ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแกว่งตัวผันผวนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันอังคาร หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาดในเดือนก.พ. และรายงานตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. โดยดอลลาร์พุ่งขึ้นในช่วงแรกหลังจากมีการรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ ก่อนที่จะร่วงลงในเวลาต่อมา และดีดขึ้นมาปิดตลาดในแดนบวกในวันอังคาร ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปของสหรัฐปรับขึ้น 0.4% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งตรงกับตัวเลขคาดการณ์ ส่วนดัชนี CPI ทั่วไปแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 3.2% ในเดือนก.พ. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ +3.1% ทางด้านดัชนี CPI พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานปรับขึ้น 0.4% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ +0.3% ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 3.8% ในเดือนก.พ. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ +3.7% Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 102.92 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 102.79 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.68 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 146.94 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0924 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0926 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1.0980 ดอลลาร์ในวันศุกร์ที่ 8 มี.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค. หรือจุดสูงสุดในรอบ 2 เดือน
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันอังคาร ในขณะที่หุ้นออราเคิลซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านฐานข้อมูลทะยานขึ้น 11.7% และแตะสถิติสูงสุดใหม่ หลังจากออราเคิลเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสที่แข็งแกร่งในวันจันทร์ และออราเคิลเตรียมที่จะออกแถลงการณ์ร่วมกันกับบริษัทเอ็นวิเดีย ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยหุ้นเอ็นวิเดียทะยานขึ้น 7.2% ในวันอังคาร ในขณะที่ดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.1% ในวันอังคาร หลังจากที่ปิดตลาดในแดนลบมานานติดต่อกัน 2 วัน ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐด้วย เพราะถึงแม้สหรัฐรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาดในวันอังคาร ตัวเลขดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้นักลงทุนปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยนักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดการณ์ในวันอังคารว่า มีโอกาส 69% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. โดยปรับลดลงจากโอกาส 71% ที่เคยคาดไว้ในช่วงเย็นวันจันทร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.61% สู่ 39,005.49
ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 1.12% สู่ 5,175.27 ซึ่งถือเป็นสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่
ดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 1.54% สู่ 16,265.64
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับลงในวันอังคาร หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐ โดย EIA คาดว่า ปริมารการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐอาจพุ่งขึ้น 260,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ 13.19 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2024 โดยปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เคยคาดว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบอาจปรับขึ้นเพียง 170,000 บาร์เรลต่อวันในปีนี้ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจด้วย ในขณะที่สำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) ในกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ราคาผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนก.พ. โดยเป็นผลจากต้นทุนที่สูงขึ้นในส่วนของราคาน้ำมันเบนซินและค่าที่พัก และรายงานตัวเลขนี้ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจนกว่าจะถึงเดือนมิ.ย. อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันยังคงได้รับแรงหนุนเข้ามาบ้างในวันอังคารจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ในขณะที่การเจรจาต่อรองเรื่องการหยุดยิงระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสเผชิญกับทางตัน และอิสราเอลยังคงสู้รบกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนด้วย ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 มี.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 5.521 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐรูดลง 3.75 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐดิ่งลง 1.16 ล้านบาร์เรล ทางด้านกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ได้เปิดเผยรายงานรายเดือนในวันอังคาร โดยกลุ่มโอเปกคาดว่า อุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกอาจเพิ่มขึ้น 2.25 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2024 และอาจเพิ่มขึ้น 1.85 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2025 ซึ่งเท่ากับตัวเลขที่เคยคาดไว้ในเดือนที่แล้ว Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนเม.ย.ปรับลง 37 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 77.56 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 29 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 81.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐดิ่งลง 24.48 ดอลลาร์ หรือ 1.12% สู่ 2,157.99 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร และออกห่างจากสถิติสูงสุดที่ 2,194.99 ดอลลาร์ที่เคยทำไว้ในวันศุกร์ ในขณะที่ราคาทองได้รับแรงกดดันจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาดในสหรัฐ เพราะตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่า มีโอกาสน้อยลงที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ อาคาช โดชิ จากบริษัทซิตี้ รีเสิร์ชกล่าวว่า ราคาทองอาจจะสร้างฐานในช่วงนี้ และอาจจะเข้าสู่เสถียรภาพที่ระดับราว 2,100 ดอลลาร์ และอาจจะพุ่งขึ้นเหนือระดับ 2,200 ดอลลาร์ได้ก่อนสิ้นไตรมาสสองของปีนี้ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--29 ก.พ.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยนและยูโรในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพฤหัสบดีนี้ โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มักจะใช้ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อ โดยนักลงทุนคาดว่า ดัชนี PCE ทั่วไปในเดือนม.ค.อาจปรับขึ้น 0.3% เมื่อเทียบรายเดือน และอาจปรับขึ้น 2.4% เมื่อเทียบรายปี ส่วนดัชนี PCE พื้นฐานในเดือนม.ค.อาจปรับขึ้น 0.4% เมื่อเทียบรายเดือน และอาจปรับขึ้น 2.8% เมื่อเทียบรายปี โดยนักลงทุนจะใช้รายงาน PCE นี้ในการประเมินว่า เฟดมีแนวโน้มจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด นอกจากนี้ นักลงทุนก็จะรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนี, ฝรั่งเศส และสเปนที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี และรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันศุกร์ด้วย ทั้งนี้ นายโมฮัมหมัด อัล-ซาราฟ นักยุทธศาสตร์การลงทุนสกุลเงินของธนาคารดันสเกอกล่าวว่า "มีโอกาสที่อัตราเงินเฟ้อจะยังคงชะลอตัวลงต่อไปในยูโรโซน ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ในเร็ว ๆ นี้ และเราก็คาดว่า ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐลดลงได้ยากกว่าในยูโรโซน ปัจจัยนี้ก็จะหนุนดอลลาร์ให้อยู่ในระดับแข็งแกร่ง" Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.93 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 103.84 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 150.67 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 150.50 เยน หลังจากขึ้นไปแตะ 150.84 เยนในระหว่างวัน และเข้าใกล้จุดสูงสุดรอบ 3 เดือนที่ 150.88 เยนที่เคยทำไว้ในวันที่ 13 ก.พ.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0836 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0844 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร
ตลาดหุ้นสหรัฐขยับลงเล็กน้อยในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนม.ค.ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพฤหัสบดีนี้ โดยนักลงทุนจะใช้ตัวเลขดังกล่าวในการประเมินว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อใด หลังจากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI), ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) และตัวเลขเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่แข็งแกร่งในสหรัฐทำให้นักลงทุนคาดการณ์กันในตอนนี้ว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. แทนที่จะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค.เหมือนอย่างที่เคยคาดการณ์กันไว้ในช่วงก่อนการรายงานตัวเลขเหล่านี้ ทางด้านซูซาน คอลลินส์ ประธานเฟดสาขาบอสตันกล่าวในวันพุธว่า เฟดควรจะใช้เวลาในการประเมินตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจปรับเปลี่ยนนโยบายใด ๆ เพื่อจะได้เป็นการสร้างความมั่นใจว่า เฟดจะสามารถบรรลุเป้าหมายทั้งสองประการของเฟด ซึ่งได้แก่เป้าหมายในการสร้างภาวะการจ้างงานเต็มที่และการสร้างเสถียรภาพของราคา ทั้งนี้ หุ้นบริษัทยูไนเต็ดเฮลธ์ที่ทำธุรกิจประกันสุขภาพดิ่งลง 2.95% ในวันพุธ และถือเป็นหุ้นที่ถ่วงดัชนีดาวโจนส์ลงมากที่สุด หลังจากมีข่าวออกมาในวันอังคารว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเริ่มเปิดการสอบสวนยูไนเต็ดเฮลธ์ในคดีต่อต้านการผูกขาด ทางด้านหุ้นบริษัทแอพพลายด์ แมทีเรียลส์ ซึ่งเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์รูดลง 2.62% ในวันพุธ หลังจากทางบริษัทได้รับหมายเรียกจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) ในเดือนก.พ. เพื่อให้ทางบริษัทมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าให้แก่ลูกค้าบางรายในจีน Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับลง 0.06% สู่ 38,949.02
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.17% สู่ 5,069.76
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.55% สู่ 15,947.74
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับลงในวันพุธ หลังจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคตอันใกล้นี้ โดยนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์คกล่าวว่า ถึงแม้แรงกดดันเงินเฟ้อลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงที่ผ่านมา เขาก็ยังไม่พร้อมที่จะประกาศว่า เฟดได้ทำทุกอย่างที่จำเป็นต้องทำแล้วในการทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับคืนสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ทางด้านมิเชลล์ โบว์แมน หนึ่งในผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณในวันอังคารว่า เธอจะไม่รีบร้อนปรับลดอัตราดอกเบี้ยสหรัฐลง เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านสูงต่อภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคขัดขวางความคืบหน้าในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ และความเสี่ยงดังกล่าวอาจจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นได้อีกด้วย ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากการพุ่งขึ้นของสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐ หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน โดยพุ่งขึ้น 4.2 ล้านบาร์เรล สู่ 447.2 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 ก.พ. ในขณะที่นักวิเคราะห์ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจปรับขึ้นเพียง 2.7 ล้านบาร์เรล ทางด้านสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐร่วงลงเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน โดยดิ่งลง 2.8 ล้านบาร์เรล สู่ 244.2 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil ปรับลดลง 510,000 บาร์เรล สู่ 121.1 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้ EIA ยังรายงานอีกด้วยว่า อัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันในสหรัฐพุ่งขึ้น 0.9% สู่ 81.5% แต่อัตราดังกล่าวยังคงอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีสำหรับช่วงนี้ของปี โดยอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอยู่ต่ำกว่า 83% ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนเม.ย.ปรับลง 33 เซนต์ หรือ 0.42% มาปิดตลาดที่ 78.54 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนขยับขึ้น 3 เซนต์ หรือ 0.04% มาปิดตลาดที่ 83.68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 4.98 ดอลลาร์ สู่ 2,034.62 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ ในขณะที่เทรดเดอร์รอดูตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี และเทรดเดอร์รอฟังถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่อาจบ่งชี้ถึงกำหนดเวลาที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยด้วย ทั้งนี้ นายบ็อบ ฮาเบอร์คอร์น นักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบริษัทอาร์เจโอ ฟิวเจอร์สกล่าวว่า "บรรยากาศการซื้อขายทองอยู่ในภาวะสงบเงียบในวันพุธ ก่อนที่จะมีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจออกมาในวันพฤหัสบดี และเราก็คาดว่าราคาทองจะพุ่งขึ้นเหนือระดับ 2,050 ดอลลาร์ได้ก็ต่อเมื่อ มีการรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--27 ก.พ.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับลงในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันอังคาร และดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มักจะใช้ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อ และนักลงทุนก็จะใช้ตัวเลขเหล่านี้ในการประเมินว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า แทบไม่มีโอกาสที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. และนักลงทุนคาดว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำเดือนม.ค.ที่แข็งแกร่งเกินคาดในช่วงกลางเดือนก.พ. Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.77 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 103.95 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 150.69 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 150.50 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0847 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0818 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยยูโรแข็งค่าขึ้นในช่วง 8 วันจาก 9 วันทำการที่ผ่านมา
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงเล็กน้อยในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันอังคาร และดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มักจะใช้ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อ และนักลงทุนก็รอดูตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และกิจกรรมภาคการผลิตของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ด้วย เพราะตัวเลขเหล่านี้อาจจะส่งผลกระทบต่อกำหนดเวลาที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ดัชนี Nasdaq ขยับลงเพียงเล็กน้อยในวันจันทร์ เพราะว่าดัชนีได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทไมครอน เทคโนโลยีที่พุ่งขึ้น 4.02% ในขณะที่ไมครอนเริ่มต้นการผลิตเซมิคอนดักเตอร์หน่วยความจำความเร็วสูงจำนวนมาก เพื่อใช้ในชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของบริษัทเอ็นวิเดีย ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.05% ในวันจันทร์ อย่างไรก็ดี หุ้นแอลฟาเบทซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิลดิ่งลง 4.44% หลังจากแอลฟาเบทประกาศแผนที่จะเปิดตัวเครื่องมือ AI อีกครั้งในอีกหลายสัปดาห์ข้างหน้า หลังจากแผนดังกล่าวหยุดชะงักลงในสัปดาห์ที่แล้ว Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.16% สู่ 39,069.23
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.38% สู่ 5,069.53 ในวันจันทร์ โดยก่อนหน้านี้ดัชนี S&P 500 เพิ่งปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกมาได้นานถึง 15 สัปดาห์ในช่วง 17 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นครั้งที่สองในรอบ 50 ปีที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ส่วนครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นในปี 1989
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.13% สู่ 15,976.25
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์น้ำมันดีเซลในยุโรป ในขณะที่อุปทานน้ำมันในยุโรปประสบปัญหาจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย และจากการขาดตอนของการขนส่งน้ำมันผ่านทะเลแดง นอกจากนี้ กำลังการกลั่นน้ำมันของสหรัฐก็ดิ่งลงในช่วงที่ผ่านมา และปัจจัยนี้มีส่วนทำให้อุปทานน้ำมันดีเซลตึงตัวมากยิ่งขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาด้วย และส่งผลลบต่อยอดส่งออกน้ำมันดีเซลจากสหรัฐสู่ยุโรปในเดือนนี้ โดยค่าการกลั่นน้ำมันดีเซลในสหรัฐได้พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 4 เดือนที่ระดับสูงกว่า 48 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในเดือนนี้ ทั้งนี้ กองบัญชาการกลางของสหรัฐรายงานว่า กลุ่มฮูตีในเยเมนพยายามโจมตีเรือขนส่งน้ำมันที่ติดธงชาติสหรัฐในวันเสาร์ที่ 24 ก.พ. ทางด้านนายเจค ซุลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาวกล่าวต่อสถานี CNN ในวันอาทิตย์ว่า ผู้เจรจาต่อรองของสหรัฐ, อียิปต์, กาตาร์ และอิสราเอลได้ตกลงกันเรื่องโครงร่างของข้อตกลงเรื่องตัวประกันในการเจรจาที่กรุงปารีส แต่การเจรจาต่อรองยังคงดำเนินต่อไป Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนเม.ย.ทะยานขึ้น 1.09 ดอลลาร์ หรือ 1.43% มาปิดตลาดที่ 77.58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 91 เซนต์ หรือ 1.11% มาปิดตลาดที่ 82.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับลง 5.03 ดอลลาร์ สู่ 2,030.69 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มักจะใช้ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อ และนักลงทุนก็จะใช้ตัวเลขนี้ในการประเมินว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด โดยนักลงทุนคาดว่า ดัชนี PCE อาจปรับขึ้น 0.4% เมื่อเทียบรายเดือน ทั้งนี้ นายจิม วิคคอฟ นักวิเคราะห์ของบริษัทคิทโค เมทัลส์กล่าวว่า "ถ้าหากดัชนี PCE อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น สิ่งนี้ก็จะส่งผลลบต่อราคาททอง แต่ราคาทองจะยังคงรักษาระดับ 2,000 ดอลลาร์เอาไว้ได้ โดยราคาทองจะดิ่งผ่านระดับ 2,000 ดอลลาร์ลงไปได้ก็ต่อเมื่อ มีการรายานตัวเลขเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ที่แข็งแกร่งเกินคาดเป็นอย่างมาก" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--15 ก.พ.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับลงในวันพุธหลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 3 เดือนในระหว่างวัน โดยก่อนหน้านี้ดอลลาร์เพิ่งพุ่งขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนม.ค.ของสหรัฐที่อยู่ในระดับแข็งแกร่งเกินคาด เพราะตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) ในกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 3.1% ในเดือนม.ค. หลังจากพุ่งขึ้น 3.4% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายปี และออกห่างจากจุดสูงสุดของวัฏจักรที่ 9.1% ที่เคยทำไว้ในเดือนมิ.ย. 2022 แต่ตัวเลขดังกล่าวอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +2.9% สำหรับเดือนม.ค. ทางด้านนักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้า fed funds คาดการณ์ในตอนนี้ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. และคาดว่ามีโอกาสสูงเกือบถึง 80% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. โดยนักลงทุนคาดการณ์กันอีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปีนี้ หลังจากที่เคยคาดการณ์เมื่อสองสัปดาห์ก่อนว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 5 ครั้งในปีนี้ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.68 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 104.86 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากปรับขึ้นแตะ 104.97 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 3 เดือน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 150.55 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยปรับลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 150.79 เยน หลังจากดอลลาร์เพิ่งทะยานขึ้นแตะ 150.88 เยนในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. หรือจุดสูงสุดรอบ 3 เดือน โดยดอลลาร์/เยนพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 6% จากช่วงต้นปีนี้ หรือทะยานขึ้นมาแล้วราว 10 เยนจากช่วงต้นปีนี้
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0725 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0709 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0693 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 3 เดือน
ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากการทะยานขึ้นของหุ้นบริษัทสำคัญหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงหุ้นเอ็นวิเดีย ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) รายใหญ่ ก่อนที่เอ็นวิเดียจะเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสในสัปดาห์หน้า โดยหุ้นเอ็นวิเดียพุ่งขึ้นราว 2.5% ในวันพุธ และส่งผลให้มูลค่าตามราคาตลาดของเอ็นวิเดียทะยานขึ้นมาอยู่ที่ 1.825 ล้านล้านดอลลาร์ และส่งผลให้เอ็นวิเดียก้าวขึ้นมาครองตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 3 ในตลาดหุ้นสหรัฐ โดยแทนที่บริษัทแอลฟาเบท ในขณะที่หุ้นแอลฟาเบทปรับขึ้น 0.55% ในวันพุธ ซึ่งส่งผลให้แอลฟาเบทมีมูลค่าตามราคาตลาดอยู่ที่ 1.821 ล้านล้านดอลลาร์ ทางด้านหุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์พุ่งขึ้น 2.86% ในวันพุธ ส่วนหุ้นเทสลาทะยานขึ้น 2.55% ในวันพุธ และหุ้นสองตัวนี้ก็มีส่วนช่วยหนุนดัชนี S&P 500 ขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ตลาดหุ้นก็ได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทลิฟท์และบริษัทอูเบอร์ ซึ่งเป็นสองบริษัทผู้ให้บริการเรียกรถด้วย โดยหุ้นลิฟท์พุ่งขึ้น 35% หลังจากลิฟท์เปิดเผยผลกำไรที่สูงเกินคาด และประกาศว่าลิฟท์จะมีตัวเลขกระแสเงินสดอิสระเป็นบวกได้เป็นครั้งแรกในปี 2024 ส่วนหุ้นอูเบอร์พุ่งขึ้น 14.7% สู่สถิติสูงสุดใหม่ โดยได้รับแรงหนุนจากแผนซื้อคืนหุ้นขนาด 7 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น มีอยู่ 9 กลุ่มใหญ่ที่ปิดตลาดวันพุธในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมพุ่งขึ้น 1.67% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารทะยานขึ้น 1.42% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากเป็นอันดับสอง ทางด้านดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐทะยานขึ้น 2.4% ในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทซูเปอร์ ไมโคร คอมพิวเตอร์ที่ทะยานขึ้นกว่า 11% โดยบริษัทแห่งนี้ทำธุรกิจขายอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.40% สู่ 38,424.27
ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 0.96% สู่ 5,000.62
ดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 1.30% สู่ 15,859.15
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันพุธ ในขณะที่มีความกังวลกันว่าอุปสงค์น้ำมันในสหรัฐอาจจะลดลงในอนาคต หลังจากนายไมค์ เทอร์เนอร์ ประธานคณะกรรมาธิการข่าวกรองประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐออกแถลงการณ์ในวันพุธเพื่อเตือนว่า "มีภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ" แต่เขาไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องนี้ และสิ่งนี้ก็สร้างความกังวลต่อนักลงทุนบางราย ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากตัวเลขสต็อกน้ำมันด้วย โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 12.0 ล้านบาร์เรล สู่ 439.5 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 ก.พ. ถึงแม้โพลล์รอยเตอร์คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจปรับขึ้นเพียง 2.6 ล้านบาร์เรล โดย EIA ระบุอีกด้วยว่า ปริมาณการนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นในโรงกลั่นสหรัฐดิ่งลง 298,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ 14.54 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ล่าสุด และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันรูดลง 1.8% สู่ 80.6% ในสัปดาห์ล่าสุด ซึ่งต่างก็ถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2022 ซึ่งเป็นเดือนที่โรงกลั่นน้ำมันหลายแห่งในสหรัฐปิดทำการเพราะพายุฤดูหนาวเอลเลียต Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.รูดลง 1.23 ดอลลาร์ หรือ 1.6% มาปิดตลาดที่ 76.64 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.17 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 81.60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับขึ้น 0.26 ดอลลาร์ สู่ 1,992.39 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากดิ่งลงแตะ 1,984.09 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. หรือจุดต่ำสุดรอบ 2 เดือน โดยราคาทองยังคงได้รับแรงกดดันจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนม.ค.ที่แข็งแกร่งเกินคาดในสหรัฐ เพราะตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อย่างไรก็ดี ราคาพัลลาเดียมพุ่งขึ้นกว่า 8% ในวันพุธ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--13 ก.พ.--รอยเตอร์
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันอังคาร และรอดูตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี เพื่อจะได้ใช้ตัวเลขดังกล่าวในการประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อใด ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไปของสหรัฐอาจปรับขึ้น 2.9% ในเดือนม.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยชะลอตัวลงจาก +3.4% ในเดือนธ.ค. และคาดว่าดัชนี CPI พื้นฐานของสหรัฐอาจปรับขึ้น 3.7% ในเดือนม.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยชะลอตัวลงจาก +3.9% ในเดือนธ.ค. โดยรายงานตัวเลขนี้อาจจะช่วยให้เฟดมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐจะชะลอตัวลงเข้าใกล้ระดับเป้าหมายที่ 2% ทางด้านนายอาโม ซาโฮทา จากบริษัทแคลริที เอฟเอ็กซ์กล่าวว่า "ในทางจิตวิทยานั้น การที่ดัชนี CPI ทั่วไปชะลอตัวลงสู่ 2.9% จะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นของนักลงทุน" Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.15 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยขยับขึ้น จาก 104.10 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 149.34 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยขยับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 149.30 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0771 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0782 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ หลังจากยูโรพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 10 วันที่ 1.0805 ดอลลาร์ในระหว่างวัน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นเล็กน้อยในวันจันทร์ แต่ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ปิดปรับลงในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐหลายตัวในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนม.ค.ที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันอังคาร, ยอดค้าปลีกที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันศุกร์ และนักลงทุนจะจับตาดูตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐของมหาวิทยาลัยมิชิแกนที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ด้วย โดยนักลงทุนจะใช้ตัวเลข CPI และ PPI ในการประเมินแนวโน้มในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาสเพียง 52.2% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25% ในการประชุมวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. โดยโอกาสดังกล่าวปรับลดลงจากโอกาสสูงกว่า 95% ที่เคยคาดการณ์ไว้ในช่วงต้นปี 2024 ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานถือเป็นหุ้นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันจันทร์ในบรรดาดัชนีหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐ โดยดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทไดมอนด์แบค เอ็นเนอร์จีที่ทะยานขึ้น 9.4% หลังจากไดมอนด์แบคประกาศว่าทางบริษัทได้ทำข้อตกลงขนาด 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อเข้าซื้อบริษัทเอ็นเดียเวอร์ เอ็นเนอร์จี พาร์ทเนอร์ส ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในแอ่งเพอร์เมียนในสหรัฐ ทางด้านดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.9% ในวันจันทร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.33% สู่ 38,797.38
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.09% สู่ 5,021.84 ในวันจันทร์ หลังจากดัชนีเพิ่งทำสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ที่ 5,026.61 ได้ในวันศุกร์ที่ 9 ก.พ.
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.30% สู่ 15,942.54 ในวันจันทร์ แต่ดัชนียังคงอยู่ใกล้เคียงกับสถิติระดับปิดสูงสุดที่ 16,057.44 ที่เคยทำไว้ในเดือนพ.ย. 2021 และใกล้เคียงกับสถิติสูงสุดที่ 16,212.229
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปิดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันจันทร์ แต่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปิดขยับลงเล็กน้อย ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับอัตราดอกเบี้ยและอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลก และปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันชะลอตัวลงในวันจันทร์ หลังจากราคาน้ำมันดิบเบรนท์เพิ่งพุ่งขึ้นราว 6% ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง, จากการที่ยูเครนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของรัสเซีย และจากการที่โรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐปิดซ่อมบำรุงในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่า อุปสงค์น้ำมันจะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดภายในปี 2030 และการคาดการณ์ดังกล่าวก็ถือเป็นเหตุผลสนับสนุนให้ลดการลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมัน อย่างไรก็ดี กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) คาดว่า ปริมาณการใช้น้ำมันจะยังคงปรับขึ้นต่อไปในช่วง 20 ปีข้างหน้า ส่วนนายแพทริค ปูยานน์ ซีอีโอของบริษัทโทเทลเอ็นเนอร์จีส์ของฝรั่งเศสคาดว่า อุปสงค์น้ำมันจะยังไม่แตะจุดสูงสุด และเขากล่าวเสริมว่า "เราควรจะยุติการหารือกันเรื่องจุดสูงสุดของอุปสงค์น้ำมัน และเราควรจะลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมัน" Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.ปรับขึ้น 8 เซนต์ หรือ 0.1% มาปิดตลาดที่ 76.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 ม.ค. และถือเป็นการปิดตลาดในแดนบวกเป็นวันที่ 6 ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2023
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 19 เซนต์ หรือ 0.2% มาปิดตลาดที่ 82.00 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับลง 4.37 ดอลลาร์ สู่ 2,019.79 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนม.ค.ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันอังคาร และรอฟังถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อย่างน้อย 7 คนในสัปดาห์นี้ เพื่อใช้ในการประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด ทั้งนี้ นายบาร์ท เมเลค หัวหน้าฝ่ายแผนยุทธศาสตร์การลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ของบล.ทีดีระบุว่า ในขณะที่กำหนดเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดยังไม่เป็นที่แน่นอนนั้น อุปสงค์ที่แข็งแกร่งในทองจริงและคำสั่งซื้อทองจากภาครัฐบาลก็มีแนวโน้มที่จะช่วยหนุนราคาทองให้พุ่งขึ้นสู่ระดับเฉลี่ยที่ 2,200 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในไตรมาส 2/2024 Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--31 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโรแต่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยนในวันอังคาร ในขณะที่ดอลลาร์ขาดทิศทางที่ชัดเจนก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเปิดเผยผลการประชุมกำหนดนโยบายออกมาในวันพุธนี้ โดยนักลงทุนคาดการณ์กันว่า เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในวันพุธนี้ และนักลงทุนจะมุ่งความสนใจไปยังประเด็นที่ว่า นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดจะส่งสัญญาณบ่งชี้ใด ๆ หรือไม่ว่า มีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐในช่วงนี้ส่งผลให้เทรดเดอร์คาดการณ์กันว่า มีโอกาสเพียง 42% ที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาสราว 89% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อน Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.39 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจาก 103.46 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.60 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 147.49 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0840 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยปรับขึ้นจาก 1.0833 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันอังคาร แต่ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลงเล็กน้อย และดัชนี Nasdaq ร่วงลงในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะได้รับการประกาศออกมาในวันพุธนี้ และรอดูผลประกอบการของบริษัทสำคัญหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงบริษัทแอลฟาเบทกับไมโครซอฟท์ที่เปิดเผยผลประกอบการออกมาหลังจากตลาดปิดทำการในวันอังคาร และบริษัทโบอิ้งที่จะเปิดเผยผลประกอบการออกมาในช่วงเช้าวันพุธ โดยหุ้นโบอิ้งดิ่งลง 2.3% ในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนจับตาดูผลกระทบที่โบอิ้งอาจได้รับจากอุบัติเหตุทางการบินที่เกิดขึ้นในวันที่ 5 ม.ค. โดยในตอนนี้มีบริษัท 144 แห่งในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสสี่ออกมาแล้ว และบริษัท 78% ในกลุ่มนี้เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ทางด้านนักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรไตรมาสสี่ของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจปรับขึ้น 5.5% เมื่อเทียบรายปี โดยตัวเลขคาดการณ์ใหม่นี้ปรับขึ้นจาก +4.7% ที่เคยคาดไว้ในช่วงต้นเดือนม.ค. ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 6 กลุ่มใหญ่ปิดตลาดวันอังคารในแดนบวก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มการเงินที่พุ่งขึ้น 1.2% และหุ้นกลุ่มพลังงานที่ทะยานขึ้น 1.01% ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.1% โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นซิตี้กรุ๊ปที่ทะยานขึ้น 5.51% และหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกาที่พุ่งขึ้น 3.31% หลังจากมอร์แกน สแตนเลย์ปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นซิตี้กรุ๊ปสู่ "overweight" จาก "underweight" และปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกาสู่ "overweight" จาก "equal-weight" อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มที่มักได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจปรับตัวอย่างอ่อนแอในวันอังคาร ซึ่งรวมถึงดัชนีหุ้นกลุ่มการขนส่ง, ดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ที่ดิ่งลง 1.56% และดัชนีหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐที่ร่วงลง 0.76% ในวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.35% สู่ 38,467.31
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.06% สู่ 4,924.97 หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ได้ในระหว่างวัน
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.76% สู่ 15,509.90
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐระบุในวันอังคารว่า เขาได้ตัดสินใจแล้วว่าจะให้สหรัฐตอบโต้อย่างไรต่อการที่กลุ่มนักรบที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในจอร์แดนจนส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และเขาพิจารณาเรื่องวิธีการลงโทษนักรบกลุ่มนี้โดยที่จะไม่ส่งผลให้สงครามขยายวงกว้างออกไป นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบก็ได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกด้วย โดยไอเอ็มเอฟคาดว่า เศรษฐกิจโลกอาจเติบโต 3.1% ในปี 2024 โดยปรับขึ้น 0.2% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมในเดือนต.ค. และคาดว่าเศรษฐกิจโลกอาจเติบโต 3.2% ในปี 2025 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มว่าอาจจะอยู่ที่ 5.8% ในปี 2024 และอาจจะอยู่ที่ 4.4% ในปี 2025 ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ม.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.5 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.1 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 1.04 ดอลลาร์ หรือ 1.35% มาปิดตลาดที่ 77.82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 47 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 82.87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่สัญญาเดือนมี.ค.จะครบกำหนดส่งมอบในวันพุธนี้ ส่วนราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนเม.ย.ปรับขึ้น 67 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 82.50 ดอลลาร์ในวันอังคาร
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 4.37 ดอลลาร์ สู่ 2,036.12 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 2,048.12 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. หรือจุดสูงสุดรอบสองสัปดาห์ โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ และจากการปรับลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะได้รับการประกาศออกมาในวันพุธนี้ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับลงจาก 4.091% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.057% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะ 4.034% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ โดยการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่งผลบวกต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--30 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 30-31 ม.ค. แต่เฟดจะคัดค้านการคาดการณ์ในตลาดที่ว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ทางด้านเทรดเดอร์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาสเพียง 48% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 89% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อน หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในระยะนี้แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ยูโรได้รับแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปที่อยู่ในภาวะอ่อนแอกว่าสหรัฐ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.46 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 103.47 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 103.82 ในระหว่างวัน ซึ่งเท่ากับจุดสูงสุดของสัปดาห์ที่แล้ว และถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.49 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 148.16 เยน อย่างไรก็ดี ดอลลาร์/เยนมีแนวโน้มที่จะปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการพุ่งขึ้นราว 4.5% จากเดือนธ.ค. ในขณะที่เทรดเดอร์ปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ)
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0833 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0852 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.07955 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค., รอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัว และรอดูผลประกอบการของบริษัทสำคัญหลายแห่งของสหรัฐที่จะได้รับการประกาศออกมาในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทแอลฟาเบท, ไมโครซอฟท์ และเจเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันอังคาร, บริษัทควอลคอมม์ ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพุธ, บริษัทโบอิ้ง, แอปเปิล, อะเมซอนดอทคอม และเมตา แพลตฟอร์มส์ ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพฤหัสบดี และบริษัทเอ็กซอน โมบิล กับเชฟรอน ซึ่งถือเป็นสองบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันศุกร์ ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจที่นักลงทุนจับตาดูในสัปดาห์นี้รวมถึง ผลสำรวจตำแหน่งงานว่างและการเข้า-ออกงาน (JOLTS), ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐที่จัดทำโดยบริษัท ADP, ต้นทุนการจ้างงานประจำไตรมาสสี่, ประสิทธิภาพการผลิต, ยอดการประกาศปลดพนักงานออก, ตัวเลขราคาบ้านสหรัฐที่จัดทำโดยบริษัทเคส-ชิลเลอร์, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่จัดทำโดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ค่าใช้จ่ายภาคก่อสร้าง, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนม.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 2 ก.พ. ทั้งนี้ หุ้น 10 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันจันทร์ในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยพุ่งขึ้น 1.37% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันจันทร์ ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ทะยานขึ้น 0.97% และถือเป็นกลุ่มที่ปรับขึ้นมากเป็นอันดับสอง ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานถือเป็นหุ้นกลุ่มเดียวที่ปิดตลาดวันจันทร์ในแดนลบ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.59% สู่ 38,333.45
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.76% สู่ 4,927.93 ซึ่งถือเป็นสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ โดยดัชนีพุ่งขึ้นมาแล้ว 3.3% จากช่วงต้นเดือนนี้ และปัจจัยดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้บริษัทแบล็คร็อคปรับขึ้นมุมมองที่มีต่อหุ้นสหรัฐโดยรวมสู่ "overweight" จาก "neutral"
ดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.12% สู่ 15,628.04
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันจันทร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องอุปสงค์น้ำมันในจีนท่ามกลางวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หลังจากมีข่าวว่าศาลฮ่องกงออกคำสั่งให้บริษัทไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของจีนขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นในช่วงแรกโดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง หลังจากมีการใช้ขีปนาวุธโจมตีเรือขนส่งเชื้อเพลิงลำหนึ่งในทะเลแดง และมีการใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดน ซึ่งส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และส่งผลให้มีทหารได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 34 นาย อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิ่งลงในเวลาต่อมา ในขณะที่นักลงทุนมองว่าอุปทานน้ำมันยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.รูดลง 1.23 ดอลลาร์ หรือ 1.6% มาปิดตลาดที่ 76.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.15 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 82.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 84.80 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย. หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 13.41
ดอลลาร์ สู่ 2,031.75 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค.ด้วย ทั้งนี้ มีการใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดน ซึ่งส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และส่งผลให้มีทหารได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 34 นาย ทางด้านประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐระบุในวันอาทิตย์ว่า กลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์โจมตีในครั้งนี้ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นการโจมตีครั้งแรกที่ส่งผลให้ทหารสหรัฐเสียชีวิต นับตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในเดือนต.ค. 2023 เป็นต้นมา Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน