ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--7 ธ.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ในขณะที่ยูโรร่วงลงเทียบเงินหลายสกุล เนื่องจากเทรดเดอร์คาดการณ์กันว่า มีโอกาสราว 85% ที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 7 มี.ค. 2024 และเทรดเดอร์คาดว่า อีซีบีอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันเกือบ 1.50% ก่อนสิ้นปี 2024 ทั้งนี้ อิซาเบล ชนาเบล สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป กล่าวในการให้สัมภาษณ์ต่อรอยเตอร์ในวันอังคารว่า อีซีบีสามารถตัดทางเลือกในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกจากการพิจารณา เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด และเธอกล่าวเสริมว่า ผู้กำหนดนโยบายไม่ควรที่จะส่งสัญญาณชี้นำว่า อีซีบีจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมจนถึงกลางปี 2024 Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.15 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 103.97 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 104.23 ในระหว่างวัน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.31 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 147.15 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0762 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0795 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0757 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย.
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงในวันพุธ โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์และหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากบริษัท ADP รายงานในวันพุธว่า การจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียง 103,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ย. ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ 130,000 ตำแหน่ง และรายงานตัวเลขดังกล่าวถือเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ตลาดแรงงานสหรัฐอยู่ในภาวะอ่อนแอ หลังจากสำนักงานสถิติแรงงานในกระทรวงแรงงานสหรัฐเพิ่งรายงานในวันอังคารว่า ยอดการเปิดรับสมัครงานในสหรัฐดิ่งลง 617,000 ตำแหน่ง สู่ 8.733 ล้านตำแหน่งในวันสุดท้ายของเดือนต.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2021 หรือจุดต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปีครึ่ง ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 8 กลุ่มปิดตลาดวันพุธในแดนลบ โดยดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานปิดรูดลง 1.64% และถือเป็นกลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุด โดยหุ้นกลุ่มพลังงานได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบที่รูดลงราว 4% เนื่องจากสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐพุ่งขึ้นสูงเกินคาด ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ปิดร่วงลง 0.93% ในวันพุธ และถือเป็นกลุ่มที่ปรับลงมากเป็นอันดับสอง นอกจากนี้ หุ้นบริษัทขนาดยักษ์ก็ดิ่งลงในวันพุธด้วยเช่นกัน โดยหุ้นบริษัทเอ็นวิเดียรูดลง 2.3%, หุ้นไมโครซอฟท์ดิ่งลง 1.00% และหุ้นอะเมซอนรูดลง 1.61% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.19% สู่ 36,054.43
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.39% สู่ 4,549.34
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.58% สู่ 14,146.71
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับความอ่อนแอของอุปสงค์เชื้อเพลิงในตลาดโลก หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 5.4 ล้านบาร์เรล สู่ 223.6 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ธ.ค. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่าอาจปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1 ล้านบาร์เรล ทางด้านอุปสงค์ในน้ำมันเบนซินปรับเพิ่มขึ้น 3% สู่ 8.46 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะ 10 ปีสำหรับช่วงนี้ของปีราว 2.5% โดยรายงานตัวเลขนี้ส่งผลให้ราคาสัญญาล่วงหน้าน้ำมันเบนซินของสหรัฐดิ่งลงแตะ 2.018 ดอลลาร์ต่อแกลลอนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 2021 ทั้งนี้ EIA รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 4.6 ล้านบาร์เรล สู่ 445 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว, สต็อกน้ำมัน Distillate ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil พุ่งขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล สู่ 112 ล้านบาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันในสหรัฐปรับขึ้น 0.7% สู่ 90.5% Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนม.ค.รูดลง 2.94 ดอลลาร์ หรือ 4.1% มาปิดตลาดที่ 69.38 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 2.90 ดอลลาร์ หรือ 3.8% มาปิดตลาดที่ 74.30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 5.48 ดอลลาร์ สู่ 2,024.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากเพิ่งพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 2,135.40 ดอลลาร์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันจันทร์ โดยราคาทองได้รับแรงหนุนในวันพุธจากการดิ่งลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงจาก 4.171% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 4.104% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบกว่า 3 เดือน ทางด้านนักลงทุนรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์นี้ เพื่อใช้ในการประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--4 ธ.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า นักลงทุนกำลังจับตาดูปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐในเดือนธ.ค. ซึ่งรวมถึงการขายหุ้นเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี และแนวโน้มที่ตลาดหุ้นมักจะพุ่งขึ้นในช่วงคริสต์มาส หรือที่เรียกกันว่า Santa Claus rally ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้ว 19.6% จากช่วงต้นปีนี้ และเพิ่งปิดตลาดวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ 4,594.63 ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดใหม่ของปี 2023 โดยตลาดหุ้นได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 ในขณะที่มีหลักฐานบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐชะลอการเติบโตลงในช่วงนี้
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวตามปัจจัยด้านฤดูกาลอย่างแข็งแกร่งในปีนี้ โดยดัชนี S&P 500 เพิ่งดิ่งลงเกือบ 5% ในเดือนก.ย. ในขณะที่เดือนก.ย.ถือเป็นเดือนที่ตลาดหุ้นมักจะดิ่งลงมากที่สุดในแต่ละปี และหลังจากนั้นตลาดหุ้นสหรัฐก็แกว่งตัวผันผวนมากในเดือนต.ค.ปีนี้ ซึ่งเป็นเดือนที่ตลาดมักจะแกว่งตัวผันผวนมากอยู่แล้วในแต่ละปี และหลังจากนั้นดัชนี S&P 500 ก็พุ่งขึ้นเกือบ 9% ในเดือนพ.ย.ปีนี้ด้วย ซึ่งถือเป็นเดือนที่ตลาดหุ้นมักจะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งเช่นกัน ทั้งนี้ สถิติข้อมูลจากในอดีตบ่งชี้ว่า เดือนธ.ค.ถือเป็นเดือนที่ตลาดหุ้นสหรัฐมักจะพุ่งขึ้นมากเป็นอันดับสองของปี โดยดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นเฉลี่ย 1.54% ในเดือนธ.ค.ของแต่ละปีนับตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ดัชนีก็มักจะปิดตลาดเดือนธ.ค.ในแดนบวกด้วย โดยดัชนีเคยปิดตลาดเดือนธ.ค.ในแดนบวกราว 77% ของเดือนธ.ค.ทั้งหมดนับตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมา และสัดส่วน 77% นี้ถือว่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่น ๆ ของปี
ข้อมูลจากบริษัทแอลพีแอล ไฟแนนเชียลแสดงให้เห็นว่า ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐมักจะพุ่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือนธ.ค.ในอัตราที่แข็งแกร่งกว่าช่วงครึ่งแรก โดยดัชนี S&P 500 ปรับขึ้นเฉลี่ย 0.1% ในช่วงครึ่งแรกของเดือนธ.ค.หากวัดจากสถิติข้อมูลนับตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา และดัชนีพุ่งขึ้นเฉลี่ย 1.4% ในช่วงครึ่งหลังของเดือนธ.ค.
นักวิเคราะห์ระบุว่า หุ้นที่มีราคาดิ่งลงอย่างรุนแรงในปีนี้ อาจจะเผชิญกับแรงกดดันเพิ่มเติมในเดือนธ.ค.จากการขายหุ้นเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพราะว่านักลงทุนมักจะเทขายหุ้นดังกล่าวออกไปเพื่อตัดบัญชีก่อนสิ้นปี และสถิติข้อมูลจากในอดีตก็บ่งชี้ว่า หุ้นบางตัวในกลุ่มนี้อาจจะดีดขึ้นในช่วงปลายเดือนธ.ค.และในเดือนม.ค. เพราะว่านักลงทุนจะกลับเข้าซื้อหุ้นที่มีมูลค่าต่ำเกินไป ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 1986 เป็นต้นมา หุ้นที่เคยดิ่งลง 10% หรือมากกว่านั้นในเดือนม.ค.-ต.ค.ของแต่ละปี มักจะพุ่งขึ้นในเดือนพ.ย.-ม.ค.ในอัตราที่แข็งแกร่งกว่าดัชนี S&P 500 ราว 1.9% โดยแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบัล รีเสิร์ชระบุในรายงานที่ออกมาในช่วงปลายเดือนต.ค.ว่า ทางธนาคารแนะนำให้เข้าซื้อหุ้นบริษัทเพย์แพล โฮลดิงส์, ซีวีเอส เฮลธ์ และคราฟท์ ไฮนซ์ เพราะหุ้นเหล่านี้อาจจะดีดขึ้นตามปัจจัยด้านภาษี
ถึงแม้ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งมากในปีนี้ การพุ่งขึ้นเกือบ 72% ของดัชนี S&P 500 ในปีนี้ก็ได้รับแรงหนุนมาจากหุ้นบริษัทขนาดยักษ์เพียงไม่กี่แห่ง โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มเติบโต ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทแอปเปิล, เทสลา และเอ็นวิเดีย แต่หุ้นบริษัทอีกหลายแห่งไม่ได้ทะยานขึ้นมากนัก โดยดัชนี S&P 500 ในแบบที่ให้หุ้นแต่ละตัวในดัชนีมีน้ำหนักเท่ากัน ปรับขึ้นเพียงราว 6% จากช่วงต้นปี 2023--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--30 พ.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นในวันพุธ หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดในรอบกว่า 3 เดือนในช่วงแรก โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุน หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยผลการประเมินครั้งที่สองสำหรับตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐประจำไตรมาส 3 โดยทางกระทรวงระบุว่าจีดีพีสหรัฐเพิ่มขึ้น 5.2% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประเมินครั้งแรกที่ระดับ 4.9% และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 5.0% ด้วย โดยอัตราการเติบโตที่ 5.2% นี้ถือเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2021 เป็นต้นมา โดยรายงานตัวเลขดังกล่าวช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนปรับสถานะการลงทุน หลังจากดอลลาร์ร่วงลงมานาน 4 วันติดต่อกัน ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ยังคงมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022 โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 โดยขณะนี้นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดว่า มีโอกาสเกือบ 50% ที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนมี.ค.ปีหน้า โดยเพิ่มขึ้นจากโอกาสเกือบ 35% ที่เคยคาดไว้ในช่วงเย็นวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 102.82 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 102.62 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร และปิดตลาดวันพุธด้วยการปรับขึ้นรายวันครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหนึ่งสัปดาห์ โดยก่อนหน้านี้ดัชนีดอลลาร์เพิ่งดิ่งลงแตะ 102.46 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนส.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.24 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 147.48 เยน หลังจากดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดในรอบกว่า 2 เดือนที่ 146.68 เยนในระหว่างวัน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0968 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยปรับลงจาก 1.0990 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1.1017 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค.
ดัชนี Nasdaq และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐขยับลงในวันพุธ แต่ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ขยับขึ้นในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนชะลอการลงทุนก่อนที่สหรัฐจะรายงานดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ออกมาในวันพฤหัสบดี โดยดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นิยมใช้ ทางด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพุธว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 5.2% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประเมินครั้งแรกที่ระดับ 4.9% และสิ่งนี้ตอกย้ำให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐสามารถรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี แต่รายงานตัวเลขนี้ไม่ได้สนับสนุนให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และหุ้นกลุ่มการเงินถือเป็นหุ้นสองกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันพุธ แต่หุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารดิ่งลง 1.1% ทางด้านหุ้นบริษัทฮูมานารูดลง 5.5% และหุ้นบริษัทซิกนา กรุ๊ปดิ่งลง 8.1% หลังจากแหล่งข่าวกล่าวว่าบริษัทประกันสุขภาพ 2 แห่งนี้อยู่ในระหว่างการเจรจาเรื่องการควบกิจการเข้าด้วยกัน Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น 0.04% สู่ 35,430.42
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.09% สู่ 4,550.58 โดยดัชนีได้รับแรงกดดันมากที่สุดจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มโมเมนตัมที่มักได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะหุ้นบริษัทไมโครซอฟท์ที่รูดลง 1.0% ในวันพุธ และหุ้นแอปเปิลที่ร่วงลง 0.5% ในวันพุธ อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P 500 ยังคงมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการพุ่งขึ้นรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2022
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.16% สู่ 14,258.49
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) ในวันพฤหัสบดี และนักลงทุนตั้งความหวังว่า กลุ่มโอเปกพลัสอาจจะดำเนินมาตรการที่ช่วยหนุนราคาน้ำมัน หลังจากแหล่งข่าวกล่าวว่า การเจรจาในช่วงก่อนการประชุมมุ่งความสนใจไปยังการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงอย่างรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก แต่ทางกลุ่มโอเปกพลัสยังไม่ได้ตกลงกันในรายละเอียดของเรื่องนี้ นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลยังรายงานอีกด้วยว่า กลุ่มโอเปกพลัสอาจจะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงไปอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังจากทางกลุ่มดำเนินมาตรการปรับลดอุปทานน้ำมันลงไปแล้วราว 5 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงที่ผ่านมา หรือราว 5% ของอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลก ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 1.6 ล้านบาร์เรล สู่ 449.7 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 พ.ย., สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐทะยานขึ้น 1.8 ล้านบาร์เรล สู่ 218.2 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil ทะยานขึ้น 5.2 ล้านบาร์เรล สู่ 110.8 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนม.ค.ทะยานขึ้น 1.45 ดอลลาร์ หรือ 1.9% มาปิดตลาดที่ 77.86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 1.42 ดอลลาร์ หรือ 1.7% มาปิดตลาดที่ 83.10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 3.70 ดอลลาร์ สู่ 2,044.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 2,051.89 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 พ.ค. หรือจุดสูงสุดในรอบเกือบ 7 เดือน โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า ทั้งนี้ ราคาทองได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการดิ่งลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงจาก 4.336% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 4.271% ในช่วงท้ายวันพุธ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการรูดลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2021 Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
29 พ.ย.--รอยเตอร์
บริษัทอะโดบี อะนาลิติกส์รายงานว่า ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยออนไลน์ของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้น 7.8% สู่ 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์ไซเบอร์ของปีนี้ ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลา 5 วันตั้งแต่วันขอบคุณพระเจ้าจนถึงวันจันทร์หลังวันขอบคุณพระเจ้า ซึ่งตรงกับวันที่ 23-27 พ.ย.ในปีนี้ และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ + 5.4% โดยยอดใช้จ่ายออนไลน์นี้ได้รับแรงกระตุ้นจากการที่ผู้ค้าปลีกปรับลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ ซึ่งรวมถึงราคาเครื่องสำอาง, ของเล่น และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า ฤดูการช้อปปิ้งช่วงปลายปีนี้อาจจะอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง ถึงแม้เศรษฐกิจสหรัฐเผชิญกับความไม่แน่นอน ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้บริษัทเดอลอยท์, บริษัทวอลมาร์ท และบริษัทเมซีส์เคยประกาศเตือนว่า ผู้บริโภคอาจจะใช้ความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยในฤดูช้อปปิ้งปลายปีนี้ โดยเป็นผลจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน อย่างไรก็ดี มาตรการลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าราคาถูกเป็นจำนวนมาก
สหพันธ์ค้าปลีกแห่งชาติของสหรัฐ (NRF) รายงานในวันอังคารว่า จำนวนชาวสหรัฐที่ซื้อสินค้าทั้งในร้านและในระบบออนไลน์ในช่วงสุดสัปดาห์วันขอบคุณพระเจ้าปีนี้อยู่ในระดับสูงกว่า 200 ล้านราย โดยพุ่งขึ้นเกือบ 2% จากปีที่แล้ว และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของ NRF ที่ 182 ล้านราย ทั้งนี้ นายไบรอัน มัลเบอร์รี ผู้จัดการพอร์ตลงทุนลูกค้าของบริษัทแซคส์ อินเวสท์เมนท์ แมเนจเมนท์กล่าวว่า "ดูเหมือนว่าผู้ค้าปลีกคาดการณ์ว่า ผู้บริโภคจะยังคงหาซื้อของขวัญวันคริสต์มาสกันต่อไป และสิ่งที่น่าสนใจก็คือการใช้ตัวเลขที่ออกมานี้ในการประเมินว่า จะมีการปรับลดราคาสินค้าลงอย่างรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีกในช่วง 1-2 สัปดาห์ข้างหน้าหรือไม่ เพื่อจะได้กระตุ้นปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค"
NRF ยังคงคาดการณ์ตามเดิมว่า ยอดค้าปลีกของสหรัฐอาจปรับขึ้น 3-4% ในฤดูการช้อปปิ้งปลายปีนี้ ซึ่งครอบคลุมทั้งเดือนพ.ย.และเดือนพ.ค. ในขณะที่ผู้บริโภคจะยังคงรอให้มีการลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ต่อไป ทั้งนี้ NRF ระบุว่า ผู้บริโภคสหรัฐโดยเฉลี่ยใช้เงิน 321.41 ดอลลาร์ในการซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับช่วงเทศกาลวันหยุด ซึ่งรวมถึงของเล่น, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และบัตรกำนัลในช่วงสุดสัปดาห์วันขอบคุณพระเจ้าปีนี้ โดยปรับลดลงจาก 325.44 ดอลลาร์ในปีที่แล้ว
การซื้อสินค้าออนไลน์มีความได้เปรียบเหนือการซื้อสินค้าจากร้านค้าที่มีหน้าร้านจริงในช่วงนี้ ในขณะที่มีการลดราคาสินค้าออนไลน์ลงอย่างรุนแรง ซึ่งรวมถึงการลดราคาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลง 31% และการลดราคาของเล่นลง 27% ทั้งนี้ NRF ระบุว่า จำนวนผู้ซื้อสินค้าออนไล์พุ่งขึ้น 3.1% สู่ 134.2 ล้านคนในช่วงสุดสัปดาห์วันขอบคุณพระเจ้า ในขณะที่จำนวนผู้ซื้อสินค้าจากร้านค้าที่มีหน้าร้านจริงอยู่ที่ระดับเพียง 121.4 ล้านคนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยดิ่งลงจาก 122.7 ล้านคนในช่วงสุดสัปดาห์เดียวกันในปี 2022
บริษัทเซลส์ฟอร์ซซึ่งคำนวณตัวเลขการใช้จ่ายผ่านทางบริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Commerce Cloud ระบุว่า ผู้บริโภคสหรัฐใช้จ่ายเงินราว 7.08 หมื่นล้านดอลลาร์ในการซื้อสินค้าออนไลน์ในช่วงสุดสัปดาห์วันขอบคุณพระเจ้าปีนี้ โดยพุ่งขึ้น 4.1% จากสุดสัปดาห์เดียวกันในปี 2022 ทั้งนี้ ผู้บริโภคสหรัฐหลายรายได้หันมาใช้บริการ "ซื้อก่อน, จ่ายทีหลัง" (BNPL) ของบริษัทต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงบริษัทคลาร์นาและบริษัทแอฟเฟิร์มในช่วงนี้ด้วย เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงจากการต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษและการจ่ายดอกเบี้ยในการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต โดยมีการประเมินกันว่า มีการซื้อสินค้าราว 940 ล้านดอลลาร์ผ่านทางระบบ BNPL ในวันจันทร์หลังวันขอบคุณพระเจ้า ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดใหม่ และพุ่งขึ้น 42.5% จากวันจันทร์เดียวกันในปีที่แล้ว--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--27 พ.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอ่อนค่าลงในวันศุกร์ โดยได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากบริษัทเอสแอนด์พี โกลบอลรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) โดยรวมขั้นต้นของสหรัฐทรงตัวที่ 50.7 ในเดือนนี้ ในขณะที่ดัชนี PMI ภาคบริการของสหรัฐขยับขึ้นจาก 50.6 ในเดือนต.ค. สู่ 50.8 ในเดือนพ.ย. และปัจจัยนี้ช่วยชดเชยดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐที่ร่วงลงจาก 50.0 ในเดือนต.ค. สู่ 49.4 ในเดือนพ.ย. โดยดัชนีที่ระดับต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นถึงการหดตัว นอกจากนี้ เอสแอนด์พี โกลบอลยังระบุอีกด้วยว่า การที่ยอดสั่งซื้อไม่ได้พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งส่งผลให้ดัชนีการจ้างงานของสหรัฐดิ่งลงจาก 51.3 ในเดือนต.ค. สู่ 49.7 ในเดือนพ.ย. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจ้างงานในภาคเอกชนหดตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2020 และสิ่งนี้สอดคล้องกับการคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจชะลอตัวลงในไตรมาส 4 ทั้งนี้ การที่ตลาดแรงงานในสหรัฐอ่อนแอลงจะส่งผลดีต่อธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ดัชนีดอลลาร์มีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 1 ปี โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดสิ้นสุดลงแล้ว และเฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีหน้า Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.41 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 103.76 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี และเข้าใกล้จุดต่ำสุดรอบ 2 เดือนครึ่งที่ 103.17 ที่เคยทำไว้ในวันที่ 21 พ.ย. โดยดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับลง 0.4% จากสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากดิ่งลง 1.9% ในสัปดาห์ที่แล้ว
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 149.44 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยปรับลงจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 149.56 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0939 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0904 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ แต่ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลงเล็กน้อย โดยได้รับแรงกดดันจากความอ่อนแอของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มโมเมนตัม ในขณะที่วอลุ่มการซื้อขายอยู่ในระดับเบาบางหลังวันขอบคุณพระเจ้า และนักลงทุนรอดูสัญญาณบ่งชี้ว่าผู้บริโภคสหรัฐจับจ่ายใช้สอยมากเพียงใดในช่วงเริ่มต้นของฤดูช้อปปิ้งปลายปี ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 9 กลุ่มใหญ่ปิดตลาดในแดนบวกในวันศุกร์ โดยหุ้นกลุ่มการแพทย์ถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ส่วนหุ้น 2 กลุ่มที่ปิดตลาดในแดนลบคือหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารและหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยหุ้นบริษัทเอ็นวิเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปดิ่งลง 1.9% หลังจากรอยเตอร์รายงานข่าวว่า เอ็นวิเดียประสบความล่าช้าในการเปิดตัวชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ออกแบบมาเพื่อให้สอดคล้องกับกฎการส่งออกของสหรัฐ โดยอาจจะมีการเลื่อนการเปิดตัวชิปดังกล่าวออกไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2024 Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.33% สู่ 35,390.15
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 0.06% สู่ 4,559.34
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.11% สู่ 14,250.86 โดยดัชนีตลาดหุ้นสำคัญทั้ง 3 ดัชนีของสหรัฐปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกได้เป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันศุกร์ ในขณะที่มีการปล่อยตัวประกันชุดแรกออกจากเขตกาซาในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นวันแรกของแผนการหยุดยิงเป็นเวลา 4 วันในอิสราเอล และปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ค่าพรีเมียมความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางการเมืองปรับลดลง อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบยังคงปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับขึ้นรายสัปดาห์เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 เดือน ก่อนที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) จะจัดการประชุมในวันที่ 30 พ.ย.เพื่อตัดสินใจเรื่องมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันสำหรับปี 2024 ทั้งนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า กลุ่มโอเปกพลัสใกล้ที่จะประนีประนอมกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันในทวีปแอฟริกาในเรื่องปริมาณการผลิตน้ำมันสำหรับปี 2024 โดยนายโทนี ซีคามอร์ นักวิเคราะห์ของบริษัทไอจีกล่าวว่า "มีแนวโน้มสูงที่กลุ่มโอเปกพลัสจะต่ออายุมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันที่ใช้อยู่ในปัจจุบันออกไป" Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนม.ค.ดิ่งลง 1.56 ดอลลาร์ หรือ 2% มาปิดตลาดที่ 75.54 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 84 เซนต์ หรือ 1% มาปิดตลาดที่ 80.58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 10.18
ดอลลาร์ สู่ 2,001.97 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 1.11% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกได้เป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ในขณะที่นักลงทุนคาดว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้สิ้นสุดลงแล้ว ทั้งนี้ ธนาคารคอมเมอร์ซแบงก์คาดว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงกลางปีหน้า ซึ่งจะส่งผลให้ราคาทองมีแนวโน้มเคลื่อนตัวอยู่เหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์ได้อย่างยั่งยืนเมื่อถึงเวลานั้น ทางด้านเทรดเดอร์คาดว่า เฟดมีแนวโน้มจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมวันที่ 12-13 ธ.ค. และมีโอกาสราว 64% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนพ.ค.ปีหน้า Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--26 ต.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับขึ้นในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนลดความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากบริษัทบางแห่งเปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวัง และปัจจัยดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลกับแนวโน้มเศรษฐกิจ โดยหุ้นบริษัทแอลฟาเบท ซึ่งถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในกลุ่มเทคโนโลยีดิ่งลง 9.51% ในวันพุธ หลังจากแอลฟาเบทรายงานว่าแผนกคลาวด์มีรายได้ต่ำเกินคาด นอกจากนี้ หุ้นบริษัทขนาดยักษ์แห่งอื่น ๆ ก็ปรับลงในวันพุธด้วย โดยได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ทั้งนี้ ดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงหนุน ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับขึ้นจาก 4.84% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 4.953% ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 5.021% ในวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 106.55 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 106.23 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบหนึ่งสัปดาห์ที่ 106.57 ในระหว่างวัน และเทียบกับระดับ 107.34 ที่เคยทำไว้ในวันที่ 3 ต.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 150.21 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 149.91 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 150.31 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 21 ต.ค. 2022 หรือจุดสูงสุดรอบ 1 ปี
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0563 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0588 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร
ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงในวันพุธ ในขณะที่หุ้นบริษัทแอลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล และถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในกลุ่มเทคโนโลยีดิ่งลง 9.51% ในวันพุธ หลังจากแอลฟาเบทรายงานว่าแผนกคลาวด์มีรายได้ต่ำเกินคาด และผลประกอบการของแอลฟาเบททำให้นักลงทุนกังวลกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ หุ้นบริษัทขนาดยักษ์แห่งอื่น ๆ ก็ปรับลงในวันพุธด้วย โดยได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับขึ้นจาก 4.84% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 4.953% ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 5.021% ในวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี ทั้งนี้ ดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐดิ่งลง 4.1% ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายวันครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. 2022 ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารของสหรัฐรูดลงในวันพุธในอัตราที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ. และส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารถือเป็นกลุ่มที่รูดลงมากที่สุดในวันพุธในบรรดาดัชนีหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในสหรัฐ ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มการขนส่งของสหรัฐดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดในรอบกว่า 4 เดือนในวันพุธ หลังจากบริษัทโอลด์ โดมิเนียน เฟรท ไลน์ ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งทางรถบรรทุกเปิดเผยผลประกอบการ และหุ้นโอลด์ โดมิเนียนดิ่งลง 3.9%อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นและดัชนีหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคปรับขึ้นเล็กน้อยในวันพุธ นอกจากนี้ หุ้นบริษัทไมโครซอฟท์ก็พุ่งขึ้น 3.1% ในวันพุธ หลังจากไมโครซอฟท์เปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสที่ดีเกินคาดในวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.32% สู่ 33,035.93
ดัชนี S&P 500 ปิดดิ่งลง 1.43% สู่ 4,186.77 ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดในแดนลบเป็นวันที่ 5 ในรอบ 6 วันทำการ และปิดตลาดต่ำกว่าระดับสำคัญที่ 4,200
ดัชนี Nasdaq ปิดรูดลง 2.43% สู่ 12,821.22 ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายวันครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. ในขณะที่ดัชนีได้รับแรงกดดันจากการรูดลงของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ เพราะหุ้นกลุ่มนี้มักจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องสงครามในภูมิภาคตะวันออกกลาง ในขณะที่อิสราเอลยังคงทิ้งระเบิดในภาคใต้ของเขตกาซา และดำเนินการโจมตีในซีเรียและภาคใต้ของเลบานอนด้วย โดยสื่อของรัฐบาลซีเรียระบุว่า อิสราเอลได้สังหารทหารซีเรีย 8 นายใกล้เมืองเดราในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของซีเรีย และอิสราเอลโจมตีท่าอากาศยานที่ไม่ได้ใช้งานแล้วในเมืองอาเลปโปในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย ส่วนกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนรายงานว่า นักรบ 42 คนของกลุ่มเสียชีวิตนับตั้งแต่เกิดสงครามกาซา นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลก็ประกาศทางโทรทัศน์ว่า อิสราเอลกำลังเตรียมพร้อมที่จะดำเนินการรุกภาคพื้นดินในกาซา ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันเข้ามาบ้างจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซาในยุโรป ซึ่งรวมถึงตัวเลขปริมาณการปล่อยกู้ของภาคธนาคารในยูโรโซน และราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐที่พุ่งสูงขึ้นด้วย หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 1.4 ล้านบาร์เรล สู่ 421.1 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 ต.ค. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่าอาจปรับขึ้นเพียง 240,000 บาร์เรล นอกจากนี้ EIA ยังรายงานอีกด้วยว่า สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐปรับขึ้น 160,000 บาร์เรล สู่ 223.5 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil ดิ่งลง 1.7 ล้านบาร์เรล สู่ 112.1 ล้านบาร์เรล และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันในสหรัฐลดลง 0.5% สู่ 85.6% Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนธ.ค.ทะยานขึ้น 1.65 ดอลลาร์ หรือ 1.97% มาปิดตลาดที่ 85.39 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 2.06 ดอลลาร์ หรือ 2.34% มาปิดตลาดที่ 90.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 9.51 ดอลลาร์ สู่ 1,979.62 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี และรอดูดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันศุกร์ เพื่อใช้ตัวเลขเหล่านี้ในการประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--24 ต.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอ่อนค่าลงในวันจันทร์ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงจาก 4.924% ในช่วงท้ายวันศุกร์สู่ 4.838% ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 5.021% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี โดยการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) จะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมพุ่งสูงขึ้น และจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรได้รับแรงหนุนในช่วงนี้จากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน, จากการปรับเพิ่มอุปทานพันธบัตร และจากส่วนเพิ่มของอัตราผลตอบแทนตามอายุของสินทรัพย์ทางการเงิน (term premia) ที่ขยายกว้างมากยิ่งขึ้น Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.60 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 106.15 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 106.33 โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 6% นับตั้งแต่กลางเดือนก.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อย่างไรก็ดี ดัชนีดอลลาร์แทบไม่ได้ปรับขึ้นนับตั้งแต่ต้นเดือนต.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 149.70 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยปรับลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 149.84 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 150.14 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 3 ต.ค.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0668 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0593 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับลง แต่ดัชนี Nasdaq บวกขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 5.021% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี ก่อนจะร่วงลงสู่ 4.838% ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยการร่วงลงของอัตราผลตอบพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มที่เคลื่อนไหวตามกระแสการลงทุน (โมเมนตัม) และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และปัจจัยดังกล่าวช่วยหนุนดัชนี Nasdaq นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี และดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันศุกร์ โดยนักลงทุนคาดการณ์ว่า กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอาจจะรายงานในวันพฤหัสบดีว่า จีดีพีสหรัฐเติบโต 4.3% ในไตรมาสสาม และสหรัฐอาจจะรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนี PCE ทั่วไปชะลอตัวลงสู่ +3.4% และดัชนี PCE พื้นฐานชะลอตัวลงสู่ +3.7% ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูผลประกอบการของบริษัทเกือบ 1 ใน 3 ของดัชนี S&P 500 ที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งรวมถึงผลประกอบการของบริษัทสำคัญหลายแห่ง อย่างเช่น บริษัทไมโครซอฟท์ที่จะรายงานผลประกอบการในวันอังคารที่ 24 ต.ค., แอลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิลที่จะรายงานผลในวันที่ 24 ต.ค., เมตา แพลตฟอร์มส์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊กที่จะรายงานผลในวันพุธที่ 25 ต.ค. และอะเมซอนที่จะรายงานผลในวันพฤหัสบดีที่ 26 ต.ค. ส่วนบริษัทอื่น ๆ ที่จะรายงานผลประกอบการในสัปดาห์นี้รวมถึงบริษัทโคคา-โคล่า, เจเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์, เมอร์ค ซึ่งเป็นผู้ผลิตยา และยูไนเต็ด พาร์เซล เซอร์วิส (UPS) ซึ่งเป็นผู้ขนส่งพัสดุ โดยขณะนี้มีบริษัท 86 แห่งในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสสามออกมาแล้ว และบริษัท 78% ในกลุ่มนี้เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ทางด้านนักวิเคราะห์คาดว่า บริษัทในดัชนี S&P 500 อาจมีผลกำไรปรับขึ้น 1.2% ในไตรมาสสามเมื่อเทียบรายปี โดยปรับลดลงจากระดับ +1.6% ที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อต้นเดือนนี้ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 0.58% สู่ 32,936.41 โดยดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดในแดนลบเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.17% สู่ 4,217.04 โดยดัชนีปิดตลาดที่ระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วันเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.27% สู่ 13,018.33
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันจันทร์ ในขณะที่มีการเร่งดำเนินความพยายามทางการทูตในภูมิภาคตะวันออกกลางเพื่อจำกัดขอบเขตความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส และปัจจัยนี้ช่วยให้นักลงทุนลดความกังวลที่มีต่อปัญหาการขาดตอนของอุปทานน้ำมัน โดยผู้นำของสหภาพยุโรป (อียู) จะเรียกร้องให้มีการหยุดพักความขัดแย้งเพื่อมนุษยธรรมในสัปดาห์นี้ เพื่อที่จะได้มีการจัดส่งความช่วยเหลือให้แก่ชาวปาเลสไตน์ในเขตกาซา ในขณะที่ผู้นำของฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์จะเดินทางเยือนอิสราเอลในสัปดาห์นี้ ทางด้านขบวนรถจัดส่งความช่วยเหลือได้เดินทางออกจากอียิปต์เข้าสู่เขตฉนวนกาซาแล้วในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ กลุ่มฮามาสก็ได้ประกาศในวันจันทร์ว่า ทางกลุ่มได้ปล่อยตัวประกันสองคนที่เป็นพลเรือนสตรี เพื่อตอบรับต่อความพยายามไกล่เกลี่ยของอียิปต์-กาตาร์ อย่างไรก็ดี อิสราเอลยังคงทิ้งระเบิดในเขตกาซาในวันจันทร์ และดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อภาคใต้ของเลบานอนด้วย ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐประกาศในสัปดาห์ที่แล้วว่า สหรัฐจะระงับมาตรการคว่ำบาตรเวเนซูเอลา หลังจากรัฐบาลเวเนซูเอลาบรรลุข้อตกลงกับฝ่ายค้าน ทางด้านนายไมเคิล ทราน นักวิเคราะห์ของธนาคาร RBC กล่าวว่า "ความเคลื่อนไหวนี้จะช่วยให้อุปทานน้ำมันเวเนซูเอลาที่ส่งออกสู่ตลาดโลกเพิ่มขึ้น 200,000-300,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งไม่ใช่ระดับที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดได้โดยตรง และเวเนซูเอลาจะยังไม่สามารถปรับเพิ่มปริมาณการส่งออกน้ำมันดังกล่าวได้ในทันที" Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนธ.ค.ดิ่งลง 2.59 ดอลลาร์ หรือ 2.9% มาปิดตลาดวันจันทร์ที่ 85.49 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 2.33 ดอลลาร์ หรือ 2.5% มาปิดตลาดที่ 89.83 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับลง 8.45 ดอลลาร์ สู่ 1,972.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1,997.09 ดอลลาร์ในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนพ.ค. ในขณะที่เทรดเดอร์จับตาดูสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง และเทรดเดอร์รอดูตัวเลขจีดีพีสหรัฐและดัชนี PCE ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์นี้ ทั้งนี้ นายเดวิด มีเกอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายค้าโลหะของบริษัทไฮ ริดจ์ ฟิวเจอร์สกล่าวว่า "ถ้าหากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาดในวันศุกร์นี้ ตัวเลขดังกล่าวก็จะกระตุ้นความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาทองแสดงปฏิกิริยาอย่างฉับพลันด้วยการร่วงลง แต่หลังจากนั้นราคาทองน่าจะได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน