ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ปักกิ่ง--28 มี.ค.--รอยเตอร์
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนได้ประชุมกับผู้นำธุรกิจสหรัฐราว 20 คนที่มหาศาลาประชาคมที่กรุงปักกิ่งในวันพุธ ในขณะที่รัฐบาลจีนพยายามดึงดูดนักลงทุนต่างชาติและบริษัทต่างชาติให้กลับเข้ามาลงทุนในจีน และบริษัทต่างชาติก็ต้องการให้จีนรับประกันเรื่องผลกระทบจากกฎระเบียบใหม่ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมกับปธน.สีในครั้งนี้รวมถึงนายสตีเฟน ชวาร์ซแมน ซีอีโอของบริษัทแบล็คสโตน, นายราจ สุบรามาเนียม ซีอีโอของเฟดเอ็กซ์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดส่งพัสดุขนาดยักษ์ของสหรัฐ และนายคริสเตียโน อามอน ซีอีโอของควอลคอมม์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิป โดยงานประชุมนี้จัดโดยคณะกรรมการแห่งชาติด้านความสัมพันธ์สหรัฐ-จีน, สภาธุรกิจสหรัฐ-จีน (USCBC) และสถาบันสังคมเอเชีย (Asia Society) โดยการประชุมนี้ใช้เวลาราว 90 นาที
รัฐบาลจีนต้องการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ หลังจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หดตัวลง 8% ในปี 2023 เนื่องจากนักลงทุนกังวลกับกฎหมายต่อต้านการจารกรรมของจีน, กังวลกับมาตรการจีนที่ห้ามผู้บริหารบริษัทต่างชาติเดินทางออกนอกจีน ถ้าหากบริษัทของเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อพิพาท (exit bans) และกังวลกับการบุกตรวจค้นบริษัทที่ปรึกษาและบริษัทตรวจสอบฐานะในจีน ทั้งนี้ ปธน.สีมุ่งความสนใจไปยังการรักษาความมั่นคงของชาติ และปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้บริษัทหลายแห่งกังวลว่าอาจจะทำผิดกฎของจีน ถึงแม้ว่าผู้นำจีนพยายามโน้มน้าวบริษัทต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในจีนก็ตาม
ปธน.สีกล่าวว่า "การพัฒนาของจีนได้ผ่านพ้นความยากลำบากและอุปสรรคมาแล้วทุกประเภท จนกระทั่งจีนได้ก้าวมาอยู่ที่จุดนี้ในปัจจุบัน" และเขากล่าวเสริมว่า "ในอดีตนั้น จีนไม่ได้ล่มสลายลงเพราะ 'ทฤษฎีจีนล่มสลาย' และจีนก็ไม่ได้แตะจุดสูงสุดไปแล้วในตอนนี้เพราะ 'ทฤษฎีจีนแตะจุดสูงสุด'"
USCBC ออกแถลงการณ์ระบุว่า USCBC "กล่าวย้ำถึงความสำคัญของการปรับสมดุลเศรษฐกิจจีน โดยผ่านทางการปรับเพิ่มการบริโภคในจีน และการสนับสนุนให้รัฐบาลจีนแก้ไขปัญหาที่สร้างความกังวลมาเป็นเวลานาน ซึ่งได้แก่ปัญหาด้านการไหลเวียนของข้อมูลข้ามพรมแดน, การจัดซื้อจัดหาของรัฐบาล, สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการปรับปรุงความโปร่งใสและความแน่นอนของกฎระเบียบ"
จีนและสหรัฐเริ่มกลับมาติดต่อกันในช่วงนี้ หลังจากความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้ตกต่ำลงในช่วงที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากความขัดแย้งด้านนโยบายการค้า, อนาคตของไต้หวัน และการอ้างสิทธิในน่านน้ำในทะเลจีนใต้ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ผู้บริหารบริษัทสหรัฐเคยประชุมกับปธน.สีที่ซานฟรานซิสโกในเดือนพ.ย.ปี 2023--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--30 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 30-31 ม.ค. แต่เฟดจะคัดค้านการคาดการณ์ในตลาดที่ว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ทางด้านเทรดเดอร์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาสเพียง 48% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 89% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อน หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในระยะนี้แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ยูโรได้รับแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปที่อยู่ในภาวะอ่อนแอกว่าสหรัฐ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.46 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 103.47 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 103.82 ในระหว่างวัน ซึ่งเท่ากับจุดสูงสุดของสัปดาห์ที่แล้ว และถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.49 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 148.16 เยน อย่างไรก็ดี ดอลลาร์/เยนมีแนวโน้มที่จะปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการพุ่งขึ้นราว 4.5% จากเดือนธ.ค. ในขณะที่เทรดเดอร์ปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ)
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0833 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0852 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.07955 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค., รอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัว และรอดูผลประกอบการของบริษัทสำคัญหลายแห่งของสหรัฐที่จะได้รับการประกาศออกมาในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทแอลฟาเบท, ไมโครซอฟท์ และเจเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันอังคาร, บริษัทควอลคอมม์ ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพุธ, บริษัทโบอิ้ง, แอปเปิล, อะเมซอนดอทคอม และเมตา แพลตฟอร์มส์ ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพฤหัสบดี และบริษัทเอ็กซอน โมบิล กับเชฟรอน ซึ่งถือเป็นสองบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันศุกร์ ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจที่นักลงทุนจับตาดูในสัปดาห์นี้รวมถึง ผลสำรวจตำแหน่งงานว่างและการเข้า-ออกงาน (JOLTS), ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐที่จัดทำโดยบริษัท ADP, ต้นทุนการจ้างงานประจำไตรมาสสี่, ประสิทธิภาพการผลิต, ยอดการประกาศปลดพนักงานออก, ตัวเลขราคาบ้านสหรัฐที่จัดทำโดยบริษัทเคส-ชิลเลอร์, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่จัดทำโดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ค่าใช้จ่ายภาคก่อสร้าง, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนม.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 2 ก.พ. ทั้งนี้ หุ้น 10 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันจันทร์ในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยพุ่งขึ้น 1.37% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันจันทร์ ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ทะยานขึ้น 0.97% และถือเป็นกลุ่มที่ปรับขึ้นมากเป็นอันดับสอง ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานถือเป็นหุ้นกลุ่มเดียวที่ปิดตลาดวันจันทร์ในแดนลบ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.59% สู่ 38,333.45
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.76% สู่ 4,927.93 ซึ่งถือเป็นสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ โดยดัชนีพุ่งขึ้นมาแล้ว 3.3% จากช่วงต้นเดือนนี้ และปัจจัยดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้บริษัทแบล็คร็อคปรับขึ้นมุมมองที่มีต่อหุ้นสหรัฐโดยรวมสู่ "overweight" จาก "neutral"
ดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.12% สู่ 15,628.04
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันจันทร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องอุปสงค์น้ำมันในจีนท่ามกลางวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หลังจากมีข่าวว่าศาลฮ่องกงออกคำสั่งให้บริษัทไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของจีนขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นในช่วงแรกโดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง หลังจากมีการใช้ขีปนาวุธโจมตีเรือขนส่งเชื้อเพลิงลำหนึ่งในทะเลแดง และมีการใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดน ซึ่งส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และส่งผลให้มีทหารได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 34 นาย อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิ่งลงในเวลาต่อมา ในขณะที่นักลงทุนมองว่าอุปทานน้ำมันยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.รูดลง 1.23 ดอลลาร์ หรือ 1.6% มาปิดตลาดที่ 76.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.15 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 82.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 84.80 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย. หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 13.41
ดอลลาร์ สู่ 2,031.75 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค.ด้วย ทั้งนี้ มีการใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดน ซึ่งส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และส่งผลให้มีทหารได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 34 นาย ทางด้านประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐระบุในวันอาทิตย์ว่า กลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์โจมตีในครั้งนี้ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นการโจมตีครั้งแรกที่ส่งผลให้ทหารสหรัฐเสียชีวิต นับตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในเดือนต.ค. 2023 เป็นต้นมา Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--22 ม.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า การชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อ และการคาดการณ์ที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป คือสองปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นความคาดหวังในทางบวกต่อหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐในปี 2024 ถึงแม้ว่าหุ้นกลุ่มนี้ยังคงปรับตัวอ่อนแอกว่าตลาดหุ้นสหรัฐโดยรวมในช่วงนี้ ทั้งนี้ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ถือเป็นหนึ่งในหุ้นกลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุดในปีที่แล้ว ในขณะที่หุ้นกลุ่มนี้ได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูง และจากอุปสงค์ที่อ่อนแอในอาคารสำนักงาน เนื่องจากประชาชนจำนวนมากได้หันไปทำงานจากบ้านในช่วงที่ผ่านมา โดยดัชนีหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐดิ่งลง 3.4% ในปี 2023 ถึงแม้ว่าดัชนี S&P 500 สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐโดยรวมพุ่งขึ้นกว่า 24% ในปีที่แล้ว และดัชนี S&P 500 เพิ่งทะยานขึ้นสู่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ที่ 4,839.81 ในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นการทำสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ได้เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี โดยสามารถทำลายสถิติระดับปิดสูงสุดเดิมที่ 4,796.56 ซึ่งเคยทำไว้ในวันที่ 3 ม.ค. 2022
หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐดิ่งลงมาแล้ว 3.4% จากช่วงต้นปีนี้ ถึงแม้ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นมาแล้ว 1.4% จากช่วงต้นปีนี้ อย่างไรก็ดี นักลงทุนบางรายคาดการณ์กันว่า หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์อาจจะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งได้ในอนาคต โดยเฉพาะถ้าหากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรุนแรงในปีนี้เหมือนกับที่นักลงทุนคาดการณ์กันไว้ โดย REIT มักจะได้รับประโยชน์จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพราะการปรับลดอัตราดอกเบี้ยช่วยลดต้นทุนของเงินทุน และช่วยกระตุ้นให้รายได้เติบโตมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ นายจัสติน แมคออลิฟฟ์ นักวิเคราะห์วิจัยของกองทุนกาเบลลียังคงคาดการณ์ในทางบวกต่อ REIT ซึ่งรวมถึงบริษัทอเมริกัน ทาวเวอร์ โดยเขาระบุว่า "REIT ได้รับความเสียหายในช่วงที่ผ่านมาจากการที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ 40 ปี และ REIT ก็จะปรับตัวสอดคล้องกับการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้"
นักลงทุนได้กลับเข้ามาลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงนี้ โดนแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบัล รีเสิร์ชระบุว่า ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกได้ปรับเพิ่มการลงทุนใน REIT ขึ้น 15% ในเดือนธ.ค. ซึ่งส่งผลให้สัดส่วนการลงทุนใน REIT ทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 12 เดือน นอกจากนี้ กองทุน Schwab U.S. REIT ETF ซึ่งถือเป็นกองทุน ETF ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการลงทุนใน REIT ของสหรัฐ ก็สามารถดึงดูดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิได้ราว 35 ล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ล่าสุด ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.
สถิติจากในอดีตแสดงให้เห็นว่า การสิ้นสุดลงของวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมักจะช่วยหนุน REIT ให้พุ่งขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยข้อมูลนับตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมาแสดงให้เห็นว่า REIT พุ่งขึ้นโดยเฉลี่ย 20.1% ในช่วงเวลาหนึ่งปีหลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายของวัฏจักร แต่สถิตินับตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมาแสดงให้เห็นว่า ดัชนี S&P 500 ปรับขึ้นเฉลี่ยเพียง 10% เท่านั้นในช่วงเวลา 12 เดือนหลังจากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายของวัฏจักร
นายเจฟฟ์ เดอร์เฟลอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการการลงทุนของธนาคารฮันทิงทัน ไพรเวท แบงก์กล่าวว่า การดิ่งลงของหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในช่วงนี้ส่งผลให้หุ้นบางตัวในกลุ่มนี้มีความน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้นในระยะยาว ซึ่งรวมถึงหุ้นโพรโลจิสที่เป็นบริษัทเจ้าของโกดังเก็บสินค้า โดยนายเดอร์เฟลอร์ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน REIT โดยรวม และเขากล่าวเสริมว่า "เรากำลังอยู่ที่จุดเริ่มต้นของวัฏจักร ซึ่งเป็นจุดที่ต้นทุนของเงินทุนที่ต่ำลงจะช่วยกระตุ้นให้รายได้เติบโตมากยิ่งขึ้น และการควบรวมกิจการก็จะเพิ่มสูงยิ่งขึ้นด้วย" ทั้งนี้ บริษัทแบล็คสโตน ซึ่งเป็นบริษัทจัดการการลงทุนของสหรัฐเพิ่งประกาศในวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า แบล็คสโตนได้เข้าซื้อบริษัทไทรคอน เรสิเดนเชียล ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ของแคนาดาในวงเงิน 3.5 พันล้านดอลลาร์ โดยมูลค่าดังกล่าวอยู่สูงกว่าระดับปิดล่าสุดของราคาหุ้นไทรคอนราว 30%--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--12 ก.ย.--รอยเตอร์
เยนพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันจันทร์ หลังจากนายคาสุโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ได้ให้สัมภาษณ์ต่อหนังสือพิมพ์โยมิอุริฉบับวันเสาร์ว่า บีโอเจอาจจะยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ เมื่อมีแนวโน้มว่าบีโอเจจะสามารถบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% และเขากล่าวเสริมว่าบีโอเจอาจจะได้รับข้อมูลที่มากพอก่อนช่วงสิ้นปีนี้เพื่อใช้ในการประเมินว่า บีโอเจจะสามารถยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบได้หรือไม่ โดยถ้อยแถลงของเขาช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนตั้งความหวังว่า บีโอเจอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับที่เป็นบวกในอนาคต Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.57 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยร่วงลงจาก 105.05 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 104.41 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. โดยก่อนหน้านี้ดัชนีดอลลาร์เพิ่งปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกมานานติดต่อกัน 8 สัปดาห์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 146.58 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยดิ่งลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 147.81 เยน หลังจากรูดลงราว 1.3% สู่จุดต่ำสุดของวันที่ 145.89 เยน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. โดยการดิ่งลงของดอลลาร์/เยนในวันจันทร์ถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.เป็นต้นมา
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0748 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0699 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์
ดัชนี Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันจันทร์ ในขณะที่หุ้นบริษัทเทสลาซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทะยานขึ้น 10% หลังจากธนาคารมอร์แกน สแตนเลย์ปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นเทสลาสู่ "overweight" จาก "equal-weight" โดยให้เหตุผลว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ "โดโจ" ของเทสลาอาจจะช่วยหนุนมูลค่าในตลาดของเทสลาในระดับเกือบถึง 6.00 แสนล้านดลอลาร์ ทางด้านหุ้นบริษัทขนาดยักษ์แห่งอื่น ๆ พุ่งขึ้นเช่นกัน โดยหุ้นอะเมซอนทะยานขึ้น 3.5%, หุ้นไมโครซอฟท์พุ่งขึ้น 1.1% และหุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ทะยานขึ้น 3.25% หลังจากมีข่าวออกมาในวันอาทิตย์ว่า เมตา แพลตฟอร์มส์กำลังพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนส.ค.ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพุธที่ 13 ก.ย. และนักลงทุนรอดูตัวเลขยอดค้าปลีกและดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันที่ 14 ก.ย.ด้วย ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์คเปิดเผยผลสำรวจในวันจันทร์ระบุว่า ความเห็นของชาวสหรัฐที่มีต่อภาวะเงินเฟ้อแทบไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในเดือนส.ค. ในขณะที่ชาวสหรัฐคาดว่าต้นทุนค่าบ้านและอาหารจะปรับสูงขึ้น และคาดการณ์ฐานะการเงินของตนเองในทางลบมากยิ่งขึ้น Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 0.25% สู่ 34,663.72
ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.67% สู่ 4,487.46
ดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.14% สู่ 13,917.89
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับลงเล็กน้อยในวันจันทร์ ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปิดแทบไม่เปลี่ยนแปลงในวันจันทร์ และยังคงเคลื่อนตัวอยู่ใกล้จุดสูงสุดรอบ 10 เดือนที่ทำไว้ในระหว่างวัน หลังจากซาอุดิอาระเบียและรัสเซียประกาศในสัปดาห์ที่แล้วเรื่องการต่ออายุมาตรการปรับลดอุปทานน้ำมันรวมกันในระดับ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไปจนถึงสิ้นปีนี้ โดยมาตรการปรับลดอุปทานน้ำมันดังกล่าวช่วยบดบังความกังวลเรื่องกิจกรรมทางเศรษฐกิจในจีน ในขณะที่นายวอลลี อาเดเยโม รมช.คลังสหรัฐกล่าวในวันจันทร์ว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจในจีนมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบภายในท้องถิ่นมากกว่าที่จะส่งผลกระทบต่อสหรัฐ ทั้งนี้ อุปทานน้ำมันอาจจะประสบปัญหาขาดตอนได้ในช่วงนี้ โดยเป็นผลจากพายุและเหตุอุทกภัยในภาคตะวันออกของลิเบีย ซึ่งส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิตกว่า 2,000 คน และส่งผลให้มีการปิดท่าเรือส่งออกน้ำมันที่สำคัญ 4 แห่งในลิเบียนับตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งได้แก่ท่าเรือราส ลานุฟ, ซูเอตินา, เบรกา และเอส ไซดรา Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ปรับลง 22 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 87.29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนขยับลง 1 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 90.64 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 91.45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 3.85 ดอลลาร์ สู่ 1,921.66 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนส.ค.ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพุธที่ 13 ก.ย. เพื่อใช้ในการประเมินว่าเฟดจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ อย่างไรก็ดี ราคาทองปรับขึ้นได้ไม่มากนัก เนื่องจากราคาทองได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีที่ปรับขึ้นจาก 4.256% ในช่วงท้ายวันศุกร์ สู่ 4.288% ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลลบต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย ทั้งนี้ นายเอ็ดเวิร์ด โมยา นักวิเคราะห์ตลาดของบริษัท OANDA กล่าวว่า "ราคาทองได้รับแรงหนุนในช่วงต้นสัปดาห์นี้จากการอ่อนค่าของดอลลาร์ แต่ราคาทองมีแนวโน้มที่จะได้รับแรงกดดันในระยะใกล้ เพราะนักลงทุนคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้" และเขาคาดว่าจะยังไม่มีการส่งสัญญาณให้นักลงทุนกลับเข้าซื้อทองเป็นจำนวนมากอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--8 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 เดือนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี ในขณะที่ดอลลาร์พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 10 เดือนเมื่อเทียบกับเยน, จุดสูงสุดรอบ 3 เดือนเมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์ และจุดสูงสุดรอบ 16 ปีเมื่อเทียบกับหยวนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังคงรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 5.25% นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 เป็นต้นมา ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐดิ่งลง 13,000 ราย สู่ 216,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 ก.ย. จาก 229,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ส.ค. โดยระดับ 216,000 รายนี้ถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ก.พ. และถือเป็นการปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน โดยตัวเลขนี้อยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 234,000 รายด้วย Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.05 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจาก 104.86 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 เดือนที่ 105.15 ในระหว่างวัน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.29 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 147.65 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 147.87 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022 หรือจุดสูงสุดรอบ 10 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0699 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยปรับลงจาก 1.0727 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากร่วงลงแตะ 1.0685 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. หรือจุดต่ำสุดรอบ 3 เดือน
ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นบริษัทแอปเปิลและหุ้นกลุ่มชิป เนื่องจากนักลงทุนกังวลกับมาตรการของรัฐบาลจีนที่จำกัดการใช้โทรศัพท์ไอโฟนโดยลูกจ้างของรัฐ โดยรัฐบาลจีนสั่งให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบางแห่งของรัฐบาลกลางจีนยุติการใช้ไอโฟนในที่ทำงาน และปัจจัยนี้ก็ส่งผลให้หุ้นบริษัทแอปเปิลดิ่งลง 2.9% ในวันพฤหัสบดี, ส่งผลให้หุ้นกลุ่มซัพพลายเออร์ของแอปเปิลรูดลงอย่างรุนแรง ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทสกายเวิร์คส์ โซลูชัน, ควอลคอมม์ และคอร์โวที่ต่างก็ดิ่งลงกว่า 7%, ส่งผลให้ดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ดิ่งลง 1.98% และส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐรูดลง 1.6% ในวันพฤหัสบดี นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐยังได้รับแรงกดดันจากตัวเลขยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐที่ดิ่งลงอย่างรุนแรงในสัปดาห์ล่าสุดด้วย เพราะตัวเลขดังกล่าวกระตุ้นให้นักลงทุนกังวลกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยและแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐ ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวกขึ้นในวันพฤหัสบดี เนื่องจากหุ้นแอปเปิลไม่ได้ครองน้ำหนักมากนักในดัชนีนี้ นอกจากนี้ ดัชนีดาวโจนส์ยังได้รับแรงหนุนจากหุ้นแมคโดนัลด์ที่พุ่งขึ้น 1.05% ด้วย หลังจากธนาคารเวลส์ ฟาร์โกปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นแมคโดนัลด์สู่ "เพิ่มน้ำหนักการลงทุน" Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.17% สู่ 34,500.73
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.32% สู่ 4,451.14
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.89% สู่ 13,748.83
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ร่วงลงในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงกดดันจากสัญญาณบางประการที่บ่งชี้ว่าอุปสงค์น้ำมันอาจจะอ่อนแอลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า โดยสัญญาณดังกล่าวรวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอในยูโรโซน หลังจากสำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) รายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนเติบโตขึ้นเพียง 0.1% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบรายไตรมาส โดยปรับลดลงจากระดับ +0.3% ในประมาณการขั้นต้น และราคาน้ำมันก็ได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอในจีนด้วย หลังจากจีนรายงานว่า ยอดส่งออกดิ่งลง 8.8% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี และยอดนำเข้าหดตัวลง 7.3% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ด้วยเช่นกัน เพราะการแข็งค่าของดอลลาร์ส่งผลให้น้ำมันมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพฤหัสบดีว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 6.3 ล้านบาร์เรล สู่ 416.6 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ก.ย. และสต็อกน้ำมันดิบรูดลงมาแล้ว 6.5% นับตั้งแต่ต้นเดือนส.ค. ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.7 ล้านบาร์เรล สู่ 214.7 ล้านบาร์เรล ทางด้านสต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil เพิ่มขึ้น 700,000 บาร์เรล สู่ 118.6 ล้านบาร์เรล ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันในสหรัฐลดลง 0.2% สู่ 93.1% Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 67 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 86.67 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 86.39-87.74 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยราคาน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่งปิดตลาดในแดนบวกมานานติดต่อกัน 9 วันก่อนวันพฤหัสบดี
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 68 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 89.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 89.46-90.89 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์เพิ่งปิดตลาดในแดนบวกมานานติดต่อกัน 7 วันก่อนวันพฤหัสบดี
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 2.91 ดอลลาร์ สู่ 1,919.19 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ร่วงลงจาก 4.290% ในช่วงท้ายวันพุธ สู่ 4.262% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 4.308% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี โดยการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลบวกต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ราคาทองลดช่วงบวกลงจากจุดสูงสุดของวันที่ 1,923.49 ดอลลาร์ หลังจากสหรัฐรายงานว่ายอดผู้ขอรับสวัสดิการครั้งแรกดิ่งลงในสัปดาห์ล่าสุด Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--6 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 6 เดือนในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน และความกังวลดังกล่าวกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ทั้งนี้ ดอลลาร์ได้รับแรงหนุน หลังจากผลสำรวจภาคเอกชนระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนที่จัดทำโดยไคซิน/เอสแอนด์พี ลดลงสู่ระดับ 51.8 ในเดือนส.ค. จาก 54.1 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดตั้งแต่เดือนธ.ค. 2022 และสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมภาคบริการของจีนขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวที่สุดในรอบ 8 เดือนในเดือนส.ค. ขณะที่ภาวะอุปสงค์ซบเซายังคงถ่วงเศรษฐกิจ และมาตรการกระตุ้นไม่สามารถฟื้นฟูการอุปโภคบริโภคอย่างมีความหมายได้ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.75 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 104.15 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 6 เดือนที่ 104.90 ในระหว่างวัน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.71 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยพุ่งขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 146.46 เยน หลังจากทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 10 เดือนที่ 147.80 เยนในระหว่างวัน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0720 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยร่วงลงจาก 1.0794 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 3 เดือนที่ 1.0705 ดอลลาร์ในระหว่างวัน
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงในวันอังคาร ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นจาก 4.173% ในช่วงท้ายวันศุกร์ สู่ 4.268% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในช่วงนี้บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้ โดยการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลให้หุ้นมีความน่าดึงดูดน้อยลง ทางด้านนายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในวันอังคารว่า ตัวเลขเศรษฐกิจรอบล่าสุดเปิดโอกาสให้เฟดพิจารณาว่า เฟดจำเป็นจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหรือไม่ และเขาตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้เขายังมองไม่เห็นปัจจัยใดที่จะบังคับให้เฟดต้องปรับขึ้นต้นทุนการกู้ยืมระยะสั้นอีกครั้ง ทั้งนี้ ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นในวันอังคาร และปัจจัยนี้ช่วยหนุนให้ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานของสหรัฐปิดบวกขึ้น 0.5% หลังจากดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 7 เดือนในระหว่างวัน อย่างไรก็ดี การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันทำให้นักลงทุนกังวลว่าปัจจัยดังกล่าวอาจจะขัดขวางความพยายามของเฟดในการทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงสู่ 2% ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มวัสดุดิ่งลง 1.8% ในวันอังคาร, ดัชนีหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมรูดลง 1.7% และดัชนีหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย ดิ่งลง 1.5% ในวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.56% สู่ 34,641.97
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.42% สู่ 4,496.83
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.08% สู่ 14,020.95
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันอังคาร หลังจากซาอุดิอาระเบียประกาศต่ออายุมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจในอัตรา 1 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไปอีก 3 เดือนจนถึงสิ้นเดือนธ.ค. 2023 ส่วนนายอเล็กซานเดอร์ โนแวค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียระบุในแถลงการณ์ในวันอังคารว่า รัสเซียได้ต่ออายุมาตรการปรับลดปริมาณการส่งออกน้ำมันโดยสมัครใจในอัตรา 300,000 บาร์เรลต่อวันออกไปจนถึงสิ้นปีนี้ โดยทั้งซาอุดิอาระเบียและรัสเซียระบุอีกด้วยว่า ทั้งสองประเทศจะพิจารณาทบทวนมาตรการดังกล่าวในทุก ๆ เดือน เพื่อพิจารณาว่าจะปรับลดอุปทานน้ำมันลงอย่างรุนแรงกว่านี้หรือไม่ หรือว่าจะปรับเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันหรือไม่ โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในตลาด ทั้งนี้ มาตรการของสองประเทศนี้ทำให้นักลงทุนกังวลว่า อาจจะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันในฤดูหนาว โดยนายโจวานนี สเตาโนโว นักวิเคราะห์ของธนาคารยูบีเอสคาดว่า อาจจะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันกว่า 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันในไตรมาส 4/2023 Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.พุ่งขึ้น 1.14 ดอลลาร์ หรือ 1.3% มาปิดตลาดที่ 86.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดรอบ 10 เดือน
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนทะยานขึ้น 1.04 ดอลลาร์ หรือ 1.2% มาปิดตลาดที่ 90.04 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. 2022 โดยทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็พุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 20% นับตั้งแต่สิ้นเดือนมิ.ย.
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 12.38 ดอลลาร์ สู่ 1,925.81 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 1 สัปดาห์ที่ 1,924.84 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) และจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจโลก Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ผู้บริหารธนาคารสหรัฐเตือนว่า การเพิ่มการดำรงเงินกองทุนจะทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพิ่มขึ้น และทำให้กิจกรรมภาคธนาคารเปลี่ยนไปยังกลุ่มที่มีกฎระเบียบควบคุมน้อยกว่า ขณะที่ผู้ควบคุมกฎระเบียบกำลังพิจารณากฎใหม่เพื่อบรรเทาผลขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าผู้ควบคุมกฎภาคธนาคารของธนาคารกลางจะออกข้อเสนอในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าเพื่อกำหนดให้ธนาคารต่างๆต้องดำรงเงินสดมากขึ้นเพื่อรับประกันว่า ระบบการเงินยังมีเสถียรภาพอยู่ และนายไมเคิล บาร์ รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ฝ่ายกำกับดูแลกล่าวในเดือนนี้ว่า บริษัทขนาดใหญ่ต้องดำรงเงินกองทุนมากขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ไม่ทราบ
นายเจเรอมี่ บาร์นัม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของเจพีมอร์แกน เชสกล่าวว่า "การดำรงเงินกองทุนมากขึ้นทำให้ต้นทุนสินเชื่อสูงขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นเรื่องที่เลวร้ายสำหรับเศรษฐกิจ" และทางธนาคารก็อาจจะขึ้นราคาหรือยกเลิกผลิตภัณฑ์บางรายการไปเพื่อเป็นการชดเชยต้นทุนเงินทุนที่สูงขึ้น
กฎที่คาดว่าจะออกมาใหม่ข้อที่สำคัญก็คือการกำหนดให้ธนาคารดำรงเงินกองทุนมากขึ้นเพื่อป้องกันการซื้อขายบางอย่าง และเจ้าหน้าที่เจพีมอร์แกนกล่าวว่า ธนาคารอาจจะต้องยกเลิกผลิตภัณฑ์ตราสารอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับเส้นโค้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ เนื่องจากนั่นจะไม่ให้คุ้มในเชิงเศรษฐกิจ และกฎเหล่านี้อาจจะมีผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญมากขึ้นสำหรับสินเชื่อจำนองด้วย ซึ่งอาจจะยากขึ้นที่จะให้แก่เจ้าของบ้าน
ด้านเจน เฟรเซอร์ ซีอีโอของซิตี้กรุ๊ปกล่าวว่า "มีความไม่แน่นอนมากมายเกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุนใหม่ ทั้งในแง่ของลักษณะของกฎและจังหวะเวลาในการดำเนินตามกฎ"
ถ้าผู้ควบคุมกฎบังคับใช้ข้อกำหนดที่เข้มงวดขึ้นต่อภาคธนาคาร ผู้บริหารระบุว่า กิจกรรมก็จะเปลี่ยนไปสู่คนกลางทางการเงินที่มีกฎระเบียบควบคุมเบาบางกว่า โดยมีโอกาสที่แบล็คสโตน และอะพอลลโลจะได้รับอานิสงส์--จบ--
Eikon source text
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน