ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 1 เดือนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพุธว่า ยอดค้าปลีกของสหรัฐปรับขึ้น 0.6% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ย. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.4% สำหรับเดือนธ.ค. โดยรายงานตัวเลขนี้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีความแข็งแกร่ง และสิ่งนี้ส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในวันพุธว่า มีโอกาส 53.2% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25% ในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 65.1% ที่เคยคาดไว้ในวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.34 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยขยับขึ้นจาก 103.31 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 103.69 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. หรือจุดสูงสุดรอบหนึ่งเดือน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 148.15 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยพุ่งขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 147.18 เยน หลังจากทะยานขึ้นแตะ 148.52 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 28 พ.ย.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0881 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยปรับขึ้นจาก 1.0874 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0843 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันพุธ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีกเดือนธ.ค.ที่แข็งแกร่ง และรายงานตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. โดยรายงานตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 4.129% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.ด้วย และปัจจัยนี้ก็ส่งผลลบต่อหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ของสหรัฐ โดยหุ้นบริษัทอะเมซอน, เอ็นวิเดีย และแอลฟาเบทร่วงลง 0.5%-1% ในวันพุธ ในขณะที่หุ้นบริษัทเทสลาซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าดิ่งลง 2% หลังจากเทสลาปรับลดราคารถยนต์ "โมเดล วาย" ในเยอรมนี ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐ ซึ่งเป็นหุ้นกลุ่มที่มักจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยดิ่งลง 1.9% ในวันพุธ ในขณะที่ดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐปรับลง 0.7% และปิดตลาดที่ระดับปิดต่ำสุดในรอบกว่า 1 เดือน ทางด้านดัชนีความผันผวนตลาด CBOE หรือดัชนี VIX ที่ใช้วัดระดับความกังวลในตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือนที่ 15.40 ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.25% สู่ 37,266.67
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.56% สู่ 4,739.21 และออกห่างจากสถิติระดับปิดสูงสุดที่ 4,796.56 ซึ่งเคยทำไว้ในวันที่ 3 ม.ค. 2022
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.59% สู่ 14,855.62
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นแต่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ร่วงลงในวันพุธ ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบสหรัฐได้รับแรงหนุนจากภาวะอากาศหนาวจัดซึ่งถือเป็นอุปสรรคขัดขวางการผลิตน้ำมันในสหรัฐ โดยรัฐนอร์ธ ดาโกตาของสหรัฐรายงานว่า อุณหภูมิที่ต่ำกว่าศูนย์องศาฟาเรนไฮต์ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันในรัฐนี้ดิ่งลง 650,000-700,000 บาร์เรลต่อวัน หรือดิ่งลงกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตตามปกติ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันในวันพุธจากตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังในจีน โดยจีนรายงานในวันพุธว่า เศรษฐกิจจีนขยายตัว 5.2% เมื่อเทียบรายปีในไตรมาส 4 ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 5.3% และตัวเลขดังกล่าวก็ทำให้นักลงทุนกังวลกับอุปสงค์พลังงาน ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันพุธ การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 ม.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐเพิ่มขึ้น 480,000 บาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.พ.ปรับขึ้น 16 เซนต์ สู่ 72.56 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนร่วงลง 41 เซนต์ สู่ 77.88 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐดิ่งลง 21.87 ดอลลาร์ หรือ 1.08% สู่ 2,005.72 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากรูดลงแตะ 2,001.72 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. หรือจุดต่ำสุดรอบ 1 เดือน โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ เพราะตัวเลขดังกล่าวหนุนให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินพุ่งขึ้นแตะ 103.69 ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. หรือจุดสูงสุดรอบหนึ่งเดือน และหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 4.129% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.ด้วย ทั้งนี้ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลลบต่อราคาทอง เพราะการแข็งค่าของดอลลาร์ส่งผลให้ทองมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ และทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--15 ม.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย หลังจากเครื่องบินรบ, เรือ และเรือดำน้ำของสหรัฐกับอังกฤษดำเนินการโจมตีทางอากาศในเยเมน โดยการโจมตีดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อตอบโต้ต่อการที่กลุ่มฮูตีในเยเมน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน โจมตีเรือขนส่งสินค้าในทะเลแดงเพื่อเป็นการสนับสนุนกลุ่มฮามาสในเขตฉนวนกาซา และเหตุการณ์นี้ก็ทำให้นักลงทุนกังวลกันว่า ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางอาจจะขยายวงกว้างออกไป ทั้งนี้ ดอลลาร์ลดช่วงบวกลงมาบ้างในเวลาต่อมา หลังจากสำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) ในกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) สำหรับอุปสงค์ขั้นสุดท้ายในสหรัฐปรับลง 0.1% ในเดือนธ.ค. หลังจากปรับลง 0.1% ในเดือนพ.ย. โดยการปรับลดลงในเดือนธ.ค.ถือเป็นการปรับลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยได้รับแรงกดดันจากราคาสินค้าที่ร่วงลง 0.4% ในเดือนธ.ค. หลังจากราคาสินค้าปรับลง 0.3% ในเดือนพ.ย. ทางด้านราคาผู้ผลิตในภาคบริการทรงตัวในเดือนธ.ค. และปัจจัยเหล่านี้บ่งชี้ว่า มีโอกาสมากยิ่งขึ้นที่อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐจะชะลอตัวลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 102.43 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 102.21 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 144.90 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 145.28 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0949 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยปรับลงจาก 1.0970 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงในวันศุกร์ แต่ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ขยับขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงหนุนในวันศุกร์จากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) สหรัฐที่อยู่ในระดับต่ำเกินคาด และตัวเลขดังกล่าวช่วยกระตุ้นความคาดหวังที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนมี.ค. โดยนักลงทุนคาดการณ์กันในวันศุกร์ว่า มีโอกาส 79.5% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25% ในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับขึ้นจากโอกาส 73.2% ที่เคยคาดการณ์กันไว้ในวันพฤหัสบดี นอกจากนี้ รายงานดัชนี PPI ก็ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงจาก 3.975% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี สู่ 3.950% ในช่วงท้ายวันศุกร์ด้วย ทั้งนี้ ตลาดหุ้นขยับขึ้นได้เพียงเล็กน้อยในวันศุกร์ เพราะว่าตลาดหุ้นได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการภาคธนาคารที่ไร้ทิศทางชัดเจน โดยดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐดิ่งลง 1.26% ในวันศุกร์ ในขณะที่หุ้นแบงก์ ออฟ อเมริการูดลง 1.06% หลังจากแบงค์ ออฟ อเมริการายงานว่าผลกำไรไตรมาสสี่หดตัวลง และทางธนาคารลงบัญชีค่าใช้จ่ายพิเศษ 3.7 พันล้านดอลลาร์ ส่วนหุ้นธนาคารเวลส์ ฟาร์โกรูดลง 3.34% หลังจากเวลส์ ฟาร์โกประกาศเตือนว่า รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NII) อาจดิ่งลง 7%-9% ในปี 2024 นอกจากนี้ ดัชนีดาวโจนส์ก็ได้รับแรงกดดันในวันศุกร์จากหุ้นบริษัทยูไนเต็ดเฮลธ์ที่ดิ่งลง 3.37% ด้วย หลังจากทางบริษัทรายงานว่า ต้นทุนทางการแพทย์อยู่ในระดับที่สูงเกินคาด Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.31% สู่ 37,592.98 ในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการบวกขึ้น 0.34% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 0.08 % สู่ 4,783.83 ในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 1.84% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนธ.ค.
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับขึ้น 0.02% สู่ 14,972.76 ในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการทะยานขึ้น 3.09% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย.
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ ในขณะที่มีเรือขนส่งน้ำมันจำนวนมากยิ่งขึ้นที่หลีกเลี่ยงเส้นทางเดินเรือในทะเลแดง หลังจากสหรัฐกับอังกฤษดำเนินการโจมตีทางอากาศและทางทะเลต่อกลุ่มฮูตีในเยเมน เพื่อตอบโต้ต่อการที่กลุ่มฮูตีโจมตีเรือขนส่งสินค้าในทะเลแดง โดยบริษัทสเตนา บัลค์, บริษัทฮาฟเนีย และบริษัททอร์ม ซึ่งเป็นสามบริษัทเรือขนส่งน้ำมันประกาศว่า ทางบริษ้ทได้ตัดสินใจระงับเรือทุกลำไม่ให้แล่นไปสู่ทะเลแดง นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้รับแรงหนุนเพิ่มเติม หลังจากสำนักงานศุลกากรจีนรายงานในวันศุกร์ว่า จีนนำเข้าน้ำมันดิบสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2023 โดยจีนนำเข้าน้ำมันดิบ 563.99 ล้านตันในปี 2023 โดยพุ่งขึ้น 11% จากปี 2022 ในขณะที่อุปสงค์ในจีนฟื้นตัวขึ้นหลังผ่านพ้นวิกฤติโรคระบาด ทั้งนี้ บริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์รายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซที่ใช้งานในสหรัฐลดลง 2 แท่น สู่ 619 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 ม.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. โดยจำนวนแท่นขุดเจาะในสหรัฐเพิ่งดิ่งลงราว 20% ในปี 2023 หลังจากพุ่งขึ้น 33% ในปี 2022 และหลังจากทะยานขึ้น 67% ในปี 2021 โดยการดิ่งลงในปี 2023 มีสาเหตุมาจากการรูดลงของราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ, จากต้นทุนในการขุดเจาะที่พุ่งขึ้น และจากการที่บริษัทพลังงานปรับลดรายจ่ายลงเพื่อจะได้ปรับเพิ่มเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.พ.ปรับขึ้น 66 เซนต์ หรือ 0.9% มาปิดตลาดที่ 72.68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 75.25 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดของปีนี้ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบสหรัฐปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 1.1% จากสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับแรงกดดันจากการที่ซาอุดิอาระเบียปรับลดราคาน้ำมันลงอย่างรุนแรง และจากตัวเลขสต็อกน้ำมันในคลังสหรัฐที่พุ่งสูงเกินคาด
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 88 เซนต์ หรือ 1.1% มาปิดตลาดที่ 78.29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 80.75 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดของปีนี้ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับลง 0.5% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้น 20.63 ดอลลาร์ หรือ 1.02% สู่ 2,048.72 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 1 สัปดาห์ที่ 2,062.19 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และปัจจัยดังกล่าวช่วยกระตุ้นคำสั่งซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย นอกจากนี้ ราคาทองก็ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ด้วย หลังจากสำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) ในกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) สำหรับอุปสงค์ขั้นสุดท้ายในสหรัฐปรับลง 0.1% ในเดือนธ.ค. หลังจากปรับลง 0.1% ในเดือนพ.ย. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--11 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยน แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโรในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนรอดูรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐในช่วงต่อไปในสัปดาห์นี้ และรายงานตัวเลขดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ นักลงทุนคาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไปของสหรัฐอาจปรับขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน และอาจปรับขึ้น 3.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายปี ในขณะที่เทรดเดอร์คาดว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อกำลังชะลอตัวลงเข้าใกล้ระดับเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 102.34 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 102.50 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยดัชนีดอลลาร์ยังคงอยู่ห่างจากจุดต่ำสุดรอบ 5 เดือนที่ 100.61 ที่เคยทำไว้ในวันที่ 28 ธ.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 145.73 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยพุ่งขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 144.47 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0971 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0931 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันพุธตามหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทเอ็นวิเดียที่พุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ในระหว่างวัน และปิดบวกขึ้น 2.28% หลังจากบริษัท TSMC ของไต้หวัน ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปเหมือนกับเอ็นวิเดีย รายงานตัวเลขรายได้ไตรมาส 4 ที่สูงเกินคาด ทางด้านหุ้นบริษัทไมโครซอฟท์พุ่งขึ้น 1.86% และหุ้นบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ทะยานขึ้น 3.65% มาปิดตลาดที่ 370.47 ดอลลาร์ หลังจากหุ้นเมตาทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2021 ในระหว่างวัน โดยได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า บริษัทมิสุโฮปรับขึ้นราคาเป้าหมายของหุ้นเมตาสู่ 470 ดอลลาร์ จากเดิมที่เคยตั้งไว้ที่ 400 ดอลลาร์ โดยการพุ่งขึ้นของหุ้นเมตามีส่วนช่วยหนุนดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารของสหรัฐให้พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพุธด้วย โดยดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารถือเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่ทะยานขึ้นมากที่สุดในวันพุธในบรรดาดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ทั้ง 11 กลุ่มในตลาดหุ้นสหรัฐ อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นเพียงในวงจำกัดในวันพุธ เนื่องจากนักลงทุนรอดูรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี และรอดูดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันศุกร์ และนักลงทุนก็รอดูผลประกอบการของธนาคารขนาดยักษ์ของสหรัฐที่จะเริ่มได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ด้วย เมื่อธนาคารเจพีมอร์แกน เชส, แบงก์ ออฟ อเมริกา และซิตี้กรุ๊ป เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสสี่และผลประกอบการตลอดทั้งปีในวันศุกร์ที่ 12 ม.ค. Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.45% สู่ 37,695.73
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.57 % สู่ 4,783.45 ในวันพุธ ซึ่งส่งผลให้ดัชนีอยู่ห่างเพียงแค่ 0.27% จากสถิติระดับปิดสูงสุดที่ 4,796.56 ที่เคยทำไว้ในวันที่ 3 ม.ค. 2022
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.75 % สู่ 14,969.65
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันพุธ หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างพลิกความคาดหมาย และรายงานตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลกับอุปสงค์ในตลาดสหรัฐ ทั้งนี้ EIA รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล สู่ 432.4 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 ม.ค. ซึ่งสวนทางกับโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจร่วงลง 700,000 บาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐทะยานขึ้น 8 ล้านบาร์เรล สู่ 245 ล้านบาร์เรล ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2022 ทางด้านสต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil พุ่งขึ้น 6.5 ล้านบาร์เรล สู่ 132.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2021 ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันในสหรัฐปรับลดลง 0.6% สู่ 92.9% Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.พ.ดิ่งลง 87 เซนต์ หรือ 1.2% มาปิดตลาดที่ 71.37 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 79 เซนต์ หรือ 1% มาปิดตลาดที่ 76.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 6.19 ดอลลาร์ สู่ 2,023.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนรอดูรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี และรอดูดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันศุกร์ อย่างไรก็ดี ราคาทองได้รับแรงหนุนเข้ามาบ้างในวันพุธจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ทั้งนี้ นักลงทุนคาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไปของสหรัฐอาจปรับขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน และอาจปรับขึ้น 3.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายปี ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐอาจชะลอตัวลงสู่ 3.8% ในเดือนธ.ค. ซึ่งจะถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่กลางปี 2021 Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--10 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยนและยูโรในวันอังคาร ในขณะที่เทรดเดอร์รอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพฤหัสบดีนี้ เพื่อใช้ในการประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อใด โดยนักลงทุนคาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไปอาจปรับขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน และอาจปรับขึ้น 3.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายปี ทั้งนี้ ถ้าหากสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีนี้ว่า อัตราเงินเฟ้อยังคงชะลอตัวลงต่อไป ตัวเลขดังกล่าวก็จะช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. แต่ถ้าหากสหรัฐรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาด นักลงทุนก็อาจจะปรับลดการคาดการณ์ดังกล่าว โดยในตอนนี้นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้า Fed funds คาดว่า มีโอกาส 64% ที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 70% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 102.50 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 102.30 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยดัชนีดอลลาร์ยังคงอยู่ห่างจากจุดต่ำสุดรอบ 5 เดือนที่ 100.61 ที่เคยทำไว้ในวันที่ 28 ธ.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 144.47 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 144.22 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0931 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0949 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร แต่ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงในวันอังคาร โดยได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนพยายามประเมินกำหนดเวลาและขนาดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในปี 2024 ก่อนที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในช่วงต่อไปในสัปดาห์นี้ โดยในตอนนี้นักลงทุนคาดว่า มีโอกาสเพียง 65.7% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25% ในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 79% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน และการปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ในเรื่องนี้ก็มีส่วนช่วยหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับขึ้นจากระดับ 4.002% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.017% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 4.053% ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น มีหุ้นเพียง 4 กลุ่มที่ปิดตลาดวันอังคารในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปิดบวกขึ้น 0.25% และถือเป็นกลุ่มที่ปรับขึ้นมากที่สุดในวันอังคาร ในขณะที่ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลง 1.63% และถือเป็นกลุ่มที่รูดลงมากที่สุดในวันอังคาร ทางด้านหุ้นบริษัทจูนิเพอร์ เน็ทเวิร์คส์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายพุ่งขึ้น 21.81% หลังจากแหล่งข่าวกล่าวว่า บริษัทฮิวเลทท์ แพคการ์ด เอ็นเทอร์ไพรส์อยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อเข้าซื้อจูนิเพอร์ในข้อตกลงขนาด 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่หุ้นฮิวเลทท์ แพคการ์ด เอ็นเทอร์ไพรส์ดิ่งลง 8.9% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.42% สู่ 37,525.16
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.15 % สู่ 4,756.50
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับขึ้น 0.09 % สู่ 14,857.71
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันอังคาร หลังจากกองทัพอิสราเอลประกาศว่า การสู้รบกับกลุ่มฮามาสจะยังคงดำเนินต่อไปตลอดทั้งปี 2024 และประกาศดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่า ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางอาจจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันได้ในอนาคต นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากปัญหาในลิเบียด้วย หลังจากมีการปิดการผลิตน้ำมันที่แหล่งน้ำมันชารารา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแหล่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในลิเบีย โดยแหล่งน้ำมันแห่งนี้มีกำลังการผลิตราว 300,000 บาร์เรลต่อวัน โดยบริษัทเนชันแนล ออยล์ คอร์ปอเรชัน (NOC) ของลิเบียได้ประกาศภาวะเหตุสุดวิสัยต่อแหล่งน้ำมันชาราราในวันอาทิตย์ที่ 7 ม.ค. โดยเป็นผลจากการประท้วงในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 ม.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 5.2 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 4.9 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐทะยานขึ้น 6.9 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 1.47 ดอลลาร์ หรือ 2.1% มาปิดตลาดที่ 72.24 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนทะยานขึ้น 1.47 ดอลลาร์ หรือ 1.9% มาปิดตลาดที่ 77.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับขึ้น 1.75 ดอลลาร์ สู่ 2,029.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนยังคงใช้ความระมัดระวังในการลงทุน ก่อนที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในช่วงต่อไปในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ นายจิม วิคคอฟ นักวิเคราะห์ของบริษัทคิทโค เมทัลส์กล่าวว่า ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอยู่ในระดับที่สูงเกินคาด ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ก็จะไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ในเร็ว ๆ นี้ และปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลลบต่อราคาทองและโลหะเงิน Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินส่วนใหญ่ท่ามกลางภาวะซื้อขายผันผวนในวันพฤหัสบดี โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลตลาดแรงงานที่ดีเกินคาด ซึ่งลดการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งในปีนี้ ทั้งนี้ รายงานการจ้างงานแห่งชาติของเอดีพีพบว่า การจ้างงานในภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 164,000 ตำแหน่งในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นรายเดือนมากที่สุดตั้งแต่เดือนส.ค. และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 115,000 ตำแหน่ง ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 18,000 ราย สู่ระดับ 202,000 รายในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ธ.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 216,000 ราย Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 102.430 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี
เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 102.40 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ
หลังจากแข็งค่าแตะระดับสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ในวันพุธ
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 144.62 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี แข็งค่าขึ้นจากระดับ 143.29
ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยดอลลาร์แข็งค่าสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ และปรับตัวขึ้น 3
วันติดต่อกันแล้ว
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0943 ดอลลาร์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี แข็งค่าขึ้นจากระดับ
1.0921 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ เนื่องจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อในยุโรปเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อในฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นตามคาดในเดือนธ.ค.ส่วนอัตราเงินเฟ้อในเยอรมนีเพิ่มขึ้น มาที่ 3.7% ในเดือนธ.ค. จาก 3.2% ในเดือนพ.ย.
ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ปิดลดลงในวันพฤหัสบดี โดยปรับตัวลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี แต่ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกเล็กน้อยเนื่องจากหุ้นกลุ่มการเงิน และข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่ง โดยดัชนี S&P 500 ร่วงลง 3 วันติดต่อกันแล้ว ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2015 เนื่องจากนักลงทุนยังคงขายทำกำไรออกมา หลังการพุ่งขึ้นมากในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปีที่แล้ว นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวทำให้เทรดเดอร์ขายหุ้นกลุ่มเติบโต และเข้าซื้อหุ้นกลุ่มอื่นๆแทน
Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 0.03% ที่ 37,440.34
ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 0.34% ที่ 4,688.68
ดัชนี Nasdaq ปิดบวก 0.56% สู่ 14,510.3
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปิดลดลงท่ามกลางภาวะซื้อขายผันผวนในวันพฤหัสบดี ขณะที่ปริมาณสต็อกน้ำมันเบนซิน และน้ำมันกลั่นที่เพิ่มขึ้นมากได้บดบังปริมาณสต็อกน้ำมันดิบที่ลดลงมากเกินคาด โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐรายงานว่า สต็อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 10.9 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 237 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเทียบรายสัปดาห์มากที่สุดในรอบกว่า 30 ปี ส่วนสต็อกน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น 10.1 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 125.9 ล้านบาร์เรล แต่สต็อกน้ำมันดิบลดลง 5.5 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.พ.ปิดลดลง 0.51 ดอลลาร์ หรือ 0.7% ที่ 72.19 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปิดลดลง 0.66 ดอลลาร์ หรือ 0.8% ที่ 77.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐทรงตัวในวันพฤหัสบดี หลังจากร่วงลง 4 วัน ขณะที่นักลงทุนรอดูข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ ซึ่งอาจมีอิทธิพลต่อแนวทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยราคาทองสปอตบวก 0.2% มาที่ 2,044.39 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยนายจิม วิคออฟ นักวิเคราะห์อาวุโสจากคิทโก เมทัลส์กล่าวว่า "นักลงทุนในตลาดทองต้องการปัจจัยกระตุ้นใหม่เพื่อกระตุ้นให้ราคาพุ่งขึ้น แต่ถ้าข้อมูลการจ้างงานออกมาแข็งแกร่งขึ้น นั่นก็จะลดแรงกดดันต่อราคาไปได้บ้าง และอาจจะลดการคาดการณ์การลดดอกเบี้ยของเฟด" Eikon source text
--จบ--
วอชิงตัน--25 ธ.ค.--รอยเตอร์
สำนักงานสำมะโนประชากรในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนในสหรัฐพุ่งขึ้นในเดือนพ.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากยอดสั่งซื้อเครื่องบิน แต่ยอดลงทุนทางอุปกรณ์ในภาคธุรกิจอยู่ในภาวะเฉื่อยชา โดยได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูง ทั้งนี้ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน หรือสินค้าที่สามารถใช้งานได้นานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป พุ่งขึ้น 5.4% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากดิ่งลง 5.1% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายเดือน และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +2.2% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน ส่วนยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนแบบเทียบรายปีพุ่งขึ้น 4.5% ในเดือนพ.ย.ปีนี้เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อน
ภาคการผลิตครองสัดส่วนราว 10.3% ของขนาดเศรษฐกิจสหรัฐ และกิจกรรมในภาคการผลิตก็มีแนวโน้มว่าจะยังคงอยู่ในภาวะเฉื่อยชาต่อไป โดยได้รับแรงกดดันจากการที่ภาคธุรกิจชะลอการปรับเพิ่มสต็อกสินค้าคงคลัง เนื่องจากภาคธุรกิจคาดว่าความต้องการซื้อสินค้าจะอ่อนแอลง ถึงแม้มีแนวโน้มว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีหน้า
ยอดสั่งซื้ออุปกรณ์การขนส่งดีดขึ้น 15.3% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากดิ่งลง 13.4% ในเดือนต.ค. โดยยอดสั่งซื้อยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ดีดขึ้น 2.8% ในเดือนพ.ย. ในขณะที่คนงานโรงงานรถยนต์ในสหภาพยูไนเต็ด ออโต เวิร์คเกอร์ส (UAW) ยุติการผละงานประท้วง ทางด้านยอดสั่งซื้อเครื่องบินพลเรือนพุ่งขึ้น 80.1% ในเดือนพ.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากรายงานที่ว่า บริษัทโบอิ้งได้รับยอดสั่งซื้อเครื่องบินพลเรือน 114 ลำในเดือนพ.ย. ซึ่งครอบคลุมยอดสั่งซื้อเครื่องบินรุ่น 777X ที่มีราคาแพงเป็นจำนวน 90 ลำ หลังจากที่โบอิ้งเคยได้รับยอดสั่งซื้อเครื่องบินจำนวน 123 ลำในเดือนต.ค. ทั้งนี้ ยอดสั่งซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าพุ่งขึ้น 1.3% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากดิ่งลง 2.4% ในเดือนต.ค., ยอดสั่งซื้อโลหะปฐมภูมิดีดขึ้น 0.6% ในเดือนพ.ย. หลังจากร่วงลง 0.5% ในเดือนต.ค., ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรปรับขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ย. หลังจากปรับลง 0.8% ในเดือนต.ค. และยอดสั่งซื้อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ปรับขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ย. หลังจากขยับลง 0.1% ในเดือนต.ค.
ยอดสั่งซื้อสินค้าทุนยกเว้นอาวุธและเครื่องบิน หรือยอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นมาตรวัดแผนการลงทุนในภาคธุรกิจ ดีดขึ้น 0.8% ในเดือนพ.ย. หลังจากร่วงลง 0.6% ในเดือนต.ค. ส่วนยอดขนส่งสินค้าทุนพื้นฐานขยับลง 0.1% ในเดือนพ.ย. หลังจากขยับลง 0.1% ในเดือนต.ค. ทางด้านยอดขนส่งสินค้าทุนยกเว้นอาวุธปรับขึ้น 0.5% ในเดือนพ.ย. หลังจากปรับลง 0.3% ในเดือนต.ค.
มหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ 69.7 ในเดือนธ.ค. จาก 61.3 ในเดือนพ.ย. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 69.4 สำหรับเดือนธ.ค. โดยดัชนีสถานการณ์ปัจจุบันทะยานขึ้นจาก 68.3 ในเดือนพ.ย. สู่ 73.3 ในเดือนธ.ค. และดัชนีการคาดการณ์ล่วงหน้าของผู้บริโภคพุ่งขึ้นจาก 56.8 ในเดือนพ.ย. สู่ 67.4 ในเดือนธ.ค. ทังนี้ ดัชนีการคาดการณ์เงินเฟ้อสำหรับช่วง 1 ปีข้างหน้าของผู้บริโภคสหรัฐอยู่ที่ 3.1% ในเดือนธ.ค. โดยชะลอตัวลงเป็นอย่างมากจากระดับ 4.5% ในเดือนพ.ย. ส่วนดัชนีการคาดการณ์เงินเฟ้อสำหรับช่วง 5 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 2.9% ในเดือนธ.ค. โดยชะลอตัวลงจาก 3.2% ในเดือนพ.ย.--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--22 ธ.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินร่วงลงแตะจุดต่ำสุดในรอบกว่า 4 เดือนในวันพฤหัสบดี ในขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐดีดขึ้นในวันพฤหัสบดี หลังจากที่เพิ่งดิ่งลงในวันพุธ และการดีดขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐก็ส่งผลให้นักลงทุนลดความต้องการซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนพ.ย.ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ เพราะธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มักใช้ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อ โดยนักลงทุนคาดการณ์กันว่า ถ้าหากดัชนี PCE ขยับขึ้นเพียง 0.1% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน สิ่งนี้ก็จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาชะลอตัวลงสู่ระดับเพียง 2.1% เมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) ซึ่งจะเข้าใกล้กับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% ทั้งนี้ นักลงทุนบางรายคาดว่า ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวลง ปัจจัยดังกล่าวก็จะกระตุ้นให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อเป็นการสกัดกั้นไม่ให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (หรืออัตราดอกเบี้ยที่ปรับตามภาวะเงินเฟ้อ) พุ่งสูงขึ้น และนักลงทุนบางรายก็คาดว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างแข็งกร้าวในเร็ว ๆ นี้ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 101.78 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยร่วงลงจาก 102.41 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากดิ่งลงแตะ 101.73 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค. หรือจุดต่ำสุดในรอบกว่า 4 เดือน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 142.10 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยดิ่งลงจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 143.56 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.1008 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0938 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ
ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี หลังจากที่เพิ่งดิ่งลงในวันพุธ ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในวันพฤหัสบดีช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคต และการคาดการณ์ดังกล่าวก็ช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยง โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 4.9% ในไตรมาสสามเมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) โดยปรับลดลงจากรายงานครั้งก่อนที่ระบุว่าจีดีพีเติบโต 5.2% ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นทั้ง 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันพฤหัสบดีในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยถือเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันพฤหัสบดี ทางด้านดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐทะยานขึ้น 2.8% โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทไมครอน เทคโนโลยีที่เป็นผู้ผลิตชิปที่พุ่งขึ้น 8.6% หลังจากไมครอนคาดการณ์รายได้รายไตรมาสที่สูงเกินคาด เนื่องจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่า ตลาดชิปหน่วยความจำจะฟื้นตัวขึ้นในปี 2024 โดยการพุ่งขึ้นของหุ้นไมครอนมีส่วนช่วยหนุนดัชนี Nasdaq ด้วย Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.87% สู่ 37,404.35
ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 1.03% สู่ 4,746.75
ดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 1.26% สู่ 14,963.87
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับลงในวันพฤหัสบดี หลังจากแองโกลาประกาศว่า แองโกลาจะถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) โดยนายเดียมานติโน อาเซเวโด รมว.น้ำมันแองโกลากล่าวว่า การที่แองโกลาเป็นสมาชิกกลุ่มโอเปกไม่ได้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของแองโกลา และก่อนหน้านี้แองโกลาก็เคยประท้วงการตัดสินใจของกลุ่มโอเปกในการประชุมในเดือนพ.ย.มาแล้ว เนื่องจากแองโกลาไม่เห็นด้วยกับการที่กลุ่มโอเปกปรับลดโควต้าการผลิตน้ำมันของแองโกลาประจำปี 2024 ลงเพื่อช่วยพยุงราคาน้ำมัน ทางด้านนักลงทุนมองว่า การถอนตัวของแองโกลาในครั้งนี้จะส่งผลให้มีการตั้งคำถามต่อความพยายามของกลุ่มโอเปกในการหนุนราคาน้ำมันโดยใช้วิธีจำกัดการผลิตน้ำมัน ทั้งนี้ แองโกลาผลิตน้ำมันราว 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่กลุ่มโอเปกทั้งกลุ่มผลิตน้ำมันราว 28 ล้านบาร์เรลตอวัน โดยนายแมทท์ สมิธ จากบริษัทเคเพลอร์กล่าวว่า "ดูเหมือนว่ากลุ่มโอเปกกำลังจะประสบกับความพ่ายแพ้ในความพยายามหนุนราคาน้ำมันให้สูงขึ้น" ในขณะที่ประเทศนอกกลุ่มโอเปก ซึ่งรวมถึงสหรัฐ ได้เข้ามาแทนที่โอเปกและครองส่วนแบ่งตลาดน้ำมันเพิ่มมากขึ้น และเขากล่าวเสริมว่า การถอนตัวของแองโกลาทำให้มีการตั้งข้อสงสัยต่อทิศทางของกลุ่มโอเปกและความสามัคคีภายในกลุ่มโอเปก ถึงแม้ว่าการถอนตัวของแองโกลาอาจจะส่งผลกระทบเพียงในวงจำกัดต่อปริมาณอุปทานน้ำมันในตลาดโลก Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.พ.ปรับลง 33 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 73.89 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 31 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 79.39 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 16.30 ดอลลาร์ สู่ 2,045.49 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการดิ่งลงของดอลลาร์สหรัฐ หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาในวันพฤหัสบดีช่วยกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนมี.ค.ปีหน้า ทั้งนี้ นักลงทุนคาดว่า มีโอกาส 83% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. 2024 หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 4.9% ในไตรมาสสามเมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) โดยปรับลดลงจากรายงานครั้งก่อนที่ระบุว่าจีดีพีเติบโต 5.2% ทางด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐเพิ่มขึ้น 2,000 ราย สู่ 205,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 ธ.ค. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน