ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
นิวยอร์ค--28 ส.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า ตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะแกว่งตัวผันผวนในเดือนก.ย.ขณะเผชิญบททดสอบจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ, การจัดประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 19-20 ก.ย. และความกังวลที่ว่าหน่วยงานราชการสหรัฐอาจจะปิดทำการ หรือ "ชัตดาวน์" นอกจากนี้ สถิติข้อมูลจากในอดีตก็บ่งชี้ว่า เดือนก.ย.ถือเป็นเดือนที่ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงโดยเฉลี่ยมากที่สุดในแต่ละปีด้วย โดยดัชนี S&P 500 ร่วงลงเฉลี่ย 0.7% ในเดือนก.ย.ของแต่ละปีนับตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 แกว่งตัวผันผวนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยดัชนีพุ่งขึ้นมาแล้วเกือบ 15% จากช่วงต้นปีนี้ แต่ดัชนีดิ่งลงมาแล้วกว่า 4% จากจุดสูงสุดของวันที่ 31 ก.ค. ในขณะที่ตลาดหุ้นได้รับแรงกดดันจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจจีน และจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ เพราะว่าการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลให้หุ้นมีความน่าดึงดูดน้อยลง
กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนส.ค.ในวันศุกร์ที่ 1 ก.ย. โดยนายแจ็ค จานาซีวิคซ์ ผู้จัดการพอร์ตลงทุนของบริษัทแนติซิส อินเวสท์เมนท์ แมเนเจอร์ส โซลูชันส์กล่าวว่า ถ้าหากสหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานเดือนส.ค.ที่แข็งแกร่งเกินคาด ตัวเลขดังกล่าวก็จะกระตุ้นความกังวลเรื่องภาวะเงินเฟ้อ แต่ถ้าหากสหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานที่อ่อนแอเกินคาดเป็นอย่างมาก ตัวเลขดังกล่าวก็จะกระตุ้นความกังวลที่ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงที่ผ่านมาอาจจะเริ่มสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ ทั้งนี้ นักลงทุนจะรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐที่จะออกมาในวันที่ 13 ก.ย.ด้วย และจะรอดูผลการประชุมเฟดในวันที่ 20 ก.ย.ด้วยเช่นกัน ในขณะที่นักลงทุนคาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 20 ก.ย. แต่เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งก่อนสิ้นปีนี้
นายแซนดี วิลเลร์ ผู้จัดการพอร์ตลงทุนของบริษัทวิลเลร์ แอนด์ โคกล่าวว่า ช่วงนี้ดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาสำหรับการเข้าซื้อหุ้นปลอดภัย "ถ้าหากคุณคาดว่าตลาดหุ้นอาจจะแกว่งตัวผันผวนมากกว่าปกติในเดือนก.ย." โดยเขาได้เข้าซื้อหุ้นกลุ่มการแพทย์ ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทไฟเซอร์และบริษัทแอบบอทท์ แลบอราทอรีส์ในช่วงนี้ ทั้งนี้ นักลงทุนจะจับตาดูสถานการณ์เกี่ยวกับสินเชื่อเพื่อการศึกษาขนาด 8.2 หมื่นล้านดอลลาร์ที่ลูกหนี้จะเริ่มต้นชำระคืนให้แก่รัฐบาลสหรัฐในเดือนต.ค.ด้วย โดยการชำระหนี้ดังกล่าวอาจจะส่งผลลบต่อปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในช่วงปลายปีนี้
นักลงทุนจับตาดูความขัดแย้งเรื่องการปรับลดงบประมาณรายจ่ายระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครีพับลิกันสายกลางกับสายที่มีแนวคิดแข็งกร้าวด้วย เพราะความขัดแย้งดังกล่าวอาจจะส่งผลให้มีการชัตดาวน์หน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐเป็นรอบที่ 4 ภายในระยะเวลา 10 ปี ถ้าหากสมาชิกสภาคองเกรสไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ก่อนวันที่ 30 ก.ย. ซึ่งเป็นวันที่งบประมาณในส่วนนี้จะหมดลงพร้อมกับการสิ้นสุดของปีงบประมาณปัจจุบัน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ของธนาคารโกลด์แมน แซคส์ประเมินในสัปดาห์ที่แล้วว่า การชัตดาวน์หน่วยงานรัฐบาลในแต่ละสัปดาห์ส่งผลลบโดยตรงราว 0.15% ต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐ
นักลงทุนบางรายคาดว่า ตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะปรับขึ้นต่อไป โดยได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจสหรัฐที่รักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี และจากกระแสความนิยมในปัญญาประดิษฐ์ (AI) หลังจากบริษัทเอ็นวิเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายงานผลกำไรที่แข็งแกร่งในวันพุธที่ 23 ส.ค. และเอ็นวิเดียประกาศแผนซื้อคืนหุ้นขนาด 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นในวันอังคาร และเข้าใกล้จุดสูงสุดรอบ 2 เดือนที่ทำไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่เทรดเดอร์รอดูการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะจัดขึ้นที่แจ็คสัน โฮลในรัฐไวโอมิงในวันที่ 26-24 ส.ค. โดยมีการคาดการณ์กันว่าสกุลเงินต่าง ๆ จะเคลื่อนไหวเพียงในวงจำกัด ก่อนที่นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดจะกล่าวแถลงในงานประชุมที่แจ็คสัน โฮลในวันศุกร์นี้ ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์เพิ่งพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 เดือนในสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจจีน และจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.59 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 103.32 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 103.68 ในวันศุกร์ที่ 18 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 145.88 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 146.17 เยน หลังจากเพิ่งพุ่งขึ้นแตะ 146.565 เยนในวันที่ 17 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. 2022 หรือจุดสูงสุดรอบ 9 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0844 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยปรับลงจาก 1.0891 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ดัชนีดาวโจนส์และ S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนยังคงกังวลว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน และดัชนีได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มธนาคารด้วย อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ปิดตลาดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร ทั้งนี้ เอสแอนด์พี โกลบอลปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ และแก้ไขแนวโน้มของธนาคารสหรัฐหลายแห่ง ตามหลังการดำเนินการแบบเดียวกันของมูดี้ส์ พร้อมเตือนว่า ความเสี่ยงในการจัดหาเงินทุน และความสามารถในการทำกำไรที่ลดลงอาจจะทดสอบความแข็งแกร่งด้านความน่าเชื่อถือของภาคธนาคาร โดยข่าวนี้มีส่วนกดดันให้ดัชนี KBW สำหรับหุ้นธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐดิ่งลง 2.7%, ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐรูดลง 2.4% และดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินของสหรัฐร่วงลง 0.9% ในวันอังคาร โดยหุ้นกลุ่มการเงินถือเป็นกลุ่มที่ถ่วงดัชนี S&P 500 ลงมากที่สุดในวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.51% สู่ 34,288.83
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.28% สู่ 4,387.55
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับขึ้น 0.06% สู่ 13,505.87
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับลงในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนยังคงมุ่งความสนใจไปยังการคาดการณ์ที่ว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจในจีนจะส่งผลลบต่ออุปสงค์น้ำมันในจีน ซึ่งถือเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังไม่ได้ตัดโอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปด้วย ทั้งนี้ สำนักข่าวของรัฐบาลอิรักรายงานว่า รัฐมนตรีน้ำมันของอิรักและตุรกีได้หารือกันเรื่องความสำคัญของการกลับมาจัดส่งน้ำมันอีกครั้ง หลังจากการซ่อมแซมท่อส่งน้ำมันเสร็จสิ้นลงแล้ว โดยข่าวนี้บ่งชี้ว่า อิรักอาจจะกลับมาส่งออกน้ำมัน 450,000 บาร์เรลต่อวันผ่านทางท่อส่งจากภาคเหนือของอิรักไปยังตุรกีได้อีกครั้ง หลังจากตุรกีระงับการส่งออกน้ำมันดังกล่าวนับตั้งแต่เดือนมี.ค. Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ย.ปรับลง 37 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 80.35 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่สัญญาเดือนก.ย.ครบกำหนดส่งมอบในช่วงปิดตลาดวันอังคาร ส่วนราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ปรับลง 48 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 79.64 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 43 เซนต์ หรือ 0.5% มาปิดตลาดที่ 84.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 3.53 ดอลลาร์ สู่ 1,897.47 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร แต่ยังคงเคลื่อนตัวอยู่ใกล้จุดต่ำสุดรอบ 5 เดือนที่ระดับ 1,883.70 ดอลลาร์ที่ทำไว้ในวันศุกร์ที่ 18 ส.ค. โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์และจากการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะจัดขึ้นที่แจ็คสัน โฮลในรัฐไวโอมิงในวันที่ 26-24 ส.ค. เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับลงจาก 4.342% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.328% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 4.366% ในช่วงเช้าวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2007 หรือจุดสูงสุดในรอบเกือบ 16 ปี โดยการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลลบต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทรงตัวในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบ 15 เดือน โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับภาวะเศรษฐกิจจีน และนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไป Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.45 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยขยับขึ้นจาก 103.40 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 เดือนที่ 103.68 ในระหว่างวัน และดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการแข็งค่าขึ้นราว 0.5% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 145.37 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 145.83 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 9 เดือนที่ 146.56 เยนในวันพฤหัสบดี
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0873 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0871 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.0856 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี
ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดขยับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยดัชนี S&P 500 ได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มเติบโต แต่ได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มปลอดภัยและหุ้นกลุ่มพลังงาน ในขณะที่นักลงทุนรอฟังถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมที่แจ็คสัน โฮลในวันศุกร์ที่ 25 ส.ค. และรอดูผลประกอบการของบริษัทเอ็นวิเดีย ซึ่งเป็นบริษัทผู้ออกแบบชิปที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธที่ 23 ส.ค. ทางด้านดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดตลาดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นวอลมาร์ทซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกขนาดยักษ์ที่พุ่งขึ้น 1.44% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.07% สู่ 34,500.66
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.01% สู่ 4,369.71 ในวันศุกร์ และดิ่งลงมาแล้ว 4.6% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.2% สู่ 13,290.78 และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 2.6% จากสัปดาห์ที่แล้ว โดยดัชนี Nasdaq รูดลงมาแล้ว 7.2% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนธ.ค. 2022
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากสัญญาณบ่งชี้ว่า การผลิตน้ำมันในสหรัฐชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี ทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่มีต่อแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกท่ามกลางวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุน หลังจากบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์สรายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซที่ใช้งานในสหรัฐดิ่งลง 12 แท่น สู 642 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2022 และถือเป็นการปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน โดยการดิ่งลงของปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐอาจจะส่งผลให้อุปทานน้ำมันตึงตัวมากยิ่งขึ้นในช่วงต่อไปในปีนี้ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ย.พุ่งขึ้น 86 เซนต์ หรือ 1.1% มาปิดตลาดที่ 81.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 68 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 84.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่เบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงราว 2% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 0.70 ดอลลาร์ สู่ 1,888.19 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 1.31% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งกระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ต่อไปจนถึงปี 2024 และนักลงทุนรอดูสัญญาณบ่งชี้ถึงทิศทางนโยบายการเงินจากการประชุมธนาคารกลางที่แจ็คสัน โฮลในวันที่ 24-26 ส.ค. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--2 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ และรอดูผลประกอบการที่บริษัทสำคัญจะรายงานออกมาในช่วงต่อไปในสัปดาห์นี้ โดยก่อนหน้านี้ตลาดหุ้นเพิ่งพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนก.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการภาคเอกชนที่ดีเกินคาด และจากความคาดหวังที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงมาด้วย ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นแคเทอร์พิลลาร์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้างที่พุ่งขึ้น 8.9% หลังจากแคเทอร์พิลลาร์รายงานว่า ผลกำไรปรับขึ้นในไตรมาสสอง แต่แคเทอร์พิลลาร์เตือนว่าอัตราผลกำไรและยอดขายอาจปรับลดลงในไตรมาสปัจจุบัน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.2% สู่ 35,630.68, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.27% สู่ 4,576.73 ในวันอังคาร หลังจากเพิ่งพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 16 เดือนในวันจันทร์ และอยู่ห่างจากสถิติระดับปิดสูงสุดที่ 4,796.56 ที่เคยทำไว้ในวันที่ 3 ม.ค. 2022 ในระดับไม่ถึง 5% ทางด้านดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.43% สู่ 14,283.91 ในวันอังคาร ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า ผลกำไรของบริษัทสหรัฐอาจปรับลดลงเพียง 5.9% ในไตรมาสสองเมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เคยคาดการณ์เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อนว่า ผลกำไรอาจดิ่งลง 7.9% ในไตรมาสสอง
หุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มเติบโตดิ่งลงในวันอังคาร ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับขึ้นจาก 3.957% ในวันจันทร์ สู่ 4.047% ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยหุ้นบริษัทขนาดยักษ์เหล่านี้มักจะมีมูลค่าลดลงเมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น โดยหุ้นเทสลาซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าดิ่งลง 2.38% ในวันอังคาร ส่วนหุ้นอะเมซอนดอทคอมรูดลง 1.49%
หุ้นอูเบอร์ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการเรียกรถดิ่งลง 5.7% หลังจากอูเบอร์เปิดเผยรายได้ไตรมาสสองที่ต่ำเกินคาด ส่วนหุ้นไฟเซอร์ดิ่งลง 1.25% หลังจากไฟเซอร์รายงานว่ารายได้รายไตรมาสอยู่ต่ำเกินคาด โดยเป็นผลจากการดิ่งลงของยอดขายสินค้าเกี่ยวกับโรคโควิด-19
สถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐ (ISM) รายงานในวันอังคารว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐปรับขึ้นสู่ 46.4 ในเดือนก.ค. จาก 46.0 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2020 โดยรายงานนี้บ่งชี้ว่า ภาคโรงงานของสหรัฐอาจเข้าสู่เสถียรภาพที่ระดับต่ำ ในขณะที่ยอดสั่งซื้อใหม่ปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยดัชนียอดสั่งซื้อใหม่ในภาคการผลิตสหรัฐพุ่งขึ้นจาก 45.6 ในเดือนมิ.ย. สู่ 47.3 ในเดือนก.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2022 อย่างไรก็ดี ดัชนีการจ้างงานในภาคโรงงานสหรัฐดิ่งลงจาก 48.1 ในเดือนมิ.ย. สู่ 44.4 ในเดือนก.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2020 หรือจุดต่ำสุดรอบ 3 ปี และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าการปลดคนงานออกกำลังทวีความเร็วขึ้น--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--25 ก.ค.--รอยเตอร์
นักลงทุนบางรายหันไปซื้อหุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลสูงในสหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว หลังจากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วรวมกัน 5.00% นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 เป็นต้นมา ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวที่สุดในรอบหลายสิบปี และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 2 ปีให้พุ่งขึ้นแตะ 5.120% ในวันที่ 6 ก.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2007 หรือจุดสูงสุดในรอบ 16 ปี โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีอยู่ที่ 4.856% ในปัจจุบัน ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ในช่วงที่ผ่านมาเคยส่งผลลบต่อหุ้นบริษัทหลายแห่งที่จ่ายเงินปันผลสูง ในขณะที่นักลงทุนมักจะซื้อหุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลสูงในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ต่ำกว่าระดับปัจจุบันเป็นอย่างมาก
นักลงทุนหลายรายคาดว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. แต่เฟดอาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกในช่วงหลังจากนั้น และการคาดการณ์ดังกล่าวก็ส่งผลให้หุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลสูงมีความน่าดึงดูดอีกครั้ง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอาจจะร่วงลงในอนาคต ทั้งนี้ นายเจอร์เรียน ทิมเมอร์ จากบริษัทฟิเดลิที อินเวสท์เมนท์กล่าวว่า "อัตราผลตอบแทนที่ 5% ที่คุณได้จากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดูเหมือนจะเป็นเพียงเหตุการณ์ชั่วคราว และการร่วงลงของบอนด์ยิลด์ก็จะช่วยลดแรงกดดันที่มีต่อหุ้นบริษัทที่แข่งขันกับบอนด์ยิลด์" โดยในตอนนี้นายทิมเมอร์มุ่งความสนใจไปยังหุ้นกลุ่มการเงินและหุ้นกลุ่มพลังงาน เนื่องจากเขาคาดว่าหุ้นสองกลุ่มนี้จะได้รับประโยชน์จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย
กระแสความสนใจที่เริ่มเพิ่มสูงขึ้นในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงปรากฏให้เห็นในยอดเงินลงทุนที่ไหลเข้าสู่กองทุน ProShares S&P 500 Dividend Aristocrats ETF ซึ่งเป็นกองทุนขนาด 1.17 หมื่นล้านดอลลาร์ที่ลงทุนในบริษัทที่ปรับเพิ่มเงินปันผลทุกปีในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา โดยกองทุนแห่งนี้มียอดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิ 33 ล้านดอลลาร์ในช่วง 2 สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ก.ค. ซึ่งถือเป็นยอดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. โดยกองทุนแห่งนี้พุ่งขึ้นมาแล้วราว 7.5% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐทะยานขึ้นมาแล้วเกือบ 19% จากช่วงต้นปีนี้
ผลสำรวจของแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบัล รีเสิร์ชระบุว่า ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกราว 44% คาดการณ์ในตอนนี้ว่า หุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงจะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าหุ้นที่จ่ายเงินปันผลต่ำ โดยสัดส่วน 44% นี้ปรับขึ้น 9% จากเดือนก่อน
ข้อมูลจากบริษัทเอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินดิเซสระบุว่า บริษัทสหรัฐปรับเพิ่มการจ่ายเงินปันผลเฉลี่ย 9.1% นับตั้งแต่ต้นปี 2023 หลังจากปรับเพิ่มเงินปันผลเฉลี่ย 11.8% ในช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว โดยมีบริษัทสหรัฐ 14 แห่งที่ได้ระงับการจ่ายเงินปันผลหรือปรับลดเงินปันผลลงนับตั้งแต่ต้นปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจากบริษัทเพียง 4 แห่งที่ทำแบบเดียวกันในปีก่อน ทั้งนี้ นายโฮเวิร์ด ซิลเวอร์แบลท นักวิเคราะห์ดัชนีของบริษัทเอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินดิเซสระบุว่า นักลงทุนต้องการซื้อหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงในช่วงนี้ เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าบอนด์ยิลด์อาจจะร่วงลง แต่ตลาดหุ้นอาจจะยังคงปรับขึ้นต่อไป--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--27 มิ.ย.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากเกิดเหตุการณ์กลุ่มทหารรับจ้างแวกเนอร์ที่ติดอาวุธหนักและนำโดยนายเยฟเกนี พรีโกซิน พยายามจะก่อกบฏในรัสเซียในช่วงสุดสัปดาห์ ก่อนจะยกเลิกปฏิบัติการดังกล่าวภายใต้ข้อตกลง โดยเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนตั้งคำถามต่ออนาคตของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย และนักลงทุนต้องการจะรอดูผลลัพธ์จากเหตุการณ์ดังกล่าวในช่วงนี้ ทางด้านปธน.ปูตินได้กล่าวในวันจันทร์ว่า เขาขอบคุณผู้บัญชาการทหารรับจ้างและกลุ่มทหารรับจ้างที่ล้มเลิกการก่อกบฏเพื่อจะได้หลีกเลี่ยงการนองเลือด ในขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐระบุว่า สถานการณ์ในรัสเซียยังคงไม่หยุดนิ่ง ทั้งนี้ นายพรีโกซินกล่าวในวันจันทร์ว่า เขาไม่เคยตั้งใจที่จะโค่นล้มรัฐบาลรัสเซีย แต่เขาไม่ได้เปิดเผยสถานที่อยู่ของเขาในปัจจุบัน และไม่ได้เปิดเผยข้อตกลงในการยกเลิกการก่อกบฏ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับลง 0.04% สู่ 33,714.71, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.45% สู่ 4,328.82 และดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 1.16% สู่ 13,335.78 ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานพุ่งขึ้น 2.2% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันจันทร์ ในขณะที่ราคาน้ำมันปรับขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลที่ว่า ภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมืองในรัสเซียอาจจะส่งผลให้เกิดการขาดตอนของอุปทานน้ำมัน ทางด้านหุ้นเติบโตดิ่งลงในวันจันทร์ โดยหุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊กดิ่งลง 3.6%, หุ้นแอลฟาเบทรูดลง 3.3% หลังจากธนาคารยูบีเอสปรับลดอันดับความน่าลงทุนของหุ้นแอลฟาเบทลงสู่ "neutral" และหุ้นเทสลาดิ่งลง 6.1% หลังจากโกลด์แมน แซคส์ปรับลดอันดับความน่าลงทุนของหุ้นเทสลาลงสู่ "neutral"
ตลาดหุ้นได้รับผลกระทบจากการเทขายทำกำไรหุ้นเติบโตในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของไตรมาสสอง หลังจากหุ้นเติบโตพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงต้นปีนี้ โดยนายคริส แซคคาเรลลี หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทอินดิเพนเดนท์ แอดไวเซอร์ อัลไลอันซ์กล่าวว่า นักลงทุนหันมาสำรวจหุ้นที่เคยปรับตัวอ่อนแอในช่วงต้นปีนี้ ซึ่งรวมถึงหุ้นคุณค่าและหุ้นบริษัทขนาดเล็ก ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวในสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกน และดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นิยมใช้ และนักลงทุนรอฟังถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดในสัปดาห์นี้ด้วย หลังจากเขาส่งสัญญาณในสัปดาห์ที่แล้วว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป และถ้อยแถลงของเขามีส่วนกดดันตลาดหุ้นสหรัฐให้ร่วงลงในสัปดาห์ที่แล้ว
เทรดเดอร์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 26.1% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. และมีโอกาส 73.9% ที่เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. โดยเทรดเดอร์คาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกในช่วงหลังจากนั้น ถึงแม้ผู้กำหนดนโยบายส่วนใหญ่ของเฟดคาดว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับอย่างน้อย 5.50-5.75% ก่อนสิ้นปีนี้
หุ้นไฟเซอร์ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยาดิ่งลง 3.7% หลังจากไฟเซอร์ประกาศยุติการพัฒนายารักษาโรคเบาหวานและโรคอ้วนตัวหนึ่ง ทั้งนี้ หุ้นลูซิด กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทะยานขึ้น 1.5% หลังจากลูซิดทำข้อตกลงกับบริษัทแอสตัน มาร์ตินของอังกฤษ ซึ่งจะส่งผลให้ลูซิดได้ถือหุ้น 3.7% ในแอสตัน มาร์ติน--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--20 เม.ย.--รอยเตอร์
ดัชนี S&P 500 และดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดขยับลงเล็กน้อยในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับผลประกอบการของบริษัทสหรัฐที่ไร้ทิศทางชัดเจน ซึ่งรวมถึงผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทเทคโนโลยีทางการแพทย์ และการดิ่งลงของหุ้นบริษัทเน็ตฟลิกซ์ ทั้งนี้ หุ้นเน็ตฟลิกซ์รูดลง 3.2% หลังจากเน็ตฟลิกซ์คาดการณ์แนวโน้มที่อ่อนแอเกินคาด โดยเน็ตฟลิกซ์คาดว่ารายได้ในไตรมาส 2 จะอยู่ที่ 8.242 พันล้านดอลลาร์ และกำไรต่อหุ้นปรับลดจะอยู่ที่ 2.86 ดอลลาร์ในไตรมาส 2 แต่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า รายได้ของเน็ตฟลิกซ์จะอยู่ที่ 8.476 พันล้านดอลลาร์ และกำไรต่อหุ้นปรับลดจะอยู่ที่ 3.05 ดอลลาร์ในไตรมาส 2 ทางด้านหุ้นดิสนีย์ซึ่งเป็นคู่แข่งของเน็ตฟลิกซ์ในธุรกิจสตรีมมิงดิ่งลง 2.2% ในวันพุธ และมีส่วนกดดันดัชนีดาวโจนส์ให้ปรับลง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.23% สู่ 33,897.01, ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.01% สู่ 4,154.52; และดัชนี Nasdaq ปิดขยับขึ้น 0.03% สู่ 12,157.23 ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคบวกขึ้น 0.8% ในวันพุธ และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ทางด้านดัชนีความผันผวน CBOE หรือดัชนี VIX ที่ใช้วัดระดับความกังวลในตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2021 ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ
ดัชนีดาวโจนส์ได้รับแรงกดดันจากหุ้นยูไนเต็ดเฮลธ์ กรุ๊ป อิงค์ที่รูดลง 3.6% ตามบริษัทคู่แข่งในธุรกิจประกันสุขภาพ โดยหุ้นบริษัทเอเลแวนซ์ เฮลธ์ อิงค์ดิ่งลง 5.3% ในขณะที่นักลงทุนกังวลว่าธุรกิจประกันของเอเลแวนซ์จะได้รับความเสียหายจากปัจจัยด้านกฎระเบียบ ถึงแม้เอเลแวนซ์รายงานผลกำไรรายไตรมาสที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ หุ้นแอบบอทท์ แลบอราทอรีส์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์พุ่งขึ้น 7.8% หลังจากแอบบอทท์ระบุว่า กระบวนการทางการแพทย์ที่ไม่เร่งด่วนที่เคยถูกเลื่อนกำหนดออกไปในช่วงเวลา 3 ปีที่เกิดวิกฤติโรคระบาด ได้กลับมาดำเนินการตามปกติแล้วเป็นส่วนใหญ่ทั่วโลก ทางด้านหุ้นบริษัทอินทูอิทิฟ เซอร์จิคัลทะยานขึ้น 10.9% หลังจากทางบริษัทรายงานตัวเลขผลกำไรและรายได้รายไตรมาสที่สูงเกินคาด
นักลงทุนคาดว่า บริษัทในดัชนี S&P 500 อาจจะมีผลกำไรดิ่งลง 4.8% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบรายปี โดยนายริค เมคเลอร์ หุ้นส่วนของบริษัทเชอร์รี เลน อินเวสท์เมนท์กล่าวว่า "ตลาดหุ้นดูเหมือนจะเคลื่อนตัวในกรอบแคบ ในขณะที่นักลงทุนกลุ่มหนึ่งคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่นักลงทุนอีกกลุ่มหนึ่งคาดว่า เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป"
หุ้นเทสลาซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าดิ่งลง 2% หลังจากเทสลาปรับลดราคาขายรถยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐลงเป็นครั้งที่ 6 ของปีนี้ ทั้งนี้ หุ้นเวสเทิร์น อัลไลอันซ์ แบงคอร์ป ซึ่งเป็นธนาคารระดับภูมิภาคพุ่งขึ้น 24.1% หลังจากทางธนาคารเปิดเผยผลกำไรที่แข็งแกร่งเกินคาด และปัจจัยนี้มีส่วนช่วยหนุนกองทุน SPDR S&P Regional Banking ETF ที่ลงทุนในธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐให้พุ่งขึ้น 3.9%--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน