ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--13 ส.ค.--รอยเตอร์
เยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันจันทร์ ในขณะที่บรรยากาศการซื้อขายในตลาดอยู่ในภาวะสงบ และนักลงทุนพยายามประเมินว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากน้อยเพียงใดในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. โดยนักลงทุนรอดูตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันอังคาร และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธด้วย ทั้งนี้ นักลงทุนคาดว่ามีโอกาส 50% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. และคาดว่ามีโอกาส 50% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. โดยนักลงทุนคาดการณ์กันอีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกัน 1.00% ในปีนี้ อย่างไรก็ดี ตัวเลขดัชนี PPI และ CPI อาจจะส่งผลให้นักลงทุนปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ได้ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.08 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 103.15 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.19 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 146.61 เยน โดยก่อนหน้านี้ดอลลาร์เพิ่งรูดลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 7 เดือนที่ 141.675 เยนในวันที่ 5 ส.ค. และเทียบกับจุดสูงสุดในรอบเกือบ 38 ปีที่ 161.96 เยนที่เคยทำไว้ในวันที่ 3 ก.ค. โดยดอลลาร์/เยนยังคงแข็งค่าขึ้นมาแล้วราว 4% จากช่วงต้นปีนี้
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0931 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยปรับขึ้นจาก 1.0916 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1.1009 ดอลลาร์ในวันที่ 5 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับลง แต่ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ปรับขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐหลายตัวในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันอังคาร, ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธ และยอดค้าปลีกของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี โดยนักลงทุนคาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไปของสหรัฐอาจปรับขึ้น 0.2% ในเดือนก.ค.เมื่อเทียบรายเดือน และอาจปรับขึ้น 3% ในเดือนก.ค.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเท่ากับระดับในเดือนมิ.ย. และนักลงทุนก็คาดว่ายอดค้าปลีกของสหรัฐอาจปรับขึ้นเล็กน้อยในเดือนก.ค. แต่ถ้าหากสหรัฐรายงานยอดค้าปลีกที่อ่อนแอ ตัวเลขดังกล่าวก็อาจจะกระตุ้นความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูผลประกอบการของภาคค้าปลีกสหรัฐด้วย ในขณะที่บริษัทวอลมาร์ทกับบริษัทโฮม ดีโปท์จะรายงานผลประกอบการในช่วงต่อไปในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ ดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐร่วงลง 0.9% ในวันจันทร์ ส่วนหุ้นบริษัทสตาร์บัคส์พุ่งขึ้น 2.58% ในวันจันทร์ หลังจากมีข่าวว่าบริษัทสตาร์บอร์ด แวลู ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในสตาร์บัคส์ ต้องการให้สตาร์บัคส์ดำเนินขั้นตอนปรับปรุงราคาหุ้น Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.36% สู่ 39,357.01
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 0.23 จุด สู่ 5,344.39
ดัชนี Nasdaq ปิดบวกขึ้น 0.21% สู่ 16,780.61
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันจันทร์ และทะยานขึ้นเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า สงครามในภูมิภาคตะวันออกกลางอาจจะขยายวงกว้างออกไป ซึ่งอาจจะส่งผลให้อุปทานน้ำมันในตลาดโลกตึงตัวมากยิ่งขึ้น โดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐได้ประกาศในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ทางกระทรวงจะส่งเรือดำน้ำติดขีปนาวุธนำวิถีไปยังภูมิภาคตะวันออกกลาง เพื่อรับมือกับการที่อิหร่านและกลุ่มพันธมิตรของอิหร่านอาจจะโจมตีอิสราเอล ทางด้านอิหร่านได้ประกาศว่าจะตอบโต้ต่อการลอบสังหารนายอิสมาอิล ฮานิเยห์ ผู้นำกลุ่มฮามาสที่กรุงเตหะราน และกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ได้ประกาศว่าจะตอบโต้ต่อการสังหารนายฟูอัด ชุคร์ ผู้บัญชาการทางทหารของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่กรุงเบรุตในเลบานอน โดยนักลงทุนบางรายกังวลว่า การตอบโต้ดังกล่าวอาจจะส่งผลให้ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น และอาจจะส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐประกาศคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่าน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันราว 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูตัวเลขดัชนี CPI ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธนี้ หลังจากราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนจากตัวเลขดัชนี CPI ของจีน ซึ่งถือเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยจีนรายงานในวันศุกร์ที่ 9 ส.ค.ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีนปรับขึ้น 0.5% ในเดือนก.ค.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 5 เดือน หลังจากปรับขึ้น 0.2% ในเดือนมิ.ย.เมื่อเทียบรายปี และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.3% ในเดือนก.ค.เมื่อเทียบรายปี Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ย.ทะยานขึ้น 3.22 ดอลลาร์ หรือ 4.2% มาปิดตลาดที่ 80.06 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันจันทร์ หลังจากราคาน้ำมันดิบสหรัฐพุ่งขึ้น 4.5% ในสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 2.64 ดอลลาร์ หรือ 3.3% มาปิดตลาดที่ 82.30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายวันครั้งใหญ่ที่สุดของปีนี้ หลังจากเบรนท์ทะยานขึ้น 3.7% ในสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้น 41.32 ดอลลาร์ หรือ 1.70% สู่ 2,472.25 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากทะยานขึ้นแตะ 2,472.96 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ในขณะที่เทรดเดอร์รอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธนี้ เพื่อใช้ในการประเมินแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ กองกำลังของอิสราเอลยังคงดำเนินปฏิบัติการใกล้เมืองคาน ยูนิสในเขตกาซาในวันจันทร์ ในขณะที่นานาชาติพยายามผลักดันให้มีการทำข้อตกลงหยุดยิงในกาซา เพื่อป้องกันไม่ให้สงครามในภูมิภาคตะวันออกกลางขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทรงตัวในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบ 15 เดือน โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับภาวะเศรษฐกิจจีน และนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไป Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.45 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยขยับขึ้นจาก 103.40 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 เดือนที่ 103.68 ในระหว่างวัน และดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการแข็งค่าขึ้นราว 0.5% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 145.37 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 145.83 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 9 เดือนที่ 146.56 เยนในวันพฤหัสบดี
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0873 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0871 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.0856 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี
ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดขยับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยดัชนี S&P 500 ได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นบริษัทขนาดยักษ์ในกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มเติบโต แต่ได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มปลอดภัยและหุ้นกลุ่มพลังงาน ในขณะที่นักลงทุนรอฟังถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมที่แจ็คสัน โฮลในวันศุกร์ที่ 25 ส.ค. และรอดูผลประกอบการของบริษัทเอ็นวิเดีย ซึ่งเป็นบริษัทผู้ออกแบบชิปที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธที่ 23 ส.ค. ทางด้านดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดตลาดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นวอลมาร์ทซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกขนาดยักษ์ที่พุ่งขึ้น 1.44% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.07% สู่ 34,500.66
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.01% สู่ 4,369.71 ในวันศุกร์ และดิ่งลงมาแล้ว 4.6% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.2% สู่ 13,290.78 และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 2.6% จากสัปดาห์ที่แล้ว โดยดัชนี Nasdaq รูดลงมาแล้ว 7.2% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนธ.ค. 2022
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากสัญญาณบ่งชี้ว่า การผลิตน้ำมันในสหรัฐชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี ทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนลบ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่มีต่อแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกท่ามกลางวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุน หลังจากบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์สรายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซที่ใช้งานในสหรัฐดิ่งลง 12 แท่น สู 642 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2022 และถือเป็นการปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน โดยการดิ่งลงของปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐอาจจะส่งผลให้อุปทานน้ำมันตึงตัวมากยิ่งขึ้นในช่วงต่อไปในปีนี้ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ย.พุ่งขึ้น 86 เซนต์ หรือ 1.1% มาปิดตลาดที่ 81.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 68 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 84.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่เบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงราว 2% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 0.70 ดอลลาร์ สู่ 1,888.19 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 1.31% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งกระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ต่อไปจนถึงปี 2024 และนักลงทุนรอดูสัญญาณบ่งชี้ถึงทิศทางนโยบายการเงินจากการประชุมธนาคารกลางที่แจ็คสัน โฮลในวันที่ 24-26 ส.ค. Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--15 ส.ค.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่หุ้นบริษัทเอ็นวิเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปพุ่งขึ้น 7.1% ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. หลังจากธนาคารมอร์แกน สแตนเลย์แสดงความเห็นในทางบวกต่อหุ้นเอ็นวิเดีย และก่อนที่เอ็นวิเดียจะเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสในสัปดาห์หน้า ทางด้านหุ้นบริษัทขนาดยักษ์แห่งอื่น ๆ ในกลุ่มเติบโตทะยานขึ้นด้วยเช่นกัน โดยหุ้นบริษัทแอลฟาเบทพุ่งขึ้น 1.4%, หุ้นอะเมซอนดอทคอมทะยานขึ้น 1.6% และหุ้นไมครอน เทคโนโลยีซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปพุ่งขึ้น 6.1% ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ของมอร์แกน สแตนเลย์ระบุในวันจันทร์ว่า "หุ้นเอ็นวิเดียยังคงเป็น top pick ของเรา ในขณะที่มีการโยกย้ายรายจ่ายจำนวนมากไปยังปัญญาประดิษฐ์ (AI) และภาวะไม่สมดุลอย่างรุนแรงระหว่างอุปสงค์กับอุปทานอาจจะดำเนินต่อไปในช่วง 2-3 ไตรมาสข้างหน้า"
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น 0.07% สู่ 35,307.63, ดัชนี S&P 500 ปิดบวกขึ้น 0.58% สู่ 4,489.72 และดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.05% สู่ 13,788.33 ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของหุ้นเอ็นวิเดียมีส่วนช่วยหนุนให้ดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) พุ่งขึ้น 1.85% ในวันจันทร์ และส่งผลให้หุ้นกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มที่ทะยานขึ้นมากที่สุดในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐ
หุ้นเทสลาซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าดิ่งลง 1.2% หลังจากเทสลาประกาศปรับลดราคารถยนต์โมเดล วาย บางรุ่นในจีน ทางด้านหุ้นเพย์แพล โฮลดิงส์พุ่งขึ้น 2.8% หลังจากเพย์แพลประกาศแต่งตั้งนายอเล็กซ์ คริสส์ให้ดำรงตำแหน่งซีอีโอคนใหม่ของเพย์แพล
นักลงทุนรอดูผลประกอบการรายไตรมาสที่บริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ของสหรัฐจะรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทวอลมาร์ทและทาร์เก็ต และนักลงทุนก็รอดูตัวเลขเศรษฐกิจที่จะได้รับการรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกประจำเดือนก.ค.ที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันอังคาร และรายงานการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 25-26 ก.ค.ที่จะออกมาในวันพุธ ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดการณ์ว่า มีโอกาสราว 88.5% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 19-20 ก.ย. และมีโอกาส 11.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.50-5.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 19-20 ก.ย. ทางด้านธนาคารโกลด์แมน แซคส์คาดว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงไตรมาส 2/2024
นักลงทุนกังวลกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในตอนนี้ หลังจากแหล่งข่าวกล่าวว่า บริษัทคันทรี การ์เดน ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชนที่ใหญ่ที่สุดในจีน พยายามจะเลื่อนเวลาในการชำระเงินสำหรับหุ้นกู้ภายในประเทศเป็นครั้งแรก และสิ่งนี้ถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะตึงเครียดในภาคอสังหาริมทรัพย์จีน--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--23 ธ.ค.--รอยเตอร์
ยูโร, ดอลลาร์ออสเตรเลีย และสกุลเงินอื่น ๆ ฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในวันพุธ ในขณะที่เทรดเดอร์คาดการณ์ในทางบวกมากยิ่งขึ้นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ ถึงแม้ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอไมครอนพุ่งสูงขึ้น และนักลงทุนคาดว่าตลาดจะแกว่งตัวผันผวนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ความต้องการซื้อสินทรัพย์เสี่ยงเคยดิ่งลงในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนกังวลว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอไมครอนอาจจะเป็นอุปสรรคขัดขวางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และนักลงทุนกังวลกับอุปสรรคครั้งใหญ่ในการผลักดันร่างกฎหมายรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคมของประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐด้วย อย่างไรก็ดี ความต้องการซื้อสินทรัพย์เสี่ยงฟื้นตัวขึ้นหลังจากนั้นเป็นต้นมา
ดอลลาร์อยู่ที่ 114.11 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 114.08 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.1324 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.1283 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร ทางด้านดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 96.110 ในช่วงท้ายวันพุธ โดยร่วงลงจาก 96.442 ในช่วงท้ายวันอังคาร และเทียบกับจุดสูงสุดรอบ 16 เดือนที่ 96.938 ที่ทำไว้ในวันที่ 24 พ.ย. ทั้งนี้ ดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้น 0.86% สู่ 0.7214 ดอลลาร์สหรัฐในวันพุธ ส่วนดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 0.74% สู่ 0.6820 ดอลลาร์สหรัฐ
นักวิเคราะห์ของบริษัทบราวน์ บราเธอร์ส แฮร์รีแมนระบุในวันพุธว่า "ดอลลาร์อ่อนค่าลง ในขณะที่นักลงทุนยังคงเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงต่อไป โดยมีแนวโน้มว่าดอลลาร์อาจจะอยู่ในช่วงของการสร้างฐานในตอนนี้ ในขณะที่ไม่มีปัจจัยใหม่ที่สำคัญใด ๆ เข้ามาชี้นำทิศทางในตลาด"
รายงานที่ออกมาในวันพุธแสดงให้เห็นว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐพุ่งขึ้นต่อไปในเดือนธ.ค. และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงขยายตัวต่อไปในปี 2022 ถึงแม้ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาพุ่งสูงขึ้น และมีการปรับลดมาตรการกระตุ้นทางการคลังในสหรัฐ ทั้งนี้ สำนักงาน Conference Board รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ 115.8 ในเดือนธ.ค. จาก 111.9 ในเดือนพ.ย. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 110.8
ดอลลาร์สหรัฐดิ่งลง 0.63% สู่ 8.8800 โครนนอร์เวย์ในวันพุธ ในขณะที่โครนนอร์เวย์ได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และได้รับแรงหนุนจากปัจจัยด้านฤดูกาลในช่วงคริสต์มาส ทั้งนี้ ในส่วนของปอนด์นั้น ปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.67% สู่ 1.3358 ดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) ได้ปรับทบทวนตัวเลขอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 3 ในวันพุธ โดยระบุว่าจีดีพีอังกฤษเติบโต 1.1% ในไตรมาส 3 ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขในการประเมินขั้นต้นที่ +1.3%
นักวิเคราะห์ของบริษัท ING ระบุว่า โดยปกติแล้วตลาดปริวรรตเงินตราและตลาดสินทรัพย์อื่น ๆ มักจะมีความผันผวนต่ำในช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนและหลังคริสต์มาส แต่ในปีนี้นั้นปัจจัยด้านฤดูกาลเผชิญกับปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงการที่สายพันธุ์โอไมครอนอาจจะส่งผลให้มีการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์รอบใหม่ และผลการตัดสินใจของธนาคารกลางสำคัญในสัปดาห์ที่แล้ว--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ดัชนีดอลลาร์อยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือนในวันอังคาร หลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง ซึ่งตอกย้ำการคาดการณ์ในตลาดที่ว่า สหรัฐจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า ขณะที่ยูโรดีดตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดในรอบ 16 เดือนเนื่องจากการขยายตัวดีเกินคาดของกิจกรรมทางธุรกิจในยูโรโซน
ดอลลาร์อยู่ที่ 115.12 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 114.86 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.1246 ดอลลาร์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 1.1234 ดอลลาร์ หลังจากที่ร่วงต่ำสุดในรอบ 16 เดือนที่ 1.1226 ดอลลาร์ในช่วงแรก ทางด้านดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 96.517 เทียบกับระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 96.467
ยูโรร่วงลงในวันจันทร์ ขณะที่มีความวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ในยุโรป ขณะที่ออสเตรียเข้าสู่การล็อคดาวน์ทั้งหมด และเยอรมนีกำลังพิจารณาที่จะดำเนินการตาม
ดอลลาร์นิวซีแลนด์อ่อนค่า 0.13% มาที่ 0.6951 ดอลลาร์ ก่อนที่คาดว่าธนาคารกลางนิวซีแลนด์จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมในวันพุธ หลังจากที่ขึ้นดอกเบี้ยในเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ส่วนค่าเงินลีราของตุรกีดิ่งลง 15% ซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดเป็นวันที่สองในประวัติการณ์ หลังจากประธานาธิบดีเทย์ยิป เออร์โดแกนปกป้องการลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างมาก และประกาศว่าจะเอาชนะ 'สงครามเศรษฐกิจแห่งอิสรภาพ' แม้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างและเสียงเรียกร้องให้เปลี่ยนทิศทางก็ตาม
บิทคอยน์อยู่ที่ 57,644 ดอลลาร์ พุ่งขึ้น 2.4% ขณะที่อีเธอเรียมพุ่งขึ้น 6.41% มาที่ 4,357 ดอลลาร์--จบ--
(รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปลและเรียบเรียง)
นิวยอร์ค--23 พ.ย.--รอยเตอร์
ยูโร/ดอลลาร์สหรัฐดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 16 เดือนในวันจันทร์ หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐเสนอชื่อนายเจอโรม พาวเวลล์ ให้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่ออีก 4 ปีในสมัยที่สอง และเสนอชื่อนางลาเอล เบรนาร์ด ให้ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการเฟด นอกจากนี้ ยูโรก็ได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากความกังวลเรื่องการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ในยุโรปด้วย โดยออสเตรียได้เริ่มดำเนินมาตรการล็อกดาวน์แบบเต็มที่อีกครั้ง ในขณะที่เยอรมนีกำลังพิจารณาที่จะทำแบบเดียวกัน ทั้งนี้ ทั้งนายพาวเวลล์และนางเบรนาร์ดได้ตั้งข้อสังเกตในวันจันทร์ว่า อัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงกำลังสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐและครัวเรือนในสหรัฐ และถ้อยแถลงของทั้งสองอาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า การควบคุมภาวะเงินเฟ้ออาจจะเป็นสิ่งที่เฟดให้ความสำคัญมากที่สุดในตอนนี้
ดอลลาร์อยู่ที่ 114.86 เยน ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 113.98 เยน และเทียบกับจุดสูงสุดรอบ 4 ปีครึ่งที่ 114.97 เยนที่ทำไว้ในวันที่ 17 พ.ย. ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.1234 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยร่วงลงจาก 1.1288 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ และเทียบกับจุดต่ำสุดของวันที่ 1.1229 ดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2020 ทางด้านดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 96.467 ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยปรับขึ้นจาก 96.020 ในช่วงท้ายวันศุกร์ และเทียบกับจุดสูงสุดของวันที่ 96.551 ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2020
นายโจ มานิมโบ นักวิเคราะห์ตลาดของบริษัทเวสเทิร์น ยูเนียน บิสเนส โซลูชันส์กล่าวว่า "การที่นายพาวเวลล์ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานเฟดเป็นสมัยที่สองบ่งชี้ว่า เฟดจะดำเนินนโยบายการเงินในแบบที่ไม่ผ่อนคลายมากเท่ากับเฟดที่อยู่ภายใต้การบริหารของนางเบรนาร์ด โดยการที่นายพาวเวลล์ยังคงดำรงตำแหน่งประธานเฟดต่อไปอาจจะส่งผลให้เฟดมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้มากยิ่งขึ้น และปัจจัยนี้ส่งผลบวกต่อดอลลาร์ในช่วงที่ผ่านมา" ทั้งนี้ นายมานิมโบกล่าวเสริมว่า ยูโรได้รับแรงกดดันจากยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่พุ่งขึ้นทั่วยูโรโซน และปัจจัยดังกล่าวก็ตอกย้ำให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป ซึ่งสวนทางกับเฟดที่ได้รับแรงกดดันให้ปรับนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
เฟดจะเปิดเผยรายงานการประชุมกำหนดนโยบายประจำวันที่ 2-3 พ.ย.ในวันพุธ และนักลงทุนจะพิจารณารายงานดังกล่าวเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ว่า เฟดอาจจะเร่งความเร็วในการปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้หรือไม่ และเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่รวดเร็วเกินคาดหรือไม่ ทั้งนี้ นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในวันศุกร์ว่า เฟดควรจะเร่งความเร็วในการปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ เพื่อที่เฟดจะได้มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับใกล้ 0% ในเวลาที่เร็วกว่าที่คาดไว้ในตอนนี้ ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป และถ้าหากการจ้างงานยังคงเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งต่อไป ทางด้านนายริชาร์ด คลาริดา รองประธานกรรมการเฟดกล่าวในวันศุกร์ว่า อาจจะเป็นการเหมาะสมเป็นอย่างมากถ้าหากผู้กำหนดนโยบายของเฟดจะหารือกันเรื่องการเร่งความเร็วในการปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ เมื่อเฟดจัดการประชุมกันครั้งถัดไปในวันที่ 14-15 ธ.ค.
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 0.55% สู่ 1.2701 ดอลลาร์แคนาดาในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 7 สัปดาห์ที่ 1.2705 ดอลลาร์แคนาดาในระหว่างวัน โดยนักวิเคราะห์ของธนาคารสโกเทียแบงก์ระบุในวันศุกร์ว่า "สกุลเงินที่มีความเสี่ยงสูงอย่างเช่นดอลลาร์แคนาดาอาจจะได้รับแรงกดดัน เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะมีการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์เพิ่มเติมในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า"--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน