ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
วอชิงตัน--28 พ.ย.--รอยเตอร์
สำนักงานสำมะโนประชากรในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพุธว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่รวมอาวุธและเครื่องบิน หรือยอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐาน ร่วงลง 0.2% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนก.ย. และสวนทางกับโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐานอาจปรับขึ้น 0.1% ในเดือนต.ค. โดยรายงานนี้บ่งชี้ว่ารายจ่ายด้านอุปกรณ์ในภาคธุรกิจชะลอตัวลงในไตรมาสนี้ นอกจากนี้ ทางกระทรวงยังระบุอีกด้วยว่า ยอดขนส่งสินค้าทุนพื้นฐานดีดขึ้น 0.2% ในเดือนต.ค. หลังจากปรับลดลง 0.1% ในเดือนก.ย.
การลงทุนด้านอุปกรณ์ในภาคธุรกิจรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เป็นส่วนใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากภาวะเฟื่องฟูในปัญญาประดิษฐ์ (AI) ถึงแม้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวในปี 2022-2023 โดยการลงทุนด้านอุปกรณ์ในภาคธุรกิจเพิ่งพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 2-3 ของปีนี้ และมีส่วนช่วยหนุนให้เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตอย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 2 และ 3 ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐรายงานในวันพูธว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐเติบโต 2.8% ในไตรมาสสามเมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) ซึ่งเท่ากับตัวเลขในการประเมินครั้งแรก โดยได้รับแรงหนุนจากปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง โดยก่อนหน้านั้นเศรษฐกิจสหรัฐเพิ่งเติบโต 3.0% ในไตรมาสสอง
ยอดสั่งซื้อสินค้าทุนยกเว้นอาวุธดีดขึ้น 1.4% ในเดือนต.ค. หลังจากดิ่งลง 3.5% ในเดือนก.ย. ส่วนยอดขนส่งสินค้าทุนยกเว้นอาวุธดิ่งลง 1.9% ในเดือนต.ค. หลังจากรูดลง 3.8% ในเดือนก.ย.
ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน หรือสินค้าที่สามารถใช้งานได้นานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เครื่องปิ้งขนมปังไปจนถึงเครื่องบิน ปรับขึ้น 0.2% ในเดือนต.ค. หลังจากดิ่งลง 0.4% ในเดือนก.ย. โดยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนได้รับแรงหนุนจากยอดสั่งซื้ออุปกรณ์การขนส่งที่พุ่งขึ้น 0.5% ในเดือนต.ค. หลังจากดิ่งลง 1.9% ในเดือนก.ย. ทั้งนี้ ยอดสั่งซื้อยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ร่วงลง 0.4% ในเดือนต.ค. แต่ยอดสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์และชิ้นส่วนพุ่งขึ้น 8.3% ในเดือนต.ค. หลังจากดิ่งลง 16.6% ในเดือนก.ย.
บริษัทโบอิ้งรายงานว่า ทางบริษัทได้รับยอดสั่งซื้อเครื่องบิน 63 ลำในเดือนต.ค. โดยปรับลดลงจาก 65 ลำในเดือนก.ย. แต่ยอดสั่งซื้อในเดือนต.ค.ครอบคลุมยอดสั่งซื้อเครื่องบินขนส่งสินค้า และยอดสั่งซื้อเครื่องบินรุ่นดรีมไลเนอร์ที่มีราคาแพงเป็นจำนวนหลายลำ ทั้งนี้ ยอดขนส่งเครื่องบินพาณิชย์ดิ่งลง 11.8% ในเดือนต.ค. โดยอาจได้รับแรงกดดันจากการผละงานประท้วงเป็นเวลานาน 7 สัปดาห์ในโรงงานของบริษัทโบอิ้ง ซึ่งส่งผลให้มีการระงับการผลิตเครื่องบินรุ่น 737 MAX, รุ่น 767 และรุ่น 777 แต่การผละงานประท้วงนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
วอชิงตัน--31 ต.ค.--รอยเตอร์
สำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจ (BEA) ในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพุธว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐปรับขึ้น 2.8% ในไตรมาสสามเมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +3.0% และชะลอตัวลงจากอัตราการเติบโตที่ 3.0% ในไตรมาสสอง โดยการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในครั้งนี้เป็นผลมาจากยอดขาดดุลการค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ธุรกิจสหรัฐปรับเพิ่มการนำเข้าเพื่อตอบสนองอุปสงค์ที่แข็งแกร่งภายในสหรัฐ และเป็นผลจากการชะลอตัวในการปรับเพิ่มปริมาณสต็อกสินค้าคงคลัง อย่างไรก็ดี อัตราการเติบโตที่ 2.8% นี้ยังคงอยู่สูงกว่าระดับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่กระตุ้นภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประเมินว่าอยู่ที่ราว 1.8% ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า อัตราการปรับเพิ่มสต็อกสินค้าคงคลังชะลอตัวลงสู่ 6.02 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปีในไตรมาสสาม จาก 7.17 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปีในไตรมาสสอง และปัจจัยนี้ส่งผลลบ 0.17% ต่อตัวเลขจีดีพีไตรมาสสาม หลังจากตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาคเอกชนเคยส่งผลบวก 1.05% ต่อตัวเลขจีดีพีไตรมาสสอง ทางด้านยอดนำเข้าในสหรัฐพุ่งขึ้น 11.2% ในไตรมาสสาม หลังจากปรับขึ้น 7.6% ในไตรมาสสอง โดยตัวเลขยอดนำเข้าในไตรมาสสามได้รับแรงหนุนจากการที่ธุรกิจในสหรัฐเร่งนำเข้าสินค้าท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่า อาจจะมีการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าหลังการเลือกตั้งในสหรัฐ และมีการเร่งนำเข้าสินค้าก่อนที่คนงานท่าเรือในสหรัฐจะผละงานประท้วงเป็นเวลาสั้น ๆ ด้วย
ยอดนำเข้าส่งผลลบ 1.5% ต่อตัวเลขจีดีพีไตรมาสสาม ในขณะที่ยอดส่งออกของสหรัฐพุ่งขึ้น 8.9% ในไตรมาสสาม และส่งผลบวก 0.9% ต่อจีดีพีไตรมาสสาม นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ก็ส่งผลบวกต่อจีดีพีไตรมาสสามด้วยเช่นกัน โดยปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคสหรัฐส่งผลบวก 2.46% ต่อจีดีพีไตรมาสสาม ซึ่งถือเป็นการส่งผลบวกครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหนึ่งปีครึ่ง, ยอดใช้จ่ายของรัฐบาลสหรัฐส่งผลบวก 0.9% ต่อจีดีพีไตรมาสสาม, และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรส่งผลบวก 0.2% ต่อจีดีพีไตรมาสสาม ทั้งนี้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 2.8% ในไตรมาสสามยังคงถือเป็นอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่ง และส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วอีกหลายประเทศ ในขณะที่มาตรวัดอุปสงค์ภายในสหรัฐ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่รวมยอดใช้จ่ายภาครัฐ, ภาคการค้า และภาคสต็อกสินค้าคงคลัง พุ่งขึ้น 3.2% ในไตรมาสสาม หลังจากปรับขึ้น 2.7% ในไตรมาสสอง
ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคสหรัฐ ซึ่งครองสัดส่วนสูงกว่า 2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐ พุ่งขึ้น 3.7% ในไตรมาสสาม ซึ่งถือเป็นอัตราการปรับขึ้นที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 1/2023 หรือเร็วที่สุดในรอบหนึ่งปีครึ่ง และเร่งตัวขึ้นจากอัตราการปรับขึ้นที่ 2.8% ในไตรมาสสอง โดยยอดจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคนี้ได้รับแรงหนุนจากทั้งการจับจ่ายในภาคสินค้าและภาคบริการ ซึ่งรวมถึงยอดใช้จ่ายในยาตามใบสั่งแพทย์, ยานยนต์, ค่ารักษาพยาบาลโดยแพทย์, การรับประทานอาหารนอกบ้าน และค่าพักโรงแรม โดยยอดใช้จ่ายในภาคบริการพุ่งขึ้น 2.6% ในไตรมาสสาม หลังจากทะยานขึ้น 2.7% ในไตรมาสสอง ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ระบุอีกด้วยว่า การลงทุนทางธุรกิจในอุปกรณ์พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสสาม โดยการลงทุนทางธุรกิจในอุปกรณ์ทะยานขึ้น 11.1% ในไตรมาสสาม ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 2/2023 หลังจากทะยานขึ้น 9.8% ในไตรมาสสอง โดยตัวเลขของไตรมาสสามนี้ได้รับแรงหนุนจากการลงทุนในเครื่องบิน อย่างไรก็ดี การลงทุนในทรัพย์สินทางปัญญา/ซอฟท์แวร์ปรับขึ้นเพียง 0.6% ในไตรมาสสาม โดยชะลอตัวลงจาก +0.7% ในไตรมาสสอง และการลงทุนในโครงสร้าง ซึ่งครอบคลุมถึงโรงงาน ดิ่งลง 4.0% ในไตรมาสสาม หลังจากขยับขึ้น 0.2% ในไตรมาสสอง ทางด้านการใช้จ่ายในภาครัฐบาลพุ่งขึ้น 5.0% ในไตรมาสสาม โดยเร่งตัวขึ้นจาก +3.1% ในไตรมาสสอง โดยได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศ ส่วนการลงทุนในภาคที่อยู่อาศัยหดตัวลงเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน โดยหดตัวลง 5.1% ในไตรมาสสาม หลังจากหดตัวลง 2.8% ในไตรมาสสอง
BEA ระบุว่า เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะประเมินผลกระทบจากพายุเฮอริเคนเฮลีนที่มีต่อจีดีพี หลังจากพายุดังกล่าวสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐในเดือนก.ย. แต่ BEA ระบุว่าความเสียหายที่มีต่อสินทรัพย์ถาวร ซึ่งรวมถึงที่อยู่อาศัยและอาคารต่าง ๆ ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวเลขจีดีพีและรายได้ส่วนบุคคล นอกจากนี้ BEA ยังระบุอีกด้วยว่า พายุเฮอริเคนเฮลีนสร้างความเสียหายต่อสินทรัพย์ถาวรในภาคเอกชนราว 3.90 หมื่นล้านดอลลาร์ และสร้างความเสียหายต่อสินทรัพย์ถาวรในภาครัฐบาลระดับรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นราว 2.0 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ รายได้ส่วนบุคคลในสหรัฐเพิ่มขึ้น 2.213 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสสาม หลังจากพุ่งขึ้น 3.157 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสสอง ในขณะที่อัตราการออมเงินในสหรัฐดิ่งลงสู่ 4.8% ในไตรมาสสาม จาก 5.2% ในไตรมาสสอง โดยมีการคาดการณ์กันว่า ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในไตรมาสสี่อาจจะชะลอตัวลงจากระดับสูงในไตรมาสสาม
ดัชนีราคาสำหรับการซื้อมวลรวมภายในประเทศ ซึ่งถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐ ปรับขึ้นเพียง 1.8% ในไตรมาสสาม ซึ่งถือเป็นอัตราการปรับขึ้นที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2023 เป็นต้นมา และชะลอตัวลงจาก +2.4% ในไตรมาสสอง ส่วนดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน และถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดนิยมใช้ ปรับขึ้นเพียง 2.2% ในไตรมาสสาม ซึ่งถือเป็นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ต่ำที่สุดในรอบเกือบหนึ่งปี และชะลอตัวลงอย่างรุนแรงจากอัตรา 2.8% ในไตรมาสสอง ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เฟดจะยังคงมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 6-7 พ.ย. และในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค. ถึงแม้อุปสงค์ภายในสหรัฐอยู่ในระดับแข็งแกร่ง แต่นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า ถ้าหากภาวะแข็งแกร่งนี้ยังคงดำเนินต่อไป วัฏจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ก็อาจจะดำเนินไปอย่างเชื่องช้าเกินกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนก.ย.--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
29 ต.ค.--รอยเตอร์
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. และมีแนวโน้มว่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (FOMC) จะได้พิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญอีกหลายตัวก่อนที่จะถึงการประชุมดังกล่าว ซึ่งรวมถึงตัวเลขสัดส่วนตำแหน่งงานว่างต่อคนว่างงานในสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในช่วงต่อไปในวันนี้, ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธ, ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี โดยดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐนิยมใช้ และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนต.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 1 พ.ย. นอกจากนี้ เฟดก็จะได้พิจารณาผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย.ก่อนที่จะตัดสินใจกำหนดอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 7 พ.ย.ด้วย ทั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายของเฟดจะปฏิบัติตามกฎห้ามการสื่อสารต่อสาธารณชนเป็นเวลา 10 วันก่อนการประชุมกำหนดนโยบายในแต่ละครั้ง ดังนั้นถึงแม้มีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ผิดคาดเป็นอย่างมากออกมาในช่วงนี้ ผู้กำหนดนโยบายของเฟดก็ไม่มีโอกาสที่จะสื่อสารต่อสาธารณชนเพื่อชี้นำความเห็นของสาธารณชนก่อนการประกาศผลการประชุม
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดว่าแทบไม่มีปัจจัยใดที่จะขัดขวางเฟดจากการทำในสิ่งที่ตลาดคาดไว้ในตอนนี้ ซึ่งได้แก่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.50-4.75% ในการประชุมวันที่ 6-7 พ.ย. ซึ่งจะถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่สองของวัฏจักร หลังจากเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไปแล้ว 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยหนุนตลาดแรงงานสหรัฐ และป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง ทั้งนี้ หลังจากเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. สหรัฐก็รายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดหลายตัวในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกของสหรัฐที่พุ่งขึ้น 0.4% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.1% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่า ยอดค้าปลีกอาจปรับขึ้นเพียง 0.3% ในเดือนก.ย., การจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่พุ่งขึ้น 254,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 140,000 ตำแหน่ง และถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. หรือครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 6 เดือน และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปแบบเทียบรายปีที่ปรับขึ้น 2.4% ในเดือนก.ย. ซึ่งถือเป็นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2021 หรือต่ำที่สุดในรอบ 3 ปีครึ่ง แต่อยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +2.3% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายปี ทางด้านดัชนีของซิตี้กรุ๊ปสำหรับตัวเลขเศรษฐกิจที่ผิดคาดในสหรัฐพุ่งขึ้นแตะ 19.7 ในช่วงนี้ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 6 เดือน
เจ้าหน้าที่เฟดเกือบทุกคนที่แสดงความเห็นนับตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย.เป็นต้นมาระบุว่า พวกเขาพึงพอใจกับอัตราการว่างงานในสหรัฐที่ 4.1% และพึงพอใจกับอัตราเงินเฟ้อที่เข้าใกล้ระดับเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% โดยแม้แต่เจ้าหน้าที่สายเหยี่ยวในเฟดก็ส่งสัญญาณสนับสนุนให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อไป ทั้งนี้ แมรี ดาลี ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโกกล่าวในสัปดาห์ที่แล้วว่า "ดิฉันยังไม่เห็นข้อมูลใด ๆ ที่บ่งชี้ว่า เฟดจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อไป" โดยเธอตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายการเงินในตอนนี้อยู่ในภาวะที่ "เข้มงวดมาก" สำหรับเศรษฐกิจที่มีอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง และเธอกล่าวเสริมว่า "ดิฉันไม่ต้องการที่จะเห็นตลาดแรงงานชะลอตัวลงต่อไป"
เฟดได้เปิดเผยรายงานสรุปการคาดการณ์เศรษฐกิจ (SEP) ในวันที่ 18 ก.ย.ด้วย โดยรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้กำหนดนโยบายของเฟดประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยที่ "เป็นกลาง" ในระยะยาวอยู่ที่ 2.9% หากวัดจากค่ากลางของผลสำรวจ และสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้กำหนดนโยบายส่วนใหญ่ของเฟดเชื่อว่า เฟดมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไปได้อีกอย่างน้อย 2% จากระดับปัจจุบันที่ 4.75-5.00% ส่วนตัวเลขคาดการณ์ทั้งหมดใน SEP สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่เป็นกลางในระยะยาวอยู่ที่ 2.4-3.8% ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้กำหนดนโยบายทุกคนในเฟดเชื่อว่า เฟดสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปได้อีกอย่างน้อย 1% ก่อนที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะแตะอัตราดอกเบี้ยที่เป็นกลางในระยะยาว ทั้งนี้ นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในผู้ว่าการเฟดกล่าวในเดือนนี้ว่า "ในขณะที่หลายคนมุ่งความสนใจไปยังขนาดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 1-2 ครั้งข้างหน้า ผมก็คิดว่าสารสำคัญจาก SEP ก็คือว่า เฟดจะปรับลดระดับความเข้มงวดทางนโยบายลงไปอีกเป็นจำนวนมาก และถ้าหากเศรษฐกิจยังคงอยู่ในภาวะพอเหมาะพอดีแบบนี้ต่อไป เฟดก็จะปรับลดระดับความเข้มงวดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป"
นักลงทุนจะรอดูรายงานดัชนี PCE ที่จะออกมาในวันพฤหัสบดีนี้ โดยมีการคาดการณ์กันว่า ดัชนี PCE พื้นฐานอาจจะยังคงลดลงได้ยาก แต่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจชะลอตัวลงสู่ 2.1% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายปี จาก 2.2% ในเดือนส.ค. โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนส.ค.ถือเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2021 หรือต่ำที่สุดในรอบ 3 ปีครึ่ง นอกจากนี้ นักลงทุนยังคาดการณ์กันอีกด้วยว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจเติบโต 3% ในไตรมาสสาม และการจ้างงานในสหรัฐอาจชะลอตัวลงในเดือนต.ค. โดยเป็นผลจากพายุเฮอริเคนและการผละงานประท้วงในบริษัทโบอิ้ง ทั้งนี้ นายเธียรี วิซแมน นักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคารแมคควารีระบุว่า ถ้าหากนายโดนัลด์ ทรัมป์จากพรรครีพับลิกันชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย. เฟดก็อาจจะตัดสินใจตรึงอัตราดอกเบี้ย เพราะว่านโยบายของนายทรัมป์ในเรื่องการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้า, การปราบปรามผู้อพยพ และการปรับลดภาษีเงินได้ อาจจะส่งผลให้การคาดการณ์เงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูงมาก อย่างไรก็ดี นักลงทุนรายอื่น ๆ มองว่าเฟดจะยังคงมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อไปในเดือนพ.ย.--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
วอชิงตัน--25 เม.ย.--รอยเตอร์
สำนักงานสำมะโนประชากรในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพุธว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐาน หรือยอดสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่รวมอาวุธและเครื่องบินของสหรัฐ ซึ่งถือเป็นมาตรวัดแผนการลงทุนทางธุรกิจ ปรับขึ้น 0.2% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งตรงกับตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ และทางกระทรวงได้ปรับทบทวนตัวเลขของเดือนก.พ.ให้ต่ำลงจากเดิม โดยระบุว่ายอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐานปรับขึ้นเพียง 0.4% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายเดือน โดยปรับลงจาก +0.7% ที่เคยรายงานไว้ก่อนหน้านี้ และสิ่งนี้บ่งชี้ว่า รายจ่ายด้านอุปกรณ์ในภาคธุรกิจมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ในภาวะอ่อนแอต่อไปในไตรมาสแรก ทางด้านยอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 0.6% จากเดือนมี.ค. 2023
นายคอนราด เดอควาดรอส ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของบริษัทเบรียน แคปิตัลกล่าวว่า "ตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐานไม่มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบมากนักต่อตัวเลขอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาสแรกของสหรัฐที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี" และเขากล่าวเสริมว่า "รายงานตัวเลขที่ออกมาในวันพุธบ่งชี้ว่า ภาคโรงงานสหรัฐไม่ได้ตกต่ำลงอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ได้มีสัญญาณบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวด้วยเช่นกัน" ทั้งนี้ นายโอลิเวอร์ อัลเลน นักเศรษฐศาสตร์สหรัฐของบริษัทแพนธีออน แมคโครอิโคโนมิคส์กล่าวว่า "การลงทุนในสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะอ่อนแอ และสถานการณ์แบบนี้มีแนวโน้มที่จะยังคงดำเนินต่อไป เนื่องจากสินเชื่อยังคงอยู่ในภาวะเข้มงวด โดยเฉพาะในส่วนของบริษัทขนาดเล็ก"
ยอดขนส่งสินค้าทุนพื้นฐานดีดขึ้น 0.2% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากดิ่งลง 0.6% ในเดือนก.พ. ส่วนยอดสั่งซื้อสินค้าทุนยกเว้นอาวุธพุ่งขึ้น 5.4% ในเดือนมี.ค. หลังจากทะยานขึ้น 2.7% ในเดือนก.พ. อย่างไรก็ดี ยอดขนส่งสินค้าทุนยกเว้นอาวุธดิ่งลง 1.5% ในเดือนมี.ค. หลังจากพุ่งขึ้น 2.4% ในเดือนก.พ. โดยยอดขนส่งสินค้าทุนยกเว้นอาวุธเป็นตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณรายจ่ายด้านอุปกรณ์ในภาคธุรกิจในรายงานจีดีพีสหรัฐ ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า จีดีพีสหรัฐอาจเติบโต 2.4% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) หลังจากเติบโต 3.4% ในไตรมาส 4/2023 โดยมีแนวโน้มว่ารายจ่ายด้านอุปกรณ์ในภาคธุรกิจอาจหดตัวลงในไตรมาส 1/2024 เป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่รายจ่ายดังกล่าวได้รับแรงกดดันจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 5.25% นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 เป็นต้นมา
ภาคโรงงานซึ่งครองสัดส่วน 10.4% ของขนาดเศรษฐกิจสหรัฐกำลังเข้าสู่เสถียรภาพในช่วงนี้ โดยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน หรือสินค้าที่สามารถใช้งานได้นานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป พุ่งขึ้น 2.6% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.7% ในเดือนก.พ. โดยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนได้รับแรงหนุนหลักจากยอดสั่งซื้ออุปกรณ์การขนส่งที่ทะยานขึ้น 7.7% ในเดือนมี.ค. หลังจากพุ่งขึ้น 1.8% ในเดือนก.พ. ในขณะที่ยอดสั่งซื้อเครื่องบินพลเรือนทะยานขึ้น 30.6% ในเดือนมี.ค. หลังจากพุ่งขึ้น 15.6% ในเดือนก.พ. ทางด้านบริษัทโบอิ้งรายงานว่า ทางบริษัทได้รับยอดสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์ 113 ลำในเดือนมี.ค. โดยพุ่งขึ้นจาก 15 ลำในเดือนก.พ.
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานอีกด้วยว่า ยอดสั่งซื้อยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์พุ่งขึ้น 2.1% ในเดือนมี.ค., ยอดสั่งซื้อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ปรับขึ้น 0.8% ในเดือนมี.ค., ยอดสั่งซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าขยับขึ้น 0.1% และยอดสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะประดิษฐ์ปรับขึ้น 0.2% ในเดือนมี.ค. อย่างไรก็ดี ยอดสั่งซื้อโลหะปฐมภูมิร่วงลง 0.5% ในเดือนมี.ค. ทั้งนี้ ยอดขนส่งสินค้าคงทนทรงตัวในเดือนมี.ค. และสต็อกสินค้าคงทนในคลังทรงตัวในเดือนมี.ค. ในขณะที่ยอดสั่งซื้อที่รอส่งสินค้าดีดขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. หลังจากขยับลง 0.1% ในเดือนก.พ.--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com ; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแกว่งตัวผันผวนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันอังคาร หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาดในเดือนก.พ. และรายงานตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. โดยดอลลาร์พุ่งขึ้นในช่วงแรกหลังจากมีการรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ ก่อนที่จะร่วงลงในเวลาต่อมา และดีดขึ้นมาปิดตลาดในแดนบวกในวันอังคาร ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปของสหรัฐปรับขึ้น 0.4% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งตรงกับตัวเลขคาดการณ์ ส่วนดัชนี CPI ทั่วไปแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 3.2% ในเดือนก.พ. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ +3.1% ทางด้านดัชนี CPI พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานปรับขึ้น 0.4% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ +0.3% ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 3.8% ในเดือนก.พ. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ +3.7% Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 102.92 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 102.79 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.68 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 146.94 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0924 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 1.0926 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1.0980 ดอลลาร์ในวันศุกร์ที่ 8 มี.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค. หรือจุดสูงสุดในรอบ 2 เดือน
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันอังคาร ในขณะที่หุ้นออราเคิลซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านฐานข้อมูลทะยานขึ้น 11.7% และแตะสถิติสูงสุดใหม่ หลังจากออราเคิลเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสที่แข็งแกร่งในวันจันทร์ และออราเคิลเตรียมที่จะออกแถลงการณ์ร่วมกันกับบริษัทเอ็นวิเดีย ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยหุ้นเอ็นวิเดียทะยานขึ้น 7.2% ในวันอังคาร ในขณะที่ดัชนีฟิลาเดลเฟียสำหรับหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.1% ในวันอังคาร หลังจากที่ปิดตลาดในแดนลบมานานติดต่อกัน 2 วัน ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐด้วย เพราะถึงแม้สหรัฐรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาดในวันอังคาร ตัวเลขดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้นักลงทุนปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยนักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดการณ์ในวันอังคารว่า มีโอกาส 69% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. โดยปรับลดลงจากโอกาส 71% ที่เคยคาดไว้ในช่วงเย็นวันจันทร์ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.61% สู่ 39,005.49
ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่งขึ้น 1.12% สู่ 5,175.27 ซึ่งถือเป็นสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่
ดัชนี Nasdaq ปิดทะยานขึ้น 1.54% สู่ 16,265.64
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับลงในวันอังคาร หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐ โดย EIA คาดว่า ปริมารการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐอาจพุ่งขึ้น 260,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ 13.19 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2024 โดยปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เคยคาดว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบอาจปรับขึ้นเพียง 170,000 บาร์เรลต่อวันในปีนี้ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจด้วย ในขณะที่สำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) ในกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ราคาผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนก.พ. โดยเป็นผลจากต้นทุนที่สูงขึ้นในส่วนของราคาน้ำมันเบนซินและค่าที่พัก และรายงานตัวเลขนี้ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจนกว่าจะถึงเดือนมิ.ย. อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันยังคงได้รับแรงหนุนเข้ามาบ้างในวันอังคารจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ในขณะที่การเจรจาต่อรองเรื่องการหยุดยิงระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสเผชิญกับทางตัน และอิสราเอลยังคงสู้รบกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนด้วย ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 มี.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 5.521 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐรูดลง 3.75 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐดิ่งลง 1.16 ล้านบาร์เรล ทางด้านกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ได้เปิดเผยรายงานรายเดือนในวันอังคาร โดยกลุ่มโอเปกคาดว่า อุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกอาจเพิ่มขึ้น 2.25 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2024 และอาจเพิ่มขึ้น 1.85 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2025 ซึ่งเท่ากับตัวเลขที่เคยคาดไว้ในเดือนที่แล้ว Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนเม.ย.ปรับลง 37 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 77.56 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 29 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 81.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐดิ่งลง 24.48 ดอลลาร์ หรือ 1.12% สู่ 2,157.99 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร และออกห่างจากสถิติสูงสุดที่ 2,194.99 ดอลลาร์ที่เคยทำไว้ในวันศุกร์ ในขณะที่ราคาทองได้รับแรงกดดันจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาดในสหรัฐ เพราะตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่า มีโอกาสน้อยลงที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ อาคาช โดชิ จากบริษัทซิตี้ รีเสิร์ชกล่าวว่า ราคาทองอาจจะสร้างฐานในช่วงนี้ และอาจจะเข้าสู่เสถียรภาพที่ระดับราว 2,100 ดอลลาร์ และอาจจะพุ่งขึ้นเหนือระดับ 2,200 ดอลลาร์ได้ก่อนสิ้นไตรมาสสองของปีนี้ Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--31 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโรแต่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยนในวันอังคาร ในขณะที่ดอลลาร์ขาดทิศทางที่ชัดเจนก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเปิดเผยผลการประชุมกำหนดนโยบายออกมาในวันพุธนี้ โดยนักลงทุนคาดการณ์กันว่า เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% ตามเดิมในวันพุธนี้ และนักลงทุนจะมุ่งความสนใจไปยังประเด็นที่ว่า นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดจะส่งสัญญาณบ่งชี้ใด ๆ หรือไม่ว่า มีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐในช่วงนี้ส่งผลให้เทรดเดอร์คาดการณ์กันว่า มีโอกาสเพียง 42% ที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาสราว 89% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อน Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.39 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจาก 103.46 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.60 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 147.49 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0840 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยปรับขึ้นจาก 1.0833 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกขึ้นในวันอังคาร แต่ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลงเล็กน้อย และดัชนี Nasdaq ร่วงลงในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะได้รับการประกาศออกมาในวันพุธนี้ และรอดูผลประกอบการของบริษัทสำคัญหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงบริษัทแอลฟาเบทกับไมโครซอฟท์ที่เปิดเผยผลประกอบการออกมาหลังจากตลาดปิดทำการในวันอังคาร และบริษัทโบอิ้งที่จะเปิดเผยผลประกอบการออกมาในช่วงเช้าวันพุธ โดยหุ้นโบอิ้งดิ่งลง 2.3% ในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนจับตาดูผลกระทบที่โบอิ้งอาจได้รับจากอุบัติเหตุทางการบินที่เกิดขึ้นในวันที่ 5 ม.ค. โดยในตอนนี้มีบริษัท 144 แห่งในดัชนี S&P 500 ที่เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสสี่ออกมาแล้ว และบริษัท 78% ในกลุ่มนี้เปิดเผยผลกำไรที่ดีเกินคาด ทางด้านนักวิเคราะห์คาดว่า ผลกำไรไตรมาสสี่ของบริษัทในดัชนี S&P 500 อาจปรับขึ้น 5.5% เมื่อเทียบรายปี โดยตัวเลขคาดการณ์ใหม่นี้ปรับขึ้นจาก +4.7% ที่เคยคาดไว้ในช่วงต้นเดือนม.ค. ทั้งนี้ ในบรรดาหุ้น 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้น 6 กลุ่มใหญ่ปิดตลาดวันอังคารในแดนบวก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มการเงินที่พุ่งขึ้น 1.2% และหุ้นกลุ่มพลังงานที่ทะยานขึ้น 1.01% ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.1% โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นซิตี้กรุ๊ปที่ทะยานขึ้น 5.51% และหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกาที่พุ่งขึ้น 3.31% หลังจากมอร์แกน สแตนเลย์ปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นซิตี้กรุ๊ปสู่ "overweight" จาก "underweight" และปรับขึ้นอันดับความน่าลงทุนของหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกาสู่ "overweight" จาก "equal-weight" อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มที่มักได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจปรับตัวอย่างอ่อนแอในวันอังคาร ซึ่งรวมถึงดัชนีหุ้นกลุ่มการขนส่ง, ดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ที่ดิ่งลง 1.56% และดัชนีหุ้นบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐที่ร่วงลง 0.76% ในวันอังคาร Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.35% สู่ 38,467.31
ดัชนี S&P 500 ปิดขยับลง 0.06% สู่ 4,924.97 หลังจากพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ได้ในระหว่างวัน
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลง 0.76% สู่ 15,509.90
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันอังคาร โดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐระบุในวันอังคารว่า เขาได้ตัดสินใจแล้วว่าจะให้สหรัฐตอบโต้อย่างไรต่อการที่กลุ่มนักรบที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในจอร์แดนจนส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และเขาพิจารณาเรื่องวิธีการลงโทษนักรบกลุ่มนี้โดยที่จะไม่ส่งผลให้สงครามขยายวงกว้างออกไป นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบก็ได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกด้วย โดยไอเอ็มเอฟคาดว่า เศรษฐกิจโลกอาจเติบโต 3.1% ในปี 2024 โดยปรับขึ้น 0.2% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมในเดือนต.ค. และคาดว่าเศรษฐกิจโลกอาจเติบโต 3.2% ในปี 2025 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มว่าอาจจะอยู่ที่ 5.8% ในปี 2024 และอาจจะอยู่ที่ 4.4% ในปี 2025 ทั้งนี้ หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชน ได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ม.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.5 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินในคลังสหรัฐเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรล และสต็อกน้ำมัน distillate ในคลังสหรัฐดิ่งลง 2.1 ล้านบาร์เรล Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 1.04 ดอลลาร์ หรือ 1.35% มาปิดตลาดที่ 77.82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 47 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 82.87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่สัญญาเดือนมี.ค.จะครบกำหนดส่งมอบในวันพุธนี้ ส่วนราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนเม.ย.ปรับขึ้น 67 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 82.50 ดอลลาร์ในวันอังคาร
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 4.37 ดอลลาร์ สู่ 2,036.12 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 2,048.12 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. หรือจุดสูงสุดรอบสองสัปดาห์ โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ และจากการปรับลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่นักลงทุนรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะได้รับการประกาศออกมาในวันพุธนี้ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับลงจาก 4.091% ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 4.057% ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะ 4.034% ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ โดยการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่งผลบวกต่อราคาทอง เพราะทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ดอกเบี้ย Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
กรุงเทพฯ--30 ม.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 30-31 ม.ค. แต่เฟดจะคัดค้านการคาดการณ์ในตลาดที่ว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ทางด้านเทรดเดอร์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาสเพียง 48% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 89% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อน หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในระยะนี้แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ยูโรได้รับแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปที่อยู่ในภาวะอ่อนแอกว่าสหรัฐ Eikon source text
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.46 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 103.47 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 103.82 ในระหว่างวัน ซึ่งเท่ากับจุดสูงสุดของสัปดาห์ที่แล้ว และถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 147.49 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 148.16 เยน อย่างไรก็ดี ดอลลาร์/เยนมีแนวโน้มที่จะปิดตลาดเดือนม.ค.ด้วยการพุ่งขึ้นราว 4.5% จากเดือนธ.ค. ในขณะที่เทรดเดอร์ปรับลดการคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ)
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0833 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0852 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.07955 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค., รอดูตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัว และรอดูผลประกอบการของบริษัทสำคัญหลายแห่งของสหรัฐที่จะได้รับการประกาศออกมาในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงบริษัทแอลฟาเบท, ไมโครซอฟท์ และเจเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันอังคาร, บริษัทควอลคอมม์ ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพุธ, บริษัทโบอิ้ง, แอปเปิล, อะเมซอนดอทคอม และเมตา แพลตฟอร์มส์ ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพฤหัสบดี และบริษัทเอ็กซอน โมบิล กับเชฟรอน ซึ่งถือเป็นสองบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่จะเปิดเผยผลประกอบการในวันศุกร์ ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจที่นักลงทุนจับตาดูในสัปดาห์นี้รวมถึง ผลสำรวจตำแหน่งงานว่างและการเข้า-ออกงาน (JOLTS), ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐที่จัดทำโดยบริษัท ADP, ต้นทุนการจ้างงานประจำไตรมาสสี่, ประสิทธิภาพการผลิต, ยอดการประกาศปลดพนักงานออก, ตัวเลขราคาบ้านสหรัฐที่จัดทำโดยบริษัทเคส-ชิลเลอร์, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่จัดทำโดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ค่าใช้จ่ายภาคก่อสร้าง, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนม.ค.ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในวันศุกร์ที่ 2 ก.พ. ทั้งนี้ หุ้น 10 กลุ่มจาก 11 กลุ่มใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดวันจันทร์ในแดนบวก โดยดัชนีหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยพุ่งขึ้น 1.37% และถือเป็นกลุ่มที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในวันจันทร์ ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ทะยานขึ้น 0.97% และถือเป็นกลุ่มที่ปรับขึ้นมากเป็นอันดับสอง ทางด้านดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานถือเป็นหุ้นกลุ่มเดียวที่ปิดตลาดวันจันทร์ในแดนลบ Eikon source text
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวกขึ้น 0.59% สู่ 38,333.45
ดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 0.76% สู่ 4,927.93 ซึ่งถือเป็นสถิติระดับปิดสูงสุดใหม่ โดยดัชนีพุ่งขึ้นมาแล้ว 3.3% จากช่วงต้นเดือนนี้ และปัจจัยดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้บริษัทแบล็คร็อคปรับขึ้นมุมมองที่มีต่อหุ้นสหรัฐโดยรวมสู่ "overweight" จาก "neutral"
ดัชนี Nasdaq ปิดพุ่งขึ้น 1.12% สู่ 15,628.04
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงในวันจันทร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องอุปสงค์น้ำมันในจีนท่ามกลางวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หลังจากมีข่าวว่าศาลฮ่องกงออกคำสั่งให้บริษัทไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของจีนขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นในช่วงแรกโดยได้รับแรงหนุนจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง หลังจากมีการใช้ขีปนาวุธโจมตีเรือขนส่งเชื้อเพลิงลำหนึ่งในทะเลแดง และมีการใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดน ซึ่งส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และส่งผลให้มีทหารได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 34 นาย อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิ่งลงในเวลาต่อมา ในขณะที่นักลงทุนมองว่าอุปทานน้ำมันยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง Eikon source text
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐส่งมอบเดือนมี.ค.รูดลง 1.23 ดอลลาร์ หรือ 1.6% มาปิดตลาดที่ 76.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.15 ดอลลาร์ หรือ 1.4% มาปิดตลาดที่ 82.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 84.80 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย. หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้น 13.41
ดอลลาร์ สู่ 2,031.75 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ นักลงทุนก็รอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 30-31 ม.ค.ด้วย ทั้งนี้ มีการใช้โดรนโจมตีกองทัพสหรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดน ซึ่งส่งผลให้มีทหารสหรัฐเสียชีวิต 3 นาย และส่งผลให้มีทหารได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 34 นาย ทางด้านประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐระบุในวันอาทิตย์ว่า กลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์โจมตีในครั้งนี้ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นการโจมตีครั้งแรกที่ส่งผลให้ทหารสหรัฐเสียชีวิต นับตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในเดือนต.ค. 2023 เป็นต้นมา Eikon source text
--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน