ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
กรุงเทพฯ--27 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นในวันจันทร์ และดีดขึ้นจากจุดต่ำสุดรอบ 8 เดือนที่ทำไว้ในระหว่างวัน ในขณะที่ความขัดแย้งทางการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลางทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และปัจจัยดังกล่าวกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสกุลเงินปลอดภัย ซึ่งรวมถึงดอลลาร์สหรัฐ, เยน และฟรังก์สวิส ทั้งนี้ อิสราเอลและกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนได้ยิงขีปนาวุธเข้าใส่กันเป็นจำนวนมากในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการปะทะกันครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 10 เดือน โดยกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ได้ยิงจรวดและโดรนใส่อิสราเอลในช่วงเช้าวันอาทิตย์ และกองทัพอิสราเอลระบุว่า ทางกองทัพไดัส่งเครื่องบินราว 100 ลำไปโจมตีเลบานอนเพื่อขัดขวางการโจมตีครั้งใหญ่ โดยมีการยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิต 3 รายในเลบานอน และ 1 รายในอิสราเอล และทั้งสองฝ่ายส่งสัญญาณว่าจะหลีกเลี่ยงการยกระดับการโจมตีในช่วงนี้ แต่ประกาศเตือนว่า อาจจะมีการโจมตีตามมาอีก Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 100.85 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 100.69 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 100.53 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนธ.ค. 2023 หรือจุดต่ำสุดรอบ 8 เดือน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 144.52 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 144.37 เยน หลังจากดิ่งลงแตะ 143.45 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 3 สัปดาห์
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.1160 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.1190 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทแคเทอร์พิลลาร์ที่ปรับขึ้น 0.79% และหุ้นบริษัทอเมริกัน เอ็กซ์เพรสที่พุ่งขึ้น 1.03% อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันจันทร์ ในขณะที่หุ้นบริษัทเอ็นวิเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) ดิ่งลง 2.25% ในวันจันทร์ ก่อนที่เอ็นวิเดียจะเปิดเผยผลประกอบการในวันพุธนี้ และนักลงทุนบางรายกังวลว่า ถ้าหากเอ็นวิเดียไม่ได้คาดการณ์แนวโน้มในอนาคตในทางบวกเป็นอย่างมากในวันพุธนี้ ปัจจัยดังกล่าวก็อาจจะสร้างความเสียหายต่อหุ้นบริษัทหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับ AI ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทไมโครซอฟท์, แอลฟาเบท และเมตา แพลตฟอร์มส์ นอกจากนี้ หุ้นเทสลาก็ดิ่งลง 3.2% ในวันจันทร์ หลังจากแคนาดาประกาศว่า แคนาดาจะเก็บภาษีนำเข้า 100% จากรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในจีน ทั้งนี้ ในบรรดาดัชนีหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 6 กลุ่มใหญ่ปิดตลาดในแดนลบ ซึ่งรวมถึงดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ที่รูดลง 1.12% และถือเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มใหญ่ที่ดิ่งลงมากที่สุด และดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่ปรับลง 0.81% ในวันจันทร์ อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานพุ่งขึ้น 1.11% โดยได้รับแรงหนุนจากการทะยานขึ้นของราคาน้ำมันดิบ ทางด้านนักลงทุนรอดูผลประกอบการของบริษัทหลายแห่งในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทเดลล์, เซลส์ฟอร์ซ, ดอลลาร์ เจเนอรัล และแกป และนักลงทุนก็รอดูรายงานดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนก.ค.ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์นี้ด้วย เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มักใช้ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.16% สู่ 41,240.52
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.32% สู่ 5,616.84
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.85% สู่ 17,725.77
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันในลิเบีย ในขณะที่รัฐบาลลิเบียประกาศว่าจะปิดแหล่งน้ำมันทุกแหล่งในลิเบียในวันจันทร์ และจะระงับการผลิตและการส่งออกน้ำมัน โดยบริษัทวาฮา ออยล์ คอมปานี ซึ่งอยู่ในเครือบริษัทเนชันแนล ออยล์ คอร์ป (NOC) ของลิเบียระบุว่า วาฮาวางแผนที่จะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเตือนว่าอาจจะมีการระงับการผลิตน้ำมันทั้งหมดในลิเบีย เนื่องจากมีการประท้วง ส่วนบริษัทเซอร์เต ออยล์ คอมปานี ที่อยู่ในเครือ NOC เช่นกันระบุว่า เซอร์เตจะปรับลดการผลิตน้ำมันลงบางส่วน โดยปริมาณการผลิตน้ำมันทั้งหมดของลิเบียเคยอยู่ที่ 1.18 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนก.ค. ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลางด้วย ในขณะที่อิสราเอลและกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนได้ยิงขีปนาวุธเข้าใส่กันเป็นจำนวนมากในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการปะทะกันครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 10 เดือน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐที่เมืองคุชชิง รัฐโอกลาโอมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมันตามสัญญาในตลาด NYMEX ด้วย เพราะว่าสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิงดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 เดือนในช่วงนี้ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนต.ค.ทะยานขึ้น 2.59 ดอลลาร์ หรือ 3.5% มาปิดตลาดที่ 77.42 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 2.41 ดอลลาร์ หรือ 3.05% มาปิดตลาดที่ 81.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 6.56 ดอลลาร์ สู่ 2,516.89 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ และเทียบกับสถิติสูงสุดที่ 2,531.60 ดอลลาร์ที่เคยทำไว้ในวันที่ 20 ส.ค. โดยราคาทองได้รับแรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงนี้ท่ามกลางความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และราคาทองก็ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย.ด้วย หลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนในวันศุกร์ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. โดยนายพาวเวลล์กล่าวในงานประชุมเศรษฐกิจประจำปีที่จัดโดยเฟดสาขาแคนซัส ซิตีที่แจ็คสัน โฮลในรัฐไวโอมิงว่า "ถึงเวลาแล้วสำหรับการปรับนโยบาย" เพราะว่าความเสี่ยงด้านสูงต่อภาวะเงินเฟ้อได้ลดน้อยลงแล้ว และความเสี่ยงด้านต่ำต่อการจ้างงานได้เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--5 ส.ค.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า ตลาดหุ้นสหรัฐกำลังได้รับแรงกดดันจากความกังวลทางเศรษฐกิจในช่วงนี้ หลังจากสำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) ในกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียง 114,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 175,000 ตำแหน่ง และทางกระทรวงได้ปรับทบทวนตัวเลขการจ้างงานของเดือนพ.ค.และมิ.ย.ให้ต่ำลงจากเดิม 29,000 ตำแหน่งด้วย ทางด้านอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นจาก 4.1% ในเดือนมิ.ย. สู่ 4.3% ในเดือนก.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2021 หรือจุดสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 4.1% โดยอัตราการว่างงานปรับขึ้นในเดือนก.ค.เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ทั้งนี้ รายงานตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงเป็นเวลานานเกินไปในช่วงที่ผ่านมา จนส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐได้รับความเสียหายจากอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว และอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย
ตลาดหุ้นสหรัฐเพิ่งได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจอื่น ๆ ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาด้วย ในขณะที่กระทรวงแรงงานสหรัฐเพิ่งรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐพุ่งขึ้น 14,000 ราย สู่ 249,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 ก.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2023 หรือจุดสูงสุดรอบ 11 เดือน และสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) รายงานในวันพฤหัสบดีว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐดิ่งลงจาก 48.5 ในเดือนมิ.ย. สู่ 46.8 ในเดือนก.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2023 หรือจุดต่ำสุดรอบ 8 เดือน โดยรายงานตัวเลขเหล่านี้กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มชิปและหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม และนำเงินเข้าไปลงทุนในหุ้นกลุ่มปลอดภัย ทั้งนี้ ดัชนี Nasdaq ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดดิ่งลง 2.43% สู่ 16,776.16 ในวันศุกร์ โดยดัชนี Nasdaq รูดลงมาแล้วกว่า 10% จากสถิติระดับปิดสูงสุดที่ทำไว้ในเดือนก.ค. และสิ่งนี้ถือเป็นการยืนยันว่า ดัชนีกำลังปรับฐานลง หลังจากนักลงทุนกังวลว่าหุ้นสหรัฐมีมูลค่าสูง ทางด้านดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงมาแล้ว 5.7% จากจุดสูงสุดของเดือนก.ค.
นักลงทุนเคยพึงพอใจกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง และตัวเลขการจ้างงานที่ชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยนักลงทุนมองว่าตัวเลขเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ โดยการคาดการณ์ดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นมาแล้ว 12% จากช่วงต้นปีนี้ และดัชนี Nasdaq ทะยานขึ้นมาแล้วเกือบ 12% จากช่วงต้นปีนี้ อย่างไรก็ดี สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน โดยในตอนนี้นักลงทุนกังวลว่า อัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงอาจสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ และนักลงทุนก็กังวลกับผลประกอบการที่น่าผิดหวังของบริษัทสำคัญของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงบริษัทอะเมซอน, แอลฟาเบท และอินเทลด้วย ทั้งนี้ นายเจมส์ เซนต์ ออบิน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทโอเชียน พาร์ค แอสเซท อินเวสท์เมนท์กล่าวว่า "สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนี้คือผลกระทบจากการตั้งความหวังไว้สูงเกินไป โดยนักลงทุนได้ลงทุนไปมากแล้วตามการคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นสิ่งใดก็ตามที่ไม่สนับสนุนการคาดการณ์ดังกล่าวจะสร้างความยากลำบากให้แก่ตลาด"
เทรดเดอร์คาดการณ์กันในตอนนี้ว่า มีโอกาส 98.5% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. โดยปรับขึ้นจากโอกาสเพียง 22% ที่เคยคาดไว้ในวันพฤหัสบดีที่แล้ว และเทรดเดอร์คาดว่ามีโอกาส 1.5% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. นอกจากนี้ เทรดเดอร์ก็คาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกัน 1.27% ก่อนสิ้นปีนี้ หลังจากที่เคยคาดการณ์ในวันพุธที่ 31 ก.ค.ว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันราว 0.60% ก่อนสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ ดัชนีความผันผวน Cboe หรือดัชนี VIX ที่ใช้วัดระดับความกังวลในตลาดหุ้นสหรัฐ พุ่งขึ้นในวันศุกร์จนแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2023 เนื่องจากนักลงทุนต้องการซื้อออปชั่นที่ใช้คุ้มครองความปลอดภัยถ้าหากตลาดหุ้นเผชิญกับแรงเทขาย
นักลงทุนได้เข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีรูดลงจาก 3.978% ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี สู่ 3.796% ในช่วงท้ายวันศุกร์ และดิ่งลงแตะ 3.678% ในวันนี้ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2023 หรือจุดต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) เป็นสิ่งที่ปรับตัวสวนทางกับราคาพันธบัตร ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มที่มักได้รับแรงหนุนในช่วงที่เศรษฐกิจเผชิญกับความไม่แน่นอนก็พุ่งขึ้นในช่วงนี้ด้วย โดยดัชนีหุ้นกลุ่มการแพทย์ของสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้ว 4% ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา และดัชนีหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคของสหรัฐทะยานขึ้นมาแล้วกว่า 9% ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา แต่ดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐดิ่งลงมาแล้วเกือบ 17% ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โดยได้รับแรงกดดันจากการรูดลงของหุ้นบริษัทเอ็นวิเดียและบริษัทบรอดคอม--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--24 มิ.ย.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า หุ้นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในสหรัฐพุ่งขึ้นสูงมากในปีนี้ และก็อาจจะถึงเวลาที่หุ้นกลุ่มนี้จะชะลอตัวลงแล้ว และปัจจัยนี้ก็อาจจะส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มอื่น ๆ ในสหรัฐที่เคยปรับตัวอย่างอ่อนแอในช่วงต้นปีนี้ ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้ว 14.6% จากช่วงต้นปีนี้ แต่การพุ่งขึ้นส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในหุ้นกลุ่มใหญ่เพียง 2 กลุ่มจากทั้งหมด 11 กลุ่ม ซึ่งได้แก่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ที่พุ่งขึ้น 28.2% จากช่วงต้นปีนี้ และหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารที่ทะยานขึ้น 24.3% จากช่วงต้นปีนี้ ส่วนหุ้นกลุ่มอื่น ๆ ปรับขึ้นในอัตราที่น้อยกว่านี้มาก ซึ่งรวมถึงหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคที่พุ่งขึ้น 9.5% จากช่วงต้นปีนี้, หุ้นกลุ่มการเงินที่ทะยานขึ้น 9.4%, หุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นที่บวกขึ้น 8.7%, หุ้นกลุ่มพลังงานที่ปรับขึ้น 7.5%, หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกขึ้น 7.3%, หุ้นกลุ่มการแพทย์ที่ปรับขึ้น 7.3%, หุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่บวกขึ้น 4.2% และหุ้นกลุ่มวัสดุที่ปรับขึ้น 3.9% ทางด้านหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ดิ่งลงมาแล้ว 5.0% จากช่วงต้นปีนี้
นักลงทุนหลายรายคาดว่า หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐมีแนวโน้มที่แข็งแกร่งในระยะยาว โดยได้รับแรงหนุนจากผลกำไรของบริษัทกลุ่มนี้ และจากกระแสความนิยมในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยปัจจัยดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้หุ้นบริษัทเอ็นวิเดียพุ่งขึ้นมาแล้ว 155% จากช่วงต้นปีนี้ อย่างไรก็ดี ราคาหุ้นที่พุ่งสูงก็ส่งผลให้นักลงทุนกังวลกันว่า หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอาจทะยานขึ้นอย่างร้อนแรงจนเกินไปในช่วงที่ผ่านมา และนักลงทุนก็มองว่า หุ้นบริษัทขนาดเล็ก และหุ้นคุณค่า ซึ่งรวมถึงหุ้นกลุ่มการเงินและหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม อาจจะเหมาะต่อการเข้าช้อนซื้อในช่วงนี้ ทั้งนี้ นายไมเคิล เพอร์เวส ซีอีโอของบริษัททอลล์แบคเคน แคปิตัล แอดไวเซอร์สกล่าวว่า "หุ้นเอ็นวิเดียพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วมากในช่วงที่ผ่านมา และการพุ่งขึ้นแบบนี้ก็ส่งผลให้คุณไม่ต้องการที่จะเทขายหุ้นดังกล่าวออกมาเป็นคนสุดท้าย" และเขากล่าวเสริมว่า "นักลงทุนต้องการจะลงทุนในการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้น ดังนั้นถ้าหากนักลงทุนขายหุ้นเอ็นวิเดียออกมา ก็มีแนวโน้มสูงที่เงินลงทุนจะไหลเข้าสู่หุ้นคุณค่าและหุ้นกลุ่มวัฏจักรเศรษฐกิจ"
ถ้าหากนักลงทุนโยกย้ายเงินลงทุนออกจากหุ้นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ การทำเช่นนี้ก็จะช่วยลดความกังวลเรื่องการกระจุกตัวในตลาดหุ้นในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยบริษัทเอสแอนด์พี ดาวโจนส์ อินไดเซสรายงานว่า การลงทุนในดัชนี S&P 500 ให้ผลตอบแทนสูงกว่า 14% นับตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ แต่ราว 60% ของผลตอบแทนดังกล่าวมาจากบริษัทเพียงแค่ 5 แห่งเท่านั้น ซึ่งได้แก่บริษัทเอ็นวิเดีย, ไมโครซอฟท์, เมตา แพลตฟอร์มส์, แอลฟาเบท และอะเมซอนดอทคอม ทั้งนี้ เริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ถึงการชะลอตัวในภาคเทคโนโลยีปรากฏออกมาแล้วในช่วงนี้ โดยหุ้นเอ็นวิเดียดิ่งลงมาแล้วราว 10% จากจุดสูงสุดของวันพฤหัสบดีที่ 20 มิ.ย. และส่งผลให้บริษัทเอ็นวิเดียก้าวลงจากตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
นายเพอร์เวสตั้งข้อสังเกตว่า มีสัญญาณบางประการที่บ่งชี้ว่า หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีพุ่งขึ้นมากเกินไปแล้ว โดยสัญญาณดังกล่าวรวมถึงดัชนี RSI สำหรับหุ้นบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 6 แห่งในตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้วัดความเร็วและขนาดความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นกลุ่มนี้ โดยดัชนีดังกล่าวได้พุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ ทั้งนี้ นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อยก็คาดการณ์ในทางบวกต่อตลาดหุ้นเป็นอย่างมากด้วย และนักลงทุนบางรายมองว่าสิ่งนี้ถือเป็นเครื่องบ่งชี้แบบสวนกระแส เพราะสิ่งนี้หมายความว่า เป็นเรื่องยากที่จะเกิดเหตุการณ์ที่สร้างความประหลาดใจในทางบวกต่อนักลงทุนได้
ผลสำรวจความเชื่อมั่นของสมาคมนักลงทุนรายย่อยสหรัฐ (AAII) อยู่ที่ระดับ 44% ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 มิ.ย. ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวราว 8% ทางด้านแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบัล รีเสิร์ชระบุในผลสำรวจล่าสุดว่า ระดับความเชื่อมั่นของผู้จัดการกองทุนพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปลายปี 2021 ในขณะที่นักลงทุนปรับลดการถือครองเงินสด และปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น ทั้งนี้ ถึงแม้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีย่อตัวลงในอนาคต ก็ไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่านักลงทุนจะหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและหุ้นเติบโตเป็นเวลานาน เพราะว่าดัชนี Nasdaq 100 พุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 400% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ดัชนี Russell 1000 สำหรับหุ้นกลุ่มคุณค่าของสหรัฐปรับขึ้นเพียงราว 70% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ดัชนีหุ้นกลุ่มคุณค่าก็บวกขึ้น 5.6% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ดัชนีหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐปรับลง 0.5% จากช่วงต้นปีนี้--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--29 เม.ย.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า หุ้นบริษัทสหรัฐมีมูลค่าสูงในปัจจุบัน และปัจจัยนี้ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นบริษัทที่มีผลกำไรน่าผิดหวังออกมาในช่วงนี้ ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ที่ดิ่งลง 10.56% ในวันพฤหัสบดีที่ 28 เม.ย. หลังจากบริษัทแม่ของเฟซบุ๊กแห่งนี้เปิดเผยผลประกอบการออกมา และรวมถึงหุ้นของบริษัทแคเทอร์พิลลาร์ที่รูดลง 7% หลังจากแคเทอร์พิลลาร์ประกาศเตือนเรื่องยอดขาย ทางด้านนักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคารเจพีมอร์แกนระบุว่า บริษัทในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาดในไตรมาสนี้มีราคาหุ้นพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าบริษัทโดยรวมเพียงแค่ราว 0.2% เท่านั้น แต่บริษัทสหรัฐที่มีผลกำไรต่ำเกินคาดมีราคาหุ้นปรับตัวอ่อนแอกว่าบริษัทโดยรวมถึง 4% ซึ่งถือเป็นการปรับตัวอ่อนแอกว่าตลาดหุ้นโดยรวมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบอย่างน้อย 8 ปี ทั้งนี้ ในบรรดาบริษัทสหรัฐที่รายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุดออกมาแล้วนั้น บริษัท 78% เปิดเผยผลกำไรไตรมาสแรกที่ดีเกินคาด และมีแนวโน้มว่าผลกำไรไตรมาสแรกของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจปรับขึ้น 5.6% เมื่อเทียบรายปี
บริษัท 2 แห่งในกลุ่ม Magnificent Seven หรือบริษัทขนาดยักษ์ 7 แห่งของสหรัฐที่ประกอบด้วย บริษัทแอปเปิล, ไมโครซอฟท์, แอลฟาเบท, อะเมซอนดอทคอม, เอ็นวิเดีย, เมตา แพลตฟอร์มส์ และเทสลา จะรายงานผลประกอบการออกมาในสัปดาห์นี้ โดยบริษัทอะเมซอนในกลุ่มนี้มีกำหนดที่จะรายงานผลประกอบการในวันอังคารนี้ และแอปเปิลมีกำหนดจะรายงานผลประกอบการในวันพฤหัสบดี หลังจากเทสลาและเมตา แพลตฟอร์มส์เปิดเผยผลประกอบการที่ไร้ทิศทางชัดเจนในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ หุ้นแอปเปิลดิ่งลงมาแล้วกว่า 10% จากช่วงต้นปีนี้ และนักลงทุนคาดว่าแอปเปิลอาจจะรายงานว่า ผลกำไรร่วงลงในไตรมาสแรก หลังจากยอดขนส่งโทรศัพท์สมาร์ตโฟนของแอปเปิลในจีนดิ่งลง 19% ในไตรมาสแรก ทางด้านหุ้นอะเมซอนพุ่งขึ้นมาแล้วราว 18% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่นักลงทุนจะมุ่งความสนใจไปยังธุรกิจประมวลผลระบบคลาวด์ของอะเมซอน และจะจับตาดูความเห็นของอะเมซอนที่มีต่อปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคสหรัฐด้วย
ไมโครซอฟท์กับแอลฟาเบทเพิ่งเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งในวันพฤหัสบดี และปัจจัยดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้ดัชนี S&P 500 ปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วด้วยการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. หลังจากดัชนีเพิ่งย่อตัวลง 5% ครั้งแรกของปีนี้ โดยดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นมาแล้วราว 7% ในปี 2024 และทะยานขึ้นมาแล้วราว 24% นับตั้งแต่ปลายเดือนต.ค. 2023 ทั้งนี้ นายริค เมคเลอร์ หุ้นส่วนของบริษัทเชอร์รี เลน อินเวสท์เมนท์กล่าวว่า บริษัทสหรัฐรายงานผลประกอบการที่ดีในฤดูนี้ แต่บริษัทแห่งใดก็ตามที่รายงานผลประกอบการที่อ่อนแอเกินคาดจะเผชิญกับแรงเทขายอย่างหนักหน่วง นอกจากนี้ นักลงทุนบางรายก็มองว่า การที่ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีส่วนทำให้นักลงทุนพร้อมที่จะเทขายหุ้นบริษัทที่มีผลกำไรอ่อนแอเกินคาดด้วย โดยขณะนี้ค่าพีอีเรโชของดัชนี S&P 500 อยู่ที่ 20 เท่าของคาดการณ์ผลกำไรล่วงหน้า ซึ่งอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 15.7 เท่าเป็นอย่างมาก
นักยุทธศาสตร์การลงทุนของเจพีมอร์แกนระบุว่า "เรามองว่า บริษัทที่มีผลกำไรดีเกินคาดอาจจะไม่ได้มีราคาหุ้นพุ่งขึ้นในฤดูนี้ เพราะว่าตลาดหุ้นพุ่งขึ้นมาแล้วอย่างแข็งแกร่งก่อนฤดูการรายงานผลประกอบการ และสถานะการลงทุนก็อยู่สูงมากอยู่แล้ว" ทั้งนี้ หุ้นเทสลาพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในสัปดาห์ที่แล้ว โดยพุ่งขึ้น 14.4% จาก 147.05 ดอลลาร์ในวันศุกร์ที่ 19 เม.ย. สู่ 168.29 ดอลลาร์ในวันศุกร์ที่ 26 เม.ย. หลังจากเทสลาประกาศว่า เทสลาจะเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ในช่วงต้นปี 2025 และนักลงทุนบางรายมองว่า หุ้นเทสลาได้รับแรงหนุนจากคำสั่งช้อนซื้อเก็งกำไรด้วย ในขณะที่หุ้นเทสลายังคงดิ่งลงมาแล้วกว่า 30% จากช่วงต้นปีนี้
นักลงทุนจับตาดูการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐด้วยเช่นกัน ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 4.739% ในวันที่ 25 เม.ย. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. หรือจุดสูงสุดรอบ 5 เดือน หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐอยู่สูงเกินคาด โดยการพุ่งขึ้นของอัตราผตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) อาจจะส่งผลลบต่อตลาดหุ้นสหรัฐ--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--29 ม.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินขยับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนธ.ค. แต่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มร่วงลงในอนาคต และปัจจัยดังกล่าวบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงภายในช่วงกลางปีนี้ ทั้งนี้ สำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดนิยมใช้ ปรับขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากขยับขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ย. ส่วนดัชนี PCE ทั่วไปแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.6% ในเดือนธ.ค. หลังจากปรับขึ้น 2.6% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเท่ากับว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่าระดับ 3% มาเป็นเวลานาน 3 เดือนติดต่อกัน ทางด้านดัชนี PCE พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานปรับขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากขยับขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ย. ในขณะที่ดัชนี PCE พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.9% ในเดือนธ.ค. ซึ่งถือเป็นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2021 หลังจากปรับขึ้น 3.2% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.47 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยขยับลงจาก 103.50 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 148.16 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 147.65 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0852 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยขยับขึ้นจาก 1.0846 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.0811 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยยูโรปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการอ่อนค่าลง 0.41% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันศุกร์ แต่ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ปรับลงในวันศุกร์ ในขณะที่หุ้นบริษัทอินเทลดิ่งลง 11.91% หลังจากอินเทลคาดการณ์รายได้ที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ในตลาดเป็นอย่างมาก ในขณะที่อินเทลพยายามไล่ตามบริษัทอื่น ๆ ในการแข่งขันกันในธุรกิจปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทลต้องรับมือกับตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ที่อ่อนแอ ทางด้านหุ้นเคแอลเอ คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ผลิตชิปดิ่งลง 6.6% หลังจากเคแอลเอคาดการณ์รายได้ไตรมาสสามที่น่าผิดหวัง นอกจากนี้ ดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐก็รูดลง 2.9% ในวันศุกร์ และปิดตลาดในแดนลบเป็นวันที่สองติดต่อกัน หลังจากดัชนีเพิ่งพุ่งขึ้นมาปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ในวันพุธที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในบรรดาบริษัทในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลประกอบการออกมาแล้วนั้น บริษัท 78.2% เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 67% โดยหุ้นบริษัทอเมริกัน เอ็กซ์เพรสพุ่งขึ้น 7.1% ในวันศุกร์ และทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ หลังจากบริษัทบัตรเครดิตแห่งนี้คาดการณ์ผลกำไรประจำปีที่สูงเกินคาด อย่างไรก็ดี หุ้นบริษัทวีซ่าดิ่งลง 1.7% หลังจากวีซ่าคาดการณ์รายได้ไตรมาสปัจจุบันที่ระดับต่ำ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.16% สู่ 38,109.43 ในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับขึ้น 0.65% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.07% สู่ 4,890.97 ในวันศุกร์ หลังจากดัชนีเพิ่งปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุดใหม่มาได้นาน 5 วันติดต่อกัน อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 1.06% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.36% สู่ 15,455.36 ในวันศุกร์ แต่ดัชนี Nasdaq ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการทะยานขึ้น 0.94% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน โดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงรายงานที่ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโต 3.3% ในไตรมาสสี่เมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) หลังจากเติบโต 4.9% ในไตรมาสสาม โดยอัตราการเติบโตนี้อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2% สำหรับไตรมาสสี่, ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่ชะลอตัวลง, สัญญาณบ่งชี้ว่าจีนดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ, การที่ยูเครนใช้โดรนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันในภาคใต้ของรัสเซีย, ตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐที่ดิ่งลง 9.2 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ล่าสุด และความขัดแย้งในภูมิภาคคะวันออกกลาง ในขณะที่โฆษกของกลุ่มฮูตีประกาศว่า ทางกลุ่มได้โจมตีเรือขนส่งน้ำมันลำหนึ่งในอ่าวเอเดน และข่าวนี้ทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจจะเกิดการขาดตอนของอุปทานน้ำมัน ทั้งนี้ บริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์รายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐเพิ่มขึ้น 2 แท่น สู่ 499 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ม.ค. ส่วนคณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) รายงานในวันศุกร์ว่า ผู้จัดการกองทุนปรับเพิ่มปริมาณการถือครองสถานะซื้อสุทธิในสัญญาล่วงหน้าและออปชั่นน้ำมันดิบสหรัฐขึ้น 56,134 สัญญา สู่ 99,144 สัญญาในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันอังคารที่ 23 ม.ค. Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.ปรับขึ้น 65 เซนต์ หรือ 0.8% มาปิดตลาดที่ 78.01 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 1.12 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 83.55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. โดยทั้งราคาน้ำมันดิบสหรัฐและเบรนท์ต่างก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นกว่า 6% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ต.ค. หรือนับตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 1.41 ดอลลาร์ สู่ 2,018.34 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการปรับลง 0.54% จากสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค. เพื่อใช้ในการประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ ทั้งนี้ ค่าพรีเมียมทองในจีนปรับขึ้นในสัปดาห์นี้ ในขณะที่จีนดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม และมาตรการดังกล่าวช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุนในช่วงก่อนถึงเทศกาลตรุษจีน Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
บริษัทที่ได้รับการจัดอันดับสูงหลากหลายบริษัทเตรียมที่จะระดมทุน 1.45 หมื่นล้านดอลลาร์จากการขายหุ้นกู้ใหม่เพื่อฉวยโอกาสจากความต้องการสูงของนักลงทุนสำหรับหุ้นกู้ภาคเอกชนที่มีคุณภาพ โดยดำเนินการก่อนความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้นในตลาดโดยรวม
ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว และตลาดโดยรวมผันผวน หลังจากกระทรวงการคลังสหรัฐคาดการณ์ว่าจะมีการออกพันธบัตรมากกว่าคาดในไตรมาส 3 และบริษัทฟิทช์ เรทติงส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ
แต่นั่นแทบไม่ได้มีผลกระทบต่อความต้องการหุ้นกู้สกุลดอลลาร์ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ที่มีอันดับน่าลงทุน เนื่องจากนักลงทุนสนใจผลตอบแทนโดยรวมที่ยังคงสูงกว่าผลตอบแทนของทั่วโลก ซึ่งความต้องการดังกล่าวช่วยทำให้ค่าสเปรดหุ้นกู้ภาคเอกชนตึงตัว หรือค่าพรีเมียมที่บริษัทออกหุ้นกู้จ่ายมากกว่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
คาดว่าจะมีการขายหุ้นกู้ที่มีอันดับน่าลงทุนใหม่มูลค่าราว 3.0 หมื่นล้านดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ก่อนการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อในวันพฤหัสบดีและศุกร์นี้ ซึ่งรวมถึงข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ค. ซึ่งอาจจะทำให้ตลาดผันผวนมากขึ้น
ถ้าปริมาณการออกหุ้นกู้สอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ ยอดรวมทั้งหมดของเดือนส.ค.ก็อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ภายในปลายสัปดาห์นี้ แต่ก็จะยังคงต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่คาดว่าจะมีปริมาณหุ้นกู้รวม 9.0-9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค.--จบ--
Eikon source text
นิวยอร์ค--1 ก.พ.--รอยเตอร์
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นในวันอังคาร หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ดัชนีต้นทุนการจ้างงาน (ECI) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดต้นทุนแรงงานในวงกว้างที่สุดในสหรัฐ ปรับขึ้น 1.0% ในไตรมาส 4/2022 เมื่อเทียบรายไตรมาส ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2021 และอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +1.1% หลังจากดัชนี ECI ปรับขึ้น 1.2% ในไตรมาสเดือนก.ค.-ก.ย. 2022 ทางด้านค่าแรงและเงินเดือนในสหรัฐปรับขึ้น 1.0% ในไตรมาส 4/2022 ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2021 ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ นักลงทุนบางรายมองว่า รายงานตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงที่ผ่านมากำลังประสบความสำเร็จในการทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 1.09% สู่ 34,086.04, ดัชนี S&P 500 ปิดทะยานขึ้น 1.46% สู่ 4,076.6 และดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.67% สู่ 11,584.55 ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการพุ่งขึ้น 6.2% จากเดือนธ.ค. ส่วนดัชนี Nasdaq ทะยานขึ้น 10.7% ในเดือนม.ค. ซึ่งถือเป็นอัตราการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดสำหรับเดือนม.ค.ในแต่ละปีนับตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา
นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดการณ์ว่า มีโอกาส 97.9% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 4.50-4.75% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. และมีโอกาสเพียง 2.1% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ.
หุ้นทั้ง 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดในแดนบวกในวันอังคาร โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มวัสดุกับหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่พุ่งขึ้นกว่า 2% ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาดูผลประกอบการของบริษัทสหรัฐในช่วงนี้ โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิลในกลุ่มน้ำมันพุ่งขึ้น 2.2% ในวันอังคาร หลังจากเอ็กซอนรายงานว่ามีผลกำไรสุทธิ 5.6 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2022 ซึ่งถือเป็นการทำสถิติสูงสุดใหม่สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันในชาติตะวันตก ทางด้านหุ้นยูไนเต็ด พาร์เซล เซอร์วิส (UPS) ทะยานขึ้น 4.7% หลังจาก UPS เปิดเผยผลกำไรรายไตรมาสที่สูงเกินคาด
หุ้นเจเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์พุ่งขึ้น 8.3% หลังจาก GM คาดการณ์ผลกำไรปี 2023 ที่สูงเกินคาด ทั้งนี้ หุ้นแคเทอร์พิลลาร์ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรดิ่งลง 3.5% หลังจากทางบริษัทรายงานว่า ผลกำไรไตรมาส 4 ดิ่งลง 29% ส่วนหุ้นแมคโดนัลด์รูดลง 1.3% หลังจากแมคโดนัลด์ประกาศเตือนว่า ภาวะเงินเฟ้อจะส่งผลลบต่ออัตราผลกำไรในปี 2023--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน