ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ลอนดอน--21 พ.ย.--รอยเตอร์
นายฟรานเซสโก เกร์เรรา ผู้เขียนคอลัมน์ของรอยเตอร์ระบุว่า การที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมาส่งผลบวกต่อราคาสินทรัพย์หลายประเภท โดยเฉพาะหุ้นสหรัฐ, สกุลเงินคริปโต และดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลจากนโยบายต่าง ๆ ของนายทรัมป์ ซึ่งรวมถึงนโยบายปรับลดกฎระเบียบ และนโยบายปรับลดภาษีเงินได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากนโยบายของนายทรัมป์ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตอย่างร้อนแรง ยอดขาดดุลงบประมาณและอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐก็อาจจะพุ่งสูงขึ้น และปัจจัยดังกล่าวจะสร้างความกังวลต่อนักลงทุนในตลาดพันธบัตร และนักลงทุนในตลาดพันธบัตรก็อาจจะเทขายพันธบัตรสหรัฐออกมา ซึ่งจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) พุ่งสูงขึ้น และปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลลบต่อตลาดหุ้นสหรัฐได้ด้วย ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ส่งผลให้นายทรัมป์ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ คือภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ โดยราคาผู้บริโภคในสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้ว 21% เมื่อเทียบกับระดับในช่วงที่ปธน.โจ ไบเดนชนะการเลือกตั้งในช่วงปลายปี 2020 ทางด้านผลสำรวจหน้าคูหาการเลือกตั้งของสถานี NBC ระบุว่า ใน 3 รัฐสำคัญของสหรัฐนั้น ผู้โหวตราว 75% ระบุว่าภาวะเงินเฟ้อสร้างความยากลำบากในระดับปานกลางหรือรุนแรงต่อพวกเขาในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา และผู้โหวตส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ระบุว่า พวกเขาเลือกพรรครีพับลิกันในการเลือกตั้งในวันที่ 5 พ.ย.
นายเกร์เรราระบุว่า นโยบายของนายทรัมป์เองก็มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะนโยบายเก็บภาษีนำเข้าถ้วนหน้าในอัตรา 10% และเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนในอัตรา 60% โดยนายดาริโอ เพอร์กินส์จากบริษัททีเอส ลอมบาร์ดระบุว่า มาตรการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราภาษีนำเข้าในสหรัฐพุ่งขึ้นจาก 2% ในปัจจุบัน สู่ระดับราว 17% ซึ่งจะถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงหลังจากทศวรรษ 1940 เป็นต้นมา และปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลบวกราว 1.3% ต่อดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวจะเท่ากับผลกระทบที่เกิดจากการพุ่งขึ้น 20% ของราคาน้ำมัน ทางด้านดัชนี CPI เพิ่งปรับขึ้น 2.6% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายปี ทั้งนี้ นักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐไม่ได้กังวลกับปัจจัยดังกล่าวในช่วงนี้ เพราะว่าดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นหลังจากนายทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง ในขณะที่นักลงทุนเชื่อว่านายทรัมป์จะดำเนินมาตรการปรับลดกฎระเบียบในวงกว้าง และนโยบายดังกล่าวอาจจะส่งผลให้การควบรวมกิจการเข้าสู่ภาวะเฟื่องฟู โดยการคาดการณ์ในเรื่องนี้มีส่วนช่วยหนุนหุ้นวาณิชธนกิจบางแห่งเป็นอย่างมาก ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทโมเอลิส และหุ้นบริษัทพีเจที พาร์ทเนอร์สที่พุ่งขึ้นมาแล้วราว 10% นับตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย.
ผู้จัดการกองทุนชื่นชอบนโยบายของนายทรัมป์ที่จะปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคลลงสู่ 15% จาก 21% โดยการปรับลดอัตราภาษีดังกล่าวจะส่งผลให้ผลกำไรต่อหุ้นของบริษัทสหรัฐโดยเฉลี่ยพุ่งขึ้นไปอีก 4% นอกจากนี้ เทรดเดอร์ก็มองว่าสงครามการค้าอาจจะส่งผลบวกต่อบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐด้วย เพราะว่ามาตรการกีดกันทางการค้าจะส่งผลดีต่อบริษัทที่เน้นการทำธุรกิจภายในสหรัฐ โดยการคาดการณ์ในเรื่องนี้มีส่วนช่วยหนุนให้ดัชนี Russell 2000 สำหรับบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ ชัยชนะของนายทรัมป์ส่งผลดีต่อบิทคอยน์ด้วยเช่นกัน โดยบิทคอยน์พุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 97,902 ดอลลาร์ในวันนี้ โดยทะยานขึ้นมาแล้ว 46.6% จากระดับ 66,776.19 ดอลลาร์ในวันที่ 4 พ.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากการที่นายทรัมป์ได้ให้สัญญาว่า เขาจะทำให้สหรัฐกลายเป็น "เมืองหลวงแห่งคริปโตบนดาวเคราะห์ดวงนี้" ทางด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐอาจขยายตัว 2.8% ในปีนี้ และ 2.2% ในปี 2025
อย่างไรก็ดี นโยบายของนายทรัมป์อาจจะสร้างความเสียหายต่อการคลังของสหรัฐ โดยคณะกรรมการเพื่องบประมาณของรัฐบาลกลางที่มีความรับผิดชอบประเมินว่า นโยบายของนายทรัมป์จะส่งผลให้ยอดขาดดุลงบประมาณของสหรัฐเพิ่มสูงขึ้นอีก 15.5 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิบปีข้างหน้า ในขณะที่ยอดขาดดุลงบประมาณอยู่สูงกว่า 7% ของจีดีพีอยู่แล้วในปัจจุบัน ดังนั้นการที่ยอดขาดดุลงบประมาณจะพุ่งสูงขึ้นไปอีกจึงทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ฐานะการคลังของรัฐบาลสหรัฐจะมีความยั่งยืนหรือไม่ ทั้งนี้ นักลงทุนในตลาดพันธบัตรได้แสดงปฏิกิริยาต่อปัจจัยนี้ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นจากระดับ 3.6% ในเดือนก.ย. สู่ระดับราว 4.4% ในปัจจุบัน โดยเป็นผลจากปัจจัยสำคัญสองประการ ซึ่งได้แก่ความกังวลที่ว่า เฟดจำเป็นจะต้องตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ และการที่นักลงทุนต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงจากระดับหนี้สินที่สูงขึ้นของรัฐบาลสหรัฐ
นักลงทุนบางรายมองว่า ตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะสามารถรับมือกับปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ได้ เพราะว่าดอลลาร์สหรัฐถือเป็นสกุลเงินหลักของโลก และปัจจัยนี้จะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติต้องการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐต่อไป อย่างไรก็ดี นายเกร์เรราระบุว่า การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอาจจะส่งผลลบต่อตลาดหุ้น เพราะว่าการพุ่งขึ้นของบอนด์ยิลด์จะส่งผลให้หุ้นมีความน่าดึงดูดน้อยลง--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
3 ก.ค.--รอยเตอร์
บริษัทที่ทำธุรกิจปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิตชิป มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดพุ่งขึ้นสูงมากในเดือนมิ.ย. ซึ่งรวมถึงบริษัทเอ็นวิเดียในสหรัฐที่เคยมีมูลค่าพุ่งขึ้นจนสามารถก้าวขึ้นมาครองตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกได้เป็นเวลาสั้น ๆ ในระหว่างเดือนมิ.ย. ทั้งนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ของเอ็นวิเดียเคยพุ่งขึ้นแตะ 3.34 ล้านล้านดอลลาร์ในระหว่างเดือนมิ.ย. ก่อนที่จะลดช่วงบวกลงในเวลาต่อมา โดยเป็นผลจากคำสั่งเทขายทำกำไรและความกังวลเรื่องมูลค่าหุ้นที่ระดับสูง โดยมูลค่าของเอ็นวิเดียลดลงมาอยู่ที่ 3.0391 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงปลายเดือนมิ.ย. ซึ่งส่งผลให้เอ็นวิเดียครองตำแหน่งที่ 3 ในอันดับบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของไมโครซอฟท์พุ่งขึ้น 7.6% ในเดือนมิ.ย. สู่ 3.3219 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งส่งผลให้ไมโครซอฟท์ครองตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ส่วนมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของแอปเปิลทะยานขึ้น 9.6% ในเดือนมิ.ย. สู่ 3.2297 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งส่งผลให้แอปเปิลครองตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้ บริษัทที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 4 ของโลกคือแอลฟาเบาท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล โดยแอลฟาเบทมีมูลค่า 2.2581 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงปลายเดือนมิ.ย.
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทอะเมซอนดอทคอม อิงค์พุ่งขึ้นแตะ 2.0111 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงปลายเดือนมิ.ย. ซึ่งส่งผลให้อะเมซอนกลายเป็นบริษัทสหรัฐแห่งที่ 5 ที่มีมูลค่าพุ่งขึ้นเหนือ 2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยอะเมซอนได้รับแรงหนุนจากกระแสความนิยมใน AI ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ บริษัทที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 6 ของโลกในช่วงปลายเดือนมิ.ย.คือซาอุดิ อาราเบียน ออยล์ ที่มีมูลค่า 1.7998 ล้านล้านดอลลาร์, อันดับ 7 คือเมตา แพลตฟอร์มส์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก ที่มีมูลค่า 1.279 ล้านล้านดอลลาร์, อันดับ 8 คือเบิร์คเชียร์ แฮทธาเวย์ ที่มีมูลค่า 8.779 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 9 คืออีไล ลิลลี แอนด์ โค ที่เป็นผู้ผลิตยา โดยบริษัทนี้มีมูลค่า 8.605 แสนล้านดอลลาร์ และอันดับ 10 คือบริษัทไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟคเจอริง โค (TSMC) ที่มีมูลค่า 7.697 แสนล้านดอลลาร์
อันดับ 11 คือบริษัทบรอดคอม อิงค์ที่มีมูลค่า 7.474 แสนล้านดอลลาร์ โดยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบรอดคอมพุ่งขึ้นราว 20% ในเดือนมิ.ย. หลังจากบรอดคอมปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์รายได้ประจำปีสำหรับชิป AI ราว 10% และประกาศแตกหุ้นเพื่อทำประโยชน์จากการพุ่งขึ้นของราคาหุ้นในปีนี้ ทั้งนี้ อันดับ 12 คือเทสลา ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่มีมูลค่า 6.311 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 13 คือธนาคารเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โคที่มีมูลค่า 5.808 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 14 คือบริษัทวอลมาร์ทในธุรกิจค้าปลีกที่มีมูลค่า 5.446 แสนล้านดอลลาร์ และอันดับ 15 คือบริษัท SPDR S&P 500 ETF Trust ที่มีมูลค่า 5.404 แสนล้านดอลลาร์
อันดับ 16 คือบริษัทวีซ่า อิงค์ที่ทำธุรกิจบัตรเครดิต ซึ่งมีมูลค่า 5.252 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 17 คือบริษัทเอ็กซอน โมบิลที่ทำธุรกิจน้ำมัน ซึ่งมีมูลค่า 5.164 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 18 คือบริษัทโนโว นอร์ดิสก์ของเดนมาร์กที่ทำธุรกิจยา โดยบริษัทนี้มีมูลค่า 4.898 แสนล้านดอลลาร์, อันดับ 19 คือบริษัท iShares Core S&P 500 ETF ที่มีมูลค่า 4.872 แสนล้านดอลลาร์ และอันดับ 20 คือกองทุนแวงการ์ด 500 อินเด็กซ์ ฟันด์ ที่มีมูลค่า 4.717 แสนล้านดอลลาร์--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--17 เม.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 5 เดือนเมื่อเทียบกับยูโรในวันอังคาร หลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เฟดอาจจะมีความจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงลดลงได้ยาก และเขาตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติมในปีนี้ในการเข้าใกล้เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% นอกจากนี้ เขายังกล่าวอีกด้วยว่า "ตัวเลขเศรษฐกิจในระยะนี้ไม่ได้ทำให้เรามีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น แต่ตัวเลขเศรษฐกิจในระยะนี้กลับบ่งชี้ว่า มีแนวโน้มที่จะใช้เวลานานเกินคาดในการที่เราจะมีความเชื่อมั่นเช่นนั้น" โดยการกล่าวแถลงของเขาในวันอังคารมีแนวโน้มว่าอาจจะเป็นการแสดงความเห็นต่อสาธารณชนครั้งสุดท้ายของเขา ก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. ทั้งนี้ ดอลลาร์/เยนพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 ในขณะที่เทรดเดอร์จับตาดูว่า ทางการญี่ปุ่นจะเข้ามาแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเพื่อหนุนค่าเงินเยนหรือไม่ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 106.33 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 106.18 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 106.51 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2023 หรือจุดสูงสุดรอบ 5 เดือนครึ่ง
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 154.71 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 154.27 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 154.79 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 34 ปี หรือจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0617 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยขยับลงจาก 1.0622 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากร่วงลงแตะ 1.0599 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. 2023
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐขยับขึ้น แต่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ปรับลงในวันอังคาร ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นจาก 4.628% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.657% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากทะยานขึ้นแตะ 4.696% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 5 เดือน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ได้รับแรงหนุนจากตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐที่แข็งแกร่งเกินคาดที่ได้รับการรายงานออกมาในวันจันทร์ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นก็ได้รับผลกระทบจากถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันอังคารด้วย หลังจากนายพาวเวลล์กล่าวว่า เฟดอาจจะมีความจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงลดลงได้ยาก ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการที่ดีเกินคาดของบริษัทยูไนเต็ดเฮลธ์ กรุ๊ป ซึ่งส่งผลให้หุ้นยูไนเต็ดเฮลธ์พุ่งขึ้น 5.22% ในวันอังคาร และตลาดหุ้นสหรัฐก็ได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P 500 ได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค นอกจากนี้ หุ้นบริษัทเทสลาก็ดิ่งลง 2.7% ในวันอังคาร หลังจากรูดลงกว่า 5% ในวันจันทร์โดยได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่า เทสลาวางแผนจะปลดพนักงานออกกว่า 10% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.17% สู่ 37,798.97
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.21% สู่ 5,051.41
ดัชนี Nasdaq ปิดขยับลง 0.12% สู่ 15,865.25 ในวันอังคาร โดยทั้งดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ต่างก็ดิ่งลงมาแล้วเกือบ 4% จากสถิติสูงสุดที่ทำไว้ในเดือนมี.ค.
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ขยับลงเล็กน้อยในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนกังวลกับปัญหาทางเศรษฐกิจ หลังจากหลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เฟดอาจจะมีความจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงลดลงได้ยาก และเขาตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติมในปีนี้ในการเข้าใกล้เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% โดยปัจจัยลบนี้บดบังแรงหนุนที่ราคาน้ำมันได้รับจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ทางด้านนักลงทุนจับตาดูว่า อิสราเอลจะดำเนินมาตรการอย่างไรในการตอบโต้อิหร่าน หลังจากอิหร่านใช้โดรนและขีปนาวุธโจมตีอิสราเอลในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่การโจมตีดังกล่าวสร้างความเสียหายต่ออิสราเอลในระดับที่น้อยเกินคาด ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 เม.ย. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 4.089 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.509 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐลดลง 427,000 บาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ค.ขยับลง 5 เซนต์ หรือ 0.1% มาปิดตลาดที่ 85.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนขยับลง 8 เซนต์ หรือ 0.1% มาปิดตลาดที่ 90.02 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 92.18 ดอลลาร์ในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2023
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับขึ้น 0.32 ดอลลาร์ สู่ 2,382.83 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 2,431.29 ดอลลาร์ในวันศุกร์ที่ 12 เม.ย. โดยราคาทองได้รับแรงหนุนในวันอังคารในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเรื่องความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง และปัจจัยบวกดังกล่าวช่วยชดเชยแรงกดดันที่ราคาทองได้รับจากการที่นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในปีนี้ ทั้งนี้ ธนาคารดอยช์ แบงก์คาดว่า ราคาทองอาจจะอยู่ที่ 2,400 ดอลลาร์ในช่วงสิ้นปีนี้ และอาจจะอยู่ที่ 2,600 ดอลลาร์ในเดือนธ.ค. 2025 โดยดอยช์ แบงก์ระบุเสริมว่า "เราคาดว่าราคาทองมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับแข็งแกร่งต่อไป เพราะว่าคำสั่งเทขายทำกำไรของนักลงทุนจะได้รับการชดเชยด้วยเงินลงทุนจากนักลงทุนกลุ่มที่ยังไม่ได้เข้าร่วมในการพุ่งขึ้นของราคาทองในช่วงที่ผ่านมา" Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com ; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--9 เม.ย.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐระบุว่า มูลค่าหุ้นสหรัฐเคลื่อนตัวอยู่ใกล้ระดับที่สูงที่สุดในรอบราว 2 ปีในช่วงนี้ และมูลค่าหุ้นดังกล่าวอาจจะเผชิญกับบททดสอบในเร็ว ๆ นี้จากฤดูการรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของบริษัทสหรัฐที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 12 เม.ย. เมื่อธนาคารเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, ซิตี้กรุ๊ป และเวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โคเปิดเผยผลประกอบการออกมา และสายการบินเดลต้า แอร์ไลน์กับบริษัทแบล็คร็อคก็จะเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสออกมาในเร็ว ๆ นี้ด้วย ทั้งนี้ ค่าพีอีเรโชของหุ้นในดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐอยู่ที่ 20.7 เท่าของตัวเลขคาดการณ์ผลกำไรสำหรับช่วง 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งใกล้เคียงกับจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 ปีที่ 21.2 เท่าที่เคยทำไว้ในช่วงปลายเดือนมี.ค. ในขณะที่ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 9% จากช่วงต้นปีนี้ แต่อาจจะเป็นเรื่องที่ยากมากยิ่งขึ้นที่ตลาดหุ้นสหรัฐจะยังคงทะยานขึ้นในอัตราที่แข็งแกร่งแบบนี้ได้อีกในช่วงหลังจากนี้
ถ้าหากบริษัทสหรัฐเปิดเผยผลกำไรที่ปรับขึ้นน้อยเกินคาด นักลงทุนก็อาจจะเทขายหุ้นออกมา โดยเฉพาะในช่วงที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งขึ้นในช่วงนี้ ซึ่งส่งผลให้พันธบัตรมีความน่าดึงดูดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับหุ้น ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 2 ปีพุ่งขึ้นจาก 4.732% ในช่วงท้ายวันศุกร์ สู่ 4.789% ในช่วงท้ายวันจันทร์ และปรับขึ้นต่อไปสู่ 4.801% ในช่วงเช้าวันนี้ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 28 พ.ย. 2023 ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นจาก 4.378% ในช่วงท้ายวันศุกร์ สู่ 4.424% ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากทะยานขึ้นแตะ 4.464% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. หรือจุดสูงสุดรอบ 4 เดือน และอยู่ที่ 4.396% ในวันนี้
นักลงทุนจะจับตาดูความเห็นของบริษัทต่าง ๆ ที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อ เพื่อใช้ในการประเมินว่า ภาวะเศรษฐกิจแบบพอเหมาะพอดีในช่วงนี้จะยังคงดำเนินต่อไปได้หรือไม่ โดยภาวะดังกล่าวคือภาวะที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงรักษาระดับความแข็งแกร่งเอาไว้ได้ แต่อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคยังคงชะลอตัวลงต่อไป ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจปรับขึ้น 5% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบรายปี โดยปรับลดลงจากระดับ +7.2% ที่เคยคาดการณ์กันไว้ในช่วงต้นไตรมาสแรก และชะลอตัวลงจากอัตราการเติบโตที่ 10.1% ในไตรมาส 4/2023 โดยอัตรา +5% นี้จะถือว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 2/2023 เป็นต้นมา ในขณะที่อัตราผลกำไรได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูง, การพุ่งขึ้นของต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์ และการที่ภาคเอกชนมีอำนาจน้อยลงในการกำหนดราคา ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง
นักลงทุนจะจับตาดูผลประกอบการของบริษัทขนาดยักษ์ของสหรัฐในช่วงนี้ด้วย หลังจากราคาหุ้นของบริษัทกลุ่ม "Magnificent 7" หรือบริษัทขนาดยักษ์ 7 แห่งที่ประกอบด้วย บริษัทแอปเปิล, ไมโครซอฟท์, แอลฟาเบท, อะเมซอนดอทคอม, เอ็นวิเดีย, เมตา แพลตฟอร์มส์ และเทสลา ปรับตัวในทิศทางที่แตกต่างกันในช่วงนี้ โดยหุ้นเอ็นวิเดียซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปมีราคาพุ่งขึ้นมาแล้ว 78% จากช่วงต้นปีนี้ แต่หุ้นเทสลามีราคาอยู่ที่ 172.98 ดอลลาร์ในช่วงนี้ โดยดิ่งลงมาแล้วราว 30% จาก 248.48 ดอลลาร์ในช่วงปลายปีที่แล้ว ในขณะที่เทสลายกเลิกแผนการผลิตรถยนต์ราคาถูก
นักลงทุนจะจับตาดูว่า ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐในช่วงนี้จะส่งผลบวกต่อรายได้และผลกำไรของบริษัทที่มักปรับตัวตามภาวะเศรษฐกิจหรือไม่ ซึ่งบริษัทในกลุ่มนี้รวมถึงบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มพลังงาน โดยหุ้นกลุ่มนี้ปรับตัวได้ดีเป็นส่วนใหญ่ในปีนี้ ในขณะที่การพุ่งขึ้นในตลาดหุ้นสหรัฐกระจายออกไปในวงกว้าง แทนที่จะกระจุกตัวอยู่แต่ในหุ้นเติบโตและหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com ; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--3 เม.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอ่อนค่าลงในวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 5 เดือนในช่วงแรก โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขการเปิดรับสมัครงานในสหรัฐ ในขณะที่กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ยอดการเปิดรับสมัครงานในสหรัฐปรับขึ้น 8,000 ตำแหน่ง สู่ 8.756 ล้านตำแหน่งในวันสุดท้ายของเดือนก.พ. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 8.750 ล้านตำแหน่ง นอกจากนี้ เทรดเดอร์ก็ปรับตัวรับตัวเลขยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐด้วย ทั้งนี้ สำนักงานสำมะโนประชากรในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานพุ่งขึ้น 1.4% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +1.0% หลังจากยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเพิ่งดิ่งลง 3.8% ในเดือนม.ค. โดยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานได้รับแรงหนุนจากยอดสั่งซื้อเครื่องจักรที่พุ่งขึ้น 1.8% ในเดือนก.พ. และจากยอดสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์ที่ทะยานขึ้น 24.6% ในเดือนก.พ. หลังจากดิ่งลง 63.5% ในเดือนม.ค. Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.77 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจาก 105.00 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 105.10 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. 2023 หรือจุดสูงสุดในรอบเกือบ 5 เดือน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 151.55 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยปรับลงจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 151.63 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 151.975 เยนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธที่ 27 มี.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่กลางปี 1990 หรือจุดสูงสุดรอบ 34 ปี
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0768 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0743 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0723 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนก.พ.
ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนพิจารณาความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเลื่อนเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไป หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในระยะนี้ โดยในตอนนี้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 2 ครั้งในปีนี้ โดยปรับลดลงจากเดิมที่เคยคาดว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นจาก 4.329% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.365% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากทะยานขึ้นแตะ 4.405% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนพ.ย. และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ก็สร้างความกังวลต่อนักลงทุนในตลาดหุ้นด้วย นอกจากนี้ แมรี ดาลี ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโกก็ได้กล่าวในวันอังคารว่า มี "ความเสี่ยงอย่างแท้จริง" ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเวลาที่เร็วเกินไป เพราะการทำเช่นนั้นจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงเกินไปต่อไป โดยถ้อยแถลงของดาลีบ่งชี้ว่า เฟดจะไม่รีบร้อนปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ทั้งนี้ หุ้นเทสลาดิ่งลง 4.9% ในวันอังคาร หลังจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแห่งนี้รายงานว่า ยอดการจัดส่งรถยนต์อยู่ที่ 386,810 คันในไตรมาสแรก โดยดิ่งลง 8.5% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 2/2020 หรือครั้งแรกในรอบเกือบ 4 ปี ทางด้านหุ้นกลุ่มการแพทย์รูดลงอย่างรุนแรงในวันอังคารด้วยเช่นกัน หลังจากรัฐบาลสหรัฐตรึงอัตราค่าสินไหมทดแทนสำหรับผู้ให้บริการประกันสุขภาพในโครงการ Medicare Advantage ไว้ที่ระดับเดิม โดยหุ้นบริษัทยูไนเต็ดเฮลธ์ดิ่งลง 6.4%, หุ้นบริษัทซีวีเอส เฮลธ์รูดลง 7.2% และหุ้นบริษัทฮูมานาดิ่งลง 13.4% Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดดิ่งลง 1% สู่ 39,170.24
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับลง 0.72% สู่ 5,205.81 ในวันอังคาร แต่ดัชนียังคงพุ่งขึ้นมาแล้วราว 9% จากช่วงต้นปีนี้
ดัชนี Nasdaq ปิดรูดลง 0.95% สู่ 16,240.45
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า ยูเครนได้ใช้โดรนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันทาเนโกของบริษัทแททเนฟท์ ซึ่งถือเป็นโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่อันดับ 3 ของรัสเซีย และตั้งอยู่ห่างจากแนวหน้าราว 1,300 กิโลเมตร (800 ไมล์) โดยโรงกลั่นแห่งนี้ตั้งอยู่ในภูมิภาคทาทาร์สถาน โดยการโจมตีดังกล่าวสร้างความเสียหายต่อหน่วยกลั่นน้ำมันหลักที่แปรรูปน้ำมันดิบราว 155,000 บาร์เรลต่อวัน แต่แหล่งข่าวกล่าวว่า การโจมตีในครั้งนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นด้วย ในขณะที่อิหร่านประกาศว่าจะตอบโต้อิสราเอล หลังจากอิสราเอลดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อสถานทูตอิหร่านในกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย ซึ่งส่งผลให้นายพลระดับสูงของอิหร่านเสียชีวิต 2 คน และที่ปรึกษาทางการทหารของอิหร่านเสียชีวิต 5 คน ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 29 มี.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.3 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐรูดลง 1.5 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.6 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนพ.ค.พุ่งขึ้น 1.44 ดอลลาร์ หรือราว 1.7% มาปิดตลาดที่ 85.15 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 85.46 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนทะยานขึ้น 1.50 ดอลลาร์ หรือ 1.7% มาปิดตลาดที่ 88.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 89.08 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้น 29.74 ดอลลาร์ หรือ 1.32% สู่ 2,280.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ในระหว่างวันที่ 2,280.89 ดอลลาร์ โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเรื่องความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง หลังจากอิสราเอลโจมตีสถานทูตอิหร่านในกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--15 ก.พ.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับลงในวันพุธหลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 3 เดือนในระหว่างวัน โดยก่อนหน้านี้ดอลลาร์เพิ่งพุ่งขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนม.ค.ของสหรัฐที่อยู่ในระดับแข็งแกร่งเกินคาด เพราะตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) ในกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 3.1% ในเดือนม.ค. หลังจากพุ่งขึ้น 3.4% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบรายปี และออกห่างจากจุดสูงสุดของวัฏจักรที่ 9.1% ที่เคยทำไว้ในเดือนมิ.ย. 2022 แต่ตัวเลขดังกล่าวอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +2.9% สำหรับเดือนม.ค. ทางด้านนักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้า fed funds คาดการณ์ในตอนนี้ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. และคาดว่ามีโอกาสสูงเกือบถึง 80% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. โดยนักลงทุนคาดการณ์กันอีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปีนี้ หลังจากที่เคยคาดการณ์เมื่อสองสัปดาห์ก่อนว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 5 ครั้งในปีนี้ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.68 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจาก 104.86 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากปรับขึ้นแตะ 104.97 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 3 เดือน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 150.55 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยปรับลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 150.79 เยน หลังจากดอลลาร์เพิ่งทะยานขึ้นแตะ 150.88 เยนในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. หรือจุดสูงสุดรอบ 3 เดือน โดยดอลลาร์/เยนพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 6% จากช่วงต้นปีนี้ หรือทะยานขึ้นมาแล้วราว 10 เยนจากช่วงต้นปีนี้
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0725 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0709 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0693 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 3 เดือน
ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากการทะยานขึ้นของหุ้นบริษัทสำคัญหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงหุ้นเอ็นวิเดีย ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) รายใหญ่ ก่อนที่เอ็นวิเดียจะเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสในสัปดาห์หน้า โดยหุ้นเอ็นวิเดียพุ่งขึ้นราว 2.5% ในวันพุธ และส่งผลให้มูลค่าตามราคาตลาดของเอ็นวิเดียทะยานขึ้นมาอยู่ที่ 1.825 ล้านล้านดอลลาร์ และส่งผลให้เอ็นวิเดียก้าวขึ้นมาครองตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 3 ในตลาดหุ้นสหรัฐ โดยแทนที่บริษัทแอลฟาเบท ในขณะที่หุ้นแอลฟาเบทปรับขึ้น 0.55% ในวันพุธ ซึ่งส่งผลให้แอลฟาเบทมีมูลค่าตามราคาตลาดอยู่ที่ 1.821 ล้านล้านดอลลาร์ ทางด้านหุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์พุ่งขึ้น 2.86% ในวันพุธ ส่วนหุ้นเทสลาทะยานขึ้น 2.55% ในวันพุธ และหุ้นสองตัวนี้ก็มีส่วนช่วยหนุนดัชนี S&P 500 ขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ตลาดหุ้นก็ได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทลิฟท์และบริษัทอูเบอร์ ซึ่งเป็นสองบริษัทผู้ให้บริการเรียกรถด้วย โดยหุ้นลิฟท์พุ่งขึ้น 35% หลังจากลิฟท์เปิดเผยผลกำไรที่สูงเกินคาด และประกาศว่าลิฟท์จะมีตัวเลขกระแสเงินสดอิสระเป็นบวกได้เป็นครั้งแรกในปี 2024 ส่วนหุ้นอูเบอร์พุ่งขึ้น 14.7% สู่สถิติสูงสุดใหม่ โดยได้รับแรงหนุนจากแผนซื้อคืนหุ้นขนาด 7 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น มีอยู่ 9 กลุ่มใหญ่ที่ปิดตลาดวันพุธในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมพุ่งขึ้น 1.67% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุด ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มบริการการสื่อสารทะยานขึ้น 1.42% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากเป็นอันดับสอง ทางด้านดัชนี Russell 2000 สำหรับหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐทะยานขึ้น 2.4% ในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทซูเปอร์ ไมโคร คอมพิวเตอร์ที่ทะยานขึ้นกว่า 11% โดยบริษัทแห่งนี้ทำธุรกิจขายอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.40% สู่ 38,424.27
ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 0.96% สู่ 5,000.62
ดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 1.30% สู่ 15,859.15
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันพุธ ในขณะที่มีความกังวลกันว่าอุปสงค์น้ำมันในสหรัฐอาจจะลดลงในอนาคต หลังจากนายไมค์ เทอร์เนอร์ ประธานคณะกรรมาธิการข่าวกรองประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐออกแถลงการณ์ในวันพุธเพื่อเตือนว่า "มีภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ" แต่เขาไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องนี้ และสิ่งนี้ก็สร้างความกังวลต่อนักลงทุนบางราย ทั้งนี้ ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากตัวเลขสต็อกน้ำมันด้วย โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานในวันพุธว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐพุ่งขึ้น 12.0 ล้านบาร์เรล สู่ 439.5 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 ก.พ. ถึงแม้โพลล์รอยเตอร์คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจปรับขึ้นเพียง 2.6 ล้านบาร์เรล โดย EIA ระบุอีกด้วยว่า ปริมาณการนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นในโรงกลั่นสหรัฐดิ่งลง 298,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ 14.54 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ล่าสุด และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันรูดลง 1.8% สู่ 80.6% ในสัปดาห์ล่าสุด ซึ่งต่างก็ถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2022 ซึ่งเป็นเดือนที่โรงกลั่นน้ำมันหลายแห่งในสหรัฐปิดทำการเพราะพายุฤดูหนาวเอลเลียต Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.รูดลง 1.23 ดอลลาร์ หรือ 1.6% มาปิดตลาดที่ 76.64 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.17 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 81.60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับขึ้น 0.26 ดอลลาร์ สู่ 1,992.39 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากดิ่งลงแตะ 1,984.09 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. หรือจุดต่ำสุดรอบ 2 เดือน โดยราคาทองยังคงได้รับแรงกดดันจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนม.ค.ที่แข็งแกร่งเกินคาดในสหรัฐ เพราะตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อย่างไรก็ดี ราคาพัลลาเดียมพุ่งขึ้นกว่า 8% ในวันพุธ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--30 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 30-31 ม.ค. แต่เฟดจะคัดค้านการคาดการณ์ในตลาดที่ว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ทางด้านเทรดเดอร์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาสเพียง 48% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 89% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อน หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในระยะนี้แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ยูโรได้รับแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปที่อยู่ในภาวะอ่อนแอกว่าสหรัฐ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.46 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 103.47 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 103.82 ในระหว่างวัน ซึ่งเท่ากับจุดสูงสุดของสัปดาห์ที่แล้ว และถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.49 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 148.16 เยน อย่างไรก็ดี ดอลลาร์/เยนมีแนวโน้มที่จะปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการพุ่งขึ้นราว 4.5% จากเดือนธ.ค. ในขณะที่เทรดเดอร์ปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ)
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0833 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0852 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.07955 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค., รอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัว และรอดูผลประกอบการของบริษัทสำคัญหลายแห่งของสหรัฐที่จะได้รับการประกาศออกมาในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทแอลฟาเบท, ไมโครซอฟท์ และเจเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันอังคาร, บริษัทควอลคอมม์ ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพุธ, บริษัทโบอิ้ง, แอปเปิล, อะเมซอนดอทคอม และเมตา แพลตฟอร์มส์ ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพฤหัสบดี และบริษัทเอ็กซอน โมบิล กับเชฟรอน ซึ่งถือเป็นสองบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันศุกร์ ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจที่นักลงทุนจับตาดูในสัปดาห์นี้รวมถึง ผลสำรวจตำแหน่งงานว่างและการเข้า-ออกงาน (JOLTS), ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐที่จัดทำโดยบริษัท ADP, ต้นทุนการจ้างงานประจำไตรมาสสี่, ประสิทธิภาพการผลิต, ยอดการประกาศปลดพนักงานออก, ตัวเลขราคาบ้านสหรัฐที่จัดทำโดยบริษัทเคส-ชิลเลอร์, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่จัดทำโดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ค่าใช้จ่ายภาคก่อสร้าง, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนม.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 2 ก.พ. ทั้งนี้ หุ้น 10 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันจันทร์ในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยพุ่งขึ้น 1.37% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันจันทร์ ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ทะยานขึ้น 0.97% และถือเป็นกลุ่มที่ปรับขึ้นมากเป็นอันดับสอง ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานถือเป็นหุ้นกลุ่มเดียวที่ปิดตลาดวันจันทร์ในแดนลบ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.59% สู่ 38,333.45
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.76% สู่ 4,927.93 ซึ่งถือเป็นสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ โดยดัชนีพุ่งขึ้นมาแล้ว 3.3% จากช่วงต้นเดือนนี้ และปัจจัยดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้บริษัทแบล็คร็อคปรับขึ้นมุมมองที่มีต่อหุ้นสหรัฐโดยรวมสู่ "overweight" จาก "neutral"
ดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.12% สู่ 15,628.04
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันจันทร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องอุปสงค์น้ำมันในจีนท่ามกลางวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หลังจากมีข่าวว่าศาลฮ่องกงออกคำสั่งให้บริษัทไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของจีนขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นในช่วงแรกโดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง หลังจากมีการใช้ขีปนาวุธโจมตีเรือขนส่งเชื้อเพลิงลำหนึ่งในทะเลแดง และมีการใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดน ซึ่งส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และส่งผลให้มีทหารได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 34 นาย อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิ่งลงในเวลาต่อมา ในขณะที่นักลงทุนมองว่าอุปทานน้ำมันยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.รูดลง 1.23 ดอลลาร์ หรือ 1.6% มาปิดตลาดที่ 76.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.15 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 82.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 84.80 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย. หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 13.41
ดอลลาร์ สู่ 2,031.75 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค.ด้วย ทั้งนี้ มีการใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดน ซึ่งส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และส่งผลให้มีทหารได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 34 นาย ทางด้านประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐระบุในวันอาทิตย์ว่า กลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์โจมตีในครั้งนี้ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นการโจมตีครั้งแรกที่ส่งผลให้ทหารสหรัฐเสียชีวิต นับตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในเดือนต.ค. 2023 เป็นต้นมา Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน