ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--10 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยนและยูโรในวันอังคาร ในขณะที่เทรดเดอร์รอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพฤหัสบดีนี้ เพื่อใช้ในการประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อใด โดยนักลงทุนคาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไปอาจปรับขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน และอาจปรับขึ้น 3.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายปี ทั้งนี้ ถ้าหากสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีนี้ว่า อัตราเงินเฟ้อยังคงชะลอตัวลงต่อไป ตัวเลขดังกล่าวก็จะช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. แต่ถ้าหากสหรัฐรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาด นักลงทุนก็อาจจะปรับลดการคาดการณ์ดังกล่าว โดยในตอนนี้นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้า Fed funds คาดว่า มีโอกาส 64% ที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 70% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 102.50 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 102.30 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยดัชนีดอลลาร์ยังคงอยู่ห่างจากจุดต่ำสุดรอบ 5 เดือนที่ 100.61 ที่เคยทำไว้ในวันที่ 28 ธ.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 144.47 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 144.22 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0931 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0949 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร แต่ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงในวันอังคาร โดยได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนพยายามประเมินกำหนดเวลาและขนาดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในปี 2024 ก่อนที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในช่วงต่อไปในสัปดาห์นี้ โดยในตอนนี้นักลงทุนคาดว่า มีโอกาสเพียง 65.7% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25% ในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 79% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน และการปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ในเรื่องนี้ก็มีส่วนช่วยหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับขึ้นจากระดับ 4.002% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.017% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 4.053% ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น มีหุ้นเพียง 4 กลุ่มที่ปิดตลาดวันอังคารในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปิดบวกขึ้น 0.25% และถือเป็นกลุ่มที่ปรับขึ้นมากที่สุดในวันอังคาร ในขณะที่ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลง 1.63% และถือเป็นกลุ่มที่รูดลงมากที่สุดในวันอังคาร ทางด้านหุ้นบริษัทจูนิเพอร์ เน็ทเวิร์คส์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายพุ่งขึ้น 21.81% หลังจากแหล่งข่าวกล่าวว่า บริษัทฮิวเลทท์ แพคการ์ด เอ็นเทอร์ไพรส์อยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อเข้าซื้อจูนิเพอร์ในข้อตกลงขนาด 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่หุ้นฮิวเลทท์ แพคการ์ด เอ็นเทอร์ไพรส์ดิ่งลง 8.9% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.42% สู่ 37,525.16
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.15 % สู่ 4,756.50
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับขึ้น 0.09 % สู่ 14,857.71
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันอังคาร หลังจากกองทัพอิสราเอลประกาศว่า การสู้รบกับกลุ่มฮามาสจะยังคงดำเนินต่อไปตลอดทั้งปี 2024 และประกาศดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่า ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางอาจจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันได้ในอนาคต นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากปัญหาในลิเบียด้วย หลังจากมีการปิดการผลิตน้ำมันที่แหล่งน้ำมันชารารา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแหล่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในลิเบีย โดยแหล่งน้ำมันแห่งนี้มีกำลังการผลิตราว 300,000 บาร์เรลต่อวัน โดยบริษัทเนชันแนล ออยล์ คอร์ปอเรชัน (NOC) ของลิเบียได้ประกาศภาวะเหตุสุดวิสัยต่อแหล่งน้ำมันชาราราในวันอาทิตย์ที่ 7 ม.ค. โดยเป็นผลจากการประท้วงในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 ม.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 5.2 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 4.9 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐทะยานขึ้น 6.9 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 1.47 ดอลลาร์ หรือ 2.1% มาปิดตลาดที่ 72.24 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนทะยานขึ้น 1.47 ดอลลาร์ หรือ 1.9% มาปิดตลาดที่ 77.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับขึ้น 1.75 ดอลลาร์ สู่ 2,029.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนยังคงใช้ความระมัดระวังในการลงทุน ก่อนที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในช่วงต่อไปในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ นายจิม วิคคอฟ นักวิเคราะห์ของบริษัทคิทโค เมทัลส์กล่าวว่า ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอยู่ในระดับที่สูงเกินคาด ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ก็จะไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ในเร็ว ๆ นี้ และปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลลบต่อราคาทองและโลหะเงิน Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
วอชิงตัน--25 ธ.ค.--รอยเตอร์
สำนักงานสำมะโนประชากรในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนในสหรัฐพุ่งขึ้นในเดือนพ.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากยอดสั่งซื้อเครื่องบิน แต่ยอดลงทุนทางอุปกรณ์ในภาคธุรกิจอยู่ในภาวะเฉื่อยชา โดยได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูง ทั้งนี้ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน หรือสินค้าที่สามารถใช้งานได้นานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป พุ่งขึ้น 5.4% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากดิ่งลง 5.1% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายเดือน และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +2.2% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน ส่วนยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนแบบเทียบรายปีพุ่งขึ้น 4.5% ในเดือนพ.ย.ปีนี้เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อน
ภาคการผลิตครองสัดส่วนราว 10.3% ของขนาดเศรษฐกิจสหรัฐ และกิจกรรมในภาคการผลิตก็มีแนวโน้มว่าจะยังคงอยู่ในภาวะเฉื่อยชาต่อไป โดยได้รับแรงกดดันจากการที่ภาคธุรกิจชะลอการปรับเพิ่มสต็อกสินค้าคงคลัง เนื่องจากภาคธุรกิจคาดว่าความต้องการซื้อสินค้าจะอ่อนแอลง ถึงแม้มีแนวโน้มว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีหน้า
ยอดสั่งซื้ออุปกรณ์การขนส่งดีดขึ้น 15.3% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากดิ่งลง 13.4% ในเดือนต.ค. โดยยอดสั่งซื้อยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ดีดขึ้น 2.8% ในเดือนพ.ย. ในขณะที่คนงานโรงงานรถยนต์ในสหภาพยูไนเต็ด ออโต เวิร์คเกอร์ส (UAW) ยุติการผละงานประท้วง ทางด้านยอดสั่งซื้อเครื่องบินพลเรือนพุ่งขึ้น 80.1% ในเดือนพ.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากรายงานที่ว่า บริษัทโบอิ้งได้รับยอดสั่งซื้อเครื่องบินพลเรือน 114 ลำในเดือนพ.ย. ซึ่งครอบคลุมยอดสั่งซื้อเครื่องบินรุ่น 777X ที่มีราคาแพงเป็นจำนวน 90 ลำ หลังจากที่โบอิ้งเคยได้รับยอดสั่งซื้อเครื่องบินจำนวน 123 ลำในเดือนต.ค. ทั้งนี้ ยอดสั่งซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าพุ่งขึ้น 1.3% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากดิ่งลง 2.4% ในเดือนต.ค., ยอดสั่งซื้อโลหะปฐมภูมิดีดขึ้น 0.6% ในเดือนพ.ย. หลังจากร่วงลง 0.5% ในเดือนต.ค., ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรปรับขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ย. หลังจากปรับลง 0.8% ในเดือนต.ค. และยอดสั่งซื้อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ปรับขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ย. หลังจากขยับลง 0.1% ในเดือนต.ค.
ยอดสั่งซื้อสินค้าทุนยกเว้นอาวุธและเครื่องบิน หรือยอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นมาตรวัดแผนการลงทุนในภาคธุรกิจ ดีดขึ้น 0.8% ในเดือนพ.ย. หลังจากร่วงลง 0.6% ในเดือนต.ค. ส่วนยอดขนส่งสินค้าทุนพื้นฐานขยับลง 0.1% ในเดือนพ.ย. หลังจากขยับลง 0.1% ในเดือนต.ค. ทางด้านยอดขนส่งสินค้าทุนยกเว้นอาวุธปรับขึ้น 0.5% ในเดือนพ.ย. หลังจากปรับลง 0.3% ในเดือนต.ค.
มหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ 69.7 ในเดือนธ.ค. จาก 61.3 ในเดือนพ.ย. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 69.4 สำหรับเดือนธ.ค. โดยดัชนีสถานการณ์ปัจจุบันทะยานขึ้นจาก 68.3 ในเดือนพ.ย. สู่ 73.3 ในเดือนธ.ค. และดัชนีการคาดการณ์ล่วงหน้าของผู้บริโภคพุ่งขึ้นจาก 56.8 ในเดือนพ.ย. สู่ 67.4 ในเดือนธ.ค. ทังนี้ ดัชนีการคาดการณ์เงินเฟ้อสำหรับช่วง 1 ปีข้างหน้าของผู้บริโภคสหรัฐอยู่ที่ 3.1% ในเดือนธ.ค. โดยชะลอตัวลงเป็นอย่างมากจากระดับ 4.5% ในเดือนพ.ย. ส่วนดัชนีการคาดการณ์เงินเฟ้อสำหรับช่วง 5 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 2.9% ในเดือนธ.ค. โดยชะลอตัวลงจาก 3.2% ในเดือนพ.ย.--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
14 ธ.ค.--รอยเตอร์
ข้อมูลจากหน่วยงานควบคุมกฎระเบียบและสมาคมตลาดตราสารหนี้ระบุว่า นักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อสุทธิตราสารหนี้ของไทย, เกาหลีใต้, อินเดีย, มาเลเซีย และอินโดนีเซียเป็นมูลค่ารวมกัน 6.36 พันล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ย. ซึ่งถือเป็นยอดการเข้าซื้อสุทธิรายเดือนที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. หรือสูงที่สุดในรอบ 6 เดือน โดยได้รับแรงหนุนจากการดิ่งลงอย่างรุนแรงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคต ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทยเป็นมูลค่า 202 ล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ย., เข้าซื้อสุทธิตราสารหนี้อินโดนีเซียเป็นมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ และเข้าซื้อสุทธิตราสารหนี้มาเลเซียเป็นมูลค่า 1.16 พันล้านดอลลาร์
นักลงทุนเริ่มคาดการณ์กันในเดือนพ.ย.ว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. 2024 หลังจากเจ้าหน้าที่เฟดปรับลดการแสดงความเห็นแบบสายเหยี่ยว และอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวลงอย่างรุนแรงเกินคาดในเดือนต.ค. โดยปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงจากระดับ 5.021% ที่เคยทำไว้ในวันที่ 23 ต.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี สู่ระดับ 4.350% ในช่วงสิ้นเดือนพ.ย. ทั้งนี้ นายคูน โก๊ะ หัวหน้าฝ่ายวิจัยเอเชียของธนาคาร ANZ กล่าวว่า "เงินลงทุนที่ไหลเข้าสู่สินทรัพย์ของประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชียมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น และจากวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐที่สิ้นสุดลง" และเขากล่าวเสริมว่า "ประเทศที่มีเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเทคโนโลยี ซึ่งได้แก่เกาหลีใต้และไต้หวัน จะเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากปัจจัยนี้ในระยะใกล้"
ตราสารหนี้อินเดียดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติได้ 1.78 พันล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ย. ซึ่งถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2017 โดยยอดเงินลงทุนไหลเข้านี้ได้รับแรงกระตุ้นจากการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจอินเดียในทางบวก และจากการที่บริษัทเจพี มอร์แกนจะนำตราสารหนี้อินเดียมาบรรจุรวมไว้ในดัชนีตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ในปีหน้า ทั้งนี้ หลังจากเศรษฐกิจอินเดียเติบโต 7.6% ในไตรมาสเดือนก.ค.-ก.ย. นักเศรษฐศาสตร์บางรายก็คาดว่า เศรษฐกิจอินเดียอาจจะเติบโต 6.7-7.0% ในปีงบประมาณที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มี.ค. 2024
ตราสารหนี้เกาหลีใต้มียอดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิ 1.72 พันล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ย. ซึ่งถือเป็นยอดเงินไหลเข้าสุทธิครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยยอดเงินลงทุนนี้ได้รับแรงหนุนจากยอดส่งออกที่สูงขึ้น และสิ่งนี้ถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ทั้งนี้ ยอดส่งออกของเกาหลีใต้พุ่งขึ้นสู่ 5.580 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ย. โดยพุ่งขึ้น 7.8% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2022 และเร่งตัวขึ้นจากอัตราการเติบโตที่ 5.1% ในเดือนต.ค. โดยอัตราการเติบโตของยอดส่งออกในเดือนพ.ย.อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +4.7% ด้วย ทางด้านยอดส่งออกชิปของเกาหลีใต้ทะยานขึ้น 12.9% ในเดือนพ.ย. ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 16 เดือน โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นของอุปสงค์ในตลาดโลก และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าภาวะอุปสงค์เซมิคอนดักเตอร์ตกต่ำอาจจะผ่านพ้นช่วงเลวร้ายที่สุดไปแล้ว
นักลงทุนคาดหวังว่าเศรษฐกิจเอเชียจะฟื้นตัวขึ้น ในขณะที่ยอดส่งออกของประเทศอื่น ๆ ในเอเชียปรับขึ้นในเดือนพ.ย.ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ยอดส่งออกของจีนปรับขึ้น 0.5% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี หลังจากดิ่งลง 6.4% ในเดือนต.ค. ส่วนยอดส่งออกของไต้หวันทะยานขึ้น 3.8% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--24 ต.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอ่อนค่าลงในวันจันทร์ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงจาก 4.924% ในช่วงท้ายวันศุกร์สู่ 4.838% ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 5.021% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี โดยการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) จะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมพุ่งสูงขึ้น และจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรได้รับแรงหนุนในช่วงนี้จากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน, จากการปรับเพิ่มอุปทานพันธบัตร และจากส่วนเพิ่มของอัตราผลตอบแทนตามอายุของสินทรัพย์ทางการเงิน (term premia) ที่ขยายกว้างมากยิ่งขึ้น Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.60 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 106.15 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 106.33 โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 6% นับตั้งแต่กลางเดือนก.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อย่างไรก็ดี ดัชนีดอลลาร์แทบไม่ได้ปรับขึ้นนับตั้งแต่ต้นเดือนต.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 149.70 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยปรับลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 149.84 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 150.14 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 3 ต.ค.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0668 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0593 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับลง แต่ดัชนี Nasdaq บวกขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 5.021% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี ก่อนจะร่วงลงสู่ 4.838% ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยการร่วงลงของอัตราผลตอบพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มที่เคลื่อนไหวตามกระแสการลงทุน (โมเมนตัม) และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และปัจจัยดังกล่าวช่วยหนุนดัชนี Nasdaq นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี และดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันศุกร์ โดยนักลงทุนคาดการณ์ว่า กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอาจจะรายงานในวันพฤหัสบดีว่า จีดีพีสหรัฐเติบโต 4.3% ในไตรมาสสาม และสหรัฐอาจจะรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนี PCE ทั่วไปชะลอตัวลงสู่ +3.4% และดัชนี PCE พื้นฐานชะลอตัวลงสู่ +3.7% ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูผลประกอบการของบริษัทเกือบ 1 ใน 3 ของดัชนี S&P 500 ที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งรวมถึงผลประกอบการของบริษัทสำคัญหลายแห่ง อย่างเช่น บริษัทไมโครซอฟท์ที่จะรายงานผลประกอบการในวันอังคารที่ 24 ต.ค., แอลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิลที่จะรายงานผลในวันที่ 24 ต.ค., เมตา แพลตฟอร์มส์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊กที่จะรายงานผลในวันพุธที่ 25 ต.ค. และอะเมซอนที่จะรายงานผลในวันพฤหัสบดีที่ 26 ต.ค. ส่วนบริษัทอื่น ๆ ที่จะรายงานผลประกอบการในสัปดาห์นี้รวมถึงบริษัทโคคา-โคล่า, เจเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์, เมอร์ค ซึ่งเป็นผู้ผลิตยา และยูไนเต็ด พาร์เซล เซอร์วิส (UPS) ซึ่งเป็นผู้ขนส่งพัสดุ โดยขณะนี้มีบริษัท 86 แห่งในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสสามออกมาแล้ว และบริษัท 78% ในกลุ่มนี้เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ทางด้านนักวิเคราะห์คาดว่า บริษัทในดัชนี S&P 500 อาจมีผลกำไรปรับขึ้น 1.2% ในไตรมาสสามเมื่อเทียบรายปี โดยปรับลดลงจากระดับ +1.6% ที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อต้นเดือนนี้ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 0.58% สู่ 32,936.41 โดยดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดในแดนลบเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.17% สู่ 4,217.04 โดยดัชนีปิดตลาดที่ระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วันเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.27% สู่ 13,018.33
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันจันทร์ ในขณะที่มีการเร่งดำเนินความพยายามทางการทูตในภูมิภาคตะวันออกกลางเพื่อจำกัดขอบเขตความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส และปัจจัยนี้ช่วยให้นักลงทุนลดความกังวลที่มีต่อปัญหาการขาดตอนของอุปทานน้ำมัน โดยผู้นำของสหภาพยุโรป (อียู) จะเรียกร้องให้มีการหยุดพักความขัดแย้งเพื่อมนุษยธรรมในสัปดาห์นี้ เพื่อที่จะได้มีการจัดส่งความช่วยเหลือให้แก่ชาวปาเลสไตน์ในเขตกาซา ในขณะที่ผู้นำของฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์จะเดินทางเยือนอิสราเอลในสัปดาห์นี้ ทางด้านขบวนรถจัดส่งความช่วยเหลือได้เดินทางออกจากอียิปต์เข้าสู่เขตฉนวนกาซาแล้วในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ กลุ่มฮามาสก็ได้ประกาศในวันจันทร์ว่า ทางกลุ่มได้ปล่อยตัวประกันสองคนที่เป็นพลเรือนสตรี เพื่อตอบรับต่อความพยายามไกล่เกลี่ยของอียิปต์-กาตาร์ อย่างไรก็ดี อิสราเอลยังคงทิ้งระเบิดในเขตกาซาในวันจันทร์ และดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อภาคใต้ของเลบานอนด้วย ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐประกาศในสัปดาห์ที่แล้วว่า สหรัฐจะระงับมาตรการคว่ำบาตรเวเนซูเอลา หลังจากรัฐบาลเวเนซูเอลาบรรลุข้อตกลงกับฝ่ายค้าน ทางด้านนายไมเคิล ทราน นักวิเคราะห์ของธนาคาร RBC กล่าวว่า "ความเคลื่อนไหวนี้จะช่วยให้อุปทานน้ำมันเวเนซูเอลาที่ส่งออกสู่ตลาดโลกเพิ่มขึ้น 200,000-300,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งไม่ใช่ระดับที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดได้โดยตรง และเวเนซูเอลาจะยังไม่สามารถปรับเพิ่มปริมาณการส่งออกน้ำมันดังกล่าวได้ในทันที" Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนธ.ค.ดิ่งลง 2.59 ดอลลาร์ หรือ 2.9% มาปิดตลาดวันจันทร์ที่ 85.49 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 2.33 ดอลลาร์ หรือ 2.5% มาปิดตลาดที่ 89.83 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับลง 8.45 ดอลลาร์ สู่ 1,972.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1,997.09 ดอลลาร์ในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนพ.ค. ในขณะที่เทรดเดอร์จับตาดูสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง และเทรดเดอร์รอดูตัวเลขจีดีพีสหรัฐและดัชนี PCE ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์นี้ ทั้งนี้ นายเดวิด มีเกอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายค้าโลหะของบริษัทไฮ ริดจ์ ฟิวเจอร์สกล่าวว่า "ถ้าหากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาดในวันศุกร์นี้ ตัวเลขดังกล่าวก็จะกระตุ้นความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาทองแสดงปฏิกิริยาอย่างฉับพลันด้วยการร่วงลง แต่หลังจากนั้นราคาทองน่าจะได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
17 ต.ค.--รอยเตอร์
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 5.25% นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 เป็นต้นมา และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐชะลอการปล่อยสินเชื่อ และปรับเพิ่มระดับการถือครองเงินสด หลังจากเกิดวิกฤติภาคธนาคารในเดือนมี.ค.ปีนี้เมื่อมีการสั่งปิดกิจการธนาคารซิลิคอน แวลลีย์ (SVB) ในสหรัฐ ทั้งนี้ ถึงแม้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดสู่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. ระบบการเงินในสหรัฐก็ยังคงได้รับผลกระทบจากวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 เป็นต้นมา และได้รับผลกระทบจากการคาดการณ์ที่ว่า อัตราดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปจนถึงปี 2024
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวพุ่งขึ้นมาแล้วราว 1% นับตั้งแต่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายในวันที่ 26 ก.ค. และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ซึ่งเป็นสิ่งที่ปรับตัวสวนทางกับราคาพันธบัตร ก็มีอิทธิพลต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ และต่อความต้องการกู้เงินของลูกค้าธนาคาร ทั้งนี้ เฟดรายงานว่า สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์โดยรวมในสหรัฐหดตัวลงในไตรมาส 3 เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นการหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ เพราะว่าการดิ่งลงของมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลสร้างความเสียหายต่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ที่ธนาคารพาณิชย์ถือครองไว้ในวงกว้าง
สินเชื่อธนาคารโดยรวมในสหรัฐอยู่ที่ 17.26 ล้านล้านดอลลาร์ในวันที่ 27 ก.ย. ซึ่งถือเป็นวันพุธสุดท้ายของเดือนก.ย. โดยร่วงลงจาก 17.30 ล้านล้านดอลลาร์ในวันพุธสุดท้ายของเดือนมิ.ย. และร่วงลงจาก 17.33 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อ 1 ปีก่อน ทั้งนี้ สินเชื่อสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยและสินเชื่อสำหรับอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ยังคงพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 3 แต่ปรับขึ้นในอัตราไม่ถึง 8% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน หลังจากที่เคยพุ่งขึ้นสูงกว่า 10% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบรายปี ทางด้านสินเชื่อเชิงพาณิชย์และสินเชื่ออุตสาหกรรมร่วงลงในไตรมาส 3/2023 เป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน โดยสินเชื่อกลุ่มนี้เคยพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในวันที่ 15 มี.ค.หลังจากธนาคาร SVB ล้ม และยอดสินเชื่อนี้อยู่ที่ระดับ 2.78 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. ก่อนจะร่วงลงสู่ 2.75 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนก.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 11 เดือน
ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับเพิ่มการถือครองเงินสดในช่วงที่ผ่านมา โดยธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 25 แห่งของสหรัฐได้ปรับเพิ่มปริมาณการถือครองเงินสดขึ้นสูงมากในไตรมาส 3 ทางด้านปริมาณเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ได้เข้าสู่เสถียรภาพในไตรมาสล่าสุด และอยู่ที่ระดับ 17.29 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงนี้ หลังจากปริมาณเงินฝากเคยดิ่งลงอย่างรุนแรงหลังจากธนาคาร SVB ล้มในวันที่ 10 มี.ค.และเกิดวิกฤติภาคธนาคารในช่วงนั้น
ปริมาณเงินฝากในธนาคารสหรัฐโดยรวมดิ่งลงมาแล้วราว 7% จากจุดสูงสุดของเดือนเม.ย. 2022 โดยปริมาณเงินฝากในธนาคารขนาดใหญ่ที่สุด 25 แห่งของสหรัฐรูดลงมาแล้วกว่า 8% จากจุดสูงสุดของเดือนเม.ย. 2022 แต่ปริมาณเงินฝากในธนาคารขนาดเล็กปรับลดลงเพียงราว 2% จากเดือนเม.ย. 2022 หลังจากปริมาณเงินฝากในธนาคารขนาดเล็กเคยดิ่งลงอย่างรุนแรงเมื่อเกิดวิกฤติภาคธนาคารในเดือนมี.ค.ปีนี้ แต่ฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วในช่วงหลังจากนั้น ทางด้านปริมาณเงินฝากในธนาคารต่างชาติในสหรัฐฟื้นตัวขึ้นได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 1 สัปดาห์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันศุกร์ โดยปรับขึ้นต่อเนื่องจากวันพฤหัสบดี หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับขึ้น 0.4% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.6% ในเดือนส.ค. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 14 เดือน ส่วนดัชนี CPI แบบเทียบรายปีปรับขึ้น 3.7% ในเดือนก.ย. หลังจากปรับขึ้น 3.7% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยก่อนหน้านี้นักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า ดัชนี CPI อาจปรับขึ้นเพียง 0.3% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายเดือน และปรับขึ้น 3.6% เมื่อเทียบรายปี ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้นกระทรวงแรงงานสหรัฐได้รายงานในวันพุธว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ทั่วไปปรับขึ้น 0.5% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ +0.3% หลังจากปรับขึ้น 0.7% ในเดือนส.ค. ส่วนดัชนี PPI ทั่วไปแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.2% ในเดือนก.ย. โดยเร่งตัวขึ้นจาก +2.0% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 106.65 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 106.55 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 1 สัปดาห์ที่ 106.79 ในระหว่างวัน โดยดัชนีดอลลาร์เพิ่งพุ่งขึ้น 0.8% ในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายวันครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค. และดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับขึ้นราว 0.5% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 149.55 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 149.80 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0509 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยปรับลงจาก 1.0526 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ แต่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงในวันศุกร์ โดยได้รับแรงกดดันจากรายงานของมหาวิทยาลัยมิชิแกนที่ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐอยู่ที่ 63.0 ในเดือนต.ค. โดยดิ่งลงจาก 68.1 ในเดือนก.ย. และอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 67.2 สำหรับเดือนต.ค. นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐก็ได้รับแรงกดดันจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางด้วย ในขณะที่อิสราเอลประกาศว่า อิสราเอลได้บุกเข้าไปในเขตฉนวนกาซา ซึ่งถือเป็นการประกาศเรื่องปฏิบัติการภาคพื้นดินของอิสราเอลเป็นครั้งแรกหลังจากกลุ่มนักรบฮามาสก่อเหตุรุนแรงในอิสราเอลในวันเสาร์ที่ 7 ต.ค. ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.3% ในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการทะยานขึ้นของราคาน้ำมัน และส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในบรรดาดัชนีหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ของสหรัฐ ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มปลอดภัยทะยานขึ้นด้วยเช่นกัน โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคพุ่งขึ้น 1% และดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นบวกขึ้น 0.8% นอกจากนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐก็ปิดบวกขึ้น 0.6% ในวันศุกร์ หลังจากทะยานขึ้น 3.4% จนแตะจุดสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์ได้ในระหว่างวัน ในขณะที่หุ้นธนาคารเจพีมอร์แกน เชสพุ่งขึ้น 1.5% และหุ้นธนาคารเวลส์ ฟาร์โกทะยานขึ้น 3% หลังจากธนาคารทั้งสองแห่งนี้เปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสที่ดีเกินคาด โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี หุ้นธนาคารซิตี้กรุ๊ปปิดปรับลง 0.2% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น 0.12% สู่ 33,670.29 ในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการบวกขึ้น 0.79% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.50% สู่ 4,327.78 ในวันศุกร์ แต่ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการบวกขึ้น 0.45% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน
ดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 1.23% สู่ 13,407.23 ในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการขยับลง 0.18% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นเกือบ 6% ในวันศุกร์ ในขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับการคาดการณ์ที่ว่า ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางอาจจะขยายวงกว้างออกไป หลังจากอิสราเอลเริ่มต้นการบุกโจมตีภาคพื้นดินในเขตฉนวนกาซา และประกาศให้ประชาชนกว่า 1 ล้านคนอพยพออกจากตอนเหนือของเขตฉนวนกาซาภายในเวลา 24 ชั่วโมง ทางด้านนายจาวาด โอวจิ รมว.น้ำมันอิหร่านกล่าวในวันศุกร์ว่า ราคาน้ำมันอาจจะพุ่งขึ้นแตะ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยเป็นผลจากสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ส่วนนายฮอสเซน อามิราบดอลลาเฮียน รมว.ต่างประเทศของอิหร่านได้หารือกับผู้นำกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ของเลบานอนในวันศุกร์ โดยเป็นการหารือเรื่องความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส หลังจากกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ได้โจมตีอิสราเอลด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการที่สหรัฐดำเนินมาตรการคว่ำบาตรครั้งแรกในวันพฤหัสบดีต่อเจ้าของเรือขนส่งน้ำมันที่บรรทุกน้ำมันรัสเซียที่ตั้งราคาสูงกว่าระดับเพดานที่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทั้ง 7 หรือจี-7 กำหนดไว้ที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทางด้านบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์รายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐเพิ่มขึ้น 4 แท่น สู่ 501 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ต.ค. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ย.พุ่งขึ้น 4.78 ดอลลาร์ หรือ 5.8% มาปิดตลาดวันศุกร์ที่ 87.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายวันครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. โดยราคาน้ำมันดิบสหรัฐปิดตลาดสัปดาห์ล่าสุดด้วยการทะยานขึ้น 5.9% จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้น
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนทะยานขึ้น 4.89 ดอลลาร์ หรือ 5.7% มาปิดตลาดวันศุกร์ที่ 90.89 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายวันครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์ล่าสุดด้วยการทะยานขึ้น 7.5% จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้น 63.05 ดอลลาร์ หรือ 3.37% สู่ 1,931.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 5.43% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 7 เดือน ในขณะที่ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย นอกจากนี้ ราคาทองก็ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการคาดการณ์ที่ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจสิ้นสุดลงแล้ว ทั้งนี้ นายเอ็ดเวิร์ด โมยา นักวิเคราะห์ตลาดของบริษัท OANDA กล่าวว่า "ถ้าหากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ก็มีโอกาสสูงที่ราคาทองจะพุ่งขึ้นสู่ 2,000 ดอลลาร์ในปีนี้" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ลอนดอน--4 ต.ค.--รอยเตอร์
ความขัดแย้งระหว่างจีนกับชาติตะวันตกทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงการดำเนินมาตรการด้านภาษีศุลกากรโต้ตอบกัน, การแข่งขันกันในทางเทคโนโลยี และข้อกล่าวหาเรื่องการสอดแนม ในขณะที่รัฐบาลจีนกับรัฐบาลสหรัฐต่างก็ตั้งใจที่จะลดการพึ่งพาอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อห่วงโซ่อุปทาน และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมากด้วย ทางด้านนักวิเคราะห์ได้ระบุถึงผลกระทบที่ตลาดโลกอาจจะได้รับความขัดแย้งระหว่างจีนกับชาติตะวันตกดังต่อไปนี้
ผลกระทบแรกคือผลกระทบด้านเงินเฟ้อ ในขณะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐตั้งใจที่จะโยกย้ายฐานการผลิตสินค้าที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์กลับเข้ามาในสหรัฐ ซึ่งรวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าและเซมิคอนดักเตอร์ ทางด้านบริษัทไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟคเจอริง โค (TSMC) ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในโลก กำลังจะโยกย้ายการผลิตบางส่วนไปยังประเทศเยอรมนี เพื่อจะได้ตอบรับต่อความต้องการของบริษัทข้ามชาติหลายแห่งที่ต้องการจะกระจายห่วงโซ่อุปทานออ กจากจีน อย่างไรก็ดี ผลการวิจัยของธนาคารโกลด์แมน แซคส์พบว่า การโยกย้ายฐานการผลิตออกจากจีนอาจจะส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อได้ ในขณะที่นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทนอร์ทเธิร์น ทรัสต์ระบุว่า กระแสโลกาภิวัฒน์ในช่วงที่ผ่านมาเคยช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพสูงและมีต้นทุนต่ำ ดังนั้นการโยกย้ายฐานการผลิตกลับประเทศจะส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น
ผลกระทบที่ 2 คือการที่ประเทศที่เป็นมิตรกับสหรัฐจะได้รับประโยชน์จากนโยบาย friendshoring ของรัฐบาลสหรัฐ หรือนโยบายที่จะให้ประเทศเหล่านี้เข้ามาแทนที่จีนในห่วงโซ่อุปทาน โดยผลการวิจัยของวิทยาลัยธุรกิจฮาร์วาร์ดระบุว่า เวียดนามและเม็กซิโกเป็นสองประเทศหลักที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายโยกย้ายห่วงโซ่อุปทานของสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ก็พยายามดึงดูดการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐ ในขณะที่มองโกเลียพยายามชักจูงให้สหรัฐเข้ามาลงทุนในการทำเหมืองแร่หายาก ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ในโทรศัพท์สมาร์ตโฟนและอุปกรณ์ไฮเทคอื่น ๆ ทั้งนี้ สัดส่วนของจีนในยอดนำเข้าของสหรัฐได้ปรับลดลงเป็นอย่างมากในช่วงระหว่างปี 2017-2022 ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ครองสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในยอดนำเข้าของสหรัฐในช่วงเวลาเดียวกัน โดยประเทศกลุ่มนี้รวมถึงเวียดนาม, อินเดีย, แคนาดา, เกาหลีใต้, ไทย, เม็กซิโก, ไอร์แลนด์ และมาเลเซีย
ผลกระทบที่ 3 คือเงินลงทุนที่อาจจะหลั่งไหลเข้าสู่อินเดีย ในขณะที่มีการประเมินกันว่า อินเดียถือเป็นประเทศที่มีความสามารถมากที่สุดในการแข่งขันกับจีนในด้านการผลิตขนาดใหญ่โดยใช้ต้นทุนต่ำ โดยอินเดียมีประชากรจำนวนมาก, มีประชากรอายุน้อยจำนวนมาก และมีการเติบโตของชนชั้นกลางด้วย และปัจจัยเหล่านี้จะช่วยดึงดูดบริษัทข้ามชาติด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ บริษัทเจพีมอร์แกนก็วางแผนที่จะบรรจุอินเดียเข้าไว้ในดัชนีพันธบัตรรัฐบาลสำคัญในปีหน้าด้วย และปัจจัยดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้มีเงินลงทุนหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดพันธบัตรอินเดีย ทั้งนี้ ตลาดหุ้นอินเดียพุ่งขึ้นมาแล้ว 8% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ธนาคารกลางอินเดียคาดว่า เศรษฐกิจอินเดียอาจจะขยายตัว 6.5% ในปีงบประมาณปัจจุบัน แต่เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มเติบโตเพียงราว 5% ในปีนี้ ทางด้านธนาคารบาร์เคลย์สคาดว่า ถ้าหากเศรษฐกิจอินเดียเติบโตราว 8% ต่อปีในช่วง 5 ปีข้างหน้า อินเดียก็อาจจะกลายเป็นประเทศที่ส่งแรงบวกมากที่สุดต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
ผลกระทบที่ 4 คือผลกระทบที่จะมีต่อธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะธุรกิจชิปและสินค้าหรูหรา ในขณะที่สหภาพยุโรป (อียู) กำลังสอบสวนว่า อียูควรจะจัดเก็บภาษีศุลกากรเพื่อลงโทษรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้าจากจีนหรือไม่ เนื่องจากอียูมองว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้าจากจีนได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลมากเกินไป ทางด้านหุ้นบริษัทแอปเปิลของสหรัฐเพิ่งดิ่งลงกว่า 6% ในเวลาเพียง 2 วันในช่วงต้นเดือนก.ย. หลังจากมีข่าวว่ารัฐบาลจีนห้ามลูกจ้างของรัฐบาลใช้โทรศัพท์ไอโฟน ทั้งนี้ ธุรกิจสินค้าหรูหราได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งด้วยเช่นกัน เนื่องจากจีนครองส่วนแบ่งใหญ่ในตลาดสินค้าหรูหราทั่วโลก โดยหุ้นกลุ่มสินค้าหรูหราของยุโรปดิ่งลง 16% ในไตรมาส 3 โดยได้รับแรงกดดันจากความขัดแย้งระหว่างจีนกับชาติตะวันตก และจากภาวะเศรษฐกิจจีนที่ซบเซา
ผลกระทบที่ 5 คือความเป็นไปได้ที่จะมีการเทขายหุ้นจีน ในขณะที่ตลาดหุ้นจีนได้รับแรงกดดันอยู่แล้วจากความอ่อนแอทางเศรษฐกิจและจากวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ และอาจจะได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศด้วย--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน