ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ลอนดอน--29 พ.ย.--รอยเตอร์
ตลาดการเงินทั่วโลกในเดือนพ.ย.ได้รับผลกระทบจาก Trump trades หรือการลงทุนตามการคาดการณ์ที่ว่า สินทรัพย์ใดบ้างที่อาจจะได้รับผลกระทบในทางบวกหรือลบจากนโยบายต่าง ๆ ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดยตลาดแรกที่ได้รับผลกระทบคือตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ โดยยูโรดิ่งลงมาแล้ว 2.88% จาก 1.0883 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 1.0570 ดอลลาร์ในวันนี้ หลังจากรูดลงแตะ 1.0333 ดอลลาร์ในวันศุกร์ที่ 22 พ.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 2022 หรือจุดต่ำสุดรอบ 2 ปี โดยยูโรอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2022 ในขณะที่ยูโรได้รับแรงกดดันจากความเสี่ยงด้านภาษีศุลกากรของสหรัฐ, จากปัญหาทางการเมืองในฝรั่งเศสและเยอรมนี และจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงในยูโรโซน ทางด้านนักวิเคราะห์คาดว่า ตลาดปริวรรตเงินตราที่มีขนาด 7.5 ล้านล้านดอลลาร์ต่อวันจะแกว่งตัวผันผวนต่อไป ในขณะที่นักลงทุนไม่แน่ใจว่า ยูโรจะดิ่งลงจนถึงระดับใด และไม่แน่ใจว่ามาตรการของนายทรัมป์จะช่วยหนุนเศรษฐกิจสหรัฐได้จริงหรือไม่ ทั้งนี้ สกุลเงินอื่น ๆ แกว่งตัวผันผวนด้วยเช่นกันในเดือนพ.ย. โดยเปโซของเม็กซิโกดิ่งลง 2.09% จาก 20.012 เปโซต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 20.430 เปโซต่อดอลลาร์ในวันนี้ ส่วนปอนด์รูดลง 1.48% จาก 1.2899 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 1.2708 ดอลลาร์ในวันนี้ ทางด้านหยวนในตลาดต่างประเทศดิ่งลง 1.63% จาก 7.1211 หยวนต่อดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 7.2370 หยวนต่อดอลลาร์ในวันนี้ โดยหยวนอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2023
ตลาดที่สองที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากนายทรัมป์ในเดือนพ.ย.คือตลาดบิทคอยน์ โดยบิทคอยน์พุ่งขึ้น 38% จาก 69,927 ดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 96,380 ดอลลาร์ในวันนี้ หลังจากทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 99,830 ดอลลาร์ในวันที่ 22 พ.ย. โดยบิทคอยน์ได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังที่ว่า นายทรัมป์จะผ่อนคลายกฎระเบียบด้านสกุลเงินคริปโต ทั้งนี้ นักวิเคราะห์บางรายมองว่า ถ้าหากบิทคอยน์สามารถพุ่งขึ้นแตะระดับ 100,000 ดอลลาร์ได้ในอนาคต สิ่งนี้ก็จะบ่งชี้ว่าบิทคอยน์ได้กลายเป็นการลงทุนกระแสหลักแล้ว โดยนายแดน โคทส์เวิร์ธ นักวิเคราะห์การลงทุนของบริษัทเอเจ เบลล์ระบุว่า "ถ้าหากบิทคอยน์ทะยานขึ้นเหนือระดับ 100,000 ดอลลาร์ ก็จะมีนักลงทุนจำนวนมากยิ่งขึ้นที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในบิทคอยน์" อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์รายอื่น ๆ มองว่า มีความเสี่ยงจากการเก็งกำไรมากเกินไป ซึ่งนั่นหมายความว่า เป็นเรื่องง่ายที่บิทคอยน์อาจจะดิ่งลงอย่างรุนแรงหลังจากพุ่งขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
ตลาดที่ 3 ที่ได้รับผลกระทบ คือหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐ โดยดัชนี Nasdaq 100 ที่ครอบคลุมหุ้นหลายตัวในกลุ่มนี้พุ่งขึ้นสูงมากในเดือนพ.ย. ในขณะที่หุ้นบริษัทเทสลาของนายอีลอน มัสก์ ซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนนายทรัมป์พุ่งขึ้น 33% และหุ้นบริษัทเอ็นวิเดียที่เป็นผู้ผลิตชิปทะยานขึ้น 1.94% สู่ 135.34 ดอลลาร์ในเดือนพ.ย. ถึงแม้เอ็นวิเดียคาดการณ์ว่ายอดขายจะชะลอการเติบโต อย่างไรก็ดี ภาคเทคโนโลยีกำลังเผชิญกับความเสี่ยง เพราะว่าแผนภาษีศุลกากรของนายทรัมป์เป็นภัยคุกคามต่อห่วงโซ่อุปทาน และนักลงทุนก็กังวลกับการที่บริษัทศูนย์ข้อมูลขนาดยักษ์ อย่างเช่นไมโครซอฟท์, เมตา แพลตฟอร์มส์ และอะเมซอน ลงทุนในปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นเงินจำนวนมากด้วย ซึ่งอาจจะนำไปสู่การลงทุนที่มากเกินไป ทั้งนี้ ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ประกาศเตือนในสัปดาห์ที่แล้วว่า ตลาดทั่วโลกจะได้รับผลกระทบในทางลบ ถ้าหากเกิดภาวะฟองสบู่แตกใน AI และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดิ่งลงอย่างรุนแรง
ตลาดที่ 4 ที่ได้รับผลกระทบคือหุ้นกลุ่มธนาคาร ในขณะที่นักลงทุนชื่นชอบหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐ แต่เทขายหุ้นกลุ่มธนาคารของยุโรป โดยดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐพุ่งขึ้น 13% ในเดือนพ.ย. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 1 ปี โดยได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังที่ว่า นายทรัมป์จะผ่อนคลายกฎระเบียบ อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของยุโรปดิ่งลง 5% ในเดือนพ.ย. โดยได้รับแรงกดดันจากความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในยุโรป และความอ่อนแอดังกล่าวกระตุ้นการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของยุโรปยังคงพุ่งขึ้นมาแล้ว 16% จากช่วงต้นปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ กองทุนเฮดจ์ฟันด์ยังคงขายสุทธิหุ้นกลุ่มธนาคารของยุโรป ส่วนธนาคารดอยช์ แบงก์ระบุว่า ภาคธนาคารจำเป็นจะต้องปรับเพิ่มกิจกรรมที่คิดค่าธรรมเนียม ซึ่งรวมถึงการบริหารสินทรัพย์, การบริหารความมั่งคั่ง, การทำข้อตกลงทางธุรกิจ และวาณิชธนกิจ
ตลาดที่ 5 ที่ได้รับผลกระทบคือตลาดพันธบัตรรัฐบาล โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีขยับลงเล็กน้อยในเดือนพ.ย. โดยปรับลงจาก 4.284% ในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 4.242% ในช่วงท้ายวันพุธ แต่อัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นมาแล้ว 0.60% นับตั้งแต่กลางเดือนก.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในสหรัฐ, จากการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และจากการคาดการณ์ที่ว่าจะมีการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลในยุคของประธานาธิบดีทรัมป์ ทางด้านบริษัทแคปิตัล อิโคโนมิคส์คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอาจจะพุ่งขึ้นสู่ 4.5% ก่อนสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงมาแล้ว 0.266% ในเดือนพ.ย. โดยดิ่งลงจาก 2.392% ในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 2.126% ในช่วงท้ายวานนี้ ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดในปี 2024 โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมนีได้รับแรงกดดันจากความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ, จากแผนการด้านภาษีศุลกากรของนายทรัมป์ และจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้น 0.115% ในเดือนพ.ย. โดยพุ่งขึ้นจาก 0.935% ในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 1.050% ในวันนี้ ในขณะที่การดิ่งลงของเยนในช่วงหลังการเลือกตั้งสหรัฐกระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 18-19 ธ.ค.--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--27 พ.ย.--รอยเตอร์
บริษัทข้ามชาติหลายแห่งกำลังปรับเพิ่มการทำประกันความเสี่ยง (เฮดจ์) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในช่วงนี้ เพื่อปกป้องผลกำไรในต่างประเทศไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการแกว่งตัวผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ในขณะที่นายโดนัลด์ ทรัมป์กำลังจะเริ่มดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐเป็นสมัยที่สองในช่วงต้นปีหน้า และนโยบายต่าง ๆ ของเขาอาจจะส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนแกว่งตัวผันผวนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ นับตั้งแต่สหรัฐจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 5 พ.ย. หรือเมื่อราว 3 สัปดาห์ก่อน นักยุทธศาสตร์การลงทุนและผู้บริหารธนาคารก็ระบุว่า บริษัทต่าง ๆ แสดงความสนใจมากยิ่งขึ้นในออปชั่นและการทำสัญญาสว็อปข้ามสกุลเงิน เพราะว่าบริษัทเหล่านี้มุ่งความสนใจไปยังประเด็นที่ว่า สกุลเงินอาจจะแกว่งตัวผันผวนเป็นอย่างมากในยุคของปธน.ทรัมป์ โดยเฉพาะบริษัทในกลุ่มการแพทย์และกลุ่มอุตสาหกรรม
นายคาร์ล ชามอททา หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบริษัทคอร์เพย์ระบุว่า "การเลือกตั้งในสหรัฐถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ผู้ทำประกันความเสี่ยงคิดถึงความเสี่ยงด้านสกุลเงิน" และเขากล่าวเสริมว่า "ธุรกิจหลายแห่งเคยพึงพอใจกับทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนและขนาดความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนมาเป็นเวลานาน ก่อนที่ผลการเลือกตั้งจะส่งผลให้ธุรกิจเหล่านี้เลิกชะล่าใจ" ทั้งนี้ ชัยชนะของนายทรัมป์ในการเลือกตั้งจะเปิดโอกาสให้เขาสามารถดำเนินมาตรการด้านภาษีศุลกากรและมาตรการกีดกันทางการค้า และมาตรการเหล่านี้อาจจะส่งผลให้สกุลเงินแกว่งตัวผันผวน โดยนายทรัมป์เพิ่งประกาศในวันจันทร์ว่า เขาจะเก็บภาษีนำเข้า 25% จากสินค้าทั้งหมดที่มาจากเม็กซิโกและแคนาดาในวันแรกที่เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี และจะเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมอีก 10% จากสินค้าจีน โดยเขาอ้างว่ามาตรการนี้เป็นการตอบโต้การค้ายาผิดกฎหมายและการปล่อยให้ผู้อพยพเข้าสหรัฐอย่างผิดกฎหมาย ทางด้านดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์แคนาดาขยับลง 0.03% สู่ 1.4051 ดอลลาร์แคนาดาในวันนี้ หลังจากพุ่งขึ้นกว่า 1.5% จนแตะระดับ 1.4178 ดอลลาร์แคนาดาในระหว่างช่วงการซื้อขายวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2020 หรือจุดสูงสุดรอบ 4 ปีครึ่ง ส่วนดอลลาร์สหรัฐ/เปโซเม็กซิโกพุ่งขึ้น 0.33% สู่ 20.695 เปโซในวันนี้ หลังจากทะยานขึ้นกว่า 2.5% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันอังคาร จนแตะระดับ 20.835 เปโซได้ในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2022 หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ/หยวนก็แข็งค่าขึ้น 0.13% สู่ 7.2657 หยวนในวันนี้ หลังจากทะยานขึ้นแตะ 7.2726 หยวนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 ก.ค.
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินพุ่งขึ้นมาแล้วราว 3.5% นับตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า นโยบายด้านการค้าและภาษีศุลกากรของนายทรัมป์จะส่งผลบวกต่อดอลลาร์ โดยนายทรัมป์เคยประกาศอีกด้วยว่า เขาตั้งใจที่จะปรับปรุงข้อตกลงการค้าสหรัฐ-เม็กซิโก-แคนาดา (USMCA) ให้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการปรับเปลี่ยนข้อตกลงนี้จะมีรายละเอียดอย่างไร ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ระบุว่า สกุลเงินที่เกี่ยวข้องกับการค้าเคยแกว่งตัวอย่างรุนแรงในช่วงที่นายทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐสมัยแรกในปี 2017-2020 และสิ่งนี้ก็ตอกย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นในการทำประกันความเสี่ยงในช่วงนี้ นอกจากนี้ ธนาคารกลางในอีกหลายประเทศทั่วโลกก็กำลังปรับนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติในช่วงนี้ และพยายามรักษาสมดุลระหว่างความกังวลเรื่องความอ่อนแอทางเศรษฐกิจกับความกังวลเรื่องภาวะเงินเฟ้อ และปัจจัยดังกล่าวก็อาจจะกระตุ้นให้สกุลเงินแกว่งตัวผันผวนได้ด้วยเช่นกันในช่วงหลายเดือนข้างหน้า
ผลสำรวจโดยบริษัทมิลล์เทคเอฟเอ็กซ์ที่จัดทำในวันที่ 7-18 พ.ย.ระบุว่า เจ้าหน้าที่ผู้ตัดสินใจทางการเงินราว 94% ในบริษัทสหรัฐและอังกฤษระบุว่า ผลการเลือกตั้งในสหรัฐกระตุ้นให้พวกเขาปรับเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์การทำประกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน โดยเจ้าหน้าที่บางคนพยายามขยายระยะเวลาการทำประกันความเสี่ยงออกไป และเจ้าหน้าที่บางคนก็ปรับเพิ่มสัดส่วนการทำประกันความเสี่ยง นอกจากนี้ ผลสำรวจก็ระบุอีกด้วยว่า บริษัทหลายแห่งคาดว่าความไม่แน่นอนทางการค้าจะส่งผลลบเป็นอย่างมากต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกและทวีปยุโรปด้วย ทั้งนี้ บริษัทในดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐมีรายได้ราว 41% มาจากนอกสหรัฐ และบริษัทหลายแห่งก็พยายามทำประกันความเสี่ยงสำหรับยูโรและเปโซเม็กซิโกในช่วงนี้ โดยเปโซเม็กซิโกดิ่งลงมาแล้วราว 2% นับตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ และรูดลงมาแล้วเกือบ 17% จากช่วงต้นปีนี้ ทางด้านพอลา คัมมิงส์ จากธนาคารยูเอสแบงก์ระบุว่า ถึงแม้ว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐกับเม็กซิโกตึงตัวมากยิ่งขึ้นนับตั้งแต่การเลือกตั้ง ต้นทุนในการทำประกันความเสี่ยงสำหรับสถานะซื้อเปโซก็เพิ่มสูงขึ้น โดยเป็นผลจากการดิ่งลงของเปโซ และเธอกล่าวเสริมว่า "ผู้ที่ขายเปโซเม็กซิโกและเข้าซื้อดอลลาร์ในตอนนี้อาจลังเลที่จะปรับเพิ่มวอลุ่มการทำประกันความเสี่ยงสัญญาฟอร์เวิร์ด แต่อาจจะพิจารณาออปชั่นในฐานะทางเลือกหนึ่ง"
ยูโร/ดอลลาร์ดิ่งลงมาแล้วราว 4% นับตั้งแต่การเลือกตั้งในสหรัฐ ในขณะที่คัมมิงส์กล่าวว่า นักลงทุนไม่ได้ปรับตัวรับผลกระทบที่ยูโรจะได้รับในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งสิ่งนี้แตกต่างจากเปโซเม็กซิโกและหยวนของจีนที่ปรับตัวรับผลกระทบไปแล้วตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง โดยยูโรได้รับแรงกดดันในช่วงนี้จากข่าวเรื่องภาษีศุลกากร, จากปัญหาทางเศรษฐกิจในเยอรมนี และจากความอ่อนแอในภาคโรงงานในหลายประเทศในยุโรป ทั้งนี้ คัมมิงส์ระบุว่า บริษัทบางแห่งในกลุ่มการแพทย์และกลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐแสดงความสนใจที่จะใช้สัญญาสว็อปข้ามสกุลเงินยูโรเพื่อบริหารความเสี่ยง และเพื่อลดการจ่ายดอกเบี้ย ทางด้านนายฮวน เปเรซ จากบริษัทโมเน็กซ์ ยูเอสเอระบุว่า "ผลการเลือกตั้งส่งผลให้บริษัทต่าง ๆ มีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นที่จะต้องทำความเข้าใจว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับใดที่จะส่งผลให้บริษัทบางแห่งไม่สามารถดำเนินธุรกิจในต่างประเทศได้ ถ้าหากต้องรับมือกับอัตราภาษีนำเข้าที่สูงขึ้นหรือรับมือกับกฎระเบียบที่เปลี่ยนไป"--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ลอนดอน--21 พ.ย.--รอยเตอร์
นายฟรานเซสโก เกร์เรรา ผู้เขียนคอลัมน์ของรอยเตอร์ระบุว่า การที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมาส่งผลบวกต่อราคาสินทรัพย์หลายประเภท โดยเฉพาะหุ้นสหรัฐ, สกุลเงินคริปโต และดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลจากนโยบายต่าง ๆ ของนายทรัมป์ ซึ่งรวมถึงนโยบายปรับลดกฎระเบียบ และนโยบายปรับลดภาษีเงินได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากนโยบายของนายทรัมป์ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตอย่างร้อนแรง ยอดขาดดุลงบประมาณและอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐก็อาจจะพุ่งสูงขึ้น และปัจจัยดังกล่าวจะสร้างความกังวลต่อนักลงทุนในตลาดพันธบัตร และนักลงทุนในตลาดพันธบัตรก็อาจจะเทขายพันธบัตรสหรัฐออกมา ซึ่งจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) พุ่งสูงขึ้น และปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลลบต่อตลาดหุ้นสหรัฐได้ด้วย ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ส่งผลให้นายทรัมป์ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ คือภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ โดยราคาผู้บริโภคในสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้ว 21% เมื่อเทียบกับระดับในช่วงที่ปธน.โจ ไบเดนชนะการเลือกตั้งในช่วงปลายปี 2020 ทางด้านผลสำรวจหน้าคูหาการเลือกตั้งของสถานี NBC ระบุว่า ใน 3 รัฐสำคัญของสหรัฐนั้น ผู้โหวตราว 75% ระบุว่าภาวะเงินเฟ้อสร้างความยากลำบากในระดับปานกลางหรือรุนแรงต่อพวกเขาในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา และผู้โหวตส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ระบุว่า พวกเขาเลือกพรรครีพับลิกันในการเลือกตั้งในวันที่ 5 พ.ย.
นายเกร์เรราระบุว่า นโยบายของนายทรัมป์เองก็มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะนโยบายเก็บภาษีนำเข้าถ้วนหน้าในอัตรา 10% และเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนในอัตรา 60% โดยนายดาริโอ เพอร์กินส์จากบริษัททีเอส ลอมบาร์ดระบุว่า มาตรการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราภาษีนำเข้าในสหรัฐพุ่งขึ้นจาก 2% ในปัจจุบัน สู่ระดับราว 17% ซึ่งจะถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงหลังจากทศวรรษ 1940 เป็นต้นมา และปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลบวกราว 1.3% ต่อดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวจะเท่ากับผลกระทบที่เกิดจากการพุ่งขึ้น 20% ของราคาน้ำมัน ทางด้านดัชนี CPI เพิ่งปรับขึ้น 2.6% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายปี ทั้งนี้ นักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐไม่ได้กังวลกับปัจจัยดังกล่าวในช่วงนี้ เพราะว่าดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นหลังจากนายทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง ในขณะที่นักลงทุนเชื่อว่านายทรัมป์จะดำเนินมาตรการปรับลดกฎระเบียบในวงกว้าง และนโยบายดังกล่าวอาจจะส่งผลให้การควบรวมกิจการเข้าสู่ภาวะเฟื่องฟู โดยการคาดการณ์ในเรื่องนี้มีส่วนช่วยหนุนหุ้นวาณิชธนกิจบางแห่งเป็นอย่างมาก ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทโมเอลิส และหุ้นบริษัทพีเจที พาร์ทเนอร์สที่พุ่งขึ้นมาแล้วราว 10% นับตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย.
ผู้จัดการกองทุนชื่นชอบนโยบายของนายทรัมป์ที่จะปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคลลงสู่ 15% จาก 21% โดยการปรับลดอัตราภาษีดังกล่าวจะส่งผลให้ผลกำไรต่อหุ้นของบริษัทสหรัฐโดยเฉลี่ยพุ่งขึ้นไปอีก 4% นอกจากนี้ เทรดเดอร์ก็มองว่าสงครามการค้าอาจจะส่งผลบวกต่อบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐด้วย เพราะว่ามาตรการกีดกันทางการค้าจะส่งผลดีต่อบริษัทที่เน้นการทำธุรกิจภายในสหรัฐ โดยการคาดการณ์ในเรื่องนี้มีส่วนช่วยหนุนให้ดัชนี Russell 2000 สำหรับบริษัทขนาดเล็กของสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ ชัยชนะของนายทรัมป์ส่งผลดีต่อบิทคอยน์ด้วยเช่นกัน โดยบิทคอยน์พุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 97,902 ดอลลาร์ในวันนี้ โดยทะยานขึ้นมาแล้ว 46.6% จากระดับ 66,776.19 ดอลลาร์ในวันที่ 4 พ.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากการที่นายทรัมป์ได้ให้สัญญาว่า เขาจะทำให้สหรัฐกลายเป็น "เมืองหลวงแห่งคริปโตบนดาวเคราะห์ดวงนี้" ทางด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐอาจขยายตัว 2.8% ในปีนี้ และ 2.2% ในปี 2025
อย่างไรก็ดี นโยบายของนายทรัมป์อาจจะสร้างความเสียหายต่อการคลังของสหรัฐ โดยคณะกรรมการเพื่องบประมาณของรัฐบาลกลางที่มีความรับผิดชอบประเมินว่า นโยบายของนายทรัมป์จะส่งผลให้ยอดขาดดุลงบประมาณของสหรัฐเพิ่มสูงขึ้นอีก 15.5 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงสิบปีข้างหน้า ในขณะที่ยอดขาดดุลงบประมาณอยู่สูงกว่า 7% ของจีดีพีอยู่แล้วในปัจจุบัน ดังนั้นการที่ยอดขาดดุลงบประมาณจะพุ่งสูงขึ้นไปอีกจึงทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ฐานะการคลังของรัฐบาลสหรัฐจะมีความยั่งยืนหรือไม่ ทั้งนี้ นักลงทุนในตลาดพันธบัตรได้แสดงปฏิกิริยาต่อปัจจัยนี้ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นจากระดับ 3.6% ในเดือนก.ย. สู่ระดับราว 4.4% ในปัจจุบัน โดยเป็นผลจากปัจจัยสำคัญสองประการ ซึ่งได้แก่ความกังวลที่ว่า เฟดจำเป็นจะต้องตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ และการที่นักลงทุนต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงจากระดับหนี้สินที่สูงขึ้นของรัฐบาลสหรัฐ
นักลงทุนบางรายมองว่า ตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะสามารถรับมือกับปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ได้ เพราะว่าดอลลาร์สหรัฐถือเป็นสกุลเงินหลักของโลก และปัจจัยนี้จะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติต้องการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐต่อไป อย่างไรก็ดี นายเกร์เรราระบุว่า การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอาจจะส่งผลลบต่อตลาดหุ้น เพราะว่าการพุ่งขึ้นของบอนด์ยิลด์จะส่งผลให้หุ้นมีความน่าดึงดูดน้อยลง--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
โตเกียว--21 พ.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินขยับลงเล็กน้อยในการซื้อขายช่วงเช้าวันนี้ที่ตลาดเอเชีย ในขณะที่นักลงทุนพยายามประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และรอดูนโยบายต่าง ๆ ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดยในตอนนี้นักลงทุนคาดว่า มีโอกาส 53.3% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.25-4.50% ในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 82.5% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน และนักลงทุนยังคาดการณ์ในตอนนี้อีกด้วยว่า มีโอกาส 46.7% ที่เฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.50-4.75% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค. และนักลงทุนคาดว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันเพียง 0.73% ตั้งแต่ช่วงนี้จนถึงสิ้นปี 2025 ทั้งนี้ รอยเตอร์ได้สำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ในวันที่ 12-20 พ.ย. และได้เปิดเผยผลสำรวจออกมาในวันพุธ โดยผลสำรวจระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ 94 จาก 106 ราย หรือนักเศรษฐศาสตร์ 89% ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.25%-4.50% ในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค. ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ที่เหลืออีก 12 รายคาดว่า เฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.50-4.75% ตามเดิมในการประชุมเดือนธ.ค. นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ยังคาดการณ์ในตอนนี้ว่า อัตราดอกเบี้ย fed funds จะอยู่ที่ 3.50%-3.75% ในช่วงสิ้นปี 2025 หากวัดจากค่ากลางของโพลล์ ซึ่งสูงกว่าระดับ 3.00%-3.25% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อน โดยเป็นผลจากความเสี่ยงที่นโยบายของนายทรัมป์อาจจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้น
ดอลลาร์/เยนร่วงลง 0.30% สู่ 154.96 เยนในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 156.74 เยนในวันศุกร์ที่ 15 พ.ย. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 23 ก.ค. และเทียบกับระดับ 161.96 เยนที่เคยทำไว้ในวันที่ 3 ก.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1986 หรือจุดสูงสุดในรอบ 38 ปี ส่วนยูโร/ดอลลาร์ขยับขึ้น 0.06% สู่ 1.0549 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0496 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดีที่ 14 พ.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2023 หรือจุดต่ำสุดรอบ 1 ปี ทางด้านดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินขยับลง 0.06% สู่ 106.55 ในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 1 ปีที่ 107.07 ในวันพฤหัสบดีที่ 14 พ.ย. ทั้งนี้ ปอนด์ขยับขึ้น 0.07% สู่ 1.2656 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้น 0.14% สู่ 0.6515 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ ทางด้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ขยับขึ้น 0.03% สู่ 0.5879 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 2% นับตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย. โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะชะลอความเร็วในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพราะว่านโยบายของนายทรัมป์จะกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการคาดการณ์ที่ว่า มาตรการด้านภาษีศุลกากรของนายทรัมป์จะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจยุโรปและเศรษฐกิจจีนด้วย ทั้งนี้ นายแมทท์ ซิมป์สัน นักวิเคราะห์ตลาดของบริษัทซิตี้ อินเด็กซ์ระบุว่า "เป็นเรื่องยากที่จะขายดอลลาร์สหรัฐในตอนนี้" ในขณะที่นักลงทุนพิจารณาความเป็นไปได้ที่เฟดจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนหน้า และเขากล่าวเสริมว่า "ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และปัจจัยนี้ก็ส่งผลลบต่อยูโร ในขณะที่ยูโรได้รับแรงกดดันอยู่แล้วจากแนวโน้มที่สหรัฐจะปรับขึ้นภาษีนำเข้า"
มีข่าวว่า ยูเครนได้ยิงขีปนาวุธ ATACMS ที่ผลิตในสหรัฐเข้าไปในรัสเซียในวันอังคาร และยูเครนได้ยิงขีปนาวุธพิสัยไกล "บริติช สตอร์ม ชาโดว์" เข้าไปในรัสเซียในวันพุธด้วย ทางด้านรัฐบาลรัสเซียได้ประกาศปรับลดเงื่อนไขในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ อย่างไรก็ดี นายเซอร์ไก ลาฟรอฟ รมว.ต่างประเทศรัสเซียกล่าวในเวลาต่อมาว่า รัสเซียจะ "ทำทุกสิ่งที่ทำได้" เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามนิวเคลียร์ ทั้งนี้ มิเชลล์ โบว์แมน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ว่าการเฟด และลิซา คุก ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ว่าการเฟด แสดงความเห็นที่ขัดแย้งกันเองในวันพุธในเรื่องแนวโน้มนโยบายการเงินในสหรัฐ โดยโบว์แมนแสดงความกังวลต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่สูงกว่าระดับเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% และเธอเรียกร้องให้เฟดใช้ความระมัดระวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อไป ทางด้านลิซา คุก กล่าวในวันพุธว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐยังคงชะลอตัวลงต่อไป, ค่าแรงชะลอตัวลง และตลาดแรงงานชะลอตัวลง ส่วนการเพิ่มขึ้นของราคาในระดับที่มากเกินไปส่วนใหญ่แล้วจำกัดวงอยู่แค่ภายในภาคที่อยู่อาศัย ดังนั้นสถานการณ์ในตอนนี้จึงมีแนวโน้มว่าจะยังคงอยู่ในภาวะที่เหมาะสมสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อไป
ดอลลาร์/เยนเพิ่งพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.ในสัปดาห์ที่แล้ว และปัจจัยดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่า ทางการญี่ปุ่นอาจจะเข้ามาแทรกแซงตลาดเพื่อหนุนค่าเงินเยนในอนาคต โดยนักลงทุนกำลังรอฟังถ้อยแถลงของนายคาสุโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ในงานประชุมทางการเงินที่กรุงปารีสในช่วงต่อไปในวันนี้ หลังจากที่ถ้อยแถลงของเขาในช่วงต้นสัปดาห์นี้เปิดโอกาสสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. นอกจากนี้ นักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า มีโอกาส 52% ที่บีโอเจอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.25% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 19 ธ.ค. และมีโอกาส 48% ที่บีโอเจอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 0.50% ในการประชุมวันที่ 19 ธ.ค. ทั้งนี้ บิทคอยน์พุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 95,050.28 ดอลลาร์ในวันนี้ หลังจากที่เพิ่งทะยานขึ้น 2.41% สู่ 94,461 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยบิทคอยน์ได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังที่ว่า รัฐบาลใหม่ของสหรัฐจะผ่อนคลายกฎระเบียบด้านสกุลเงินคริปโต และได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า บริษัทด้านสื่อสังคมของนายทรัมป์กำลังเจรจาเพื่อเข้าซื้อบริษัท Bakkt ที่ทำธุรกิจซื้อขายสกุลเงินคริปโต--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--21 พ.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในวันพุธ หลังจากปิดตลาดในแดนลบมานานติดต่อกัน 3 วัน ในขณะที่นักลงทุนพยายามประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และรอดูนโยบายต่าง ๆ ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดยในตอนนี้นักลงทุนคาดว่า มีโอกาส 53.2% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.25-4.50% ในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค. โดยปรับลดลงจากโอกาส 82.5% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน และนักลงทุนยังคาดการณ์ในตอนนี้อีกด้วยว่า มีโอกาส 46.8% ที่เฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.50-4.75% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค. และนักลงทุนคาดว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันเพียง 0.73% ตั้งแต่ช่วงนี้จนถึงสิ้นปี 2025 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนธ.ค. แต่นักเศรษฐศาสตร์ปรับลดการคาดการณ์เรื่องแนวโน้มในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้าเมื่อเทียบกับที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อน โดยเป็นผลจากความเสี่ยงที่นโยบายของนายทรัมป์อาจจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้น โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า อัตราดอกเบี้ย fed funds จะอยู่ที่ 3.50%-3.75% ในช่วงสิ้นปี 2025 ซึ่งสูงกว่าระดับ 3.00%-3.25% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อน
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 106.61 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 106.13 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 155.43 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยพุ่งขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 154.65 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 156.74 เยนในวันศุกร์ที่ 15 พ.ย. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 23 ก.ค.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0543 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยร่วงลงจาก 1.0595 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร
เยน, ฟรังก์สวิส และดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นสามสกุลเงินปลอดภัย ได้รับแรงหนุนเป็นเวลาสั้น ๆ ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ หลังจากรัฐบาลรัสเซียประกาศปรับลดเงื่อนไขในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ อย่างไรก็ดี คำสั่งซื้อสกุลเงินปลอดภัยจางหายไปในเวลาต่อมา หลังจากนายเซอร์ไก ลาฟรอฟ รมว.ต่างประเทศรัสเซียกล่าวว่า รัสเซียจะ "ทำทุกสิ่งที่ทำได้" เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามนิวเคลียร์ ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้วราว 3% นับตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย. โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะชะลอความเร็วในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพราะว่านโยบายของนายทรัมป์จะกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ
มิเชลล์ โบว์แมน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ว่าการเฟด และลิซา คุก ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ว่าการเฟด แสดงความเห็นที่ขัดแย้งกันเองในวันพุธในเรื่องแนวโน้มนโยบายการเงินในสหรัฐ โดยโบว์แมนแสดงความกังวลต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่สูงกว่าระดับเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% และเธอเรียกร้องให้เฟดใช้ความระมัดระวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อไป ทางด้านลิซา คุก กล่าวในวันพุธว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐยังคงชะลอตัวลงต่อไป, ค่าแรงชะลอตัวลง และตลาดแรงงานชะลอตัวลง ส่วนการเพิ่มขึ้นของราคาในระดับที่มากเกินไปส่วนใหญ่แล้วจำกัดวงอยู่แค่ภายในภาคที่อยู่อาศัย ดังนั้นสถานการณ์ในตอนนี้จึงมีแนวโน้มว่าจะยังคงอยู่ในภาวะที่เหมาะสมสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อไป
ปอนด์อ่อนค่าลงจาก 1.2682 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 1.2647 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ ถึงแม้อังกฤษรายงานว่า อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูงเกินคาดในเดือนต.ค. ทางด้านเทรดเดอร์คาดว่า มีโอกาส 82.8% ที่ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) จะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมวันที่ 19 ธ.ค. ทั้งนี้ บิทคอยน์พุ่งขึ้น 2.41% สู่ 94,461 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 94,982.37 ดอลลาร์ได้ในระหว่างวัน โดยบิทคอยน์ได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังที่ว่า รัฐบาลใหม่ของสหรัฐจะผ่อนคลายกฎระเบียบด้านสกุลเงินคริปโต และได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า บริษัทด้านสื่อสังคมของนายทรัมป์กำลังเจรจาเพื่อเข้าซื้อบริษัท Bakkt ที่ทำธุรกิจซื้อขายสกุลเงินคริปโต--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
สกุลเงินตลาดเกิดใหม่ในเอเชียได้รับแรงหนุนบ้างในวันนี้ หลังจากเคลื่อนตัวผันผวนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยดอลลาร์สิงคโปร์ และบาทแข็งค่าขึ้น ส่วนริงกิตทรงตัว แม้เศรษฐกิจมาเลเซียชะลอตัวในไตรมาส 3 ก็ตาม
นักวิเคราะห์จากพีบีเอสกล่าวว่า "ความหวังที่เกิดขึ้นในช่วงแรกจากการคาดการณ์การลดดอกเบี้ยของสหรัฐราวกลางปีนี้นั้นจางหายไปส่วนใหญ่แล้ว และเมื่อดูจากภูมิหลังที่ท้าทายดังกล่าว ขอบเขตที่ธนาคารกลางในเอเชียจะลดดอกเบี้ยนั้นจึงถูกจำกัดมากขึ้น ขณะที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเกี่ยวกับตราสารหนี้/อัตราดอกเบี้ยสกุลเงินท้องถิ่นลดลงมากขึ้นด้วย"
ริงกิต และบาทอ่อนค่า 3% และ 3.8% ตามลำดับนับตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. เนื่องจากเศรษฐกิจของมาเลเซียและไทยที่พึ่งพาการค้า โดยเฉพาะกับจีน ทำให้ประเทศเหล่านี้มีความเปราะบางต่ออุปสรรคที่เกี่ยวกับภาษีนำเข้า
บาทแข็งค่า 0.4% ในวันนี้ หลังจากผลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบกว่า 1 ปีในไตรมาส 3
อัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลา 12.00 น.ตามเวลาไทย
COUNTRY | FX RIC | FX DAILY % | FX YTD % |
Japan | JPY= | -0.06 | -9.77 |
China | CNY=CFXS | -0.08 | -1.88 |
India | INR=IN | +0.00 | -1.41 |
Indonesia | IDR= | -0.22 | -3.08 |
Malaysia | MYR= | +0.04 | +2.55 |
Philippines | PHP= | -0.02 | -5.88 |
S.Korea | KRW=KFTC | +0.16 | -8.01 |
Singapore | SGD= | +0.15 | -1.84 |
Taiwan | TWD=TP | -0.02 | -5.58 |
Thailand | THB=TH | +0.16 | -2.20 |
Eikon source text
สกุลเงินตลาดเกิดใหม่ในเอเชียส่วนใหญ่อ่อนค่าลงต่อเนื่องในวันนี้ โดยริงกิตร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปีจากโมเมนตัมที่เกิดขึ้นจากการชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีของนายโดนัลด์ ทรัมป์
ริงกิต, บาท และรูเปียห์ร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน โดยริงกิตร่วงลงเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน
นักวิเคราะห์จากบาร์เคลย์สกล่าวว่า "อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นนานขึ้น และการแข็งค่าของดอลลาร์ดูเหมือนว่ายากที่จะรับมือ แต่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการลำดับนโยบายต่างๆของนายทรัมป์บ่งชี้ว่า แนวทางดังกล่าวจะไม่เป็นเส้นตรง"
ความเสี่ยงจากการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนและสินค้าเอเชียที่ส่งออกไปยังสหรัฐกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่น่าวิตกอีกเรื่องสำหรับตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเหล่านี้ ขณะที่มีเงินทุนไหลออกจากมาเลเซียและไทยมากขึ้น เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีความเปราะบางต่อความเสี่ยงภาษีนำเข้า โดยริงกิตและบาทร่วงลงราว 4% แล้วนับตั้งแต่ผลการเลือกตั้งสหรัฐ
นักวิเคราะห์จากดีบีเอสกล่าวว่า "อินโดนีเซียและอินเดียมีขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศมากกว่า นักลงทุนจึงมองว่าสามารถฟื้นตัวรับอันตรายจากภาษีนำเข้าได้มากกว่าประเทศอื่นในเอเชีย"
อัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลา 11.36 น.ตามเวลาไทย
COUNTRY | FX RIC | FX DAILY % | FX YTD % |
Japan | JPY= | -0.38 | -9.61 |
China | CNY=CFXS | -0.11 | -1.97 |
India | INR=IN | -0.03 | -1.42 |
Indonesia | IDR= | -0.69 | -3.05 |
Malaysia | MYR= | -0.89 | +2.32 |
Philippines | PHP= | -0.16 | -5.81 |
S.Korea | KRW=KFTC | -0.64 | -8.43 |
Singapore | SGD= | -0.18 | -1.94 |
Taiwan | TWD=TP | -0.39 | -5.65 |
Thailand | THB=TH | -0.41 | -2.41 |
Eikon source text
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน