ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
รายงานดัชนีเงินปันผลทั่วโลกจากเจนัส เฮนเดอร์สันพบว่า การจ่ายปันผลบริษัทเอกชนทั่วโลกพุ่งทำสถิติสูงสุดตลอดกาลที่ 1.66 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2023 โดยการจ่ายปันผลสูงเป็นประวัติการณ์ของภาคธนาคารมีสัดส่วนครึ่งหนึ่งของอัตราการเพิ่มขึ้น และบริษัทจดทะเบียนจำนวน 86% ทั่วโลกได้เพิ่มปันผล หรือคงจ่ายปันผลไว้
บริษัทที่จ่ายปันผลมากที่สุดในโลกในปีที่แล้วได้แก่ไมโครซอฟท์ ตามมาด้วยแอปเปิล และเอ็กซอน โมบิล ขณะที่มูลค่ารวมของปันผลของภาคเอกชนพุ่งขึ้นจาก 1.57 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2022 โดยอัตราการขยายตัวพื้นฐาน ซึ่งรวมการเคลื่อนไหวของค่าเงิน, เงินปันผลพิเศษ, การเปลี่ยนแปลงของเวลา และการเปลี่ยนแปลงของดัชนีอยู่ที่ 5% จากปี 2022
อัตราดอกเบี้ยสูงหนนุกำไรขั้นต้นของภาคธนาคารเพิ่มขึ้น และธนาคารได้จ่ายปันผลสูงเป็นประวัติการณ์ 2.20 แสนล้านดอลลาร์ให้แก่ผู้ถือหุ้นในปีที่แล้ว พุ่งขึ้น 15% จากปี 2022 และยังคงดีดตัวขึ้นหลังจากที่ธนาคารระงับการจ่ายปันผลในช่วงโรคระบาด อย่างไรก็ดี กลุ่มเหมืองได้ลดการจ่ายปันผลลง เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ร่วงลงกระทบกำไรจากการทำเหมือง
ในด้านภูมิศาสตร์นั้น ยุโรป (ยกเว้นอังกฤษ) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจ่ายปันผลเพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วน 2 ใน 5 ของการเพิ่มขึ้นทั่วโลก ขณะที่การจ่ายปันผลเพิ่มขึ้น 10.4% สู่ระดับ 3.007 แสนล้านดอลลาร์ และญี่ปุ่นก็มีส่วนสนับสนุนอย่างมากเช่นกัน แต่ก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากเยนที่อ่อนค่า ส่วนสหรัฐมีส่วนสนับสนุนการเพิ่มการจ่ายปันผลทั่วโลกมากที่สุดเนื่องจากขนาด โดยมีอัตราเพิ่มขึ้น 5.1% ซึ่งสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก
เจนัส เฮนเดอร์สันยังคาดว่า การจ่ายปันผลจะเพิ่มขึ้นอีก 5% ทำสถิติสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ที่ 1.72 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้--จบ--
Eikon source text
กรุงเทพฯ--28 ก.พ.--รอยเตอร์
ดอลลาร์/เยนอ่อนค่าลงในวันอังคาร หลังจากญี่ปุ่นรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของผู้บริโภคที่สูงเกินคาด และสหรัฐรายงานตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนที่ดิ่งลงอย่างรุนแรงเกินคาดในเดือนม.ค. ทั้งนี้ สำนักงานสำมะโนประชากรในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ซึ่งครอบคลุมสินค้าที่สามารถใช้งานได้นานไม่ต่ำกว่า 3 ปี ดิ่งลง 6.1% ในเดือนม.ค. ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนอาจร่วงลงเพียง 4.5% ในเดือนม.ค. Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.84 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 103.77 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 150.50 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยปรับลงจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 150.69 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0844 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยขยับลงจาก 1.0847 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ แต่ยังคงอยู่ห่างจากจุดต่ำสุดรอบ 3 เดือนที่ 1.0693 ดอลลาร์ที่ทำไว้ในวันที่ 14 ก.พ.
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงเล็กน้อยในวันอังคาร แต่ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวในสัปดาห์นี้เพื่อใช้ในการประเมินว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อใด โดยตัวเลขที่นักลงทุนรอดูรวมถึงดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนม.ค.ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี เพราะเฟดมักจะใช้ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อ และนักลงทุนรอดูตัวเลขยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก, กิจกรรมภาคโรงงาน และผลการประเมินครั้งที่สองสำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐด้วย โดยในตอนนี้นักลงทุนคาดว่า มีโอกาส 59.1% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25% ก่อนสิ้นเดือนมิ.ย. โดยปรับลดลงจากโอกาสเกือบ 100% ที่เคยคาดไว้ในช่วงสิ้นเดือนม.ค. ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงหนุนเข้ามาบ้างจากหุ้นบริษัทแอปเปิลที่ปิดบวกขึ้น 0.81% หลังจากสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า แอปเปิลยกเลิกการทำงานด้านรถยนต์ไฟฟ้า และโยกย้ายพนักงานบางรายให้ไปทำงานในโครงการด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างไรก็ดี หุ้นบริษัทยูไนเต็ดเฮลธ์ กรุ๊ป ที่ทำธุรกิจประกันสุขภาพดิ่งลง 2.27% และถือเป็นหุ้นที่ถ่วงดัชนีดาวโจนส์ลงมากที่สุดในวันอังคาร หลังจากหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล (WSJ) รายงานว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้เริ่มการสอบสวนบริษัทแห่งนี้ในคดีต่อต้านการผูกขาด Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.25% สู่ 38,972.41
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 0.17% สู่ 5,078.18
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.37% สู่ 16,035.30
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันอังคาร ในขณะที่แหล่งข่าวกล่าวว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) กำลังพิจารณาเรื่องการต่ออายุมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจสำหรับช่วงไตรมาส 2 เพื่อให้มาตรการดังกล่าวช่วยหนุนราคาน้ำมัน และกลุ่มโอเปกพลัสอาจจะดำเนินมาตรการนี้ต่อไปอีกจนถึงช่วงสิ้นปีนี้ด้วย โดยก่อนหน้านี้กลุ่มโอเปกพลัสเคยตกลงกันในเดือนพ.ย. 2023 ว่า ทางกลุ่มจะดำเนินมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจในอัตรา 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวันในไตรมาสแรกของปี 2024 นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากข่าวที่ว่า อิสราเอล, กลุ่มฮามาส และคณะผู้ไกล่เกลี่ยของกาตาร์ต่างก็แสดงความเห็นในเชิงระมัดระวังต่อความคืบหน้าในการเจรจาต่อรองเรื่องการหยุดยิงในเขตกาซา โดยกลุ่มฮามาสกำลังพิจารณาข้อเสนอสำหรับการหยุดยิงเป็นเวลา 40 วันในตอนนี้ แต่ข้อเสนอดังกล่าวยังไม่ได้สอดคล้องกับข้อเรียกร้องหลักของกลุ่มฮามาสที่ต้องการแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการยุติสงครามอย่างเป็นการถาวรและการถอนกำลังของอิสราเอล ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 ก.พ. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 8.43 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐดิ่งลง 3.27 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐปรับลง 523,000 บาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนเม.ย.ทะยานขึ้น 1.29 ดอลลาร์ หรือ 1.7% มาปิดตลาดที่ 78.87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 1.12 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 83.65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับลง 1.05 ดอลลาร์ สู่ 2,029.64 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐานของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มักจะใช้ดัชนี PCE พื้นฐานเป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อ และนักลงทุนก็จะใช้ตัวเลขนี้ในการประเมินว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอฟังถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดอย่างน้อย 10 คนที่มีกำหนดจะกล่าวอภิปรายในสัปดาห์นี้ด้วย ทั้งนี้ นายฟิลลิป สเตรเบิล หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบริษัทบลู ไลน์ ฟิวเจอร์สกล่าวว่า "ถ้าหากสหรัฐรายงานตัวเลขเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นเล็กน้อย ตัวเลขดังกล่าวก็จะกดดันราคาทอง แต่ราคาทองได้รับแรงหนุนเป็นอย่างดีที่ระดับ 2,000 ดอลลาร์ในช่วงนี้ โดยเป็นผลจากคำสั่งซื้อของธนาคารกลาง และก็ไม่มีแนวโน้มว่าเจ้าหน้าที่เฟดจะปรับเปลี่ยนจุดยืนของตนเองจนกว่าจะมีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจออกมามากกว่านี้" และเขากล่าวเสริมว่า "ราคาทองจะพุ่งสูงในไตรมาส 4 เมื่อเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
15 ก.พ.--รอยเตอร์
บริษัทเบิร์คเชียร์ แฮทธาเวย์ได้ยื่นหนังสือตามกฎระเบียบเพื่อชี้แจงเรื่องการถือครองหุ้นบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐในช่วงสิ้นปี 2023 โดยเบิร์คเชียร์ระบุว่า ทางบริษัทได้ขายหุ้นบริษัทแอปเปิลเป็นจำนวน 10 ล้านหุ้นในไตรมาส 4/2023 แต่เบิร์คเชียร์ยังคงถือครองหุ้นแอปเปิลเป็นจำนวนสูงกว่า 905 ล้านหุ้น ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมกันได้ราว 1.74 แสนล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่า การเทขายหุ้นแอปเปิลในครั้งนี้ดำเนินการโดยนายวอร์เรน บัฟเฟตต์ ซีอีโอของเบิร์คเชียร์หรือไม่ เพราะว่านายท็อดด์ คอมบ์ และนายเท็ด เวชเลอร์ ผู้จัดการพอร์ตลงทุนของนายบัฟเฟตต์ก็อาจเป็นผู้ที่ดำเนินการเทขายหุ้นในครั้งนี้ได้ด้วยเช่นกัน
เบิร์คเชียร์รายงานว่า ทางบริษัทได้ยุติการลงทุนในบริษัท 4 แห่ง โดยเบิร์คเชียร์ไม่ได้ถือครองหุ้นบริษัทดีอาร์ นอร์ทัน ซึ่งทำธุรกิจก่อสร้างบ้าน, หุ้นบริษัทโกลบ ไลฟ์ ซึ่งทำธุรกิจประกัน, หุ้นบริษัทมาร์เคล ซึ่งทำธุรกิจการลงทุนและประกัน และหุ้นบริษัทสโตนโค ซึ่งเป็นผู้ประมวลผลบัตรเครดิตของบราซิลอีกต่อไป หลังจากที่เบิร์คเชียร์เคยถือครองหุ้น 4 บริษัทนี้เป็นมูลค่าสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนก.ย. 2023 ทั้งนี้ เบิร์คเชียร์เปิดเผยว่า ทางบริษัทได้เพิ่มการถือครองหุ้นในเชฟรอน ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ของสหรัฐ แต่ปรับลดการถือครองหุ้นในบริษัท HP ซึ่งเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ และปรับลดการถือครองหุ้นในบริษัทพาราเมาท์ โกลบัล ซึ่งทำธุรกิจสื่อ
เบิร์คเชียร์ได้ขออนุญาตจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) ในการปกปิดการถือครองหุ้นบางตัวไว้เป็นความลับด้วย โดยเบิร์คเชียร์มักจะขออนุญาตแบบนี้ในช่วงที่เบิร์คเชียร์กำลังเข้าลงทุนขนาดหลายพันล้านดอลลาร์ในบริษัทขนาดใหญ่บางแห่ง เพื่อเป็นการสกัดกั้นไม่ให้นักลงทุนรายอื่น ๆ ชิงเข้าซื้อหุ้นบริษัทดังกล่าวก่อนที่เบิร์คเชียร์จะเสร็จสิ้นจากการเข้าซื้อหุ้นบริษัทนั้น ทั้งนี้ ในรายงานประจำไตรมาส 3/2023 ที่ออกมาในเดือนพ.ย.ปีที่แล้วนั้น เบิร์คเชียร์ส่งสัญญาณว่า การถือครองหุ้นลับนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับธนาคาร, บริษัทการเงิน หรือบริษัทประกัน เพราะว่าเบิร์คเชียร์ได้ใช้เงิน 1.2 พันล้านดอลลาร์ในการเข้าซื้อหุ้นในกลุ่มนี้ และเบิร์คเชียร์ก็ยังไม่ได้เปิดเผยชื่อบริษัทเป้าหมายในรายงานครั้งนี้
นายบัฟเฟตต์ซึ่งมีอายุ 93 ปีได้บริหารเบิร์คเชียร์นับตั้งแต่ปี 1965 เป็นต้นมา โดยทางบริษัทได้ถือครองธุรกิจหลายสิบแห่งในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงเกโคซึ่งเป็นบริษัทประกันรถยนต์, BNSF ที่ทำธุรกิจทางรถไฟ, บริษัทในกลุ่มพลังงาน, บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม และบริษัทเจ้าของสินค้ายี่ห้อดังอีกหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงเบนจามิน มัวร์ที่ทำธุรกิจสีทาบ้าน, แดรี่ควีน, ดูราเซลล์, ฟรุต ออฟ เดอะ ลูมที่ทำธุรกิจเสื้อผ้า และซีส์ แคนดีส์ที่ทำธุรกิจขนม
บริษัทเบิร์คเชียร์จะเปิดเผยรายละเอียดเรื่องการลงทุนและธุรกิจของตนเอง เมื่อทางบริษัทเปิดเผยรายงานประจำปีและจดหมายประจำปีของนายบัฟเฟตต์ที่ส่งถึงผู้ถือหุ้นในวันที่ 24 ก.พ.--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--15 ก.พ.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับลงในวันพุธหลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 3 เดือนในระหว่างวัน โดยก่อนหน้านี้ดอลลาร์เพิ่งพุ่งขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนม.ค.ของสหรัฐที่อยู่ในระดับแข็งแกร่งเกินคาด เพราะตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) ในกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 3.1% ในเดือนม.ค. หลังจากพุ่งขึ้น 3.4% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายปี และออกห่างจากจุดสูงสุดของวัฏจักรที่ 9.1% ที่เคยทำไว้ในเดือนมิ.ย. 2022 แต่ตัวเลขดังกล่าวอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +2.9% สำหรับเดือนม.ค. ทางด้านนักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้า fed funds คาดการณ์ในตอนนี้ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. และคาดว่ามีโอกาสสูงเกือบถึง 80% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. โดยนักลงทุนคาดการณ์กันอีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปีนี้ หลังจากที่เคยคาดการณ์เมื่อสองสัปดาห์ก่อนว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 5 ครั้งในปีนี้ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.68 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 104.86 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากปรับขึ้นแตะ 104.97 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 3 เดือน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 150.55 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยปรับลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 150.79 เยน หลังจากดอลลาร์เพิ่งทะยานขึ้นแตะ 150.88 เยนในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. หรือจุดสูงสุดรอบ 3 เดือน โดยดอลลาร์/เยนพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 6% จากช่วงต้นปีนี้ หรือทะยานขึ้นมาแล้วราว 10 เยนจากช่วงต้นปีนี้
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0725 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0709 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0693 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 3 เดือน
ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากการทะยานขึ้นของหุ้นบริษัทสำคัญหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงหุ้นเอ็นวิเดีย ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) รายใหญ่ ก่อนที่เอ็นวิเดียจะเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสในสัปดาห์หน้า โดยหุ้นเอ็นวิเดียพุ่งขึ้นราว 2.5% ในวันพุธ และส่งผลให้มูลค่าตามราคาตลาดของเอ็นวิเดียทะยานขึ้นมาอยู่ที่ 1.825 ล้านล้านดอลลาร์ และส่งผลให้เอ็นวิเดียก้าวขึ้นมาครองตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 3 ในตลาดหุ้นสหรัฐ โดยแทนที่บริษัทแอลฟาเบท ในขณะที่หุ้นแอลฟาเบทปรับขึ้น 0.55% ในวันพุธ ซึ่งส่งผลให้แอลฟาเบทมีมูลค่าตามราคาตลาดอยู่ที่ 1.821 ล้านล้านดอลลาร์ ทางด้านหุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์พุ่งขึ้น 2.86% ในวันพุธ ส่วนหุ้นเทสลาทะยานขึ้น 2.55% ในวันพุธ และหุ้นสองตัวนี้ก็มีส่วนช่วยหนุนดัชนี S&P 500 ขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ตลาดหุ้นก็ได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทลิฟท์และบริษัทอูเบอร์ ซึ่งเป็นสองบริษัทผู้ให้บริการเรียกรถด้วย โดยหุ้นลิฟท์พุ่งขึ้น 35% หลังจากลิฟท์เปิดเผยผลกำไรที่สูงเกินคาด และประกาศว่าลิฟท์จะมีตัวเลขกระแสเงินสดอิสระเป็นบวกได้เป็นครั้งแรกในปี 2024 ส่วนหุ้นอูเบอร์พุ่งขึ้น 14.7% สู่สถิติสูงสุดใหม่ โดยได้รับแรงหนุนจากแผนซื้อคืนหุ้นขนาด 7 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น มีอยู่ 9 กลุ่มใหญ่ที่ปิดตลาดวันพุธในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมพุ่งขึ้น 1.67% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารทะยานขึ้น 1.42% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากเป็นอันดับสอง ทางด้านดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐทะยานขึ้น 2.4% ในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทซูเปอร์ ไมโคร คอมพิวเตอร์ที่ทะยานขึ้นกว่า 11% โดยบริษัทแห่งนี้ทำธุรกิจขายอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.40% สู่ 38,424.27
ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 0.96% สู่ 5,000.62
ดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 1.30% สู่ 15,859.15
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันพุธ ในขณะที่มีความกังวลกันว่าอุปสงค์น้ำมันในสหรัฐอาจจะลดลงในอนาคต หลังจากนายไมค์ เทอร์เนอร์ ประธานคณะกรรมาธิการข่าวกรองประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐออกแถลงการณ์ในวันพุธเพื่อเตือนว่า "มีภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ" แต่เขาไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องนี้ และสิ่งนี้ก็สร้างความกังวลต่อนักลงทุนบางราย ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากตัวเลขสต็อกน้ำมันด้วย โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 12.0 ล้านบาร์เรล สู่ 439.5 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 ก.พ. ถึงแม้โพลล์รอยเตอร์คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจปรับขึ้นเพียง 2.6 ล้านบาร์เรล โดย EIA ระบุอีกด้วยว่า ปริมาณการนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นในโรงกลั่นสหรัฐดิ่งลง 298,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ 14.54 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ล่าสุด และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันรูดลง 1.8% สู่ 80.6% ในสัปดาห์ล่าสุด ซึ่งต่างก็ถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2022 ซึ่งเป็นเดือนที่โรงกลั่นน้ำมันหลายแห่งในสหรัฐปิดทำการเพราะพายุฤดูหนาวเอลเลียต Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.รูดลง 1.23 ดอลลาร์ หรือ 1.6% มาปิดตลาดที่ 76.64 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.17 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 81.60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับขึ้น 0.26 ดอลลาร์ สู่ 1,992.39 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากดิ่งลงแตะ 1,984.09 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. หรือจุดต่ำสุดรอบ 2 เดือน โดยราคาทองยังคงได้รับแรงกดดันจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนม.ค.ที่แข็งแกร่งเกินคาดในสหรัฐ เพราะตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อย่างไรก็ดี ราคาพัลลาเดียมพุ่งขึ้นกว่า 8% ในวันพุธ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--1 ก.พ.--รอยเตอร์
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร แต่ร่วงลงเมื่อเทียบกับเยนในวันพุธ หลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.ไม่ใช่สถานการณ์พื้นฐาน (หรือสถานการณ์ที่มีแนวโน้มสูงสุด) ที่เฟดคาดว่าจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ เฟดก็คาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในแบบที่เป็นกลาง และไม่ได้ส่งสัญญาณแบบสายพิราบมากเท่ากับที่นักลงทุนหลายรายได้คาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ เฟดประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 30-31 ม.ค. และเฟดได้ตัดทิ้งถ้อยคำที่บ่งชี้ว่า เฟดมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตออกจากแถลงการณ์ อย่างไรก็ดี เฟดไม่ได้ส่งสัญญาณบ่งชี้แต่อย่างใดว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ทางด้านนายพาวเวลล์กล่าวในงานแถลงข่าวว่า เฟดจำเป็นจะต้องได้เห็นตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าพึงพอใจมากกว่านี้ ก่อนที่เฟดจะมั่นใจได้ว่าถึงเวลาแล้วที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยเขากล่าวเสริมว่า "เรามีความมั่นใจก็จริง แต่เราต้องการจะมีความมั่นใจมากกว่านี้" ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงนั้นเป็นตัวเลขที่ส่ง "สัญญาณที่ถูกต้อง" Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.61 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 103.39 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการพุ่งขึ้น 2.21% จากเดือนก.พ. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 146.88 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 147.60 เยน โดยดอลลาร์/เยนปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการพุ่งขึ้น 4.13% จากเดือนธ.ค. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2023
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0816 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0840 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0795 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. โดยยูโรปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการดิ่งลง 1.99% จากเดือนธ.ค. ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2023
ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงในวันพุธ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 30-31 ม.ค. ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเศรษฐกิจสหรัฐรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี โดยคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (FOMC) ระบุในแถลงการณ์ว่า FOMC "ไม่คาดว่าการปรับลดกรอบเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยลงจะเป็นสิ่งที่เหมาะสม จนกว่า FOMC จะมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า อัตราเงินเฟ้อจะปรับเข้าใกล้ระดับ 2% ได้อย่างยั่งยืน" และแถลงการณ์ดังกล่าวก็สร้างความผิดหวังให้แก่นักลงทุนบางรายที่เคยตั้งความหวังว่า เฟดอาจจะส่งสัญญาณว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว ทางด้านนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐกล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.ไม่ใช่สถานการณ์พื้นฐาน (หรือสถานการณ์ที่มีแนวโน้มสูงสุด) ที่เฟดคาดว่าจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐก็ได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีด้วย หลังจากบริษัทแอลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล รายงานในวันอังคารว่า ยอดขายโฆษณาอยู่ในระดับที่น่าผิดหวัง และแอลฟาเบทคาดว่าจะปรับเพิ่มรายจ่ายฝ่ายทุนเพื่อจะได้เพิ่มความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของแอลฟาเบท โดยหุ้นกูเกิลดิ่งลง 7.5% ในวันพุธ ทั้งนี้ หุ้นทั้ง 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันพุธในแดนลบ โดยหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารและหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถือเป็นหุ้น 2 กลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุด โดยในตอนนี้มีบริษัท 176 แห่งในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสสี่ออกมาแล้ว และบริษัท 80% ในกลุ่มนี้เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ทางด้านนักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจปรับขึ้น 6.1% ในไตรมาส 4/2023 เมื่อเทียบรายปี โดยตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าวปรับขึ้นจากระดับ +4.7% ที่เคยคาดไว้ในช่วงสิ้นไตรมาสสี่ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 0.82% สู่ 38,150.30 ในวันพุธ แต่สามารถปิดตลาดเดือนม.ค.ในแดนบวก
ดัชนี S&P 500 ปิดดิ่งลง 1.61% สู่ 4,845.65 ในวันพุธ ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายวันครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. 2023 เป็นต้นมา แต่ดัชนีสามารถปิดตลาดเดือนม.ค.ในแดนบวก
ดัชนี Nasdaq ปิดรูดลง 2.23% สู่ 15,164.01 ในวันพุธ แต่ดัชนีสามารถปิดตลาดเดือนม.ค.ในแดนบวก
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันพุธ โดยได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอในจีน ในขณะที่จีนถือเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับภาคการผลิตของจีน อยู่ที่ระดับ 49.2 ในเดือนม.ค. เพิ่มขึ้นจาก 49.0 ในเดือนธ.ค. แต่ยังคงต่ำกว่าระดับ 50 ที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัว และรายงานนี้แสดงให้เห็นว่า ภาคการผลิตของจีนหดตัวลงในเดือนม.ค.เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่พุ่งสูงขึ้นด้วย ในขณะที่บริษัทผู้ผลิตน้ำมันดิบปรับเพิ่มการผลิตหลังจากเผชิญกับภาวะอากาศหนาวจัดในเดือนม.ค. โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล สู่ 421.9 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ม.ค. ซึ่งสวนทางกับโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจลดลง 217,000 บาร์เรล โดย EIA รายงานอีกด้วยว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐพุ่งขึ้น 700,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ 13 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ล่าสุด ในขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในรัฐนอร์ธ ดาโกตาพุ่งขึ้นสู่ระดับใกล้ปกติในสัปดาห์นี้ หลังจากที่รัฐนอร์ธ ดาโกตาเคยปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันลงราว 50% ในช่วงก่อนหน้านี้เพราะภาวะอากาศหนาวจัด ทางด้านอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันในสหรัฐดิ่งลง 2.6% สู่ 82.9% ในสัปดาห์ล่าสุดเพราะสภาพอากาศ นอกจากนี้ EIA ยังรายงานอีกด้วยว่า สต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil ดิ่งลง 2.5 ล้านบาร์เรล สู่ 130.7 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ล่าสุด ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล สู่ 254.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2021 เป็นต้นมา Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.ดิ่งลง 1.97 ดอลลาร์ หรือ 2.5% มาปิดตลาดที่ 75.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 1.16 ดอลลาร์ หรือราว 1.4% มาปิดตลาดที่ 81.71 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันพุธ ในขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนมี.ค.ครบกำหนดส่งมอบในช่วงปิดตลาดวันพุธ ส่วนราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนเม.ย.ดิ่งลง 1.89 ดอลลาร์ หรือราว 2.3% มาปิดตลาดที่ 80.55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 1.07 ดอลลาร์ สู่ 2,037.19 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 2,055.89 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยราคาทองลดช่วงบวกลงจนเกือบหมดในเวลาต่อมา หลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในวันพุธว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.ไม่ใช่สถานการณ์พื้นฐาน (หรือสถานการณ์ที่มีแนวโน้มสูงสุด) ที่เฟดคาดว่าจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ ราคาทองปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการดิ่งลง 1.23% จากเดือนธ.ค. แต่ยังคงทรงตัวเหนือระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 2,000 ดอลลาร์ได้ในเดือนม.ค. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--31 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโรแต่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยนในวันอังคาร ในขณะที่ดอลลาร์ขาดทิศทางที่ชัดเจนก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเปิดเผยผลการประชุมกำหนดนโยบายออกมาในวันพุธนี้ โดยนักลงทุนคาดการณ์กันว่า เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในวันพุธนี้ และนักลงทุนจะมุ่งความสนใจไปยังประเด็นที่ว่า นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดจะส่งสัญญาณบ่งชี้ใด ๆ หรือไม่ว่า มีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐในช่วงนี้ส่งผลให้เทรดเดอร์คาดการณ์กันว่า มีโอกาสเพียง 42% ที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาสราว 89% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อน Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.39 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจาก 103.46 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.60 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 147.49 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0840 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยปรับขึ้นจาก 1.0833 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันอังคาร แต่ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลงเล็กน้อย และดัชนี Nasdaq ร่วงลงในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะได้รับการประกาศออกมาในวันพุธนี้ และรอดูผลประกอบการของบริษัทสำคัญหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงบริษัทแอลฟาเบทกับไมโครซอฟท์ที่เปิดเผยผลประกอบการออกมาหลังจากตลาดปิดทำการในวันอังคาร และบริษัทโบอิ้งที่จะเปิดเผยผลประกอบการออกมาในช่วงเช้าวันพุธ โดยหุ้นโบอิ้งดิ่งลง 2.3% ในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนจับตาดูผลกระทบที่โบอิ้งอาจได้รับจากอุบัติเหตุทางการบินที่เกิดขึ้นในวันที่ 5 ม.ค. โดยในตอนนี้มีบริษัท 144 แห่งในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสสี่ออกมาแล้ว และบริษัท 78% ในกลุ่มนี้เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ทางด้านนักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรไตรมาสสี่ของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจปรับขึ้น 5.5% เมื่อเทียบรายปี โดยตัวเลขคาดการณ์ใหม่นี้ปรับขึ้นจาก +4.7% ที่เคยคาดไว้ในช่วงต้นเดือนม.ค. ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 6 กลุ่มใหญ่ปิดตลาดวันอังคารในแดนบวก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มการเงินที่พุ่งขึ้น 1.2% และหุ้นกลุ่มพลังงานที่ทะยานขึ้น 1.01% ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.1% โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นซิตี้กรุ๊ปที่ทะยานขึ้น 5.51% และหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกาที่พุ่งขึ้น 3.31% หลังจากมอร์แกน สแตนเลย์ปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นซิตี้กรุ๊ปสู่ "overweight" จาก "underweight" และปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกาสู่ "overweight" จาก "equal-weight" อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มที่มักได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจปรับตัวอย่างอ่อนแอในวันอังคาร ซึ่งรวมถึงดัชนีหุ้นกลุ่มการขนส่ง, ดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ที่ดิ่งลง 1.56% และดัชนีหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐที่ร่วงลง 0.76% ในวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.35% สู่ 38,467.31
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.06% สู่ 4,924.97 หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ได้ในระหว่างวัน
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.76% สู่ 15,509.90
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐระบุในวันอังคารว่า เขาได้ตัดสินใจแล้วว่าจะให้สหรัฐตอบโต้อย่างไรต่อการที่กลุ่มนักรบที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในจอร์แดนจนส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และเขาพิจารณาเรื่องวิธีการลงโทษนักรบกลุ่มนี้โดยที่จะไม่ส่งผลให้สงครามขยายวงกว้างออกไป นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบก็ได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกด้วย โดยไอเอ็มเอฟคาดว่า เศรษฐกิจโลกอาจเติบโต 3.1% ในปี 2024 โดยปรับขึ้น 0.2% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมในเดือนต.ค. และคาดว่าเศรษฐกิจโลกอาจเติบโต 3.2% ในปี 2025 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มว่าอาจจะอยู่ที่ 5.8% ในปี 2024 และอาจจะอยู่ที่ 4.4% ในปี 2025 ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ม.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.5 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.1 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 1.04 ดอลลาร์ หรือ 1.35% มาปิดตลาดที่ 77.82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 47 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 82.87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่สัญญาเดือนมี.ค.จะครบกำหนดส่งมอบในวันพุธนี้ ส่วนราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนเม.ย.ปรับขึ้น 67 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 82.50 ดอลลาร์ในวันอังคาร
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 4.37 ดอลลาร์ สู่ 2,036.12 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 2,048.12 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. หรือจุดสูงสุดรอบสองสัปดาห์ โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ และจากการปรับลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะได้รับการประกาศออกมาในวันพุธนี้ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับลงจาก 4.091% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.057% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะ 4.034% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ โดยการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่งผลบวกต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--30 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 30-31 ม.ค. แต่เฟดจะคัดค้านการคาดการณ์ในตลาดที่ว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ทางด้านเทรดเดอร์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาสเพียง 48% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 89% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อน หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในระยะนี้แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ยูโรได้รับแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปที่อยู่ในภาวะอ่อนแอกว่าสหรัฐ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.46 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 103.47 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 103.82 ในระหว่างวัน ซึ่งเท่ากับจุดสูงสุดของสัปดาห์ที่แล้ว และถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.49 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 148.16 เยน อย่างไรก็ดี ดอลลาร์/เยนมีแนวโน้มที่จะปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการพุ่งขึ้นราว 4.5% จากเดือนธ.ค. ในขณะที่เทรดเดอร์ปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ)
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0833 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0852 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.07955 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค., รอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัว และรอดูผลประกอบการของบริษัทสำคัญหลายแห่งของสหรัฐที่จะได้รับการประกาศออกมาในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทแอลฟาเบท, ไมโครซอฟท์ และเจเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันอังคาร, บริษัทควอลคอมม์ ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพุธ, บริษัทโบอิ้ง, แอปเปิล, อะเมซอนดอทคอม และเมตา แพลตฟอร์มส์ ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพฤหัสบดี และบริษัทเอ็กซอน โมบิล กับเชฟรอน ซึ่งถือเป็นสองบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันศุกร์ ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจที่นักลงทุนจับตาดูในสัปดาห์นี้รวมถึง ผลสำรวจตำแหน่งงานว่างและการเข้า-ออกงาน (JOLTS), ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐที่จัดทำโดยบริษัท ADP, ต้นทุนการจ้างงานประจำไตรมาสสี่, ประสิทธิภาพการผลิต, ยอดการประกาศปลดพนักงานออก, ตัวเลขราคาบ้านสหรัฐที่จัดทำโดยบริษัทเคส-ชิลเลอร์, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่จัดทำโดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ค่าใช้จ่ายภาคก่อสร้าง, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนม.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 2 ก.พ. ทั้งนี้ หุ้น 10 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันจันทร์ในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยพุ่งขึ้น 1.37% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันจันทร์ ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ทะยานขึ้น 0.97% และถือเป็นกลุ่มที่ปรับขึ้นมากเป็นอันดับสอง ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานถือเป็นหุ้นกลุ่มเดียวที่ปิดตลาดวันจันทร์ในแดนลบ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.59% สู่ 38,333.45
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.76% สู่ 4,927.93 ซึ่งถือเป็นสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ โดยดัชนีพุ่งขึ้นมาแล้ว 3.3% จากช่วงต้นเดือนนี้ และปัจจัยดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้บริษัทแบล็คร็อคปรับขึ้นมุมมองที่มีต่อหุ้นสหรัฐโดยรวมสู่ "overweight" จาก "neutral"
ดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.12% สู่ 15,628.04
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันจันทร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องอุปสงค์น้ำมันในจีนท่ามกลางวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หลังจากมีข่าวว่าศาลฮ่องกงออกคำสั่งให้บริษัทไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของจีนขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นในช่วงแรกโดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง หลังจากมีการใช้ขีปนาวุธโจมตีเรือขนส่งเชื้อเพลิงลำหนึ่งในทะเลแดง และมีการใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดน ซึ่งส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และส่งผลให้มีทหารได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 34 นาย อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิ่งลงในเวลาต่อมา ในขณะที่นักลงทุนมองว่าอุปทานน้ำมันยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.รูดลง 1.23 ดอลลาร์ หรือ 1.6% มาปิดตลาดที่ 76.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.15 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 82.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 84.80 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย. หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 13.41
ดอลลาร์ สู่ 2,031.75 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค.ด้วย ทั้งนี้ มีการใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดน ซึ่งส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และส่งผลให้มีทหารได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 34 นาย ทางด้านประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐระบุในวันอาทิตย์ว่า กลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์โจมตีในครั้งนี้ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นการโจมตีครั้งแรกที่ส่งผลให้ทหารสหรัฐเสียชีวิต นับตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในเดือนต.ค. 2023 เป็นต้นมา Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน