ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--10 ต.ค.--รอยเตอร์
ยูโร/ดอลลาร์อ่อนค่าลงในวันจันทร์ ในขณะที่การสู้รบกันระหว่างกองทัพอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสของปาเลสไตน์ทำให้นักลงทุนกังวลว่า ปัญหาความขัดแย้งอาจจะลุกลามออกจากเขตกาซา อย่างไรก็ดี ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยน, ปอนด์, ดอลลาร์แคนาดา, ดอลลาร์ออสเตรเลีย, ดอลลาร์นิวซีแลนด์, โครนนอร์เวย์ และโครนาสวีเดน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลประกาศว่า การตอบโต้ของอิสราเอลต่อกลุ่มนักรบฮามาสจากเขตฉนวนกาซาจะ "เปลี่ยนแปลงภูมิภาคตะวันออกกลาง" ในขณะที่อิสราเอลเรียกตัวทหารกองหนุน 300,000 นาย และปิดล้อมเขตฉนวนกาซาทั้งหมด ซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าอิสราเอลอาจจะเข้าโจมตีทางภาคพื้นดิน เพื่อตอบโต้ต่อการโจมตีของกลุ่มฮามาสในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.96 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยปรับลงจาก 106.09 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยก่อนหน้านี้ดัชนีดอลลาร์เพิ่งปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วในแดนลบ หลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกมานานติดต่อกัน 11 สัปดาห์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 148.50 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 149.32 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0565 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0586 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์
ตลาดหุ้นสหรัฐบวกขึ้นในวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานของสหรัฐที่พุ่งขึ้น 3.5% ตามการทะยานขึ้นของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานถือเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในสหรัฐในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสของปาเลสไตน์ ซึ่งรวมถึงข่าวที่ว่าอิสราเอลเรียกตัวทหารกองหนุน 300,000 นาย และปิดล้อมเขตฉนวนกาซาทั้งหมด ซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าอิสราเอลอาจจะเข้าโจมตีทางภาคพื้นดิน เพื่อตอบโต้ต่อการโจมตีของกลุ่มฮามาสในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี มีข่าวออกมาในช่วงบ่ายว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งของกลุ่มฮามาสกล่าวว่า ทางกลุ่มเปิดโอกาสสำหรับการเจรจาเรื่องการพักรบกับอิสราเอล ส่วนประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐกล่าวว่า เขาได้สั่งให้ทีมงานของเขาประสานงานกับพันธมิตรในภูมิภาคเพื่อเตือนไม่ให้มีผู้ใดฉกฉวยโอกาสทำประโยชน์จากสถานการณ์นี้ ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงหนุนจากการที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณแบบสายพิราบในช่วงนี้ โดยนายฟิลิป เจฟเฟอร์สัน รองประธานเฟด และลอรี โลแกน ประธานเฟดสาขาดัลลัสส่งสัญญาณในวันจันทร์ว่า การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวอาจจะส่งผลให้เฟดไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกต่อไป ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) มีอิทธิพลโดยตรงต่อต้นทุนการกู้ยืมสำหรับภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.59% สู่ 33,604.65
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.63% สู่ 4,335.66
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.39% สู่ 13,484.24
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นกว่า 4% ในวันจันทร์ ในขณะที่การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสของปาเลสไตน์ทำให้นักลงทุนกังวลว่า ความขัดแย้งอาจจะขยายวงกว้างออกไป และอาจจะส่งผลลบต่ออุปทานน้ำมันจากภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยธนาคารโกลด์แมน แซคส์ระบุว่า ความขัดแย้งในครั้งนี้อาจจะส่งผลลบต่อโอกาสที่อิสราเอลกับซาอุดิอาระเบียจะสามารถปรับความสัมพันธ์ให้เข้าสู่ภาวะปกติ และจะส่งผลลบต่อโอกาสที่ซาอุดิอาระเบียจะปรับเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเรื่องอิสราเอลด้วย อย่างไรก็ดี โกลด์แมน แซคส์คาดว่าความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อปริมาณสต็อกน้ำมันในคลังในระยะใกล้ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ระบุว่า ถ้าหากรัฐบาลสหรัฐตัดสินว่าอิหร่านมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีโดยกลุ่มฮามาส สหรัฐก็อาจจะบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันของอิหร่านอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อิหร่านชะลอการส่งออกน้ำมันลงในอนาคต หลังจากอิหร่านเพิ่งปรับเพิ่มปริมาณการส่งออกน้ำมันขึ้นเป็นอย่างมากในปีนี้ โดยนายโอเล แฮนเสนจากธนาคารแซกโซกล่าวว่า อิหร่านปรับเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันขึ้นในระดับใกล้ 600,000 บาร์เรลต่อวันในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ย.ทะยานขึ้น 3.59 ดอลลาร์ หรือ 4.3% มาปิดตลาดที่ 86.38 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 3.57 ดอลลาร์ หรือ 4.2% มาปิดตลาดที่ 88.15 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้น 28.62 ดอลลาร์ หรือ 1.56% สู่ 1,860.88 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากทะยานขึ้นแตะ 1,863.39 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย. หรือจุดสูงสุดรอบ 1 สัปดาห์ โดยราคาทองได้รับแรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังจากเกิดการสู้รบกันระหว่างกองทัพอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสของปาเลสไตน์ และปัจจัยดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่าความขัดแย้งทางการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลางอาจจะขายวงกว้างออกไป ทั้งนี้ นายบ็อบ ฮาเบอร์คอร์น นักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดในบริษัทอาร์เจโอ ฟิวเจอร์สกล่าวว่า ถ้าหากสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ราคาทองก็อาจจะพุ่งขึ้นเข้าใกล้ระดับ 1,900 ดอลลาร์ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--14 ก.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันพฤหัสบดี โดยดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้นกว่า 1% เป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐขยับขึ้น 0.1% ในเดือนมิ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากร่วงลง 0.4% ในเดือนพ.ค. ส่วนดัชนี PPI แบบเทียบรายปีขยับขึ้น 0.1% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งถือเป็นการขยับขึ้นที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2020 เป็นต้นมา หรือน้อยที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี หลังจากปรับขึ้น 0.9% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบรายปี ทั้งนี้ รายงาน PPI ถือเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า แรงกดดันเงินเฟ้อในสหรัฐกำลังปรับลดลง หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพุธว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 3.0% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งถือเป็นอัตราการปรับขึ้นที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2021 หรือต่ำที่สุดในรอบกว่า 2 ปี ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 4.8% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2021
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.14% สู่ 34,395.14, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.85% สู่ 4,510.04 และดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.58% สู่ 14,138.57 ทั้งนี้ ดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐพุ่งขึ้น 2% ในวันพฤหัสดี ในขณะที่หุ้นเอ็นวิเดียปิดทะยานขึ้น 4.7% สู่ 459.77 ดอลลาร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 461.55 ดอลลาร์ในระหว่างวัน
รายงานดัชนี PPI ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียงแค่ 1 ครั้งในปีนี้ ในขณะที่นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดว่า มีโอกาสสูงมากที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. แต่นักลงทุนคาดว่าเฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกหลังจากนั้น ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ได้รับแรงหนุนมากที่สุดในวันพฤหัสบดีจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยดัชนีหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.7% มาปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ที่ 8,044.57
นักลงทุนรอดูฤดูการรายงานผลประกอบการไตรมาสสองของบริษัทสหรัฐที่จะเริ่มต้นขึ้นในวันศุกร์นี้ ในขณะที่หุ้นธนาคารเจพีมอร์แกน เชสปรับขึ้น 0.5% ในวันพฤหัสบดี ก่อนที่เจพีมอร์แกน เชสจะรายงานผลประกอบการรายไตรมาสในช่วงเช้าวันศุกร์ ทั้งนี้ หุ้นแอลฟาเบทซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิลพุ่งขึ้น 4.7% หลังจากแอลฟาเบทรายงานว่า ทางบริษัทกำลังจะเปิดให้บริการ Bard ซึ่งเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แบบโต้ตอบข้อความในยุโรปและบราซิล และข่าวดังกล่าวช่วยลดความกังวลเรื่องปัญหาด้านกฎระเบียบในต่างประเทศ
นักยุทธศาสตร์การลงทุนกล่าวว่า การอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐในระยะนี้อาจจะส่งผลบวกต่อบริษัทข้ามชาติของสหรัฐในส่วนของผลกำไรในอนาคต ทางด้านดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 99.774 ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยร่วงลงจาก 100.50 ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากดิ่งลงแตะ 99.718 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2022 หรือจุดต่ำสุดรอบ 15 เดือน ทั้งนี้ หุ้นเป๊ปซี่โคพุ่งขึ้น 2.4% ในวันพฤหัสบดี หลังจากเป๊ปซี่ปรับขึ้นคาดการณ์ผลกำไรและรายได้ประจำปีเป็นครั้งที่สอง--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--16 ม.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับขึ้นในวันศุกร์ ในขณะที่หุ้นธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งพุ่งขึ้นหลังจากทางธนาคารรายงานผลประกอบการรายไตรมาส และฤดูการรายงานผลประกอบการไตรมาส 4 ของบริษัทสหรัฐเริ่มต้นขึ้นในวันศุกร์ ทั้งนี้ ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกาเปิดเผยผลกำไรรายไตรมาสที่ดีเกินคาดในวันศุกร์ แต่ธนาคารเวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โคและธนาคารซิตี้กรุ๊ปรายงานผลกำไรรายไตรมาสที่ต่ำเกินคาด อย่างไรก็ดี หุ้นธนาคารทั้ง 4 แห่งต่างก็ปรับขึ้นในวันศุกร์ โดยเฉพาะหุ้นเจพีมอร์แกนที่พุ่งขึ้น 2.5% และปัจจัยนี้มีส่วนช่วยหนุนดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐให้ทะยานขึ้น 1.6% ในวันศุกร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.33% สู่ 34,302.61, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.40% สู่ 3,999.09 ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. และดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.71% สู่ 11,079.16 ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 14 ธ.ค. ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการทะยานขึ้น 2% จากสัปดาห์ที่แล้ว, ดัชนี S&P 500 ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 2.7% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งส่งผลให้ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นมาแล้ว 4.2% จากช่วงต้นปี 2023 ทางด้านดัชนี Nasdaq ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการทะยานขึ้น 4.8% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดของ Nasdaq นับตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. ส่วนดัชนีความผันผวน Cboe หรือดัชนี VIX ที่ใช้วัดระดับความกังวลในตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงมาปิดตลาดที่ระดับปิดต่ำสุดรอบ 1 ปีในวันศุกร์
ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐกันสำรองเงินเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย และรายงานผลประกอบการที่อ่อนแอสำหรับภาควาณิชธนกิจ รวมทั้งแสดงความกังวลต่อการคาดการณ์รายได้ด้วย อย่างไรก็ดี ธนาคารเหล่านี้ระบุว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นช่วยเพิ่มผลกำไรให้ทางธนาคาร ทางด้านนักยุทธศาสตร์การลงทุนกล่าวว่า นักลงทุนจะจับตาดูการแสดงความเห็นของผู้บริหารบริษัทสหรัฐในช่วงหลายสัปดาห์ข้างหน้า ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจร่วงลง 2.2% ในไตรมาส 4/2022 เมื่อเทียบรายปี
ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงหนุนในวันศุกร์ หลังจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ 64.6 ในเดือนม.ค. จาก 59.7 ในเดือนธ.ค. และผู้บริโภคคาดการณ์ในเดือนม.ค.ว่า อัตราเงินเฟ้อในอีก 1 ปีข้างหน้าอาจจะอยู่ที่ 4.0% โดยร่วงลงจากระดับ 4.4% ที่เคยคาดไว้ในเดือนธ.ค. โดยระดับ 4.0% นี้ถือเป็นตัวเลขคาดการณ์ที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2021 ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในระยะนี้ทำให้นักลงทุนตั้งความหวังว่า อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอาจจะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สามารถชะลอความเร็วในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยในช่วงนี้นักลงทุนในตลาดเงินคาดว่า มีโอกาส 91.1% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 4.50-4.75% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. และมีโอกาสเพียง 8.9% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ.
หุ้นเทสลาร่วงลง 0.9% หลังจากเทสลาปรับลดราคารถยนต์ไฟฟ้าบางรุ่นในสหรัฐและยุโรปลง 20% และจัดส่งรถยนต์ในปี 2022 ในระดับที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ ทั้งนี้ หุ้นสายการบินเดลตา แอร์ไลน์ดิ่งลง 3.5% หลังจากเดลตาคาดการณ์ผลกำไรไตรมาสแรกในระดับที่ต่ำเกินคาด--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--20 ธ.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันจันทร์เป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน ในขณะที่นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยง เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงกดดันนับตั้งแต่วันพุธที่ 14 ธ.ค. หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ 4.25-4.50% ในวันพุธ และเฟดคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 0.75% ก่อนสิ้นปี 2023 โดยอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 5.00-5.25% ในช่วงปลายปีหน้า นอกจากนี้ นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดยังส่งสัญญาณแบบสายเหยี่ยวในวันพุธด้วย โดยเขากล่าวว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในปีหน้า ถึงแม้เศรษฐกิจสหรัฐเกือบจะเข้าสู่ภาวะถดถอย
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.49% สู่ 32,757.54, ดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลง 0.90% สู่ 3,817.66 และดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 1.49% สู่ 10,546.03 โดยดัชนีเหล่านี้มีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดปีนี้ด้วยการดิ่งลงรายปีครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุดในวันจันทร์รวมถึงหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารที่รูดลง 2.2%, หุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่ดิ่งลง 1.7% และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่รูดลง 1.4% อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มพลังงานขยับขึ้น 0.13% และถือเป็นหุ้นกลุ่มเดียวในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ของสหรัฐที่สามารถปิดตลาดในแดนบวกในวันจันทร์
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นสู่ 3.583% ในช่วงท้ายวันจันทร์ จาก 3.482% ในช่วงท้ายวันศุกร์ ในขณะที่นายไบรอัน โอเวอร์บี นักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบริษัทแอลลีกล่าวว่า การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นเพื่อนำเงินไปลงทุนในพันธบัตร ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ในขณะที่นักลงทุนกังวลว่าอาจจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2023 และเขากล่าวเสริมว่า "นักลงทุนกำลังตั้งคำถามว่า ทำไมพวกเขาจะต้องถือครองสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงเข้าสู่ปี 2023 ด้วย ในขณะที่เฟดยังคงใช้จุดยืนแบบแข็งกร้าว และพวกเขาจะได้รับอัตราผลตอบแทนที่ดีจากตลาดตราสารหนี้" ทั้งนี้ นางเมลิสซา บราวน์ จากบริษัทคอนทิโกกล่าวว่า นักลงทุนมุ่งความสนใจไปยังความกังวลทางเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยในวันจันทร์ เนื่องจากไม่มีการรายงานผลประกอบการของบริษัทขนาดใหญ่และไม่มีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจออกมาในวันจันทร์ นอกจากนี้ เธอยังตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่า ตลาดหุ้นอาจเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงเกินความเป็นจริง เนื่องจากนักลงทุนหลายรายไม่ได้เข้ามาลงทุนในช่วงวันหยุดปลายปี
ตลาดหุ้นได้รับแรงกดดันจากหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ที่ดิ่งลงอย่างรุนแรง โดยหุ้นแอปเปิลรูดลง 1.6%, หุ้นไมโครซอฟท์ดิ่งลง 1.7% และหุ้นอะเมซอนดอทคอมรูดลง 3.3% ทั้งนี้ หุ้นเทสลาซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าปิดปรับลง 0.24% หลังจากดิ่งลง 2.8% ในระหว่างวัน ในขณะที่ผลสำรวจความเห็นในทวิตเตอร์ระบุว่า ผู้ตอบโพลล์ส่วนใหญ่ต้องการให้นายอีลอน มัสก์ ซีอีโอของเทสลา ลงจากตำแหน่งซีอีโอของทวิตเตอร์
หุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ดิ่งลง 4.1% หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ระบุว่า อีซีอาจจะสั่งปรับเมตา แพลตฟอร์มส์เป็นเงินจำนวนมากถึง 10% ของรายได้ทั่วโลกต่อปีของเมตา ถ้าหากมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า เมตาฝ่าฝืนกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของสหภาพยุโรป (อียู) ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มคาสิโนของสหรัฐดิ่งลงอย่างรุนแรง หลังจากมาเก๊าประกาศในวันศุกร์ว่า บริษัทคาสิโน 6 แห่งจะลงทุนราว 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำสัญญาใหม่ระยะ 10 ปีเพื่อดำเนินงานในมาเก๊า--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--3 ส.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันอังคาร หลังจากแกว่งตัวผันผวนในระหว่างวัน ในขณะที่ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หลังจากนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเดินทางเยือนไต้หวัน โดยนางเพโลซีถือเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดของสหรัฐที่เดินทางเยือนไต้หวันในรอบ 25 ปี ทั้งนี้ นางเพโลซีกล่าวว่า การเดินทางเยือนไต้หวันของเธอสะท้อนให้เห็นถึงความสามัคคีกันระหว่างสหรัฐกับไต้หวัน แต่จีนประณามการเดินทางเยือนไต้หวันครั้งนี้ว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและเสถียรภาพ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดดิ่งลง 1.23% สู่ 32,396.30, ดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลง 0.67% สู่ 4,091.19 และดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.16% สู่ 12,348.76 ทั้งนี้ หุ้นทั้ง 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงในวันอังคาร โดยดัชนีหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ดิ่งลง 1.3% และถือเป็นกลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุด ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินรูดลง 1.1% ทางด้านหุ้นบริษัทไมโครซอฟท์ร่วงลง 1.1% ส่วนหุ้นบริษัทวีซ่าดิ่งลง 2.4% และส่งผลลบต่อดัชนี S&P 500
หุ้นบริษัทผู้ผลิตชิปที่มีธุรกิจในจีนปรับตัวอย่างไร้ทิศทางในวันอังคาร โดยหุ้นบริษัทแอดวานซ์ ไมโคร ดีไวเซส (AMD) พุ่งขึ้น 2.6% ในวันอังคาร ก่อนที่ AMD จะรายงานผลประกอบการรายไตรมาสหลังจากตลาดปิดทำการ ส่วนหุ้นแคเทอร์พิลลาร์ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมดิ่งลง 5.8% หลังจากแคเทอร์พิลลาร์ประกาศเตือนว่า อุปสงค์ในรถขุดของแคเทอร์พิลลาร์ในจีนอาจจะดิ่งลงอย่างรุนแรง ในขณะที่แคเทอร์พิลลาร์ประสบปัญหาอยู่แล้วจากการขาดตอนในห่วงโซ่อุปทาน อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มอาวุธของสหรัฐพุ่งขึ้น โดยหุ้นบริษัทเรย์ธีออน เทคโนโลยีส์, ล็อคฮีด มาร์ติน, นอร์ธรอป กรัมแมน และแอลธรีแฮร์ริส เทคโนโลยีส์ปิดบวกขึ้น 0.5-2.3% เนื่องจากสหรัฐเป็นผู้ขายอาวุธรายใหญ่ให้แก่ไต้หวัน
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานผลสำรวจตำแหน่งงานว่างและการเข้า-ออกงาน (JOLTS) ในวันอังคาร โดยระบุว่ายอดการเปิดรับสมัครงานในสหรัฐดิ่งลงในเดือนมิ.ย.ในระดับที่รุนแรงที่สุดในรอบกว่า 2 ปี ในขณะที่ความต้องการคนงานชะลอตัวลงในภาคค้าปลีกและภาคค้าส่ง แต่ตลาดแรงงานโดยรวมยังคงอยู่ในภาวะตึงตัว ทั้งนี้ ยอดการเปิดรับสมัครงานในสหรัฐดิ่งลง 605,000 ตำแหน่ง สู่ 10.7 ล้านตำแหน่งในวันสุดท้ายของเดือนมิ.ย. ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2021 และการดิ่งลงในเดือนมิ.ย.นี้ถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2020 อย่างไรก็ดี มีคนงานอย่างน้อย 4.2 ล้านคนที่สมัครใจลาออกจากงานในเดือนมิ.ย.
ผลประกอบการภาคเอกชนที่สดใสช่วยหนุนตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยดัชนี S&P 500 ดีดขึ้นมาแล้วราว 12% จากจุดต่ำสุดของช่วงกลางเดือนมิ.ย. ทั้งนี้ หุ้นอูเบอร์ เทคโนโลยีส์ อิงค์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเรียกรถพุ่งขึ้น 18.9% หลังจากอูเบอร์รายงานว่า ทางบริษัทมีกระแสเงินสดรายไตรมาสเป็นบวกเป็นครั้งแรก และอูเบอร์คาดการณ์ในทางบวกต่อผลกำไรจากการดำเนินงานในไตรมาสสาม ทางด้านหุ้นเทสลาพุ่งขึ้น 1.1% หลังจากซิตี้กรุ๊ปปรับขึ้นราคาเป้าหมายของหุ้นเทสลา โดยหุ้นเทสลามีมูลค่าการซื้อขาย 2.87 หมื่นล้านดอลลาร์ในวันอังคาร และครองตำแหน่งหุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายมากที่สุดในดัชนี S&P 500 ในวันอังคาร--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--19 ก.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันจันทร์ หลังจากดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารลดช่วงบวกลง และหุ้นบริษัทแอปเปิลดิ่งลง 2.1% มาปิดตลาดที่ 147.1 ดอลลาร์ โดยหุ้นแอปเปิลได้รับแรงกดดันข่าวของสำนักข่าวบลูมเบิร์กที่ระบุว่า แอปเปิลวางแผนจะชะลอการจ้างงานและชะลอการปรับเพิ่มรายจ่ายในบางแผนกในปีหน้า เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 0.69% สู่ 31,072.61, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.84% สู่ 3,830.85 และดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.81% สู่ 11,360.05 ทั้งนี้ หุ้น 9 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนลบ โดยหุ้นกลุ่มการแพทย์และหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคถือเป็นหุ้น 2 กลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุด ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด
ดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินของสหรัฐลดช่วงบวกลง หลังจากพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงแรก โดยได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการของธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป และธนาคารโกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์ โดยหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกาปิดขยับขึ้น 0.03% ส่วนหุ้นโกลด์แมน แซคส์พุ่งขึ้น 2.5% หลังจากโกลด์แมนรายงานว่า ผลกำไรไตรมาสสองปรับลดลง 48% ซึ่งเป็นระดับที่ไม่มากเท่าที่คาด เนื่องจากผลกำไรของโกลด์แมนได้รับแรงหนุนจากความแข็งแกร่งในแผนกการค้าตราสารหนี้
เทรดเดอร์ปรับลดการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมวันที่ 26-27 ก.ค. และหันมาคาดการณ์อย่างเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.75% ในการประชุมครั้งนั้น ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่เฟดบางคนส่งสัญญาณในวันศุกร์ว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมปลายเดือนก.ค. ถึงแม้ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงในระยะนี้อาจจะสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากเกินคาดในช่วงต่อไปในปีนี้
หุ้นแอลฟาเบทซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิลดิ่งลง 2.5% ส่วนหุ้น IBM รูดลง 1.3% ในวันจันทร์ ทั้งนี้ นักลงทุนจะรอดูผลประกอบการของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่บางแห่งที่จะออกมาในสัปดาห์หน้า หลังจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเคยเผชิญกับแรงเทขายอย่างหนักหน่วงในช่วงครึ่งปีแรก--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--14 ก.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันพุธ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาด และตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมวันที่ 26-27 ก.ค. ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.3% ในเดือนมิ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2005 หลังจากทะยานขึ้น 1.0% ในเดือนพ.ค. โดยดัชนี CPI ทั่วไปได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันเบนซินที่พุ่งขึ้น 11.2% ในเดือนมิ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากดีดขึ้น 4.1% ในเดือนพ.ค. ส่วนดัชนี CPI แบบเทียบรายปีพุ่งขึ้น 9.1% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 1981 หรือครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 40 ปี หลังจากทะยานขึ้น 8.6% ในเดือนพ.ค. ทางด้านดัชนี CPI พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวนสูงปรับขึ้น 0.7% ในเดือนมิ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.6% ในเดือนพ.ค. ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานแบบเทียบรายปีพุ่งขึ้น 5.9% ในเดือนมิ.ย. หลังจากทะยานขึ้น 6.0% ในเดือนพ.ค. โดยดัชนี CPI พื้นฐานชะลอตัวลงในเดือนมิ.ย.เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน แต่ยังคงอยู่ห่างจากระดับเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ที่ 2%
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 0.67% สู่ 30,772.79, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.45% สู่ 3,801.78 และดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.15% สู่ 11,247.58 ทั้งนี้ หุ้น 9 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนลบ โดยหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมและหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารถือเป็นหุ้น 2 กลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุด ส่วนหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยถือเป็นหุ้นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันพุธ
นายรอส เมย์ฟิลด์ นักวิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทแบร์ดกล่าวว่า ตลาดหุ้นไม่ได้รับแรงกดดันมากนักจากดัชนี CPI เพราะว่านักลงทุนคาดการณ์ไว้แล้วว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าว และเขากล่าวเสริมว่า "ถ้าหากเฟดพิจารณาให้ลึกไปกว่าดัชนี CPI ทั่วไป เฟดก็จะพบว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มชะลอตัวลงมาบ้างแล้ว" ทั้งนี้ หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนี CPI ในวันพุธ เทรดเดอร์ก็ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมวันที่ 26-27 ก.ค. และนักลงทุนมั่นใจว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 0.75% ในการประชุมเดือนนี้
นักลงทุนจับตาดูฤดูการรายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ของบริษัทสหรัฐ ในขณะที่ธนาคารมอร์แกน สแตนเลย์ และธนาคารเจพีมอร์แกนจะเปิดเผยผลประกอบการในวันพฤหัสบดีที่ 14 ก.ค. ส่วนซิตี้กรุ๊ป, สเตท สตรีท และเวลส์ ฟาร์โกจะเปิดเผยผลประกอบการในวันศุกร์ที่ 15 ก.ค. ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ประเมินว่า ผลกำไรของบริษัทสหรัฐในดัชนี S&P 500 อาจปรับขึ้น 5.6% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบรายปี โดยปรับลดลงจากระดับ +6.8% ที่เคยคาดการณ์ไว้ในช่วงต้นไตรมาส 2
ดัชนีหุ้นกลุ่มสายการบินของสหรัฐดิ่งลง 1.7% ในวันพุธ ในขณะที่หุ้นสายการบินเดลตา แอร์ ไลน์รูดลง 4.5% หลังจากเดลตารายงานผลกำไรไตรมาสสองที่ต่ำเกินคาด อย่างไรก็ดี นายเอ็ด บาสเตียน ซีอีโอของเดลตากล่าวว่า อุปสงค์ในการเดินทางที่แข็งแกร่งจะช่วยหนุนผลกำไรตลอดทั้งปีของเดลตา ทั้งนี้ หุ้นเทสลาพุ่งขึ้น 1.7% ในวันพุธ ในขณะที่ดัชนีหุ้นกลุ่มผู้ผลิตชิปของสหรัฐปรับขึ้น 0.75% ในวันพุธ--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน