ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
นิวยอร์ค--28 ส.ค.--รอยเตอร์
เทรดเดอร์ในตลาดออปชั่นหุ้นสหรัฐกำลังคาดการณ์ในช่วงนี้ว่า การเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสของบริษัทเอ็นวิเดียในช่วงต่อไปในวันนี้ อาจจะส่งผลให้มูลค่าหุ้นเอ็นวิเดียแกว่งตัวราว 3.00 แสนล้านดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี โดยนักลงทุนมองว่าเอ็นวิเดียถือเป็นผู้ชนะรายใหญ่ที่สุดในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และนักลงทุนก็จับตาดูผลประกอบการของเอ็นวิเดียมากเป็นพิเศษ เพราะว่าผลประกอบการของเอ็นวิเดียอาจจะบ่งชี้ถึงสถานการณ์ของธุรกิจ AI และสิ่งนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีโดยรวมด้วย ทั้งนี้ เทรดเดอร์ในตลาดออปชั่นคาดการณ์ในตอนนี้ว่า ราคาหุ้นเอ็นวิเดียอาจจะแกว่งตัวราว 9.76% ในวันพฤหัสบดี และเนื่องจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของเอ็นวิเดียอยู่ที่ราว 3.11 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้นการแกว่งตัว 9.76% ของราคาหุ้นจึงอาจส่งผลให้มูลค่าบริษัทเอ็นวิเดียแกว่งตัวราว 3.05 แสนล้านดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี ซึ่งจะถือเป็นการแกว่งตัวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สำหรับมูลค่าบริษัทใด ๆ ก็ตามหลังการรายงานผลประกอบการ
ถ้าหากราคาหุ้นเอ็นวิเดียแกว่งตัว 9.76% ในวันพฤหัสบดี นั่นก็จะถือเป็นการแกว่งตัวอย่างรุนแรงกว่าค่าเฉลี่ยด้วย เพราะว่าราคาหุ้นเอ็นวิเดียแกว่งตัวเฉลี่ย 8.1% ในวันหลังวันรายงานผลประกอบการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยสถิติข้อมูลในอดีตบ่งชี้ว่า ในวันหลังวันรายงานผลประกอบการนั้น ราคาหุ้นเอ็นวิเดียเคยพุ่งขึ้น 9.32% ในวันที่ 22 พ.ค.ปีนี้, ทะยานขึ้น 16.4% ในวันที่ 21 ก.พ.ปีนี้, ดิ่งลง 2.46% ในวันที่ 21 พ.ย. 2023, ขยับขึ้น 0.1% ในวันที่ 23 ส.ค. 2023, พุ่งขึ้น 24.37% ในวันที่ 24 พ.ค. 2023 และทะยานขึ้น 14.02% ในวันที่ 22 ก.พ. 2023
ผลประกอบการของเอ็นวิเดียจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นในวงกว้าง เพราะว่าราคาหุ้นเอ็นวิเดียทะยานขึ้นมาแล้วราว 150% จากช่วงต้นปีนี้ ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐทะยานขึ้นมาแล้วราว 18% จากช่วงต้นปีนี้ โดยที่หุ้นเอ็นวิเดียครองสัดส่วนราว 25% ในการพุ่งขึ้นของดัชนี S&P 500
ตลาดออปชั่นส่งสัญญาณว่า เทรดเดอร์กังวลว่าตนเองอาจจะพลาดโอกาสทางการลงทุนในการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ของหุ้นเอ็นวิเดีย โดยเทรดเดอร์มองว่า มีโอกาส 7% ที่หุ้นเอ็นวิเดียอาจจะพุ่งขึ้นกว่า 20% ภายในวันศุกร์นี้ และมีโอกาสเพียง 4% ที่หุ้นเอ็นวิเดียอาจจะดิ่งลงกว่า 20% ภายในวันศุกร์นี้ ทั้งนี้ การที่เทรดเดอร์คาดการณ์ว่า หุ้นเอ็นวิเดียอาจจะแกว่งตัวผันผวนอย่างรุนแรงนั้น มีสาเหตุมาจากการที่หุ้นบริษัทนี้มักจะแกว่งตัวผันผวนมากในอดีตด้วย
ค่าเฉลี่ยความผันผวนระยะ 30 วันของหุ้นเอ็นวิเดียอยู่ในระดับที่สูงเป็นสองเท่าของค่าเฉลี่ยความผันผวนของหุ้นบริษัทอื่น ๆ ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่สูงกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์เหมือนกัน โดยหุ้นเอ็นวิเดียแกว่งตัวผันผวนเฉลี่ยราว 52% ในระยะ 30 วันในปี 2024 ในขณะที่บริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์สูงกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์นั้น มีราคาหุ้นแกว่งตัวผันผวนเฉลี่ยราว 26% ในระยะ 30 วันในปี 2024 ทั้งนี้ ราคาหุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์แกว่งตัวผันผวนเฉลี่ยราว 37% ในระยะ 30 วันในปี 2024, ส่วนหุ้นแอลฟาเบทแกว่งตัว 26%, หุ้นอะเมซอนแกว่งตัว 26%, หุ้นแอปเปิลแกว่งตัว 23% และหุ้นไมโครซอฟท์แกว่งตัวเฉลี่ย 19% ในระยะ 30 วันในปี 2024--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
สกุลเงินตลาดเกิดใหม่ในเอเชียแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันนี้ หลังจากข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐออกมาชะลอตัวลง ซึ่งเพิ่มคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.นี้
รายงานเงินเฟ้อของสหรัฐที่จะออกมาในวันนี้อาจจะหนุนการคาดการณ์เรื่องการลดดอกเบี้ย ขณะที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะชะลอตัวลง และนักลงทุนจะรอดูการแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดต่อสภาคองเกรสในวันอังคารและพุธนี้เพื่อประเมินจังหวะเวลาในการลดดอกเบี้ย
นักวิเคราะห์จากบาร์เคลย์สกล่าวว่า "ตลาดกำลังคาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางเกาหลีอย่างเร็วที่สุดในเดือนส.ค.นี้ แต่เราก็เชื่อว่ายังคงเป็นเงื่อนไข เพราะระดับอัตราแลกเปลี่ยนยังคงน่ากังวล และราคาที่อยู่อาศัยเริ่มปรับตัวขึ้นอีกครั้ง"
ธนาคารกลางเกาหลี และธนาคารกลางมาเลเซียจะประชุมนโยบายในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ย
ตลาดจะรอดูข้อมูลเงินเฟ้อของจีนในวันพุธนี้ และข้อมูลจีดีพีของมาเลเซียในวันศุกร์นี้ด้วย
อัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลา 12.11 น.ตามเวลาไทย
COUNTRY |
FX RIC |
FX DAILY % |
FX YTD % |
Japan |
JPY= |
+0.12 |
-12.12 |
China |
CNY=CFXS |
-0.01 |
-2.36 |
India |
INR=IN |
+0.05 |
-0.28 |
Indonesia |
IDR= |
+0.18 |
-5.23 |
Malaysia |
MYR= |
- |
-2.49 |
Philippines |
PHP= |
+0.01 |
-5.35 |
S.Korea |
KRW=KFTC |
+0.18 |
-6.59 |
Singapore |
SGD= |
+0.05 |
-2.12 |
Taiwan |
TWD=TP |
+0.23 |
-5.14 |
Thailand |
THB=TH |
+0.12 |
-6.13 |
Eikon source text
3 ก.ค.--รอยเตอร์
บริษัทที่ทำธุรกิจปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิตชิป มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดพุ่งขึ้นสูงมากในเดือนมิ.ย. ซึ่งรวมถึงบริษัทเอ็นวิเดียในสหรัฐที่เคยมีมูลค่าพุ่งขึ้นจนสามารถก้าวขึ้นมาครองตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกได้เป็นเวลาสั้น ๆ ในระหว่างเดือนมิ.ย. ทั้งนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ของเอ็นวิเดียเคยพุ่งขึ้นแตะ 3.34 ล้านล้านดอลลาร์ในระหว่างเดือนมิ.ย. ก่อนที่จะลดช่วงบวกลงในเวลาต่อมา โดยเป็นผลจากคำสั่งเทขายทำกำไรและความกังวลเรื่องมูลค่าหุ้นที่ระดับสูง โดยมูลค่าของเอ็นวิเดียลดลงมาอยู่ที่ 3.0391 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงปลายเดือนมิ.ย. ซึ่งส่งผลให้เอ็นวิเดียครองตำแหน่งที่ 3 ในอันดับบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของไมโครซอฟท์พุ่งขึ้น 7.6% ในเดือนมิ.ย. สู่ 3.3219 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งส่งผลให้ไมโครซอฟท์ครองตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ส่วนมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของแอปเปิลทะยานขึ้น 9.6% ในเดือนมิ.ย. สู่ 3.2297 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งส่งผลให้แอปเปิลครองตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้ บริษัทที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 4 ของโลกคือแอลฟาเบาท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล โดยแอลฟาเบทมีมูลค่า 2.2581 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงปลายเดือนมิ.ย.
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทอะเมซอนดอทคอม อิงค์พุ่งขึ้นแตะ 2.0111 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงปลายเดือนมิ.ย. ซึ่งส่งผลให้อะเมซอนกลายเป็นบริษัทสหรัฐแห่งที่ 5 ที่มีมูลค่าพุ่งขึ้นเหนือ 2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยอะเมซอนได้รับแรงหนุนจากกระแสความนิยมใน AI ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ บริษัทที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 6 ของโลกในช่วงปลายเดือนมิ.ย.คือซาอุดิ อาราเบียน ออยล์ ที่มีมูลค่า 1.7998 ล้านล้านดอลลาร์, อันดับ 7 คือเมตา แพลตฟอร์มส์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก ที่มีมูลค่า 1.279 ล้านล้านดอลลาร์, อันดับ 8 คือเบิร์คเชียร์ แฮทธาเวย์ ที่มีมูลค่า 8.779 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 9 คืออีไล ลิลลี แอนด์ โค ที่เป็นผู้ผลิตยา โดยบริษัทนี้มีมูลค่า 8.605 แสนล้านดอลลาร์ และอันดับ 10 คือบริษัทไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟคเจอริง โค (TSMC) ที่มีมูลค่า 7.697 แสนล้านดอลลาร์
อันดับ 11 คือบริษัทบรอดคอม อิงค์ที่มีมูลค่า 7.474 แสนล้านดอลลาร์ โดยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบรอดคอมพุ่งขึ้นราว 20% ในเดือนมิ.ย. หลังจากบรอดคอมปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์รายได้ประจำปีสำหรับชิป AI ราว 10% และประกาศแตกหุ้นเพื่อทำประโยชน์จากการพุ่งขึ้นของราคาหุ้นในปีนี้ ทั้งนี้ อันดับ 12 คือเทสลา ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่มีมูลค่า 6.311 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 13 คือธนาคารเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โคที่มีมูลค่า 5.808 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 14 คือบริษัทวอลมาร์ทในธุรกิจค้าปลีกที่มีมูลค่า 5.446 แสนล้านดอลลาร์ และอันดับ 15 คือบริษัท SPDR S&P 500 ETF Trust ที่มีมูลค่า 5.404 แสนล้านดอลลาร์
อันดับ 16 คือบริษัทวีซ่า อิงค์ที่ทำธุรกิจบัตรเครดิต ซึ่งมีมูลค่า 5.252 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 17 คือบริษัทเอ็กซอน โมบิลที่ทำธุรกิจน้ำมัน ซึ่งมีมูลค่า 5.164 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 18 คือบริษัทโนโว นอร์ดิสก์ของเดนมาร์กที่ทำธุรกิจยา โดยบริษัทนี้มีมูลค่า 4.898 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 19 คือบริษัท iShares Core S&P 500 ETF ที่มีมูลค่า 4.872 แสนล้านดอลลาร์ และอันดับ 20 คือกองทุนแวงการ์ด 500 อินเด็กซ์ ฟันด์ ที่มีมูลค่า 4.717 แสนล้านดอลลาร์--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
สกุลเงินตลาดเกิดใหม่ในเอเชียยังคงอ่อนค่าท่ามกลางดอลลาร์ที่ทรงตัวในวันนี้ ขณะที่นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทำให้มีความหวังขึ้นมาใหม่ว่า เฟดอาจจะเริ่มวงจรการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
เขากล่าวว่า สหรัฐมีเงินเฟ้อที่ลดลงอีกครั้ง พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ผู้กำหนดนโยบายต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก่อนที่จะพิจารณาการลดอัตราดอกเบี้ย
เครื่องมือเฟดวอทช์ของซีเอ็มอีพบว่า ตลาดกำลังปรับตัวรับโอกาส 67.1% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ยในการประชุมในเดือนก.ย. เทียบกับโอกาส 54.7% ในเดือนที่แล้ว
วอน และบาทอ่อนค่า 0.2% ขณะที่สกุลเงินอื่นๆทรงตัว
นักลงทุนจะรอดูข้อมูลเงินเฟ้อจากไทย, ฟิลิปปินส์ และไต้หวันในสัปดาห์นี้ ขณะที่ข้อมูลเงินเฟ้อของเกาหลีใต้และอินโดนีเซียชะลอตัวลง โดยเงินเฟ้อในเดือนมิ.ย.ของอินโดนีเซียชะลอตัวกว่าที่คาดไว้
นายอัลวิน ตัน หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์อัตราแลกเปลี่ยนเอเชียจากอาร์บีซี แคปิตอล มาร์เกตส์กล่าวว่า ธนาคารกลางส่วนใหญ่ในเอเชียยกเว้นจีนอาจจะไม่ลดดอกเบี้ยก่อนเฟด แม้เงินเฟ้อชะลอตัวลงอีกก็ตาม เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับการอ่อนค่าของอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลา 11.44 น.ตามเวลาไทย
COUNTRY |
FX RIC |
FX DAILY % |
FX YTD % |
Japan |
JPY= |
-0.17 |
-12.77 |
China |
CNY=CFXS |
-0.03 |
-2.41 |
India |
INR=IN |
+0.01 |
-0.35 |
Indonesia |
IDR= |
+0.03 |
-6.04 |
Malaysia |
MYR= |
-0.02 |
-2.71 |
Philippines |
PHP= |
+0.04 |
-5.76 |
S.Korea |
KRW=KFTC |
-0.22 |
-7.34 |
Singapore |
SGD= |
-0.06 |
-2.76 |
Taiwan |
TWD=TP |
-0.09 |
-5.89 |
Thailand |
THB=TH |
-0.18 |
-7.19 |
Eikon source text
ภาวะซื้อขายสกุลเงินตลาดเกิดใหม่ในเอเชียซบเซาในวันนี้ ขณะที่วอนอ่อนค่ามากที่สุด ส่วนริงกิต, ดอลลาร์ไต้หวัน และบาททรงตัว
วอนอ่อนค่า 0.4% ขณะที่เกาหลีใต้เปิดเผยว่า การส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกันในเดือนมิ.ย. โดยได้แรงหนุนจากความต้องการชิป แต่ก็ชะลอตัวกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้
สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล (PCE)ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือนพ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนเม.ย. และดัชนี PCE เพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบรายปีในเดือนพ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.7% ในเดือนเม.ย. ขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นปานกลาง ซึ่งทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใกล้ที่จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
เครื่องมือเฟดวอทช์ของซีเอ็มอีพบว่า ตลาดกำลังคาดว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งเป็นอย่างต่ำจากเฟดในปีนี้ โดยมีความเป็นไปได้ 63% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ยในเดือนก.ย.
นักลงทุนจะรอดูข้อมูลเงินเฟ้อจากไทย, ฟิลิปปินส์, ไต้หวันและเกาหลีใต้ในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะช่วยให้เห็นแรงกดดันปัจจุบันของประเทศในเอเชีย
อัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลา 12.05 น.ตามเวลาไทย
COUNTRY |
FX RIC |
FX DAILY % |
FX YTD % |
Japan |
JPY= |
-0.17 |
-12.44 |
China |
CNY=CFXS |
-0.01 |
-2.34 |
India |
INR=IN |
-0.09 |
-0.30 |
Indonesia |
IDR= |
+0.06 |
-5.90 |
Malaysia |
MYR= |
+0.04 |
-2.61 |
Philippines |
PHP= |
-0.34 |
-5.61 |
S.Korea |
KRW=KFTC |
-0.35 |
-6.77 |
Singapore |
SGD= |
+0.00 |
-2.68 |
Taiwan |
TWD=TP |
-0.19 |
-5.46 |
Thailand |
THB=TH |
-0.03 |
-6.98 |
Eikon source text
สกุลเงินตลาดเกิดใหม่ในเอเชียส่วนใหญ่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันนี้ท่ามกลางภาวะซื้อขายซบเซาก่อนการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐ
ดัชนีดอลลาร์อยู่ที่ 105.810 ขณะที่นักลงทุนรอดูข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐ ซึ่งอาจมีอิทธิพลต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย โดยความอดทนของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กับการคงอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นนานขึ้นหนุนดอลลาร์
ดอลลาร์สิงคโปร์ทรงตัว หลังจากสิงคโปร์เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพ.ค.ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนเม.ย.
ริงกิตทรงตัว ขณะที่นักลงทุนรอดูข้อมูลเงินเฟ้อของมาเลเซียในวันพรุ่งนี้ โดยหวังว่าจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางนโยบายของธนาคารกลางมาเลเซีย
แต่เปโซอ่อนค่า 0.5% ก่อนการประชุมนโยบายของธนาคารกลางฟิลิปปินส์ในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งนักวิเคราะห์จากเมย์แบงก์กล่าวว่า "เปโซอาจจะถูกกดดันต่อไป เมื่อดูจากท่าทีสายพิราบของธนาคารกลางฟิลิปปินส์ และความเสี่ยงที่พวกเขาอาจลดดอกเบี้ยก่อนเฟด"
อัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลา 11.11 น.ตามเวลาไทย
COUNTRY |
FX RIC |
FX DAILY % |
FX YTD % |
Japan |
JPY= |
+0.04 |
-11.68 |
China |
CNY=CFXS |
-0.01 |
-2.25 |
India |
INR=IN |
+0.01 |
-0.37 |
Indonesia |
IDR= |
+0.02 |
-6.36 |
Malaysia |
MYR= |
0.00 |
-2.55 |
Philippines |
PHP= |
-0.54 |
-5.76 |
S.Korea |
KRW=KFTC |
-0.09 |
-7.31 |
Singapore |
SGD= |
+0.01 |
-2.61 |
Taiwan |
TWD=TP |
-0.02 |
-5.07 |
Thailand |
THB=TH |
-0.08 |
-6.98 |
Eikon source text
กรุงเทพฯ--10 มิ.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐดีดขึ้นในวันศุกร์ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาด และตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะใช้เวลานานก่อนที่จะเริ่มต้นวัฏจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงต่อไปในปีนี้ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐพุ่งขึ้น 272,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 185,000 ตำแหน่ง แต่ทางกระทรวงได้ปรับทบทวนตัวเลขการจ้างงานของเดือนมี.ค.และเม.ย.ให้ต่ำลงจากเดิม 15,000 ตำแหน่ง ส่วนค่าแรงเฉลี่ยต่อชั่วโมงปรับขึ้น 0.4% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.2% ในเดือนเม.ย. ในขณะที่ค่าแรงแบบเทียบรายปีพุ่งขึ้น 4.1% ในเดือนพ.ค. หลังจากปรับขึ้น 4.0% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายปี ทางด้านอัตราการว่างงานปรับขึ้นจาก 3.9% ในเดือนเม.ย. สู่ 4% ในเดือนพ.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.92 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 104.11 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยการพุ่งขึ้นในวันศุกร์ถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. โดยดัชนีดอลลาร์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการแข็งค่าขึ้นราว 0.2% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 156.70 เยนในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ โดยพุ่งขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพฤหัสบดีที่ 155.60 เยน และเทียบกับจุดสูงสุดรอบ 34 ปีที่ 160.245 เยนที่เคยทำไว้ในวันที่ 29 เม.ย. อย่างไรก็ดี ดอลลาร์/เยนปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการอ่อนค่าลง 0.39% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการร่วงลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนเม.ย.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0800 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ โดยร่วงลงจาก 1.0888 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการอ่อนค่าลง 0.38% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการร่วงลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์วันที่ 8-14 เม.ย.
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ หลังจากแกว่งตัวผันผวนในระหว่างวัน โดยตลาดหุ้นได้รับผลกระทบจากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐที่พุ่งขึ้นสูงเกินคาดในเดือนพ.ค. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง แต่ตัวเลขการจ้างงานดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่ช้าเกินคาด โดยเทรดเดอร์คาดการณ์ในวันศุกร์ว่า มีโอกาสเพียง 56% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. และเทรดเดอร์ก็จะรอดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานอออกมาในวันที่ 12 มิ.ย. และจะรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของเฟดในวันที่ 11-12 มิ.ย.ด้วย โดยเทรดเดอร์คาดว่า เฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมครั้งนี้ แต่เทรดเดอร์จะจับตาดูว่า เฟดจะเปิดโอกาสสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.หรือไม่ ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค, กลุ่มวัสดุ และกลุ่มบริการการสื่อสาร ถือเป็นหุ้น 3 กลุ่มที่ถ่วงตลาดหุ้นสหรัฐลงมากที่สุดในวันศุกร์ แต่หุ้นกลุ่มการเงินกับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถือเป็นหุ้น 2 กลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ทางด้านหุ้นบริษัทเอ็นวิเดียขยับลง 0.09% ในขณะที่มูลค่าของเอ็นวิเดียปรับลงสู่ระดับต่ำกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์อีกครั้ง Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดปรับลง 0.22% สู่ 38,798.99 ในวันศุกร์ แต่ดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการบวกขึ้น 0.29% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.11% สู่ 5,346.99 ในวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ได้ในระหว่างวัน โดยดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้น 1.32% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนี Nasdaq ปิดปรับลง 0.23% สู่ 17,133.13 ในวันศุกร์ แต่ดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการทะยานขึ้น 2.38% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ขยับลงเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยได้รับแรงกดดันจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งเกินคาดในเดือนพ.ค. เพราะตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนเข้ามาบ้าง หลังจากเจ้าชายอับดุลอาซิซ บิน ซัลมาน รมว.พลังงานของซาอุดิอาระเบียกล่าวในวันพฤหัสบดีว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) อาจจะระงับการปรับเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน หรืออาจจะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงไปได้อีก ถ้าหากกลุ่มโอเปกพลัสมองว่าตลาดน้ำมันไม่ได้อยู่ในภาวะที่แข็งแกร่งมากพอ ทางด้านนายอเล็กซานเดอร์ โนแวค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียกล่าวว่า กลุ่มโอเปกพลัสอาจจะปรับแก้ข้อตกลงได้ถ้าหากมีความจำเป็น ทั้งนี้ บริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์รายงานในวันศุกร์ว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐดิ่งลง 4 แท่น สู่ 492 แท่นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 มิ.ย. โดยระดับ 492 แท่นนี้ถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2022 ส่วนคณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) รายงานในวันศุกร์ว่า นักเก็งกำไรปรับลดการถือครองสถานะซื้อสุทธิในสัญญาล่วงหน้าและออปชั่นน้ำมันดิบสหรัฐลง 53,327 สัญญา สู่ 118,401 สัญญาในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 มิ.ย. ทางด้านสำนักงานศุลกากรจีนรายงานในวันศุกร์ว่า ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบในจีนดิ่งลง 8.7% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยดิ่งลงสู่ 46.97 ล้านตัน หรือ 11.06 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนพ.ค. จาก 12.11 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนพ.ค.ปีก่อน ในขณะที่โรงกลั่นน้ำมันในจีนปรับลดการนำเข้าน้ำมันดิบ เนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นจำนวนมาก, อัตราผลกำไรจากการกลั่นน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ และอุปสงค์ในผลิตภัณฑ์น้ำมันอยู่ในระดับต่ำ Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนก.ค.ขยับลง 2 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 75.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 1.9% จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 25 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 79.62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการรูดลง 2.5% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐดิ่งลง 82.90 ดอลลาร์ หรือ 3.49% สู่ 2,292.71 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลง 1.47% จากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากตัวเลขการจ้างงานในสหรัฐที่พุ่งขึ้นสูงเกินคาดในเดือนพ.ค. เพราะตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในปีนี้ ทางด้านเทรดเดอร์คาดการณ์ในวันศุกร์ว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 0.37% ในปีนี้ หลังจากที่เคยคาดไว้ก่อนหน้านั้นว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.48% ในปีนี้ ทั้งนี้ ราคาทองได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่า จีนซึ่งถือเป็นประเทศผู้ใช้ทองรายใหญ่ที่สุดในโลก ไม่ได้เข้าซื้อทองในเดือนพ.ค.ด้วย หลังจากที่จีนเคยเข้าซื้อทองมานาน 18 เดือนติดต่อกัน Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน