ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--12 ธ.ค.--รอยเตอร์
เยนดิ่งลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในวันจันทร์เป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากที่เคยพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในสัปดาห์ที่แล้ว โดยเยนได้รับแรงหนุนในวันพฤหัสบดีที่ 7 ธ.ค.จากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะปรับลดการใช้นโยบายการเงินแบบสายพิราบ หลังจากนายคาสุโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น กล่าวในวันพฤหัสบดีว่า บีโอเจมีทางเลือกว่าจะตั้งเป้าหมายไปที่อัตราดอกเบี้ยตัวใด เมื่อใดก็ตามที่บีโอเจปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นให้ออกจากระดับติดลบแล้ว อย่างไรก็ดี เยนดิ่งลงในวันจันทร์ หลังจากสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า เจ้าหน้าที่บีโอเจยังไม่มีหลักฐานมากพอที่จะแสดงให้เห็นว่า ค่าแรงในญี่ปุ่นปรับขึ้นในระดับที่แข็งแกร่งพอที่จะสนับสนุนให้บีโอเจยุตินโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษในการประชุมวันที่ 18-19 ธ.ค. Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.06 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 103.98 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 146.16 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยพุ่งขึ้นราว 0.85% จากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 144.93 เยน หลังจากทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันจันทร์ที่ 146.58 เยน และออกห่างจากระดับ 141.70 เยนที่ทำไว้ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 ส.ค. หรือจุดต่ำสุดรอบ 4 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์ทรงตัวอยู่ที่ 1.0761 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ ซึ่งเท่ากับระดับในช่วงท้ายวันศุกร์ และเทียบกับจุดต่ำสุดรอบ 24 วันที่ทำไว้ในวันศุกร์ที่ 1.0724 ดอลลาร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นเล็กน้อยในวันจันทร์ และดัชนีตลาดหุ้นสำคัญทั้ง 3 ดัชนีสามารถปิดตลาดที่ระดับปิดสูงสุดใหม่สำหรับปีนี้ ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันอังคาร, รอดูดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธ และรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันพุธ เพราะปัจจัยเหลานี้จะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการคาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ โดยนักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาสเกือบ 100% เต็มที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 12-13 ธ.ค., คาดว่ามีโอกาสราว 43% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25% ในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. 2024 และคาดว่ามีโอกาสเกือบ 75% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงภายในเดือนพ.ค. 2024 ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐพุ่งขึ้น 3.4% ในวันจันทร์ และสามารถปิดตลาดที่ระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค. 2022 โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทบรอดคอมซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปที่พุ่งขึ้น 8.99% หลังจากซิตี้กรุ๊ปกลับมาจัดอันดับความน่าลงทุนของหุ้นบรอดคอม โดยจัดไว้ที่ "buy" ทางด้านหุ้นซิกนาซึ่งเป็นบริษัทประกันสุขภาพทะยานขึ้น 16.68% ในวันจันทร์ หลังจากแหล่งข่าวกล่าวว่า ซิกนายุติความพยายามที่จะเจรจาต่อรองเรื่องการเข้าซื้อบริษัทฮูมานาที่เป็นคู่แข่ง และซิกนาประกาศแผนซื้อคืนหุ้นขนาด 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.43% สู่ 36,404.93 โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทไนกี้ที่พุ่งขึ้น 2.33% หลังจากซิตี้กรุ๊ปปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นไนกี้สู่ "buy" จาก "neutral"
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.39 % สู่ 4,622.44
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 0.20 % สู่ 14,432.49
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยในวันจันทร์ ในขณะที่มาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) ไม่สามารถชดเชยความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อภาวะน้ำมันดิบล้นตลาด และความกังวลที่ว่าอุปสงค์เชื้อเพลิงจะชะลอการเติบโตลงในปีหน้า อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนจากปัจจัยทางเทคนิค และจากข่าวที่ว่า กระทรวงพลังงานของสหรัฐประกาศในวันศุกร์ว่า ทางกระทรวงต้องการจะซื้อน้ำมันดิบ 3 ล้านบาร์เรลเพื่อนำมาเติมในคลังสำรองปิโตรเลียมทางยุทธศาสตร์ (SPR) โดยเป็นน้ำมันที่จะจัดส่งในเดือนมี.ค. 2024 เพื่อเป็นการฉวยโอกาสเติมน้ำมันเข้า SPR ในช่วงที่ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำในตอนนี้ ทั้งนี้ ถึงแม้กลุ่มโอเปกพลัสประกาศว่าจะปรับลดปริมาณอุปทานน้ำมันลง 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวันในไตรมาสแรกของปีหน้า นักลงทุนก็ยังคงไม่มั่นใจว่ากลุ่มโอเปกพลัสจะปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวมากน้อยเพียงใด ในขณะที่มีการคาดการณ์กันว่า ประเทศนอกโอเปกจะปรับเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาดในปีหน้า Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนม.ค.ขยับขึ้น 9 เซนต์ หรือ 0.1% มาปิดตลาดที่ 71.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 19 เซนต์ หรือ 0.3% มาปิดตลาดที่ 76.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็เพิ่งพุ่งขึ้นกว่า 2% ในวันศุกร์ แต่ปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 7 ติดต่อกัน ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2018 โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมันล้นตลาด
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐดิ่งลง 22.09 ดอลลาร์ หรือ 1.10% สู่ 1,981.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากรูดลงแตะ 1,975.70 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย. หรือจุดต่ำสุดรอบ 3 สัปดาห์ โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ทองมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่จะออกมาในวันอังคาร และรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางหลายแห่งในสัปดาห์นี้ด้วย ทั้งนี้ นายจิม วิคคอฟ นักวิเคราะห์ของบริษัทคิทโค เมทัลส์กล่าวว่า "ปัจจัยทางเทคนิคในระยะใกล้ของราคาทองตกต่ำลงในช่วงนี้ และถ้าหากสหรัฐรายงานดัชนี CPI ที่สูงเกินคาดในวันอังคาร ปัจจัยดังกล่าวก็อาจจะกระตุ้นให้มีแรงเทขายทองออกมา" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--30 พ.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นในวันพุธ หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดในรอบกว่า 3 เดือนในช่วงแรก โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุน หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยผลการประเมินครั้งที่สองสำหรับตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐประจำไตรมาส 3 โดยทางกระทรวงระบุว่าจีดีพีสหรัฐเพิ่มขึ้น 5.2% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประเมินครั้งแรกที่ระดับ 4.9% และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 5.0% ด้วย โดยอัตราการเติบโตที่ 5.2% นี้ถือเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2021 เป็นต้นมา โดยรายงานตัวเลขดังกล่าวช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนปรับสถานะการลงทุน หลังจากดอลลาร์ร่วงลงมานาน 4 วันติดต่อกัน ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ยังคงมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022 โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 โดยขณะนี้นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดว่า มีโอกาสเกือบ 50% ที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนมี.ค.ปีหน้า โดยเพิ่มขึ้นจากโอกาสเกือบ 35% ที่เคยคาดไว้ในช่วงเย็นวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 102.82 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 102.62 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร และปิดตลาดวันพุธด้วยการปรับขึ้นรายวันครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหนึ่งสัปดาห์ โดยก่อนหน้านี้ดัชนีดอลลาร์เพิ่งดิ่งลงแตะ 102.46 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนส.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.24 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 147.48 เยน หลังจากดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดในรอบกว่า 2 เดือนที่ 146.68 เยนในระหว่างวัน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0968 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยปรับลงจาก 1.0990 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1.1017 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค.
ดัชนี Nasdaq และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐขยับลงในวันพุธ แต่ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ขยับขึ้นในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนชะลอการลงทุนก่อนที่สหรัฐจะรายงานดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ออกมาในวันพฤหัสบดี โดยดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นิยมใช้ ทางด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพุธว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 5.2% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประเมินครั้งแรกที่ระดับ 4.9% และสิ่งนี้ตอกย้ำให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐสามารถรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี แต่รายงานตัวเลขนี้ไม่ได้สนับสนุนให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และหุ้นกลุ่มการเงินถือเป็นหุ้นสองกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันพุธ แต่หุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารดิ่งลง 1.1% ทางด้านหุ้นบริษัทฮูมานารูดลง 5.5% และหุ้นบริษัทซิกนา กรุ๊ปดิ่งลง 8.1% หลังจากแหล่งข่าวกล่าวว่าบริษัทประกันสุขภาพ 2 แห่งนี้อยู่ในระหว่างการเจรจาเรื่องการควบกิจการเข้าด้วยกัน Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น 0.04% สู่ 35,430.42
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.09% สู่ 4,550.58 โดยดัชนีได้รับแรงกดดันมากที่สุดจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มโมเมนตัมที่มักได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะหุ้นบริษัทไมโครซอฟท์ที่รูดลง 1.0% ในวันพุธ และหุ้นแอปเปิลที่ร่วงลง 0.5% ในวันพุธ อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P 500 ยังคงมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการพุ่งขึ้นรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2022
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.16% สู่ 14,258.49
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) ในวันพฤหัสบดี และนักลงทุนตั้งความหวังว่า กลุ่มโอเปกพลัสอาจจะดำเนินมาตรการที่ช่วยหนุนราคาน้ำมัน หลังจากแหล่งข่าวกล่าวว่า การเจรจาในช่วงก่อนการประชุมมุ่งความสนใจไปยังการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงอย่างรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก แต่ทางกลุ่มโอเปกพลัสยังไม่ได้ตกลงกันในรายละเอียดของเรื่องนี้ นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลยังรายงานอีกด้วยว่า กลุ่มโอเปกพลัสอาจจะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงไปอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังจากทางกลุ่มดำเนินมาตรการปรับลดอุปทานน้ำมันลงไปแล้วราว 5 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงที่ผ่านมา หรือราว 5% ของอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลก ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 1.6 ล้านบาร์เรล สู่ 449.7 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 พ.ย., สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐทะยานขึ้น 1.8 ล้านบาร์เรล สู่ 218.2 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil ทะยานขึ้น 5.2 ล้านบาร์เรล สู่ 110.8 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนม.ค.ทะยานขึ้น 1.45 ดอลลาร์ หรือ 1.9% มาปิดตลาดที่ 77.86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 1.42 ดอลลาร์ หรือ 1.7% มาปิดตลาดที่ 83.10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 3.70 ดอลลาร์ สู่ 2,044.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 2,051.89 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 พ.ค. หรือจุดสูงสุดในรอบเกือบ 7 เดือน โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า ทั้งนี้ ราคาทองได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการดิ่งลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงจาก 4.336% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 4.271% ในช่วงท้ายวันพุธ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการรูดลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2021 Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นในวันอังคาร และเข้าใกล้จุดสูงสุดรอบ 2 เดือนที่ทำไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่เทรดเดอร์รอดูการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะจัดขึ้นที่แจ็คสัน โฮลในรัฐไวโอมิงในวันที่ 26-24 ส.ค. โดยมีการคาดการณ์กันว่าสกุลเงินต่าง ๆ จะเคลื่อนไหวเพียงในวงจำกัด ก่อนที่นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดจะกล่าวแถลงในงานประชุมที่แจ็คสัน โฮลในวันศุกร์นี้ ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์เพิ่งพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 เดือนในสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจจีน และจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.59 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 103.32 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 103.68 ในวันศุกร์ที่ 18 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 145.88 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 146.17 เยน หลังจากเพิ่งพุ่งขึ้นแตะ 146.565 เยนในวันที่ 17 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. 2022 หรือจุดสูงสุดรอบ 9 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0844 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยปรับลงจาก 1.0891 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ดัชนีดาวโจนส์และ S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนยังคงกังวลว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน และดัชนีได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มธนาคารด้วย อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ปิดตลาดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร ทั้งนี้ เอสแอนด์พี โกลบอลปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ และแก้ไขแนวโน้มของธนาคารสหรัฐหลายแห่ง ตามหลังการดำเนินการแบบเดียวกันของมูดี้ส์ พร้อมเตือนว่า ความเสี่ยงในการจัดหาเงินทุน และความสามารถในการทำกำไรที่ลดลงอาจจะทดสอบความแข็งแกร่งด้านความน่าเชื่อถือของภาคธนาคาร โดยข่าวนี้มีส่วนกดดันให้ดัชนี KBW สำหรับหุ้นธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐดิ่งลง 2.7%, ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐรูดลง 2.4% และดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินของสหรัฐร่วงลง 0.9% ในวันอังคาร โดยหุ้นกลุ่มการเงินถือเป็นกลุ่มที่ถ่วงดัชนี S&P 500 ลงมากที่สุดในวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.51% สู่ 34,288.83
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.28% สู่ 4,387.55
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับขึ้น 0.06% สู่ 13,505.87
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับลงในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนยังคงมุ่งความสนใจไปยังการคาดการณ์ที่ว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจในจีนจะส่งผลลบต่ออุปสงค์น้ำมันในจีน ซึ่งถือเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังไม่ได้ตัดโอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปด้วย ทั้งนี้ สำนักข่าวของรัฐบาลอิรักรายงานว่า รัฐมนตรีน้ำมันของอิรักและตุรกีได้หารือกันเรื่องความสำคัญของการกลับมาจัดส่งน้ำมันอีกครั้ง หลังจากการซ่อมแซมท่อส่งน้ำมันเสร็จสิ้นลงแล้ว โดยข่าวนี้บ่งชี้ว่า อิรักอาจจะกลับมาส่งออกน้ำมัน 450,000 บาร์เรลต่อวันผ่านทางท่อส่งจากภาคเหนือของอิรักไปยังตุรกีได้อีกครั้ง หลังจากตุรกีระงับการส่งออกน้ำมันดังกล่าวนับตั้งแต่เดือนมี.ค. Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ย.ปรับลง 37 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 80.35 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่สัญญาเดือนก.ย.ครบกำหนดส่งมอบในช่วงปิดตลาดวันอังคาร ส่วนราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ปรับลง 48 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 79.64 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 43 เซนต์ หรือ 0.5% มาปิดตลาดที่ 84.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 3.53 ดอลลาร์ สู่ 1,897.47 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร แต่ยังคงเคลื่อนตัวอยู่ใกล้จุดต่ำสุดรอบ 5 เดือนที่ระดับ 1,883.70 ดอลลาร์ที่ทำไว้ในวันศุกร์ที่ 18 ส.ค. โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์และจากการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะจัดขึ้นที่แจ็คสัน โฮลในรัฐไวโอมิงในวันที่ 26-24 ส.ค. เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับลงจาก 4.342% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.328% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 4.366% ในช่วงเช้าวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2007 หรือจุดสูงสุดในรอบเกือบ 16 ปี โดยการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลลบต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--17 ก.ค.--รอยเตอร์
ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ ในขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารและหุ้นกลุ่มการเงินส่วนใหญ่ร่วงลง หลังจากธนาคารและบริษัทการเงินบางแห่งเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นฤดูการรายงานผลประกอบการไตรมาส 2 อย่างไม่เป็นทางการ ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐร่วงลง 0.9% ในขณะที่หุ้นธนาคารเจพีมอร์แกน เชสปรับขึ้น 0.6% และหุ้นธนาคารเวลส์ ฟาร์โกปรับลง 0.3% หลังจากธนาคารทั้งสองแห่งรายงานว่า ผลกำไรรายไตรมาสปรับสูงขึ้น แต่ธนาคารทั้งสองแห่งได้กันสำรองเงินไว้มากยิ่งขึ้นสำหรับหนี้สงสัยจะสูญในส่วนของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินของสหรัฐร่วงลง 0.7% ในขณะที่หุ้นซิตี้กรุ๊ปดิ่งลง 4% หลังจากซิตี้กรุ๊ปรายงานว่าผลกำไรรายไตรมาสดิ่งลง ส่วนหุ้นบริษัทแบล็คร็อครูดลง 1.5% หลังจากแบล็คร็อครายงานว่ารายได้รายไตรมาสปรับลดลง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.33% สู่ 34,509.03, ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.10% สู่ 4,505.42 และดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.18% สู่ 14,113.70 ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับระดับปิดสัปดาห์ที่แล้ว ดัชนีดาวโจนส์ก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้พุ่งขึ้น 2.3%, ดัชนี S&P 500 ปิดตลาดสัปดาห์นี้ทะยานขึ้น 2.4% และดัชนี Nasdaq ปิดตลาดสัปดาห์นี้พุ่งขึ้น 3.3% โดยดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นมาแล้ว 17% จากช่วงต้นปีนี้
ดัชนีดาวโจนส์ได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทยูไนเต็ดเฮลธ์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทประกันสุขภาพที่พุ่งขึ้น 7.2% หลังจากยูไนเต็ดเฮลธ์เปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาด ทางด้านหุ้นบริษัทประกันสุขภาพแห่งอื่น ๆ ทะยานขึ้นเช่นกัน ซึ่งรวมถึงหุ้นฮูมานาที่พุ่งขึ้น 2.5% และหุ้นซิกนาที่ทะยานขึ้น 4.7% ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลง 2.8% และถือเป็นกลุ่มที่ถ่วงตลาดหุ้นสหรัฐลงมากที่สุดในวันศุกร์ ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำปรับลง 0.33% สู่ 8,017.97 ในวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ในระหว่างวันที่ 8,183.38
นักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจดิ่งลง 8.1% ในไตรมาสสองเมื่อเทียบรายปี แต่บริษัทส่วนใหญ่มักจะรายงานผลประกอบการที่ดีเกินคาด ทั้งนี้ นักยุทธศาสตร์การลงทุนบางรายระบุว่า หุ้นกลุ่มธนาคารอาจเผชิญกับแรงเทขาย หลังจากพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา โดยทั้งดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารและดัชนี KBW สำหรับหุ้นธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐต่างก็ปิดตลาดวันศุกร์ในแดนลบ หลังจากปิดตลาดในแดนบวกมานานติดต่อกัน 5 วัน โดยดัชนี KBW รูดลง 1.9% ในวันศุกร์
หุ้นเทสลาพุ่งขึ้น 1.3% ในวันศุกร์ ในขณะที่เทสลาจะรายงานผลประกอบการในวันพุธที่ 19 ก.ค. และถือเป็นบริษัทแห่งแรกในกลุ่มบริษัทเติบโตขนาดยักษ์ที่จะรายงานผลประกอบการออกมา--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--3 ก.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันศุกร์ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐส่งสัญญาณชะลอตัวลง และหุ้นบริษัทแอปเปิล อิงค์ทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 194.48 ดอลลาร์ได้ในระหว่างวัน และปิดพุ่งขึ้น 2.3% สู่ 193.97 ดอลลาร์ ซึ่งส่งผลให้มูลค่าของบริษัทแอปเปิลทะยานขึ้นเหนือระดับ 3 ล้านล้านดอลลาร์ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2022 โดยหุ้นแอปเปิลได้รับแรงหนุนจากความต้องการซื้อหุ้นเติบโต และจากการคาดการณ์ที่ว่า แอปเปิลจะประสบความสำเร็จในตลาดใหม่ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคสหรัฐขยับขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ค. หลังจากปรับขึ้น 0.6% ในเดือนเม.ย. ในขณะที่ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นิยมใช้ ขยับขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.4% ในเดือนเม.ย. และปรับขึ้น 3.8% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2021 โดยชะลอตัวลงจาก 4.3% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายปี ทางด้านดัชนี PCE พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานปรับขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.4% ในเดือนเม.ย. ส่วนดัชนี PCE พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 4.6% ในเดือนพ.ค. หลังจากปรับขึ้น 4.7% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายปี
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.84% สู่ 34,407.6, ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 1.23% สู่ 4,450.38 และดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 1.45% สู่ 13,787.92 โดยดัชนี Nasdaq ปิดตลาดช่วงครึ่งแรกของปีนี้ด้วยการพุ่งขึ้นกว่า 31% จากช่วงสิ้นปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่สุดในรอบ 40 ปีสำหรับช่วงครึ่งปีแรก ในขณะที่ดัชนี Nasdaq 100 สำหรับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีชั้นนำทะยานขึ้นราว 39% ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์สำหรับช่วงครึ่งปีแรก ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 2.02% จากสัปดาห์ที่แล้ว, ดัชนี S&P 500 ทะยานขึ้น 2.35% ในสัปดาห์นี้ และดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้น 2.20% ในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ ดัชนีดาวโจนส์ก็ปิดตลาดไตรมาสสองด้วยการทะยานขึ้น 3.4% จากไตรมาสแรก, ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้น 8.3% ในไตรมาสสอง และดัชนี Nasdaq ทะยานขึ้น 12.8% ในไตรมาสสอง
รายงานตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐช่วยกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับลงจาก 3.854% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี สู่ 3.819% ในช่วงท้ายวันศุกร์ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า มีโอกาส 15.9% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. และมีโอกาส 84.1% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. โดยโอกาสดังกล่าวปรับลดลงจาก 89.3% ที่เคยคาดไว้ในวันพฤหัสบดี
หุ้นทั้ง 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันศุกร์ในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีพุ่งขึ้น 1.8% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ปรับขึ้น 0.5% และถือเป็นกลุ่มที่ปรับขึ้นน้อยที่สุด ทางด้านดัชนีหุ้นเติบโตของสหรัฐทะยานขึ้น 1.4% ในวันศุกร์ ในขณะที่หุ้นบริษัทไมโครซอฟท์, อะเมซอน, เอ็นวิเดีย และเมตา แพลตฟอร์มส์พุ่งขึ้น 1.6-3.6% โดยหุ้นเหล่านี้ได้รับแรงหนุนในช่วงที่ผ่านมาจากผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และจากกระแสความนิยมในปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐปรับขึ้น 0.4% ในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดในแดนบวกได้เป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน ทั้งนี้ หุ้นไนกี้ซึ่งเป็นผู้ผลิตชุดกีฬาดิ่งลง 2.6% หลังจากไนกี้คาดการณ์รายได้ไตรมาสแรกที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ในย่านวอลล์สตรีท--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--30 มิ.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันพฤหัสบดี ในขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารพุ่งขึ้น หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้เปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤติประจำปีนี้ในวันพุธ ซึ่งเป็นการทดสอบธนาคาร 23 แห่งในสหรัฐที่แต่ละแห่งมีสินทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 1.00 แสนล้านดอลลาร์ โดยผลการทดสอบพบว่า ธนาคารขนาดใหญ่เหล่านี้สามารถผ่านการทดสอบ ถึงแม้ว่าภาคธนาคารสหรัฐเพิ่งเผชิญกับภาวะปั่นป่วนวุ่นวายในช่วงต้นปี และเผชิญกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนในอนาคต ทั้งนี้ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ธนาคารกลุ่มนี้มีเงินกองทุนมากพอที่จะสามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง และปัจจัยนี้ก็ส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐปิดพุ่งขึ้น 2.6% ในวันพฤหัสบดี และส่งผลให้ดัชนี KBW สำหรับหุ้นธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐปิดทะยานขึ้น 1.8%
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.8% สู่ 34,122.42, ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.45% สู่ 4,396.44 และดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.42 จุด หรือ 0% สู่ 13,591.33 ในวันพฤหัสบดี อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq มีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดช่วงครึ่งปีแรกด้วยการพุ่งขึ้นกว่า 29% จากช่วงสิ้นปีที่แล้ว ซึ่งจะถือเป็นอัตราการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 40 ปีสำหรับช่วงครึ่งปีแรก ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มการเงินพุ่งขึ้น 1.7% ในวันพฤหัสบดี และถือเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐ ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มวัสดุทะยานขึ้น 1.3% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากเป็นอันดับสอง โดยหุ้นกลุ่มวัสดุถือเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นกลุ่มวัฏจักรเศรษฐกิจ ทางด้านดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐทะยานขึ้น 1.2% ในวันพฤหัสบดี โดยหุ้นบริษัทขนาดเล็กมักจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน
สหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในวันพฤหัสบดี และรายงานตัวเลขดังกล่าวช่วยกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย และปัจจัยนี้ก็ช่วยหนุนหุ้นกลุ่มวัฏจักรเศรษฐกิจและหุ้นคุณค่า อย่างไรก็ดี ตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งช่วยกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับขึ้นจาก 3.712% ในช่วงท้ายวันพุธ สู่ 3.854% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี และปัจจัยนี้ก็ส่งผลลบต่อหุ้นเติบโตและหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐดิ่งลง 26,000 ราย สู่ 239,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 มิ.ย. ซึ่งอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 265,000 ราย และการดิ่งลงในครั้งนี้ถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2021 หรือครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 20 เดือน ทางด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโตขึ้น 2.0% ในไตรมาสแรก โดยปรับทบทวนขึ้นจากอัตราการเติบโตที่ 1.3% ที่เคยรายงานไว้ในเดือนพ.ค.
นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาสราว 10.7% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. และมีโอกาสราว 89.3% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. โดยโอกาสดังกล่าวปรับขึ้นจาก 81.8% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งวันก่อน นอกจากนี้ นักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนพ.ค.ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์นี้ เพราะเฟดมักใช้ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อ ทางด้านนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า อัตราเงินเฟ้อของดัชนี PCE พื้นฐานอาจทรงตัวที่ 4.7% ในเดือนพ.ค.
ดัชนี Nasdaq ได้รับแรงกดดันในวันพฤหัสบดีจากการดิ่งลงของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ ซึ่งรวมถึงหุ้นอะเมซอนที่ปรับลง 0.9%, หุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ที่ดิ่งลง 1.3%, หุ้นเอ็นวิเดียที่ร่วงลง 0.7% และหุ้นไมโครซอฟท์ที่ปรับลง 0.2%--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--22 พ.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงในวันศุกร์ หลังจากการเจรจาต่อรองเรื่องการปรับขึ้นเพดานหนี้ของรัฐบาลกลางสหรัฐจากระดับ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์หยุดชะงักลงชั่วคราว และปัจจัยดังกล่าวทำให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์ในทางบวกที่ว่า อาจจะมีการบรรลุข้อตกลงเรื่องเพดานหนี้ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ทั้งนี้ นายแกร์เรท เกรฟส์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำการเจรจาต่อรองได้เดินออกจากการเจรจาในวันศุกร์ และเขากล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่า "จนกว่าพวกเขาจะเต็มใจที่จะหารือกันอย่างยากลำบากเรื่องวิธีการเดินหน้าและทำในสิ่งที่ถูกต้อง เราก็จะไม่มานั่งเจรจากัน" อย่างไรก็ดี ทำเนียบขาวระบุว่า ยังคงมีความเป็นไปได้ที่จะมีการบรรลุข้อตกลงกัน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.33% สู่ 33,426.63, ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.14% สู่ 4,191.98 หลังจากดัชนีเพิ่งพุ่งขึ้นกว่า 2% ในวันพุธและวันพฤหัสบดี และดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.24% สู่ 12,657.90 ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับระดับปิดสัปดาห์ที่แล้ว ดัชนีดาวโจนส์ก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้บวกขึ้น 0.38%, ดัชนี S&P 500 ปิดตลาดสัปดาห์นี้ทะยานขึ้น 1.65% และดัชนี Nasdaq ปิดตลาดสัปดาห์นี้พุ่งขึ้น 3.04% โดยทั้งดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ต่างก็พุ่งขึ้นในสัปดาห์นี้ในอัตราที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมี.ค.
นักลงทุนยังคงไม่แน่ใจในแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ ในขณะที่นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แสดงจุดยืนแบบสายพิราบปานกลาง โดยเขากล่าวในวันศุกร์ว่า ภาวะสินเชื่อที่ตึงตัวมากยิ่งขึ้นส่งผลให้ "เฟดอาจจะไม่มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่มากเท่ากับในกรณีที่ไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อจะได้บรรลุเป้าหมายของเรา" และเขากล่าวย้ำว่า ในตอนนี้เฟดจะตัดสินใจกำหนดนโยบายในการประชุมแต่ละครั้งไป และเขากล่าวเสริมว่า หลังจากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เฟดก็สามารถประเมินอย่างระมัดระวังได้ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ
ตลาดหุ้นได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากข่าวของ CNN ที่ระบุว่า เจเน็ต เยลเลน รมว.คลังสหรัฐได้กล่าวต่อซีอีโอของธนาคารต่าง ๆ ในวันพฤหัสบดีว่า อาจจะมีความจำเป็นที่ธนาคารจะต้องควบรวมกิจการกันมากยิ่งขึ้น หลังจากธนาคารหลายแห่งล้มลงในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ ดัชนี KBW สำหรับหุ้นธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐดิ่งลง 2.17% ในวันศุกร์ แต่ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 6.2% จากสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบมานาน 3 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยดัชนี KBW ได้รับแรงหนุนในสัปดาห์นี้จากการที่นักลงทุนมองว่า ปัญหาในภาคธนาคารระดับภูมิภาคอยู่ภายใต้การควบคุมเป็นส่วนใหญ่ ทางด้านหุ้นธนาคารมอร์แกน สแตนเลย์ดิ่งลง 2.66% ในวันศุกร์ หลังจากนายเจมส์ กอร์แมน ซีอีโอของมอร์แกน สแตนเลย์ประกาศว่า เขาจะลงจากตำแหน่งในเวลา 12 เดือนข้างหน้า
หุ้นฟูต ล็อกเกอร์ ซึ่งเป็นผู้ค้าปลีกรองเท้าดิ่งลง 27.24% ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายวันครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ. 2022 หลังจากฟูต ล็อกเกอร์ปรับลดคาดการณ์ผลกำไรและยอดขายประจำปี โดยประกาศเตือนของฟูต ล็อกเกอร์มีส่วนกดดันหุ้นอันเดอร์ อาร์เมอร์ให้รูดลง 4.20% และกดดันหุ้นไนกี้ให้ดิ่งลง 3.46% ด้วย โดยไนกี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน