ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--19 เม.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในวันพฤหัสบดี ในขณะที่สหรัฐรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ไร้ทิศทางชัดเจน และตัวเลขดังกล่าวยังคงทำให้นักลงทุนมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และมองว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2020 ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. โดยเลื่อนจากเดิมที่เคยคาดไว้เมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อนว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. นอกจากนี้ นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้ายังคาดการณ์กันอีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 0.38% ในปี 2024 หรือปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงครั้งละ 0.25% เป็นจำนวนไม่ถึง 2 ครั้ง หลังจากที่นักลงทุนเคยคาดไว้เมื่อต้นปีนี้ว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 6 ครั้งในปี 2024 ทั้งนี้ ดอลลาร์ได้รับแรงหนุน หลังจากนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์คกล่าวว่า เฟดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในตอนนี้ เมื่อพิจารณาจากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 106.17 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจาก 105.96 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 106.51 ในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2023 หรือจุดสูงสุดรอบ 5 เดือนครึ่ง โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้ว 4.5% จากช่วงต้นปีนี้
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 154.63 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 154.38 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 154.79 เยนในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 34 ปี หรือจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0643 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0671 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากร่วงลงแตะ 1.0599 ดอลลาร์ในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. 2023 หรือจุดต่ำสุดรอบ 5 เดือนครึ่ง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดขยับขึ้นในวันพฤหัสบดี แต่ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ปรับลง ในขณะที่นักลงทุนพิจารณาผลประกอบการภาคเอกชนของสหรัฐ และนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง และเจ้าหน้าที่เฟดก็ส่งสัญญาณว่าเฟดจะไม่รีบร้อนปรับลดอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน โดยนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์คกล่าวในวันพฤหัสบดีว่า เฟดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในตอนนี้ เมื่อพิจารณาจากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ทางด้านนายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดสาขาแอตแลนตากล่าวว่า เขาพึงพอใจที่จะใช้ความอดทน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงสู่ระดับเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% อย่างเชื่องช้าเกินคาด ทั้งนี้ หุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์พุ่งขึ้น 1.54% สู่ 501.80 ดอลลาร์ และถือเป็นหุ้นที่ส่งแรงบวกมากที่สุดต่อดัชนี S&P 500 หลังจากบริษัทเบิร์นสไตน์ปรับขึ้นราคาเป้าหมายของหุ้นเมตาสู่ 590 ดอลลาร์ จากเดิมที่ 535 ดอลลาร์ อย่างไรก็ดี หุ้นลาสเวกัส แซนด์ซึ่งทำธุรกิจคาสิโนดิ่งลง 8.66% และถือเป็นหุ้นที่ดิ่งลงมากที่สุดในดัชนี S&P 500 ในขณะที่บริษัทโบรกเกอร์หลายแห่งปรับลดราคาเป้าหมายของหุ้นตัวนี้ โดยให้เหตุผลว่ากิจการของลาสเวกัส แซนด์ในมาเก๊าอยู่ในภาวะอ่อนแอ ทางด้านหุ้นบริษัทเอควิแฟกซ์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรูดลง 8.49% หลังจากทางบริษัทคาดการณ์รายได้ไตรมาสสองที่ต่ำเกินคาด Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น 0.06% สู่ 37,775.38
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.22% สู่ 5,011.12 ในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดในแดนลบเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน และถือเป็นการปิดตลาดในแดนลบติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2023 หลังจากดัชนีเพิ่งพุ่งขึ้นมานานติดต่อกัน 5 เดือนนับตั้งแต่เดือนพ.ย.เป็นต้นมา
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.52% สู่ 15,601.50
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ขยับขึ้นเล็กน้อย แต่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลงในวันพฤหัสบดี ในขณะที่นักลงทุนพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ไร้ทิศทางชัดเจนในสหรัฐ, มาตรการของสหรัฐที่ใช้ในการคว่ำบาตรเวเนซูเอลาและอิหร่าน และความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ลดระดับลง ทางด้านราคาสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดีเซลในสหรัฐได้ดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนม.ค. หรือจุดต่ำสุดรอบ 15 สัปดาห์ และส่งผลให้ค่าแครกสเปรดของน้ำมันดีเซล ซึ่งใช้วัดอัตราผลกำไรในการกลั่นน้ำมันดีเซล รูดลงแเตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2023 ทั้งนี้ เวเนซูเอลาได้สูญเสียใบอนุญาตสำคัญของสหรัฐที่อนุญาตให้เวเนซูเอลาส่งออกน้ำมันสู่ตลาดโลก และปัจจัยนี้จะส่งผลลบต่อปริมาณการขายน้ำมันดิบและเชื้อเพลิงของเวเนซูเอลา ทางด้านสหรัฐได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านด้วยเช่นกัน โดยตั้งเป้าหมายไปยังการผลิตอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ของอิหร่าน หลังจากอิหร่านใช้โดรนโจมตีอิสราเอลในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่มาตรการคว่ำบาตรใหม่นี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันของอิหร่าน ในขณะที่อิหร่านถือเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ค.ขยับขึ้น 4 เซนต์ หรือ 0.1% มาปิดตลาดที่ 82.73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันพฤหัสบดี หลังจากเพิ่งปิดตลาดวันพุธที่ระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 18 เซนต์ หรือ 0.2% มาปิดตลาดที่ 87.11 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค. โดยเบรนท์ดิ่งลงมาแล้วราว 3.5% ในช่วง 3 วันทำการที่ผ่านมา
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้น 17.44 ดอลลาร์ สู่ 2,378.25 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง และปัจจัยบวกนี้ช่วยบดบังแรงกดดันที่ราคาทองได้รับจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในสหรัฐ ทั้งนี้ อิสราเอลส่งสัญญาณว่า อิสราเอลจะตอบโต้อิหร่านที่ได้ใช้โดรนและขีปนาวุธโจมตีอิสราเอลในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ถึงแม้ชาติตะวันตกพยายามเรียกร้องให้อิสราเอลใช้ความอดทนอดกลั้น Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com ; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ-18- เม.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในวันพุธ ซึ่งถือเป็นการปรับลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 วันทำการ ในขณะที่นักลงทุนพักการเข้าซื้อดอลลาร์ หลังจากดอลลาร์เคยพุ่งขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้โดยได้รับแรงหนุนจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่บ่งชี้ว่า เฟดจะยังไม่เริ่มต้นวัฏจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้จนกว่าจะได้ดูตัวเลขเศรษฐกิจใหม่ ทางด้านธนาคารกลางสำคัญแห่งอื่น ๆ ยังคงมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคตเหมือนเดิม ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในระยะนี้แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะแข็งแกร่งเกินคาด และปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด ทางด้านเฟดได้เปิดเผยรายงาน Beige Book ออกมาในวันพุธ โดยรายงานระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐขยายตัวเล็กน้อยในช่วงตั้งแต่ปลายเดือนก.พ.จนถึงต้นเดือนเม.ย. และบริษัทสหรัฐคาดการณ์ว่า แรงกดดันเงินเฟ้อจะทรงตัว Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 105.96 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยร่วงลงจาก 106.33 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 106.51 ในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2023 หรือจุดสูงสุดรอบ 5 เดือนครึ่ง โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้วราว 4.7% จากช่วงต้นปีนี้
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 154.38 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 154.71 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 154.79 เยนในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 34 ปี หรือจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0671 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0617 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากร่วงลงแตะ 1.0599 ดอลลาร์ในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. 2023 หรือจุดต่ำสุดรอบ 5 เดือนครึ่ง
ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงหลังจากแกว่งตัวผันผวนในระหว่างวัน ในขณะที่นักลงทุนพยายามประเมินจุดยืนด้านอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และปรับตัวรับผลประกอบการที่อ่อนแอในช่วงต้นของฤดูการรายงานผลประกอบการ โดยหุ้นบริษัทแทรเวเลอร์ส ซึ่งเป็นบริษัทประกันยักษ์ใหญ่ดิ่งลง 7.41% และถือเป็นหุ้นที่ถ่วงดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลงมากที่สุดในวันพุธ หลังจากแทรเวเลอร์สเปิดเผยผลกำไรไตรมาสแรกที่ต่ำเกินคาด ส่วนหุ้นบริษัทโพรโลจิส ซึ่งเป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) กลุ่มโกดังสินค้ารูดลง 7.19% หลังจากทางบริษัทเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาส ทางด้านหุ้นบริษัทแอบบอทท์ แลบอราทอรีส์ซึ่งทำธุรกิจเวชภัณฑ์ดิ่งลง 3.03% หลังจากแอบบอทท์คาดการณ์แนวโน้มรายปีที่น่าผิดหวัง ทั้งนี้ ตลาดหุ้นได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยในตอนนี้นักลงทุนคาดว่า มีโอกาสเพียง 16.8% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25% ในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. และมีโอกาสเพียง 46% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 30-31 ก.ค. อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นลดช่วงติดลบกลับขึ้นมาได้บ้าง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงจาก 4.657% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 4.585% ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากสหรัฐเปิดประมูลพันธบัตรอายุ 20 ปีและได้รับการตอบรับอย่างแข็งแก่ง Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับลง 0.12% สู่ 37,753.31
ดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลง 0.58% สู่ 5,022.21 ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดในแดนลบเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบกว่า 4 เดือน และมีแนวโน้มว่าดัชนีอาจจะปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกันด้วย
ดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 1.15% สู่ 15,683.37
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันพุธ โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงการพุ่งขึ้นของสต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐ, ตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอในจีน และความคืบหน้าของสหรัฐในการผลักดันร่างกฎหมายให้ความช่วยเหลือแก่อิสราเอลและยูเครน โดยนายไมค์ จอห์นสัน ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐกล่าวว่า จะมีการเปิดเผยเนื้อหาในร่างกฎหมาย 4 ฉบับในวันพุธ ซึ่งได้แก่ร่างกฎหมายเรื่องการให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครน, อิสราเอล และภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และร่างกฎหมายเรื่องมาตรการรับมือกับรัสเซีย, จีน และอิหร่าน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงกดดันจากการที่อิสราเอลยังไม่ได้ตอบโต้อิหร่านด้วย หลังจากอิหร่านใช้โดรนและขีปนาวุธโจมตีอิสราเอลโดยตรงในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันในคลังสหรัฐออกมาในวันพุธ โดยระบุว่าสต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 2.7 ล้านบาร์เรล สู่ 460 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 เม.ย. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่าอาจเพิ่มขึ้นเพียง 1.4 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐดิ่งลง 1.2 ล้านบาร์เรล สู่ 227.4 ล้านบาร์เรล ทางด้านสต็อกน้ำมัน Distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil รูดลง 2.8 ล้านบาร์เรล สู่ 115 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ค.รูดลง 2.67 ดอลลาร์ หรือ 3.1% มาปิดตลาดที่ 82.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค.
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 2.73 ดอลลาร์ หรือ 3% มาปิดตลาดที่ 87.29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐดิ่งลง 22.02 ดอลลาร์ สู่ 2,360.81 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ แต่ยังคงเคลื่อนตัวอยู่ใกล้สถิติสูงสุดที่ 2,431.29 ดอลลาร์ที่เคยทำไว้ในวันศุกร์ที่ 12 เม.ย. ในขณะที่ราคาทองได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และปัจจัยลบดังกล่าวบดบังแรงหนุนที่ราคาทองได้รับจากคำสั่งซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com ; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--17 เม.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 5 เดือนเมื่อเทียบกับยูโรในวันอังคาร หลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เฟดอาจจะมีความจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงลดลงได้ยาก และเขาตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติมในปีนี้ในการเข้าใกล้เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% นอกจากนี้ เขายังกล่าวอีกด้วยว่า "ตัวเลขเศรษฐกิจในระยะนี้ไม่ได้ทำให้เรามีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น แต่ตัวเลขเศรษฐกิจในระยะนี้กลับบ่งชี้ว่า มีแนวโน้มที่จะใช้เวลานานเกินคาดในการที่เราจะมีความเชื่อมั่นเช่นนั้น" โดยการกล่าวแถลงของเขาในวันอังคารมีแนวโน้มว่าอาจจะเป็นการแสดงความเห็นต่อสาธารณชนครั้งสุดท้ายของเขา ก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. ทั้งนี้ ดอลลาร์/เยนพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 ในขณะที่เทรดเดอร์จับตาดูว่า ทางการญี่ปุ่นจะเข้ามาแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเพื่อหนุนค่าเงินเยนหรือไม่ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 106.33 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 106.18 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 106.51 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2023 หรือจุดสูงสุดรอบ 5 เดือนครึ่ง
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 154.71 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 154.27 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 154.79 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 34 ปี หรือจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0617 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยขยับลงจาก 1.0622 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากร่วงลงแตะ 1.0599 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. 2023
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐขยับขึ้น แต่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ปรับลงในวันอังคาร ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นจาก 4.628% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.657% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากทะยานขึ้นแตะ 4.696% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 5 เดือน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ได้รับแรงหนุนจากตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐที่แข็งแกร่งเกินคาดที่ได้รับการรายงานออกมาในวันจันทร์ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นก็ได้รับผลกระทบจากถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันอังคารด้วย หลังจากนายพาวเวลล์กล่าวว่า เฟดอาจจะมีความจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงลดลงได้ยาก ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการที่ดีเกินคาดของบริษัทยูไนเต็ดเฮลธ์ กรุ๊ป ซึ่งส่งผลให้หุ้นยูไนเต็ดเฮลธ์พุ่งขึ้น 5.22% ในวันอังคาร และตลาดหุ้นสหรัฐก็ได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P 500 ได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค นอกจากนี้ หุ้นบริษัทเทสลาก็ดิ่งลง 2.7% ในวันอังคาร หลังจากรูดลงกว่า 5% ในวันจันทร์โดยได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่า เทสลาวางแผนจะปลดพนักงานออกกว่า 10% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.17% สู่ 37,798.97
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.21% สู่ 5,051.41
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.12% สู่ 15,865.25 ในวันอังคาร โดยทั้งดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ต่างก็ดิ่งลงมาแล้วเกือบ 4% จากสถิติสูงสุดที่ทำไว้ในเดือนมี.ค.
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ขยับลงเล็กน้อยในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับปัญหาทางเศรษฐกิจ หลังจากหลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เฟดอาจจะมีความจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงลดลงได้ยาก และเขาตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติมในปีนี้ในการเข้าใกล้เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% โดยปัจจัยลบนี้บดบังแรงหนุนที่ราคาน้ำมันได้รับจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ทางด้านนักลงทุนจับตาดูว่า อิสราเอลจะดำเนินมาตรการอย่างไรในการตอบโต้อิหร่าน หลังจากอิหร่านใช้โดรนและขีปนาวุธโจมตีอิสราเอลในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่การโจมตีดังกล่าวสร้างความเสียหายต่ออิสราเอลในระดับที่น้อยเกินคาด ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 เม.ย. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 4.089 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.509 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐลดลง 427,000 บาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ค.ขยับลง 5 เซนต์ หรือ 0.1% มาปิดตลาดที่ 85.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนขยับลง 8 เซนต์ หรือ 0.1% มาปิดตลาดที่ 90.02 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 92.18 ดอลลาร์ในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2023
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับขึ้น 0.32 ดอลลาร์ สู่ 2,382.83 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 2,431.29 ดอลลาร์ในวันศุกร์ที่ 12 เม.ย. โดยราคาทองได้รับแรงหนุนในวันอังคารในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเรื่องความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง และปัจจัยบวกดังกล่าวช่วยชดเชยแรงกดดันที่ราคาทองได้รับจากการที่นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในปีนี้ ทั้งนี้ ธนาคารดอยช์ แบงก์คาดว่า ราคาทองอาจจะอยู่ที่ 2,400 ดอลลาร์ในช่วงสิ้นปีนี้ และอาจจะอยู่ที่ 2,600 ดอลลาร์ในเดือนธ.ค. 2025 โดยดอยช์ แบงก์ระบุเสริมว่า "เราคาดว่าราคาทองมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับแข็งแกร่งต่อไป เพราะว่าคำสั่งเทขายทำกำไรของนักลงทุนจะได้รับการชดเชยด้วยเงินลงทุนจากนักลงทุนกลุ่มที่ยังไม่ได้เข้าร่วมในการพุ่งขึ้นของราคาทองในช่วงที่ผ่านมา" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com ; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--10 เม.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทรงตัวในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนใช้ความระมัดระวังในการลงทุน ก่อนที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อออกมาในวันพุธ โดยนักลงทุนคาดการณ์กันว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปของสหรัฐอาจปรับขึ้น 0.3% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.4% ในเดือนก.พ. แต่ดัชนี CPI ทั่วไปแบบเทียบรายปีอาจปรับขึ้น 3.4% ในเดือนมี.ค. โดยเร่งตัวขึ้นจาก 3.2% ในเดือนก.พ. ทางด้านดัชนี CPI พื้นฐานอาจปรับขึ้น 0.3% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ทั้งนี้ นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดการณ์ในวันอังคารว่า มีโอกาส 58% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. โดยปรับเพิ่มขึ้นจากโอกาส 52% ที่เคยคาดไว้ในช่วงเย็นวันจันทร์ และนักลงทุนคาดการณ์กันว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันราว 0.74% ในปี 2024 หรือเท่ากับว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปีนี้ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.09 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 104.11 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 151.77 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร ซึ่งใกล้เคียงกับระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 151.79 เยน และเทียบกับจุดสูงสุดรอบ 34 ปีที่ 151.97 เยนที่เคยทำไว้ในวันที่ 27 มี.ค.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0855 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0858 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐขยับลง แต่ดัชนี Nasdaq และ S&P 500 ปิดบวกขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร โดยดัชนี Nasdaq ได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มชิปของสหรัฐ ในขณะที่ดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐปิดบวกขึ้น 0.94% อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงกดดันจากความอ่อนแอของหุ้นกลุ่มการเงิน ก่อนที่ฤดูการรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของบริษัทสหรัฐจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 12 เม.ย. เมื่อธนาคารเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, ซิตี้กรุ๊ป และเวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โคเปิดเผยผลประกอบการออกมา โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ในช่วงนี้ว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจปรับขึ้น 5.0% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบรายปี โดยปรับลดลงจากระดับ +7.2% ที่เคยคาดการณ์กันไว้ในช่วงต้นไตรมาสแรก นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธด้วย ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 9 กลุ่มปิดตลาดวันอังคารในแดนบวก โดยหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ส่วนหุ้นกลุ่มการเงินถือเป็นกลุ่มที่ดิ่งลงมากที่สุด ทางด้านหุ้นกลุ่มสกุลเงินคริปโตรูดลงในวันอังคารด้วยเช่นกัน โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของบิทคอยน์ โดยหุ้นบริษัทคอยน์เบส โกลบัลที่เป็นผู้ประกอบการตลาดดิ่งลง 5.5% และหุ้นบริษัทไมโครสเตรเทจีรูดลง 4.8% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับลง 0.02% สู่ 38,883.67
ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.14% สู่ 5,209.91
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 0.32% สู่ 16,306.64
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ร่วงลงในวันอังคาร ในขณะที่การเจรจาเรื่องการหยุดยิงในเขตกาซายังคงดำเนินต่อไป แต่ราคาน้ำมันร่วงลงไม่มากนัก ในขณะที่ผู้ไกล่เกลี่ยของอียิปต์และกาตาร์เผชิญกับอุปสรรคในการหาทางยุติสงคราม และกลุ่มฮามาสระบุว่า ข้อเสนอของอิสราเอลไม่สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของกลุ่มฮามาส อย่างไรก็ดี กลุ่มฮามาสจะศึกษาข้อเสนอต่อไป และจะยื่นส่งคำตอบให้กับผู้ไกล่เกลี่ย ทางด้านผู้บัญชาการกองทัพเรือของกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติของอิหร่านระบุว่า อิหร่านอาจจะปิดช่องแคบฮอร์มุซถ้าหากมีความจำเป็น ในขณะที่ปริมาณการขนส่งน้ำมันผ่านช่องแคบฮอร์มุซในแต่ละวันครองสัดส่วนราว 20% ของปริมาณการใช้น้ำมันทั่วโลก นอกจากนี้ ตุรกีก็ประกาศว่า ตุรกีจะจำกัดการส่งออกสินค้าหลายอย่างให้แก่อิสราเอล ซึ่งรวมถึงน้ำมันอากาศยาน จนกว่าจะมีการหยุดยิง ส่วนอิสราเอลประกาศว่าจะตอบโต้ตุรกีด้วยมาตรการของตนเอง ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 เม.ย. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 3.034 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐปรับลง 609,000 บาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐปรับขึ้น 120,000 บาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ค.ดิ่งลง 1.20 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 85.23 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนรูดลง 96 เซนต์ หรือ 1.1% มาปิดตลาดที่ 89.42 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 13.69 ดอลลาร์ สู่ 2,352.58 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ในระหว่างวันที่ 2,365.09 ดอลลาร์ โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง และจากความเสี่ยงจากความข้ดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ในขณะที่นักลงทุนรอดูรายงานการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 19-20 มี.ค. และรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธ ทั้งนี้ นายฟิลลิป สเตรเบิล หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบริษัทบลู ไลน์ ฟิวเจอร์สกล่าวว่า "จะยังคงมีคำสั่งซื้อตามปัจจัยทางเทคนิคเข้ามาในตลาดทองต่อไป นอกจากว่าสหรัฐจะรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงเกินคาดเป็นอย่างมาก แต่ถ้าหากสหรัฐรายงานว่า อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง ปัจจัยดังกล่าวก็อาจจะช่วยหนุนราคาทองให้พุ่งขึ้นสู่ 2,400 ดอลลาร์" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com ; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--14 มี.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอ่อนค่าลงในวันพุธ หลังจากที่เพิ่งแข็งค่าขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่อยู่ในระดับสูงเกินคาด ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ เพื่อใช้ในการประเมินว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อใด โดยตัวเลขที่นักลงทุนรอดูรวมถึงยอดค้าปลีก, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) และยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ สกายลาร์ มอนต์โกเมอรี โคนิง ผู้อำนวยการฝ่ายแผนยุทธศาสตร์มหภาคของบริษัททีเอส ลอมบาร์ดระบุในเอกสารวิจัยว่า "ดัชนีดอลลาร์ยังคงปรับตัวตามการคาดการณ์เรื่องการผ่อนคลายนโยบายการเงินของเฟด และในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนก็มีความกังวลมากยิ่งขึ้นว่า เฟดอาจจะเลื่อนกำหนดในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไปสู่ปี 2025 หรือกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการบีบบังคับให้เฟดต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง และสิ่งนี้ก็แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนกลับมากังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจจะเข้าสู่ภาวะ no landing" หรือภาวะที่เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตสูงกว่าระดับศักยภาพและอัตราเงินเฟ้ออยู่สูงกว่าระดับศักยภาพ โดยที่เศรษฐกิจไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย นอกจากนี้ เธอยังกล่าวเสริมว่า เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งเกินคาดในช่วงนี้ "ดอลลาร์จึงมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้น ถึงแม้อาจจะเผชิญกับอุปสรรคบ้างเป็นบางครั้ง" Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 102.75 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 102.92 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร อย่างไรก็ดี ดัชนีดอลลาร์ยังคงพุ่งขึ้นมาแล้วราว 1.5% จากช่วงต้นปีนี้
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.74 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 147.68 เยน หลังจากดอลลาร์/เยนเพิ่งพุ่งขึ้นในวันอังคารในอัตราที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 1 เดือน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0946 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0924 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร
ดัชนีดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐขยับขึ้นในวันพุธ แต่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ปรับลงในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนเทขายทำกำไรหุ้นกลุ่มชิป โดยดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐดิ่งลง 2.5% ในวันพุธ แต่ดัชนีฟิลาเดลเฟียยังคงพุ่งขึ้นมาแล้ว 17% จากช่วงต้นปีนี้ ทางด้านหุ้นบริษัทเอ็นวิเดียรูดลง 1.1% ในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนรอดูข่าวเกี่ยวกับงานประชุมผู้พัฒนาเทคโนโลยีหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ (GTC) สำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่จัดโดยเอ็นวิเดียในวันที่ 18-21 มี.ค. และรอดูข่าวเกี่ยวกับ AI ในช่วงนี้ด้วย ส่วนหุ้นบริษัทอินเทลดิ่งลง 4.4% หลังจากสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐยกเลิกแผนการให้เงิน 2.5 พันล้านดอลลาร์แก่อินเทล ทั้งนี้ หุ้นบริษัทแมคโดนัลด์สดิ่งลง 3.9% หลังจากหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของแมคโดนัลด์สระบุว่า ยอดขายต่างประเทศอาจจะปรับลดลงในไตรมาสปัจจุบัน ส่วนหุ้นบริษัทดอลลาร์ ทรีซึ่งทำธุรกิจเครือข่ายร้านขายสินค้าราคาถูกรูดลง 14.2% หลังจากดอลลาร์ ทรีประกาศว่าจะปิดห้างร้านเกือบ 1,000 แห่ง และทางบริษัทมียอดขาดทุนสุทธิในไตรมาสที่แล้ว โดยเป็นผลจากการด้อยค่าความนิยมลงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น 0.1% สู่ 39,043.32
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.19% สู่ 5,165.31
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.54% สู่ 16,177.77
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบและน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐที่ดิ่งลงอย่างรุนแรงเกินคาด และจากข่าวที่ว่ายูเครนใช้โดรนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของรัสเซีย ซึ่งส่งผลให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่โรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทรอสเนฟท์ ในขณะที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียกล่าวว่า การโจมตีดังกล่าวเป็นความพยายามในการสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซียในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ ปธน.ปูตินยังกล่าวอีกด้วยว่า รัสเซียมีความพร้อมทางเทคนิคในการทำสงครามนิวเคลียร์ แต่เขายังไม่เห็นความจำเป็นในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ในยูเครน และเขากล่าวเสริมว่า ถ้าหากสหรัฐส่งทหารเข้าไปในยูเครน สิ่งนี้ก็จะถือเป็นการยกระดับความขัดแย้งขึ้นเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 1.5 ล้านบาร์เรล สู่ 447 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 มี.ค. ซึ่งสวนทางกับโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจปรับขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐรูดลง 5.7 ล้านบาร์เรล สู่ 234.1 ล้านบาร์เรล ซึ่ถือเป็นการรูดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน และเทียบกับโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า สต็อกน้ำมันเบนซินอาจปรับลดลงเพียง 1.9 ล้านบาร์เรล ทางด้านสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐ ซึ่งครอบคลุมน้ำมันดีเซลและน้ำมัน heating oil ปรับขึ้น 888,000 บาร์เรล สู่ 117.9 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนเม.ย.ทะยานขึ้น 2.16 ดอลลาร์ หรือ 2.8% มาปิดตลาดที่ 79.72 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 2.11 ดอลลาร์ หรือ 2.6% มาปิดตลาดที่ 84.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย. 2023 หรือระดับปิดสูงสุดในรอบ 4 เดือน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 16.41 ดอลลาร์ สู่ 2,174.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ในขณะที่นักลงทุนยังคงคาดการณ์ตามเดิมว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. นอกจากนี้ ราคาทองก็ได้รับแรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศด้วย ทั้งนี้ นายบ็อบ ฮาเบอร์คอร์น นักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบริษัทอาร์เจโอ ฟิวเจอร์สกล่าวว่า การปรับขึ้นของราคาทองในวันพุธเกิดจากคำสั่งช้อนซื้อเก็งกำไร และเขากล่าวเสริมว่า "นักลงทุนมองว่า ราคาทองจะได้รับแรงหนุนไม่ว่าสถานการณ์จะออกมาเป็นอย่างไรก็ตาม เพราะว่าถ้าหากเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ย ราคาทองก็จะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง แต่ถ้าหากเฟดไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ย นักลงทุนก็จะกังวลกับภาวะเงินเฟ้อ และความกังวลดังกล่าวก็อาจจะหนุนราคาทองให้สูงขึ้น" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--19 ก.พ.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐทรงตัวในวันศุกร์ หลังจากสำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) ในกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) สำหรับอุปสงค์ขั้นสุดท้ายในสหรัฐปรับขึ้น 0.3% ในเดือนม.ค. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2023 หรือครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 5 เดือน หลังจากดัชนี PPI ปรับลง 0.1% ในเดือนธ.ค. โดยตัวเลขของเดือนม.ค.อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.1% ทั้งนี้ รายงานดัชนี PPI ที่สูงเกินคาดนี้ช่วยกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามเดิมจนถึงช่วงกลางปีนี้ โดยในตอนนี้นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดว่า มีโอกาสเพียง 10.5% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 79% ที่เคยคาดไว้ในช่วงต้นปีนี้ และนักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า มีโอกาสเพียง 33.7% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.28 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 104.26 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 150.21 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 149.91 เยน โดยดอลลาร์/เยนพุ่งขึ้นมาแล้วราว 6.5% จากช่วงต้นปีนี้
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0774 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0771 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี
ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงในวันศุกร์ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งเกินคาดในเดือนม.ค. และตัวเลขดังกล่าวช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ โดยรายงานตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า มีโอกาสสูงกว่า 50% เล็กน้อยที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. โดยปรับลดลงจากโอกาสราว 75% ที่เคยคาดไว้ก่อนที่สหรัฐจะรายงานตัวเลข PPI ออกมา นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่เฟดสองคนก็แสดงความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อด้วย โดยนายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดสาขาแอตแลนตากล่าวว่า เขาต้องการจะเห็นหลักฐานมากกว่านี้ว่า แรงกดดันเงินเฟ้อกำลังปรับลดลง แต่เขาเปิดโอกาสสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงฤดูร้อน ทางด้านแมรี ดาลี ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโกกล่าวว่า ยังคงมีงานที่ต้องทำต่อไปในการรับประกันว่าราคาจะมีเสถียรภาพ ถึงแม้มีความคืบหน้าในการปรับลดภาวะเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ หุ้นบริษัทขนาดยักษ์ส่วนใหญ่ร่วงลงในวันศุกร์ โดยหุ้นบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ดิ่งลง 2.2% และมีส่วนกดดันดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารของสหรัฐให้ดิ่งลง 1.56% อย่างไรก็ดี หุ้นบริษัทวัลแคน แมทีเรียลส์พุ่งขึ้น 5.2% หลังจากทางบริษัทคาดว่าผลกำไรตลอดทั้งปีจะปรับสูงขึ้น และการพุ่งขึ้นของหุ้นวัลแคนก็มีส่วนช่วยหนุนดัชนีหุ้นกลุ่มวัสดุให้ปรับขึ้นด้วย Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.37% สู่ 38,627.99
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.48% สู่ 5,005.57 แต่สามารถปิดตลาดเหนือระดับ 5,000 ได้เป็นครั้งที่ 4 ของปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง และจากการคาดการณ์ในทางบวกต่อธุรกิจปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.83% สู่ 15,775.65 โดยดัชนีสำคัญทั้ง 3 ดัชนีของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบ หลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกมานาน 5 สัปดาห์ติดต่อกัน
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งทางการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลาง ในขณะที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ประกาศในวันพฤหัสบดีว่า ทางกลุ่มได้ยิงจรวดหลายสิบลูกเข้าใส่เมืองแห่งหนึ่งในภาคเหนือของอิสราเอล เพื่อตอบโต้ต่อการสังหารพลเรือน 10 คนในภาคใต้ของเลบานอน ทางด้านอิสราเอลได้ส่งเครื่องบินรบไปโจมตีเมืองราฟาห์ในเขตฉนวนกาซา ซึ่งถือเป็นแหล่งหลบภัยสุดท้ายสำหรับชาวปาเลสไตน์ในเขตกาซา นอกจากนี้ ก็มีผู้ยิงขีปนาวุธออกจากเยเมนเพื่อโจมตีเรือขนส่งน้ำมันดิบในทะเลแดงที่มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่อินเดียด้วย ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่ราคาน้ำมันได้รับจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางช่วยบดบังแรงกดดันที่ราคาน้ำมันได้รับจากรายงานขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) หลังจาก IEA คาดการณ์ในวันพฤหัสบดีว่า อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้นเพียง 1.22 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2024 โดยปรับลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ +1.24 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทางด้านบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์รายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซที่ใช้งานในสหรัฐลดลง 2 แท่น สู่ 621 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 ก.พ. Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 1.16 ดอลลาร์ หรือ 1.49% มาปิดตลาดที่ 79.19 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่สัญญาเดือนมี.ค.จะครบกำหนดส่งมอบในวันอังคารที่ 20 ก.พ. ส่วนราคาสัญญาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนเม.ย.ทะยานขึ้น 87 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 78.46 ดอลลาร์ในวันศุกร์ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบสหรัฐเดือนใกล้ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นราว 3% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 61 เซนต์ หรือ 0.74%มาปิดตลาดที่ 83.47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นกว่า 1% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 9.01 ดอลลาร์ สู่ 2,013.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ แต่ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับลง 0.55% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงในสหรัฐส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ นายเอฟเวอเรทท์ มิลแมน หัวหน้านักวิเคราะห์ตลาดของบริษัทเกนส์วิลล์กล่าวว่า เนื่องจากเฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนมี.ค. ดังนั้นราคาทองจึงอาจจะประสบความยากลำบากในการพุ่งสูงเหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์ และเขากล่าวเสริมว่า "ผมคาดว่าราคาทองจะดิ่งลงสู่ระดับราว 1,960 ดอลลาร์" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--5 ก.พ.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 7 สัปดาห์ในวันศุกร์ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 353,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ 180,000 ตำแหน่งเป็นอย่างมาก ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงของคนงานสหรัฐทะยานขึ้น 0.6% ในเดือนม.ค. หลังจากปรับขึ้น 0.4% ในเดือนธ.ค. โดยรายงานตัวเลขนี้ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า มีโอกาสน้อยลงที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดการณ์กันในวันศุกร์ว่า มีโอกาสเพียง 21% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 38% ที่เคยคาดไว้ในวันพฤหัสบดี และเทรดเดอร์ยังคาดการณ์กันในวันศุกร์อีกด้วยว่า มีโอกาส 75% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 94% ที่เคยคาดไว้ในวันพฤหัสบดี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.97 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยพุ่งขึ้นจาก 103.05 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากทะยานขึ้นแตะ 104.04 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 148.37 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยทะยานขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 146.42 เยน และเทียบกับจุดสูงสุดของเดือนม.ค.ที่ 148.80 เยนที่เคยทำไว้ในวันที่ 19 ม.ค. โดยจุดสูงสุดของเดือนม.ค.ถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 28 พ.ย.เป็นต้นมา
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0784 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยร่วงลงจาก 1.0872 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี และเทียบกับจุดต่ำสุดของวันพฤหัสบดีที่ 1.0780 ดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.เป็นต้นมา
ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันศุกร์ ในขณะที่ผลกำไรที่แข็งแกร่งของบริษัทสหรัฐและรายงานตัวเลขการจ้างงานเดือนม.ค.ของสหรัฐที่พุ่งสูงเกินคาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจสหรัฐ ถึงแม้ว่าตัวเลขการจ้างงานส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ก็ตาม โดยหุ้นบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก พุ่งขึ้น 20.3% สู่สถิติสูงสุดใหม่ในวันศุกร์ หลังจากเมตาประกาศจ่ายเงินปันผลเป็นครั้งแรกในวันพฤหัสบดี และทางบริษัทรายงานตัวเลขรายได้และผลกำไรที่ดีเกินคาด โดยได้รับแรงหนุนจากยอดขายโฆษณาที่แข็งแกร่งในช่วงฤดูช้อปปิ้งปลายปี ทางด้านหุ้นบริษัทอะเมซอนดอทคอมทะยานขึ้น 7.9% ในวันศุกร์ หลังจากอะเมซอนเปิดเผยรายได้ไตรมาสสี่ที่สูงเกินคาดในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงหนุนจากบริการด้านปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง (generative AI) ในธุรกิจคลาวด์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอะเมซอน ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 6 กลุ่มปิดตลาดวันศุกร์ในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารพุ่งขึ้น 4.69% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยทะยานขึ้น 2.49% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากเป็นอันดับสอง ทางด้านดัชนี KBW สำหรับหุ้นธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐขยับขึ้น 0.2% ในวันศุกร์ หลังจากที่เคยดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันพุธและวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่น่าผิดหวังของธนาคารนิวยอร์ค คอมมูนิที แบงคอร์ (NYCB) อย่างไรก็ดี หุ้น NYCB ดีดขึ้น 5.0% ในวันศุกร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.35% สู่ 38,654.42
ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 1.07% สู่ 4,958.61 ซึ่งถือเป็นการทำสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่
ดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 1.74% สู่ 15,628.95 ในวันศุกร์ โดยดัชนีสำคัญทั้งสามดัชนีของตลาดหุ้นสหรัฐต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันศุกร์ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่พุ่งสูงเกินคาดในเดือนม.ค. และตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ โดยแนวโน้มที่เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปอาจจะส่งผลลบต่ออุปสงค์น้ำมันดิบ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้รับแรงกดดันจากปัจจัยอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งรวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอในจีน หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนอาจจะเติบโตเพียง 4.6% ในปี 2024 และเติบโตเพียง 3.5% ในปี 2028 ทางด้านนักลงทุนจับตาดูสถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางในช่วงนี้ ในขณะที่หัวหน้าสปายของสหรัฐและอิสราเอลร่างข้อเสนอหยุดยิงระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส และได้ส่งข้อเสนอดังกล่าวไปให้แก่อียิปต์และกาตาร์ แต่กลุ่มฮามาสยังไม่ได้ตอบรับต่อข้อตกลงนี้ในวันศุกร์ ทั้งนี้ บริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์รายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐทรงตัวที่ 499 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 ก.พ. ส่วนคณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) รายงานในวันศุกร์ว่า ผู้จัดการกองทุนปรับเพิ่มการถือครองสถานะซื้อสุทธิในสัญญาล่วงหน้าและออปชั่นน้ำมันดิบสหรัฐในตลาดนิวยอร์คและลอนดอนขึ้น 18,082 สัญญา สู่ 117,226 สัญญาในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ม.ค. Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.รูดลง 1.54 ดอลลาร์ หรือ 2% มาปิดตลาดที่ 72.28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.37 ดอลลาร์ หรือ 1.7% มาปิดตลาดที่ 77.33 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงราว 7% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 16.30 ดอลลาร์ สู่ 2,038.59 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ และจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่พุ่งสูงเกินคาดในเดือนม.ค. และตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนไม่แน่ใจว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้จริงหรือไม่ ทั้งนี้ ราคาทองปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 1.00% จากสัปดาห์ที่แล้ว และราคาทองยังคงเคลื่อนตัวอยู่เหนือระดับสำคัญที่ 2,000 ดอลลาร์ได้นับตั้งแต่ต้นปีนี้ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน