ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
โตเกียว--7 ส.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์/เยนพุ่งขึ้น 2.00% สู่ 147.19 เยนในวันนี้ หลังจากเพิ่งรูดลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 7 เดือนที่ 141.675 เยนในวันจันทร์ และหลังจากเพิ่งปิดตลาดในแดนลบติดต่อกัน 5 วันในวันที่ 30 ก.ค.-5 ส.ค. โดยดอลลาร์/เยนยังคงดิ่งลงมาแล้วราว 9% จากจุดสูงสุดในรอบเกือบ 38 ปีที่ 161.96 เยนที่เคยทำไว้ในวันที่ 3 ก.ค. ทางด้านนักวิเคราะห์ระบุว่า การพุ่งขึ้นของเยนในช่วงนี้มีส่วนกดดันให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นดิ่งลงอย่างรุนแรงมากในวันจันทร์ หลังจากที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเคยพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนไม่แน่ใจว่า ความผันผวนของเยนในช่วงนี้จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อแนวโน้มผลกำไรของบริษัทญี่ปุ่น ทั้งนี้ ดัชนีนิกเกอิของตลาดหุ้นญี่ปุ่นดิ่งลงราว 20% ในช่วงวันที่ 1-5 ส.ค. โดยดัชนีนิกเกอิรูดลง 12.4% ในวันจันทร์ที่ 5 ส.ค. ซึ่งถือเป็นการทำสถิติดิ่งลงครั้งใหญ่อันดับสอง ส่วนสถิติการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในเหตุการณ์ Black Monday ในเดือนต.ค. 1987 อย่างไรก็ดี ดัชนีนิกเกอิดีดกลับขึ้นมาได้บ้างในเวลาต่อมา โดยดัชนีพุ่งขึ้น 10.23% ในวันอังคาร และทะยานขึ้นราว 1.19% สู่ 35,089.62 ในวันนี้ แต่ดัชนียังคงดิ่งลงมาแล้วราว 17.3% จากสถิติสูงสุดที่ 42,426.77 ที่เคยทำไว้ในวันที่ 11 ก.ค.
แรงเทขายในตลาดหุ้นญี่ปุ่นในช่วงนี้มีสาเหตุบางส่วนมาจากการแข็งค่าของเยน หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ประกาศผลการประชุมกำหนดนโยบายออกมาในวันที่ 31 ก.ค. โดยระบุว่าบีโอเจปรับขึ้นเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจาก 0-0.1% สู่ 0.25% ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 โดยดอลลาร์/เยนได้ดิ่งลงจาก 152.76 เยนในช่วงท้ายวันที่ 30 ก.ค. จนลงไปแตะจุดต่ำสุดรอบ 7 เดือนที่ 141.675 เยนในวันจันทร์ ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเยนในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเคยช่วยหนุนตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพราะว่าการอ่อนค่าของเยนส่งผลดีต่อบริษัทส่งออกขนาดยักษ์หลายแห่งของญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี เนื่องจากเยนแข็งค่าขึ้นในช่วงนี้ ดังนั้นนักลงทุนจึงจำเป็นจะต้องประเมินสถานการณ์ใหม่ว่า บริษัทญี่ปุ่นจะมีสถานะเป็นอย่างใดถ้าหากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากการอ่อนค่าของเยน
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเคยพุ่งขึ้นเกือบ 30% ในปีที่แล้ว และเพิ่งพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ในเดือนก.ค.ปีนี้ อย่างไรก็ดี นายอามีร์ อันวาร์ซาเดห์ จากบริษัทอะซิมเมทริก แอดไวเซอร์สกล่าวว่า "แรงหนุนทั้งหมดที่ดัชนีนิกเกอิ 225, หุ้นกลุ่มผู้ส่งออก และหุ้นบริษัทข้ามชาติเคยได้รับจากอัตราแลกเปลี่ยนได้หายไปหมดแล้ว" ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเยนส่งผลให้ต้นทุนของธุรกิจขนาดเล็กและค่าใช้จ่ายของภาคครัวเรือนญี่ปุ่นพุ่งสูงขึ้น แต่การอ่อนค่าของเยนส่งผลดีต่อบริษัทส่งออกขนาดใหญ่ ซึ่งรวมถึงบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ เพราะว่าการอ่อนค่าของเยนส่งผลให้สินค้าญี่ปุ่นมีราคาถูกลงในตลาดต่างประเทศ และการอ่อนค่าของเยนส่งผลให้ผลกำไรของบริษัทข้ามชาติเพิ่มสูงขึ้น เมื่อบริษัทเหล่านี้โอนย้ายผลกำไรจากต่างประเทศกลับเข้ามาในญี่ปุ่น ทางด้านโตโยต้า ซึ่งถือเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลกระบุว่า อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์/เยนที่เปลี่ยนแปลงไปทุก 1 เยน ส่งผลกระทบต่อผลกำไรของโตโยต้าราว 5.0 หมื่นล้านเยน (350 ล้านดอลลาร์) นอกจากนี้ โตโยต้ายังรายงานในสัปดาห์ที่แล้วอีกด้วยว่า ค่าเงินเยนส่งผลบวกราว 3.70 แสนล้านเยนต่อผลกำไรจากการดำเนินงานของโตโยต้าในไตรมาสล่าสุด
นักวิเคราะห์ระบุว่า ถึงแม้ภาคเอกชนของญี่ปุ่นยังคงมีพื้นฐานส่วนใหญ่ที่แข็งแกร่ง แรงเทขายหุ้นญี่ปุ่นในช่วงนี้ก็แสดงให้เห็นว่า ตลาดไม่ได้สะท้อนปัจจัยพื้นฐานเสมอไป นอกจากนี้ หุ้นกลุ่มผู้ส่งออกของญี่ปุ่นก็ได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐด้วย เพราะว่าสหรัฐนำเข้าสินค้าจำนวนมากจากญี่ปุ่น และสหรัฐถือเป็นตลาดที่สำคัญมากสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ของญี่ปุ่น โดยนายทากาโตชิ อิโตชิมะ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทพิคเทท แอสเซท แมเนจเมนท์ เจแปนระบุว่า ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง ยอดขายรถญี่ปุ่นก็จะได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ บริษัทซูบารุระบุในวันจันทร์ว่า ซูบารุยังคงคาดการณ์ว่าอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์/เยนจะอยู่ที่ 142 เยนสำหรับช่วงตลอดทั้งปีนี้ และซูบารุระบุอีกด้วยว่า รายได้เกือบ 80% ของซูบารุในไตรมาสแรกมาจากทวีปอเมริกาเหนือ โดยนายคัทสึยุกิ มิสุมะ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของซูบารุระบุว่า อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์/เยนที่เปลี่ยนแปลงไปทุก 1 เยนส่งผลกระทบต่อผลกำไรจากการดำเนินงานของซูบารุราว 1.0 หมื่นล้านเยน
การแข็งค่าของเยนในช่วงนี้อาจจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในวงกว้างของญี่ปุ่น หลังจากที่การดิ่งลงอย่างรุนแรงของเยนในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาส่งผลให้ราคาผู้บริโภคพุ่งสูงขึ้น และทำให้นักลงทุนกังวลกับแนวโน้มการจับจ่ายใช้สอยของญี่ปุ่น ทั้งนี้ การดิ่งลงของเยนในช่วงที่ผ่านมา เคยส่งผลให้ผู้ก่อตั้งบริษัทฟาสต์ รีเทลลิง ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของยูนิโคลประกาศเตือนว่า การอ่อนค่าของเยนไม่มีข้อดี เพราะว่าญี่ปุ่นนำเข้าวัตถุดิบจากหลายประเทศทั่วโลกเพื่อนำมาใช้ในการผลิตสินค้าก่อนจะส่งออกไปต่างประเทศ--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพ--24 มิ.ย.--รอยเตอร์
บริษัทเคาน์เตอร์พอยท์ รีเสิร์ชรายงานในวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงนี้ โดยที่บริษัท BYD ของจีนและบริษัทวินฟาสต์ของเวียดนามครองตำแหน่งผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคนี้ และสิ่งนี้ก็ส่งผลลบต่อตลาดรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ที่มีบริษัทญี่ปุ่นกับบริษัทเกาหลีใต้ครองตลาดอยู่ในตอนนี้ ทั้งนี้ ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พุ่งขึ้นกว่า 2 เท่าในไตรมาสเดือนม.ค.-มี.ค.ปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน แต่ยอดขายรถยนต์ ICE ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดิ่งลง 7% ในเวลาเดียวกัน
นายอภิค มุคเคอร์จี นักวิเคราะห์ของเคาน์เตอร์พอยท์กล่าวว่า "บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นผู้นำด้านยอดขายรถยนต์แบบดั้งเดิม ดำเนินการอย่างล่าช้าในการหันมาผลิต EV ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ตามแบบฐาน (OEM) ของจีนจึงก้าวเข้ามาทำสิ่งนี้แทน" และเขากล่าวเสริมว่า "บริษัทจีนที่นำโดย BYD ครองส่วนแบ่งกว่า 70% ในยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในตอนนี้" หลังจากที่บริษัทจีนเคยครองส่วนแบ่งได้ถึง 75% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในไตรมาส 1/2023
ประเทศไทยเป็นผู้นำในตลาดนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ไทยถือเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคนี้ และบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของจีนมีภาระผูกพันในการลงทุนกว่า 1.44 พันล้านดอลลาร์ในการจัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแห่งใหม่ในไทย โดยไทยครองส่วนแบ่งได้ถึง 55% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในไตรมาสแรก และยอดขายในไทยก็พุ่งขึ้น 44% จากเมื่อหนึ่งปีก่อน ทั้งนี้ ไทยถือเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของภูมิภาคนี้ด้วย โดยทั้งบริษัทโตโยต้า มอเตอร์และบริษัทฮอนด้า มอเตอร์ของญี่ปุ่นต่างก็มีฐานการผลิตใหญ่ในไทย
เคาน์เตอร์พอยท์ รีเสิร์ชระบุว่า "เวียดนามมีการเติบโตที่น่าประทับใจมาก โดยยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ในเวียดนามพุ่งขึ้นกว่า 400% และครองส่วนแบ่งได้สูงเกือบถึง 17% ของยอดขายทั้งหมดในภูมิภาคนี้" ทั้งนี้ ถ้าหากแยกตามบริษัทแล้ว บริษัท BYD ของจีนก็ครองอันดับหนึ่ง โดยครองส่วนแบ่งได้ถึง 47% ของตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนวินฟาสต์ครองอันดับสอง โดย BYD ได้รับแรงหนุนจากการที่ BYD เป็นหุ้นส่วนทางการจัดจำหน่ายกับบริษัทขนาดใหญ่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งส่งผลให้ BYD ประสบความสำเร็จในภูมิภาคนี้ตั้งแต่ในช่วงแรก อย่างไรก็ดี ภูมิภาคนี้ยังคงถือว่าเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ
บริษัทเทสลาซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของสหรัฐมียอดขายพุ่งขึ้น 37% ในไตรมาสแรกในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ แต่ครองส่วนแบ่งได้เพียง 4% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในไตรมาสแรกในภูมิภาคนี้ โดยลดลงจากเดิม 2% ทั้งนี้ ประเทศไทย, อินโดนีเซีย และประเทศอื่น ๆ บางประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ออกมาตรการจูงใจเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในรถยนต์ไฟฟ้าและเพื่อดึงดูดการลงทุนในช่วงนี้ และบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของจีนก็ตอบรับต่อมาตรการจูงใจดังกล่าว ในขณะที่บริษัทจีนเผชิญกับการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรงในจีน โดยนายมุคเคอร์จีกล่าวเสริมว่า "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กลายเป็นภูมิภาคสำคัญสำหรับการขยายตัวของบริษัทกลุ่ม OEM ของจีน"--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
โตเกียว--3 พ.ค.--รอยเตอร์
ภาคเอกชนของญี่ปุ่นเริ่มตั้งข้อสงสัยว่า การดิ่งลงมากเกินไปของเยนจะยังคงถือเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ โดยเยนเพิ่งดิ่งลงแตะ 160.245 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐในวันจันทร์ที่ 29 เม.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1990 หรือจุดต่ำสุดรอบ 34 ปี และเยนรูดลงมาแล้วราว 25% ในช่วงเวลาราว 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ โดยปกติแล้วการอ่อนค่าของเยนมักจะส่งผลบวกต่อภาคเอกชนของญี่ปุ่น เพราะว่ารถยนต์และสินค้าอื่น ๆ ของญี่ปุ่นจะมีราคาถูกลงในตลาดต่างประเทศ และสิ่งนี้จะช่วยหนุนผลกำไรของบริษัทญี่ปุ่น และจะส่งผลดีเมื่อบริษัทญี่ปุ่นโอนย้ายผลกำไรจากต่างประเทศกลับเข้ามาในญี่ปุ่นด้วย อย่างไรก็ดี การดิ่งลงของเยนส่งผลให้ราคาวัตถุดิบ, อาหาร และเชื้อเพลิงที่นำเข้าจากต่างประเทศพุ่งสูงขึ้น และสิ่งนี้สร้างความเสียหายต่อเกษตรกรที่นำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศ และสร้างความเสียหายต่อบริษัทผู้ผลิตขนาดเล็กของญี่ปุ่นที่พึ่งพาชิ้นส่วนที่นำเข้าจากจีน
ภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นก็ได้รับความเสียหายจากการดิ่งลงของเยนเช่นเดียวกัน ในขณะที่ค่าแรงของคนงานญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นไม่มากนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทางด้านนักวิเคราะห์มองว่า ผลเสียที่ภาคครัวเรือนกับบริษัทขนาดเล็กของญี่ปุ่นได้รับจากการดิ่งลงของเยน อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้มากกว่าผลบวกที่บริษัทผู้ส่งออกของญี่ปุ่นได้รับ หรือมากกว่าผลบวกที่เกิดจากการที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นพุ่งขึ้นสู่สถิติสูงสุดใหม่ ทั้งนี้ บริษัทขนาดเล็กครองสัดส่วนราว 70% ของคนงานทั้งหมดในญี่ปุ่น และบริษัทขนาดเล็กมีความสามารถน้อยกว่าบริษัทขนาดใหญ่ในการผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไปให้แก่ลูกค้าท่ามกลางตลาดที่มีการแข่งขันสูง
นายมาซาคาสุ โทคุระ ประธานกรรมการกลุ่มเคดันเร็น ซึ่งเป็นกลุ่มล้อบบี้ทางธุรกิจที่ทรงอิทธิพลในญี่ปุ่นระบุในงานแถลงข่าวในสัปดาห์ที่แล้วว่า "เยนอยู่ในระดับที่อ่อนแอเกินไป" และเยนที่ระดับต่ำกว่า 150 เยนต่อดอลลาร์ไม่ได้สะท้อน "ความแข็งแกร่งที่แท้จริงของเศรษฐกิจญี่ปุ่น" ทั้งนี้ นายโคจิ ชิบาตะ ประธานและซีอีโอของบริษัท ANA Holdings ซึ่งเป็นบริษัทสายการบินอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น กล่าวว่า เยนที่ระดับ 125 เยนต่อดอลลาร์จะถือเป็นระดับที่เหมาะสมมากกว่าในปัจจุบัน และเขากล่าวเสริมว่า "ค่าเงินเยนเป็นอุปสรรคขัดขวางผู้ที่ต้องการจะเดินทางไปต่างประเทศ โดยต้นทุนที่สูงขึ้นในต่างประเทศถือเป็นอุปสรรคใหญ่" ที่ขัดขวางไม่ให้ชาวญี่ปุ่นเดินทางไปต่างประเทศ ถึงแม้ว่าการดิ่งลงของเยนกระตุ้นให้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางเข้าสู่ญี่ปุ่นก็ตาม
มิตสึโกะ ทอทโทริ ประธานสายการบินเจแปน แอร์ไลน์กล่าวว่า เจแปน แอร์ไลน์อาจจะมีความจำเป็นต้องปรับขึ้นค่าตั๋วเครื่องบิน โดยเฉพาะในเส้นทางบินระหว่างประเทศ ถ้าหากค่าธรรมเนียมและการทำประกันความเสี่ยงด้านสกุลเงินไม่สามารถชดเชยต้นทุนพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นเพราะการอ่อนค่าของเยนได้ และเธอกกล่าวเสริมว่า ค่าเงินเยนที่ 130 เยนต่อดอลลาร์จะส่งผลดีต่อเจแปน แอร์ไลน์ได้มากกว่าค่าเงินเยนในปัจจุบัน ทั้งนี้ นายทาดาชิ ยานาอิ ซึ่งเป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดในญี่ปุ่น และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทฟาสต์ รีเทลลิง ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเครือข่ายร้านขายเสื้อผ้ายูนิโคล่ระบุว่า การอ่อนค่าของเยนไม่ได้ส่งผลดีต่อญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นำเข้าวัตถุดิบจากทั่วโลกเพื่อนำมาแปรรูปและเพิ่มมูลค่าก่อนจะนำออกขาย โดยเขาแสดงความเห็นแบบนี้ ถึงแม้ว่าการอ่อนค่าของเยนช่วยหนุนผลกำไรในต่างประเทศของยูนิโคล่ก็ตาม
นายทาคุ มินามิ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของบริษัทโตเกียว แก๊สกล่าวในสัปดาห์ที่แล้วว่า การดิ่งลงอย่างรุนแรงเกินไปของเยนอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น และอาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจของโตเกียว แก๊สด้วย ทั้งนี้ ผู้บริหารบริษัทหลายแห่งระบุว่า ถึงแม้การดิ่งลงของเยนส่งผลบวกต่อผลกำไรของบริษัท ความผันผวนของเยนก็สร้างความยากลำบากต่อการวางแผนสำหรับอนาคต โดยนายเอริค จอห์นสัน ซีอีโอของ JSR ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัสดุชิปกล่าวในวันอังคารว่า "การอ่อนค่าของเยนให้ผลประโยชน์บางประการสำหรับเรา แต่ในระยะยาวนั้น การอ่อนค่าของเยนส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานของเราและภาวะแวดล้อมทางธุรกิจเผชิญกับภาวะไร้เสถียรภาพมากยิ่งขึ้น" และเขากล่าวเสริมว่า "ผมมีความเห็นสอดคล้องกับผู้นำธุรกิจส่วนใหญ่ในประเด็นที่ว่า สิ่งที่สำคัญสำหรับเราก็คือเสถียรภาพและความสามารถในการคาดการณ์ล่วงหน้าได้"--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ผลสำรวจของรอยเตอร์พบว่า การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนญี่ปุ่นอาจลดลงมากขึ้นในเดือนมี.ค. ซึ่งจะตอกย้ำความยากลำบากที่ผู้กำหนดนโยบายกำลังเผชิญอยู่ในการทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืนเอง และปรับนโยบายการเงินให้เป็นปกติ
ค่ากลางจากความเห็นนักวิเคราะห์ 16 คนระบุว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนในเดือนมี.ค.อาจลดลง 2.4% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เทียบกับที่ลดลง 0.5% ในเดือนก.พ. และนั่นจะเป็นการลดลงเมื่อเทียบรายปีเป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกัน และเป็นอัตราการลดลงมากที่สุดตั้งแต่เดือนม.ค.เมื่อลดลง 6.3%
เมื่อเทียบรายเดือน คาดว่าการใช้จ่ายภาคครัวเรือนจะลดลง 0.3% ในเดือนมี.ค. เทียบกับที่เพิ่มขึ้น 1.4% ในเดือนก.พ.
นอกจากนี้ คาดว่าข้อมูลดุลบัญชีเดินสะพัดจะพบว่ามียอดเกินดุล 3.49 ล้านล้านเยน(2.24 หมื่นล้านดอลลาร์) ในเดือนมี.ค. เทียบกับที่เกินดุล 2.64 ล้านล้านเยนในเดือนก.พ.
การอุปโภคบริโภคภาคครัวเรือนที่ย่ำแย่เป็นเหตุที่สร้างความกังวลให้แก่ผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งต้องการเห็นวงจรการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่นำโดยการปรับค่าจ้างขึ้นมาก และการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ ญี่ปุ่นจะประกาศข้อมูลการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และข้อมูลดุลบัญชีเดินสะพัดในวันที่ 10 พ.ค.--จบ--
Eikon source text
ดัชนีวัดภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงโมเมนตัมที่ชะลอตัวลง หลังจากญี่ปุ่นรอดพ้นจากภาวะถดถอยในไตรมาส 4 ได้อย่างหวุดหวิด
ดัชนี coincident indicator ซึ่งประเมินภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ลดลง 1.2 จุดในเดือนก.พ. จากเดือนม.ค. สู่ระดับ 110.9 และการลดลงดังกล่าวมีสาเหตุมาจากยอดส่งออกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ตกต่ำลง ซึ่งบ่งชี้ว่า ผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับการผลิตรถยนต์กำลังขยายวงกว้างออกไป
รัฐบาลระบุว่า "ดัชนีกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ช่วงขาลง" โดยเป็นการทบทวนปรับลดการประเมินไปสู่ภาวะที่แสดงว่า เศรษฐกิจอาจแตะจุดสูงสุดของวงจร boom-and-bust ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาแล้ว
การอุปโภคบริโภคยังคงอ่อนแอ ขณะที่ค่าครองชีพที่สูงขึ้นกระทบภาคครัวเรือนก่อนที่พวกเขาจะเห็นค่าจ้างเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะทำให้นักวิเคราะห์หลายคนคาดการณ์ว่า เศรษฐิจหดตัวลงในไตรมาสแรก
จีดีพีไตรมาส 4 ถูกทบทวนปรับขึ้นเป็นบวก 0.4% จากที่หดตัว 0.4% ซึ่งทำให้เศรษฐกิจหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยทางเทคนิคได้--จบ--
Eikon source text
โตเกียว--14 มี.ค.--รอยเตอร์
แหล่งข่าวกล่าวว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะหารือเรื่องการยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 18-19 มี.ค. ถ้าหากผลการเจรจาต่อรองเรื่องค่าแรงระหว่างบริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นกับสหภาพแรงงาน ซึ่งจะได้รับการประกาศออกมาในวันศุกร์นี้ แสดงให้เห็นว่ามีการปรับขึ้นค่าแรงอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ บีโอเจใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ซึ่งถ้าหากบีโอเจตัดสินใจยุตินโยบายดังกล่าวในวันที่ 19 มี.ค. การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของบีโอเจในครั้งนี้ก็จะถือเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา ทางด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของบีโอเจอาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินโลกเป็นอย่างมาก เพราะว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้สถานะของญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงไป หลังจากญี่ปุ่นมีสถานะเป็นประเทศผู้จัดสรรเม็ดเงินดอกเบี้ยต่ำรายใหญ่เพียงประเทศเดียวในช่วงที่ผ่านมา
บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งของญี่ปุ่นประกาศว่า ทางบริษัทตกลงปรับขึ้นค่าแรงอย่างเต็มที่ตามที่สหภาพแรงงานเรียกร้องมา ซึ่งรวมถึงบริษัทโตโยต้า, พานาโซนิก, นิปปอน สตีล และนิสสัน โดยโตโยต้า มอเตอร์ตกลงในวันพุธว่าจะปรับขึ้นค่าแรงของคนงานโรงงานในอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 25 ปี และข่าวนี้ทำให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า บริษัทอื่น ๆ จะทำตามโตโยต้าด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ แหล่งข่าว 3 รายระบุว่า สัญญาณบ่งชี้ถึงการปรับขึ้นค่าแรงอย่างแข็งแกร่งแบบนี้ช่วยเพิ่มโอกาสที่บีโอเจจะปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยบีโอเจจะพิจารณาผลการเจรจาต่อรองเรื่องค่าแรงที่สหภาพแรงงาน "เรงโกะ" จะเปิดเผยออกมาในวันศุกร์นี้ เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่า มีการบรรลุเงื่อนไขในการปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วหรือไม่
แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวว่า "ดูเหมือนจะมีปัจจัยมากพอที่สนับสนุนให้บีโอเจปรับนโยบายในเดือนมี.ค. และในที่สุดแล้วคณะกรรมการกำหนดโยบายของบีโอเจที่ประกอบด้วยสมาชิก 9 คนก็จะต้องใช้วิจารณญาณของตนเอง" ทั้งนี้ ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าบีโอเจจะปรับนโยบายในการประชุมเดือนมี.ค.หรือไม่ เพราะว่าสมาชิกบางคนในคณะกรรมการกำหนดนโยบายกังวลกับสัญญาณในระยะนี้ที่บ่งชี้ว่า การบริโภคอยู่ในภาวะอ่อนแอ และสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอยู่ในภาวะเปราะบาง
แหล่งข่าวกล่าวว่า บีโอเจอาจจะเลื่อนการตัดสินใจในเรื่องนี้ออกไปสู่การประชุมวันที่ 25-26 เม.ย. ถ้าหากผู้กำหนดนโยบายมองว่า พวกเขาจำเป็นจะต้องพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงผลสำรวจความเชื่อมั่นภาคธุรกิจญี่ปุ่น หรือรายงาน "ทังกัน" ที่จะออกมาในวันที่ 1 เม.ย. และรายงานรายไตรมาสเรื่องเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในญี่ปุ่น ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่า บีโอเจอาจจะยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในการประชุมวันที่ 18-19 มี.ค. หรือไม่ก็ในการประชุมวันที่ 25-26 เม.ย.
แหล่งข่าวกล่าวว่า หลังจากบีโอเจยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ บีโอเจก็จะยุติมาตรการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) และจะยกเลิกกรอบการทำงานสำหรับการเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งรวมถึงกองทุน ETF ด้วย ทั้งนี้ นายคาสุโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการบีโอเจส่งสัญญาณในวันพุธว่า บีโอเจพร้อมที่จะปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในสัปดาห์หน้า โดยเขาระบุว่าสหภาพแรงงานได้เรียกร้องขอขึ้นค่าแรงในระดับสูง และผลการเจรจาต่อรองเรื่องค่าแรงประจำปีนี้จะมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการตัดสินใจเรื่องกำหนดเวลาในการยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กระทรวงเศรษฐกิจ, การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมร่วงลงในอัตราสูงสุดตั้งแต่เดือนพ.ค.2020 ขณะที่ภาวะตกต่ำของการผลิตยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เพิ่มความวิตกเกี่ยวกับความเปราะบางของเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะถดถอยในปลายปีที่แล้ว
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมร่วงลง 7.5% ในเดือนม.ค.จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งแย่กว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลง 7.3% โดยการผลิตร่วงลงในอุตสาหกรรม 14 กลุ่มจาก 15 กลุ่มที่กระทรวงสำรวจมา
กระทรวงยังได้ปรับลดการประเมินผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลงเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนก.ค.ปีที่แล้ว ซึ่งทำให้เห็นความท้าทายสำหรับเศรษฐกิจ ขณะที่เศรษฐกิจพยายามที่จะฟื้นตัวจากภาวะถดถอยในปลายปีที่แล้ว
ผู้ผลิตในผลสำรวจของกระทรวงยังคาดว่า ผลผลิตที่ปรับตามฤดูกาลจะเพิ่มขึ้น 4.8% ในเดือนก.พ. และ 2.0% ในเดือนมี.ค. แต่การคาดการณ์ว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นในเดือนก.พ.และมี.ค.ก็ไม่มากพอที่จะชดเชยการร่วงลงในเดือนม.ค.
นักวิเคราะห์จากแคปิตอล อีโคโนมิคส์กล่าวว่า ข้อมูลนี้บ่งชี้ว่า จีดีพีอาจหดตัวลงอีกครั้งในไตรมาสนี้ โดยนายแกเบรียล อึ้ง ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์จากแคปิตอล อีโคโนมิคส์กล่าวว่า "ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ดิ่งลงในเดือนม.ค.บ่งชี้ว่า จีดีพีจะร่วงลงอีกครั้งในไตรมาสนี้ ซึ่งจะเพิ่มความเห็นที่ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังถดถอย"--จบ--
Eikon source text
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน