ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
นักวิเคราะห์จากแบงก์ ออฟ อเมริกาเปิดเผยว่า บริษัทน้ำมันและโรงกลั่นของสหรัฐอาจจะเผชิญกับช่วงเวลา 12 เดือนที่ท้าทายอีกครั้งในปีนี้ และคาดว่า ราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปีนี้
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ร่วงกว่า 10% ในปีที่แล้วท่ามกลางภาวะซื้อขายที่ผันผวนทั้งปีจากภาวะปั่นป่วนทางภูมิรัฐศาสตร์ และความวิตกเกี่ยวกับระดับการผลิตน้ำมันของประเทศผู้ผลิตชั้นนำทั่วโลก
กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัสกำลังลดการผลิตลงราว 6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเท่ากับราว 6% ของการผลิตทั่วโลก
ความท้าทายที่ใหญ่ขึ้นสำหรับนักลงทุนในปีนี้ก็คือการไม่ประมาณการณ์ต่ำเกินไปต่อพันธะสัญญาของซาอุดิอาระเบียต่อน้ำมัน พร้อมๆกับยอมรับว่า ราคาน้ำมันดิบเบรนท์อาจจะยังคงอยู่ในกรอบ 70-90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากการผลิตของผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปก และแนวโน้มอุปสงค์ที่ไม่แน่นอน--จบ--
Eikon source text
กรุงเทพฯ--24 ต.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอ่อนค่าลงในวันจันทร์ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงจาก 4.924% ในช่วงท้ายวันศุกร์สู่ 4.838% ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 5.021% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี โดยการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) จะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมพุ่งสูงขึ้น และจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรได้รับแรงหนุนในช่วงนี้จากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน, จากการปรับเพิ่มอุปทานพันธบัตร และจากส่วนเพิ่มของอัตราผลตอบแทนตามอายุของสินทรัพย์ทางการเงิน (term premia) ที่ขยายกว้างมากยิ่งขึ้น Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.60 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 106.15 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 106.33 โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 6% นับตั้งแต่กลางเดือนก.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อย่างไรก็ดี ดัชนีดอลลาร์แทบไม่ได้ปรับขึ้นนับตั้งแต่ต้นเดือนต.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 149.70 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยปรับลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 149.84 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 150.14 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 3 ต.ค.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0668 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0593 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับลง แต่ดัชนี Nasdaq บวกขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 5.021% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี ก่อนจะร่วงลงสู่ 4.838% ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยการร่วงลงของอัตราผลตอบพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มที่เคลื่อนไหวตามกระแสการลงทุน (โมเมนตัม) และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และปัจจัยดังกล่าวช่วยหนุนดัชนี Nasdaq นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี และดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันศุกร์ โดยนักลงทุนคาดการณ์ว่า กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอาจจะรายงานในวันพฤหัสบดีว่า จีดีพีสหรัฐเติบโต 4.3% ในไตรมาสสาม และสหรัฐอาจจะรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนี PCE ทั่วไปชะลอตัวลงสู่ +3.4% และดัชนี PCE พื้นฐานชะลอตัวลงสู่ +3.7% ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูผลประกอบการของบริษัทเกือบ 1 ใน 3 ของดัชนี S&P 500 ที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งรวมถึงผลประกอบการของบริษัทสำคัญหลายแห่ง อย่างเช่น บริษัทไมโครซอฟท์ที่จะรายงานผลประกอบการในวันอังคารที่ 24 ต.ค., แอลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิลที่จะรายงานผลในวันที่ 24 ต.ค., เมตา แพลตฟอร์มส์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊กที่จะรายงานผลในวันพุธที่ 25 ต.ค. และอะเมซอนที่จะรายงานผลในวันพฤหัสบดีที่ 26 ต.ค. ส่วนบริษัทอื่น ๆ ที่จะรายงานผลประกอบการในสัปดาห์นี้รวมถึงบริษัทโคคา-โคล่า, เจเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์, เมอร์ค ซึ่งเป็นผู้ผลิตยา และยูไนเต็ด พาร์เซล เซอร์วิส (UPS) ซึ่งเป็นผู้ขนส่งพัสดุ โดยขณะนี้มีบริษัท 86 แห่งในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสสามออกมาแล้ว และบริษัท 78% ในกลุ่มนี้เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ทางด้านนักวิเคราะห์คาดว่า บริษัทในดัชนี S&P 500 อาจมีผลกำไรปรับขึ้น 1.2% ในไตรมาสสามเมื่อเทียบรายปี โดยปรับลดลงจากระดับ +1.6% ที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อต้นเดือนนี้ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 0.58% สู่ 32,936.41 โดยดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดในแดนลบเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.17% สู่ 4,217.04 โดยดัชนีปิดตลาดที่ระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วันเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.27% สู่ 13,018.33
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันจันทร์ ในขณะที่มีการเร่งดำเนินความพยายามทางการทูตในภูมิภาคตะวันออกกลางเพื่อจำกัดขอบเขตความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส และปัจจัยนี้ช่วยให้นักลงทุนลดความกังวลที่มีต่อปัญหาการขาดตอนของอุปทานน้ำมัน โดยผู้นำของสหภาพยุโรป (อียู) จะเรียกร้องให้มีการหยุดพักความขัดแย้งเพื่อมนุษยธรรมในสัปดาห์นี้ เพื่อที่จะได้มีการจัดส่งความช่วยเหลือให้แก่ชาวปาเลสไตน์ในเขตกาซา ในขณะที่ผู้นำของฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์จะเดินทางเยือนอิสราเอลในสัปดาห์นี้ ทางด้านขบวนรถจัดส่งความช่วยเหลือได้เดินทางออกจากอียิปต์เข้าสู่เขตฉนวนกาซาแล้วในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ กลุ่มฮามาสก็ได้ประกาศในวันจันทร์ว่า ทางกลุ่มได้ปล่อยตัวประกันสองคนที่เป็นพลเรือนสตรี เพื่อตอบรับต่อความพยายามไกล่เกลี่ยของอียิปต์-กาตาร์ อย่างไรก็ดี อิสราเอลยังคงทิ้งระเบิดในเขตกาซาในวันจันทร์ และดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อภาคใต้ของเลบานอนด้วย ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐประกาศในสัปดาห์ที่แล้วว่า สหรัฐจะระงับมาตรการคว่ำบาตรเวเนซูเอลา หลังจากรัฐบาลเวเนซูเอลาบรรลุข้อตกลงกับฝ่ายค้าน ทางด้านนายไมเคิล ทราน นักวิเคราะห์ของธนาคาร RBC กล่าวว่า "ความเคลื่อนไหวนี้จะช่วยให้อุปทานน้ำมันเวเนซูเอลาที่ส่งออกสู่ตลาดโลกเพิ่มขึ้น 200,000-300,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งไม่ใช่ระดับที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดได้โดยตรง และเวเนซูเอลาจะยังไม่สามารถปรับเพิ่มปริมาณการส่งออกน้ำมันดังกล่าวได้ในทันที" Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนธ.ค.ดิ่งลง 2.59 ดอลลาร์ หรือ 2.9% มาปิดตลาดวันจันทร์ที่ 85.49 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 2.33 ดอลลาร์ หรือ 2.5% มาปิดตลาดที่ 89.83 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับลง 8.45 ดอลลาร์ สู่ 1,972.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1,997.09 ดอลลาร์ในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนพ.ค. ในขณะที่เทรดเดอร์จับตาดูสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง และเทรดเดอร์รอดูตัวเลขจีดีพีสหรัฐและดัชนี PCE ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์นี้ ทั้งนี้ นายเดวิด มีเกอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายค้าโลหะของบริษัทไฮ ริดจ์ ฟิวเจอร์สกล่าวว่า "ถ้าหากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาดในวันศุกร์นี้ ตัวเลขดังกล่าวก็จะกระตุ้นความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาทองแสดงปฏิกิริยาอย่างฉับพลันด้วยการร่วงลง แต่หลังจากนั้นราคาทองน่าจะได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--12 ต.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับลงในวันพุธ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพุธว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) พื้นฐาน ที่ไม่รวมราคาอาหาร, พลังงาน และบริการการค้า ปรับขึ้น 0.2% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.2% ในเดือนส.ค. ส่วนดัชนี PPI พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.8% ในเดือนก.ย. หลังจากปรับขึ้น 2.9% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยการชะลอตัวลงของดัชนี PPI พื้นฐานนี้ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ในตลาดที่ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจสิ้นสุดลงแล้ว ทั้งนี้ เฟดเปิดเผยรายงานการประชุมกำหนดนโยบายประจำวันที่ 19-20 ก.ย.ในวันพุธด้วย โดยรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ความไม่แน่นอนในเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐส่งผลให้เจ้าหน้าที่เฟดแสดงจุดยืนแบบระมัดระวัง ในขณะที่เจ้าหน้าที่เฟดอภิปรายกันว่าเฟดจำเป็นจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.67 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยปรับลงจาก 105.76 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 105.55 ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 149.15 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 148.70 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0617 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยปรับขึ้นจาก 1.0603 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากแข็งค่าขึ้นแตะ 1.0634 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย.
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันพุธหลังจากแกว่งตัวผันผวนในระหว่างวัน หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมกำหนดนโยบายประจำวันที่ 19-20 ก.ย.ในวันพุธ โดยรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่เฟดระบุว่าความไม่แน่นอนในเรื่องเศรษฐกิจ, ราคาน้ำมัน และตลาดการเงิน ล้วนเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ "เฟดเดินหน้าอย่างระมัดระวังในการตัดสินใจว่า การคุมเข้มนโยบายต่อไปในระดับใดจึงจะเป็นระดับที่เหมาะสม" โดยรายงานการประชุมเฟดดังกล่าวช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนตั้งความหวังว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมต่อไป ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มที่มักได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพุธ โดยดัชนีหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์พุ่งขึ้น 2% และดัชนีหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคทะยานขึ้น 1.6% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 4.544% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ และออกห่างจากระดับ 4.887% ที่เคยทำไว้ในวันศุกร์ที่ 6 ต.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2007 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเรื่องความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานของสหรัฐดิ่งลง 1.4% ในวันพุธ และถือเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่รูดลงมากที่สุด โดยดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานได้รับแรงกดดันจากหุ้นบริษัทเอ็กซอน โมบิลที่ดิ่งลง 3.6% หลังจากเอ็กซอน โมบิลตกลงที่จะเข้าซื้อบริษัทไพโอเนียร์ เนเชอรัล รีซอร์สเซสในข้อตกลงที่ใช้หุ้นทั้งหมดเป็นมูลค่า 5.95 หมื่นล้านดอลลาร์ ทางด้านหุ้นไพโอเนียร์พุ่งขึ้น 1.4% ในวันพุธ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 0.19% สู่ 33,804.87
ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.43% สู่ 4,376.95
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 0.71% สู่ 13,659.68
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนปรับลดความกังวลที่มีต่อการขาดตอนของอุปทานน้ำมันท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส หลังจากซาอุดิอาระเบียประกาศในวันอังคารว่า ซาอุดิอาระเบียจะทำงานร่วมกับพันธมิตรในภูมิภาคและพันธมิตรนานาชาติเพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ในกาซาและพื้นที่ใกล้เคียงทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และซาอุดิอาระเบียสนับสนุนความพยายามในการรักษาเสถียรภาพในตลาดน้ำมัน นอกจากนี้ ซาอุดิอาระเบียกับรัสเซียก็ได้ประชุมกันที่กรุงมอสโคว์ในวันพุธด้วย โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียกล่าวในการประชุมว่า การร่วมมือกันระหว่างกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) จะยังคงดำเนินต่อไป "เพื่อทำให้ตลาดน้ำมันอยู่ในภาวะที่คาดการณ์ได้" และเขาได้เรียกร้องให้บริษัทน้ำมันของรัสเซียให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับการตอบสนองอุปสงค์เชื้อเพลิงภายในรัสเซียก่อนจะส่งออกน้ำมัน ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันพุธ การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 ต.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้นราว 12.9 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐทะยานขึ้นราว 3.6 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐดิ่งลงราว 3.5 ล้านบาร์เรล ทางด้านสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) คาดการณ์ในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันในคลังทั่วโลกอาจดิ่งลง 200,000 บาร์เรลต่อวันในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 โดยเป็นผลจากมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจของซาอุดิอาระเบีย และจากการที่กลุ่มโอเปกพลัสปรับลดเป้าหมายปริมาณการผลิตน้ำมันลง Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ย.ดิ่งลง 2.48 ดอลลาร์ หรือ 2.9% มาปิดตลาดที่ 83.49 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 1.83 ดอลลาร์ หรือ 2.1% มาปิดตลาดที่ 85.82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 13.52 ดอลลาร์ สู่ 1,873.61 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1,876.86 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย. หรือจุดสูงสุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการดิ่งลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนมุ่งความสนใจไปยังดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี เพราะตัวเลขดังกล่าวอาจจะบ่งชี้ถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ ทั้งนี้ นายจิม วิคคอฟ นักวิเคราะห์ของบริษัทคิทโค เมทัลส์กล่าวว่า ถ้าหากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงในวันพฤหัสบดี ตัวเลขดังกล่าวก็อาจจะหนุนราคาทองให้พุ่งขึ้นสู่ระดับ 1,900 ดอลลาร์ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
19 ก.ย.--รอยเตอร์
นายไมค์ เวิร์ธ ซีอีโอของเชฟรอน ซึ่งถือเป็นบริษัทผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐ ได้กล่าวในการให้สัมภาษณ์ต่อบลูมเบิร์ก ทีวีในวันจันทร์ว่า เขาคาดว่าราคาน้ำมันจะปรับขึ้นเข้าใกล้ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ เขากล่าวว่า "อุปทานน้ำมันกำลังตึงตัวมากยิ่งขึ้น และตัวเลขสต็อกน้ำมันในคลังก็กำลังปรับลดลง และแนวโน้มนี้ก็บ่งชี้ว่า ราคาน้ำมันกำลังจะปรับขึ้นเข้าใกล้ (ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล)"
ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนในเดือนนี้ หลังจากซาอุดิอาระเบียประกาศต่ออายุมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจในอัตรา 1 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไปอีก 3 เดือนจนถึงสิ้นเดือนธ.ค. 2023 ส่วนนายอเล็กซานเดอร์ โนแวค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียระบุในแถลงการณ์ในวันที่ 5 ก.ย.ว่า รัสเซียได้ต่ออายุมาตรการปรับลดปริมาณการส่งออกน้ำมันโดยสมัครใจในอัตรา 300,000 บาร์เรลต่อวันออกไปจนถึงสิ้นปีนี้ โดยการต่ออายุมาตรการดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์พุ่งขึ้นในช่วงนี้จนแตะระดับ 95.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันนี้ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022 หรือจุดสูงสุดรอบ 10 เดือน ทางด้านราคาน้ำมันดิบสหรัฐทะยานขึ้นแตะ 92.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันนี้ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2022 เช่นกัน ในขณะที่มีการคาดการณ์กันว่าอาจจะเกิดภาวะขาดแคลนอุปทานน้ำมัน
นายเวิร์ธคาดว่า การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันจะส่งผลกระทบบางประการต่อเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลก แต่ปัจจัยพื้นฐานยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยเขากล่าวเสริมว่า "ปัจจัยนี้จะถ่วงเศรษฐกิจ แต่เศรษฐกิจสามารถแบกรับปัจจัยนี้ได้ในช่วงที่ผ่านมา"
นายบียาร์น ชีลดร็อป นักวิเคราะห์ของธนาคาร SEB ระบุว่า ราคาน้ำมันบางประเภทได้พุ่งขึ้นเหนือระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้ว โดยราคาน้ำมันดิบควา อิโบของไนจีเรียได้ทะยานขึ้นเหนือ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้วในวันจันทร์ ส่วนราคาน้ำมันดิบทาปิสของมาเลเซียทะยานขึ้นแตะ 101.30 ดอลลาร์ในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ นายโจวานนี สเตาโนโว นักวิเคราะห์ของธนาคารยูบีเอสกล่าวว่า "เราคาดว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะเคลื่อนตัวในช่วง 90-100 ดอลลาร์ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยมีระดับเป้าหมายสำหรับช่วงสิ้นปีนี้อยู่ที่ 95 ดอลลาร์"--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทรงตัวในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบ 15 เดือน โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับภาวะเศรษฐกิจจีน และนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไป Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.45 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยขยับขึ้นจาก 103.40 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 เดือนที่ 103.68 ในระหว่างวัน และดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการแข็งค่าขึ้นราว 0.5% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 145.37 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 145.83 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 9 เดือนที่ 146.56 เยนในวันพฤหัสบดี
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0873 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0871 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.0856 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี
ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดขยับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยดัชนี S&P 500 ได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มเติบโต แต่ได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มปลอดภัยและหุ้นกลุ่มพลังงาน ในขณะที่นักลงทุนรอฟังถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมที่แจ็คสัน โฮลในวันศุกร์ที่ 25 ส.ค. และรอดูผลประกอบการของบริษัทเอ็นวิเดีย ซึ่งเป็นบริษัทผู้ออกแบบชิปที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธที่ 23 ส.ค. ทางด้านดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดตลาดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นวอลมาร์ทซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกขนาดยักษ์ที่พุ่งขึ้น 1.44% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.07% สู่ 34,500.66
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.01% สู่ 4,369.71 ในวันศุกร์ และดิ่งลงมาแล้ว 4.6% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.2% สู่ 13,290.78 และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 2.6% จากสัปดาห์ที่แล้ว โดยดัชนี Nasdaq รูดลงมาแล้ว 7.2% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนธ.ค. 2022
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากสัญญาณบ่งชี้ว่า การผลิตน้ำมันในสหรัฐชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี ทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่มีต่อแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกท่ามกลางวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุน หลังจากบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์สรายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซที่ใช้งานในสหรัฐดิ่งลง 12 แท่น สู 642 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2022 และถือเป็นการปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน โดยการดิ่งลงของปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐอาจจะส่งผลให้อุปทานน้ำมันตึงตัวมากยิ่งขึ้นในช่วงต่อไปในปีนี้ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ย.พุ่งขึ้น 86 เซนต์ หรือ 1.1% มาปิดตลาดที่ 81.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 68 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 84.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่เบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงราว 2% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 0.70 ดอลลาร์ สู่ 1,888.19 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 1.31% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งกระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ต่อไปจนถึงปี 2024 และนักลงทุนรอดูสัญญาณบ่งชี้ถึงทิศทางนโยบายการเงินจากการประชุมธนาคารกลางที่แจ็คสัน โฮลในวันที่ 24-26 ส.ค. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--31 ก.ค.--รอยเตอร์
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันศุกร์ และปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ในทางบวกว่า ราคาน้ำมันจะได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์น้ำมันที่ระดับสูง และได้รับแรงหนุนจากมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมัน ทั้งนี้ นักลงทุนต้องการซื้อสินทรัพย์เสี่ยงมากยิ่งขึ้นในช่วงนี้ ในขณะที่นักลงทุนคาดว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจใกล้ที่จะสิ้นสุดลงแล้ว และการสิ้นสุดของวัฏจักรดังกล่าวจะส่งผลดีต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มอุปสงค์พลังงาน
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ย.ปรับขึ้น 49 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 80.58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดของวันที่ 79.07 ดอลลาร์ และหลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ 80.71 ดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 19 เม.ย. หรือจุดสูงสุดรอบ 3 เดือน ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 75 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 84.99 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทางด้านนายฟิล ฟลินน์ นักวิเคราะห์ของบริษัทไพรซ์ ฟิวเจอร์ส กรุ๊ปกล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ดิ่งลงอย่างรุนแรงในช่วงแรกของวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรออกมา หลังจากราคาน้ำมันดิบสหรัฐพุ่งขึ้นเหนือ 80 ดอลลาร์ ทั้งนี้ ทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นเกือบ 5% จากสัปดาห์ที่แล้ว และมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนก.ค.ด้วยการทะยานขึ้นกว่า 13% จากเดือนมิ.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) ประกาศออกมาในช่วงต้นเดือนก.ค.
นักลงทุนคาดการณ์ในทางบวกต่ออุปสงค์น้ำมัน หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโต 2.4% ในไตรมาสสอง ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 1.8% และรายงานตัวเลขนี้ช่วยสนับสนุนความเห็นของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจยุโรปที่ออกมาในวันศุกร์แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจฝรั่งเศสกับสเปนสามารถรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้ดีเกินคาดในไตรมาสสอง โดยเศรษฐกิจฝรั่งเศสเติบโต 0.5% ในไตรมาสสอง และเศรษฐกิจสเปนเติบโต 0.4%
นายดาร์เรน วูดส์ ซีอีโอของบริษัทเอ็กซอน โมบิลกล่าวในการให้สัมภาษณ์ในวันศุกร์ว่า เขาคาดว่าอุปสงค์น้ำมันจะอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในปีนี้และปีหน้า ทั้งนี้ ในส่วนของอุปทานน้ำมันนั้น บริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์สรายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐลดลง 1 แท่น สู่ 529 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 ก.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022
นักวิเคราะห์ของธนาคารคอมเมอร์ซแบงก์ระบุว่า มีหลักฐานบ่งชี้ว่าอุปทานน้ำมันกำลังตึงตัวมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสต็อกน้ำมันในคลังสหรัฐปรับลดลง และซาอุดิอาระเบียปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลง 1 ล้านบาร์เรลต่อวันโดยสมัครใจ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกอาจจะดิ่งลงในเดือนก.ค.จนแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี 2021 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า ซาอุดิอาระเบียอาจจะต่ออายุมาตรการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจออกไปอีก 1 เดือน เพื่อให้ครอบคลุมเดือนก.ย.ด้วย และปัจจัยนี้จะช่วยหนุนราคาน้ำมัน--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--25 ก.ค.--รอยเตอร์
นักลงทุนบางรายหันไปซื้อหุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลสูงในสหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว หลังจากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วรวมกัน 5.00% นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 เป็นต้นมา ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวที่สุดในรอบหลายสิบปี และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 2 ปีให้พุ่งขึ้นแตะ 5.120% ในวันที่ 6 ก.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2007 หรือจุดสูงสุดในรอบ 16 ปี โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีอยู่ที่ 4.856% ในปัจจุบัน ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ในช่วงที่ผ่านมาเคยส่งผลลบต่อหุ้นบริษัทหลายแห่งที่จ่ายเงินปันผลสูง ในขณะที่นักลงทุนมักจะซื้อหุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลสูงในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ต่ำกว่าระดับปัจจุบันเป็นอย่างมาก
นักลงทุนหลายรายคาดว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. แต่เฟดอาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกในช่วงหลังจากนั้น และการคาดการณ์ดังกล่าวก็ส่งผลให้หุ้นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลสูงมีความน่าดึงดูดอีกครั้ง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอาจจะร่วงลงในอนาคต ทั้งนี้ นายเจอร์เรียน ทิมเมอร์ จากบริษัทฟิเดลิที อินเวสท์เมนท์กล่าวว่า "อัตราผลตอบแทนที่ 5% ที่คุณได้จากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดูเหมือนจะเป็นเพียงเหตุการณ์ชั่วคราว และการร่วงลงของบอนด์ยิลด์ก็จะช่วยลดแรงกดดันที่มีต่อหุ้นบริษัทที่แข่งขันกับบอนด์ยิลด์" โดยในตอนนี้นายทิมเมอร์มุ่งความสนใจไปยังหุ้นกลุ่มการเงินและหุ้นกลุ่มพลังงาน เนื่องจากเขาคาดว่าหุ้นสองกลุ่มนี้จะได้รับประโยชน์จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย
กระแสความสนใจที่เริ่มเพิ่มสูงขึ้นในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงปรากฏให้เห็นในยอดเงินลงทุนที่ไหลเข้าสู่กองทุน ProShares S&P 500 Dividend Aristocrats ETF ซึ่งเป็นกองทุนขนาด 1.17 หมื่นล้านดอลลาร์ที่ลงทุนในบริษัทที่ปรับเพิ่มเงินปันผลทุกปีในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา โดยกองทุนแห่งนี้มียอดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิ 33 ล้านดอลลาร์ในช่วง 2 สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ก.ค. ซึ่งถือเป็นยอดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. โดยกองทุนแห่งนี้พุ่งขึ้นมาแล้วราว 7.5% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐทะยานขึ้นมาแล้วเกือบ 19% จากช่วงต้นปีนี้
ผลสำรวจของแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบัล รีเสิร์ชระบุว่า ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกราว 44% คาดการณ์ในตอนนี้ว่า หุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงจะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าหุ้นที่จ่ายเงินปันผลต่ำ โดยสัดส่วน 44% นี้ปรับขึ้น 9% จากเดือนก่อน
ข้อมูลจากบริษัทเอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินดิเซสระบุว่า บริษัทสหรัฐปรับเพิ่มการจ่ายเงินปันผลเฉลี่ย 9.1% นับตั้งแต่ต้นปี 2023 หลังจากปรับเพิ่มเงินปันผลเฉลี่ย 11.8% ในช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว โดยมีบริษัทสหรัฐ 14 แห่งที่ได้ระงับการจ่ายเงินปันผลหรือปรับลดเงินปันผลลงนับตั้งแต่ต้นปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจากบริษัทเพียง 4 แห่งที่ทำแบบเดียวกันในปีก่อน ทั้งนี้ นายโฮเวิร์ด ซิลเวอร์แบลท นักวิเคราะห์ดัชนีของบริษัทเอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินดิเซสระบุว่า นักลงทุนต้องการซื้อหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงในช่วงนี้ เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าบอนด์ยิลด์อาจจะร่วงลง แต่ตลาดหุ้นอาจจะยังคงปรับขึ้นต่อไป--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน