ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--12 ต.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับลงในวันพุธ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพุธว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) พื้นฐาน ที่ไม่รวมราคาอาหาร, พลังงาน และบริการการค้า ปรับขึ้น 0.2% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.2% ในเดือนส.ค. ส่วนดัชนี PPI พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.8% ในเดือนก.ย. หลังจากปรับขึ้น 2.9% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยการชะลอตัวลงของดัชนี PPI พื้นฐานนี้ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ในตลาดที่ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจสิ้นสุดลงแล้ว ทั้งนี้ เฟดเปิดเผยรายงานการประชุมกำหนดนโยบายประจำวันที่ 19-20 ก.ย.ในวันพุธด้วย โดยรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ความไม่แน่นอนในเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐส่งผลให้เจ้าหน้าที่เฟดแสดงจุดยืนแบบระมัดระวัง ในขณะที่เจ้าหน้าที่เฟดอภิปรายกันว่าเฟดจำเป็นจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.67 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยปรับลงจาก 105.76 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 105.55 ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 149.15 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 148.70 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0617 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยปรับขึ้นจาก 1.0603 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากแข็งค่าขึ้นแตะ 1.0634 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย.
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันพุธหลังจากแกว่งตัวผันผวนในระหว่างวัน หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมกำหนดนโยบายประจำวันที่ 19-20 ก.ย.ในวันพุธ โดยรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่เฟดระบุว่าความไม่แน่นอนในเรื่องเศรษฐกิจ, ราคาน้ำมัน และตลาดการเงิน ล้วนเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ "เฟดเดินหน้าอย่างระมัดระวังในการตัดสินใจว่า การคุมเข้มนโยบายต่อไปในระดับใดจึงจะเป็นระดับที่เหมาะสม" โดยรายงานการประชุมเฟดดังกล่าวช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนตั้งความหวังว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมต่อไป ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มที่มักได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพุธ โดยดัชนีหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์พุ่งขึ้น 2% และดัชนีหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคทะยานขึ้น 1.6% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 4.544% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ และออกห่างจากระดับ 4.887% ที่เคยทำไว้ในวันศุกร์ที่ 6 ต.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเรื่องความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานของสหรัฐดิ่งลง 1.4% ในวันพุธ และถือเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่รูดลงมากที่สุด โดยดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานได้รับแรงกดดันจากหุ้นบริษัทเอ็กซอน โมบิลที่ดิ่งลง 3.6% หลังจากเอ็กซอน โมบิลตกลงที่จะเข้าซื้อบริษัทไพโอเนียร์ เนเชอรัล รีซอร์สเซสในข้อตกลงที่ใช้หุ้นทั้งหมดเป็นมูลค่า 5.95 หมื่นล้านดอลลาร์ ทางด้านหุ้นไพโอเนียร์พุ่งขึ้น 1.4% ในวันพุธ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 0.19% สู่ 33,804.87
ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.43% สู่ 4,376.95
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 0.71% สู่ 13,659.68
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนปรับลดความกังวลที่มีต่อการขาดตอนของอุปทานน้ำมันท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส หลังจากซาอุดิอาระเบียประกาศในวันอังคารว่า ซาอุดิอาระเบียจะทำงานร่วมกับพันธมิตรในภูมิภาคและพันธมิตรนานาชาติเพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ในกาซาและพื้นที่ใกล้เคียงทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และซาอุดิอาระเบียสนับสนุนความพยายามในการรักษาเสถียรภาพในตลาดน้ำมัน นอกจากนี้ ซาอุดิอาระเบียกับรัสเซียก็ได้ประชุมกันที่กรุงมอสโคว์ในวันพุธด้วย โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียกล่าวในการประชุมว่า การร่วมมือกันระหว่างกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) จะยังคงดำเนินต่อไป "เพื่อทำให้ตลาดน้ำมันอยู่ในภาวะที่คาดการณ์ได้" และเขาได้เรียกร้องให้บริษัทน้ำมันของรัสเซียให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับการตอบสนองอุปสงค์เชื้อเพลิงภายในรัสเซียก่อนจะส่งออกน้ำมัน ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันพุธ การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 ต.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้นราว 12.9 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐทะยานขึ้นราว 3.6 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐดิ่งลงราว 3.5 ล้านบาร์เรล ทางด้านสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) คาดการณ์ในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันในคลังทั่วโลกอาจดิ่งลง 200,000 บาร์เรลต่อวันในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 โดยเป็นผลจากมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจของซาอุดิอาระเบีย และจากการที่กลุ่มโอเปกพลัสปรับลดเป้าหมายปริมาณการผลิตน้ำมันลง Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ย.ดิ่งลง 2.48 ดอลลาร์ หรือ 2.9% มาปิดตลาดที่ 83.49 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 1.83 ดอลลาร์ หรือ 2.1% มาปิดตลาดที่ 85.82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 13.52 ดอลลาร์ สู่ 1,873.61 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1,876.86 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย. หรือจุดสูงสุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการดิ่งลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนมุ่งความสนใจไปยังดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี เพราะตัวเลขดังกล่าวอาจจะบ่งชี้ถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ ทั้งนี้ นายจิม วิคคอฟ นักวิเคราะห์ของบริษัทคิทโค เมทัลส์กล่าวว่า ถ้าหากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงในวันพฤหัสบดี ตัวเลขดังกล่าวก็อาจจะหนุนราคาทองให้พุ่งขึ้นสู่ระดับ 1,900 ดอลลาร์ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทรงตัวในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบ 15 เดือน โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับภาวะเศรษฐกิจจีน และนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไป Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.45 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยขยับขึ้นจาก 103.40 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 เดือนที่ 103.68 ในระหว่างวัน และดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการแข็งค่าขึ้นราว 0.5% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 145.37 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 145.83 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 9 เดือนที่ 146.56 เยนในวันพฤหัสบดี
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0873 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0871 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.0856 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี
ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดขยับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยดัชนี S&P 500 ได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มเติบโต แต่ได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มปลอดภัยและหุ้นกลุ่มพลังงาน ในขณะที่นักลงทุนรอฟังถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมที่แจ็คสัน โฮลในวันศุกร์ที่ 25 ส.ค. และรอดูผลประกอบการของบริษัทเอ็นวิเดีย ซึ่งเป็นบริษัทผู้ออกแบบชิปที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธที่ 23 ส.ค. ทางด้านดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดตลาดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นวอลมาร์ทซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกขนาดยักษ์ที่พุ่งขึ้น 1.44% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.07% สู่ 34,500.66
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.01% สู่ 4,369.71 ในวันศุกร์ และดิ่งลงมาแล้ว 4.6% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.2% สู่ 13,290.78 และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 2.6% จากสัปดาห์ที่แล้ว โดยดัชนี Nasdaq รูดลงมาแล้ว 7.2% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนธ.ค. 2022
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากสัญญาณบ่งชี้ว่า การผลิตน้ำมันในสหรัฐชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี ทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่มีต่อแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกท่ามกลางวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุน หลังจากบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์สรายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซที่ใช้งานในสหรัฐดิ่งลง 12 แท่น สู 642 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2022 และถือเป็นการปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน โดยการดิ่งลงของปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐอาจจะส่งผลให้อุปทานน้ำมันตึงตัวมากยิ่งขึ้นในช่วงต่อไปในปีนี้ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ย.พุ่งขึ้น 86 เซนต์ หรือ 1.1% มาปิดตลาดที่ 81.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 68 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 84.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่เบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงราว 2% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 0.70 ดอลลาร์ สู่ 1,888.19 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 1.31% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งกระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ต่อไปจนถึงปี 2024 และนักลงทุนรอดูสัญญาณบ่งชี้ถึงทิศทางนโยบายการเงินจากการประชุมธนาคารกลางที่แจ็คสัน โฮลในวันที่ 24-26 ส.ค. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--9 ส.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงในวันอังคาร หลังจากมีข่าวว่าบริษัทมูดี้ส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายแห่งของสหรัฐ และระบุว่าอาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือธนาคารที่ใหญ่ที่สุดบางแห่งของสหรัฐลงด้วย โดยมูดี้ส์เตือนว่า ความแข็งแกร่งด้านความน่าเชื่อถือของภาคธนาคารอาจจะถูกทดสอบจากความเสี่ยงด้านการระดมทุน และความสามารถในการทำกำไรที่ลดลง ทั้งนี้ มูดี้ส์ลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคาร 10 แห่งลง 1 ขั้น และประกาศทบทวนโดยมีแนวโน้มปรับลดลงสำหรับธนาคารขนาดใหญ่อีก 6 แห่ง อาทิ แบงก์ ออฟ นิวยอร์ค เมลลอน, ยูเอส แบนคอร์ป, สเตท สตรีท และทรูอิสต์ ไฟแนนเชียล โดยข่าวนี้ทำให้นักลงทุนกังวลกับสถานะของภาคธนาคารสหรัฐและเศรษฐกิจสหรัฐ ทางด้านหุ้นธนาคารโกลด์แมน แซคส์และแบงก์ ออฟ อเมริกาดิ่งลงราว 1.9%, หุ้นแบงก์ ออฟ นิวยอร์ค เมลลอนรูดลง 1.3% และหุ้นทรูอิสต์ร่วงลง 0.6% ในวันอังคาร
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.45% สู่ 35,314.49, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.42% สู่ 4,499.38 และดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.79% สู่ 13,884.32 ในวันอังคาร โดยดัชนี S&P ดิ่งลงมาแล้ว 2% จากช่วงต้นเดือนส.ค. ส่วน Nasdaq รูดลงมาแล้ว 3.2% จากช่วงต้นเดือนนี้ ในขณะที่ดัชนีทั้งสองตัวนี้ปิดตลาดในแดนลบเป็นจำนวน 5 วันในช่วง 6 วันทำการที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ดัชนีทั้งสองตัวนี้เพิ่งพุ่งขึ้นในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา และอยู่ห่างจากสถิติสูงสุดไม่มากนัก
หุ้น 8 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนลบในวันอังคาร โดยหุ้นกลุ่มที่ดิ่งลงอย่างรุนแรงรวมถึงหุ้นกลุ่มวัสดุ, หุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย และหุ้นกลุ่มการเงิน ในขณะที่ดัชนี KBW สำหรับหุ้นกลุ่มธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐดิ่งลง 1.4% และดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐรูดลง 1.1% ในวันอังคาร โดยดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารดิ่งลงมาแล้ว 2.5% จากช่วงต้นปีนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากวิกฤติภาคธนาคารในช่วงต้นปีนี้ ซึ่งสวนทางกับดัชนี S&P 500 ที่พุ่งขึ้นมาแล้ว 17.2% จากช่วงต้นปีนี้ ทั้งนี้ ข่าวเรื่องการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือในภาคธนาคารส่งผลให้ดัชนีความผันผวน CBOE หรือดัชนี VIX ที่ใช้วัดระดับความกังวลในตลาดหุ้นสหรัฐ พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 เดือนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันอังคาร
ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานของสหรัฐร่วงลงในช่วงแรก โดยได้รับแรงกดดันจากตัวเลขภาคการค้าที่น่าผิดหวังของจีน อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานปรับขึ้นมาปิดตลาดบวกขึ้น 0.5% ในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน
หุ้นกลุ่มการแพทย์พุ่งขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทอีไล ลิลลีที่ทะยานขึ้น 14.9% สู่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ หลังจากทางบริษัทเปิดเผยผลกำไรรายไตรมาสที่สดใส นอกจากนี้ หุ้นบริษัทผู้ผลิตยาทั่วโลกก็ได้รับแรงหนุนจากข่าวเกี่ยวกับบริษัทโนโว นอร์ดิสก์ของเดนมาร์กด้วย หลังจากโนโว นอร์ดิสก์ประกาศว่า ยา Wegovy ที่ใช้รักษาโรคอ้วนของทางบริษัทช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ ทั้งนี้ หุ้นยูไนเต็ด พาร์เซล เซอร์วิส (UPS) ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งพัสดุ ร่วงลง 0.9% หลังจาก UPS ปรับลดคาดการณ์รายได้ประจำปี--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--31 ก.ค.--รอยเตอร์
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันศุกร์ และปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ในทางบวกว่า ราคาน้ำมันจะได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์น้ำมันที่ระดับสูง และได้รับแรงหนุนจากมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมัน ทั้งนี้ นักลงทุนต้องการซื้อสินทรัพย์เสี่ยงมากยิ่งขึ้นในช่วงนี้ ในขณะที่นักลงทุนคาดว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจใกล้ที่จะสิ้นสุดลงแล้ว และการสิ้นสุดของวัฏจักรดังกล่าวจะส่งผลดีต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มอุปสงค์พลังงาน
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ย.ปรับขึ้น 49 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 80.58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดของวันที่ 79.07 ดอลลาร์ และหลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 80.71 ดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 19 เม.ย. หรือจุดสูงสุดรอบ 3 เดือน ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 75 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 84.99 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทางด้านนายฟิล ฟลินน์ นักวิเคราะห์ของบริษัทไพรซ์ ฟิวเจอร์ส กรุ๊ปกล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ดิ่งลงอย่างรุนแรงในช่วงแรกของวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรออกมา หลังจากราคาน้ำมันดิบสหรัฐพุ่งขึ้นเหนือ 80 ดอลลาร์ ทั้งนี้ ทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นเกือบ 5% จากสัปดาห์ที่แล้ว และมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนก.ค.ด้วยการทะยานขึ้นกว่า 13% จากเดือนมิ.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) ประกาศออกมาในช่วงต้นเดือนก.ค.
นักลงทุนคาดการณ์ในทางบวกต่ออุปสงค์น้ำมัน หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโต 2.4% ในไตรมาสสอง ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 1.8% และรายงานตัวเลขนี้ช่วยสนับสนุนความเห็นของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจยุโรปที่ออกมาในวันศุกร์แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจฝรั่งเศสกับสเปนสามารถรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้ดีเกินคาดในไตรมาสสอง โดยเศรษฐกิจฝรั่งเศสเติบโต 0.5% ในไตรมาสสอง และเศรษฐกิจสเปนเติบโต 0.4%
นายดาร์เรน วูดส์ ซีอีโอของบริษัทเอ็กซอน โมบิลกล่าวในการให้สัมภาษณ์ในวันศุกร์ว่า เขาคาดว่าอุปสงค์น้ำมันจะอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในปีนี้และปีหน้า ทั้งนี้ ในส่วนของอุปทานน้ำมันนั้น บริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์สรายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐลดลง 1 แท่น สู่ 529 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 ก.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022
นักวิเคราะห์ของธนาคารคอมเมอร์ซแบงก์ระบุว่า มีหลักฐานบ่งชี้ว่าอุปทานน้ำมันกำลังตึงตัวมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสต็อกน้ำมันในคลังสหรัฐปรับลดลง และซาอุดิอาระเบียปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลง 1 ล้านบาร์เรลต่อวันโดยสมัครใจ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกอาจจะดิ่งลงในเดือนก.ค.จนแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี 2021 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า ซาอุดิอาระเบียอาจจะต่ออายุมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจออกไปอีก 1 เดือน เพื่อให้ครอบคลุมเดือนก.ย.ด้วย และปัจจัยนี้จะช่วยหนุนราคาน้ำมัน--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--7 ก.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดดิ่งลงในวันพฤหัสบดี หลังจากมีการเปิดเผยตัวเลขตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งในสหรัฐ และรายงานตัวเลขดังกล่าวหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐให้พุ่งสูงขึ้น และกระตุ้นให้นักลงทุนกังวลกันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวต่อไป ทั้งนี้ บริษัท ADP รายงานว่า การจ้างงานภาคเอกชนในสหรัฐพุ่งขึ้น 497,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2022 และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 228,000 ตำแหน่งเป็นอย่างมาก หลังจากการจ้างงานภาคเอกชนปรับขึ้น 267,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. ทางด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดการเปิดรับสมัครงานในสหรัฐดิ่งลง 496,000 ตำแหน่ง สู่ 9.824 ล้านตำแหน่งในวันสุดท้ายของเดือนพ.ค. แต่ยอดการเปิดรับสมัครงานถือว่ายังคงอยู่ในระดับสูง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดดิ่งลง 1.07% สู่ 33,922.26 ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 2 พ.ค., ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.79% สู่ 4,411.59 โดยการปรับลงในวันพฤหัสบดีถือเป็นการปรับลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค. ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.82% สู่ 13,679.04 ทั้งนี้ หุ้นทั้ง 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนลบในวันพฤหัสบดี โดยดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงราว 2.5% และถือเป็นกลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุด ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยรูดลงเกือบ 1.7%
ตัวเลขที่แข็งแกร่งในตลาดแรงงานสหรัฐกระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงเป็นเวลานาน โดยนักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดว่า มีโอกาส 11.2% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. และมีโอกาส 88.8% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. นอกจากนี้ นักลงทุนยังปรับเพิ่มการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมวันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย.ด้วย โดยนักลงทุนคาดการณ์ในวันพฤหัสบดีว่ามีโอกาส 47% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนพ.ย. โดยปรับขึ้นจากโอกาสราว 36% ที่เคยคาดไว้ในวันพุธ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 2 ปี ซึ่งมักจะปรับตัวตามการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย พุ่งขึ้นแตะ 5.120% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นจาก 3.945% ในช่วงท้ายวันพุธ สู่ 4.083% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค.
หุ้นบริษัทขนาดยักษ์ปรับขึ้น และปัจจัยนี้ช่วยจำกัดการดิ่งลงของดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐในวันพฤหัสบดี โดยหุ้นไมโครซอฟท์ปรับขึ้น 0.9% ส่วนหุ้นแอปเปิลบวกขึ้น 0.3% ในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ ลอรี โลแกน ประธานเฟดสาขาดัลลัสกล่าวว่า เธอมีความกังวลเป็นอย่างมากว่า "อัตราเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่ระดับเป้าหมายได้อย่างยั่งยืนและในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่" และเธอกล่าวเสริมว่า มีเหตุผลสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย. ถึงแม้เฟดตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย.
ฤดูการรายงานผลประกอบการไตรมาสสองจะเริ่มต้นขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ในขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจดิ่งลง 5.7% ในไตรมาสสองเมื่อเทียบรายปี--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--4 เม.ย.--รอยเตอร์
ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานของสหรัฐที่พุ่งขึ้น 4.9% หลังจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) ประกาศในวันอาทิตย์ที่ 2 เม.ย.ว่า กลุ่มโอเปกพลัสจะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงไปอีกราว 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวันตั้งแต่เดือนพ.ค.จนถึงสิ้นปีนี้เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพในตลาดน้ำมัน โดยประกาศดังกล่าวกระตุ้นให้มีการคาดการณ์กันว่า ราคาน้ำมันดิบอาจจะพุ่งขึ้นสู่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้ในอนาคต ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้นกลุ่มน้ำมันนั้น หุ้นบริษัทเชฟรอน, เอ็กซอน โมบิล และออกซิเดนทัล ปิโตรเลียมต่างก็พุ่งขึ้นกว่า 4%
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดทะยานขึ้น 0.98% สู่ 33,601.15, ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.37% สู่ 4,124.51 และดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.27% สู่ 12,189.45 ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทยูไนเต็ดเฮลธ์ กรุ๊ป อิงค์ที่พุ่งขึ้น 4.6% หลังจากรัฐบาลสหรัฐประกาศในวันศุกร์ว่า ทางรัฐบาลจะปรับลดอัตราการจ่ายเงินชดเชยบริษัทประกันสุขภาพที่เข้าร่วมในโครงการ Medicare Advantage ลงเพียง 1.1% โดยเฉลี่ยในปี 2024 โดยโครงการ Medicare Advantage นี้ครอบคลุมประชากรเกือบครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด 65 ล้านคนที่เข้าร่วมในโครงการเมดิแคร์ของรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งเป็นโครงการประกันสุขภาพสำหรับคนพิการและผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
หุ้นเทสลาดิ่งลง 6.1% หลังจากเทสลาเปิดเผยว่า ยอดการจัดส่งรถยนต์ไฟฟ้าในไตรมาส 1/2023 ปรับขึ้นเพียง 4% จากไตรมาสก่อนหน้านั้น โดยปรับขึ้นสู่ 422,875 คัน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สร้างความผิดหวังให้แก่นักลงทุน ถึงแม้นายอีลอน มัสก์ ซีอีโอของเทสลาปรับลดราคารถยนต์ลงในเดือนม.ค.เพื่อกระตุ้นอุปสงค์ ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูฤดูการรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า โดยนักลงทุนจะมุ่งความสนใจไปยังผลประกอบการของธนาคารขนาดใหญ่ หลังจากเกิดวิกฤติภาคธนาคารในเดือนมี.ค.
ข่าวเรื่องโอเปกพลัสกระตุ้นให้นักลงทุนกังวลกับภาวะเงินเฟ้อ แต่นักลงทุนลดความกังวลเรื่องภาวะเงินเฟ้อลง หลังจากสถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐ (ISM) และบริษัทเอสแอนด์พี โกลบอลรายงานว่ากิจกรรมภาคการผลิตของสหรัฐอยู่ในภาวะอ่อนแอในเดือนมี.ค. ทั้งนี้ ISM รายงานในวันจันทร์ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐดิ่งลงจาก 47.7 ในเดือนก.พ. สู่ 46.3 ในเดือนมี.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2020 และสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมภาคการผลิตของสหรัฐดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี ในขณะที่ยอดสั่งซื้อยังคงหดตัวลงต่อไป โดยดัชนียอดสั่งซื้อใหม่รูดลงจาก 47.0 ในเดือนก.พ. สู่ 44.3 ในเดือนมี.ค.
นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้า federal funds คาดว่า มีโอกาส 65% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 2-3 พ.ค. และเทรดเดอร์ยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. และอัตราดอกเบี้ยจะปรับลดลงสู่ระดับราว 4.319% ในเดือนธ.ค.--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--1 ก.พ.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นในวันอังคาร หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ดัชนีต้นทุนการจ้างงาน (ECI) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดต้นทุนแรงงานในวงกว้างที่สุดในสหรัฐ ปรับขึ้น 1.0% ในไตรมาส 4/2022 เมื่อเทียบรายไตรมาส ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2021 และอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +1.1% หลังจากดัชนี ECI ปรับขึ้น 1.2% ในไตรมาสเดือนก.ค.-ก.ย. 2022 ทางด้านค่าแรงและเงินเดือนในสหรัฐปรับขึ้น 1.0% ในไตรมาส 4/2022 ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2021 ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ นักลงทุนบางรายมองว่า รายงานตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงที่ผ่านมากำลังประสบความสำเร็จในการทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 1.09% สู่ 34,086.04, ดัชนี S&P 500 ปิดทะยานขึ้น 1.46% สู่ 4,076.6 และดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.67% สู่ 11,584.55 ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการพุ่งขึ้น 6.2% จากเดือนธ.ค. ส่วนดัชนี Nasdaq ทะยานขึ้น 10.7% ในเดือนม.ค. ซึ่งถือเป็นอัตราการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดสำหรับเดือนม.ค.ในแต่ละปีนับตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา
นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดการณ์ว่า มีโอกาส 97.9% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 4.50-4.75% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. และมีโอกาสเพียง 2.1% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ.
หุ้นทั้ง 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนบวกในวันอังคาร โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มวัสดุกับหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่พุ่งขึ้นกว่า 2% ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาดูผลประกอบการของบริษัทสหรัฐในช่วงนี้ โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิลในกลุ่มน้ำมันพุ่งขึ้น 2.2% ในวันอังคาร หลังจากเอ็กซอนรายงานว่ามีผลกำไรสุทธิ 5.6 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2022 ซึ่งถือเป็นการทำสถิติสูงสุดใหม่สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันในชาติตะวันตก ทางด้านหุ้นยูไนเต็ด พาร์เซล เซอร์วิส (UPS) ทะยานขึ้น 4.7% หลังจาก UPS เปิดเผยผลกำไรรายไตรมาสที่สูงเกินคาด
หุ้นเจเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์พุ่งขึ้น 8.3% หลังจาก GM คาดการณ์ผลกำไรปี 2023 ที่สูงเกินคาด ทั้งนี้ หุ้นแคเทอร์พิลลาร์ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรดิ่งลง 3.5% หลังจากทางบริษัทรายงานว่า ผลกำไรไตรมาส 4 ดิ่งลง 29% ส่วนหุ้นแมคโดนัลด์รูดลง 1.3% หลังจากแมคโดนัลด์ประกาศเตือนว่า ภาวะเงินเฟ้อจะส่งผลลบต่ออัตราผลกำไรในปี 2023--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน