ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นในวันอังคาร และเข้าใกล้จุดสูงสุดรอบ 2 เดือนที่ทำไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่เทรดเดอร์รอดูการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะจัดขึ้นที่แจ็คสัน โฮลในรัฐไวโอมิงในวันที่ 26-24 ส.ค. โดยมีการคาดการณ์กันว่าสกุลเงินต่าง ๆ จะเคลื่อนไหวเพียงในวงจำกัด ก่อนที่นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดจะกล่าวแถลงในงานประชุมที่แจ็คสัน โฮลในวันศุกร์นี้ ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์เพิ่งพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 เดือนในสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจจีน และจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.59 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 103.32 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 103.68 ในวันศุกร์ที่ 18 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 145.88 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 146.17 เยน หลังจากเพิ่งพุ่งขึ้นแตะ 146.565 เยนในวันที่ 17 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. 2022 หรือจุดสูงสุดรอบ 9 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0844 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยปรับลงจาก 1.0891 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ดัชนีดาวโจนส์และ S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนยังคงกังวลว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน และดัชนีได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มธนาคารด้วย อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ปิดตลาดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร ทั้งนี้ เอสแอนด์พี โกลบอลปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ และแก้ไขแนวโน้มของธนาคารสหรัฐหลายแห่ง ตามหลังการดำเนินการแบบเดียวกันของมูดี้ส์ พร้อมเตือนว่า ความเสี่ยงในการจัดหาเงินทุน และความสามารถในการทำกำไรที่ลดลงอาจจะทดสอบความแข็งแกร่งด้านความน่าเชื่อถือของภาคธนาคาร โดยข่าวนี้มีส่วนกดดันให้ดัชนี KBW สำหรับหุ้นธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐดิ่งลง 2.7%, ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐรูดลง 2.4% และดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินของสหรัฐร่วงลง 0.9% ในวันอังคาร โดยหุ้นกลุ่มการเงินถือเป็นกลุ่มที่ถ่วงดัชนี S&P 500 ลงมากที่สุดในวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.51% สู่ 34,288.83
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.28% สู่ 4,387.55
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับขึ้น 0.06% สู่ 13,505.87
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับลงในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนยังคงมุ่งความสนใจไปยังการคาดการณ์ที่ว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจในจีนจะส่งผลลบต่ออุปสงค์น้ำมันในจีน ซึ่งถือเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังไม่ได้ตัดโอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปด้วย ทั้งนี้ สำนักข่าวของรัฐบาลอิรักรายงานว่า รัฐมนตรีน้ำมันของอิรักและตุรกีได้หารือกันเรื่องความสำคัญของการกลับมาจัดส่งน้ำมันอีกครั้ง หลังจากการซ่อมแซมท่อส่งน้ำมันเสร็จสิ้นลงแล้ว โดยข่าวนี้บ่งชี้ว่า อิรักอาจจะกลับมาส่งออกน้ำมัน 450,000 บาร์เรลต่อวันผ่านทางท่อส่งจากภาคเหนือของอิรักไปยังตุรกีได้อีกครั้ง หลังจากตุรกีระงับการส่งออกน้ำมันดังกล่าวนับตั้งแต่เดือนมี.ค. Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ย.ปรับลง 37 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 80.35 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่สัญญาเดือนก.ย.ครบกำหนดส่งมอบในช่วงปิดตลาดวันอังคาร ส่วนราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ปรับลง 48 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 79.64 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 43 เซนต์ หรือ 0.5% มาปิดตลาดที่ 84.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 3.53 ดอลลาร์ สู่ 1,897.47 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร แต่ยังคงเคลื่อนตัวอยู่ใกล้จุดต่ำสุดรอบ 5 เดือนที่ระดับ 1,883.70 ดอลลาร์ที่ทำไว้ในวันศุกร์ที่ 18 ส.ค. โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์และจากการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะจัดขึ้นที่แจ็คสัน โฮลในรัฐไวโอมิงในวันที่ 26-24 ส.ค. เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับลงจาก 4.342% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.328% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 4.366% ในช่วงเช้าวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2007 หรือจุดสูงสุดในรอบเกือบ 16 ปี โดยการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลลบต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทรงตัวในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบ 15 เดือน โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับภาวะเศรษฐกิจจีน และนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไป Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.45 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยขยับขึ้นจาก 103.40 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 เดือนที่ 103.68 ในระหว่างวัน และดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการแข็งค่าขึ้นราว 0.5% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 145.37 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 145.83 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 9 เดือนที่ 146.56 เยนในวันพฤหัสบดี
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0873 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0871 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.0856 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี
ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดขยับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยดัชนี S&P 500 ได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มเติบโต แต่ได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มปลอดภัยและหุ้นกลุ่มพลังงาน ในขณะที่นักลงทุนรอฟังถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมที่แจ็คสัน โฮลในวันศุกร์ที่ 25 ส.ค. และรอดูผลประกอบการของบริษัทเอ็นวิเดีย ซึ่งเป็นบริษัทผู้ออกแบบชิปที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธที่ 23 ส.ค. ทางด้านดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดตลาดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นวอลมาร์ทซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกขนาดยักษ์ที่พุ่งขึ้น 1.44% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.07% สู่ 34,500.66
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.01% สู่ 4,369.71 ในวันศุกร์ และดิ่งลงมาแล้ว 4.6% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.2% สู่ 13,290.78 และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 2.6% จากสัปดาห์ที่แล้ว โดยดัชนี Nasdaq รูดลงมาแล้ว 7.2% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนธ.ค. 2022
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากสัญญาณบ่งชี้ว่า การผลิตน้ำมันในสหรัฐชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี ทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่มีต่อแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกท่ามกลางวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุน หลังจากบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์สรายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซที่ใช้งานในสหรัฐดิ่งลง 12 แท่น สู 642 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2022 และถือเป็นการปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน โดยการดิ่งลงของปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐอาจจะส่งผลให้อุปทานน้ำมันตึงตัวมากยิ่งขึ้นในช่วงต่อไปในปีนี้ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ย.พุ่งขึ้น 86 เซนต์ หรือ 1.1% มาปิดตลาดที่ 81.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 68 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 84.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่เบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงราว 2% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 0.70 ดอลลาร์ สู่ 1,888.19 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 1.31% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งกระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ต่อไปจนถึงปี 2024 และนักลงทุนรอดูสัญญาณบ่งชี้ถึงทิศทางนโยบายการเงินจากการประชุมธนาคารกลางที่แจ็คสัน โฮลในวันที่ 24-26 ส.ค. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--25 ก.ค.--รอยเตอร์
นักลงทุนบางรายหันไปซื้อหุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลสูงในสหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว หลังจากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วรวมกัน 5.00% นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 เป็นต้นมา ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวที่สุดในรอบหลายสิบปี และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 2 ปีให้พุ่งขึ้นแตะ 5.120% ในวันที่ 6 ก.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2007 หรือจุดสูงสุดในรอบ 16 ปี โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีอยู่ที่ 4.856% ในปัจจุบัน ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ในช่วงที่ผ่านมาเคยส่งผลลบต่อหุ้นบริษัทหลายแห่งที่จ่ายเงินปันผลสูง ในขณะที่นักลงทุนมักจะซื้อหุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลสูงในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ต่ำกว่าระดับปัจจุบันเป็นอย่างมาก
นักลงทุนหลายรายคาดว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. แต่เฟดอาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกในช่วงหลังจากนั้น และการคาดการณ์ดังกล่าวก็ส่งผลให้หุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลสูงมีความน่าดึงดูดอีกครั้ง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอาจจะร่วงลงในอนาคต ทั้งนี้ นายเจอร์เรียน ทิมเมอร์ จากบริษัทฟิเดลิที อินเวสท์เมนท์กล่าวว่า "อัตราผลตอบแทนที่ 5% ที่คุณได้จากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดูเหมือนจะเป็นเพียงเหตุการณ์ชั่วคราว และการร่วงลงของบอนด์ยิลด์ก็จะช่วยลดแรงกดดันที่มีต่อหุ้นบริษัทที่แข่งขันกับบอนด์ยิลด์" โดยในตอนนี้นายทิมเมอร์มุ่งความสนใจไปยังหุ้นกลุ่มการเงินและหุ้นกลุ่มพลังงาน เนื่องจากเขาคาดว่าหุ้นสองกลุ่มนี้จะได้รับประโยชน์จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย
กระแสความสนใจที่เริ่มเพิ่มสูงขึ้นในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงปรากฏให้เห็นในยอดเงินลงทุนที่ไหลเข้าสู่กองทุน ProShares S&P 500 Dividend Aristocrats ETF ซึ่งเป็นกองทุนขนาด 1.17 หมื่นล้านดอลลาร์ที่ลงทุนในบริษัทที่ปรับเพิ่มเงินปันผลทุกปีในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา โดยกองทุนแห่งนี้มียอดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิ 33 ล้านดอลลาร์ในช่วง 2 สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ก.ค. ซึ่งถือเป็นยอดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. โดยกองทุนแห่งนี้พุ่งขึ้นมาแล้วราว 7.5% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐทะยานขึ้นมาแล้วเกือบ 19% จากช่วงต้นปีนี้
ผลสำรวจของแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบัล รีเสิร์ชระบุว่า ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกราว 44% คาดการณ์ในตอนนี้ว่า หุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงจะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าหุ้นที่จ่ายเงินปันผลต่ำ โดยสัดส่วน 44% นี้ปรับขึ้น 9% จากเดือนก่อน
ข้อมูลจากบริษัทเอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินดิเซสระบุว่า บริษัทสหรัฐปรับเพิ่มการจ่ายเงินปันผลเฉลี่ย 9.1% นับตั้งแต่ต้นปี 2023 หลังจากปรับเพิ่มเงินปันผลเฉลี่ย 11.8% ในช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว โดยมีบริษัทสหรัฐ 14 แห่งที่ได้ระงับการจ่ายเงินปันผลหรือปรับลดเงินปันผลลงนับตั้งแต่ต้นปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจากบริษัทเพียง 4 แห่งที่ทำแบบเดียวกันในปีก่อน ทั้งนี้ นายโฮเวิร์ด ซิลเวอร์แบลท นักวิเคราะห์ดัชนีของบริษัทเอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินดิเซสระบุว่า นักลงทุนต้องการซื้อหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงในช่วงนี้ เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าบอนด์ยิลด์อาจจะร่วงลง แต่ตลาดหุ้นอาจจะยังคงปรับขึ้นต่อไป--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--16 มิ.ย.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพฤหัสบดี ในขณะที่สหรัฐรายงานตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวในวันพฤหัสบดี และตัวเลขดังกล่าวช่วยกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดค้าปลีกในสหรัฐปรับขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ค. หลังจากปรับขึ้น 0.4% ในเดือนเม.ย. และสวนทางกับโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า ยอดค้าปลีกอาจปรับลดลง 0.1% ในเดือนพ.ค. ส่วนกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกทรงตัวที่ 262,0000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 มิ.ย. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 249,000 ราย นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังรายงานอีกด้วยว่า ราคานำเข้าในสหรัฐดิ่งลง 5.9% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2020 หรือครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 3 ปี หลังจากรูดลง 4.9% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายปี โดยราคานำเข้าดิ่งลงมาแล้ว 4 เดือนติดต่อกัน และรายงานตัวเลขนี้ช่วยลดความกังวลเรื่องภาวะเงินเฟ้อ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดทะยานขึ้น 1.26% สู่ 34,408.06, ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 1.22% สู่ 4,425.84 ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดในรอบ 14 เดือน และดัชนีพุ่งขึ้นมาแล้ว 15% จากช่วงต้นปี 2023 ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 1.15% สู่ 13,782.82 ในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดในรอบ 14 เดือน และดัชนี Nasdaq ทะยานขึ้นมาแล้วราว 32% จากช่วงต้นปี 2023 โดยดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้นมาแล้วเกือบ 4% จากช่วงต้นสัปดาห์นี้ด้วย ในขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงหนุนในปีนี้จากสัญญาณบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ, จากผลประกอบการภาคเอกชนที่ดีเกินคาด และจากการคาดการณ์ที่ว่า อัตราดอกเบี้ยสหรัฐใกล้จะแตะจุดสูงสุดของวัฏจักรแล้ว ทั้งนี้ หุ้นทั้ง 11 กลุ่มในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนบวกในวันพฤหัสบดี โดยดัชนีหุ้นกลุ่มการแพทย์พุ่งขึ้น 1.55% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารทะยานขึ้น 1.54% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากเป็นอันดับสอง
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาในช่วงนี้บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง และช่วยลดความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต โดยปัจจัยดังกล่าวมีส่วนกดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐให้ร่วงลงด้วย โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับลงจาก 3.798% ในช่วงท้ายวันพุธ สู่ 3.728% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ก็ส่งผลบวกต่อหุ้นเติบโต ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ หุ้นแอปเปิลพุ่งขึ้น 1.1% ในวันพฤหัสบดี ส่วนหุ้นไมโครซอฟท์ทะยานขึ้น 3.2% สู่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ โดยทำลายสถิติระดับปิดสูงสุดเดิมที่เคยทำไว้ในเดือนพ.ย. 2021
เทรดเดอร์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาสราว 33.2% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. และมีโอกาสราว 66.8% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. นอกจากนี้ เทรดเดอร์ยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงก่อนสิ้นเดือนธ.ค.ปีนี้
หุ้นโครเกอร์ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกดิ่งลง 2.7% หลังจากโครเกอร์เปิดเผยรายได้ไตรมาสแรกที่ต่ำเกินคาด ทั้งนี้ หุ้นบริษัทจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี ซึ่งรวมถึงหุ้นอาลีบาบา กรุ๊ปที่ทะยานขึ้น 3.2% และหุ้นเจดีดอทคอมที่พุ่งขึ้น 3.4% หลังจากธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นโยบายระยะกลางเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือนในวันพฤหัสบดี โดยธนาคารกลางจีนลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลางอายุ 1 ปี (MLF) วงเงิน 2.37 แสนล้านหยวน(3.309 หมื่นล้านดอลลาร์) ให้แก่สถาบันการเงินบางแห่งลง 0.10% สู่ระดับ 2.65% ซึ่งสอดคล้องกับที่คาดไว้--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--3 มี.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับขึ้นในวันพฤหัสบดี ในขณะที่ถ้อยแถลงของนายราฟาเอล บอสติก ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตาช่วยกดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐให้ลดช่วงบวกลงจากจุดสูงสุดของวัน โดยนายบอสติกกล่าวสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% และเขามองว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย "อย่างเชื่องช้าและสม่ำเสมอ" ถือเป็นหนทางที่เหมาะสมสำหรับเฟด ในขณะที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมาอาจจะเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐในฤดูใบไม้ผลิปีนี้ อย่างไรก็ดี เขากล่าวว่า เฟดพร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อไม่ชะลอตัวลง และเขายังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่า ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งเกินคาดในช่วงนี้จะส่งผลกระทบต่อนโยบายของเฟดอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในผู้ว่าการเฟดกล่าวในวันพฤหัสบดีว่า ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ "ร้อนแรง" ในช่วงนี้ อาจจะส่งผลให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับที่สูงกว่า 5.1-5.4% ซึ่งเป็นระดับที่ผู้กำหนดนโยบายส่วนใหญ่ของเฟดเคยคาดการณ์ไว้ในเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 1.05% สู่ 33,003.57, ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.76% สู่ 3,981.35 และดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 0.73% สู่ 11,462.98 ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ดิ่งลงผ่านค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วันในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงผ่านแนวรับสำคัญดังกล่าวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. ก่อนจะดีดกลับขึ้นมาได้ในเวลาต่อมา โดยค่าเฉลี่ยดังกล่าวอยู่ที่ระดับราว 3,940 ในวันพฤหัสบดี
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกปรับลดลง 2,000 ราย สู่ 190,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 ก.พ. ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 195,000 ราย และถือเป็นสัปดาห์ที่ 7 ติดต่อกันที่ยอดผู้ขอรับสวัสดิการอยู่ต่ำกว่า 200,000 ราย นอกจากนี้ ทางกระทรวงแรงงานยังรายงานอีกด้วยว่า ต้นทุนแรงงานต่อหนึ่งหน่วยผลผลิตในสหรัฐ ปรับขึ้น 3.2% ในไตรมาส 4/2022 เมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) สำหรับตัวเลขที่ผ่านการทบทวนแล้ว โดยปรับขึ้นจาก +1.1% ในตัวเลขขั้นต้นที่เคยรายงานไว้ในเดือนก.พ. หลังจากต้นทุนแรงงานทะยานขึ้น 6.9% ในไตรมาส 3/2022
หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานตัวเลขดังกล่าว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีก็พุ่งขึ้นแตะ 4.091% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 4 เดือน ก่อนจะลดช่วงบวกลงสู่ 4.073% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยปรับขึ้นจาก 3.996% ในช่วงท้ายวันพุธ ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 2 ปี ซึ่งมักจะปรับตัวตามการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย ทะยานขึ้นแตะ 4.944% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 15 ปี ก่อนจะลดช่วงบวกลงสู่ 4.904% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้า fed funds คาดการณ์ว่า มีโอกาสราว 50% ที่เฟดจะปรับขึ้นกรอบเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ 5.50-5.75% ก่อนสิ้นเดือนก.ย. จากระดับ 4.50-4.75% ในปัจจุบัน
หุ้นเซลส์ฟอร์ซ ซึ่งเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์พุ่งขึ้น 11.50% ในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2020 หลังจากเซลส์ฟอร์ซคาดการณ์รายได้ไตรมาสแรกที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และปรับเพิ่มขนาดการซื้อคืนหุ้นขึ้นเป็นสองเท่า สู่ 2.0 หมื่นล้านดอลลาร์--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--28 พ.ย.--รอยเตอร์
ดัชนี Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันศุกร์ โดยได้รับแรงกดดันจากหุ้นบริษัทแอปเปิล อิงค์ที่ดิ่งลง 2.0% ในขณะที่นักลงทุนจับตาดูข่าวเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 ในจีน และนักลงทุนรอดูยอดค้าปลีกของสหรัฐในวัน Black Friday ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 25 พ.ย.ในปีนี้ โดยบริษัทค้าปลีกหลายแห่งของสหรัฐมักจะเริ่มการปรับลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ในวัน Black Friday ทั้งนี้ หุ้นแอปเปิลดิ่งลงในวันศุกร์ โดยได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่า โรงงานของบริษัทฟ็อกซ์คอนน์ในจีนจะปรับลดการจัดส่งโทรศัพท์ไอโฟน เนื่องจากการผลิตที่โรงงานดังกล่าวได้รับผลกระทบจากการประท้วงของคนงานท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 โดยคนงานหลายพันคนได้ลาออกจากโรงงานไปแล้ว
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 0.45% สู่ 34,347.03, ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.03% สู่ 4,026.12; และดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.52% สู่ 11,226.36 ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหุ้นสำคัญทั้ง 3 ดัชนีต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวก โดยเฉพาะดัชนีดาวโจนส์ที่ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 1.78% จากสัปดาห์ที่แล้ว ทางด้านดัชนี S&P 500 ทะยานขึ้นมาแล้วกว่า 15% จากจุดต่ำสุดของช่วงต้นเดือนต.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากฤดูการรายงานผลประกอบการที่สดใส และจากความคาดหวังที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลอความเร็วในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นักลงทุนรอดูยอดค้าปลีกในวัน Black Friday ในขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงและเศรษฐกิจสหรัฐชะลอการเติบโต อย่างไรก็ดี มีประชาชนจำนวนไม่มากนักออกมารอซื้อสินค้าในวันศุกร์ท่ามกลางสภาพอากาศที่ไม่ดี ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้ววัน Black Friday มักจะเป็นวันที่มีการจับจ่ายซื้อสินค้ามากที่สุดในแต่ละปี โดยหุ้นกลุ่มค้าปลีกของสหรัฐปรับตัวอย่างไร้ทิศทางในวันศุกร์ ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัททาร์เก็ต, เมซีส์ และเบสท์ บาย ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มค้าปลีกของสหรัฐถือเป็นมาตรวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อในช่วงนี้ โดยดัชนีหุ้นกลุ่มค้าปลีกของสหรัฐรูดลงมาแล้วกว่า 30% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ดิ่งลงราว 15% จากช่วงต้นปีนี้ ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยของสหรัฐขยับขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพ.ย. นักลงทุนจะรอดูยอดค้าปลีกของสหรัฐ, จะจับตาดูการระบาดของโรคโควิด-19 ในจีน และจะจับตาดูสัญญาณบ่งชี้ถึงแนวโน้มในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า มีโอกาส 71.1% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ 4.25-4.50% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 13-14 ธ.ค. และนักวิเคราะห์คาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจจะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในเดือนมิ.ย. 2023
หุ้นแอคทิวิชัน บลิซซาร์ด ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่วิดีโอเกมดิ่งลง 4.07% ในวันศุกร์ หลังจากมีข่าวว่า คณะกรรมการการค้าของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FTC) มีแนวโน้มที่จะยื่นดำเนินคดีต่อต้านการผูกขาด เพื่อขัดขวางบริษัทไมโครซอฟท์จากการเข้าเทคโอเวอร์แอคทิวิชันในข้อตกลงขนาด 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--24 พ.ย.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับขึ้นในวันพุธ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมกำหนดนโยบายประจำวันที่ 1-2 พ.ย. และรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้กำหนดนโยบายส่วนใหญ่ในเฟดมีความเห็นตรงกันว่า จะเป็นการเหมาะสมที่จะชะลอความเร็วในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ เฟดได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ 3.75-4.00% ในการประชุมวันที่ 1-2 พ.ย. ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.75% เป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกัน และรายงานการประชุมก็แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของเฟดมีความพึงพอใจที่พวกเขาสามารถยุติการเร่งความเร็วในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงแรก และเฟดอาจจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขนาดที่เล็กลง นอกจากนี้ รายงานการประชุมยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า เจ้าหน้าที่เฟดเริ่มหารือกันเรื่องความเสี่ยงที่เสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจอาจได้รับจากการคุมเข้มนโยบายการเงินอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ผู้กำหนดนโยบายยอมรับว่า แทบไม่มีความคืบหน้าอย่างเห็นได้ชัดในการแก้ไขปัญหาภาวะเงินเฟ้อ และยอมรับว่าเฟดจำเป็นจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 0.28% สู่ 34,194.06 ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย., ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.59% สู่ 4,027.26 และดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 0.99% สู่ 11,285.32 ทั้งนี้ วอลุ่มการซื้อขายอยู่ในระดับเบาบาง ก่อนที่ตลาดหุ้นสหรัฐจะปิดทำการในวันพฤหัสบดีเนื่องในวันขอบคุณพระเจ้าของสหรัฐ และตลาดหุ้นสหรัฐจะเปิดทำการเพียงครึ่งวันในวันศุกร์ที่ 25 พ.ย.
ตัวเลขเศรษฐกิจที่ไร้ทิศทางในสหรัฐส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงจาก 3.758% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 3.709% ในช่วงท้ายวันพุธ และปัจจัยนี้มีส่วนช่วยหนุนตลาดหุ้นให้ปรับขึ้นด้วย ทั้งนี้ บริษัทเอสแอนด์พี โกลบอลรายงานในวันพุธว่า กิจกรรมทางธุรกิจของสหรัฐหดตัวลงในเดือนพ.ย.เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับผลผลิตโดยรวมของสหรัฐดิ่งลงจาก 48.2 ในเดือนต.ค. สู่ 46.3 ในเดือนพ.ย. ส่วนกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพุธว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐพุ่งขึ้น 17,000 ราย สู่ 240,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 พ.ย. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 225,000 ราย ทางด้านมหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐอยู่ที่ 56.8 ในช่วงปลายเดือนพ.ย. โดยปรับขึ้นจากระดับ 54.7 ในช่วงต้นเดือนพ.ย. แต่ดิ่งลงจาก 59.9 ในเดือนต.ค. นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐยังรายงานอีกด้วยว่า ยอดขายบ้านใหม่ในสหรัฐดีดขึ้น 7.5% สู่ 632,000 ยูนิตต่อปีในเดือนต.ค.
หุ้นบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐปรับขึ้นในวันพุธ โดยหุ้นอะเมซอนดอทคอมพุ่งขึ้น 1.00% และหุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์บวกขึ้น 0.72% ทางด้านหุ้นเทสลาซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทะยานขึ้น 7.82% หลังจากซิตี้กรุ๊ปปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นเทสลาสู่ "neutral" จาก "sell"
หุ้นเดียร์ แอนด์ โค ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการเกษตรพุ่งขึ้น 5.03% หลังจากทางบริษัทเปิดเผยผลกำไรรายไตรมาสที่สูงเกินคาด ทั้งนี้ หุ้นนอร์ดสตรอมซึ่งเป็นผู้ค้าปลีกสินค้าแฟชั่นดิ่งลง 4.24% หลังจากนอร์ดสตรอมปรับลดตัวเลขคาดการณ์ผลกำไร โดยเป็นผลจากการปรับลดราคาสินค้าครั้งใหญ่เพื่อพยายามดึงดูดลูกค้า--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน