ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--19 ต.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยนและยูโรในวันพุธ โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีที่พุ่งขึ้นแตะ 4.928% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 16 ปี และนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ในขณะที่นักลงทุนจับตาดูว่าสงครามระหว่างกลุ่มฮามาสกับอิสราเอลในภูมิภาคตะวันออกกลางจะทวีความรุนแรงขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ ดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงเป็นเวลานาน ในขณะที่เฟดพยายามทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% โดยนายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในผู้ว่าการเฟดกล่าวในวันพุธว่า เขาต้องการจะ "รอและจับตาดู" ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงอยู่ในภาวะแข็งแกร่งต่อไป หรือว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะอ่อนแอลงโดยได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงที่ผ่านมา โดยถ้อยแถลงของเขาบ่งชี้ว่า เฟดอาจจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย. แต่เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงหลังจากนั้น ส่วนนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์คกล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยจำเป็นจะต้องอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อจะได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 106.54 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 106.22 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร และเทียบกับระดับ 107.34 ที่เคยทำไว้ในวันที่ 3 ต.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022 โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้วราว 7% นับตั้งแต่กลางเดือนก.ค. ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีทะยานขึ้นราว 1.20% ในช่วงเวลาเดียวกัน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 149.92 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 149.80 เยน หลังจากปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 149.96 เยนในระหว่างวัน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0535 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0575 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร และเทียบกับระดับ 1.0448 ดอลลาร์ที่เคยทำไว้ในวันที่ 3 ต.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2022
ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงในวันพุธ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสุงขึ้น หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดการเริ่มต้นสร้างบ้านเดี่ยวในสหรัฐพุ่งขึ้น 3.2% สู่ 963,000 ยูนิตต่อปีในเดือนก.ย. จาก 933,000 ยูนิตต่อปีในเดือนส.ค. และรายงานดังกล่าวสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน โดยปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) พุ่งสูงขึ้น ซึ่งส่งผลลบต่อความน่าลงทุนของหุ้น โดยเฉพาะหุ้นของบริษัทที่มีหนี้สินสูง นอกจากนี้ ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางก็กระตุ้นให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงนี้ด้วย ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาดูการรายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ในช่วงนี้ โดยหุ้นพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิลพุ่งขึ้น 2.6% หลังจากบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านสินค้าอุปโภคบริโภคแห่งนี้เปิดเผยยอดขายรายไตรมาสที่สูงเกินคาด แต่หุ้นยูไนเต็ด แอร์ไลน์ โฮลดิงส์ในกลุ่มสายการบินดิ่งลง 9.7% หลังจากทางบริษัทคาดว่าต้นทุนที่สูงขึ้นจะสร้างความเสียหายต่อผลกำไรในไตรมาส 4 โดยปัจจัยนี้มีส่วนกดดันให้ดัชนีหุ้นกลุ่มสายการบินของสหรัฐดิ่งลง 5.6% ในวันพุธด้วย ทางด้านหุ้นธนาคารมอร์แกน สแตนเลย์ดิ่งลง 6.8% หลังจากผลกำไรไตรมาส 3 ของบริษัทนี้ได้รับแรงกดดันจากความเฉื่อยชาในการทำข้อตกลงทางธุรกิจ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 0.98% สู่ 33,665.08
ดัชนี S&P 500 ปิดดิ่งลง 1.34% สู่ 4,314.6
ดัชนี Nasdaq ปิดรูดลง 1.62% สู่ 13,314.30
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับอุปทานน้ำมันในตลาดโลก หลังจากนายฮอสเซน อามิราบดอลลาเฮียน รมว.ต่างประเทศของอิหร่านเรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรน้ำมันต่ออิสราเอล หลังจากมีชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคนเสียชีวิตในเหตุระเบิดที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกาซา ซิตี้ อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวกล่าวว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ไม่ได้วางแผนที่จะดำเนินมาตรการใด ๆ ในทันทีตามข้อเรียกร้องของอิหร่าน ทางด้านจอร์แดนได้ยกเลิกแผนการที่จะจัดประชุมสุดยอดร่วมกับประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐ, ประธานาธิบดีมาห์มุด อับบาสของปาเลสไตน์ และประธานาธิบดีอับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี ของอียิปต์ ส่วนปธน.ไบเดนของสหรัฐประกาศว่าจะยืนหยัดเคียงข้างอิสราเอลในวันพุธ และเขากล่าวว่าเหตุระเบิดที่โรงพยาบาลในกาซาดูเหมือนว่าเกิดจากความผิดพลาดของกลุ่มนักรบในการยิงจรวด ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขสต็อกน้ำมันในคลังสหรัฐด้วย โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 4.5 ล้านบาร์เรล สู่ 419.7 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ต.ค. ถึงแม้โพลล์รอยเตอร์คาดว่าสต็อกน้ำมันดิบอาจปรับลดลงเพียง 300,000 บาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมันตามสัญญาในตลาด NYMEX ร่วงลง 758,000 บาร์เรล สู่ 21 ล้านบาร์เรล ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2014 และปัจจัยนี้ทำให้นักลงทุนกังวลกับคุณภาพของน้ำมันที่ยังคงเหลืออยู่ที่เมืองคุชชิง นอกจากนี้ EIA ยังรายงานอีกด้วยว่า สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.4 ล้านบาร์เรล สู่ 223.3 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐรูดลง 3.2 ล้านบาร์เรล สู่ 113.8 ล้านบาร์เรล และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันปรับขึ้น 0.4% สู่ 86.1% Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ย.ทะยานขึ้น 1.66 ดอลลาร์ หรือ 1.9% มาปิดตลาดที่ 88.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 89.88 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนทะยานขึ้น 1.60 ดอลลาร์ หรือ 1.8% มาปิดตลาดที่ 91.50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 93.00 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้น 24.62 ดอลลาร์ หรือ 1.28% สู่ 1,947.69 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1,962.39 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน โดยราคาทองพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 5% จากช่วงต้นเดือนต.ค. ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเรื่องสงครามในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ นายไรอัน แมคอินไทร์ ผู้จัดการพอร์ตลงทุนของบริษัทสปรอทท์ แอสเซท แมเนจเมนท์กล่าวว่า "ราคาทองอาจจะพุ่งขึ้นเหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์ได้ในระยะอันใกล้นี้ ถ้าหากความขัดแย้งระหว่างประเทศทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และราคาทองอาจจะได้รับแรงหนุนถ้าหากเฟดหยุดพักจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือถ้าหากเฟดส่งสัญญาณว่ามีโอกาสน้อยลงที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
17 ต.ค.--รอยเตอร์
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 5.25% นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 เป็นต้นมา และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐชะลอการปล่อยสินเชื่อ และปรับเพิ่มระดับการถือครองเงินสด หลังจากเกิดวิกฤติภาคธนาคารในเดือนมี.ค.ปีนี้เมื่อมีการสั่งปิดกิจการธนาคารซิลิคอน แวลลีย์ (SVB) ในสหรัฐ ทั้งนี้ ถึงแม้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดสู่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. ระบบการเงินในสหรัฐก็ยังคงได้รับผลกระทบจากวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 เป็นต้นมา และได้รับผลกระทบจากการคาดการณ์ที่ว่า อัตราดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปจนถึงปี 2024
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวพุ่งขึ้นมาแล้วราว 1% นับตั้งแต่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายในวันที่ 26 ก.ค. และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ซึ่งเป็นสิ่งที่ปรับตัวสวนทางกับราคาพันธบัตร ก็มีอิทธิพลต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ และต่อความต้องการกู้เงินของลูกค้าธนาคาร ทั้งนี้ เฟดรายงานว่า สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์โดยรวมในสหรัฐหดตัวลงในไตรมาส 3 เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นการหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ เพราะว่าการดิ่งลงของมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลสร้างความเสียหายต่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ที่ธนาคารพาณิชย์ถือครองไว้ในวงกว้าง
สินเชื่อธนาคารโดยรวมในสหรัฐอยู่ที่ 17.26 ล้านล้านดอลลาร์ในวันที่ 27 ก.ย. ซึ่งถือเป็นวันพุธสุดท้ายของเดือนก.ย. โดยร่วงลงจาก 17.30 ล้านล้านดอลลาร์ในวันพุธสุดท้ายของเดือนมิ.ย. และร่วงลงจาก 17.33 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อ 1 ปีก่อน ทั้งนี้ สินเชื่อสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยและสินเชื่อสำหรับอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ยังคงพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 3 แต่ปรับขึ้นในอัตราไม่ถึง 8% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน หลังจากที่เคยพุ่งขึ้นสูงกว่า 10% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบรายปี ทางด้านสินเชื่อเชิงพาณิชย์และสินเชื่ออุตสาหกรรมร่วงลงในไตรมาส 3/2023 เป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน โดยสินเชื่อกลุ่มนี้เคยพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในวันที่ 15 มี.ค.หลังจากธนาคาร SVB ล้ม และยอดสินเชื่อนี้อยู่ที่ระดับ 2.78 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. ก่อนจะร่วงลงสู่ 2.75 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนก.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 11 เดือน
ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับเพิ่มการถือครองเงินสดในช่วงที่ผ่านมา โดยธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 25 แห่งของสหรัฐได้ปรับเพิ่มปริมาณการถือครองเงินสดขึ้นสูงมากในไตรมาส 3 ทางด้านปริมาณเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ได้เข้าสู่เสถียรภาพในไตรมาสล่าสุด และอยู่ที่ระดับ 17.29 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงนี้ หลังจากปริมาณเงินฝากเคยดิ่งลงอย่างรุนแรงหลังจากธนาคาร SVB ล้มในวันที่ 10 มี.ค.และเกิดวิกฤติภาคธนาคารในช่วงนั้น
ปริมาณเงินฝากในธนาคารสหรัฐโดยรวมดิ่งลงมาแล้วราว 7% จากจุดสูงสุดของเดือนเม.ย. 2022 โดยปริมาณเงินฝากในธนาคารขนาดใหญ่ที่สุด 25 แห่งของสหรัฐรูดลงมาแล้วกว่า 8% จากจุดสูงสุดของเดือนเม.ย. 2022 แต่ปริมาณเงินฝากในธนาคารขนาดเล็กปรับลดลงเพียงราว 2% จากเดือนเม.ย. 2022 หลังจากปริมาณเงินฝากในธนาคารขนาดเล็กเคยดิ่งลงอย่างรุนแรงเมื่อเกิดวิกฤติภาคธนาคารในเดือนมี.ค.ปีนี้ แต่ฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วในช่วงหลังจากนั้น ทางด้านปริมาณเงินฝากในธนาคารต่างชาติในสหรัฐฟื้นตัวขึ้นได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--16 ต.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า นักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐจะรอดูตัวเลขยอดค้าปลีกที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะรายงานออกมาในวันอังคารนี้ ในขณะที่ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคครองสัดส่วนราว 2 ใน 3 ของขนาดเศรษฐกิจสหรัฐ นอกจากนี้ นักลงทุนก็จะรอดูผลประกอบการไตรมาส 3 ที่บริษัทสหรัฐหลายแห่งจะรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งรวมถึงธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา, ธนาคารโกลด์แมน แซคส์ และบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันที่ 17 ต.ค., บริษัทเทสลาและบริษัทเน็ตฟลิกซ์ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันที่ 18 ต.ค., บริษัทฟิลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชันแนลที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันที่ 19 ต.ค. ทางด้านบริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในด้านสินค้าอุปโภคบริโภค, บริษัทลาส เวกัส แซนด์ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการคาสิโน และสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ก็มีกำหนดจะเปิดเผยผลประกอบการในสัปดาห์นี้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้วราว 13% จากช่วงต้นปีนี้ แต่ดิ่งลงมาแล้วราว 6% จากจุดสูงสุดของช่วงปลายเดือนก.ค.
นักวิเคราะห์คาดว่า ตัวเลขยอดค้าปลีกที่จะออกมาในวันอังคารนี้จำเป็นจะต้องอยู่ในระดับที่มีความสมดุลเป็นอย่างดี ถึงจะสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่นักลงทุนได้ เพราะว่าถ้าหากตัวเลขยอดค้าปลีกอยู่ในระดับที่สูงเกินคาดเป็นอย่างมาก ตัวเลขดังกล่าวก็จะกระตุ้นความกังวลเรื่องภาวะเงินเฟ้อ และกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีความจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ซึ่งจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งขึ้นต่อไป หลังจากการทะยานขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ได้กดดันตลาดหุ้นให้ดิ่งลงในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีเพิ่งพุ่งขึ้นแตะ 4.887% ในวันศุกร์ที่ 6 ต.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี ก่อนจะดิ่งลงสู่ 4.629% ในวันศุกร์ที่ 13 ต.ค. ทั้งนี้ ถ้าหากตัวเลขยอดค้าปลีกอยู่ในภาวะอ่อนแอ ตัวเลขดังกล่าวก็อาจจะกระตุ้นความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสหรัฐได้เช่นกัน
นักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า ยอดค้าปลีกอาจปรับขึ้น 0.3% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายเดือน ทั้งนี้ นายแจ็ค เอบลิน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทเครสเสท แคปิตัลกล่าวว่า เขาคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอาจจะร่วงลงสู่ระดับราว 4.5% ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยง และเขากล่าวเสริมว่า "ถ้าหากปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคชะลอตัวลง สิ่งนี้ก็จะช่วยลดแรงกดดันที่มีต่ออัตราดอกเบี้ยและต่อเฟด" และเขาระบุอีกด้วยว่า "ตัวเลขการบริโภคที่เลวร้ายจะถือเป็นข่าวดีสำหรับตลาดหุ้น"
นักลงทุนจะรอฟังความเห็นจากผู้บริหารธนาคารพาณิชย์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ของชาวสหรัฐ และเรื่องการจ่ายชำระหนี้บัตรเครดิตด้วย ในขณะที่ธนาคารระดับภูมิภาคหลายแห่งของสหรัฐมีกำหนดจะรายงานผลประกอบการออกมาในช่วงนี้ ทั้งนี้ ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐเพิ่งประกาศเตือนในวันศุกร์ที่ 13 ต.ค.ว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลังชะลอตัวลง ในขณะที่เงินออมของผู้บริโภคร่อยหรอลง
นักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐจะจับตาดูความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในช่วงนี้ด้วย หลังจากนักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและทอง โดยราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐเพิ่งพุ่งขึ้น 63.05 ดอลลาร์ หรือ 3.37% สู่ 1,931.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วด้วยการพุ่งขึ้น 5.43% จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 7 เดือน--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--3 ต.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินพุ่งขึ้นในวันจันทร์ หลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกมานาน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยดัชนีดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า รัฐบาลสหรัฐสามารถหลีกเลี่ยงจากการชัตดาวน์ (การปิดทำการชั่วคราวของหน่วยงานรัฐบาล) ได้สำเร็จ และดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งด้วย เพราะตัวเลขดังกล่าวช่วยสนับสุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งนี้ สถาบันจัดการอุปทาน (ISM) ของสหรัฐรายงานในวันจันทร์ว่า ภาคการผลิตของสหรัฐใกล้จะฟื้นตัวขึ้นในเดือนก.ย. ในขณะที่การผลิตปรับเพิ่มขึ้นและการจ้างงานดีดขึ้น โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐพุ่งขึ้นจาก 47.6 ในเดือนส.ค. สู่ 49.0 ในเดือนก.ย. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022 แต่ดัชนียังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตยังคงหดตัวลงในเดือนก.ย. ส่วนดัชนีการจ้างงานในภาคการผลิตปรับขึ้นจาก 48.5 ในเดือนส.ค. สู่ 51.2 ในเดือนก.ย. ทางด้านดัชนีการผลิตในภาคโรงงานปรับขึ้นจาก 50.0 ในเดือนส.ค. สู่ 52.5 ในเดือนก.ย. แต่ดัชนีราคาจ่ายในภาคการผลิตดิ่งลงจาก 48.4 ในเดือนส.ค. สู่ 43.8 ในเดือนก.ย. Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 107.01 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยพุ่งขึ้นจาก 106.17 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากทะยานขึ้นแตะ 107.03 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในรอบ 10 เดือน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 149.85 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 149.35 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 149.90 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในรอบราว 11 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0476 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยร่วงลงจาก 1.0570 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0475 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 9 เดือน
ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดเกือบทรงตัวในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนพยายามประเมินความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคของสหรัฐ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย ดิ่งลง 4.7% ในวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2020 และดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานรูดลงอย่างรุนแรงในวันจันทร์ด้วยเช่นกัน โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของราคาน้ำมัน อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.3% และดัชนี Nasdaq ของสหรัฐก็ปรับขึ้นด้วยเช่นกัน ในขณะที่หุ้นบริษัทเอ็นวิเดียทะยานขึ้น 2.9% หลังจากธนาคารโกลด์แมน แซคส์เพิ่มหุ้นเอ็นวิเดียในรายชื่อหุ้น conviction list สำหรับหุ้นกลุ่ม top picks ของโกลด์แมน แซคส์ ทั้งนี้ มิเชลล์ โบว์แมน หนึ่งในผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เธอยังคงเต็มใจที่จะสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในอนาคต ถ้าหากตัวเลขเศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงอย่างเชื่องช้าเกินไป หรืออัตราเงินเฟ้อยุติการชะลอตัวลง Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.22% สู่ 33,433.35
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 0.01% สู่ 4,288.39
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.67% สู่ 13,307.77
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันจันทร์ โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงการที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทะยานขึ้นแตะ 107.03 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในรอบ 10 เดือน, การที่นักลงทุนเทขายทำกำไรสัญญาน้ำมันออกมา หลังจากราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นมาแล้วเกือบ 30% จนแตะจุดสูงสุดรอบ 10 เดือนในไตรมาส 3, แรงกดดันที่อุปสงค์น้ำมันได้รับจากอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูง และความกังวลเรื่องการเพิ่มขึ้นของอุปทานน้ำมันดิบ ทั้งนี้ คณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) รายงานในวันศุกร์ว่า นักเก็งกำไรในสหรัฐปรับเพิ่มการถือครองสถานะซื้อสุทธิในสัญญาล่วงหน้าและออปชั่นน้ำมันดิบในช่วงสัปดาห์ล่าสุด จนสถานะซื้อสุทธิดังกล่าวขึ้นไปแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2022 ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่นักเก็งกำไรอาจจะเทขายทำกำไรสัญญาน้ำมันออกมาในช่วงนี้ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ย.ดิ่งลง 1.97 ดอลลาร์ หรือ 2.2% มาปิดตลาดที่ 88.82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 1.49 ดอลลาร์ หรือ 1.6% มาปิดตลาดที่ 90.71 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนพ.ย.ครบกำหนดส่งมอบที่ระดับ 95.31 ดอลลาร์ในวันศุกร์ ซึ่งเท่ากับว่าราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนใกล้ดิ่งลงราว 5% ในวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค. โดยราคาสัญญาเดือนธ.ค.ได้ดิ่งลงแตะ 90.35 ดอลลาร์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันจันทร์ด้วย ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 3 สัปดาห์สำหรับราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนใกล้
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐดิ่งลง 20.91 ดอลลาร์ หรือ 1.13% สู่ 1,827.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นการร่วงลงเป็นวันที่ 6 ติดต่อกัน หลังจากราคาทองดิ่งลงแตะ 1,825.90 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนมี.ค. หรือจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 7 เดือน โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และจากการคาดการณ์ที่ว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐจะอยู่ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งนี้ นายจิม วิคคอฟ นักวิเคราะห์ของบริษัทคิทโค เมทัลส์กล่าวว่า ราคาทองอาจจะดิ่งลงสู่ระดับต่ำกว่า 1,800 ดอลลาร์ในอนาคตอันใกล้นี้ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในสถานะที่ดีกว่าเศรษฐกิจของประเทศสำคัญอื่น ๆ ทั้งนี้ บริษัทเอสแอนด์พี โกลบอลรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) โดยรวมของสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ ขยับลงจาก 50.2 ในเดือนส.ค. สู่ 50.1 ในเดือนก.ย. ในขณะที่ดัชนีที่ระดับสูงกว่า 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัว โดยรายงานนี้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในสถานะที่ดีกว่าเศรษฐกิจยุโรป หลังจากมีรายงานระบุว่า ดัชนี PMI โดยรวมของฝรั่งเศสร่วงลงจาก 46.0 ในเดือนส.ค. สู่ 43.5 ในเดือนก.ย. นอกจากนี้ ผลสำรวจก็พบว่า เศรษฐกิจยูโรโซนอาจหดตัวลงในไตรมาส 3 ในขณะที่ดัชนี PMI คอมโพสิตขั้นต้นของยูโรโซนเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 47.1 ในเดือนก.ย. จากระดับต่ำสุดในรอบ 33 เดือนที่ 46.7 ในเดือนส.ค. แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.55 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 105.39 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 105.78 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. หรือจุดสูงสุดรอบ 6 เดือน โดยดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับขึ้นราว 0.3% จากสัปดาห์ที่แล้ว และถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 10 ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 148.37 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 147.58 เยน หลังจากทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบกว่า 10 เดือนที่ 148.45 เยนในวันพฤหัสบดี
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0652 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยขยับลงจาก 1.0658 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0613 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. หรือจุดต่ำสุดรอบ 6 เดือน
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงในวันศุกร์ หลังจากแกว่งตัวผันผวนในระหว่างวัน ในขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 4.508% ในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี ก่อนจะปรับลงสู่ 4.440% ในช่วงท้ายวันศุกร์ ทางด้านมิเชลล์ โบว์แมน หนึ่งในผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในวันศุกร์ว่า เฟดจำเป็นจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อภายในเวลาที่เหมาะสม โดยถ้อยแถลงแบบสายเหยี่ยวในครั้งนี้ตั้งอยู่บนการคาดการณ์ที่ว่า ราคาพลังงานอาจจะปรับสูงขึ้น และการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้ออาจจะดำเนินต่อไปอีกนานหลายปี ทั้งนี้ มีเพียงหุ้น 2 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐที่ปิดตลาดวันศุกร์ในแดนบวก ซึ่งได้แก่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีกับหุ้นกลุ่มพลังงาน ส่วนหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยถือเป็นกลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุดในวันศุกร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.31% สู่ 33,963.84
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.23% สู่ 4,320.06 หลังจากดัชนีเพิ่งร่วงผ่านค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 100 วันซึ่งถือเป็นแนวรับสำคัญในวันพฤหัสบดี และถือเป็นการร่วงผ่านแนวรับดังกล่าวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมี.ค. โดยการที่ดัชนีไม่สามารถพุ่งขึ้นเหนือระดับดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ดัชนียังคงได้รับแรงกดดันในทางลบ นอกจากนี้ ดัชนี S&P 500 ก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ด้วย
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.09% สู่ 13,211.81 โดยดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากรายงานของบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์ที่ระบุว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐดิ่งลง 8 แท่น สู่ 507 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 ก.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2022 ทางด้านบริษัทไอไออาร์ เอ็นเนอร์จีระบุว่า มีการคาดการณ์กันว่าโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐจะปิดกำลังการกลั่นน้ำมันราว 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ล่าสุด โดยเพิ่มขึ้นจาก 800,000 บาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ในขณะที่โรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐมักจะปิดซ่อมบำรุงในฤดูใบไม้ร่วง หลังจากใช้กำลังการกลั่นจำนวนมากในช่วงฤดูร้อนเพื่อตอบรับต่ออุปสงค์น้ำมันที่ระดับสูง ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ทรงตัวในวันศุกร์ แต่ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบ โดยได้รับแรงกดดันจากคำสั่งเทขายทำกำไร ในขณะที่ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ซึ่งจะส่งผลลบต่ออุปสงค์น้ำมัน แต่ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมัน หลังจากรัสเซียประกาศห้ามส่งออกเชื้อเพลิง Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ย.ปรับขึ้น 40 เซนต์ หรือ 0.5% มาปิดตลาดที่ 90.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันศุกร์ แต่ราคาน้ำมันดิบสหรัฐปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการขยับลง 0.03% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นครั้งแรกในรอบ 4 สัปดาห์
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนขยับลง 3 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 93.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับลง 0.3% จากสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกมานานติดต่อกัน 3 สัปดาห์ โดยราคาน้ำมันดิบเคยพุ่งขึ้นกว่า 10% ในช่วง 3 สัปดาห์ดังกล่าว โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมันตึงตัว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 5.42 ดอลลาร์ สู่ 1,924.99 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากปิดตลาดในแดนลบมานานติดต่อกัน 3 วัน ในขณะที่ดัชนีดอลลาร์ลดช่วงบวกลงในวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 เดือนในระหว่างวัน ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีก็พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 16 ปีที่ 4.508% ในวันศุกร์ ก่อนจะร่วงลงมาปิดตลาดที่ 4.44% ในวันศุกร์ โดยปรับลงจาก 4.48% ในวันพฤหัสบดี โดยการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่งผลบวกต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--19 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอ่อนค่าลงในวันจันทร์ แต่ยังคงเคลื่อนตัวอยู่ใกล้จุดสูงสุดรอบ 6 เดือนท่ามกลางบรรยาศการซื้อขายที่สงบเงียบ ในขณะที่เทรดเดอร์รอดูผลการประชุมกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันพุธ, ผลการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) ในวันพฤหัสบดี และผลการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ในวันศุกร์ ทั้งนี้ เจเน็ต เยลเลน รมว.คลังสหรัฐกล่าวในวันจันทร์ว่า เธอมองไม่เห็นสัญญาณบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ช่วงขาลง และเธอตั้งข้อสังเกตว่าตลาดแรงงานสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง และอัตราเงินเฟ้อกำลังชะลอตัวลง แต่เธอกล่าวเตือนว่า ถ้าหากสภาคองเกรสของสหรัฐประสบความล้มเหลวในการผ่านร่างกฎหมายที่จะช่วยให้หน่วยงานราชการสหรัฐเปิดดำเนินงานได้ต่อไป ปัจจัยดังกล่าวก็อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.08 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 105.34 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากเพิ่งพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 เดือนที่ 105.43 ในวันพฤหัสบดีที่ 14 ก.ย. โดยดัชนีดอลลาร์เพิ่งปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 9 ติดต่อกัน ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2014
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.60 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยปรับลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 147.82 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0690 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0655 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์
ตลาดหุ้นสหรัฐขยับขึ้นเล็กน้อยในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะได้รับการประกาศออกมาในวันพุธนี้ โดยนักลงทุนคาดว่า มีโอกาส 99% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 19-20 ก.ย. และมีโอกาส 1% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.50-5.75% ในการประชุมวันที่ 19-20 ก.ย. ทั้งนี้ นักลงทุนกังวลกับความเป็นไปได้ที่สภาคองเกรสของสหรัฐอาจจะประสบความล้มเหลวในการผ่านร่างกฎหมายที่จะช่วยให้หน่วยงานราชการสหรัฐเปิดดำเนินงานได้ต่อไป ในขณะที่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐที่อยู่ภายใต้การนำของพรรครีพับลิกัน และวุฒิสภาสหรัฐที่อยู่ภายใต้การนำของพรรคเดโมแครตมีเวลาจนถึงวันที่ 30 ก.ย.ในการผ่านร่างกฎหมายงบใช้จ่ายเพื่อช่วยให้หน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐเปิดดำเนินงานได้ต่อไป ไม่เช่นนั้นหน่วยงานรัฐบาลบางส่วนก็จะต้องปิดการดำเนินงานเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 10 ปี Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น 0.02% สู่ 34,624.3
ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.07% สู่ 4,453.53
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับขึ้น 0.01% สู่ 13,710.24
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า การที่ซาอุดิอาระเบียกับรัสเซียต่ออายุมาตรการปรับลดอุปทานน้ำมันออกไปจนถึงสิ้นปีนี้จะส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนอุปทานน้ำมัน และราคาน้ำมันยังได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากปริมาณการผลิตน้ำมันหินเชลที่ระดับต่ำด้วย โดยปัจจัยบวกเหล่านี้บดบังความกังวลเรื่องอุปสงค์น้ำมัน ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ระบุในรายงานรายเดือนว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐจากแหล่งน้ำมันหินเชลสำคัญมีแนวโน้มร่วงลงในเดือนต.ค.เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และอาจดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. โดย EIA คาดการณ์อีกด้วยว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐมีแนวโน้มร่วงลงจาก 9.433 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนก.ย. สู่ 9.393 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนต.ค. และออกห่างจากสถิติสูงสุดที่ 9.476 ล้านบาร์เรลต่อวันที่เคยทำไว้ในเดือนก.ค. ทางด้านเจ้าชายอับดุลอาซิซ บิน ซัลมาน รมว.พลังงานซาอุดิอาระเบียได้กล่าวปกป้องมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) ในวันจันทร์ โดยเขากล่าวว่าตลาดพลังงานระหว่างประเทศจำเป็นต้องมีกฎระเบียบที่คล่องตัวเพื่อจำกัดความผันผวนของตลาด และเขากล่าวเตือนว่ามีความไม่แน่นอนในเรื่องอุปสงค์ในจีน, การเติบโตทางเศรษฐกิจในยุโรป และมาตรการของธนาคารกลางที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ปรับขึ้น 71 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 91.48 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 92.43 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022 หรือจุดสูงสุดรอบ 10 เดือน โดยราคาน้ำมันดิบสหรัฐอยู่ในภาวะที่มีคำสั่งซื้อเข้ามามากเกินไปเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 50 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 94.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 94.95 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022 หรือจุดสูงสุดรอบ 10 เดือน โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์อยู่ในภาวะที่มีคำสั่งซื้อเข้ามามากเกินไปเป็นวันที่ 7 ติดต่อกัน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 9.56 ดอลลาร์ สู่ 1,933.14 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางหลายแห่งในสัปดาห์นี้ และนักลงทุนคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในวันพุธนี้ ทั้งนี้ ราคาสัญญาทองล่วงหน้าส่งมอบเดือนธ.ค.ในตลาดสัญญาล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้พุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดที่ 480.26 หยวนในวันศุกร์ที่ 15 ก.ย. หลังจากราคาทองในจีนทะยานขึ้นมานานหลายเดือน โดยได้รับแรงหนุนจากการที่ผู้บริโภคจีนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยเพื่อชดเชยการอ่อนค่าของหยวน Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--14 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นในวันพุธ หลังจากสหรัฐรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อปรับขึ้นในเดือนส.ค. แต่รายงานตัวเลขดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบมากนักต่อการคาดการณ์ของนักลงทุนที่มีต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพุธว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปปรับขึ้น 0.6% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2022 หรือครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 14 เดือน โดยได้รับแรงหนุนจากการทะยานขึ้นของราคาน้ำมันเบนซิน หลังจากดัชนี CPI ปรับขึ้น 0.2% ในเดือนก.ค. ส่วนดัชนี CPI ทั่วไปแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 3.7% ในเดือนส.ค. หลังจากปรับขึ้น 3.2% ในเดือนก.ค. ทางด้านดัชนี CPI พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานปรับขึ้น 0.3% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.2% ในเดือนก.ค. โดยดัชนี CPI พื้นฐานได้รับแรงกดดันจากราคารถยนต์และรถบรรทุกมือสองที่ดิ่งลง 1.2% ในเดือนส.ค. ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 4.3% ในเดือนส.ค. ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2021 หรือต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี หลังจากปรับขึ้น 4.7% ในเดือนก.ค.เมื่อเทียบรายปี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.74 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 104.59 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.45 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 147.08 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0728 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0752 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดตลาดปรับลงในวันพุธ แต่ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันพุธ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพุธว่า ราคาผู้บริโภคปรับขึ้นปานกลางในเดือนส.ค. และรายงานดังกล่าวช่วยตอกย้ำการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 19-20 ก.ย. โดยหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มเติบโตพุ่งขึ้นในวันพุธ ซึ่งรวมถึงหุ้นเทสลาที่พุ่งขึ้น 1.4%, หุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ที่ทะยานขึ้น 1.1%, หุ้นไมโครซอฟท์ที่พุ่งขึ้น 1.3% และหุ้นอะเมซอนดอทคอมที่ทะยานขึ้น 2.6% อย่างไรก็ดี หุ้นแอปเปิลดิ่งลง 1.2% หลังจากแอปเปิลเปิดตัวโทรศัพท์ไอโฟนรุ่นใหม่ในวันอังคาร แต่คงราคาไอโฟนไว้ที่ระดับเดิม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภาวะตกต่ำของตลาดโทรศัพท์สมาร์ตโฟนทั่วโลก ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยของสหรัฐปรับขึ้น 0.9% ในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นฟอร์ด มอเตอร์ที่พุ่งขึ้น 1.5% หลังจากฟอร์ดเปิดเผยแผนการปรับเพิ่มปริมาณการผลิตรถกระบะไฮบริดรุ่นเอฟ-150 ขึ้นเป็น 2 เท่าในปี 2024 Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.20% สู่ 34,575.53
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 0.12% สู่ 4,467.44
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.29% สู่ 13,813.59
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับลงในวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 10 เดือนในช่วงแรก โดยราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ในวันพุธที่ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 4 ล้านบาร์เรล สู่ 420.6 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 ก.ย. ถึงแม้นักวิเคราะห์ในโพลล์รอยเตอร์คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจดิ่งลง 1.9 ล้านบาร์เรล โดยสต็อกน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนจากยอดการนำเข้าน้ำมันดิบสุทธิในสหรัฐที่ทะยานขึ้น 2.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน สู่ 4.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2022 นอกจากนี้ EIA ยังรายงานอีกด้วยว่า สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 5.6 ล้านบาร์เรล สู่ 220.3 ล้านบาร์เรล ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2022 ส่วนสต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil ทะยานขึ้น 3.9 ล้านบาร์เรล สู่ 122.5 ล้านบาร์เรล ทั้งนี้ รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบบดบังแรงหนุนที่ราคาน้ำมันได้รับจากการคาดการณ์ที่ว่า อุปทานน้ำมันจะตึงตัวในช่วงต่อไปในปีนี้ โดยองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุในวันพุธว่า การที่ซาอุดิอาระเบียและรัสเซียต่ออายุมาตรการปรับลดอุปทานน้ำมันในอัตรา 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไปจนถึงสิ้นปีนี้ จะส่งผลให้ตลาดน้ำมันประสบภาวะขาดแคลนน้ำมันเป็นอย่างมากตลอดทั้งไตรมาส 4 Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ปรับลง 32 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 88.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 89.64 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 18 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 91.88 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 92.84 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับลง 6.96 ดอลลาร์ สู่ 1,906.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากร่วงลงแตะ 1,905.10 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค. โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ อย่างไรก็ดี ราคาทองปรับลงไม่มากนัก เนื่องจากราคาทองได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 19-20 ก.ย. ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี, รอดูตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี และรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในวันพฤหัสบดีด้วย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน