤษในปีที่แล้วเพราะวิกฤติงบประมาณ, การที่อังกฤษเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไปแล้ว 3 คนนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา และการที่อังกฤษจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
13 มิ.ย.--รอยเตอร์
ถึงแม้นักลงทุนในตลาดโลกพึงพอใจที่วิกฤติภาคธนาคารในเดือนมี.ค.ไม่ได้ส่งผลให้เกิดภาวะสินเชื่อหดตัวอย่างฉับพลัน และพึงพอใจที่สหรัฐสามารถคลี่คลายวิกฤติเพดานหนี้ได้ทันก่อนเส้นตาย เศรษฐกิจโลกก็ยังคงเผชิญกับสัญญาณเตือนต่าง ๆ ในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงการที่เศรษฐกิจยูโรโซนได้เข้าสู่ภาวะถดถอยไปแล้ว และตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่น่าผิดหวัง ทางด้านนักวิเคราะห์ได้ระบุถึงสัญญาณบางประการที่บ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยดังต่อไปนี้
สัญญาณแรกคือการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้าในทางลบมากยิ่งขึ้น ถึงแม้มีการปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปีนี้ โดยธนาคารโลกได้ปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกประจำปี 2023 เนื่องจากเศรษฐกิจจีน, สหรัฐ และประเทศสำคัญอื่น ๆ รักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้ดีเกินคาด โดยธนาคารโลกคาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้น 2.1% ในปีนี้ โดยปรับขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 1.7% ที่เคยคาดไว้ในเดือนม.ค. อย่างไรก็ดี ธนาคารโลกคาดว่า เศรษฐกิจโลกอาจจะเติบโตเพียง 2.4% ในปี 2024 โดยปรับลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 2.7% โดยธนาคารโลกให้เหตุผลว่า การปรับลดนี้เป็นเพราะการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางส่งผลกระทบอย่างล่าช้า และสินเชื่อที่ตึงตัวมากยิ่งขึ้นจะส่งผลลบต่อการลงทุนทางธุรกิจและการลงทุนในที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ดัชนีตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าประหลาดใจทั่วโลกที่จัดทำโดยซิตี้กรุ๊ปอยู่ที่ระดับราว -5 ในช่วงนี้ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่ามีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจทั่วโลกที่แย่เกินคาดออกมาในช่วงนี้ในอัตราที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2022 เป็นต้นมา
สัญญาณที่ 2 คือภาวะตึงตัวด้านสินเชื่อ โดยสัญญาณดังกล่าวรวมถึงผลสำรวจที่ระบุว่า สัดส่วนสุทธิของธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนที่รายงานว่า ภาคเอกชนลดความต้องการกู้เงินลงในไตรมาสแรก อยู่ที่ระดับ 38% ซึ่งถือเป็นสัดส่วนสุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินโลกในปี 2008 เป็นต้นมา และผลสำรวจยังระบุอีกด้วยว่า สัดส่วนสุทธิของธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนที่คุมเข้มมาตรฐานการปล่อยกู้ในไตรมาสแรก อยู่ที่ระดับ 27% ซึ่งเท่ากับในไตรมาส 4/2022 และถือเป็นสัดส่วนสุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติหนี้ยูโรโซนในปี 2011 เป็นต้นมา ทางด้านปริมาณการปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจในยูโรโซนปรับขึ้นเพียง 4.6% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายปี โดยชะลอตัวลงจาก +5.2% ในเดือนมี.ค. ทั้งนี้ ธนาคารดอยช์ แบงก์ตั้งข้อสังเกตว่า โดยปกติแล้วธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มักจะผ่อนคลายนโยบายการเงินลง เมื่อผลสำรวจความเห็นเจ้าหน้าที่สินเชื่อระดับสูง (SLOOS) ในสหรัฐแสดงให้เห็นว่า ดัชนีความเต็มใจในการปล่อยกู้อยู่ใกล้ระดับ 0 อย่างไรก็ดี ดัชนีดังกล่าวอยู่ที่ระดับติดลบเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
สัญญาณที่ 3 คือการปลดพนักงานออกเป็นจำนวนมาก โดยสัญญาณดังกล่าวรวมถึงรายงานของบริษัทแชลเลนเจอร์, เกรย์ แอนด์ คริสต์มาสที่ระบุว่า ยอดการประกาศปรับลดตำแหน่งงานในบริษัทสหรัฐพุ่งขึ้น 20% สู่ 80,089 ตำแหน่งในเดือนพ.ค., ประกาศของบริษัทบีที กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการสื่อสารไร้สายและสื่อสารความเร็วสูงรายใหญ่ที่สุดในอังกฤษที่ระบุว่า บีทีจะปรับลดตำแหน่งงานลง 55,000 ตำแหน่งก่อนสิ้นปี 2030 หรือกว่า 40% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดของบีที และประกาศของบริษัทโวดาโฟน ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของอังกฤษที่ระบุว่า โวดาโฟนวางแผนจะปรับลดตำแหน่งงานทั่วโลกลง 11,000 ตำแหน่งในช่วง 3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทสหรัฐหลายแห่งระบุถึงการปลดพนักงานออกในการรายงานผลกำไรไตรมาสแรกด้วย
สัญญาณที่ 4 คือการคาดการณ์ที่ว่า ยอดผิดนัดชำระหนี้จะพุ่งสูงขึ้น โดยเป็นผลจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการคุมเข้มเงื่อนไขการปล่อยกู้ โดยธนาคารดอยช์ แบงก์คาดว่าจะเกิดกระแสการผิดนัดชำระหนี้ในเร็ว ๆ นี้ และกระแสดังกล่าวจะแตะจุดสูงสุดในไตรมาส 4/2024 โดยอัตราการผิดนัดชำระหนี้ในสหรัฐจะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรที่ 11.3% ซึ่งใกล้กับสถิติสูงสุด ทั้งนี้ สัญญาณที่ 5 คือการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยและความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยในช่วงนี้เทรดเดอร์คาดว่า เฟดจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ แต่อัตราดอกเบี้ยสหรัฐจะร่วงลงสู่ระดับราว 3.9% ภายในเดือนก.ย. 2024 จากระดับ 5.00-5.25% ในปัจจุบัน ทางด้านเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะพลิกกลับหรือลาดลง (inverted) เป็นอย่างมากในช่วงนี้ หรือภาวะที่ต้นทุนการกู้ยืมระยะสั้นอยู่สูงกว่าต้นทุนการกู้ยืมระยะยาว และภาวะ inverted นี้มักจะเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่าเศรษฐกิจกำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน