ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--19 ก.พ.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐทรงตัวในวันศุกร์ หลังจากสำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) ในกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) สำหรับอุปสงค์ขั้นสุดท้ายในสหรัฐปรับขึ้น 0.3% ในเดือนม.ค. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2023 หรือครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 5 เดือน หลังจากดัชนี PPI ปรับลง 0.1% ในเดือนธ.ค. โดยตัวเลขของเดือนม.ค.อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.1% ทั้งนี้ รายงานดัชนี PPI ที่สูงเกินคาดนี้ช่วยกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามเดิมจนถึงช่วงกลางปีนี้ โดยในตอนนี้นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดว่า มีโอกาสเพียง 10.5% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 79% ที่เคยคาดไว้ในช่วงต้นปีนี้ และนักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า มีโอกาสเพียง 33.7% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.28 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 104.26 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 150.21 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 149.91 เยน โดยดอลลาร์/เยนพุ่งขึ้นมาแล้วราว 6.5% จากช่วงต้นปีนี้
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0774 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0771 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี
ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงในวันศุกร์ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งเกินคาดในเดือนม.ค. และตัวเลขดังกล่าวช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ โดยรายงานตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า มีโอกาสสูงกว่า 50% เล็กน้อยที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. โดยปรับลดลงจากโอกาสราว 75% ที่เคยคาดไว้ก่อนที่สหรัฐจะรายงานตัวเลข PPI ออกมา นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่เฟดสองคนก็แสดงความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อด้วย โดยนายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดสาขาแอตแลนตากล่าวว่า เขาต้องการจะเห็นหลักฐานมากกว่านี้ว่า แรงกดดันเงินเฟ้อกำลังปรับลดลง แต่เขาเปิดโอกาสสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงฤดูร้อน ทางด้านแมรี ดาลี ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโกกล่าวว่า ยังคงมีงานที่ต้องทำต่อไปในการรับประกันว่าราคาจะมีเสถียรภาพ ถึงแม้มีความคืบหน้าในการปรับลดภาวะเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ หุ้นบริษัทขนาดยักษ์ส่วนใหญ่ร่วงลงในวันศุกร์ โดยหุ้นบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ดิ่งลง 2.2% และมีส่วนกดดันดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารของสหรัฐให้ดิ่งลง 1.56% อย่างไรก็ดี หุ้นบริษัทวัลแคน แมทีเรียลส์พุ่งขึ้น 5.2% หลังจากทางบริษัทคาดว่าผลกำไรตลอดทั้งปีจะปรับสูงขึ้น และการพุ่งขึ้นของหุ้นวัลแคนก็มีส่วนช่วยหนุนดัชนีหุ้นกลุ่มวัสดุให้ปรับขึ้นด้วย Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.37% สู่ 38,627.99
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.48% สู่ 5,005.57 แต่สามารถปิดตลาดเหนือระดับ 5,000 ได้เป็นครั้งที่ 4 ของปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง และจากการคาดการณ์ในทางบวกต่อธุรกิจปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.83% สู่ 15,775.65 โดยดัชนีสำคัญทั้ง 3 ดัชนีของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบ หลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกมานาน 5 สัปดาห์ติดต่อกัน
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งทางการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลาง ในขณะที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ประกาศในวันพฤหัสบดีว่า ทางกลุ่มได้ยิงจรวดหลายสิบลูกเข้าใส่เมืองแห่งหนึ่งในภาคเหนือของอิสราเอล เพื่อตอบโต้ต่อการสังหารพลเรือน 10 คนในภาคใต้ของเลบานอน ทางด้านอิสราเอลได้ส่งเครื่องบินรบไปโจมตีเมืองราฟาห์ในเขตฉนวนกาซา ซึ่งถือเป็นแหล่งหลบภัยสุดท้ายสำหรับชาวปาเลสไตน์ในเขตกาซา นอกจากนี้ ก็มีผู้ยิงขีปนาวุธออกจากเยเมนเพื่อโจมตีเรือขนส่งน้ำมันดิบในทะเลแดงที่มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่อินเดียด้วย ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่ราคาน้ำมันได้รับจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางช่วยบดบังแรงกดดันที่ราคาน้ำมันได้รับจากรายงานขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) หลังจาก IEA คาดการณ์ในวันพฤหัสบดีว่า อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้นเพียง 1.22 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2024 โดยปรับลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ +1.24 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทางด้านบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์รายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซที่ใช้งานในสหรัฐลดลง 2 แท่น สู่ 621 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 ก.พ. Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 1.16 ดอลลาร์ หรือ 1.49% มาปิดตลาดที่ 79.19 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่สัญญาเดือนมี.ค.จะครบกำหนดส่งมอบในวันอังคารที่ 20 ก.พ. ส่วนราคาสัญญาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนเม.ย.ทะยานขึ้น 87 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 78.46 ดอลลาร์ในวันศุกร์ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบสหรัฐเดือนใกล้ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นราว 3% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 61 เซนต์ หรือ 0.74%มาปิดตลาดที่ 83.47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นกว่า 1% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 9.01 ดอลลาร์ สู่ 2,013.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ แต่ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับลง 0.55% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงในสหรัฐส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ นายเอฟเวอเรทท์ มิลแมน หัวหน้านักวิเคราะห์ตลาดของบริษัทเกนส์วิลล์กล่าวว่า เนื่องจากเฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนมี.ค. ดังนั้นราคาทองจึงอาจจะประสบความยากลำบากในการพุ่งสูงเหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์ และเขากล่าวเสริมว่า "ผมคาดว่าราคาทองจะดิ่งลงสู่ระดับราว 1,960 ดอลลาร์" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--5 ก.พ.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 7 สัปดาห์ในวันศุกร์ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 353,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ 180,000 ตำแหน่งเป็นอย่างมาก ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงของคนงานสหรัฐทะยานขึ้น 0.6% ในเดือนม.ค. หลังจากปรับขึ้น 0.4% ในเดือนธ.ค. โดยรายงานตัวเลขนี้ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า มีโอกาสน้อยลงที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดการณ์กันในวันศุกร์ว่า มีโอกาสเพียง 21% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 38% ที่เคยคาดไว้ในวันพฤหัสบดี และเทรดเดอร์ยังคาดการณ์กันในวันศุกร์อีกด้วยว่า มีโอกาส 75% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 94% ที่เคยคาดไว้ในวันพฤหัสบดี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.97 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยพุ่งขึ้นจาก 103.05 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากทะยานขึ้นแตะ 104.04 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 148.37 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยทะยานขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 146.42 เยน และเทียบกับจุดสูงสุดของเดือนม.ค.ที่ 148.80 เยนที่เคยทำไว้ในวันที่ 19 ม.ค. โดยจุดสูงสุดของเดือนม.ค.ถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 28 พ.ย.เป็นต้นมา
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0784 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยร่วงลงจาก 1.0872 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี และเทียบกับจุดต่ำสุดของวันพฤหัสบดีที่ 1.0780 ดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.เป็นต้นมา
ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันศุกร์ ในขณะที่ผลกำไรที่แข็งแกร่งของบริษัทสหรัฐและรายงานตัวเลขการจ้างงานเดือนม.ค.ของสหรัฐที่พุ่งสูงเกินคาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจสหรัฐ ถึงแม้ว่าตัวเลขการจ้างงานส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ก็ตาม โดยหุ้นบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก พุ่งขึ้น 20.3% สู่สถิติสูงสุดใหม่ในวันศุกร์ หลังจากเมตาประกาศจ่ายเงินปันผลเป็นครั้งแรกในวันพฤหัสบดี และทางบริษัทรายงานตัวเลขรายได้และผลกำไรที่ดีเกินคาด โดยได้รับแรงหนุนจากยอดขายโฆษณาที่แข็งแกร่งในช่วงฤดูช้อปปิ้งปลายปี ทางด้านหุ้นบริษัทอะเมซอนดอทคอมทะยานขึ้น 7.9% ในวันศุกร์ หลังจากอะเมซอนเปิดเผยรายได้ไตรมาสสี่ที่สูงเกินคาดในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงหนุนจากบริการด้านปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง (generative AI) ในธุรกิจคลาวด์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอะเมซอน ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 6 กลุ่มปิดตลาดวันศุกร์ในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารพุ่งขึ้น 4.69% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยทะยานขึ้น 2.49% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากเป็นอันดับสอง ทางด้านดัชนี KBW สำหรับหุ้นธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐขยับขึ้น 0.2% ในวันศุกร์ หลังจากที่เคยดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันพุธและวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่น่าผิดหวังของธนาคารนิวยอร์ค คอมมูนิที แบงคอร์ (NYCB) อย่างไรก็ดี หุ้น NYCB ดีดขึ้น 5.0% ในวันศุกร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.35% สู่ 38,654.42
ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 1.07% สู่ 4,958.61 ซึ่งถือเป็นการทำสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่
ดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 1.74% สู่ 15,628.95 ในวันศุกร์ โดยดัชนีสำคัญทั้งสามดัชนีของตลาดหุ้นสหรัฐต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันศุกร์ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่พุ่งสูงเกินคาดในเดือนม.ค. และตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ โดยแนวโน้มที่เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปอาจจะส่งผลลบต่ออุปสงค์น้ำมันดิบ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้รับแรงกดดันจากปัจจัยอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งรวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอในจีน หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนอาจจะเติบโตเพียง 4.6% ในปี 2024 และเติบโตเพียง 3.5% ในปี 2028 ทางด้านนักลงทุนจับตาดูสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางในช่วงนี้ ในขณะที่หัวหน้าสปายของสหรัฐและอิสราเอลร่างข้อเสนอหยุดยิงระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส และได้ส่งข้อเสนอดังกล่าวไปให้แก่อียิปต์และกาตาร์ แต่กลุ่มฮามาสยังไม่ได้ตอบรับต่อข้อตกลงนี้ในวันศุกร์ ทั้งนี้ บริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์รายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐทรงตัวที่ 499 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 ก.พ. ส่วนคณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) รายงานในวันศุกร์ว่า ผู้จัดการกองทุนปรับเพิ่มการถือครองสถานะซื้อสุทธิในสัญญาล่วงหน้าและออปชั่นน้ำมันดิบสหรัฐในตลาดนิวยอร์คและลอนดอนขึ้น 18,082 สัญญา สู่ 117,226 สัญญาในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ม.ค. Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.รูดลง 1.54 ดอลลาร์ หรือ 2% มาปิดตลาดที่ 72.28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.37 ดอลลาร์ หรือ 1.7% มาปิดตลาดที่ 77.33 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงราว 7% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 16.30 ดอลลาร์ สู่ 2,038.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ และจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่พุ่งสูงเกินคาดในเดือนม.ค. และตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนไม่แน่ใจว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้จริงหรือไม่ ทั้งนี้ ราคาทองปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 1.00% จากสัปดาห์ที่แล้ว และราคาทองยังคงเคลื่อนตัวอยู่เหนือระดับสำคัญที่ 2,000 ดอลลาร์ได้นับตั้งแต่ต้นปีนี้ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--30 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 30-31 ม.ค. แต่เฟดจะคัดค้านการคาดการณ์ในตลาดที่ว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ทางด้านเทรดเดอร์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาสเพียง 48% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 89% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อน หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในระยะนี้แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ยูโรได้รับแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปที่อยู่ในภาวะอ่อนแอกว่าสหรัฐ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.46 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 103.47 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 103.82 ในระหว่างวัน ซึ่งเท่ากับจุดสูงสุดของสัปดาห์ที่แล้ว และถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.49 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 148.16 เยน อย่างไรก็ดี ดอลลาร์/เยนมีแนวโน้มที่จะปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการพุ่งขึ้นราว 4.5% จากเดือนธ.ค. ในขณะที่เทรดเดอร์ปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ)
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0833 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0852 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.07955 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค., รอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัว และรอดูผลประกอบการของบริษัทสำคัญหลายแห่งของสหรัฐที่จะได้รับการประกาศออกมาในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทแอลฟาเบท, ไมโครซอฟท์ และเจเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันอังคาร, บริษัทควอลคอมม์ ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพุธ, บริษัทโบอิ้ง, แอปเปิล, อะเมซอนดอทคอม และเมตา แพลตฟอร์มส์ ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพฤหัสบดี และบริษัทเอ็กซอน โมบิล กับเชฟรอน ซึ่งถือเป็นสองบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันศุกร์ ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจที่นักลงทุนจับตาดูในสัปดาห์นี้รวมถึง ผลสำรวจตำแหน่งงานว่างและการเข้า-ออกงาน (JOLTS), ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐที่จัดทำโดยบริษัท ADP, ต้นทุนการจ้างงานประจำไตรมาสสี่, ประสิทธิภาพการผลิต, ยอดการประกาศปลดพนักงานออก, ตัวเลขราคาบ้านสหรัฐที่จัดทำโดยบริษัทเคส-ชิลเลอร์, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่จัดทำโดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ค่าใช้จ่ายภาคก่อสร้าง, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนม.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 2 ก.พ. ทั้งนี้ หุ้น 10 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันจันทร์ในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยพุ่งขึ้น 1.37% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันจันทร์ ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ทะยานขึ้น 0.97% และถือเป็นกลุ่มที่ปรับขึ้นมากเป็นอันดับสอง ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานถือเป็นหุ้นกลุ่มเดียวที่ปิดตลาดวันจันทร์ในแดนลบ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.59% สู่ 38,333.45
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.76% สู่ 4,927.93 ซึ่งถือเป็นสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ โดยดัชนีพุ่งขึ้นมาแล้ว 3.3% จากช่วงต้นเดือนนี้ และปัจจัยดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้บริษัทแบล็คร็อคปรับขึ้นมุมมองที่มีต่อหุ้นสหรัฐโดยรวมสู่ "overweight" จาก "neutral"
ดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.12% สู่ 15,628.04
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันจันทร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องอุปสงค์น้ำมันในจีนท่ามกลางวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หลังจากมีข่าวว่าศาลฮ่องกงออกคำสั่งให้บริษัทไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของจีนขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นในช่วงแรกโดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง หลังจากมีการใช้ขีปนาวุธโจมตีเรือขนส่งเชื้อเพลิงลำหนึ่งในทะเลแดง และมีการใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดน ซึ่งส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และส่งผลให้มีทหารได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 34 นาย อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิ่งลงในเวลาต่อมา ในขณะที่นักลงทุนมองว่าอุปทานน้ำมันยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.รูดลง 1.23 ดอลลาร์ หรือ 1.6% มาปิดตลาดที่ 76.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.15 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 82.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 84.80 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย. หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 13.41
ดอลลาร์ สู่ 2,031.75 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค.ด้วย ทั้งนี้ มีการใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดน ซึ่งส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และส่งผลให้มีทหารได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 34 นาย ทางด้านประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐระบุในวันอาทิตย์ว่า กลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์โจมตีในครั้งนี้ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นการโจมตีครั้งแรกที่ส่งผลให้ทหารสหรัฐเสียชีวิต นับตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในเดือนต.ค. 2023 เป็นต้นมา Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--26 ม.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นในวันพฤหัสบดี หลังจากสำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโต 3.3% ในไตรมาสสี่เมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) หลังจากเติบโต 4.9% ในไตรมาสสาม โดยอัตราการเติบโตนี้อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2% สำหรับไตรมาสสี่ ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐได้รับแรงหนุนจากปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค, จากยอดส่งออก, จากรายจ่ายของรัฐบาล และจากการลงทุนทางธุรกิจในไตรมาสสี่ โดยรายงานตัวเลขนี้บ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ เทรดเดอร์ในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดการณ์ในวันพฤหัสบดีว่า มีโอกาสราว 51% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยโอกาสดังกล่าวปรับลดลงจากระดับ 80% ที่เคยคาดไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน นอกจากนี้ เทรดเดอร์ยังคาดการณ์อีกด้วยว่า มีโอกาส 94% ที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงภายในต้นเดือนพ.ค. Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.50 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจาก 103.29 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้วราว 2% จากช่วงต้นปีนี้
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.65 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 147.50 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0846 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0883 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากปรับลงแตะ 1.0820 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งเท่ากับจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ทำไว้ในวันอังคารที่ผ่านมา
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันพฤหัสบดี หลังจากสำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโต 3.3% ในไตรมาสสี่เมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) หลังจากเติบโต 4.9% ในไตรมาสสาม โดยอัตราการเติบโตนี้อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2% สำหรับไตรมาสสี่ โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดนี้ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน อย่างไรก็ดี หุ้นเทสลาซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าดิ่งลง 12% และลงไปแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2023 หลังจากนายอีลอน มัสก์ ซีอีโอของเทสลาประกาศเตือนว่า ยอดขายของเทสลาจะชะลอการเติบโตลงในปีนี้ ถึงแม้เทสลาปรับลดราคารถยนต์ลงจนสร้างความเสียหายต่ออัตราผลกำไรของบริษัท โดยการดิ่งลงของหุ้นเทสลาในวันนี้ส่งผลให้มูลค่าของบริษัทเทสลาในตลาดหุ้นดิ่งลง 7.0 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ระดับราว 5.80 แสนล้านดอลลาร์ และส่งผลให้เทสลามีมูลค่าต่ำกว่าบริษัทอีไล ลิลลี ซึ่งมีมูลค่า 5.9 แสนล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ การดิ่งลงของหุ้นเทสลาก็ส่งผลให้หุ้นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแห่งอื่น ๆ รูดลงตามไปด้วย ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทริเวียน ออโตโมทีฟที่ดิ่งลง 2.2% และหุ้นบริษัทลูซิด กรุ๊ปที่รูดลง 6.7% ทั้งนี้ ในบรรดาบริษัทในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลประกอบการออกมาแล้วนั้น บริษัท 82% เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 67% โดยบริษัทที่เปิดเผยผลประกอบการออกมาในช่วงนี้รวมถึงบริษัท IBM ที่มีราคาหุ้นพุ่งขึ้น 9.5% ในวันพฤหัสบดี หลังจาก IBM คาดการณ์ว่ารายได้ตลอดทั้งปีจะเติบโตสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในตลาด, บริษัทคอมแคสท์ ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านสื่อที่มีราคาหุ้นทะยานขึ้น 3.4% หลังจากคอมแคสท์เปิดเผยรายได้รายไตรมาสที่สูงเกินคาด และสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ที่มีราคาหุ้นพุ่งขึ้น 10.3% หลังจากทางสายการบินคาดการณ์แนวโน้มผลกำไรที่สดใส Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 0.64% สู่ 38,049.13
ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.53% สู่ 4,894.16 ซึ่งถือเป็นการทำสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ได้เป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 0.18% สู่ 15,510.50
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพฤหัสบดี หลังจากสหรัฐรายงานว่าเศรษฐกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่งเกินคาดในไตรมาสสี่ และราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในทะเลแดงด้วย โดยบริษัทเมอส์กของเดนมาร์กประกาศว่า เหตุระเบิดส่งผลให้เรือสองลำที่ดำเนินการโดยบริษัทในเครือของเมอส์กที่กำลังขนส่งยุทธภัณฑ์ของสหรัฐต้องเปลี่ยนทิศทางการเดินเรือ ในขณะที่เรือสองลำนี้กำลังแล่นผ่านช่องแคบบาบุลมันดับนอกชายฝั่งเยเมน ทางด้านผู้นำของกลุ่มฮูตีในเยเมนประกาศในวันพฤหัสบดีว่า ทางกลุ่มจะยังคงโจมตีเรือที่มีความเกี่ยวข้องกับอิสราเอลต่อไป จนกว่าจะมีการส่งความช่วยเหลือไปถึงชาวปาเลสไตน์ในเขตฉนวนกาซา ทั้งนี้ นักลงทุนกังวลกับอุปทานน้ำมันในช่วงนี้ด้วย หลังจากมีข่าวว่ายูเครนใช้โดรนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันแแห่งหนึ่งในภาคใต้ของรัสเซีย Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.ทะยานขึ้น 2.27 ดอลลาร์ หรือ 3.02% มาปิดตลาดที่ 77.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 77.51 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 2.39 ดอลลาร์ หรือ 2.99% มาปิดตลาดที่ 82.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 82.57 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 7.16 ดอลลาร์ สู่ 2,019.75 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับลงจาก 4.178% ในช่วงท้ายวันพุธ สู่ 4.132% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี และการปรับลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ก็ส่งผลบวกต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย ทั้งนี้ บอนด์ยิลด์ได้รับแรงกดดันในวันพฤหัสบดี หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจีดีพีไตรมาสสี่ และรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อในเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงสู่ 1.9% ในไตรมาสสี่ จาก 2.9% ในไตรมาสสาม Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--25 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในวันพุธ หลังจากแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่นักลงทุนปรับสถานะการลงทุน และนักลงทุนรอดูตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐประจำไตรมาส 4/2023 ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี และรอดูดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มักใช้ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค.ด้วย เพื่อมองหาสัญญาณบ่งชี้ว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด โดยนักลงทุนคาดการณ์กันว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมสิ้นเดือนม.ค. ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดการณ์ในวันพุธว่า มีโอกาสราว 40% ที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 47% ที่เคยคาดไว้ในช่วงเย็นวันอังคาร และปรับลดลงจากโอกาส 80% ที่เคยคาดไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน นอกจากนี้ เทรดเดอร์ยังคาดการณ์กันในวันพุธอีกด้วยว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 5 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปี 2024 Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.29 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 103.50 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากเพิ่งพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 103.82 ในวันอังคาร โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้วราว 1.7% จากช่วงต้นปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐ และจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดที่ส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.50 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 148.36 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0883 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0851 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.0820 ดอลลาร์ในวันอังคาร
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงในวันพุธ แต่ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq บวกขึ้นในวันพุธ ในขณะที่หุ้นเน็ตฟลิกซ์พุ่งขึ้น 10.7% สู่จุดสูงสุดรอบ 2 ปี หลังจากเน็ตฟลิกซ์เปิดเผยว่ายอดสมาชิกพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และรายงานดังกล่าวทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นว่า เน็ตฟลิกซ์ได้รับชัยชนะในการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจสตรีมมิง หลังจากเน็ตฟลิกซ์ออกมาตรการปราบปรามการแบ่งปันรหัสผ่าน และเน็ตฟลิกซ์มีเนื้อหาที่สามารถดึงดูดผู้ชม โดยการพุ่งขึ้นของหุ้นเน็ตฟลิกซ์มีส่วนช่วยหนุนดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารของสหรัฐให้ทะยานขึ้น 1.2% และดัชนีหุ้นกลุ่มนี้ก็พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 ปีในวันพุธด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐก็ได้รับแรงหนุนจากรายงานของบริษัท ASML ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ผลิตชิปของเนเธอร์แลนด์ที่บ่งชี้ว่า อุปสงค์ชิปทั่วโลกฟื้นตัวขึ้นด้วย โดยรายงานของ ASML มีส่วนช่วยหนุนดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐให้พุ่งขึ้น 1.54% ในวันพุธ และดัชนีหุ้นกลุ่มนี้สามารถแตะสถิติสูงสุดใหม่ได้ในระหว่างวัน ทั้งนี้ หุ้นบริษัทขนาดยักษ์ของสหรัฐพุ่งขึ้นในวันพุธ โดยหุ้นไมโครซอฟท์ปิดบวกขึ้น 0.92% สู่ 402.56 ดอลลาร์ หลังจากทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 405.63 ดอลลาร์ได้ในระหว่างวัน ซึ่งส่งผลให้มูลค่าในตลาดของไมโครซอฟท์พุ่งขึ้นมาอยู่เหนือ 3 ล้านล้านดอลลาร์ได้เป็นครั้งแรก ทางด้านหุ้นแอลฟาเบทพุ่งขึ้น 1.13% ในวันพุธ, หุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ทะยานขึ้น 1.43% ในวันพุธ และหุ้นเอ็นวิเดียพุ่งขึ้น 2.49% ในวันพุธ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.26% สู่ 37,806.39
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 0.08% สู่ 4,868.55 ในวันพุธ ซึ่งถือเป็นการทำสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ได้เป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน แต่จำนวนหุ้นลบในดัชนีนี้อยู่สูงกว่าจำนวนหุ้นบวกในสัดส่วน 2.5 ต่อ 1 ในวันพุธ
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.36% สู่ 15,481.92 หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2022 ในระหว่างวัน โดยขณะนี้ดัชนีอยู่ห่างจากสถิติระดับปิดสูงสุดที่เคยทำไว้ในเดือนพ.ย. 2021 ในระดับไม่ถึง 4%
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันพุธโดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสหรัฐที่ดิ่งลงอย่างรุนแรงเกินคาด, การร่วงลงของปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐ, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน, ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งรวมถึงในทะเลแดง, อิสราเอล และอิรัก และราคาน้ำมันก็ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ในวันพุธด้วย เพราะการอ่อนค่าของดอลลาร์ส่งผลให้น้ำมันมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 9.2 ล้านบาร์เรล สู่ 420.7 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ม.ค. ถึงแม้โพลล์รอยเตอร์คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจลดลงเพียง 2.1 ล้านบาร์เรล ทางด้านปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐดิ่งลงจากสถิติสูงสุดที่ 13.3 ล้านบาร์เรลที่เคยทำไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน สู่ 12.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 5 เดือน ในขณะที่บ่อน้ำมันในสหรัฐประสบปัญหาทางการผลิตเพราะภาวะอากาศหนาวจัด Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 72 เซนต์ หรือ 1.0% มาปิดตลาดที่ 75.09 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 49 เซนต์ หรือ 0.6% มาปิดตลาดที่ 80.04 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 16.10 ดอลลาร์ สู่ 2,012.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากตัวเลขกิจกรรมทางธุรกิจที่แข็งแกร่งในสหรัฐ ถึงแม้ว่าราคาทองได้รับแรงหนุนเข้ามาบ้างจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ก็ตาม ทั้งนี้ บริษัทเอสแอนด์พี โกลบอล รายงานในวันพุธว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับผลผลิตโดยรวมของสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ พุ่งขึ้นจาก 50.9 ในเดือนธ.ค. สู่ 52.3 ในเดือนม.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2023 โดยดัชนีที่ระดับสูงกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าภาคเอกชนของสหรัฐขยายตัว นอกจากนี้ เอสแอนด์พี โกลบอลยังรายงานอีกด้วยว่า ดัชนีราคาผลผลิตของสหรัฐดิ่งลงจาก 54.8 ในเดือนธ.ค. สู่ 51.7 ในเดือนม.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2020 หรือจุดต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปีครึ่ง Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--11 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยนและยูโรในวันพฤหัสบดี ถึงแม้สหรัฐรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาด และตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนบางรายไม่แน่ใจว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค.เหมือนอย่างที่เทรดเดอร์เคยคาดการณ์กันไว้หรือไม่ ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) ในกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากขยับขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ย. โดยค่าที่พัก ซึ่งครอบคลุมค่าเช่าและค่าเข้าพักในโรงแรม ครองสัดส่วนสูงกว่าครึ่งหนึ่งของการปรับขึ้นของดัชนี CPI ในครั้งนี้ ส่วนดัชนี CPI ทั่วไปแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 3.4% ในเดือนธ.ค. โดยเร่งตัวขึ้นจาก 3.1% ในเดือนพ.ย. ทางด้านนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนี CPI ทั่วไปอาจปรับขึ้นเพียง 0.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน และอาจปรับขึ้นเพียง 3.2% เมื่อเทียบรายปี นอกจากนี้ BLS ยังรายงานอีกด้วยว่า ดัชนี CPI พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานปรับขึ้น 0.3% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ย. ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 3.9% ในเดือนธ.ค. ซึ่งถือเป็นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2021 หลังจากปรับขึ้น 4.0% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 102.21 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจาก 102.34 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ แต่ดัชนีดอลลาร์ยังคงอยู่ห่างจากจุดต่ำสุดรอบ 5 เดือนที่ 100.61 ที่เคยทำไว้ในวันที่ 28 ธ.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 145.28 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 145.73 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 146.41 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0970 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0971 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐขยับขึ้น แต่ดัชนี S&P 500 ขยับลง และดัชนี Nasdaq ทรงตัวในวันพฤหัสบดี ในขณะที่กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาด และรายงานว่ายอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐร่วงลง 1,000 ราย สู่ 202,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 ม.ค. ซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานสหรัฐอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง โดยรายงานตัวเลขเหล่านี้ทำให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงหนุนเข้ามาบ้างจากการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับลงจาก 4.030% ในช่วงท้ายวันพุธ สู่ 3.975% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากมีการเปิดประมูลพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปีขนาด 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ และการเปิดประมูลดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักลงทุน ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น มีหุ้นเพียง 2 กลุ่มที่ปิดตลาดวันพฤหัสบดีในแดนบวก ซึ่งได้แก่หุ้นกลุ่มพลังงานที่ปิดบวกขึ้น 0.16% และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ปิดปรับขึ้น 0.44% ทางด้านหุ้นธนาคารหลายแห่งร่วงลงก่อนที่ภาคธนาคารจะเริ่มต้นรายงานผลประกอบการรายไตรมาสในวันศุกร์นี้ โดยหุ้นซิตี้กรุ๊ปดิ่งลง 1.77%, หุ้นเจพีมอร์แกน เชสปรับลง 0.42%, หุ้นแบงก์ ออฟ อเมริการูดลง 1.33% และหุ้นเวลส์ ฟาร์โกขยับลง 0.08% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น 0.04% สู่ 37,711.02
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.07% สู่ 4,780.24 ในวันพฤหัสบดี โดยดัชนีบวกขึ้นเพียง 0.21% จากช่วงต้นปีนี้ แต่ยังคงอยู่ใกล้สถิติระดับปิดสูงสุดที่ 4,796.56 ที่เคยทำไว้ในเดือนม.ค. 2022
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับขึ้น 0.54 จุด หรือ 0% สู่ 14,970.19
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี หลังจากอิหร่านเข้ายึดเรือเซนต์ นิโคลัส ซึ่งเป็นเรือขนส่งน้ำมันที่ติดธงของหมู่เกาะมาร์แชล และเป็นเรือที่ใช้ในการขนส่งน้ำมันดิบอิรักไปยังตุรกี โดยการเข้ายึดเรือนี้เกิดขึ้นนอกชายฝั่งประเทศโอมาน และถือเป็นการตอบโต้ต่อการที่สหรัฐเคยยึดเรือขนส่งและน้ำมันอิหร่านในปีที่แล้ว โดยเหตุการณ์ล่าสุดนี้ทำให้นักลงทุนกังวลกันว่า ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางอาจจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐและรัฐบาลอังกฤษยังส่งสัญญาณอีกด้วยว่า ทั้งสองประเทศนี้อาจจะดำเนินมาตรการเพิ่มเติม ถ้าหากกลุ่มฮูตีในเยเมน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน ยังคงดำเนินการโจมตีเรือขนส่งสินค้าในทะเลแดงต่อไป ในขณะที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้ผ่านมติในวันพุธที่เรียกร้องให้กลุ่มฮูตียุติการโจมตีเรือในทะเลแดงในทันที ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดีเซลในสหรัฐพุ่งขึ้นราว 3% สู่ระดับปิดสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากพยากรณ์อากาศที่ระบุว่า พื้นที่หลายแห่งในสหรัฐจะเผชิญกับภาวะอากาศหนาวจัดในสัปดาห์หน้า Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.พ.ปรับขึ้น 65 เซนต์ หรือ 0.9% มาปิดตลาดที่ 72.02 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 61 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 77.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 4.69 ดอลลาร์ สู่ 2,028.09 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากดิ่งลงแตะ 2,013.14 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 1 เดือน โดยราคาทองได้รับแรงกดดันในช่วงแรกจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่อยู่สูงเกินคาด และจากถ้อยแถลงแบบสายเหยี่ยวของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพราะปัจจัยเหล่านี้ทำให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า เฟดอาจจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงต่อไปตามเดิมในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. อย่างไรก็ดี ดอลลาร์อ่อนค่าลงในวันพฤหัสบดี และการอ่อนค่าของดอลลาร์ก็ช่วยให้ทองมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ ทั้งนี้ ลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์กล่าวในวันพฤหัสบดีว่า ตัวเลข CPI ล่าสุดบ่งชี้ว่า อาจจะเป็นการเร็วเกินไปที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนมี.ค. ทางด้านนายโธมัส บาร์คิน ประธานเฟดสาขาริชมอนด์กล่าวว่า ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ออกมาในครั้งนี้แทบไม่ได้บ่งชี้ถึงแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่มีความชัดเจน Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--11 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยน แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโรในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนรอดูรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐในช่วงต่อไปในสัปดาห์นี้ และรายงานตัวเลขดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ นักลงทุนคาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไปของสหรัฐอาจปรับขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน และอาจปรับขึ้น 3.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายปี ในขณะที่เทรดเดอร์คาดว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อกำลังชะลอตัวลงเข้าใกล้ระดับเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 102.34 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 102.50 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยดัชนีดอลลาร์ยังคงอยู่ห่างจากจุดต่ำสุดรอบ 5 เดือนที่ 100.61 ที่เคยทำไว้ในวันที่ 28 ธ.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 145.73 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยพุ่งขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 144.47 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0971 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0931 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันพุธตามหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทเอ็นวิเดียที่พุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ในระหว่างวัน และปิดบวกขึ้น 2.28% หลังจากบริษัท TSMC ของไต้หวัน ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปเหมือนกับเอ็นวิเดีย รายงานตัวเลขรายได้ไตรมาส 4 ที่สูงเกินคาด ทางด้านหุ้นบริษัทไมโครซอฟท์พุ่งขึ้น 1.86% และหุ้นบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ทะยานขึ้น 3.65% มาปิดตลาดที่ 370.47 ดอลลาร์ หลังจากหุ้นเมตาทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2021 ในระหว่างวัน โดยได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า บริษัทมิสุโฮปรับขึ้นราคาเป้าหมายของหุ้นเมตาสู่ 470 ดอลลาร์ จากเดิมที่เคยตั้งไว้ที่ 400 ดอลลาร์ โดยการพุ่งขึ้นของหุ้นเมตามีส่วนช่วยหนุนดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารของสหรัฐให้พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพุธด้วย โดยดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารถือเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่ทะยานขึ้นมากที่สุดในวันพุธในบรรดาดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ทั้ง 11 กลุ่มในตลาดหุ้นสหรัฐ อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นเพียงในวงจำกัดในวันพุธ เนื่องจากนักลงทุนรอดูรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี และรอดูดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันศุกร์ และนักลงทุนก็รอดูผลประกอบการของธนาคารขนาดยักษ์ของสหรัฐที่จะเริ่มได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ด้วย เมื่อธนาคารเจพีมอร์แกน เชส, แบงก์ ออฟ อเมริกา และซิตี้กรุ๊ป เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสสี่และผลประกอบการตลอดทั้งปีในวันศุกร์ที่ 12 ม.ค. Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.45% สู่ 37,695.73
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.57 % สู่ 4,783.45 ในวันพุธ ซึ่งส่งผลให้ดัชนีอยู่ห่างเพียงแค่ 0.27% จากสถิติระดับปิดสูงสุดที่ 4,796.56 ที่เคยทำไว้ในวันที่ 3 ม.ค. 2022
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.75 % สู่ 14,969.65
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันพุธ หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างพลิกความคาดหมาย และรายงานตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลกับอุปสงค์ในตลาดสหรัฐ ทั้งนี้ EIA รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล สู่ 432.4 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 ม.ค. ซึ่งสวนทางกับโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจร่วงลง 700,000 บาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐทะยานขึ้น 8 ล้านบาร์เรล สู่ 245 ล้านบาร์เรล ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2022 ทางด้านสต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil พุ่งขึ้น 6.5 ล้านบาร์เรล สู่ 132.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2021 ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันในสหรัฐปรับลดลง 0.6% สู่ 92.9% Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.พ.ดิ่งลง 87 เซนต์ หรือ 1.2% มาปิดตลาดที่ 71.37 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 79 เซนต์ หรือ 1% มาปิดตลาดที่ 76.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 6.19 ดอลลาร์ สู่ 2,023.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนรอดูรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี และรอดูดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันศุกร์ อย่างไรก็ดี ราคาทองได้รับแรงหนุนเข้ามาบ้างในวันพุธจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ทั้งนี้ นักลงทุนคาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไปของสหรัฐอาจปรับขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน และอาจปรับขึ้น 3.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายปี ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐอาจชะลอตัวลงสู่ 3.8% ในเดือนธ.ค. ซึ่งจะถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่กลางปี 2021 Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน