ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
วอชิงตัน--15 มี.ค.--รอยเตอร์
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) สำหรับอุปสงค์ขั้นสุดท้ายของสหรัฐพุ่งขึ้น 0.6% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ +0.3% หลังจากดัชนี PPI ปรับขึ้น 0.3% ในเดือนม.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ส่วนดัชนี PPI แบบเทียบรายปีทะยานขึ้น 1.6% ในเดือนก.พ. หลังจากปรับขึ้น 1.0% ในเดือนม.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยการพุ่งขึ้นของดัชนี PPI ในครั้งนี้อาจจะส่งผลให้นักลงทุนกังวลกันว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอาจจะเร่งตัวขึ้นอีกครั้ง ทั้งนี้ ดัชนี PPI ได้รับแรงหนุนจากราคาอาหารที่ทะยานขึ้น 1.0% เมื่อเทียบรายเดือน โดยเป็นผลจากการพุ่งขึ้นของราคาไข่กับราคาเนื้อวัว และดัชนี PPI ก็ได้รับแรงหนุนจากราคาค้าส่งน้ำมันเบนซินที่พุ่งขึ้น 6.8% เมื่อเทียบรายเดือนด้วย ในขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลกับราคาน้ำมันอากาศยานก็ทะยานขึ้นด้วยเช่นกัน
หลังจากราคาสินค้าขยับลง 0.1% ในเดือนม.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ราคาสินค้าก็พุ่งขึ้น 1.2% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายเดือน และปัจจัยนี้ครองสัดส่วนเกือบ 2 ใน 3 ของการทะยานขึ้นของดัชนี PPI ในเดือนก.พ. โดยราคาสินค้าได้รับแรงหนุนจากราคาผลิตภัณฑ์พลังงานที่พุ่งขึ้น 4.4% ในเดือนก.พ. หลังจากดิ่งลง 1.1% ในเดือนม.ค. อย่างไรก็ดี ราคาหญ้าแห้ง, เมล็ดหญ้า, เมล็ดพืชน้ำมัน, เศษเหล็กและเหล็กกล้า และยางมะตอยร่วงลงในเดือนก.พ. ทั้งนี้ ราคาสินค้าที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานปรับขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ. หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนม.ค. และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า ภาวะเงินฝืดในราคาสินค้าอาจใกล้ที่จะสิ้นสุดลงแล้ว และการชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อจากนี้อาจจะต้องพึ่งพาการร่วงลงของอัตราเงินเฟ้อในภาคบริการ
ดัชนี PPI สำหรับภาคบริการสหรัฐปรับขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ. หลังจากปรับขึ้น 0.5% ในเดือนม.ค. ในขณะที่ค่าห้องโรงแรมพุ่งขึ้น 3.8% ในเดือนก.พ. และปัจจัยนี้ครองสัดส่วนราว 25% ในการปรับขึ้นของดัชนี PPI ภาคบริการ นอกจากนี้ ดัชนี PPI ภาคบริการก็ได้รับผลกระทบจากต้นทุนการดูแลรักษาผู้ป่วยนอก, ค่าตั๋วเครื่องบิน, ค่าโบรกเกอร์หลักทรัพย์ และค่าปรึกษาการลงทุนที่ปรับสูงขึ้นในเดือนก.พ. ในขณะที่ค่าธรรมเนียมในการบริหารพอร์ตลงทุนปรับขึ้น 0.2% ในเดือนก.พ. หลังจากพุ่งขึ้น 5.9% ในเดือนม.ค.
ค่าธรรมเนียมในการบริหารพอร์ตลงทุน, ค่าดูแลรักษาสุขภาพ, ค่าโรงแรม และค่าตั๋วเครื่องบินถือเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบที่ใช้ในการคำนวณดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นิยมใช้ ทางด้านนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า ดัชนี PCE พื้นฐานอาจปรับขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.4% ในเดือนม.ค. และคาดว่าดัชนี PCE พื้นฐานอาจพุ่งขึ้น 2.8% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายปี หลังจากทะยานขึ้น 2.8% ในเดือนม.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยรัฐบาลสหรัฐจะรายงานดัชนี PCE ออกมาในวันที่ 29 มี.ค.
ดัชนี PPI พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาอาหาร, พลังงาน และบริการการค้าปรับขึ้น 0.4% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.6% ในเดือนม.ค. ส่วนดัชนี PPI พื้นฐานแบบเทียบรายปีพุ่งขึ้น 2.8% ในเดือนก.พ. หลังจากปรับขึ้น 2.7% ในเดือนม.ค.เมื่อเทียบรายปี--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
17 ต.ค.--รอยเตอร์
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 5.25% นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 เป็นต้นมา และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐชะลอการปล่อยสินเชื่อ และปรับเพิ่มระดับการถือครองเงินสด หลังจากเกิดวิกฤติภาคธนาคารในเดือนมี.ค.ปีนี้เมื่อมีการสั่งปิดกิจการธนาคารซิลิคอน แวลลีย์ (SVB) ในสหรัฐ ทั้งนี้ ถึงแม้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดสู่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. ระบบการเงินในสหรัฐก็ยังคงได้รับผลกระทบจากวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 เป็นต้นมา และได้รับผลกระทบจากการคาดการณ์ที่ว่า อัตราดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปจนถึงปี 2024
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวพุ่งขึ้นมาแล้วราว 1% นับตั้งแต่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายในวันที่ 26 ก.ค. และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ซึ่งเป็นสิ่งที่ปรับตัวสวนทางกับราคาพันธบัตร ก็มีอิทธิพลต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ และต่อความต้องการกู้เงินของลูกค้าธนาคาร ทั้งนี้ เฟดรายงานว่า สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์โดยรวมในสหรัฐหดตัวลงในไตรมาส 3 เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นการหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ เพราะว่าการดิ่งลงของมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลสร้างความเสียหายต่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ที่ธนาคารพาณิชย์ถือครองไว้ในวงกว้าง
สินเชื่อธนาคารโดยรวมในสหรัฐอยู่ที่ 17.26 ล้านล้านดอลลาร์ในวันที่ 27 ก.ย. ซึ่งถือเป็นวันพุธสุดท้ายของเดือนก.ย. โดยร่วงลงจาก 17.30 ล้านล้านดอลลาร์ในวันพุธสุดท้ายของเดือนมิ.ย. และร่วงลงจาก 17.33 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อ 1 ปีก่อน ทั้งนี้ สินเชื่อสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยและสินเชื่อสำหรับอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ยังคงพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 3 แต่ปรับขึ้นในอัตราไม่ถึง 8% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน หลังจากที่เคยพุ่งขึ้นสูงกว่า 10% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบรายปี ทางด้านสินเชื่อเชิงพาณิชย์และสินเชื่ออุตสาหกรรมร่วงลงในไตรมาส 3/2023 เป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน โดยสินเชื่อกลุ่มนี้เคยพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในวันที่ 15 มี.ค.หลังจากธนาคาร SVB ล้ม และยอดสินเชื่อนี้อยู่ที่ระดับ 2.78 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. ก่อนจะร่วงลงสู่ 2.75 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนก.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 11 เดือน
ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับเพิ่มการถือครองเงินสดในช่วงที่ผ่านมา โดยธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 25 แห่งของสหรัฐได้ปรับเพิ่มปริมาณการถือครองเงินสดขึ้นสูงมากในไตรมาส 3 ทางด้านปริมาณเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ได้เข้าสู่เสถียรภาพในไตรมาสล่าสุด และอยู่ที่ระดับ 17.29 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงนี้ หลังจากปริมาณเงินฝากเคยดิ่งลงอย่างรุนแรงหลังจากธนาคาร SVB ล้มในวันที่ 10 มี.ค.และเกิดวิกฤติภาคธนาคารในช่วงนั้น
ปริมาณเงินฝากในธนาคารสหรัฐโดยรวมดิ่งลงมาแล้วราว 7% จากจุดสูงสุดของเดือนเม.ย. 2022 โดยปริมาณเงินฝากในธนาคารขนาดใหญ่ที่สุด 25 แห่งของสหรัฐรูดลงมาแล้วกว่า 8% จากจุดสูงสุดของเดือนเม.ย. 2022 แต่ปริมาณเงินฝากในธนาคารขนาดเล็กปรับลดลงเพียงราว 2% จากเดือนเม.ย. 2022 หลังจากปริมาณเงินฝากในธนาคารขนาดเล็กเคยดิ่งลงอย่างรุนแรงเมื่อเกิดวิกฤติภาคธนาคารในเดือนมี.ค.ปีนี้ แต่ฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วในช่วงหลังจากนั้น ทางด้านปริมาณเงินฝากในธนาคารต่างชาติในสหรัฐฟื้นตัวขึ้นได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
บริษัทมูดี้ส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายแห่งของสหรัฐ และระบุว่าอาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือธนาคารที่ใหญ่ที่สุดบางแห่งของสหรัฐ โดยเตือนว่า ความแข็งแกร่งด้านความน่าเชื่อถือของภาคธนาคารอาจจะถูกทดสอบจากความเสี่ยงด้านการระดมทุน และความสามารถในการทำกำไรที่ลดลง
มูดี้ส์ลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคาร 10 แห่งลง 1 ขั้น และประกาศทบทวนโดยมีแนวโน้มปรับลดลงสำหรับธนาคารขนาดใหญ่อีก 6 แห่ง อาทิ แบงก์ ออฟ นิวยอร์ค เมลลอน, ยูเอส แบนคอร์ป, สเตท สตรีท และทรูอิสต์ ไฟแนนเชียล
มูดี้ส์ระบุว่า "ผลประกอบการในไตรมาส 2 ของธนาคารหลายแห่งแสดงถึงแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นด้านความสามารถในการทำกำไร ซึ่งจะลดความสามารถของพวกเขาที่จะสร้างเงินทุนภายใน และสิ่งนี้เกิดขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐจะถดถอยเล็กน้อยในไม่ช้าในช่วงต้นปีหน้า และดูเหมือนว่าคุณภาพสินทรัพย์จะลดลง โดยมีความเสี่ยงเป็นพิเศษในการถือครองอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ของธนาคารบางแห่ง"
ความเสี่ยงด้านอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น, ความต้องการสำนักงานที่ลดลงอันเป็นผลจากการทำงานทางไกล และการลดลงของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์
มูดี้ส์ยังเตือนว่า ธนาคารที่มีผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงเป็นจำนวนมากซึ่งไม่ถูกสะท้อนในสัดส่วนเงินทุนตามกฎเกณฑ์นั้น มีความเปราะบางต่อการสูญเสียความเชื่อมั่นท่ามกลางสภาวะอัตราดอกเบี้ยสูงในปัจจุบัน--จบ--
Eikon source text
นิวยอร์ค--19 ก.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนส่วนหนึ่งจากผลกำไรที่แข็งแกร่งในภาคธนาคาร โดยหุ้นธนาคารมอร์แกน สแตนเลย์พุ่งขึ้น 6.45% ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย. 2020 หลังจากมอร์แกน สแตนเลย์รายงานผลกำไรที่สูงเกินคาด ในขณะที่การเติบโตของธุรกิจบริหารความมั่งคั่งช่วยชดเชยรายได้ที่ลดลงจากแผนกเทรดดิง ทางด้านหุ้นธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกาทะยานขึ้น 4.42% หลังจากแบงก์ ออฟ อเมริกาเปิดเผยผลกำไรที่สูงเกินคาด โดยทางธนาคารมีผลกำไรเพิ่มขึ้นจากการชำระหนี้ของลูกค้า และแผนกวาณิชธนกิจกับแผนกเทรดดิงก็มีผลประกอบการดีเกินคาดด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ หุ้นธนาคารแห่งอื่น ๆ ก็พุ่งขึ้นในวันอังคารด้วยเช่นกัน โดยหุ้นธนาคารแบงก์ ออฟ นิวยอร์ค เมลลอนทะยานขึ้น 4.11% และหุ้นบริษัทพีเอ็นซี ไฟแนนเชียลพุ่งขึ้น 2.51% หลังจากธนาคารทั้งสองเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาส ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.90% มาปิดตลาดที่ 317.02 ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค. ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของวิกฤติภาคธนาคาร ทางด้านดัชนี KBW สำหรับหุ้นธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐทะยานขึ้น 4.10% มาปิดตลาดที่ 96.25 ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค.
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 366.58 จุด หรือ 1.06% สู่ 34,951.93 ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2022 และถือเป็นการปิดตลาดในแดนบวกเป็นวันที่ 7 ติดต่อกัน โดยระยะ 7 วันนี้ถือเป็นการปิดตลาดในแดนบวกที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2021 หรือยาวนานที่สุดในรอบกว่า 2 ปีด้วย ทางด้านดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.71% สู่ 4,554.98 และดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 0.76% สู่ 14,353.64 ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ได้รับแรงหนุนจากหุ้นยูไนเต็ดเฮลธ์ซึ่งเป็นบริษัทประกันสุขภาพที่พุ่งขึ้น 3.29% หลังจากบริษัทเบิร์นสไตน์ปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นยูไนเต็ดเฮลธ์สู่ "outperform" โดยการพุ่งขึ้นของหุ้นยูไนเต็ดเฮลธ์ส่งผลบวกราว 105 จุดต่อดัชนีดาวโจนส์ในวันอังคาร
หุ้นชาร์ลส์ ชว็อบ ซึ่งเป็นบริษัทโบรกเกอร์พุ่งขึ้น 12.57% และถือเป็นหุ้นที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในดัชนี S&P 500 หลังจากชาร์ลส์ ชว็อบรายงานว่าผลกำไรรายไตรมาสลดลงไม่มากเท่าที่คาด ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีพุ่งขึ้น 1.26% ในวันอังคาร และถือเป็นหุ้นกลุ่มใหญ่ที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันอังคาร ในขณะที่หุ้นบริษัทไมโครซอฟท์ทะยานขึ้น 3.98% มาปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดที่ 359.49 ดอลลาร์ หลังจากไมโครซอฟท์ประกาศว่าทางบริษัทจะขึ้นค่าบริการสำหรับการเข้าใช้บริการปัญญาประดิษฐ์ (AI) ใหม่ในชุดโปรแกรม Office
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ยอดค้าปลีกทั่วไปปรับขึ้นน้อยเกินคาด โดยปรับขึ้นเพียง 0.2% ในเดือนมิ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.5% หลังจากยอดค้าปลีกปรับขึ้น 0.5% ในเดือนพ.ค. โดยยอดค้าปลีกทั่วไปได้รับแรงกดดันในเดือนมิ.ย.จากยอดค้าปลีกวัสดุก่อสร้างที่ดิ่งลง 1.2% และยอดขายตามปั๊มน้ำมันที่รูดลง 1.4% ตามราคาน้ำมันเบนซิน อย่างไรก็ดี ยอดค้าปลีกพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมรถยนต์, น้ำมันเบนซิน, วัสดุก่อสร้าง และบริการอาหารปรับขึ้น 0.6% ในเดือนมิ.ย. หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ค.
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานในวันอังคารว่า ผลผลิตโรงงานสหรัฐปรับลดลง 0.3% ในเดือนมิ.ย. หลังจากปรับลดลง 0.2% ในเดือนพ.ค. ในขณะที่โพลล์รอยเตอร์คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่า ผลผลิตภาคโรงงานอาจทรงตัวในเดือนมิ.ย. อย่างไรก็ดี ผลผลิตภาคโรงงานดีดขึ้น 1.5% ในไตรมาสสองเมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) หลังจากหดตัวลง 0.2% ในไตรมาสแรก ในขณะที่ผลผลิตยานยนต์พุ่งขึ้น 36.7% ในไตรมาสสอง--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
วอชิงตัน--29 มิ.ย.--รอยเตอร์
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้เปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤติประจำปีนี้ในวันพุธ ซึ่งเป็นการทดสอบธนาคาร 23 แห่งในสหรัฐที่แต่ละแห่งมีสินทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 1.00 แสนล้านดอลลาร์ โดยผลการทดสอบพบว่า ธนาคารขนาดใหญ่เหล่านี้สามารถผ่านการทดสอบ ถึงแม้ว่าภาคธนาคารสหรัฐเพิ่งเผชิญกับภาวะปั่นป่วนวุ่นวายในช่วงต้นปี และเผชิญกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนในอนาคต ทั้งนี้ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ธนาคารกลุ่มนี้มีเงินกองทุนมากพอที่จะสามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง และสิ่งนี้เปิดโอกาสให้ธนาคารเหล่านี้สามารถจ่ายเงินปันผลและซื้อคืนหุ้นได้ในอนาคต โดยธนาคารเหล่านี้จะสามารถประกาศแผนซื้อคืนหุ้นและง่ายเงินปันผลได้หลังจากตลาดหุ้นปิดทำการในวันศุกร์ที่ 30 มิ.ย. ทางด้านธนาคารที่ผ่านการทดสอบในครั้งนี้รวมถึงเจพีมอร์แกน เชส, แบงก์ ออฟ อเมริกา, ซิตี้กรุ๊ป, เวลส์ ฟาร์โก, มอร์แกน สแตนเลย์ และโกลด์แมน แซคส์
สถานการณ์ที่เฟดใช้ในการทดสอบคือสถานการณ์ที่เศรษฐกิจสหรัฐหดตัวลงเกือบ 8.75% โดยมีสาเหตุบางส่วนมาจากมูลค่าสินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ที่รูดลง 40% และอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นสู่ 10% โดยการทดสอบนี้ประเมินว่า ธนาคารแต่ละแห่งจะยังคงมีสัดส่วนการดำรงเงินกองทุนอยู่สูงกว่าอัตราขั้นต่ำที่ 4.5% หรือไม่ และผลการทดสอบก็พบว่า สัดส่วนการดำรงเงินกองทุนโดยเฉลี่ยของธนาคารทั้ง 23 แห่งอยู่ที่ 10.1% หรือสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำกว่า 2 เท่า โดยสัดส่วนดังกล่าวปรับขึ้นจาก 9.7% ในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นปีที่เฟดทดสอบธนาคาร 34 แห่งโดยใช้สถานการณ์ที่ง่ายกว่านี้ และผลการทดสอบในปีนี้ยังระบุอีกด้วยว่า ธนาคาร 23 แห่งนี้จะมียอดสูญเสียรวมกัน 5.41 แสนล้านดอลลาร์ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว
ถึงแม้ผลการทดสอบอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง นักวิเคราะห์บางรายก็เตือนว่า ผลการทดสอบนี้ให้ภาพในทางบวกมากเกินไป หลังจากรัฐบาลสหรัฐเพิ่งถูกบีบให้เข้าแทรกแซงสถานการณ์เพื่อปกป้องผู้ฝากเงินในธนาคารเมื่อไม่กี่เดือนก่อน นอกจากนี้ เฟดก็สำรวจงบดุลของธนาคารเหล่านี้ตามที่ระบุไว้ในช่วงสิ้นปี 2022 ซึ่งนั่นหมายความว่าผลการทดสอบในครั้งนี้ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากวิกฤติภาคธนาคารในช่วงต้นปีนี้
ธนาคารที่ให้ผลการทดสอบดีมากในครั้งนี้รวมถึงชาร์ลส์ ชว็อบ คอร์ป และกิจการในสหรัฐของดอยช์ แบงก์ ส่วนธนาคารที่ให้ผลการทดสอบรั้งท้ายรวมถึงซิติเซนส์ ไฟแนนเชียล คอร์ป และยู.เอส. แบงคอร์ป ซึ่งเป็นธนาคารระดับภูมิภาค ทั้งนี้ นายไมเคิล บาร์ รองประธานเฟดฝ่ายการกำกับดูแลกล่าวว่า ผลการทดสอบในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าระบบธนาคารสหรัฐ "มีความแข็งแกร่งและยืดหยุ่น" แต่เขากล่าวย้ำว่าการทดสอบนี้เป็นเพียงมาตรวัดอันหนึ่งที่ใช้วัดความแข็งแกร่งของภาคธนาคาร หลังจากเกิดเหตุการณ์ธนาคารซิลิคอน แวลลีย์ (SVB) และธนาคารอีก 2 แห่งในสหรัฐถูกสั่งปิดกิจการในช่วงต้นปีนี้
ในกลุ่มของธนาคาร 8 แห่งในสหรัฐ "ที่ถือว่ามีความสำคัญต่อระบบโลก" นั้น สัดส่วนการดำรงเงินกองทุนโดยเฉลี่ยของธนาคารกลุ่มนี้อยู่ที่ 10.9% โดยปรับขึ้นเล็กน้อยจากปีที่แล้ว โดยธนาคารสเตท สตรีทมีสัดส่วนการดำรงเงินกองทุนอยู่ที่ 13.8% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารสำคัญ 8 แห่งนี้ ทั้งนี้ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า พอร์ตลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ของธนาคารเหล่านี้อยู่ในระดับที่ดีเกินคาด โดยพอร์ตลงทุนดังกล่าวจะมียอดหนี้สูญ 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ภายใต้สถานการณ์วิกฤติ หรือ 8.8% ของยอดสินเชื่อโดยเฉลี่ย โดยปรับลดลงจากสัดส่วน 9.8% ในปีที่แล้ว ทางด้านโกลด์แมน แซคส์ถือเป็นธนาคารที่มีสัดส่วนหนี้สูญในอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์มากที่สุด โดยมีสัดส่วนหนี้สูญจากอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ 16% ของยอดสินเชื่อโดยเฉลี่ยภายใต้การทดสอบ ในขณะที่มอร์แกน สแตนเลย์ครองอันดับ 2 ที่ 13.7% และซิติเซนส์ ไฟแนนเชียล กรุ๊ปครองอันดับ 3 ที่ 12.4%--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐได้อัดฉีดเงินฝาก 3.0 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่ธนาคารเฟิร์สต์ รีพับลิค แบงก์เมื่อวานนี้ เพื่อเข้าพยุงกิจการธนาคารแห่งนี้ที่เผชิญกับวิกฤติที่ขยายวงกว้างขึ้นหลังการล้มละลายของธนาคารขนาดกลาง 2 แห่งของสหรัฐในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ราคาหุ้นเฟิร์สต์ รีพับลิค แบงก์ดิ่งลง 70% ในรอบ 9 วันทำการที่ผ่านมา
ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดหลายแห่งของสหรัฐ อาทิ เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, ซิตี้กรุ๊ป อิงค์, แบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป, เวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โค, โกลด์แมน แซคส์ และมอร์แกน สแตนเลย์มีส่วนร่วมในการเข้ากอบกู้ครั้งนี้ และหุ้นเฟิร์สต์ รีพับลิค แบงก์ก็ปิดพุ่งขึ้น 10% รับข่าวดังกล่าว แต่ก็ร่วงลง 18% ในการซื้อขายหลังตลาดปิดทำการ หลังจากที่ธนาคารประกาศว่าจะระงับการจ่ายปันผล
ข้อตกลงช่วยเหลือครั้งนี้เกิดขึ้นจากการดำเนินการของนายหน้าผู้มีอำนาจ อาทิ เจเน็ท เยลเลน รมว.คลังสหรัฐ, นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และนายเจมี ไดมอน ซีอีโอเจพีมอร์แกน เชส ซึ่งได้หารือถึงมาตรการช่วยเหลือเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
เยนเลนระบุว่า ระบบธนาคารของสหรัฐยังคงแข็งแกร่งเนื่องจากการดำเนินการที่ "เด็ดขาดและแข็งขัน" หลังการล้มละลายของซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์--จบ--
Eikon source text
บรรดาซีอีโอธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 4 แห่งของสหรัฐ ร่วมด้วยซีอีโอของธนาคารระดับภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐให้การต่อคณะกรรมาธิการบริการทางการเงินของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ โดยพวกเขายอมรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่าเป็นวิธีการที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นมาก แต่ก็ยอมรับว่าจะมีความเจ็บปวดในอนาคต
นายเจมี ไดมอน ซีอีโอของเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และนายไบรอัน มอยนิฮาน ซีอีโอของแบงก์ ออฟ อเมริกากล่าวว่า การอุปโภคบริโภคยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาก และทั้งคู่ระบุว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นสิ่งจำเป็นต่อการกำจัดเงินเฟ้อ
ซีอีโอแต่ละคนระบุว่า พวกเขาเชื่อมั่นต่อความตั้งใจของเฟดที่จะจัดการกับราคาที่พุ่งขึ้น แต่ก็ยอมรับว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะทำให้เกิดช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับผู้บริโภค และอาจจะทำให้สหรัฐเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
นางเจน เฟรเซอร์ ซีอีโอซิติกรุ๊ปคาดว่า ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ประชาชนที่มีคะแนนเครดิตต่ำกว่าก็จะเผชิญกับภาวะตึงตัวทางการเงินมากกว่า ส่วนอัตราการออมทรัพย์ ซึ่งพุ่งขึ้นมากในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากชาวอเมริกันพักอยู่กับบ้าน อาจจะลดลง นอกจากนี้ ผลกระทบด้านอุปทานพลังงานในยุโรปอาจกระทบเศรษฐกิจสหรัฐเพราะจะลดความต้องการสินค้าและบริการของสหรัฐ
นายไดมอนระบุว่า มีโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐจะถดถอยเล็กน้อย ซึ่งอาจจะเลวร้ายขึ้น โดยขึ้นอยู่กับทิศทางสงครามของรัสเซียในยูเครน ซึ่งสร้างความไม่แน่ใจให้กับอุปทานพลังงานและอาหารทั่วโลก ขณะที่ข้อพิพาทในยูเครน และสถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นกับจีน เป็นความเปราะบางที่สำคัญที่สุดต่อเสถียรภาพทางการเงินโลก--จบ--
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน